หน้า 1 จากทั้งหมด 1

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 29, 2010 1:59 am
โดย Rocker
อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

ประเทศไทยแรงฉุดไม่อยู่ ไตรมาสแรกยอดผลิตรถยนต์พุ่งพรวด ส่งออกวิ่งฉิว มูลค่าทะลุแสนล้าน โตเพิ่มร้อยละ 49.6


นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนยอดขายภายในประเทศว่าตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2553 รถยนต์มียอดขาย 166,802 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 54.8 ส่วนรถจักรยานยนต์มียอดขาย 466,415 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.91

ส่วนยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2553 มีจำนวน 112,384 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 102.93 รถกระบะขนาด 1 ตัน ผลิตได้ทั้งสิ้น 264,114 คัน เท่ากับร้อยละ 69.17 ของยอดการผลิตทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นไตรมาสแรกปีก่อนร้อยละ 88.51

นายสุรพงษ์กล่าวอีกว่า ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-มีนาคม 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 613,731 คัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2552 ร้อยละ 32.64 แยกเป็นรถ จักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 477,496 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 24.06 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 136,235 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 75.02

ขณะที่ตัวเลขส่งออกเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 196,537 คัน โดยส่งออกเพิ่มขึ้นจาก ปี 2552 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 41.59 มีมูลค่าการส่งออก 92,747.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.33

เครื่องยนต์มีมูลค่าการส่งออก 4,186.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 130.19 ชิ้น ส่วนรถยนต์อื่น ๆ มีมูลค่าการส่งออก 30,692.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.06 อะไหล่รถยนต์มีมูลค่าการส่งออก 3,023.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.3

รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม-มีนาคม 2553 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 130,649.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มีนาคม 2552 ร้อยละ 49.6

ขณะที่รถจักรยานยนต์เดือนมกราคม-มีนาคม 2553 มีจำนวนส่งออก 161,947 คัน (รวม CBU+CKD) เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 34.35 โดยมีมูลค่า 5,079 ล้านบาท ลดลงจากปี 2552 ร้อยละ 9.71

ดังนั้นจะเห็นว่า เดือนมกราคม-มีนาคม 2553 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่น ๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 138,944.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 45.06

สำหรับประมาณการการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน-มิถุนายน 2553 คาดว่ารถยนต์จะมียอดผลิต 340,859 คัน ขณะที่จักรยานยนต์จะมี 409,331 คัน



http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2010-04-29

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 29, 2010 6:53 am
โดย Dekfaifah
ปีนี้คงเริ่มฟื้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 29, 2010 7:32 am
โดย gappom
Dekfaifah Posted: Thu Apr 29, 2010 6:53 am    Post subject:  

ปีนี้คงเริ่มฟื้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

ผมก็คิดว่าน่าจะดีทั้งปี
กรกฏา กับ กันยา
อาจจะเห็นอะไรดี ๆ อีก

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 10, 2010 12:30 am
โดย Dekfaifah
gappom เขียน:นี้คงเริ่มฟื้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

ผมก็คิดว่าน่าจะดีทั้งปี
กรกฏา กับ กันยา
อาจจะเห็นอะไรดี ๆ อีก
คาดว่า โตโยต้าคงเปิดเพิ่มยอดการผลิตรถกะบะในประเทศโตอีก 1 เท่าประมาณ เดือน 6 เป็นต้นไป หรือเปล่าครับ

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 10, 2010 1:02 pm
โดย gappom
แนวโน้มน่าจะเป็นเช่นนั้น
เพราะเห็นยอด peak เดือนมีนาคิดว่าใช่
แต่กลางปีก็มี ยอดอีกหนึ่งยอด
ส่วนปลายปี ยังไม่รู้ครับ
ด้านค่าย ตะวันตก รถเล็กเขาก็มาแรง
ยอดจองเยอะเหมือนกัน

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 10, 2010 5:56 pm
โดย Rocker
gappom เขียน:แนวโน้มน่าจะเป็นเช่นนั้น
เพราะเห็นยอด peak เดือนมีนาคิดว่าใช่
แต่กลางปีก็มี ยอดอีกหนึ่งยอด
ส่วนปลายปี ยังไม่รู้ครับ
ด้านค่าย ตะวันตก รถเล็กเขาก็มาแรง
ยอดจองเยอะเหมือนกัน
แบบนี้ SAT STANLY  วิ่งกระจาย  :D

ตอนนี้ทุกBroke ปรับ Target Price ใหม่หมดแล้ว ทั้ง2ตัวเลย

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 11, 2010 1:04 am
โดย PaZZaHut
ท่าทางจะรุ่งจริงๆอ่ะครับ

ได้ยินข่าวมาโบนัส โตต้าปีนี้น่าจะ 7 เดือนอ่ะครับ

เทียบสมัยรุ่งเรื่องเลยอ่ะครับ

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 11, 2010 9:17 am
โดย Rocker
ส.อ.ท."รีวิวตัวเลขอุตฯยานยนต์"53 มั่นใจปัจจัยหนุนส่งออกขยับฟันธงผลิตทะลุ1.6ล.คัน


"ส.อ.ท." รับเล็งปรับเป้าตัวเลขผลิตรถยนต์ คาดทะลุหลัก 1.6 ล้านคัน หลัง สัญญาณบวกเพียบ ห่วงปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชิ้นส่วน หลังแรงงานกลับคืนแค่ 60%


นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากตัวเลขยอดขายรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาซึ่งมีอัตราเติบโตค่อนข้างมาก โดยเฉพาะตลาดรถยนต์ในประเทศที่โตสูงมากกว่า 50% ขณะที่ตลาดส่งออกเองก็ดี มีอัตราการเติบโตถึง 20% ทั้ง ๆ ที่ยังคงมีปัจจัยลบ รุมเร้ารอบด้าน แต่อุตสาหกรรมยานยนต์กลับไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ซึ่งธุรกิจโดยรวมยังคงสามารถดำเนินได้ตามปกติ

ประกอบกับลูกค้ายังคงมีอำนาจในการจับจ่าย ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากชะลอการซื้อในช่วงปีที่ผ่านมา มาตรฐานทางสินเชื่อเริ่มผ่อนคลาย สินค้าภาคเกษตรมีราคาดี ก็เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ตลาดรถยนต์โดยรวมเติบโตขึ้น โดยเฉพาะตลาดรถปิกอัพ

ดังนั้นคาดการณ์โดยรวมว่า ปีนี้ประเทศไทยจะมีการผลิตรถยนต์ที่ 1.4 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อรองรับตลาดในประเทศ 650,000 คัน และตลาดส่งออก 800,000 คันนั้น จากการประชุมของกลุ่มในครั้งที่ผ่านมาได้มีการหารือถึงเรื่องดังกล่าว และได้มอบหมายให้ค่ายรถยนต์แต่ละค่ายได้กลับไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ว่าจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตได้มากน้อยเพียงใด

ขณะนี้ตัวเลขที่มองและคาดว่าน่าจะมีความเป็นได้มากที่สุด ยอดการผลิตที่ 1.5-1.6 ล้านคัน โดยเฉพาะความต้องการ ของตลาดส่งออกนั้นคาดว่าน่าจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก น่าจะมากกว่า 850,000 คันอย่างแน่นอน โดยเป็นผลต่อเนื่องจากตลาดในส่วนของยุโรป ตะวันออกกลางและอเมริกาใต้ มีการฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นตลาดของรัฐบาลในประเทศนั้น ๆ

ส่วนตลาดในประเทศแม้ว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าน่าจะอยู่ที่ระดับ 640,000 คัน ถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงมาก

"ตอนนี้เราให้สมาชิกกลุ่มซึ่งเป็นค่ายรถยนต์ต่าง ๆ นำตัวเลขกลับไปพิจารณากันใหม่ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้เชื่อได้แน่นอนว่าตัวเลขจะมากกว่า 1.4 ล้านคัน แต่จะอยู่ที่ 1.5-1.6 ล้านคันนั้น มีความเป็นไปได้สูง ส่วนในระดับ 1.7 ล้านคันก็อาจจะมีความเป็นไปได้ว่าน่าจะ ได้เห็น แต่อย่างไรก็ตามเราคงต้องรอดู ในเดือนมิถุนายนอีกครั้งหนึ่ง" นายศุภรัตน์กล่าว

ทั้งนี้สิ่งที่ยังคงน่าวิตกสำหรับอุตสาห กรรมยานยนต์กลับไม่ใช่เรื่องความมั่นใจในการลงทุน แต่สิ่งสำคัญวันนี้คือ ปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากร โดยเฉพาะแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนในต่างจังหวัดทั้งนครราชสีมา, สมุทรปราการ, ระยอง และ ฯลฯ ที่วันนี้แรงงานฝีมือที่ออกจากอุตสาหกรรมไปยังไม่กลับคืนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม หลังจากช่วงที่ผ่านมามีการลดคนลงไปประมาณ 30,000-40,000 คน ปัจจุบันมีการเรียกกลับมาได้แค่ 50-60% เท่านั้น

ขณะที่ในส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ได้มีการเรียกแรงงานกลับมาแล้วกว่า 80% จากก่อนหน้าที่ลดลงไปในระดับ 10,000 คัน

"วันนี้เรื่องการลงทุนกับเรื่องความเชื่อมั่นแม้จะมีส่วนสำคัญค่อนข้างมาก แต่ไม่น่าวิตกเท่าแรงงาน ส่วนการลงทุนนั้นคงต้องรอการลงทุนเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนใหม่ ว่าจะมองข้ามประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่น่าลงทุนอยู่"

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 13, 2010 1:37 pm
โดย Dekfaifah
ท่าทางจะรุ่งจริงๆอ่ะครับ

ได้ยินข่าวมาโบนัส โตต้าปีนี้น่าจะ 7 เดือนอ่ะครับ

เทียบสมัยรุ่งเรื่องเลยอ่ะครับ
เรื่องโบนัสบางทีได้เยอะก็เพราะการต่อรองของสมาชิกสหภาพ กับเรื่องการควบคุมต้นทุนนะครับ

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 14, 2010 12:20 pm
โดย gappom
โตโยต้าประกาศปิดโรงงานผลิตรถที่สำโรง เหตุยอดส่งออกตก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
14 พฤษภาคม 2553 11:37 น.


โตโยต้า มอเตอร์ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก

      เอเจนซี - บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประกาศจะปิดโรงงานผลิตรถยนต์ที่สำโรงจากทั้งหมด 4 แห่งที่มีอยู่ในประเทศไทย เนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อการส่งออก นับเป็นความเคลื่อนไหวที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นนักของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกแห่งนี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
     
      โตโยต้าประกาศในวันนี้ (14) ว่าจะปิดโรงงานไทย ออโต เวิร์กส หรือ TAW ซึ่งผลิตรถอเนกประสงค์ ฟอร์จูนเนอร์ และวีโก้ ภายในสิ้นเดือนนี้ โดยจะย้ายการผลิตไปยังโรงงานอีก 2 แห่งในไทย ซึ่งผลิตรถ 2 รุ่นนี้เหมือนกัน
     
      ไทย ออโต้ เวิร์กส ถือเป็นโรงงานแห่งแรกในช่วงไม่กี่ปีนี้ที่จะถูกปิดด้วยเหตุผลหลักคือความต้องการสินค้าลดลง โดยเมื่อต้นปีที่่ผานมา โตโยต้าเพิ่งปิดโรงงานในแคลิฟอร์เนีย ที่ถือร่วมกับบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส หรือจีเอ็มไป หลังจีเอ็มถอนการร่วมทุนตามกระบวนการฟื้นตัวหลังล้มละลาย
     
      โรงงานซึ่งตั้งอยู่ที่สำโรงแห่งนี้ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1998 ผลิตรถได้ปีละกว่า 60,000 คัน เพื่อการส่งออกไปยังยุโรป และภูมิภาคเอเชียแอซิฟิกเป็นส่วนใหญ่ โดยทางบริษัท โตโยต้าไม่ได้เปิดเผยตัวเลขความสามารถในการผลิตประจำปีของโรงงานดังกล่าวแต่อย่างใด
     
      ทั้งนี้ การผลิตรถยนต์ของบริษัทโตโยต้าในประเทศไทยโดยรวมแล้วตกลงเกือบ 1 ใน 4 เหลือเพียง 435,000 หน่วยในปี 2009
     
      โตโยต้าได้ตัดสินใจที่จะปิดโรงงานแห่งนี้ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะหาทางใช้ประโยชน์จากโรงงานผลิตรถยนต์ทั่วโลกให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โฆษกหญิงของบริษัทชี้
     
      สำหรับคนงานราว 960 คนของโรงงานไทย ออโต้ เวิร์กส นั้นจะถูกโอนไปยังโรงงานแห่งอื่นๆ ในไทย แต่โตโยต้ายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเซ้งโรงงานแห่งนี้ ซึ่งมีโตโยต้า ออโต้ บอดี้ ถูกครองอยู่ 80% หรือไม่

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 21, 2010 12:08 am
โดย Rocker
ตลาดรถยนต์โตสวนทางม็อบป่วนเมือง เดือนเมษายน พุ่ง 44 %   รวมยอด 4 เดือนโกยกว่า  2.2 แสนคัน  เพิ่มขึ้นกว่า 51 %   ชี้เป็นผลจากยอดจองรถมอเตอร์โชว์ทะลักเกินคาด   มั่นใจ พฤษภาคม ยอดขายยังพุ่งต่อเนื่อง ซื้อปิกอัพต้องรอนาน 2 เดือน  
         นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์    ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนเมษายน 2553  ว่ามีปริมาณการขายทั้งสิ้น 57,128 คัน เพิ่มขึ้น 43.9%  ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 26,274 คัน เพิ่มขึ้น 64.4%  รถเพื่อการพาณิชย์   30,854 คัน เพิ่มขึ้น 30.0%   รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนต์นี้ จำนวน 25,885 คัน เพิ่มขึ้น 23.0%    
          "ตลาดรถยนต์เดือนเมษายน มีปริมาณการขาย 57,128 คัน เพิ่มขึ้น 43.9%  เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่แปด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 26,274 คัน เติบโต 64.4% สูงสุดในรอบ 16 เดือน รถเพื่อการพาณิชย์ 30,854 คัน เติบโต 30.0% เป็นอัตราการเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่เจ็ด รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนต์นี้ 25,885 คัน เติบโต 23.0% ทั้งนี้เป็นผลมาจากยอดจองในงานมอเตอร์โชว์ ความนิยมต่อเนื่องของรถยนต์นั่งรุ่นใหม่หลายรุ่น ทั้งรถยนต์ประหยัดพลังงาน รถยนต์ขนาดเล็กและขนาดกลาง ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัว ส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์โดยรวม"
            นายวุฒิกร กล่าวอีกว่า  ตลาดรถยนต์สะสม 4 เดือน มีปริมาณการขาย 223,930 คัน เพิ่มขึ้น 51.8%    เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 เป็นอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา และมียอดขายใกล้เคียงกับยอดขายสะสม 4 เดือนของปี 2549 ที่มียอดขายรวมที่กว่า 680,000 คัน โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 54.3% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 50.1% แสดงถึงการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกและการลงทุนในประเทศ การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำมันไม่ผันผวนมากนัก ประกอบกับอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม ตลอดจนการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่นเข้าสู่ตลาดตั้งแต่ต้นปี
          "ส่วนตลาดรถยนต์ในเดือน พฤษภาคม คาดว่ายังคงเติบโต จากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ความนิยมต่อเนื่องในรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่นที่แนะนำมาตั้งแต่ต้นปี แม้ว่าราคาสินค้าทางการเกษตรโดยเฉพาะราคาข้าวที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นของตลาดโลก แต่สินค้าทางการเกษตรหลักอื่นๆ อาทิ ยางพารา อ้อย ยังอยู่ในระดับราคาที่สูง อย่างไรก็ตามตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมอาจได้รับผลกระทบบ้าง เนื่องจากมีคำสั่งซื้อรถจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณการผลิตโดยรวมยังไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้มากตามความต้องการของตลาดรถยนต์ในประเทศ ทำให้รถยนต์บางรุ่น บางแบบนั้นมียอดสั่งจองมากกว่า 2 เดือน โดยเฉพาะรถกระบะขนาด 1 ตัน"
          ด้านนายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่   บริษัท โตโยต้า มอเตอร์เอเชีย-แปซิฟิก  เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟกเจอริ่ง จำกัด  และ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย   เปิดเผยว่า  นักลงทุนต่างชาติยังสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย   ฟอร์ด มอเตอร์ เตรียมแผนการลงทุนสร้างโรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่  โดยย้ายฐานการผลิตรถยนต์นั่งจากฟิลิปปินส์มายังประเทศไทย มีกำลังการผลิตปีละ 100,000 คัน   นอกจากนี้  ค่ายรถยนต์รายอื่นๆ ยังมีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น  อย่างฮอนด้าเตรียมเพิ่มการผลิตออกเป็น 2 กะ และเปิดโรงงานแห่งใหม่สำหรับการผลิตรถยนต์อีโคคาร์   ขณะที่นิสสัน ได้เปิดตัว นิสสัน มาร์ช อีโคคาร์คันแรกของไทยและเตรียมส่งออกไปขายทั่วโลก  
           ขณะเดียวกัน  บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย   จำกัด รายงานว่า สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม - เมษายน 2553  ตลาดรถยนต์รวม มีปริมาณการขาย 223,930 คัน เพิ่มขึ้น 51.8%    อันดับที่ 1 โตโยต้า 92,406 คัน  เพิ่มขึ้น   53.3% ส่วนแบ่งตลาด 41.3%  อันดับที่ 2 อีซูซุ 46,071 คัน เพิ่มขึ้น   43.8%  ส่วนแบ่งตลาด 20.6%   อันดับที่ 3 ฮอนด้า 29,739 คัน เพิ่มขึ้น   18.8%  ส่วนแบ่งตลาด 13.3%    
              ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 92,521 คัน เพิ่มขึ้น 54.3% อันดับที่ 1 โตโยต้า  39,242 คัน เพิ่มขึ้น    47.3%  ส่วนแบ่งตลาด 42.4%  อันดับที่ 2 ฮอนด้า 27,626 คัน เพิ่มขึ้น16.5%  ส่วนแบ่งตลาด 29.9%  อันดับที่ 3 มาสด้า   8,747 คัน เพิ่มขึ้น   489.0%  ส่วนแบ่งตลาด  9.5%  
              ส่วนตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มีปริมาณการขาย  112,947 คัน เพิ่มขึ้น  48.4% อันดับที่ 1 โตโยต้า  47,519 คัน เพิ่มขึ้น   56.3 % ส่วนแบ่งตลาด 42.1%  อันดับที่ 2 อีซูซุ 42,982 คัน เพิ่มขึ้น    42.8%  ส่วนแบ่งตลาด 38.1%  อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 8,002 คัน เพิ่มขึ้น    85.1%  ส่วนแบ่งตลาด  7.1%    
             ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 131,409 คัน เพิ่มขึ้น 50.1%   อันดับที่ 1 โตโยต้า 53,164 คัน  เพิ่มขึ้น   58.1%   ส่วนแบ่งตลาด 40.5%   อันดับที่ 2 อีซูซุ  46,071 คัน เพิ่มขึ้น   43.8 %  ส่วนแบ่งตลาด 35.1%   อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ  8,003 คัน เพิ่มขึ้น   85.1% ส่วนแบ่งตลาด  6.1%

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,532   20-22  พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 23, 2010 1:04 am
โดย Rocker
ส่งออกรถยนต์พุ่งแรงกว่า70% ออสเตรเลีย-อาเซียนตลาดหลัก

ตลาดส่งออกรถยนต์ยังดีต่อเนื่อง ขยายตัวสูง 74.9% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ชี้ออสเตรเลีย-อาเซียนยังเป็นตลาดหลัก


รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ยอดการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมามีการขยายตัวสูงขึ้นมาก ทั้งในแง่ของจำนวนคันที่ขยายตัวถึง 56.1% และมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวสูง 74.9% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกรถยนต์ของไทยขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะไปยังตลาดส่งออกรถยนต์ ที่สำคัญของไทย เช่น ออสเตรเลียและอาเซียนนั้น นอกจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในหลายประเทศแล้ว ยังเป็นผลมาจากการลดภาษีศุลกากรภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีที่ประเทศคู่เจรจาปรับลดให้แก่สินค้ายานยนต์นำเข้าจากไทย ส่งผลให้ยอดการส่งออกรถยนต์ของไทยในปี 2553 นี้มีโอกาสทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ไทยมีการส่งออกรถยนต์ไปยังต่างประเทศ

โดยในไตรมาส 1 จะพบว่ามีปริมาณการส่งออกรถยนต์ทั้งสิ้น 216,685 คัน ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีอัตราการขยายตัวที่สูงในรอบ 4 ปีที่ 53.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีมูลค่าส่งออกประมาณ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตสูง 74.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน

หากพิจารณาเป็นรายสินค้า จะพบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์ของไทยมีการเติบโตในทุกประเภทโดยเฉพาะประเภทรถยนต์นั่ง มีอัตราการเติบโต 83.5% รถแวนและปิกอัพ มีอัตราการเติบโต 76.2% รถบัสและรถบรรทุกมีอัตราการเติบโต 36% และเมื่อแบ่งตามกลุ่มประเทศเป้าหมาย ของการส่งออกพบว่า ตลาดส่งออกรถยนต์ที่สำคัญ 2 อันดับแรกของไทย คือ ออสเตรเลียและอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกรวมกันเกินกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการส่งออกรถยนต์ทั้งหมด โดยในไตรมาสแรกมีมูลค่าการส่งออกรวมกันสูงถึง 1,614.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โตจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 1.5%



ขณะที่การส่งออกไปยังออสเตรเลียมีการเติบโตสูงถึง 2 เท่า ในตลาดรถแวนและปิกอัพ รองลงมาคือ ตลาดรถยนต์นั่ง ตลาดรถบัส และรถบรรทุก ส่วนอาเซียน มีการขยายตัวสูงถึงกว่า 2 เท่าในตลาดรถยนต์นั่ง ตลาดรถบัส และรถบรรทุก ตามมาด้วยการส่งออกรถแวนและปิกอัพ ที่ขยายตัวดีเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ การส่งออกรถยนต์ของไทยที่ขยายตัวสูงตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมานั้น ได้รับปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญนอกเหนือจากฐานที่ต่ำค่อนข้างมากในปีก่อนหน้าแล้ว ยังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์รถยนต์ในตลาดต่างประเทศ และการเปิดเสรีทางการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน

สำหรับแนวโน้มการส่งออกรถยนต์จากนี้ไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังเชื่อว่าจะยังคงมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างดี โดยเฉพาะใน 2 ตลาดหลักอย่างออสเตรเลียและอาเซียน เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าคงทนอย่างเช่น รถยนต์มีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้โอกาสในการนำเข้ารถยนต์จากไทยมีเพิ่มสูงขึ้นตาม

จากทิศทางการฟื้นตัวจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศนำเข้าหลักของไทยจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากที่มีการขยายตัวในอัตราที่สูงในระดับตัวเลข 2 หลัก ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ต่อเนื่องถึงไตรมาส 1 ของปีนี้ อัตราการขยายตัวของยอดขายรถยนต์ไตรมาส 1 ในประเทศที่เป็นตลาดส่งออกรถยนต์หลักของไทย อย่างออสเตรเลียเติบโต 18.3% อินโดนีเซียเติบโต 73.6% มาเลเซียเติบโต 22.5% ฟิลิปปินส์เติบโต 35.5%

ปัจจุบันไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์หลักที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และยังเป็นประเทศที่มีการส่งออกรถยนต์ไปยังออสเตรเลียคิดเป็นสัดส่วนสูงเกือบ 20% ของตลาดรถยนต์นำเข้าของออสเตรเลียทั้งหมดซึ่งมีสัดส่วนสูงมากกว่า 80% ของยอดขายรถยนต์รวมทั้งประเทศ โดยรถยนต์นำเข้าจากไทยมีสัดส่วนเป็น รองเพียงรถยนต์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในส่วนของตลาดรถปิกอัพพบว่ามีการนำเข้ารถปิกอัพจากไทยเป็นอันดับ 1 ในปีที่ผ่านมาทั้งในตลาดออสเตรเลียและอาเซียน

นอกจากนี้ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างไทยกับประเทศคู่เจรจา โดยเฉพาะการเปิดเสรีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน มีโอกาสส่งผลให้ไทยสามารถขยายตลาดส่งออกในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งหลังจากมี การเปิดเสรีอาเซียนในกลุ่มอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และไทยส่งผลให้อัตราภาษีสำหรับสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมดลดเป็น 0 ทันที ทำให้มูลค่าการส่งออกรถยนต์จากไทยไปยังกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นทันทีกว่า 1.5 เท่าจากช่วงไตรมาสแรกของปีก่อน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไทยในฐานะฐานการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์ที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน

ส่วนตลาดออสเตรเลียแม้ในส่วนการ ส่งออกรถยนต์จากไทยไปออสเตรเลียจะ ไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเปิดเสรีไทย-ออสเตรเลียอย่างเต็มรูปแบบ

เนื่องจากออสเตรเลียได้ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ทั้งหมดจากไทยเหลือ 0% ไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2548 แต่ผลจากการเปิดเสรีดังกล่าวและการเปิดเสรีกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กรอบอาเซียน ได้ทำให้เกิดทิศทางการย้ายฐานการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนสำคัญหลายชนิดมายังไทย ทั้งเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศและ เพื่อส่งออก

เนื่องจากขนาดและความพร้อมของ อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศที่เหนือกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคซึ่งจะส่งผลให้ทิศทางการส่งออกรถยนต์จากไทยไปยังตลาดออสเตรเลียเพิ่มสูงขึ้น

หน้า 33

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 23, 2010 11:32 am
โดย neo_potato_Th
ขอบคุณพี่ rockerครับ:D

อุตฯรถยนต์ได้เวลาเทกออฟ Qแรกพุ่งส่งออกทะลุแสนล.

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 24, 2010 12:47 am
โดย Rocker
อุตสาหกรรมรถยนต์ ลุยข้ามพ้นวิกฤติ ตัวเลขขายในประเทศพุ่ง ขณะส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 3 เดือนแรกปีนี้เฉียด 2 แสนคัน มูลค่า 9.2 หมื่นล้านบาท คาดไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.)ประมาณการผลิตรถยนต์มีจำนวนกว่า 3.4 แสนคัน เผยตลาดส่งออกออสเตรเลียใหญ่สุด ตามด้วยอาเซียน และตะวันออกกลาง คาดไทยจะสามารถผลิตรถได้ตามเป้า 1.8 ล้านคัน ฮอนด้าโชว์ 3 เดือนส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนมูลค่ากว่า 1.5 หมื่นล้านบาท

           อุตสาหกรรมยานยนต์ นับเป็นหนึ่งในดัชนีสะท้อนความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคส่งออกหรือการผลิต เพื่อทำตลาดในประเทศ โดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ค่ายรถต้องเผชิญมรสุม และต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อรับมือกับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นที่น่ายินดีที่ตัวเลขยอดขายของ 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม) ของปีนี้ ตัวเลขการจำหน่ายมีปริมาณ 166,802 คัน เพิ่มขึ้น 54.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เป็นการเติบโตต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และสถานการณ์การเมืองในประเทศคลี่คลาย
           อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวยังสอดคล้องกับภาคการส่งออกก็มีอัตราการเติบโต โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) รายงานว่า การส่งออกรถยนต์ไตรมาสแรกของปี 2553 เริ่มฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกแล้วเช่นกัน โดยการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูประหว่างเดือนมกราคมมีนาคม 2553 มีจำนวน 196,537 คัน เพิ่มขึ้น 41.59 % มีมูลค่าการส่งออก 92,747.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46.33% เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 4,186.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 130.19 % ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 30,692.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60.06% อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 3,023.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.3% รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์ เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 130,649.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49.6%
           สำหรับประมาณการของไตรมาส 2 ของปีนี้ ส.อ.ท. ประมาณการการผลิตรถยนต์ ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2553 คาดว่าน่าจะมีจำนวนทั้งสิ้น 340,859 คัน เปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 ซึ่งมีจำนวน 381,817 คัน ลดลง 10.73% ทั้งนี้ เนื่องจากในเดือนเมษายน มีวันหยุดมากทำให้จำนวนวันทำงานน้อยลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2552 ซึ่งมีจำนวน 190,113 คันแล้ว เพิ่มขึ้น 150,746 คัน หรือ 79.29% ขณะเดียวกันประมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 409,331 คัน เปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 ซึ่งมีจำนวน 476,980 คัน ลดลง 14.18% และเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2552 ซึ่งมีจำนวน 362,546 คันแล้ว เพิ่มขึ้น 12.9%
           ทั้งนี้ตลาดส่งออกรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดคือออสเตรเลีย ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด คือ 27% ของยอดส่งออกทั้งหมด อันดับ 2 เป็นตลาดอาเซียน มีส่วนแบ่ง 26.98% อันดับ 3 ตะวันออกกลาง 26% ขณะที่ตลาดอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้น จากเดิมส่วนแบ่งตลาด 7% เพิ่มเป็น 10% ขณะที่ตลาดยุโรปมีส่วนแบ่ง 7% ดังนั้นเมื่อรวมกับยอดจำหน่ายในประเทศที่เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าไทยจะสามารถผลิตรถยนต์ได้ตามเป้าหมายปีนี้ 1.8 ล้านคัน
            ผศ.ดร.วีระศักดิ์ จินารัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สินค้ายานยนต์ ชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่ง มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของไทย สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศเฉลี่ยปีละถึง 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากภาพรวมสถิติการส่งออกสินค้ายานยนต์ ชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่งมีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ระหว่าง 3 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่ากว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีผ่านมา พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 65 โดยในปี 2553 คาดว่าจะมีมูลค่า 17,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
            มร.ฟูมิฮิโกะ อิเคะ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด สำนักงานใหญ่ของฮอนด้าประจำภูมิภาคเอเชีย และโอเชียเนีย เปิดเผยว่า ยอดส่งออกโดยรวมของผลิตภัณฑ์ฮอนด้าในไตรมาสแรกประจำปี 2553 เพิ่มขึ้น 53% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 24,689 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก และความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของตลาดทั่วโลก พร้อมคาดการณ์ว่ายอดส่งออกรวมของผลิตภัณฑ์ฮอนด้า สิ้นปีนี้จะมีมูลค่ารวมประมาณ 90,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 28%
            สำหรับการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและชิ้นส่วนของฮอนด้า ในไตรมาสแรกของปี 2553 มีมูลค่าทั้งสิ้น 15,746 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 59% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเฉพาะประเทศออสเตรเลีย โดยฮอนด้าส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในไตรมาสแรกรวม 16,334 คัน เพิ่มขึ้น 31% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ด้านชิ้นส่วนเพื่อการประกอบเพิ่มสูงขึ้นถึง 87% หรือคิดเป็นมูลค่า 6,952 ล้านบาท โดยตลาดที่มีความต้องการสูงสุดคือตลาดเอเชีย ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปสิ้นปี 2553 จะเพิ่มขึ้น 28% รวมทั้งสิ้น 48,851 คัน หรือคิดเป็นมูลค่า 26,888 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% ในขณะที่ชิ้นส่วนเพื่อการประกอบตั้งเป้ายอดส่งออกมูลค่ากว่า 27,099 ล้านบาท


http://www.autopreview.co.th/index.php? ... &Itemid=50