หยุดรับจำนำ หยุดประกันราคาได้แล้ว
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 04, 2009 11:31 am
การที่รัฐบาลเข้าประกันราคาข้าวโดยอาศัยราคาอ้างอิงนั้นได้สร้างปัญหามากมาย และ ทำให้รัฐบาลต้องขาดทุนเป็นยอดเงินหลายหมื่นล้านบาท แนวคิดนี้ก็ยังคงไม่ต่างอะไรกับการรับจำนำนัก ในประเด็นที่เหมือนกันก็คือ ขาดทุนของรัฐบาลไทย คือ กำไรของชาวนาและโรงสี เป็นการโยนเงินงบประมาณของคนทั้งประเทศไปเพื่อใส่เงินในกระเป๋าของเกษตรกร และโรงสี ซึ่งพวกเขาพยายามทำให้ราคาต่ำเข้าไว้ และ เอาเงินส่วนต่างจากรัฐบาล
ในความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินมาเพื่อสนับสนุนราคาข้าว เงินตรงนี้ก็คือ เงินในอนาคตของรุ่นลูกหลานนั่นเอง หากลูกของคุณถามว่า พ่อครับ ทำไมต้องเอาเงินในอนาคตของผมไปให้ชาวนาและโรงสีด้วย แล้วรัฐบาลทำไมไม่ขออนุญาตผมสักคำเลย มันยุติธรรมแล้วหรือครับ เจอคำถามแบบนี้พวกคุณจะตอบว่าอย่างไร หยุดการกระทำที่โยนภาระให้รุ่นลูกหลานได้แล้วครับ
แล้วจะให้ทำอย่างไรละ...ในเมื่อสินค้าเกษตรราคาตกต่ำเช่นนี้ นี่เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก และ คำตอบในเกือบทุกเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจมีอยู่ใน เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก หลักการที่เน้นการยืมพลัง และ การรักษาสมดุลหยินหยาง โดยไม่ต้องใช้เงินงบประมาณเลยแม้แต่น้อย เรื่องการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำนี้เป็น 2 กระบวนท่าใน 18 กระบวนท่าเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก
อังค์ถัดกล่าวว่า ปัจจุบัน เศรษฐกิจบนกระดาษนั้นมีสัดส่วนถึง 89% ขณะที่เศรษฐกิจจริงนั้นมีสัดส่วนเพียง 11% เท่านั้นเอง ตอนนี้ ข้าว เป็นสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภคเท่านั้น เราควรยืมพลังของเศรษฐกิจบนกระดาษมาช่วยเหลือด้วย คือ ต้องจัดตั้ง กองทุนรวม สินค้าเกษตรโดยเฉพาะ ข้าว ขึ้นมา โดยยึดหลักการของการเปลี่ยน สินค้า ให้เป็น สินทรัพย์ วิธีนี้จะช่วยเพิ่มอุปสงค์ได้อีกมาก เพราะ คนหนึ่งคนจะบริโภคข้าวได้เพิ่มไม่เท่าไหร่ แต่คนหนึ่งคนจะสามารถลงทุนในข้าวเพิ่มได้อย่างมากมาย แนวคิดนี้ก็คงไม่แตกต่างจาก กองทุนรวมน้ำมัน และ กองทุนรวมทองคำ เท่าใดนัก มีการลงทุนในทองคำมากกว่าการซื้อทองคำเป็นเครื่องประดับ ในสัดส่วนที่เทียบกันไม่ได้เลย ทองคำ และ น้ำมัน ได้ถูกแปรสภาพจาก สินค้า เพื่อการบริโภค ไปเป็น สินทรัพย์ เพื่อการลงทุนไปแล้ว เราก็จะทำแบบเดียวกันนี้สินค้าเกษตรของไทยเช่นเดียวกัน
เมื่อจัดตั้งกองทุนรวมสินค้าเกษตรไทยเรียบร้อยแล้ว.... ก็ออกกฎให้กองทุนบำนาญทุกกองทั้งประเทศ (กบข. ประกันสังคม สำรองเลี้ยงชีพ และ ประกันชีวิต รวมสินทรัพย์ 2.5 ล้านล้านบาท) ต้องลงทุนในกองทุนรวมสินค้าเกษตรไทย หรือ สัญญาซื้อล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ไม่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของสินทรัพย์ ด้วยวิธีง่ายๆ เช่นนี้เอง ก็จะเพิ่มอุปสงค์ขึ้นมาเป็นเงินถึง 1.25 แสนบาท เพื่อสนับสนุนราคาข้าวและสินค้าเกษตรต่างๆ และยอดเงินนี้จะเพิ่มทุกปีตามขนาดของกองทุนบำนาญ
ไม่เพียงแต่ ยืมพลัง กองทุนบำนาญเท่านั้น หากยอดเงินตรงนั้นไม่เพียงพอ ไทยควรให้ ธปท.จัดตั้ง กองทุนรวมมั่งคั่งแห่งชาติ (SWF :Sovereign Wealth Fund) ขึ้นมาโดยเจียดเงินเพียง 1 หมื่นล้านเหรียญ สรอ.จากยอดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 1.3 แสนล้านเหรียญ สรอ. ก็เป็นเงินถึง 3.4 แสนล้านบาทแล้ว ไม่ใช่เพื่อลงทุนหุ้นแบบที่ประเทศอื่นๆ ทำ แต่นำไปเพื่อลงทุนในสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินทรัพย์เพื่อความมั่งคั่งของเกษตรกรไทย ดังนั้น กองทุนนี้ก็จะมีสินทรัพย์เป็นสินค้าเกษตรซึ่งราคาสูงขึ้นตลอด และ ยังผลต่อเนื่องให้เกิดความมั่งคั่งต่อเกษตรไทยอีกด้วย
แน่นอนว่าในลักษณะเช่นนี้ ไทยเราอาจขอความร่วมมือจากพันธมิตรอาเซียน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของทั้ง ข้าว และ ยาง โดยเฉพาะจากประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประเทศละ 1 หมื่นล้านเหรียญ สรอ. ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนราคาสินค้าเกษตรอาเซียน ปริมาณยอดเงินก็อาจสูงขึ้นได้เป็น 4 เท่า หรือสูงกว่า 1.3 ล้านล้านบาท หากเงินจำนวนนี้เปลี่ยนไปเป็นอุปสงค์ของสินค้าเกษตรเพื่อการลงทุนแล้วละก็ เราก็อาจเห็นราคาข้าว และ ยางสูงขึ้นเท่าตัวได้อย่างไม่ยากเย็นอะไรเลย เพราะยอดเงินนี้สูงกว่าการส่งออกข้าว และ ยาง ของทั้งภูมิภาคนี้รวมกันเสียอีก
และในท้ายที่สุด ไทยเรายังขอความร่วมมือจากประเทศจีน และ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียนี้ รวมไปถึงประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก ให้เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากภูมิอากาศแปรปรวนจากสภาวะโลกร้อน พวกเขาก็เริ่มจะต้องกังวลในเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย ด้วยการซื้อกองทุนรวมสินค้าเกษตรอาเซียน จำนวนเม็ดเงินมหาศาลจากทั้ง กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนบำนาญ และ เฮดจ์ฟันด์ จากทั่วโลก ยิ่งจะสนับสนุนราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้นกว่าระดับนี้ได้อีกมากมาย
สิ่งที่ผมอยากขอร้องก็คือ หยุด ยืมเงินรุ่นลูกหลานทั้งประเทศมาเพื่อให้กับคนแค่ 1 ใน 3 ของประเทศได้แล้ว แต่เปลี่ยนไปใช้การ ยืมพลัง แทนที่การใช้งบประมาณของภาครัฐใส่ลงไปตรงๆ ซึ่งก็พบว่าไม่ได้ช่วยต่ออุปสงค์ที่แท้จริง และ ราคาตลาดที่แท้จริงเท่าใดนัก
หากจะมีคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ทำอย่างไรจะให้ข้าวราคาดีได้ โดยรัฐบาลไม่ขาดทุน ผมก็คิดว่าแนวคิดนี้น่าจะเป็นคำตอบที่ดี เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก ยังช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทั้งด้านปัญหาหนี้สิน ปัญหาการท่องเที่ยว และอื่นๆ จึงอยากขอร้องให้ผู้กำหนดนโยบายได้ไปศึกษาในเรื่องนี้ด้วยครับ
ในความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินมาเพื่อสนับสนุนราคาข้าว เงินตรงนี้ก็คือ เงินในอนาคตของรุ่นลูกหลานนั่นเอง หากลูกของคุณถามว่า พ่อครับ ทำไมต้องเอาเงินในอนาคตของผมไปให้ชาวนาและโรงสีด้วย แล้วรัฐบาลทำไมไม่ขออนุญาตผมสักคำเลย มันยุติธรรมแล้วหรือครับ เจอคำถามแบบนี้พวกคุณจะตอบว่าอย่างไร หยุดการกระทำที่โยนภาระให้รุ่นลูกหลานได้แล้วครับ
แล้วจะให้ทำอย่างไรละ...ในเมื่อสินค้าเกษตรราคาตกต่ำเช่นนี้ นี่เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก และ คำตอบในเกือบทุกเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจมีอยู่ใน เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก หลักการที่เน้นการยืมพลัง และ การรักษาสมดุลหยินหยาง โดยไม่ต้องใช้เงินงบประมาณเลยแม้แต่น้อย เรื่องการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำนี้เป็น 2 กระบวนท่าใน 18 กระบวนท่าเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก
อังค์ถัดกล่าวว่า ปัจจุบัน เศรษฐกิจบนกระดาษนั้นมีสัดส่วนถึง 89% ขณะที่เศรษฐกิจจริงนั้นมีสัดส่วนเพียง 11% เท่านั้นเอง ตอนนี้ ข้าว เป็นสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภคเท่านั้น เราควรยืมพลังของเศรษฐกิจบนกระดาษมาช่วยเหลือด้วย คือ ต้องจัดตั้ง กองทุนรวม สินค้าเกษตรโดยเฉพาะ ข้าว ขึ้นมา โดยยึดหลักการของการเปลี่ยน สินค้า ให้เป็น สินทรัพย์ วิธีนี้จะช่วยเพิ่มอุปสงค์ได้อีกมาก เพราะ คนหนึ่งคนจะบริโภคข้าวได้เพิ่มไม่เท่าไหร่ แต่คนหนึ่งคนจะสามารถลงทุนในข้าวเพิ่มได้อย่างมากมาย แนวคิดนี้ก็คงไม่แตกต่างจาก กองทุนรวมน้ำมัน และ กองทุนรวมทองคำ เท่าใดนัก มีการลงทุนในทองคำมากกว่าการซื้อทองคำเป็นเครื่องประดับ ในสัดส่วนที่เทียบกันไม่ได้เลย ทองคำ และ น้ำมัน ได้ถูกแปรสภาพจาก สินค้า เพื่อการบริโภค ไปเป็น สินทรัพย์ เพื่อการลงทุนไปแล้ว เราก็จะทำแบบเดียวกันนี้สินค้าเกษตรของไทยเช่นเดียวกัน
เมื่อจัดตั้งกองทุนรวมสินค้าเกษตรไทยเรียบร้อยแล้ว.... ก็ออกกฎให้กองทุนบำนาญทุกกองทั้งประเทศ (กบข. ประกันสังคม สำรองเลี้ยงชีพ และ ประกันชีวิต รวมสินทรัพย์ 2.5 ล้านล้านบาท) ต้องลงทุนในกองทุนรวมสินค้าเกษตรไทย หรือ สัญญาซื้อล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ไม่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของสินทรัพย์ ด้วยวิธีง่ายๆ เช่นนี้เอง ก็จะเพิ่มอุปสงค์ขึ้นมาเป็นเงินถึง 1.25 แสนบาท เพื่อสนับสนุนราคาข้าวและสินค้าเกษตรต่างๆ และยอดเงินนี้จะเพิ่มทุกปีตามขนาดของกองทุนบำนาญ
ไม่เพียงแต่ ยืมพลัง กองทุนบำนาญเท่านั้น หากยอดเงินตรงนั้นไม่เพียงพอ ไทยควรให้ ธปท.จัดตั้ง กองทุนรวมมั่งคั่งแห่งชาติ (SWF :Sovereign Wealth Fund) ขึ้นมาโดยเจียดเงินเพียง 1 หมื่นล้านเหรียญ สรอ.จากยอดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 1.3 แสนล้านเหรียญ สรอ. ก็เป็นเงินถึง 3.4 แสนล้านบาทแล้ว ไม่ใช่เพื่อลงทุนหุ้นแบบที่ประเทศอื่นๆ ทำ แต่นำไปเพื่อลงทุนในสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินทรัพย์เพื่อความมั่งคั่งของเกษตรกรไทย ดังนั้น กองทุนนี้ก็จะมีสินทรัพย์เป็นสินค้าเกษตรซึ่งราคาสูงขึ้นตลอด และ ยังผลต่อเนื่องให้เกิดความมั่งคั่งต่อเกษตรไทยอีกด้วย
แน่นอนว่าในลักษณะเช่นนี้ ไทยเราอาจขอความร่วมมือจากพันธมิตรอาเซียน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของทั้ง ข้าว และ ยาง โดยเฉพาะจากประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประเทศละ 1 หมื่นล้านเหรียญ สรอ. ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนราคาสินค้าเกษตรอาเซียน ปริมาณยอดเงินก็อาจสูงขึ้นได้เป็น 4 เท่า หรือสูงกว่า 1.3 ล้านล้านบาท หากเงินจำนวนนี้เปลี่ยนไปเป็นอุปสงค์ของสินค้าเกษตรเพื่อการลงทุนแล้วละก็ เราก็อาจเห็นราคาข้าว และ ยางสูงขึ้นเท่าตัวได้อย่างไม่ยากเย็นอะไรเลย เพราะยอดเงินนี้สูงกว่าการส่งออกข้าว และ ยาง ของทั้งภูมิภาคนี้รวมกันเสียอีก
และในท้ายที่สุด ไทยเรายังขอความร่วมมือจากประเทศจีน และ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียนี้ รวมไปถึงประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก ให้เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากภูมิอากาศแปรปรวนจากสภาวะโลกร้อน พวกเขาก็เริ่มจะต้องกังวลในเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย ด้วยการซื้อกองทุนรวมสินค้าเกษตรอาเซียน จำนวนเม็ดเงินมหาศาลจากทั้ง กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนบำนาญ และ เฮดจ์ฟันด์ จากทั่วโลก ยิ่งจะสนับสนุนราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้นกว่าระดับนี้ได้อีกมากมาย
สิ่งที่ผมอยากขอร้องก็คือ หยุด ยืมเงินรุ่นลูกหลานทั้งประเทศมาเพื่อให้กับคนแค่ 1 ใน 3 ของประเทศได้แล้ว แต่เปลี่ยนไปใช้การ ยืมพลัง แทนที่การใช้งบประมาณของภาครัฐใส่ลงไปตรงๆ ซึ่งก็พบว่าไม่ได้ช่วยต่ออุปสงค์ที่แท้จริง และ ราคาตลาดที่แท้จริงเท่าใดนัก
หากจะมีคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ทำอย่างไรจะให้ข้าวราคาดีได้ โดยรัฐบาลไม่ขาดทุน ผมก็คิดว่าแนวคิดนี้น่าจะเป็นคำตอบที่ดี เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก ยังช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทั้งด้านปัญหาหนี้สิน ปัญหาการท่องเที่ยว และอื่นๆ จึงอยากขอร้องให้ผู้กำหนดนโยบายได้ไปศึกษาในเรื่องนี้ด้วยครับ