เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 19, 2009 11:22 am
หุ้นตกไม่รู้ทำอะไรก็อ่านหนังสือธรรมะ พอมานั่งนึกๆดู จริงแล้วเศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน คื่อเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ แต่วิธีการดับทุกข์ต่างกัน (เศรษฐศาสตร์เน้นเรื่องการจัดทรัพยากรให้พอกับความต้องการ ส่วนพระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการไม่ยึดมั่นถือมั่น) มาจากการกำหนดนิยามของความทุกข์ที่ต่างกัน เมื่อเหตุต่างผลลัพท์ก็ต่างกันดังนี้
ทุกข์
เศรษฐศาสตร์กำหนดนิยามความทุกข์ไว้ที่ความทุกข์กายทุกข์ใจหรือทุกข์เวทนา ยามใดที่ทุกข์เวทนาเขาบางลง เราจะรู้สึกว่าเป็นสุข เมือเราทุกข์จะเกิดความต้องการสินค้าและบริการ เมื่อเราได้ใช้สินค้าและบริการจะเกิดความสุข หรือเรียกว่าอรรถประโยชน์ สามารถวัดได้(ตามทฤษฎี สมมติให้สามารถวัดความพอใจได้) มีหน่วยวัดเป็นยูทิล
แต่ในทางพระพุทธศาสนา ทุกข์เวทนา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของทุกข์เท่านั้น โดยทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งประเภทของความทุกข์ไว้เป็น 4 ประเภทคือ
1. ทุกข์เวทนา คือ ความทุกข์กายทุกข์ใจ
2. ทกข์ลักษณะ เป็นลักษณะทั่วไปของสิ่งที่เป็นสังขาร คือสังขารทั้งหลายไม่อาจทนอยู่ได้ตลอดไป ตามความหมายนี้กระทั่งความสุขก็มีลักษณะเป็นทุกข์เช่นกัน คือมีความทนอยู่ไม่ได้
3. ทุกข์เพราะตัณหา คือหากจิตเกิดความอยาก และความยึดถือในรูปนามและอารมณ์ทั้งหลายแล้ว จิตจะเกิดความทุกข์คือความอึดอัดขัดข้องทั้งหลายขึ้นมาทันที ข้อนี้มองลึกกว่าเศรษฐศาสตร์อีกชั้นหนึ่ง
4. ทุกขสัจจ์หรือขันธ์คือทุกข์ ขันธ์หรือรูปนามหรือกายใจนั่นแหละคือทุกข์ จะมีความอยากและความยึดมั่นหรือไม่ รูปนามนี้ก็เป็นทุกข์อยู่โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว
สมุหทัย หรือเหตุแห่งทุกข์
ในทางเศรษฐศาสตร์ ที่ศึกษาเรื่องทุกข์เวทนาเป็นหลัก จึงได้นิยามเหตุแห่งทุกข์ว่าความไม่สมอยาก ในความต้องการบริโภคสินค้าและบริการทำให้เกิดทุกข์
ในทางพระพุธศาสนาพิจารนาเหตุแห่งทุกไม่ลึกซึงยิ่งขึ้นอีกคือ ความอยากทำให้เกิดทุกข์ เพราะความอยากทำให้จิตต้องดิ้นรนทำงานหนึกทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ "เรา" เป็นสุขและพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
เมื่อมองให้ลึกเข้าไปอีก สำหรับผู้รู้แจ้งอริยสัจจ์แล้วจะพบว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นทุกข์โดยตัวมันเอง จะมีความอยากหรือไม่ขันธ์ก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่เพระอวิชชาหรือความไม่รู้แจ้งว่าขันธ์เป็นทุกข์ กลับไปคิดว่ากายใจนี้เป็นทุกข์บ้าง สุขบ้าง จึงเกิดสมุทัยคือความอยากให้การใจเป็นสุขถาวร หรืออยากให้พ้นทุกข์ถาวร ก่อเป็นความทุกข์มาเผาใจอยู่ตลอดเวลา แม้เมื่อต่างกายนี้แตกสลายลง ความไม่รู้ก็จะกระตุ้นให้จิตปรงขันธ์มาเป็นภาระให้ต้องแบกรับทุกข์อีก ดังนี้นความไม่รู้อริยสัจจ์หรืออวิชชาหรือความไม่รู้จริงของนามรู้นั่นแหละจึงเป็นรากเหง้าของความทุกข์ที่แท้จริง
นิโรธ ความดับแห่งทุกข์ + มรรค ทางดับแห่งทุกข์
ในทางเศรษฐศาสตร์ ทุกข์เกิดจากความต้องการ ดังนั้นถ้าเราสามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการเราก็จะไม่ทุกข์
ในทางปฎิบัติ อดัม สมิธ ผู้ให้กำเนิดวิชาเศรษฐศาสตร์พบว่า ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่จำกัด แต่ทรัพยากรที่จะมาผลิตสินค้าและบริการนั้นมีจำกัด จึงเป็นที่มาของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มีเป้าหมายศึกษาวิธีในการ จัดสรรทรัพย์กรที่มีจำกัดเพื่อผลิตสินค้าและบริการมาตอบสองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่จำกัดให้ได้
สำหรับพระพุทธศาสนา มองว่าอวิชชาหรือความไม่รู้จริงของนามรูปนั่นแหละจึงเป็นเหตุของความทุกข์ที่แท้จริง พระพุทธศาสนาจึงมุงศึกษาภายในจิตใน เมื่อรู้ตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด (โลภะ/ตัณหา) เมื่อคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติ(ความเกิด)สิ้นแล้ว พรหมจรรย์(การศึกษาปฎิบัติธรรม) อยูจบแล้ว
วิธีที่จะทำให้จิตรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริงที่ตรงไปตรงมาที่สุดคือ การมีสติ ระลึกรู้ สภาวะธรรมที่กำลังปรกฎ ตามความเป็นจริง
เรียบเรียงจาก
ปราโมทย์ สันตยากร(พลวงพ่อปราโมทย์) วิถีแห่งความรู้แจ้ง ฉบับรวมเล่ม สำนักพิมพ์ธรรมดา
หนังสือเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
ทุกข์
เศรษฐศาสตร์กำหนดนิยามความทุกข์ไว้ที่ความทุกข์กายทุกข์ใจหรือทุกข์เวทนา ยามใดที่ทุกข์เวทนาเขาบางลง เราจะรู้สึกว่าเป็นสุข เมือเราทุกข์จะเกิดความต้องการสินค้าและบริการ เมื่อเราได้ใช้สินค้าและบริการจะเกิดความสุข หรือเรียกว่าอรรถประโยชน์ สามารถวัดได้(ตามทฤษฎี สมมติให้สามารถวัดความพอใจได้) มีหน่วยวัดเป็นยูทิล
แต่ในทางพระพุทธศาสนา ทุกข์เวทนา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของทุกข์เท่านั้น โดยทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งประเภทของความทุกข์ไว้เป็น 4 ประเภทคือ
1. ทุกข์เวทนา คือ ความทุกข์กายทุกข์ใจ
2. ทกข์ลักษณะ เป็นลักษณะทั่วไปของสิ่งที่เป็นสังขาร คือสังขารทั้งหลายไม่อาจทนอยู่ได้ตลอดไป ตามความหมายนี้กระทั่งความสุขก็มีลักษณะเป็นทุกข์เช่นกัน คือมีความทนอยู่ไม่ได้
3. ทุกข์เพราะตัณหา คือหากจิตเกิดความอยาก และความยึดถือในรูปนามและอารมณ์ทั้งหลายแล้ว จิตจะเกิดความทุกข์คือความอึดอัดขัดข้องทั้งหลายขึ้นมาทันที ข้อนี้มองลึกกว่าเศรษฐศาสตร์อีกชั้นหนึ่ง
4. ทุกขสัจจ์หรือขันธ์คือทุกข์ ขันธ์หรือรูปนามหรือกายใจนั่นแหละคือทุกข์ จะมีความอยากและความยึดมั่นหรือไม่ รูปนามนี้ก็เป็นทุกข์อยู่โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว
สมุหทัย หรือเหตุแห่งทุกข์
ในทางเศรษฐศาสตร์ ที่ศึกษาเรื่องทุกข์เวทนาเป็นหลัก จึงได้นิยามเหตุแห่งทุกข์ว่าความไม่สมอยาก ในความต้องการบริโภคสินค้าและบริการทำให้เกิดทุกข์
ในทางพระพุธศาสนาพิจารนาเหตุแห่งทุกไม่ลึกซึงยิ่งขึ้นอีกคือ ความอยากทำให้เกิดทุกข์ เพราะความอยากทำให้จิตต้องดิ้นรนทำงานหนึกทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ "เรา" เป็นสุขและพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
เมื่อมองให้ลึกเข้าไปอีก สำหรับผู้รู้แจ้งอริยสัจจ์แล้วจะพบว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นทุกข์โดยตัวมันเอง จะมีความอยากหรือไม่ขันธ์ก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่เพระอวิชชาหรือความไม่รู้แจ้งว่าขันธ์เป็นทุกข์ กลับไปคิดว่ากายใจนี้เป็นทุกข์บ้าง สุขบ้าง จึงเกิดสมุทัยคือความอยากให้การใจเป็นสุขถาวร หรืออยากให้พ้นทุกข์ถาวร ก่อเป็นความทุกข์มาเผาใจอยู่ตลอดเวลา แม้เมื่อต่างกายนี้แตกสลายลง ความไม่รู้ก็จะกระตุ้นให้จิตปรงขันธ์มาเป็นภาระให้ต้องแบกรับทุกข์อีก ดังนี้นความไม่รู้อริยสัจจ์หรืออวิชชาหรือความไม่รู้จริงของนามรู้นั่นแหละจึงเป็นรากเหง้าของความทุกข์ที่แท้จริง
นิโรธ ความดับแห่งทุกข์ + มรรค ทางดับแห่งทุกข์
ในทางเศรษฐศาสตร์ ทุกข์เกิดจากความต้องการ ดังนั้นถ้าเราสามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการเราก็จะไม่ทุกข์
ในทางปฎิบัติ อดัม สมิธ ผู้ให้กำเนิดวิชาเศรษฐศาสตร์พบว่า ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่จำกัด แต่ทรัพยากรที่จะมาผลิตสินค้าและบริการนั้นมีจำกัด จึงเป็นที่มาของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มีเป้าหมายศึกษาวิธีในการ จัดสรรทรัพย์กรที่มีจำกัดเพื่อผลิตสินค้าและบริการมาตอบสองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่จำกัดให้ได้
สำหรับพระพุทธศาสนา มองว่าอวิชชาหรือความไม่รู้จริงของนามรูปนั่นแหละจึงเป็นเหตุของความทุกข์ที่แท้จริง พระพุทธศาสนาจึงมุงศึกษาภายในจิตใน เมื่อรู้ตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด (โลภะ/ตัณหา) เมื่อคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติ(ความเกิด)สิ้นแล้ว พรหมจรรย์(การศึกษาปฎิบัติธรรม) อยูจบแล้ว
วิธีที่จะทำให้จิตรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริงที่ตรงไปตรงมาที่สุดคือ การมีสติ ระลึกรู้ สภาวะธรรมที่กำลังปรกฎ ตามความเป็นจริง
เรียบเรียงจาก
ปราโมทย์ สันตยากร(พลวงพ่อปราโมทย์) วิถีแห่งความรู้แจ้ง ฉบับรวมเล่ม สำนักพิมพ์ธรรมดา
หนังสือเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น