ซื้อหุ้นตามทาง'ปีเตอร์ ลินช์' ???
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 08, 2010 11:17 pm
'นพปฏล เจสัน จิรสันต์' ซื้อหุ้นSECCตามทาง'ปีเตอร์ ลินช์'
เปิดตัว CEO หนุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่คนใหม่ 'เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์' เขาเลือกฝากชีวิตกับหุ้นตัวนี้เพื่อพิสูจน์แนวคิดการเป็นนักลงทุนเต็มร้อยของตัวเอง
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2553 ชาญ เลิศประเสริฐภากร ได้ขายหุ้นเอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (SECC) ทั้งหมด 14.63% ให้แก่ นพปฏล เจสัน จิรสันต์ บุรุษนิรนาม ทำให้เขาถือครองหุ้น SECC อันดับหนึ่ง 137,667,000 ล้านหุ้น สัดส่วน 22.28% ที่ราคา 0.05 บาท คิดเป็นเงินลงทุน 6,883,350 บาท
แม้มูลค่าการลงทุนจะไม่มากแต่ นพปฏล เจสัน จิรสันต์ ชายชื่อแปลกกลับน่าสนใจ ทั้งชื่อและหน้าตาที่บ่งบอกถึงความเป็น "ฝรั่งลูกครึ่ง" และเหตุผลที่เข้ามาซื้อกิจการ "เน่าๆ" หุ้นถูกสั่งพักการซื้อขายไม่มีกำหนด และเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์...ถ้าไม่บ้าหมอนี่ก็คงเมา "เอาเงินมาทิ้ง"
แม้ว่าอนาคตของหุ้น SECC จะยังดูมืดมน แต่เจสันกลับใช้หุ้นตัวนี้เพื่อพิสูจน์แนวคิดการเป็นนักลงทุนของตัวเอง
"หุ้น SECC จะเปลี่ยนชีวิตการลงทุนของผม" เขาเชื่อ และถ้า สมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ ไม่โกงบริษัทจนทำให้ บมจ.เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส กิจการ "พันล้าน" ย่อยยับมีหนี้สินรุงรัง มีหรือที่เจสันจะหอบเงินไม่ถึงสิบล้านบาทไปเป็นหุ้นใหญ่ (เจ้าของ) กิจการในตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้ได้ แม้เขาจะถือแค่ "เศษกระดาษ" แต่นี่คือบททดสอบแนวคิดการลงทุนสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต
หากเสิร์ชในกูเกิลชื่อ นพปฏล เจสัน จิรสันต์ ไม่ใช่ "โนเนม" เสียทีเดียว หนุ่มหน้าฝรั่งพูดไทยชัดรายนี้ปรากฏข่าวอยู่เนื่องๆ ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท แพลทตินั่ม มาร์เกตติ้ง แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายซีดีเพลงแนวอินดี้รายใหญ่ในวงการดนตรีเมืองไทย และเป็นซีอีโอรักสนุกที่เคยลงคอลัมน์ CEO Way ในกรุงเทพธุรกิจ BizWeek มาแล้ว
ตามประวัติที่ถูกระบุในกูเกิล เจสัน คือผู้รักดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ เขาจบปริญญาโทบริหารธุรกิจจาก St.Louis University ควบปริญญาโท Business Economics จาก Bentley University สหรัฐอเมริกา เคยทำงานที่ฝ่ายธุรกิจหลักทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ เมื่อหลายปีก่อน
"การเข้ามาถือหุ้น SECC ครั้งนี้ ผมไม่ได้เป็นนอมินีของใครแน่นอน" เจสัน ยืนยันกับ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ที่ออฟฟิศย่านถนนพระรามเก้าเมื่อไม่นานนี้
การเข้าซื้อหุ้น SECC เจสันยืนยันไม่รู้จักผู้บริหารกับผู้ถือหุ้นชุดเดิมเป็นการส่วนตัวเลยสักคน คนในบริษัทนั้นจะรู้จักก็แค่เซลส์ขายรถยนต์เท่านั้นเอง ทำไม! ถึงกล้าซื้อหุ้นโดยที่ตัวเองไม่รู้จักแบ็คกราวนด์บริษัทที่ดีพอ เขาบอกว่าถ้าตัดเรื่อง "ฉาว" ออกไปบริษัทนี้มีการดำเนินธุรกิจที่มีกำไร เมื่อหลายปีก่อนเคยพาเพื่อนไปซื้อรถยนต์กับบริษัทนี้รู้สึกประทับใจในการให้บริการของเขา และเห็นคนเข้ามาใช้บริการค่อนข้างเยอะ ประกอบกับรู้มาว่าตลาดรถยนต์ "เกรย์มาร์เก็ต" (รถหรูนำเข้า) มีกำไรสูง นอกจากนี้มั่นใจว่าตลาดรถยนต์ในประเทศค่อนข้างใหญ่เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานของคนไทยไปแล้ว
สรุปก็คือพอดีมีเงินเหลือและเป็นจังหวะคล้องจองกับราคาหุ้นตอนนั้นราคาก็ไม่สูง (0.05 บาท) ทีแรกคิดว่าจะซื้อไม่เยอะแต่ทำไปทำมากลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่ง ส่วนใช้เงินไปเท่าไรผมไม่ขอบอกแล้วกัน (6,883,350 บาท)
นพปฏลมองการซื้อหุ้น SECC จำนวน 137.66 ล้านหุ้นครั้งนี้เป็นการลงทุนระยะยาว และไม่คิดที่จะเป็นบอร์ดบริหารแม้ทางฝ่ายนั้นจะเชิญ เพราะทุกวันนี้ก็มีงานประจำทำและไม่ชำนาญเรื่องข้อกฎหมายต่างๆ แต่ก็แต่งตั้งทีมงานเข้าไปช่วยดูแล แต่เหตุผลข้อสำคัญก็คือหุ้นราคาแบกะดินตัวนี้วันหนึ่งมันต้อง "เทิร์นอะราวด์"
"บริษัทตอนนี้ยังเป็น Penny Stock อยู่ ผมไม่ได้เร่งรัดทีมผู้บริหารชุดเดิมให้รีบฟื้นธุรกิจเร็วๆ เพราะรู้ว่าไม่ง่ายคงใช้เวลา 2 ปี ที่จะกลับมา และคาดว่าต้องใช้เวลา 5 ปีขึ้นไปถึงจะเทิร์นอะราวด์ได้"
สิ่งที่เน้นย้ำกับบอร์ดชุดปัจจุบันให้พยายามรักษามาตรฐานงานบริการให้ดีต่อเนื่องเพราะมองว่าเป็นจุดขายของบริษัทนี้ เรื่องเร่งด่วนต้องจัดการเรื่องงบการเงินตามที่ ก.ล.ต. แจ้งเตือนมา และรีบกลับมาทำธุรกรรมซื้อขายรถยนต์ตามปกติให้เร็วที่สุด เพราะตอนนี้ทำธุรกิจแค่รับซ่อมรถให้ลูกค้าเดิม
"นี่เป็นการลงทุนหุ้นครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกและน่าจะเป็นครั้งที่ถือนานที่สุดของผม เชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วบริษัทนี้จะกลับมาได้แน่นอน" ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจดนตรีแต่หาญกล้ามาซื้อหุ้นบริษัทขายรถยนต์มั่นใจ
นพปฏล เล่าประสบการณ์การลงทุนของตัวเองว่าระหว่างเรียนปริญญาโทด้านไฟแนนซ์ที่บอสตัน ต้องลงวิชาด้านการลงทุนทำให้รู้จักหุ้นตั้งแต่ตอนนั้น และเริ่มลงทุนครั้งแรกตั้งแต่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ช่วงปี 2540 ยังใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐช่วงนั้นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี (ตลาดหุ้นแนสแด็ก) กำลังบูมมาก อย่างพวก Microsoft, Yahoo ก็เริ่มเข้าไปลงทุนด้วยเงินหลัก "พันเหรียญ" ได้กำไรมาบ้างเล็กน้อย ตอนนั้นซื้อหุ้นอะไรก็ขึ้นหมดได้เงินมาง่ายๆ
หลังเรียนจบเข้าไปทำงานที่ J.P.Morgan Chase และกลับมาทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ ฝ่ายจัดการกองทุนดูแลด้านระบบ งาน 2 ที่นี้ช่วยหล่อหลอมแนวคิดการลงทุนให้ "คม" ยิ่งขึ้น ต้องยอมรับว่าชีวิตเคยพลัดหลงเข้าไปลงทุนแบบ "เก็งกำไรรายวัน" กับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากนั้นไม่นานฟองสบู่ดอทคอมก็แตก
ส่วนตัวมองว่าการลงทุนหุ้นคือการพัฒนาความคิดของตัวเองไปเรื่อยๆ จากเดิมจะเล่น "เดย์เทรด" (ไม่เอาหุ้นกลับบ้าน) ก็เริ่มรู้ว่าไม่ใช่ทางที่เหมาะกับตัวเอง สุดท้ายเหมือนการ "เล่นพนัน" ไปวันๆ จากที่ไม่เคยถือหุ้นตัวไหนนานๆ ก็เริ่มอ่านหนังสือการลงทุนของกูรูหลายคน จนค้นพบสไตล์ส่วนตัวในปัจจุบันคือเดินตามแนวทางของเซียนหุ้นบันลือโลก "ปีเตอร์ ลินช์"
เซียนดนตรีรายนี้ เผยว่า วิธีการลงทุนทุกวันนี้จะยึดหลักของปีเตอร์ ลินช์ คือตีค่าธุรกิจด้วยวิธีการเดินสำรวจกิจการ เหมือนกับที่ปีเตอร์ ลินช์ เดินดูร้านวอล-มาร์ทก่อนซื้อหุ้น ส่วนตัวคิดว่าเป็นวิธีการลงทุนที่ใช้ได้จริงในทางปฏิบัติยิ่งกว่าแนวทางของวอร์เรน บัฟเฟตต์อีก
ยกตัวอย่างเมื่อหลายปีก่อนเคยเดินสำรวจร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ช่วงเริ่มขายอาหารแช่แข็ง และซีพีเอฟเริ่มขายอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น พอเห็นคนต่อแถวซื้อความคิดก็แว็บ!ขึ้นว่า หุ้น CPALL กับ CPF ต้องดีแน่ วันนี้ก็ดีจริงๆ นอกจากนี้ยังชอบเดินโฮมโปรเพราะสร้างบ้านหลังใหม่ เห็นคนเดินเยอะก็รู้ว่าหุ้น HMPRO ต้องกำไรดี อย่างนี้เป็นต้น
ส่วนหุ้น SECC ก็ใช้หลักคิดแบบเดียวกันคือเดินสำรวจโชว์รูมเห็นว่าลูกค้าประทับใจมาใช้บริการ ธุรกิจก็น่าจะเดินไปได้ เพียงแต่มีปัญหาผู้บริหารฉ้อโกงบริษัทถึงได้เป็นแบบนี้
"บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ผมก็ดูนะแล้วก็มีออกไปคุยกับผู้บริหารด้วยบางทีคุยกับพนักงานเราก็รู้แล้วว่าดีหรือไม่ดี แต่จะให้ดีต้องดูของจริงกับตาตัวเอง"
เจสัน บอกว่าประสบการณ์ที่เคยผ่านงานในสถาบันการเงิน ทำให้รู้ว่าควรจะเลือกลงทุนอย่างไรให้ชนะเงินเฟ้อ ทุกวันนี้จะซื้อ RMF และ LTF เพื่อประหยัดภาษีเต็มจำนวนทุกปี ส่วนการลงทุนโดยตรงในตลาดหุ้นจะเล่น "ตามจังหวะ" จะลงทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นตกแรงๆ และจะไม่ทุ่มซื้อก้อนเดียวหมดหน้าตัก เพราะคิดว่าตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนสูงไม่เหมาะที่จะซื้อหุ้นครั้งเดียว
ความประทับใจที่นพปฏลพูดได้เต็มปากเต็มคำแม้พอร์ตลงทุนของเขาจะไม่ใหญ่ และไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่จะเกทับใครได้ แต่เจ้าตัวก็ภูมิใจกับผลตอบแทนที่สามารถ "เอาชนะ" ผลตอบแทนของกองทุนรวม "ทุกปี"
"ผมจะใช้วิธีทยอยซื้อหุ้นช่วงที่หุ้นตกแรงๆ ทุกครั้ง ไม่ซื้อหนักในครั้งเดียว ช่วงนี้ผมกำลังมองว่าถ้าหุ้นลงไป 700 จุด ก็จะซื้ออีก" นี่คือวิธีการลงทุนแบบสวนกระแสนักลงทุนส่วนใหญ่ และรู้จักคำว่ารอคอยโอกาส
นอกจากทรัพย์สินส่วนหนึ่งจะฝังตัวอยู่ในตลาดหุ้นแล้ว ความไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความสำเร็จ นพปฏล ยังเลือกที่จะแบ่งเงินมาลงทุนซื้อคอนโดมิเนียมให้เช่า เขาเล่าว่า ตอนที่เรียนจบมาอยู่เมืองไทยใหม่ๆ ก็เริ่มมีความคิดตั้งแต่ตอนนั้นว่า ถ้าเราเก็บรายได้จากค่าเช่าสัก 18 ปี ก็เหมือนกับเราได้ห้องนั้นมาฟรีๆ พอหาเงินมาได้ก็นำไปซื้อมาปล่อยเช่าเพิ่มอีก ทำอย่างนี้เหมือนกับการเล่น "เกมเศรษฐี" มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ในทำเลที่ดีมีแต่ราคาเพิ่มขึ้น แถมยังได้ค่าเช่าทุกเดือน
ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นก็มีบ้างส่วนใหญ่จะเน้นหุ้นบลูชิพเป็นหลักอย่างกลุ่ม ปตท.ทั้งหมด และก็ BANPU ที่ซื้อไว้ตั้งแต่ราคา 300 บาท ที่ชอบหุ้นกลุ่มนี้ (พลังงาน) เพราะดูง่ายธุรกิจแข็งแกร่งอยู่แล้ว ถ้าเงินฝรั่งเข้ามาหุ้นก็ขึ้นแน่นอน นอกจากนี้ยังชอบหุ้นธนาคารอย่าง SCB และ KBANK เพราะมีค่าเบต้าสูงราคาหุ้นจะสวิงตัวแรง ตอนนี้กำลังชอบหุ้น CPF คาดว่ากำไรสุทธิปี 2553 จะเติบโตดี
บางทีผมก็เล่นหุ้นตัวเล็กตัวน้อยบ้างเพื่อเก็งกำไรก็เจ็บตัวมาแต่ก็เป็นการเตือนตัวเราไม่ให้เข้าไปยุ่งกับมันอีก
ถามถึงอนาคตในการลงทุนครั้งต่อไป เขาบอกว่าถ้ามีโอกาสซื้อหุ้นในราคา "ถูก" อีกก็น่าสนใจ แต่คงใช้เงินไม่เยอะอีกแล้วเพราะกำลังลงทุนครั้งสำคัญของชีวิตเพื่ออนาคตของลูกโดยการสร้างบ้านหลังใหม่
ปัจจุบัน นพปฏล เป็นผู้ถือหุ้น 20% ในบริษัท แพลทตินั่ม มาร์เกตติ้ง แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2548 โดยกลุ่มคนที่มีพื้นฐานด้านธุรกิจและดนตรี ทำธุรกิจครบวงจรตั้งแต่ให้บริการด้านการตลาด จัดจำหน่าย กระจายสินค้า (CD,VCD,DVD) บริหารดิจิทัลคอนเทนท์ครบวงจร จัด Music Event จัดคอนเสิร์ต และเป็นเจ้าของเว็บไซต์ www.you2play.com เขามีแผนจะนำบริษัทนี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ปัจจุบันได้ขยายงานเข้าไปทำเคเบิลทีวีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรีโดยตรงเพื่อเสริมรายได้ทางด้านคอนเทนท์ เขาเล่าว่าเมื่อ 7 ปีที่แล้วเป็นผู้บุกเบิกโมเดลธุรกิจด้านดนตรีรูปแบบใหม่เป็นรายแรก ปัจจุบันถือว่าเติบโตและประสบความสำเร็จพอสมควร และหวังว่าการลงทุนในหุ้น SECC จะประสบความสำเร็จเหมือนกัน
"ผมชอบที่จะเป็นผู้บุกเบิกสร้างธุรกิจขึ้นเองไม่ว่าจะเป็นที่แพลทตินั่ม มาร์เกตติ้ง หรือ SECC ทั้งสองบริษัทคือการลงทุนระยะยาวของผม"
นพปฏล เจสัน จิรสันต์ เส้นทางสายธุรกิจดนตรีของเขากำลังโลดแล่น แต่ธุรกิจใหม่ เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ ที่เขาลงทุนจะแก้ปัญหา "หนี้" และส่วนทุน "ติดลบ" อย่างไร จะเสกใบหุ้น (เศษกระดาษ) ให้เป็น "เงินก้อนโต" และจะลงทุนหุ้น 10 เด้งเหมือนที่ ปีเตอร์ ลินช์ เคยทำสำเร็จหรือไม่
...วันนี้กองเชียร์ข้างสนามยังสงสัยว่าถ้าไม่บ้า...พี่ท่านก็คงเมา
คัดมาจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ลินช์.html
เปิดตัว CEO หนุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่คนใหม่ 'เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์' เขาเลือกฝากชีวิตกับหุ้นตัวนี้เพื่อพิสูจน์แนวคิดการเป็นนักลงทุนเต็มร้อยของตัวเอง
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2553 ชาญ เลิศประเสริฐภากร ได้ขายหุ้นเอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (SECC) ทั้งหมด 14.63% ให้แก่ นพปฏล เจสัน จิรสันต์ บุรุษนิรนาม ทำให้เขาถือครองหุ้น SECC อันดับหนึ่ง 137,667,000 ล้านหุ้น สัดส่วน 22.28% ที่ราคา 0.05 บาท คิดเป็นเงินลงทุน 6,883,350 บาท
แม้มูลค่าการลงทุนจะไม่มากแต่ นพปฏล เจสัน จิรสันต์ ชายชื่อแปลกกลับน่าสนใจ ทั้งชื่อและหน้าตาที่บ่งบอกถึงความเป็น "ฝรั่งลูกครึ่ง" และเหตุผลที่เข้ามาซื้อกิจการ "เน่าๆ" หุ้นถูกสั่งพักการซื้อขายไม่มีกำหนด และเข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์...ถ้าไม่บ้าหมอนี่ก็คงเมา "เอาเงินมาทิ้ง"
แม้ว่าอนาคตของหุ้น SECC จะยังดูมืดมน แต่เจสันกลับใช้หุ้นตัวนี้เพื่อพิสูจน์แนวคิดการเป็นนักลงทุนของตัวเอง
"หุ้น SECC จะเปลี่ยนชีวิตการลงทุนของผม" เขาเชื่อ และถ้า สมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ ไม่โกงบริษัทจนทำให้ บมจ.เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส กิจการ "พันล้าน" ย่อยยับมีหนี้สินรุงรัง มีหรือที่เจสันจะหอบเงินไม่ถึงสิบล้านบาทไปเป็นหุ้นใหญ่ (เจ้าของ) กิจการในตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้ได้ แม้เขาจะถือแค่ "เศษกระดาษ" แต่นี่คือบททดสอบแนวคิดการลงทุนสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต
หากเสิร์ชในกูเกิลชื่อ นพปฏล เจสัน จิรสันต์ ไม่ใช่ "โนเนม" เสียทีเดียว หนุ่มหน้าฝรั่งพูดไทยชัดรายนี้ปรากฏข่าวอยู่เนื่องๆ ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท แพลทตินั่ม มาร์เกตติ้ง แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายซีดีเพลงแนวอินดี้รายใหญ่ในวงการดนตรีเมืองไทย และเป็นซีอีโอรักสนุกที่เคยลงคอลัมน์ CEO Way ในกรุงเทพธุรกิจ BizWeek มาแล้ว
ตามประวัติที่ถูกระบุในกูเกิล เจสัน คือผู้รักดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ เขาจบปริญญาโทบริหารธุรกิจจาก St.Louis University ควบปริญญาโท Business Economics จาก Bentley University สหรัฐอเมริกา เคยทำงานที่ฝ่ายธุรกิจหลักทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ เมื่อหลายปีก่อน
"การเข้ามาถือหุ้น SECC ครั้งนี้ ผมไม่ได้เป็นนอมินีของใครแน่นอน" เจสัน ยืนยันกับ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ที่ออฟฟิศย่านถนนพระรามเก้าเมื่อไม่นานนี้
การเข้าซื้อหุ้น SECC เจสันยืนยันไม่รู้จักผู้บริหารกับผู้ถือหุ้นชุดเดิมเป็นการส่วนตัวเลยสักคน คนในบริษัทนั้นจะรู้จักก็แค่เซลส์ขายรถยนต์เท่านั้นเอง ทำไม! ถึงกล้าซื้อหุ้นโดยที่ตัวเองไม่รู้จักแบ็คกราวนด์บริษัทที่ดีพอ เขาบอกว่าถ้าตัดเรื่อง "ฉาว" ออกไปบริษัทนี้มีการดำเนินธุรกิจที่มีกำไร เมื่อหลายปีก่อนเคยพาเพื่อนไปซื้อรถยนต์กับบริษัทนี้รู้สึกประทับใจในการให้บริการของเขา และเห็นคนเข้ามาใช้บริการค่อนข้างเยอะ ประกอบกับรู้มาว่าตลาดรถยนต์ "เกรย์มาร์เก็ต" (รถหรูนำเข้า) มีกำไรสูง นอกจากนี้มั่นใจว่าตลาดรถยนต์ในประเทศค่อนข้างใหญ่เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานของคนไทยไปแล้ว
สรุปก็คือพอดีมีเงินเหลือและเป็นจังหวะคล้องจองกับราคาหุ้นตอนนั้นราคาก็ไม่สูง (0.05 บาท) ทีแรกคิดว่าจะซื้อไม่เยอะแต่ทำไปทำมากลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่ง ส่วนใช้เงินไปเท่าไรผมไม่ขอบอกแล้วกัน (6,883,350 บาท)
นพปฏลมองการซื้อหุ้น SECC จำนวน 137.66 ล้านหุ้นครั้งนี้เป็นการลงทุนระยะยาว และไม่คิดที่จะเป็นบอร์ดบริหารแม้ทางฝ่ายนั้นจะเชิญ เพราะทุกวันนี้ก็มีงานประจำทำและไม่ชำนาญเรื่องข้อกฎหมายต่างๆ แต่ก็แต่งตั้งทีมงานเข้าไปช่วยดูแล แต่เหตุผลข้อสำคัญก็คือหุ้นราคาแบกะดินตัวนี้วันหนึ่งมันต้อง "เทิร์นอะราวด์"
"บริษัทตอนนี้ยังเป็น Penny Stock อยู่ ผมไม่ได้เร่งรัดทีมผู้บริหารชุดเดิมให้รีบฟื้นธุรกิจเร็วๆ เพราะรู้ว่าไม่ง่ายคงใช้เวลา 2 ปี ที่จะกลับมา และคาดว่าต้องใช้เวลา 5 ปีขึ้นไปถึงจะเทิร์นอะราวด์ได้"
สิ่งที่เน้นย้ำกับบอร์ดชุดปัจจุบันให้พยายามรักษามาตรฐานงานบริการให้ดีต่อเนื่องเพราะมองว่าเป็นจุดขายของบริษัทนี้ เรื่องเร่งด่วนต้องจัดการเรื่องงบการเงินตามที่ ก.ล.ต. แจ้งเตือนมา และรีบกลับมาทำธุรกรรมซื้อขายรถยนต์ตามปกติให้เร็วที่สุด เพราะตอนนี้ทำธุรกิจแค่รับซ่อมรถให้ลูกค้าเดิม
"นี่เป็นการลงทุนหุ้นครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกและน่าจะเป็นครั้งที่ถือนานที่สุดของผม เชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วบริษัทนี้จะกลับมาได้แน่นอน" ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจดนตรีแต่หาญกล้ามาซื้อหุ้นบริษัทขายรถยนต์มั่นใจ
นพปฏล เล่าประสบการณ์การลงทุนของตัวเองว่าระหว่างเรียนปริญญาโทด้านไฟแนนซ์ที่บอสตัน ต้องลงวิชาด้านการลงทุนทำให้รู้จักหุ้นตั้งแต่ตอนนั้น และเริ่มลงทุนครั้งแรกตั้งแต่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ช่วงปี 2540 ยังใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐช่วงนั้นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี (ตลาดหุ้นแนสแด็ก) กำลังบูมมาก อย่างพวก Microsoft, Yahoo ก็เริ่มเข้าไปลงทุนด้วยเงินหลัก "พันเหรียญ" ได้กำไรมาบ้างเล็กน้อย ตอนนั้นซื้อหุ้นอะไรก็ขึ้นหมดได้เงินมาง่ายๆ
หลังเรียนจบเข้าไปทำงานที่ J.P.Morgan Chase และกลับมาทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ ฝ่ายจัดการกองทุนดูแลด้านระบบ งาน 2 ที่นี้ช่วยหล่อหลอมแนวคิดการลงทุนให้ "คม" ยิ่งขึ้น ต้องยอมรับว่าชีวิตเคยพลัดหลงเข้าไปลงทุนแบบ "เก็งกำไรรายวัน" กับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากนั้นไม่นานฟองสบู่ดอทคอมก็แตก
ส่วนตัวมองว่าการลงทุนหุ้นคือการพัฒนาความคิดของตัวเองไปเรื่อยๆ จากเดิมจะเล่น "เดย์เทรด" (ไม่เอาหุ้นกลับบ้าน) ก็เริ่มรู้ว่าไม่ใช่ทางที่เหมาะกับตัวเอง สุดท้ายเหมือนการ "เล่นพนัน" ไปวันๆ จากที่ไม่เคยถือหุ้นตัวไหนนานๆ ก็เริ่มอ่านหนังสือการลงทุนของกูรูหลายคน จนค้นพบสไตล์ส่วนตัวในปัจจุบันคือเดินตามแนวทางของเซียนหุ้นบันลือโลก "ปีเตอร์ ลินช์"
เซียนดนตรีรายนี้ เผยว่า วิธีการลงทุนทุกวันนี้จะยึดหลักของปีเตอร์ ลินช์ คือตีค่าธุรกิจด้วยวิธีการเดินสำรวจกิจการ เหมือนกับที่ปีเตอร์ ลินช์ เดินดูร้านวอล-มาร์ทก่อนซื้อหุ้น ส่วนตัวคิดว่าเป็นวิธีการลงทุนที่ใช้ได้จริงในทางปฏิบัติยิ่งกว่าแนวทางของวอร์เรน บัฟเฟตต์อีก
ยกตัวอย่างเมื่อหลายปีก่อนเคยเดินสำรวจร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ช่วงเริ่มขายอาหารแช่แข็ง และซีพีเอฟเริ่มขายอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น พอเห็นคนต่อแถวซื้อความคิดก็แว็บ!ขึ้นว่า หุ้น CPALL กับ CPF ต้องดีแน่ วันนี้ก็ดีจริงๆ นอกจากนี้ยังชอบเดินโฮมโปรเพราะสร้างบ้านหลังใหม่ เห็นคนเดินเยอะก็รู้ว่าหุ้น HMPRO ต้องกำไรดี อย่างนี้เป็นต้น
ส่วนหุ้น SECC ก็ใช้หลักคิดแบบเดียวกันคือเดินสำรวจโชว์รูมเห็นว่าลูกค้าประทับใจมาใช้บริการ ธุรกิจก็น่าจะเดินไปได้ เพียงแต่มีปัญหาผู้บริหารฉ้อโกงบริษัทถึงได้เป็นแบบนี้
"บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ผมก็ดูนะแล้วก็มีออกไปคุยกับผู้บริหารด้วยบางทีคุยกับพนักงานเราก็รู้แล้วว่าดีหรือไม่ดี แต่จะให้ดีต้องดูของจริงกับตาตัวเอง"
เจสัน บอกว่าประสบการณ์ที่เคยผ่านงานในสถาบันการเงิน ทำให้รู้ว่าควรจะเลือกลงทุนอย่างไรให้ชนะเงินเฟ้อ ทุกวันนี้จะซื้อ RMF และ LTF เพื่อประหยัดภาษีเต็มจำนวนทุกปี ส่วนการลงทุนโดยตรงในตลาดหุ้นจะเล่น "ตามจังหวะ" จะลงทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นตกแรงๆ และจะไม่ทุ่มซื้อก้อนเดียวหมดหน้าตัก เพราะคิดว่าตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนสูงไม่เหมาะที่จะซื้อหุ้นครั้งเดียว
ความประทับใจที่นพปฏลพูดได้เต็มปากเต็มคำแม้พอร์ตลงทุนของเขาจะไม่ใหญ่ และไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่จะเกทับใครได้ แต่เจ้าตัวก็ภูมิใจกับผลตอบแทนที่สามารถ "เอาชนะ" ผลตอบแทนของกองทุนรวม "ทุกปี"
"ผมจะใช้วิธีทยอยซื้อหุ้นช่วงที่หุ้นตกแรงๆ ทุกครั้ง ไม่ซื้อหนักในครั้งเดียว ช่วงนี้ผมกำลังมองว่าถ้าหุ้นลงไป 700 จุด ก็จะซื้ออีก" นี่คือวิธีการลงทุนแบบสวนกระแสนักลงทุนส่วนใหญ่ และรู้จักคำว่ารอคอยโอกาส
นอกจากทรัพย์สินส่วนหนึ่งจะฝังตัวอยู่ในตลาดหุ้นแล้ว ความไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความสำเร็จ นพปฏล ยังเลือกที่จะแบ่งเงินมาลงทุนซื้อคอนโดมิเนียมให้เช่า เขาเล่าว่า ตอนที่เรียนจบมาอยู่เมืองไทยใหม่ๆ ก็เริ่มมีความคิดตั้งแต่ตอนนั้นว่า ถ้าเราเก็บรายได้จากค่าเช่าสัก 18 ปี ก็เหมือนกับเราได้ห้องนั้นมาฟรีๆ พอหาเงินมาได้ก็นำไปซื้อมาปล่อยเช่าเพิ่มอีก ทำอย่างนี้เหมือนกับการเล่น "เกมเศรษฐี" มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ในทำเลที่ดีมีแต่ราคาเพิ่มขึ้น แถมยังได้ค่าเช่าทุกเดือน
ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นก็มีบ้างส่วนใหญ่จะเน้นหุ้นบลูชิพเป็นหลักอย่างกลุ่ม ปตท.ทั้งหมด และก็ BANPU ที่ซื้อไว้ตั้งแต่ราคา 300 บาท ที่ชอบหุ้นกลุ่มนี้ (พลังงาน) เพราะดูง่ายธุรกิจแข็งแกร่งอยู่แล้ว ถ้าเงินฝรั่งเข้ามาหุ้นก็ขึ้นแน่นอน นอกจากนี้ยังชอบหุ้นธนาคารอย่าง SCB และ KBANK เพราะมีค่าเบต้าสูงราคาหุ้นจะสวิงตัวแรง ตอนนี้กำลังชอบหุ้น CPF คาดว่ากำไรสุทธิปี 2553 จะเติบโตดี
บางทีผมก็เล่นหุ้นตัวเล็กตัวน้อยบ้างเพื่อเก็งกำไรก็เจ็บตัวมาแต่ก็เป็นการเตือนตัวเราไม่ให้เข้าไปยุ่งกับมันอีก
ถามถึงอนาคตในการลงทุนครั้งต่อไป เขาบอกว่าถ้ามีโอกาสซื้อหุ้นในราคา "ถูก" อีกก็น่าสนใจ แต่คงใช้เงินไม่เยอะอีกแล้วเพราะกำลังลงทุนครั้งสำคัญของชีวิตเพื่ออนาคตของลูกโดยการสร้างบ้านหลังใหม่
ปัจจุบัน นพปฏล เป็นผู้ถือหุ้น 20% ในบริษัท แพลทตินั่ม มาร์เกตติ้ง แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน 2548 โดยกลุ่มคนที่มีพื้นฐานด้านธุรกิจและดนตรี ทำธุรกิจครบวงจรตั้งแต่ให้บริการด้านการตลาด จัดจำหน่าย กระจายสินค้า (CD,VCD,DVD) บริหารดิจิทัลคอนเทนท์ครบวงจร จัด Music Event จัดคอนเสิร์ต และเป็นเจ้าของเว็บไซต์ www.you2play.com เขามีแผนจะนำบริษัทนี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ปัจจุบันได้ขยายงานเข้าไปทำเคเบิลทีวีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรีโดยตรงเพื่อเสริมรายได้ทางด้านคอนเทนท์ เขาเล่าว่าเมื่อ 7 ปีที่แล้วเป็นผู้บุกเบิกโมเดลธุรกิจด้านดนตรีรูปแบบใหม่เป็นรายแรก ปัจจุบันถือว่าเติบโตและประสบความสำเร็จพอสมควร และหวังว่าการลงทุนในหุ้น SECC จะประสบความสำเร็จเหมือนกัน
"ผมชอบที่จะเป็นผู้บุกเบิกสร้างธุรกิจขึ้นเองไม่ว่าจะเป็นที่แพลทตินั่ม มาร์เกตติ้ง หรือ SECC ทั้งสองบริษัทคือการลงทุนระยะยาวของผม"
นพปฏล เจสัน จิรสันต์ เส้นทางสายธุรกิจดนตรีของเขากำลังโลดแล่น แต่ธุรกิจใหม่ เอส.อี.ซี.ออโต้เซลส์ ที่เขาลงทุนจะแก้ปัญหา "หนี้" และส่วนทุน "ติดลบ" อย่างไร จะเสกใบหุ้น (เศษกระดาษ) ให้เป็น "เงินก้อนโต" และจะลงทุนหุ้น 10 เด้งเหมือนที่ ปีเตอร์ ลินช์ เคยทำสำเร็จหรือไม่
...วันนี้กองเชียร์ข้างสนามยังสงสัยว่าถ้าไม่บ้า...พี่ท่านก็คงเมา
คัดมาจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ลินช์.html