วิกฤติโอลิมปิก....กรีซจะอยู่หรือจะไป!!!
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 10, 2010 10:08 am
ดร.โกร่ง บัญญัติศัพท์ วิกฤติโอลิมปิก จากวิกฤติหนี้ของกรีซ ชี้ ส่งผลกระทบรุนแรง และหนักกว่า วิกฤติซับไพร์ม และวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หวั่นนำไปสู่การล้มละลายของเศรษฐกิจยูโรโซน...
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) นักเศรษฐศาสตร์มหภาคคนสำคัญของประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ "ทีมเศรษฐกิจไทยรัฐ" เกี่ยวกับวิกฤติหนี้และการคลังของประเทศกรีซ ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในกรีซและประเทศที่ถือพันธบัตรของกรีซไว้เป็นจำนวนมาก เช่น สเปน โปรตุเกสและอิตาลี จะส่งผลกระทบรุนแรงและหนักกว่าวิกฤติซับไพร์มหรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐฯ ซึ่งท้ายสุด อาจนำไปสู่การล้มละลายของระบบเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนได้ หากชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในกลุ่มซึ่งแข็งแรงกว่าและมีพละกำลังมากพอจะหยิบยื่นความช่วยเหลือให้ได้ยังมัวแต่คิดถึงคะแนนเสียงเลือกตั้งของตนและตัดสินใจให้ความช่วยเหลือล่าช้าเกินไป
"เมื่อเกิดความตื่นตระหนก คนก็จะนำพันธบัตรของกรีซออกมาเทขาย ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรในขณะนี้พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 11% จากที่เคยให้ 2% ก็เท่ากับลดราคาจาก 100 ลงเหลือ 20 หรือลดลง 5 เท่า แต่ถึงกระนั้น ก็ยังไม่มีใครซื้อ เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ อีกสักพักธนาคารพาณิชย์ก็จะต้องประเมินมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งรวมถึงพันธบัตรที่บรรดากองทุนถืออยู่เพื่อให้เป็นมูลค่าตามราคาตลาดปัจจุบัน หรือราคาล่าสุดที่มีการซื้อขายกันจริง (Mark To Market)"
นายวีรพงษ์กล่าวด้วยว่า เมื่อมีการคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สุทธิในรูปแบบต่างๆใหม่ ปัญหาก็จะลุกลามไปสู่ประเทศที่ลงทุนในพันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นกู้ หรือแม้แต่หุ้นเป็นจำนวนมาก และนี่คือสาเหตุที่นักเศรษฐศาสตร์กำลังเป็นห่วงสเปน โปรตุเกสและอิตาลี ซึ่งกองทุนของธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินในประเทศเหล่านี้เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ของกรีซไว้มาก เมื่อไหร่ ที่ถูก mark to market ผู้ถือตราสารหนี้ หรือพันธบัตรก็จะขาดทุนหมด
"คุณอาจจะยังไม่ทราบรายละเอียดเหล่านี้ เพราะนักเศรษฐศาสตร์ในสหภาพยุโรปดูเหมือนจะปิดปากกันเงียบเชียบ ในขณะที่ต่างรู้ดีว่าราคาของสินทรัพย์ หรือพันธบัตรในประเทศเหล่านี้กำลังลดลงอย่างฮวบฮาบ เมื่อราคาสินทรัพย์ตกต่ำลง ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมก็จะขาดทุนกันชนิดที่เรียกว่าหูตูบ และกลายเป็นโดมิโนแบบเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับวิกฤติซับไพร์มและตราสารหนี้ ซีดีโอ"
นายวีรพงษ์ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อเล่นว่า "ดร.โกร่ง" ยังบัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อเรียกวิกฤติหนี้และการคลังของกรีซในครั้งนี้ด้วยว่า วิกฤติโอลิมปิก (Olympic Crysis) สาเหตุเพราะ กรีซเป็นประเทศต้นแบบของกีฬาโอลิมปิก ขณะที่หนี้สาธารณะซึ่งสูงถึง 112% ของจีดีพี (รายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) หรือที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจบางแห่งให้ตัวเลขหนี้สาธารณะของกรีซไว้สูงถึง 120% ของจีดีพีนั้น มีสาเหตุมาจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของกรีซในปี ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) ที่ใช้ชื่อว่า ATHENS GAMES จากบันทึกการจัดการแข่งขันครั้งนั้นระบุว่า แม้รัฐบาลกรีซจะได้รับการชื่นชมว่าสามารถนำกีฬาโอลิมปิกกลับมาตุภูมิสำเร็จ และประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพนานัปการ แต่รัฐบาลกรีซกลับต้องพบกับปัญหาใหญ่หลวงของฐานะการคลังที่ทรุดลงอย่างรุนแรง เพราะใช้งบประมาณเพื่อการเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ไปเกินกว่าหลายเท่าตัว จากที่วางเป้าหมายไว้ว่าจะใช้เงินเพียง 4,600 ล้านยูโร แต่เอาเข้าจริง กรีซกลับต้องใช้งบประมาณไปสูงถึง 10,000 ล้านยูโร เนื่องจากต้องลงทุนระบบการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันการก่อการร้ายสูงมาก เพราะโลกเพิ่งเผชิญกับเหตุการณ์ ร้ายแรงจากการก่อการร้าย 911 มาหมาดๆ
เมื่อสถานการณ์ดังกล่าวผสมโรงกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และฐานะการคลังที่อ่อนแออยู่เดิมจากการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประเทศที่ใช้เงินยูโร ตลอดจนถึงการต้องลงทุนในระบบสาธารณูปโภคใหม่เพื่อการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ทำให้กรีซต้องขาดดุลงบประมาณสูงถึง 5.2% สูงกว่าข้อกำหนดที่สหภาพยุโรปตั้งไว้ว่าประเทศในกลุ่มยูโรโซนจะขาดดุลงบ ประมาณได้ไม่เกิน 3% ปัญหาของกรีซไม่ได้มีเพียงเท่านี้ หากแต่ยังมีปัญหาการเมืองที่ไม่โปร่งใสเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในการเลือกตั้งใหม่ ที่เกิดขึ้นก่อนกำหนดเปิดการแข่งขันเอเธนส์ เกมส์ เพียงไม่ กี่เดือน รัฐบาลใหม่ที่เข้ามา มีรายจ่ายหลายด้านที่ไม่โปร่งใส โดยเฉพาะด้านการทหารที่ไม่ปรากฏในงบประมาณ ขณะที่การก่อหนี้สาธารณะยังทำกันอย่างลับๆ และปิดบังฐานะที่แท้จริงให้แก่คณะกรรมาธิการการเงินของสหภาพยุโรปทราบ กระทั่งปัญหาลุกลามบานปลายไปจนไม่สามารถปิดบังฐานะที่แท้จริงได้อีกต่อไป เพราะกรีซไม่มีรายได้จากการท่องเที่ยวและส่งออกมากเพียงพอต่อรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยและไม่มีวินัย หนี้สาธารณะที่แท้จริงจึงปรากฏขึ้นและอยู่ในระดับที่สูงถึง 112% ของจีดีพีเมื่อมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่เข้ามา
"ถามว่า ปัญหานี้จะแก้ไขอย่างไร วิธีแก้ก็มีดังนี้ คือ 1.อียูต้องยอมให้เงินกู้แก่กรีซ ซึ่งผมคิดว่า น่าจะมากกว่าที่ประเมินกันไว้ ไม่ว่าจะเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเงินยูโรที่ระดับ 145,000 ล้านยูโร เท่าที่มีการประเมินกันในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ก็คือ มีความเป็นไปได้ว่า อียูอาจต้องใช้เงินกอบกู้วิกฤติโอลิมปิกครั้งนี้สูงถึง 1 ล้านล้านยูโร"
ข้อ 2.ยุติการดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่บีบให้รัฐบาลกรีซต้องปรับลดรายจ่ายในงบประมาณลง หรือบีบให้ลดเงินเดือนข้าราชการ เพราะข้อกำหนดนี้นำมาซึ่งเหตุการณ์จลาจล ที่ทำให้ผู้คนลุกฮือขึ้นมาเผาบ้านเผาเมืองอย่างที่เห็น "สูตรเดียวกันนี้เคยนำมาใช้บังคับกับประเทศไทยในวิกฤติต้มยำกุ้งมาแล้วและก็ทำให้เราพัง เพราะฉะนั้น One Formular Fits All ของไอเอ็มเอฟนั้น ใช้ไม่ได้ผลแน่นอน"
ข้อ 3.ถ้าเป็นประเทศที่มีสกุลเงินของตัวเอง ไม่ได้ใช้สกุลเงินรวมอย่างในระบบยูโรโซน นายวีรพงษ์ให้ความเห็นว่า นักเศรษฐศาสตร์อาจใช้เครื่องมือสำคัญคือ ลดค่าเงินลงได้ เพื่อให้การส่งออกนำรายได้เงินตราต่างประเทศเข้ามาใช้หนี้ที่มีอยู่และเพื่อการใช้จ่าย หรือการกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นเรื่องโชคร้ายที่กรีซใช้ระบบเงินรวม เมื่อค่าเงินยูโรอ่อนตัว ประเทศในกลุ่มเดียวกันก็อ่อนตัวลงด้วย และประเทศที่มีศักยภาพสูงกว่าทั้งในเรื่องของการผลิต การส่งออกและบริการ ก็จะได้เปรียบและรับประโยชน์ไปแทน
"ราคาสินค้าหรือบริการที่คิดว่าน่าจะต่ำจนดึงดูดคนซื้อได้ ก็กลับมีราคาเท่ากับประเทศอื่นๆ นี่จึงเป็นจุดอ่อนของการใช้เงินตราร่วมกัน เป็นจุดเริ่มต้นที่ท้าทายและน่าหวาดเสียวว่า อียูจะสามารถรักษาระบบเงินตราสกุลเดียวของตนไว้ได้หรือไม่เพียงไรเพื่อไม่ให้ล่มสลายไป ด้วยเหตุที่มีประเทศในกลุ่มที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านการเงินและการคลังที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะฉะนั้น ความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน ที่เรียกว่า Chiang Mai Initiative จะต้องจับตาดูบทเรียนที่กำลังเกิดขึ้นกับยูโรโซนนี้ให้ดีว่า เมื่อมีการรวมเงินเป็นสกุลเดียวกันแล้ว ก็จะไม่มีเครื่องมือใดที่จะสามารถแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้นได้อีก เช่นเดียวกับกรีซที่ไม่มีเครื่องมือแก้ปัญหานี้ กระทั่งอาจจะต้องล่มสลายไปในที่สุด" นายวีรพงษ์กล่าวในที่สุด.
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) นักเศรษฐศาสตร์มหภาคคนสำคัญของประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ "ทีมเศรษฐกิจไทยรัฐ" เกี่ยวกับวิกฤติหนี้และการคลังของประเทศกรีซ ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในกรีซและประเทศที่ถือพันธบัตรของกรีซไว้เป็นจำนวนมาก เช่น สเปน โปรตุเกสและอิตาลี จะส่งผลกระทบรุนแรงและหนักกว่าวิกฤติซับไพร์มหรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐฯ ซึ่งท้ายสุด อาจนำไปสู่การล้มละลายของระบบเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนได้ หากชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในกลุ่มซึ่งแข็งแรงกว่าและมีพละกำลังมากพอจะหยิบยื่นความช่วยเหลือให้ได้ยังมัวแต่คิดถึงคะแนนเสียงเลือกตั้งของตนและตัดสินใจให้ความช่วยเหลือล่าช้าเกินไป
"เมื่อเกิดความตื่นตระหนก คนก็จะนำพันธบัตรของกรีซออกมาเทขาย ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรในขณะนี้พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 11% จากที่เคยให้ 2% ก็เท่ากับลดราคาจาก 100 ลงเหลือ 20 หรือลดลง 5 เท่า แต่ถึงกระนั้น ก็ยังไม่มีใครซื้อ เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ อีกสักพักธนาคารพาณิชย์ก็จะต้องประเมินมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งรวมถึงพันธบัตรที่บรรดากองทุนถืออยู่เพื่อให้เป็นมูลค่าตามราคาตลาดปัจจุบัน หรือราคาล่าสุดที่มีการซื้อขายกันจริง (Mark To Market)"
นายวีรพงษ์กล่าวด้วยว่า เมื่อมีการคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สุทธิในรูปแบบต่างๆใหม่ ปัญหาก็จะลุกลามไปสู่ประเทศที่ลงทุนในพันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นกู้ หรือแม้แต่หุ้นเป็นจำนวนมาก และนี่คือสาเหตุที่นักเศรษฐศาสตร์กำลังเป็นห่วงสเปน โปรตุเกสและอิตาลี ซึ่งกองทุนของธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินในประเทศเหล่านี้เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ของกรีซไว้มาก เมื่อไหร่ ที่ถูก mark to market ผู้ถือตราสารหนี้ หรือพันธบัตรก็จะขาดทุนหมด
"คุณอาจจะยังไม่ทราบรายละเอียดเหล่านี้ เพราะนักเศรษฐศาสตร์ในสหภาพยุโรปดูเหมือนจะปิดปากกันเงียบเชียบ ในขณะที่ต่างรู้ดีว่าราคาของสินทรัพย์ หรือพันธบัตรในประเทศเหล่านี้กำลังลดลงอย่างฮวบฮาบ เมื่อราคาสินทรัพย์ตกต่ำลง ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมก็จะขาดทุนกันชนิดที่เรียกว่าหูตูบ และกลายเป็นโดมิโนแบบเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับวิกฤติซับไพร์มและตราสารหนี้ ซีดีโอ"
นายวีรพงษ์ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อเล่นว่า "ดร.โกร่ง" ยังบัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อเรียกวิกฤติหนี้และการคลังของกรีซในครั้งนี้ด้วยว่า วิกฤติโอลิมปิก (Olympic Crysis) สาเหตุเพราะ กรีซเป็นประเทศต้นแบบของกีฬาโอลิมปิก ขณะที่หนี้สาธารณะซึ่งสูงถึง 112% ของจีดีพี (รายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) หรือที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจบางแห่งให้ตัวเลขหนี้สาธารณะของกรีซไว้สูงถึง 120% ของจีดีพีนั้น มีสาเหตุมาจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของกรีซในปี ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) ที่ใช้ชื่อว่า ATHENS GAMES จากบันทึกการจัดการแข่งขันครั้งนั้นระบุว่า แม้รัฐบาลกรีซจะได้รับการชื่นชมว่าสามารถนำกีฬาโอลิมปิกกลับมาตุภูมิสำเร็จ และประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพนานัปการ แต่รัฐบาลกรีซกลับต้องพบกับปัญหาใหญ่หลวงของฐานะการคลังที่ทรุดลงอย่างรุนแรง เพราะใช้งบประมาณเพื่อการเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ไปเกินกว่าหลายเท่าตัว จากที่วางเป้าหมายไว้ว่าจะใช้เงินเพียง 4,600 ล้านยูโร แต่เอาเข้าจริง กรีซกลับต้องใช้งบประมาณไปสูงถึง 10,000 ล้านยูโร เนื่องจากต้องลงทุนระบบการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันการก่อการร้ายสูงมาก เพราะโลกเพิ่งเผชิญกับเหตุการณ์ ร้ายแรงจากการก่อการร้าย 911 มาหมาดๆ
เมื่อสถานการณ์ดังกล่าวผสมโรงกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และฐานะการคลังที่อ่อนแออยู่เดิมจากการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประเทศที่ใช้เงินยูโร ตลอดจนถึงการต้องลงทุนในระบบสาธารณูปโภคใหม่เพื่อการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ทำให้กรีซต้องขาดดุลงบประมาณสูงถึง 5.2% สูงกว่าข้อกำหนดที่สหภาพยุโรปตั้งไว้ว่าประเทศในกลุ่มยูโรโซนจะขาดดุลงบ ประมาณได้ไม่เกิน 3% ปัญหาของกรีซไม่ได้มีเพียงเท่านี้ หากแต่ยังมีปัญหาการเมืองที่ไม่โปร่งใสเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในการเลือกตั้งใหม่ ที่เกิดขึ้นก่อนกำหนดเปิดการแข่งขันเอเธนส์ เกมส์ เพียงไม่ กี่เดือน รัฐบาลใหม่ที่เข้ามา มีรายจ่ายหลายด้านที่ไม่โปร่งใส โดยเฉพาะด้านการทหารที่ไม่ปรากฏในงบประมาณ ขณะที่การก่อหนี้สาธารณะยังทำกันอย่างลับๆ และปิดบังฐานะที่แท้จริงให้แก่คณะกรรมาธิการการเงินของสหภาพยุโรปทราบ กระทั่งปัญหาลุกลามบานปลายไปจนไม่สามารถปิดบังฐานะที่แท้จริงได้อีกต่อไป เพราะกรีซไม่มีรายได้จากการท่องเที่ยวและส่งออกมากเพียงพอต่อรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยและไม่มีวินัย หนี้สาธารณะที่แท้จริงจึงปรากฏขึ้นและอยู่ในระดับที่สูงถึง 112% ของจีดีพีเมื่อมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่เข้ามา
"ถามว่า ปัญหานี้จะแก้ไขอย่างไร วิธีแก้ก็มีดังนี้ คือ 1.อียูต้องยอมให้เงินกู้แก่กรีซ ซึ่งผมคิดว่า น่าจะมากกว่าที่ประเมินกันไว้ ไม่ว่าจะเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเงินยูโรที่ระดับ 145,000 ล้านยูโร เท่าที่มีการประเมินกันในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ก็คือ มีความเป็นไปได้ว่า อียูอาจต้องใช้เงินกอบกู้วิกฤติโอลิมปิกครั้งนี้สูงถึง 1 ล้านล้านยูโร"
ข้อ 2.ยุติการดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่บีบให้รัฐบาลกรีซต้องปรับลดรายจ่ายในงบประมาณลง หรือบีบให้ลดเงินเดือนข้าราชการ เพราะข้อกำหนดนี้นำมาซึ่งเหตุการณ์จลาจล ที่ทำให้ผู้คนลุกฮือขึ้นมาเผาบ้านเผาเมืองอย่างที่เห็น "สูตรเดียวกันนี้เคยนำมาใช้บังคับกับประเทศไทยในวิกฤติต้มยำกุ้งมาแล้วและก็ทำให้เราพัง เพราะฉะนั้น One Formular Fits All ของไอเอ็มเอฟนั้น ใช้ไม่ได้ผลแน่นอน"
ข้อ 3.ถ้าเป็นประเทศที่มีสกุลเงินของตัวเอง ไม่ได้ใช้สกุลเงินรวมอย่างในระบบยูโรโซน นายวีรพงษ์ให้ความเห็นว่า นักเศรษฐศาสตร์อาจใช้เครื่องมือสำคัญคือ ลดค่าเงินลงได้ เพื่อให้การส่งออกนำรายได้เงินตราต่างประเทศเข้ามาใช้หนี้ที่มีอยู่และเพื่อการใช้จ่าย หรือการกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นเรื่องโชคร้ายที่กรีซใช้ระบบเงินรวม เมื่อค่าเงินยูโรอ่อนตัว ประเทศในกลุ่มเดียวกันก็อ่อนตัวลงด้วย และประเทศที่มีศักยภาพสูงกว่าทั้งในเรื่องของการผลิต การส่งออกและบริการ ก็จะได้เปรียบและรับประโยชน์ไปแทน
"ราคาสินค้าหรือบริการที่คิดว่าน่าจะต่ำจนดึงดูดคนซื้อได้ ก็กลับมีราคาเท่ากับประเทศอื่นๆ นี่จึงเป็นจุดอ่อนของการใช้เงินตราร่วมกัน เป็นจุดเริ่มต้นที่ท้าทายและน่าหวาดเสียวว่า อียูจะสามารถรักษาระบบเงินตราสกุลเดียวของตนไว้ได้หรือไม่เพียงไรเพื่อไม่ให้ล่มสลายไป ด้วยเหตุที่มีประเทศในกลุ่มที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านการเงินและการคลังที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะฉะนั้น ความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน ที่เรียกว่า Chiang Mai Initiative จะต้องจับตาดูบทเรียนที่กำลังเกิดขึ้นกับยูโรโซนนี้ให้ดีว่า เมื่อมีการรวมเงินเป็นสกุลเดียวกันแล้ว ก็จะไม่มีเครื่องมือใดที่จะสามารถแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้นได้อีก เช่นเดียวกับกรีซที่ไม่มีเครื่องมือแก้ปัญหานี้ กระทั่งอาจจะต้องล่มสลายไปในที่สุด" นายวีรพงษ์กล่าวในที่สุด.