อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 07, 2010 10:34 pm
พึ่งอ่านดันโดจบครับ เลยลองมานั่งคิดเล่นเล่นเกี่ยวกับ scib ว่าจะคิดแบบดันโดได้ไหม ประมาณว่าออกหัวได้เงิน ออกก้อยเสียเงินนิดหน่อย โดยโอกาสออกหัวมีมากกว่า
ของลองเล่าเรื่อง scib สั้นสั้นนะครับ คงทราบกันอยู่แล้วว่าจะมีดีลที่ กองทุนฟื้นฟู(หน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย) มีความประสงค์ที่จะเสนอขายโดยวิธีการประมูล หุ้นของ scib ให้กับคนที่สนใจ โดยมีผู้สนใจอยู่ราวราว 6 รายใหญ่ เช่น TCAP, HSBC, MAYBANK, แบงก์ออฟ บาโรดา, ธนาคาร Standard Chartered, Australia & New Zealand Banking Group , BANK OF CHINA , BANK OF COMMUNICATIONS โดยหากติดตามจากข่าวคือกองทุนฟื้นฟูมีความประสงค์ที่จะขายที่ราคาราวราว 31-33 บาท และ ด้านวงในเผยมีแบงก์ยื่นเข้ามา 6 แห่ง ราคามากกว่า 1.5 เท่าบุ๊ค และสูงสุดใกล้ที่ระดับ 2 เท่าบุ๊ค หรือเกือบ 40 บาท ผมมานั่งคิดดูว่าจริงจริงที่ระดับราคา 40 บาทมีความเป็นไปได้มากแค่ไหน ย้อนกลับไปดูดีลล่าสุดก็มี acl ที่ตั้งราคาไว้ราวราว 1.4 เท่า bv ( acl จะไม่เหมือนกับของ bt และ scib เนื่องจาก bt และ scib เป็นการขายหุ้นของกิจการที่ผ่านการฟื้นฟูของภาครัฐ คือจะสามารถแก้กฎหมายจากภาครัฐให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน 49 % ได้เนื่องจากเป็นประโยชน์กับภาครัฐ แต่กรณีของ acl เป็นกิจการที่ไม่ได้ผ่านการช่วยเหลือโดยตรงจากภาครัฐจึงอาจได้ราคาต่ำหน่อย ) และ เคสที่กองทุนฟื้นฟูขาย BT ให้ Cimb ก็ที่ราคา 2.9 BV และมองหาว่าอะไรคือแรงจูงใจของ ธ.ระดับใหญ่ใหญ่อย่าง แบงก์ออฟ บาโรดา และอื่นอื่น จึงอยากได้มากนัก รวมถึงธ.ธนชาติของเราด้วย สรุปได้ดังนี้
1.ได้ทั้งฐานลูกค้า และ สินทรัพย์ไปบริหารได้ทันที ไม่ต้องนับหนึ่ง
2. ประเทศไทยมีกฎระเบียบข้อบังคับเยอะมากสำหรับการอนุญาติให้ธนาคารต่างชาติเข้ามาขยายสาขา การซื้อกิจการจึงง่ายที่สุดกับการมาประกอบกิจการธนาคารในประเทศไทย แต่ที่ scib เอง มีสาขาอยู่แล้วถึง 411 สาขา โดยอาจมีทั้งสาขาที่ดีและไม่ดีแต่ หากมีการจัดการทรัพย์สินดีดี ก็อาจมีการขยับปรับเปลี่ยนได้มาก เหมือนตอนกรณีที่ cimb ซื้อ BT ไปและ ขายตึกที่สาธรไปและคงไว้แค่ตึกที่หลังสวนได้กำไรไปค่อนข้างมาก ส่วนสาขาที่ดีดี ก็สามารถประกอบกิจการต่อไปได้เลย
3. สินทรัพย์ของนครหลวงมีคุณภาพค่อนข้างดี และ มีผลประกอบการณ์อยู่ในเกณฑ์พอใช้ มีฐานลูกค้าจำนวนหนึ่ง โดยมี npl net อยู่ เพียง 4.22 % (อย่าง acl ผลประกอบการและตัวเลข npl สูงกว่านี้มาก แต่ยังตั้งราคาไว้ที่ 1.4 เท่า ) แต่ที่ scib น่าสนใจกว่า BT และ acl คือ มี hidden asset อยู่อีก เป็น license ธนาคารพาณิชย์ license บริษัทประกันภัย license บริษัทประกันชีวิต และ license บลจ.หลักทรัพย์ ซึ่งประเมิณราคายาก ทั้งด้านราคา และ ด้านเวลาที่จะขออนุญาติ license เหล่านี้
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่คิดไว้อยู่ก็มี
1. กองทุนฟื้นฟู จะเลื่อนการขาย scib ออกไป เท่าที่ผมตามข่าวดูก็มีการเตรียมงานมาพอสมควรนะครับที่จะประมูลราคาครั้งสุดท้ายวันที่ 25 ม.ค. นี้ และเคยอ่านเจอว่ากองทุนต้องการให้จบดีลในเดือน มี.ค. เนื่องจากหากเลย ไปแล้วอาจทำให้ ธ.นครหลวงไทยจะต้องจ่ายปันผลสำหรับงวดปีที่ผ่านมาทำให้มีปัญหายุ่งยากในการขายเพิ่มเติมอีกครับ แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ครับ แต่คงไม่มากเท่าไร
2. กองทุนฟื้นฟูจะ ยกเลิกการขาย SCIB เท่าทีดู คือธนาคารแห่งประเทศไทยมีความประสงค์ที่จะขายแน่นอนเพื่อนำไปชำระหนี้ และกองทุนฟื้นฟู ต้องขายหุ้นที่ถืออยู่ออกมาก่อนที่จะปิดตัวลงในปี 2012 (พ.ศ.2555) เรื่องการขาย SCIB ถือเป็นเรื่องที่ กองทุนฟื้นฟู วางแผนมานานแล้วและมีความคืบหน้าไปมากแล้วด้วย ทั้งนี้วันที่ 25 ม.ค. 2010 มีกำหนดให้ผู้มีคุณสมบัติที่จะซื้อ SCIB เข้าเสนอราคาเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นกองทุนฟื้นฟู จะประชุมกับก.การคลังเพื่อเลือกผู้ที่ดีที่สุด ข้อนี้จึงมีความเป็นไปได้แต่น้อยมาก
ลองเอามาคิดจากราคา scib แบบดันโดนะครับ ที่ราคาปิดวันนี้ที่ 27.25 ผมมองว่า
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 2 เท่า bv มี 30 % (uside 46.79%)
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 1.65 เท่าของ bv มี 30% (upside 21 % )
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 1.5 เท่าของ bv มี 30 % ( upside 9% )
โอกาสที่จะเลื่อนล่าช้าออกไปมี 8 % ( downside ระยะสั้นน่าจะ 10-12 % แต่ถ้ามีการประมูลใหม่ก็คงไม่เสียหายมาก )
โอกาสที่จะยกเลิกไม่ขายมี 2 % (ผมคิดว่าราคา scib จะกลับไปอยู่แถวแถว 14 บาท downside 44 % )
คือแบบนี้การซื้อ scib เพื่อรอผลการประมูลวันที่ 25 ม.ค. อีก ราวราว 17 วัน ถือว่าเป็นแบบดันโดได้ไหมครับ หรือจะมีปัจจัยเสี่ยงอะไรที่ซ่อนอยู่ที่ผมมองไม่ออก ท่านใดช่วยแชร์ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
ปล. ผมมีหุ้นอยู่นะครับ ถึงจะจำนวนไม่มากครับ แต่ลองมองหลายหลายมุมดูครับ เผื่อมีความเสี่ยงด้านอื่นอีกครับ เนื่องจาก การลงทุนมีความเสี่ยงครับ
ของลองเล่าเรื่อง scib สั้นสั้นนะครับ คงทราบกันอยู่แล้วว่าจะมีดีลที่ กองทุนฟื้นฟู(หน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย) มีความประสงค์ที่จะเสนอขายโดยวิธีการประมูล หุ้นของ scib ให้กับคนที่สนใจ โดยมีผู้สนใจอยู่ราวราว 6 รายใหญ่ เช่น TCAP, HSBC, MAYBANK, แบงก์ออฟ บาโรดา, ธนาคาร Standard Chartered, Australia & New Zealand Banking Group , BANK OF CHINA , BANK OF COMMUNICATIONS โดยหากติดตามจากข่าวคือกองทุนฟื้นฟูมีความประสงค์ที่จะขายที่ราคาราวราว 31-33 บาท และ ด้านวงในเผยมีแบงก์ยื่นเข้ามา 6 แห่ง ราคามากกว่า 1.5 เท่าบุ๊ค และสูงสุดใกล้ที่ระดับ 2 เท่าบุ๊ค หรือเกือบ 40 บาท ผมมานั่งคิดดูว่าจริงจริงที่ระดับราคา 40 บาทมีความเป็นไปได้มากแค่ไหน ย้อนกลับไปดูดีลล่าสุดก็มี acl ที่ตั้งราคาไว้ราวราว 1.4 เท่า bv ( acl จะไม่เหมือนกับของ bt และ scib เนื่องจาก bt และ scib เป็นการขายหุ้นของกิจการที่ผ่านการฟื้นฟูของภาครัฐ คือจะสามารถแก้กฎหมายจากภาครัฐให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน 49 % ได้เนื่องจากเป็นประโยชน์กับภาครัฐ แต่กรณีของ acl เป็นกิจการที่ไม่ได้ผ่านการช่วยเหลือโดยตรงจากภาครัฐจึงอาจได้ราคาต่ำหน่อย ) และ เคสที่กองทุนฟื้นฟูขาย BT ให้ Cimb ก็ที่ราคา 2.9 BV และมองหาว่าอะไรคือแรงจูงใจของ ธ.ระดับใหญ่ใหญ่อย่าง แบงก์ออฟ บาโรดา และอื่นอื่น จึงอยากได้มากนัก รวมถึงธ.ธนชาติของเราด้วย สรุปได้ดังนี้
1.ได้ทั้งฐานลูกค้า และ สินทรัพย์ไปบริหารได้ทันที ไม่ต้องนับหนึ่ง
2. ประเทศไทยมีกฎระเบียบข้อบังคับเยอะมากสำหรับการอนุญาติให้ธนาคารต่างชาติเข้ามาขยายสาขา การซื้อกิจการจึงง่ายที่สุดกับการมาประกอบกิจการธนาคารในประเทศไทย แต่ที่ scib เอง มีสาขาอยู่แล้วถึง 411 สาขา โดยอาจมีทั้งสาขาที่ดีและไม่ดีแต่ หากมีการจัดการทรัพย์สินดีดี ก็อาจมีการขยับปรับเปลี่ยนได้มาก เหมือนตอนกรณีที่ cimb ซื้อ BT ไปและ ขายตึกที่สาธรไปและคงไว้แค่ตึกที่หลังสวนได้กำไรไปค่อนข้างมาก ส่วนสาขาที่ดีดี ก็สามารถประกอบกิจการต่อไปได้เลย
3. สินทรัพย์ของนครหลวงมีคุณภาพค่อนข้างดี และ มีผลประกอบการณ์อยู่ในเกณฑ์พอใช้ มีฐานลูกค้าจำนวนหนึ่ง โดยมี npl net อยู่ เพียง 4.22 % (อย่าง acl ผลประกอบการและตัวเลข npl สูงกว่านี้มาก แต่ยังตั้งราคาไว้ที่ 1.4 เท่า ) แต่ที่ scib น่าสนใจกว่า BT และ acl คือ มี hidden asset อยู่อีก เป็น license ธนาคารพาณิชย์ license บริษัทประกันภัย license บริษัทประกันชีวิต และ license บลจ.หลักทรัพย์ ซึ่งประเมิณราคายาก ทั้งด้านราคา และ ด้านเวลาที่จะขออนุญาติ license เหล่านี้
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่คิดไว้อยู่ก็มี
1. กองทุนฟื้นฟู จะเลื่อนการขาย scib ออกไป เท่าที่ผมตามข่าวดูก็มีการเตรียมงานมาพอสมควรนะครับที่จะประมูลราคาครั้งสุดท้ายวันที่ 25 ม.ค. นี้ และเคยอ่านเจอว่ากองทุนต้องการให้จบดีลในเดือน มี.ค. เนื่องจากหากเลย ไปแล้วอาจทำให้ ธ.นครหลวงไทยจะต้องจ่ายปันผลสำหรับงวดปีที่ผ่านมาทำให้มีปัญหายุ่งยากในการขายเพิ่มเติมอีกครับ แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ครับ แต่คงไม่มากเท่าไร
2. กองทุนฟื้นฟูจะ ยกเลิกการขาย SCIB เท่าทีดู คือธนาคารแห่งประเทศไทยมีความประสงค์ที่จะขายแน่นอนเพื่อนำไปชำระหนี้ และกองทุนฟื้นฟู ต้องขายหุ้นที่ถืออยู่ออกมาก่อนที่จะปิดตัวลงในปี 2012 (พ.ศ.2555) เรื่องการขาย SCIB ถือเป็นเรื่องที่ กองทุนฟื้นฟู วางแผนมานานแล้วและมีความคืบหน้าไปมากแล้วด้วย ทั้งนี้วันที่ 25 ม.ค. 2010 มีกำหนดให้ผู้มีคุณสมบัติที่จะซื้อ SCIB เข้าเสนอราคาเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นกองทุนฟื้นฟู จะประชุมกับก.การคลังเพื่อเลือกผู้ที่ดีที่สุด ข้อนี้จึงมีความเป็นไปได้แต่น้อยมาก
ลองเอามาคิดจากราคา scib แบบดันโดนะครับ ที่ราคาปิดวันนี้ที่ 27.25 ผมมองว่า
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 2 เท่า bv มี 30 % (uside 46.79%)
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 1.65 เท่าของ bv มี 30% (upside 21 % )
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 1.5 เท่าของ bv มี 30 % ( upside 9% )
โอกาสที่จะเลื่อนล่าช้าออกไปมี 8 % ( downside ระยะสั้นน่าจะ 10-12 % แต่ถ้ามีการประมูลใหม่ก็คงไม่เสียหายมาก )
โอกาสที่จะยกเลิกไม่ขายมี 2 % (ผมคิดว่าราคา scib จะกลับไปอยู่แถวแถว 14 บาท downside 44 % )
คือแบบนี้การซื้อ scib เพื่อรอผลการประมูลวันที่ 25 ม.ค. อีก ราวราว 17 วัน ถือว่าเป็นแบบดันโดได้ไหมครับ หรือจะมีปัจจัยเสี่ยงอะไรที่ซ่อนอยู่ที่ผมมองไม่ออก ท่านใดช่วยแชร์ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
ปล. ผมมีหุ้นอยู่นะครับ ถึงจะจำนวนไม่มากครับ แต่ลองมองหลายหลายมุมดูครับ เผื่อมีความเสี่ยงด้านอื่นอีกครับ เนื่องจาก การลงทุนมีความเสี่ยงครับ