หน้า 1 จากทั้งหมด 1

หวั่นเศรษฐกิจญี่ปุ่น ตามรอยวิกฤตกรีซ เสี่ยง ล้มละลาย

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 15, 2010 10:29 am
โดย matee
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ไม่เพียงแต่ปัญหาหนี้สินของกรีซเท่านั้นที่เป็นที่จับตามองของนานาประเทศ แต่ทว่าภาวะหนี้ของญี่ปุ่น ผู้นำเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลกก็อยู่ในภาวะเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากตัวเลขหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นมากกว่าประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างมาก

ทั้งนี้ ในรายงานระบุว่า มีการคาดการณ์ว่าในปีหน้านี้ ตัวเลขหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นจะสูงถึง 200% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็พยายามดิ้นรนหาทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจ ท่ามกลางภาวะรายได้จากภาษีที่ลดลง และรายจ่ายด้านสังคมสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุก็สูงขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ ยังมีตัวเลขระบุว่าตัวเลขจีดีพีในปี 2010 จะอยู่ที่ 475 ล้านล้านเยน (ราว 164 ล้านล้านบาท) โดยมีตัวเลขหนี้สูงถึง 950 ล้านล้านเยน (ราว 329 ล้านล้านบาท) เฉลี่ยต่อหัวแล้ว ชาวญี่ปุ่นจะมีหนี้อยู่ที่ราว 7.5 ล้านเยนต่อคน (ราว 2.6 ล้านบาท)

โดยคร่าวๆ รายได้ของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2010 จะอยู่ที่ 37 ล้านล้านเยน (ราว 12.83 ล้านล้านบาท) ส่วนหนี้อยู่ที่ 44 ล้านล้านเยน (ราว 15.26 ล้านล้านบาท) สัดส่วนตัวเลขหนี้คิดเป็นมาก กว่า 50% ของรายได้ ฮิเดโอะ คูมาโนะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัย ไดอิชิ ไลฟ์ กล่าว

คูมาโนะ ยังกล่าวด้วยว่า ญี่ปุ่นจะไม่สามารถหาเงินทุนสำหรับรายจ่ายที่สูงกว่าล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในเดือน มี.ค. ปีหน้าได้ เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศยังคงอ่อนแอ และถ้าไม่มีการออกพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องเผชิญกับภาวะล้มละลายในปี 2011 นี้

นอกจากนี้ ในรายงานได้กล่าวว่า ถึงแม้ญี่ปุ่นจะสามารถคืบคลานออกมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในปี 2009 ได้ แต่การฟื้นตัวของประเทศอุตสาหกรรมอย่างญี่ปุ่นก็ยังคงเป็นไปอย่างเชื่องช้า และเปราะบางอย่างมาก เนื่องจากภาวะเงินฝืด ตัวเลขหนี้สาธารณะที่สูงลิ่ว อีกทั้งตัวเลขดีมานด์ในประเทศก็ยังคงต่ำมาก ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เป็นเรื่องที่น่าหนักใจสำหรับแนวทางในการกำหนดนโยบายต่างๆ ของประเทศ

เอเอฟพี ระบุว่า หนี้จำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากมาตรการในการกระตุ้นการใช้จ่ายเศรษฐกิจของญี่ปุ่น หลังจากที่ต้องเจอกับภาวะฟองสบู่ในช่วงปี 19901999 อีกทั้งยังถูกซ้อนด้วยปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในช่วงปี 2008 เป็นต้นมา ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นต้องใช้เงินมหาศาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจอีก

นักวิเคราะห์หลายคนระบุว่า ความเสี่ยงในด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในรูปแบบเดียวกันกับที่ประเทศกรีซกำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายมองเห็นและตระหนักถึงน้อยมาก เมื่อเทียบกับสถานการณ์ของประเทศสมาชิกยูโรโซนอย่างกรีซ ซึ่งถ้าความเสี่ยงดังกล่าวเกิดขึ้นจริงจะกลายเป็นหายนะสำหรับประเทศญี่ปุ่นเลยทีเดียว

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังได้ตั้งคำถามว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะรับมือกับภาระหนี้สินจำนวนมากนี้ได้อีกนานเพียงไร

ไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น ตราบใดที่ยังคงมีเงินหมุนเวียนอยู่ในตลาดพันธบัตร

แต่มันเป็นเรื่องยากที่จะทำนายได้ว่า เมื่อไหร่ที่ตลาดพันธบัตรจะล่ม ซึ่งเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในทันทีที่ตลาดประมาณการได้ว่าความสามารถทางการเงินของญี่ปุ่นในการชำระหนี้ไม่มั่นคงอีกต่อไป คูมาโนะ กล่าว

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางส่วนก็ยังเชื่อว่าหนี้จำนวน 200% ที่คาดการณ์ไว้ ไม่ได้เป็นปัญหาที่ยากเกินว่าที่รัฐบาลจะรับมือได้

ทาเกะฮิเดะ คิยูชิ นักเศรษฐศาสตร์จากโนมูระ ซิเคียวริตี กล่าวว่า หนี้สินของรัฐบาลอังกฤษในช่วงสมัยหลังสงครามเคยสูงถึง 260% ของจีดีพี แต่ทว่ารัฐบาลอังกฤษก็ไม่ได้พบกับวิกฤตหนี้อย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์

ไม่มีคำตอบหรอกว่าระดับหนี้มากเท่าไหร่ที่จะทำให้รัฐบาลต้องพบกับภาวะล้มละลาย คิยูชิ กล่าว

ก่อนหน้านี้ กรีซเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจจนหลายฝ่ายต่างกังวลว่าวิกฤตดังกล่าวจะทำลายระบบการเงินของประเทศยูโรโซน

หวั่นเศรษฐกิจญี่ปุ่น ตามรอยวิกฤตกรีซ เสี่ยง ล้มละลาย

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 16, 2010 12:06 am
โดย chode
แบงก์ชาติญี่ปุ่นยังมีทุนสำรองอยู่ถึง 1 ล้านล้านเหรียญนะครับ
https://www.cia.gov/library/publication ... os/ja.html

แบงก์ขาติสามารถซื้อได้นะครับถ้าไม่มีใครซื้อพันธบัตรรัฐบาลเหมือนที่FED ทำอยู่

แต่คงยากที่จะไม่มีใครซื้อเพราะคนญี่ปุ่นยังคงลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้ดอกเบี้ยต่ำอยู่

ญีปุ่นคงเป็นแบบนี้ไปนะครับ ดอกเบี้ยต่ำคนที่รับภาระคือคนออมในญี่ปุ่นเอง

ถ้าคนญี่ปุ่นแห่ไปลงทุนต่างประเทศกันมากๆเมื่อไหร่ คนที่ออกก่อนได้เปรียบครับเพราะเงินจะค่อยๆอ่อนค่า  แต่เรื่องแบบนี้คงเกิดในประเทศอื่นๆ แต่คงจะเกิดกับชาตินิยมญี่ปุ่นได้ยาก

หวั่นเศรษฐกิจญี่ปุ่น ตามรอยวิกฤตกรีซ เสี่ยง ล้มละลาย

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 09, 2010 12:55 am
โดย onemanshow
อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP หรือ หนี้สาธารณะต่อ GNP

อันไหนเหมาะสมกับการใช้วิเคราะห์เศรษฐกิจญี่ปุ่นมากกว่ากันครับ