สรุปใจความสำคัญ บทสัมภาษณ์ของคุณ Invisible Hand ครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 25, 2009 12:09 am
ต้องรีบเขียนครับ เดี๋ยวลืม เพราะผมเป็นพวกปลาทอง
คุณ IH : Invisible Hand หรือ มือที่มองไม่เห็น
คุณคเชนทร์ ได้ให้ที่มาของ login นี้ว่ามาจาก adam smith (นักเศรษฐศาสตร์)
ซึ่งให้คำนิยามว่าคือ "กลไก" ของมือที่มองไม่เห็น
ตีความหมายคือ ทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และสุดท้ายแล้ว ทุกอย่างก็จะไปด้วยตัวของมันเอง จะดีด้วยตัวของมันเอง
เช่น ตำรวจก็ทำหน้าที่ของตำรวจ คนในโรงงานก็ทำหน้าที่ของตน
พูดง่ายๆก็คือ "ทำหน้าที่ของตัวเราเอง ให้ดีที่สุด"
คุณคเชนทร์จบ ป.ตรี วิศวะ จุฬา (รุ่นน้อง ดร.นิเวศน์) แล้วไปต่อ ป.โท ด้านเศรษฐศาสตร์
ปัจจุบันเป็นกรรมการที่ SE-ED เวลาครึ่งหนึ่งทำด้านการลงทุน อีกครึ่งหนึ่งทำงานด้านการศึกษา (เพราะอยากตอบแทนสังคม และเชื่อว่าการศึกษาคือพื้นฐานที่สำคัญที่สุด)
คุณคเชนทร์บอกว่าเริ่มลงทุนครั้งแรกตั้งแต่สมัย ม.1
ในอดีต บ้านอยู่ไกล (แกบอกว่ารัชดา แต่ก่อนนั้นเหมือนต่างจังหวัด) ไปไหนลำบาก
เวลาส่วนใหญ่จึงอยู่ที่บ้าน และไม่ได้ทำอะไร จึงใช้เวลาส่วนมากไปกับการอ่านหนังสือ
และเพราะว่าที่บ้านรับหนังสือพิมพ์ธุรกิจ และได้เห็นตารางหุ้นผ่านตาบ่อย เลยอ่านเล่น
ที่สนใจเพราะเห็นว่าเกี่ยวกับ "ตัวเลข" และราคาหุ้นมันขึ้นลงได้ แต่ตอนแรกก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรมากนัก
เริ่มเล่น/ลงทุนในหุ้นครั้งแรกเมื่อตอนเรียน ปี 1 หุ้นสองตัวแรกที่ซื้อคือ ธนสยาม และ shin
โดยนำเงินที่ได้จากการเข้ามหาลัยมาเป็นเงินลงทุนก้อนแรก เหตุผลที่สนใจตลาดหุ้น เพราะมองว่าผลตอบแทน(ดอกเบี้ย)จากธนาคารนั้นต่ำ
หนังสือการลงทุนเล่มแรกที่อ่าน เป็นของ อ.วีระ ธีรภัทร (ตีแตก สมัยนั้นยังไม่มี)
-------------------------------------------------------------------------
ในช่วงแรก (ปี 1) พ.ศ. 2538 ช่วงนั้นเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว
คุณคเชนทร์บอกว่าแนวทางการลงทุนตอนนั้นคือ ดูค่า p/e เป็นหลัก ซึ่งเจอกับดักของค่า p/e เล่นงานพอสมควร
ตอนนั้นรู้เพียงว่า p/e ต่ำ คือหุ้นถูก เลยซื้อ (ตอนนั้นยังไม่รู้จักการลงทุนแนวเน้นคุณค่า)
แต่เนื่องด้วยปัญหาของเศรษฐกิจ และมีหลักเพียงดูแค่ p/e ต่ำแล้วซื้อ ผลคือทำให้ขาดทุน
หยุดเล่นไปสองปี ขายหมดพอร์ทแบบขาดทุน
สมัยนั้นเรียนหนังสืออยู่ด้วย คุณคเชนทร์บอกว่า ตนให้ความสำคัญเรื่องการเรียนมากกว่า
หลังจาก จบ ป.ตรี ก็ต่อ ป.โท เลยทันที
เหตุผลที่เลือกเรียนเศรษฐศาสตร์เพราะคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใด หากเรามีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ เราจะสามารถใช้ความรู้นั้นได้ตลอดชีวิต
อีกเหตุผลหนึ่งที่ตัดสินใจเรียนเพราะว่าช่วงนั้นเศรษฐกิจไม่ค่อยดีด้วย
แนวทางการลงทุนเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ หลังจากได้อ่าน "ตีแตก"
ตีแตก ทำให้คุณคเชนทร์มีมุมมองในการลงทุนที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
หลักสำคัญคือ ต้องลงทุนในธุรกิจที่สัมผัสได้ และให้ความสำคัญเรื่องความแข็งแกร่งของตัวธุรกิจ
เป็นสินค้า/บริการที่ต้องเข้าข่ายลักษณะการ "ซื้อซ้ำ"
ห้ามดูเฉพาะตัวเลขทางการเงิน แต่ต้องให้ความสำคัญเชิงปัจจัยคุณภาพด้วย
ส่งผลทำให้ มีอิสรภาพทางการเงิน รายได้มาจากเงินปันผล
และทำให้เราสามารถ "เลือก" ทำงานในสิ่งที่เรารักได้อย่างเต็มที่ และมีความสุขกับการทำงานพร้อมกันไปด้วย
--------------------------------------------------------------------
ชีวิตประจำวัน อ่านหนังสือพิมพ์วันละ 4-5 ฉบับ
ราคาหุ้นไม่ได้ดูตลอดเวลา ไปงาน opp day บ้าง , เยี่ยมชมโรงงานบ้าง
ที่ให้ความสำคัญคือ แบบ 56-1 , ammual report และงบการเงิน
(คาถาเตือนใจ) "ทุกอย่างไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ไม่มีอะไรได้มาโดยง่าย ต้องมีความขยัน และรักในสิ่งที่ทำ"
(เป้าหมายการลงทุน) ไม่มี .... แต่คุณคเชนทร์บอกว่าตั้งใจจะช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนกว่า โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา
ภรรยามีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการลงทุน : ไม่ได้ว่าอะไร และภรรยาเองก็เป็นนักลงทุนแนวเน้นคุณค่าด้วย
--------------------------------------------------------------------
หลักในการลงทุน
หาหุ้นอย่างไร ?
อ่านหนังสือพิมพ์ อ่านคำสัมภาษณ์ของผู้บริหาร อีกทางหนึ่งคือพยายามดูจากชีวิตประจำวันรอบๆตัว
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับบริษัท
1. งบการเงิน (ไม่ต้องเจาะลึกมาก อย่างน้อยต้องอ่านเป็นบ้างพวก กำไร สินทรัพย์ หนี้สิน )
2. annual report
3. แบบ 56-1
โอกาสในการพบผู้บริหารนั้นมีน้อย หากมีโอกาสได้เจอก็จะแลกเปลี่ยนความเห็นกันกับผู้บริหาร
timing ในการซื้อ (อยู่บนพื้นฐานที่เราวิเคราะห์มาว่าหุ้นนั้นดีแล้ว)
สิ่งที่จะดูก็คือ มันแพง หรือถูก ?
คำนวณอย่างไร ?
1. p/e ratio แต่ค่านี้ก็ไม่ได้บอกทุกอย่าง
2. กระแสเงินสด
2.1 p/e สูง แต่กระแสเงินสดดี ... ถือว่าดี
2.2 p/e ต่ำ แต่กระแสเงินสดไม่ดี ... เช่น เงินจมในลูกหนี้ หรือสินทรัพย์พวกเครื่องจักร ... ถือว่าไม่ดี
ต้องดูประเภทของธุรกิจ
ธุรกิจที่ต้องเริ่มนับ 1 ใหม่ เช่น ธุรกิจการประมูลงาน , อสังหาริมทรัพย์ หรือสินค้า/บริการที่ไม่ได้ "ซื้อซ้ำ" สุดท้ายแล้ว p/e จะต่ำ
ธุรกิจที่มีรายได้ต่อเนื่อง เหล่านี้สามารถยอมให้ p/e สูงได้ เช่น โรงพยาบาล หรือกลุ่มค้าปลีก รวมถึงธุรกิจที่ตลอดชีวิตมันยังคงอยู่
มองไปข้างหน้าแล้ว clear !
หากมั่นใจแล้ว ส่วนใหญ่จะซื้อแล้วถือยาว ตลอดชีวิตเลยก็สามารถทำได้
ถือหุ้นส่วนใหญ่ 3-5 ปี (ต่อตัว)
ตอนนี้ถืออยู่หลักๆ 10 ตัว และถือหุ้น 100% มาโดยตลอด
เหตุผลที่ถือหุ้นตลอดเพราะว่า ในอนาคต ทุกอย่างจะต้องขึ้นราคาหมด (คุณคเชนทร์ ยกตัวอย่าง โทรล์เวย์)
สินค้าจะปรับราคาขึ้นตามเงินเฟ้อ และคิดว่าการถือครองหุ้นสามารถป้องกันในจุดนี้ได้
ไม่เสี่ยงเหรอ
คุณคเชนทร์จึงพยายามเลือกหุ้นที่มองว่า ใน 5 - 10 ปี ผ่านไป ธุรกิจนั้น ยังคงอยู่ และเน้นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่ เป็นหลัก
ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา ก็ถือหุ้น 100% ไม่ได้ขายหุ้นสักตัว ตอนนี้คืนทุนหมดแล้ว (ก่อนหน้าติดลบมากสุด 40% ตามตลาด)
คุณคเชนทร์ให้ความเห็นว่า ในช่วงวิกฤต ถึงแม้ราคาหุ้นจะลดลง แต่กำไรบริษัทไม่ได้ลดลงตาม(มาก) และเราก็ยังได้รับปันผลอยู่
เน้นเงินปันผลเป็นหลัก
หลักการเลือกหุ้น
ต้องมองให้ออกว่าในอนาคต คนจะใช้ธุรกิจอะไรมากขึ้น เช่น
ตอนนี้ นาย ก. มีเงิน 100 บาท ซื้อของตอนนี้ 5 บาท
เราต้องมองให้ออกว่า "อะไร" ที่ในอนาคต จะทำให้นาย ก. ซื้อของสิ่งนั้น มากกว่า 5 บาท
คำแนะนำสำหรับมือใหม่
1. ต้องขยัน
2. ต้องช่างสังเกตุ
3. ต้องช่างซักถาม
ต้องรู้บัญชีไหม ....... ควรรู้ แต่ศึกษาเองได้ ไม่จำเป็นต้องลงเรียน
จบแล้วครับ
คุณ IH : Invisible Hand หรือ มือที่มองไม่เห็น
คุณคเชนทร์ ได้ให้ที่มาของ login นี้ว่ามาจาก adam smith (นักเศรษฐศาสตร์)
ซึ่งให้คำนิยามว่าคือ "กลไก" ของมือที่มองไม่เห็น
ตีความหมายคือ ทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และสุดท้ายแล้ว ทุกอย่างก็จะไปด้วยตัวของมันเอง จะดีด้วยตัวของมันเอง
เช่น ตำรวจก็ทำหน้าที่ของตำรวจ คนในโรงงานก็ทำหน้าที่ของตน
พูดง่ายๆก็คือ "ทำหน้าที่ของตัวเราเอง ให้ดีที่สุด"
คุณคเชนทร์จบ ป.ตรี วิศวะ จุฬา (รุ่นน้อง ดร.นิเวศน์) แล้วไปต่อ ป.โท ด้านเศรษฐศาสตร์
ปัจจุบันเป็นกรรมการที่ SE-ED เวลาครึ่งหนึ่งทำด้านการลงทุน อีกครึ่งหนึ่งทำงานด้านการศึกษา (เพราะอยากตอบแทนสังคม และเชื่อว่าการศึกษาคือพื้นฐานที่สำคัญที่สุด)
คุณคเชนทร์บอกว่าเริ่มลงทุนครั้งแรกตั้งแต่สมัย ม.1
ในอดีต บ้านอยู่ไกล (แกบอกว่ารัชดา แต่ก่อนนั้นเหมือนต่างจังหวัด) ไปไหนลำบาก
เวลาส่วนใหญ่จึงอยู่ที่บ้าน และไม่ได้ทำอะไร จึงใช้เวลาส่วนมากไปกับการอ่านหนังสือ
และเพราะว่าที่บ้านรับหนังสือพิมพ์ธุรกิจ และได้เห็นตารางหุ้นผ่านตาบ่อย เลยอ่านเล่น
ที่สนใจเพราะเห็นว่าเกี่ยวกับ "ตัวเลข" และราคาหุ้นมันขึ้นลงได้ แต่ตอนแรกก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรมากนัก
เริ่มเล่น/ลงทุนในหุ้นครั้งแรกเมื่อตอนเรียน ปี 1 หุ้นสองตัวแรกที่ซื้อคือ ธนสยาม และ shin
โดยนำเงินที่ได้จากการเข้ามหาลัยมาเป็นเงินลงทุนก้อนแรก เหตุผลที่สนใจตลาดหุ้น เพราะมองว่าผลตอบแทน(ดอกเบี้ย)จากธนาคารนั้นต่ำ
หนังสือการลงทุนเล่มแรกที่อ่าน เป็นของ อ.วีระ ธีรภัทร (ตีแตก สมัยนั้นยังไม่มี)
-------------------------------------------------------------------------
ในช่วงแรก (ปี 1) พ.ศ. 2538 ช่วงนั้นเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว
คุณคเชนทร์บอกว่าแนวทางการลงทุนตอนนั้นคือ ดูค่า p/e เป็นหลัก ซึ่งเจอกับดักของค่า p/e เล่นงานพอสมควร
ตอนนั้นรู้เพียงว่า p/e ต่ำ คือหุ้นถูก เลยซื้อ (ตอนนั้นยังไม่รู้จักการลงทุนแนวเน้นคุณค่า)
แต่เนื่องด้วยปัญหาของเศรษฐกิจ และมีหลักเพียงดูแค่ p/e ต่ำแล้วซื้อ ผลคือทำให้ขาดทุน
หยุดเล่นไปสองปี ขายหมดพอร์ทแบบขาดทุน
สมัยนั้นเรียนหนังสืออยู่ด้วย คุณคเชนทร์บอกว่า ตนให้ความสำคัญเรื่องการเรียนมากกว่า
หลังจาก จบ ป.ตรี ก็ต่อ ป.โท เลยทันที
เหตุผลที่เลือกเรียนเศรษฐศาสตร์เพราะคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใด หากเรามีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ เราจะสามารถใช้ความรู้นั้นได้ตลอดชีวิต
อีกเหตุผลหนึ่งที่ตัดสินใจเรียนเพราะว่าช่วงนั้นเศรษฐกิจไม่ค่อยดีด้วย
แนวทางการลงทุนเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ หลังจากได้อ่าน "ตีแตก"
ตีแตก ทำให้คุณคเชนทร์มีมุมมองในการลงทุนที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
หลักสำคัญคือ ต้องลงทุนในธุรกิจที่สัมผัสได้ และให้ความสำคัญเรื่องความแข็งแกร่งของตัวธุรกิจ
เป็นสินค้า/บริการที่ต้องเข้าข่ายลักษณะการ "ซื้อซ้ำ"
ห้ามดูเฉพาะตัวเลขทางการเงิน แต่ต้องให้ความสำคัญเชิงปัจจัยคุณภาพด้วย
ส่งผลทำให้ มีอิสรภาพทางการเงิน รายได้มาจากเงินปันผล
และทำให้เราสามารถ "เลือก" ทำงานในสิ่งที่เรารักได้อย่างเต็มที่ และมีความสุขกับการทำงานพร้อมกันไปด้วย
--------------------------------------------------------------------
ชีวิตประจำวัน อ่านหนังสือพิมพ์วันละ 4-5 ฉบับ
ราคาหุ้นไม่ได้ดูตลอดเวลา ไปงาน opp day บ้าง , เยี่ยมชมโรงงานบ้าง
ที่ให้ความสำคัญคือ แบบ 56-1 , ammual report และงบการเงิน
(คาถาเตือนใจ) "ทุกอย่างไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ไม่มีอะไรได้มาโดยง่าย ต้องมีความขยัน และรักในสิ่งที่ทำ"
(เป้าหมายการลงทุน) ไม่มี .... แต่คุณคเชนทร์บอกว่าตั้งใจจะช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนกว่า โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา
ภรรยามีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการลงทุน : ไม่ได้ว่าอะไร และภรรยาเองก็เป็นนักลงทุนแนวเน้นคุณค่าด้วย
--------------------------------------------------------------------
หลักในการลงทุน
หาหุ้นอย่างไร ?
อ่านหนังสือพิมพ์ อ่านคำสัมภาษณ์ของผู้บริหาร อีกทางหนึ่งคือพยายามดูจากชีวิตประจำวันรอบๆตัว
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับบริษัท
1. งบการเงิน (ไม่ต้องเจาะลึกมาก อย่างน้อยต้องอ่านเป็นบ้างพวก กำไร สินทรัพย์ หนี้สิน )
2. annual report
3. แบบ 56-1
โอกาสในการพบผู้บริหารนั้นมีน้อย หากมีโอกาสได้เจอก็จะแลกเปลี่ยนความเห็นกันกับผู้บริหาร
timing ในการซื้อ (อยู่บนพื้นฐานที่เราวิเคราะห์มาว่าหุ้นนั้นดีแล้ว)
สิ่งที่จะดูก็คือ มันแพง หรือถูก ?
คำนวณอย่างไร ?
1. p/e ratio แต่ค่านี้ก็ไม่ได้บอกทุกอย่าง
2. กระแสเงินสด
2.1 p/e สูง แต่กระแสเงินสดดี ... ถือว่าดี
2.2 p/e ต่ำ แต่กระแสเงินสดไม่ดี ... เช่น เงินจมในลูกหนี้ หรือสินทรัพย์พวกเครื่องจักร ... ถือว่าไม่ดี
ต้องดูประเภทของธุรกิจ
ธุรกิจที่ต้องเริ่มนับ 1 ใหม่ เช่น ธุรกิจการประมูลงาน , อสังหาริมทรัพย์ หรือสินค้า/บริการที่ไม่ได้ "ซื้อซ้ำ" สุดท้ายแล้ว p/e จะต่ำ
ธุรกิจที่มีรายได้ต่อเนื่อง เหล่านี้สามารถยอมให้ p/e สูงได้ เช่น โรงพยาบาล หรือกลุ่มค้าปลีก รวมถึงธุรกิจที่ตลอดชีวิตมันยังคงอยู่
มองไปข้างหน้าแล้ว clear !
หากมั่นใจแล้ว ส่วนใหญ่จะซื้อแล้วถือยาว ตลอดชีวิตเลยก็สามารถทำได้
ถือหุ้นส่วนใหญ่ 3-5 ปี (ต่อตัว)
ตอนนี้ถืออยู่หลักๆ 10 ตัว และถือหุ้น 100% มาโดยตลอด
เหตุผลที่ถือหุ้นตลอดเพราะว่า ในอนาคต ทุกอย่างจะต้องขึ้นราคาหมด (คุณคเชนทร์ ยกตัวอย่าง โทรล์เวย์)
สินค้าจะปรับราคาขึ้นตามเงินเฟ้อ และคิดว่าการถือครองหุ้นสามารถป้องกันในจุดนี้ได้
ไม่เสี่ยงเหรอ
คุณคเชนทร์จึงพยายามเลือกหุ้นที่มองว่า ใน 5 - 10 ปี ผ่านไป ธุรกิจนั้น ยังคงอยู่ และเน้นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่ เป็นหลัก
ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา ก็ถือหุ้น 100% ไม่ได้ขายหุ้นสักตัว ตอนนี้คืนทุนหมดแล้ว (ก่อนหน้าติดลบมากสุด 40% ตามตลาด)
คุณคเชนทร์ให้ความเห็นว่า ในช่วงวิกฤต ถึงแม้ราคาหุ้นจะลดลง แต่กำไรบริษัทไม่ได้ลดลงตาม(มาก) และเราก็ยังได้รับปันผลอยู่
เน้นเงินปันผลเป็นหลัก
หลักการเลือกหุ้น
ต้องมองให้ออกว่าในอนาคต คนจะใช้ธุรกิจอะไรมากขึ้น เช่น
ตอนนี้ นาย ก. มีเงิน 100 บาท ซื้อของตอนนี้ 5 บาท
เราต้องมองให้ออกว่า "อะไร" ที่ในอนาคต จะทำให้นาย ก. ซื้อของสิ่งนั้น มากกว่า 5 บาท
คำแนะนำสำหรับมือใหม่
1. ต้องขยัน
2. ต้องช่างสังเกตุ
3. ต้องช่างซักถาม
ต้องรู้บัญชีไหม ....... ควรรู้ แต่ศึกษาเองได้ ไม่จำเป็นต้องลงเรียน
จบแล้วครับ