Price to Sales Ratio

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อันนี้ผมติดใจนิดหน่อยว่า
ใน TVI ไมไ่ด้กล่าวถึงตัว RATIO ตัวนี้เท่าไร
ผมเห็นว่า ควรศึกษาค่า RATIO ตัวนี้ไว้ด้วยก็ดี
เพราะ บ้างครั้ง PE ,PB ,ROA และ ROE ไม่พอใจการดูคร่าวๆ
คงเพิ่มตัวนี้เข้าไปด้วย
รายละเอียด
http://stocks.about.com/od/evaluatingstocks/a/ps.htm
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2494
ผู้ติดตาม: 2

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมว่า P/S มันบอกอะไรในตัวมันไม่ค่อยได้ครับ สู้อัตราส่วนอื่นๆไม่ได้

ถ้าจะเทียบในอุตสาหรรมเดียวกันเช่นระหว่าง SYNEX (0.1340) และ SIS (0.1479)
ดูเหมือน SIS จะด้อยกว่า แต่จริงๆแล้ว SIS ขายสินค้า margin สูงกว่า ควบคุมต้นทุนได้ดีกว่า และทำกำไรได้ดีกว่า

ถ้าไปเทียบข้ามอุตสาหกรรมเช่น HTECH ล่ะจบกัน (3.5715) :lol:  :lol:  :lol:

ปล. ผมเอารายได้แค่ 3 Q 2009 มาคำนวณนะครับ จริงๆต้อง 4 Q :oops:  :oops:  :oops:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
densin
Verified User
โพสต์: 1073
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 3

โพสต์

P/S ก็คือ market-capt/ ส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
เสมือนการเทียบราคากับครอบครองตลาด
ผมก็ชอบ P/S นะตรงที่สามารถเทียบบริษัทต่างธุรกิจหรือต่างsupply chinได้
เพราะถ้าดูเทียบPEอย่างเดียว แต่ธุรกิจต่างกันเห็นภาพที่บิดเบือน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Sumotin
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมว่าต้องใช้กับบริษัทที่มีส่วนของ Margin ที่ค่อนข้างคงที่หรือเพิ่มขึ้น ไม่งั้นคงบอกถึงการทำกำไรไม่ได้เลย นะครับ
Timing is everything, no matter what you do.

CAGR of 34% in the past 15 years of investment
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2494
ผู้ติดตาม: 2

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 5

โพสต์

densin เขียน:P/S ก็คือ market-capt/ ส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
เสมือนการเทียบราคากับครอบครองตลาด
ผมก็ชอบ P/S นะตรงที่สามารถเทียบบริษัทต่างธุรกิจหรือต่างsupply chinได้
เพราะถ้าดูเทียบPEอย่างเดียว แต่ธุรกิจต่างกันเห็นภาพที่บิดเบือน
พี่ densin ช่วยขยายความตรงนี้ได้ไหมครับว่าเทียบยังไง :roll:  :roll:  :roll:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
densin
Verified User
โพสต์: 1073
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ลองมองว่าตลาดทั้งโลกคือเค้กก้อนใหญ่ๆ
บางกลุ่มกินหน้าเค้ก บางกลุ่มกินเนื้อเค้ก บางกลุ่มกินไส้เค้ก
ตามส่วนแบ่งตลาด ของแต่ละชนิดธุรกิจ
เราจะให้ราคาแต่ละส่วนแบ่งอย่างไร

ในแต่ละส่วนมันก็มีมูลค่านะ อาจจะเป็นมูลค่าของ จำนวนลูกค้า connection brand การเป็นที่รู้จัก ...etc
ถึงบางบริษัทจะกำไรน้อย เพราะกินเนื้อเค้ก ไม่ได้กินหน้าเค้ก
แต่การสร้างกิจการใหม่ให้ได้ยอดขายเท่าเท่ากันก็มีมูลค่าของมัน
(replacement cost)

อันนี้อาจจะต่างจาก valuation ด้านผลตอบแทน
เช่นพวก P/E, EV/EBITDA, %dividen ที่เป็นการมองด้านการทำกำไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
baby-investor
Verified User
โพสต์: 312
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผมมองว่าการลงทุนในกิจการน่าจะดูกำไรที่ได้เทียบกับราคาที่เราซื้อนะครับ (ซึ่งก็คือค่า PE ratio) เหมือนกับว่าเราซื้อธุรกิจและเราทำธุรกิจจริงๆ แล้วมองว่าบริษัทนี้กำไรขนาดนี้ เราจะซื้อที่ราคาเท่าไหร่ กี่ปีคืนทุน กำไรที่ได้ยั่งยืนสม่ำเสมอหรือไม่

สำหรับในตัวของธุรกิจเองก็มีธุรกิจประเภทที่ขายสินค้าที่เน้นจำนวนมากๆ ซึ่งพวกนี้ก็อย่างเช่น พวกขายส่ง หรือพวกที่เน้นยอดขาย หรือพวกค้าปลีก (กลุ่มนี้ PS ratio จะต่ำ) อีกจำพวกหนึ่งก็เป็นธุรกิจที่ไม่ต้องเน้นขายมาก แต่ขอเอากำไรเยอะๆ ซึ่งก็จะเป็นพวกธุรกิจเฉพาะ หรือพวกธุรกิจอาหาร (กลุ่มนี้ PS ratio จะสูงกว่า) ดังนั้นผมคิดว่าการจะนำ PS ratio มาคิด คงต้องเทียบกับธุรกิจปรเภทเดียวกันนะครับ ไม่อย่างนั้นจะทำให้เข้าใจผิดได้
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมขอมองกลับล่ะกัน
PS นี้มันมีัทั้งตัวเปรียบเทียบภาพใหญ่คือตัวอุตสาหกรรม ประเทศไทยไม่ได้มีตัวนี้ไว้เทียบ มีแต่ PE เพราะ อุตสาหกรรมแต่ละอย่างไม่ได้บอก มูลค่าไว้ทั้งหมด ทำให้หาค่า PS โดยรวมไม่ได้

PS ภาพเล็กคือ แต่ละบริษัท อันนี้สามารถเอามาเปรียบเทียบกันได้
เช่น IBM เทียบกับ DELL หรือเทียบกับ HP
เป็นต้น
:)
:)
Hughes
Verified User
โพสต์: 1088
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ชอบนะครับ ratio นี้

ใช้อยู่บ้างเหมือนกัน
เล่นหุ้นคนแก่ แต่แอบเปรี้ยวเป็นบางเวลา
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 10

โพสต์

Hughes เขียน:ชอบนะครับ ratio นี้

ใช้อยู่บ้างเหมือนกัน


ใช้แล้วบอกอะไรบ้าง
มีข้อดี-เสียยังไงอ่ะ

เหมาะสำหรับกลุ่มธุรกิจทีมีสาขาอย่างเดียวไหม
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 11

โพสต์

PS ratio คิดว่าน่าจะเอาไว้เลือกธุรกิจแบบ top down คือได้กลุ่ม industry มาก่อนแล้วมาเลือกตัวที่ดีที่สุดในกลุ่มนั้น เพราะการเทียบกับ sales เป็นการดูสามารถในการแข่งขันเพียวๆ ปัจจัยพวกการบริหารค่าใช้จ่ายหรือบริหารเงินสด เราจะถือว่าถ้าอยู่ในกลุ่ม industry เดียวกัน น่าจะไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามให้ระวังเรื่องการรับรู้รายได้เป็นสำคัญ เพราะถ้ามีนโยบายการรับรู้รายได้ไม่เหมือนกัน คิดว่าดู PE ดีกว่า เพราะการรับรู้รายได้ค่าใช้จ่าย เค้าให้ทำเป็นรายการคู่แฝด มีแต่รายได้หรือค่าใช้จ่ายลอยๆมาไม่ได้ ดู PE จะปลอดภัยกว่า

โดยส่วนตัวคิดว่า ควรดู PS เพื่อดู confirm แนวโน้มธุรกิจ ว่าตลาดโตขึ้น PS ควรลด เพราะถ้าดูเป็น PE อาจมองไม่ชัด หรือ PE สูงขึ้น แต่ PS ลด อันนี้อาจจับตามอง เพราะการขยายตลาดช่วงแรกๆใช้ค่าใช้จ่ายในการเปิดตัวสูง forward PE ในปีถัดมาอาจจะไม่แพงก็ได้
.....Give Everything but not Give Up.....
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 12

โพสต์

krisy เขียน:PS ratio คิดว่าน่าจะเอาไว้เลือกธุรกิจแบบ top down คือได้กลุ่ม industry มาก่อนแล้วมาเลือกตัวที่ดีที่สุดในกลุ่มนั้น เพราะการเทียบกับ sales เป็นการดูสามารถในการแข่งขันเพียวๆ ปัจจัยพวกการบริหารค่าใช้จ่ายหรือบริหารเงินสด เราจะถือว่าถ้าอยู่ในกลุ่ม industry เดียวกัน น่าจะไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามให้ระวังเรื่องการรับรู้รายได้เป็นสำคัญ เพราะถ้ามีนโยบายการรับรู้รายได้ไม่เหมือนกัน คิดว่าดู PE ดีกว่า เพราะการรับรู้รายได้ค่าใช้จ่าย เค้าให้ทำเป็นรายการคู่แฝด มีแต่รายได้หรือค่าใช้จ่ายลอยๆมาไม่ได้ ดู PE จะปลอดภัยกว่า

โดยส่วนตัวคิดว่า ควรดู PS เพื่อดู confirm แนวโน้มธุรกิจ ว่าตลาดโตขึ้น PS ควรลด เพราะถ้าดูเป็น PE อาจมองไม่ชัด หรือ PE สูงขึ้น แต่ PS ลด อันนี้อาจจับตามอง เพราะการขยายตลาดช่วงแรกๆใช้ค่าใช้จ่ายในการเปิดตัวสูง forward PE ในปีถัดมาอาจจะไม่แพงก็ได้
 

ใช้ดูเงินลงทุนด้วยว่ามันคุ้มไหมต่อสาขานั้น
ใช้ดูการเจริญโตหรือการทดถอยของธุรกิจต่อสาขานั้นๆ
ใช้ดูความสามารการทำกำไรต่อสาขานั้นๆ

ใช่เปล่าพี่กบ ผมลืมแล้วอ่ะ  :D
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
ภาพประจำตัวสมาชิก
holidaytours
Verified User
โพสต์: 349
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ผมไม่ค่อยสนใจนะครับ
ยกตัวอย่างว่าเราขายสินค้า ได้ร้อยชิ้น
แต่ว่าทุกชิ้นมันขาดทุน 1 บาท
เพราะเราขายเพื่อต้องการโชว์ยอดขาย
งึ่ม ๆ
ส่วนตัวผมไม่ค่อยได้สนใจนะครับ  
สนใจกำไรกับยอดขายประกอบกันนะครับ
ถ้ายอดขายอย่างเดียวไม่สนใจเลยครับ
:lol:
สิ่งทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับใจ มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จเพราะใจ - พุทธภาษิต
งาน อาชีพเสริมทำเงินล้าน สร้างรายได้ ธุรกิจส่วนตัว รวย!
Hughes
Verified User
โพสต์: 1088
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ผมมองแบบว่าถ้าผมจะเริ่มทำธุรกิจใหม่
การเพิ่มยอดขายต้องใช้เงินและเวลาอย่างมากกว่าจะได้ยอดขายที่สูง
แต่การที่จะเริ่มทำธุรกิจเล็กๆแล้วมาร์จิ้นสูงๆอาจจะไม่ยากเท่าไหร่

ถ้ามียอดขายสูงแล้วมาปรับปรุงโครงสร้าง cut-cost /ขึ้นราคาสินค้า หรือปรับ mix สินค้า margin ก็สูงได้อย่างรวดเร็ว (ยกตัวอย่าง cpall เพิ่มสัดส่วนสินค้าอาหารก็เพิ่ม margin ได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าจะเพิ่มยอดขายนี่ต้องออกแรงเปิดสาขากี่สาขากว่ายอดจะโตแต่ละ %)

สรุปผมว่าเพิ่มยอดขายยากกว่าเพิ่ม margin
เล่นหุ้นคนแก่ แต่แอบเปรี้ยวเป็นบางเวลา
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 15

โพสต์

[quote="RONNAPUM"]

ใช้ดูเงินลงทุนด้วยว่ามันคุ้มไหมต่อสาขานั้น
ใช้ดูการเจริญโตหรือการทดถอยของธุรกิจต่อสาขานั้นๆ
ใช้ดูความสามารการทำกำไรต่อสาขานั้นๆ

ใช่เปล่าพี่กบ ผมลืมแล้วอ่ะ
.....Give Everything but not Give Up.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
baby-investor
Verified User
โพสต์: 312
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 16

โพสต์

โดยส่วนตัวมองว่า PS ratio เป็นค่าที่มองราคาเทียบกับยอดขาย ซึ่งยอดขายจะเป็นตัวสะท้อน market share ในตลาด โดนเฉพาะตลาดที่มีผู้เล่นไม่กี่ราย แต่ราคาที่จะจ่ายสำหรับซื้อธุรกิจนั้นๆหรือ price น่าจะต้องมองอัตราการเติบโตของยอดขาย ไม่ว่าจะเป็นการขยายไปใน segment อื่น (อย่างเช่นเครื่อง wii ที่เจาะ segment ครอบครัว) หรือขยายไปในตลาดอื่นๆประเทศอื่นๆ รวมถึงการเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาดของเราจากผู้เล่นหน้าเดิมและผู้เล่นหน้าใหม่ (สำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ ผมว่าคงต้องดูกำลังเงิน ทีมงาน แบรนด์ segmentตลาดที่เขาเข้ามา ฯลฯ)
นอกจากนี้คงต้องมอง margin ที่บริษัททำได้ด้วย สำหรับบริษัทที่กด margin ต่ำเพื่อสร้างยอดขายและยืนระยะได้นั้น คงต้องดูว่าในท้ายที่สุดจะเป็นผู้ชนะได้หรือไม่ หรือทำธุรกิจกันอย่างยากลำบากกันหมดทุกราย เพราะแข่งกันลดราคา (ทั้งนี้บริษัทที่สร้าง margin ได้สูงกว่าคู่แข่ง ถือว่ามีจุดเด่นกว่าคู่แข่งไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งครับ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนที่ต่ำกว่าด้วยขนาดของกิจการ ฝีมือทีมบริหาร แบรนด์ซึ่งทำให้ขายสินค้าได้แพงกว่าและได้รับความเชื่อถือมากกว่า ฯลฯ) เหล่านี้คงต้องดูว่าตลาดใหญ่ขนาดไหนและสามารถเคลื่อนตัวไปใน segment ใหม่ได้มากน้อยแค่ไหน
ในท้ายที่สุดผมมอง PE ratio ที่สะท้อนถึงราคาที่ซื้อกับกำไรที่ทำได้ แต่ทั้งนี้คงต้องตัดสิ่งที่ทำให้กำไรมีความผันผวนออกไปให้มากที่สุดครับ
ในหลายๆธุรกิจ S จะอ่อนไหวน้อยกว่า E ซึ่ง PS ratio เป็นเครื่องมือที่ช่วยมองได้ระดับนึง ซึ่งคงต้องใช้พิจารณาร่วมกับค่าอื่นๆประกอบครับ
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ไหนมีคนยกกรณีของ Cpall ขึ้นมา
ก็ต้องยกตัวที่คล้ายกันแต่เป็นขนาดใหญ่กว่า คือ makro และ bigc
พวกนี้เป็นอุตสาหกรรมเดียวกันหมด คือ ค้าปลีกแต่เจาะคนละตลาด
ทำให้เปลี่ยนเทียบกันโดยตรงไม่ได้ว่า ใครกินส่วนแบ่งเค้กของค้าปลีกมากกว่ากัน ดูจาก PE ก็ไม่ได้บอกว่า ใครเป็นเบอร์หนึ่งของธุรกิจนี้
แต่หากดู PS น่าจะดูได้ว่า ใครกินมากกว่าใคร

เพราะธุรกิจนี้ ธรรมชาติมาร์จิ้นต่ำ เอายอดขาย และเอาเงินสดของ suppiler มาหมุนก่อน แล้วค่อยจ่ายที่หลัง

:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Sumotin
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เพิ่มอีกอันนึงนะครับเรื่อง ที่เค้าดู Ratio ตัวนี้กันบางอาจจะเนื่องมาจาก Sales นั้นโดนตกแต่งได้ยากกว่า Net income หนะครับ ตามที่ผมคิดนะครับ
Timing is everything, no matter what you do.

CAGR of 34% in the past 15 years of investment
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2494
ผู้ติดตาม: 2

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 19

โพสต์

miracle เขียน:พวกนี้เป็นอุตสาหกรรมเดียวกันหมด คือ ค้าปลีกแต่เจาะคนละตลาด
ทำให้เปลี่ยนเทียบกันโดยตรงไม่ได้ว่า ใครกินส่วนแบ่งเค้กของค้าปลีกมากกว่ากัน ดูจาก PE ก็ไม่ได้บอกว่า ใครเป็นเบอร์หนึ่งของธุรกิจนี้
แต่หากดู PS น่าจะดูได้ว่า ใครกินมากกว่าใคร
เอา market cap / sale ของบริษัทสามารถบอกได้หรอครับว่าใครกินมากกว่าใคร :roll:  :roll:  :roll:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 20

โพสต์

sorawut เขียน:
เอา market cap / sale ของบริษัทสามารถบอกได้หรอครับว่าใครกินมากกว่าใคร :roll:
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
sorawut
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2494
ผู้ติดตาม: 2

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณมากครับ ขอไปจดๆจ้องๆก่อน :lol:  :lol:  :lol:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
terati20
Verified User
โพสต์: 1104
ผู้ติดตาม: 0

Price to Sales Ratio

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ผมว่า PS ดีนะ ขยายโครงการเรื่อยๆ จับกลุ่มรายได้ไม่สูง
คุณ ทองมา ก็ เก่ง


:8)  :8)  :8)  :8)
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ เเละดับไปในที่สุด
โพสต์โพสต์