บันทึกช่วยจำครึ่งปี 53 ของผม
โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 10, 2010 12:52 am
จริงๆบันทึกนี้ผมทำลงไว้ใน fb ของตัวเอง แต่มีรุ่นน้องท่านนึงแนะนำว่าน่าจะเอามาลงใน tvi เพื่อให้เพื่อนๆนลท.ได้อ่าน และแลกเปลี่ยนทัศนะกัน
โดยปกติผมมักจะสรุปสถิติในการลงทุนของตนเองทุกๆครึ่งปี โดยหมายหลักในการสรุปผลการลงทุน คือเป็นโอกาสที่ผมจะได้ทบทวนกลยุทธ์การลงทุน ตลอดจนข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นประสบการณ์และพัฒนากระบวนการคิดในการลงทุนต่อไป
คิดว่าบันทึกนี้อาจจะมีประโยชน์กับเพื่อนนลท.บ้าง เลยขอนำมาโพสต์ให้เพื่อนนลท.ได้อ่านกัน
ผมเริ่มต้นปีด้วย SENA, MOONG, BCP, UPF, PATO , ADVANC, KYE .... ใครที่พอจะรู้จักผมอยู่บ้าง จะทราบดีว่าผมเป็นนักลงทุนที่ใช้ กลยุทธ์ Low PE ( แบบ John Neff ) เป็นหลัก
หุ้นที่ผมถือมาข้ามปีจะเป็นหุ้น สไตล์แบบเนฟฟ์เป็นส่วนใหญ่คือ SENA, MOONG, PATO และมีหุ้นที่ผมถือด้วยแนวคิดแบบก้นบุหรี่ ( ของเกรแฮม ) สองตัวคือ UPF และ BCP ส่วน ADVANC และ KYE นั้น ผมตั้งใจถือไว้เอาปันผล
ขอกล่าวถึงหุ้นแบบก้นบุหรี่ก่อน คือ UPF และ BCP
UPF ผมเข้าถือในช่วงเดือนธค 52 ด้วยต้นทุนที่ 60 บาท สถานการณ์ ณ ขณะนั้นคือบริษัทมีกำไรสามไตรมา สที่ 10 บาท ซึ่งกำไรที่เยอะขึ้นเป็นผลจากการที่ราคายาง ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักตกต่ำลง ผมคำนวณ eps ทั้งปีไว้ที่ประมาณ 12 บาท และคาดว่าบริษัทจะจ่ายปันผลที่ 11 บาท ซึ่งถ้าคิดมูลค่าเหมาะสมจาก yield model ที่ 10% ตัว upf ควรจะได้เทรดที่ประมาณ 100 110 บาท
ปรากฏว่าบริษัททำผลงานดีกว่าที่ คาด จากการที่ขยายลูกค้าไปยังประเทศ ในกลุ่มยุโรป ทำให้ eps รวมทั้งปีได้ 15 บาท และบริษัทก้จ่ายปันผลออกมาที่ 14 บาท.... ราคาพุ่งขึ้นตามปันผลไปถึง 130 บาท ผมตัดสินใจขายออกไปที่ช่วง 120 บาทต้นๆ เป็นหุ้นหนึ่งเด้งตัวที่ 3 ในชีวิตการลงทุนของผม
BCP ผมเข้าถือที่ต้นทุนประมาณ 14.5 บาท ตอนนั้นกำไรของบริษัทสามไตรมาสอยู่ที่ 5.6 บาท และค่าการกลั่นก็ยังทรงตัวดีอยู่ ผมประมาณกำไรทั้งปีไว้ที่ 6-7 บาท และคาดว่าน่าจะได้ปันผลอีก 2 บาทสำหรับงวด 2H52 ซึ่งถ้าคิดมูลค่าเหมาะสมจาก yield model ที่ 10% ตัว BCP ควรจะได้เทรดที่ประมาณ 19 -20 บาท
ผมประมาณการกำไรถูก งบออกมาทั้งปีที่ 6.57 บาท แต่บริษัทปันผลออกมาแค่ 80 สต โดยผบห อ้างว่าจะเอาไปลงทุนในพลังงานสะอาด. ราคาหุ้นตกลงด้วยความผิดหวังปัน ผล ผมเองก็ยอมขายออกในราคาเท่าทุน ( ถือมาสี่เดือนไม่ได้ผลตอบแทนเลย )
บทเรียนที่ผมได้จากหุ้นก้นบุหรี่ สองตัวนี้
1. นายตลาดไม่สนใจคุณภาพของกำไร.... ปันผลที่มากจะช่วย boost ราคาโดยอัตโนมัติ ( yield model สามารถใช้ได้ผลดีกับหุ้นแนวนี้ ) แม้ว่าหุ้นก้นบุหรี่ของเราจะมี ผลการดำเนินการที่ดีเพียงชั่ว คราว ( upf ดีจากราคาวัตถุดิบตกต่ำ bcp ดีจากการ hedge ค่าการกลั่น )
2. อย่างไรก็ดีต้องเผื่อใจไว้ว่าเรา จะมีโอกาสโดนหุ้นถูกเรื้อ รังเล่นงาน ในกรณีที่ปันผลไม่ดีตามที่เราคาดการณ์
หุ้นในกลุ่มที่สองที่ผมจะพูดถึง คือหุ้นแบบเนฟฟ์
ตัวแรกคือ PATO ผมไล่เก็บที่ช่วง 6.3 6.5 บาท ตัวนี้ผมชอบมากเนื่องจากเจ้ากับเกณฑ์ของเนฟฟ์ทุกข้อ อุตสาหกรรมน่าเบื่อ โตเกิน 7% ทุกปี pe ต่ำ ( ตอนที่ผมเก็บ forward pe ~ 6 ) และปันผลมาก ( เกือบ 90% ทุกปี ) ตอนนี้ผมค่อนข้างโชคดีที่เก็บไม่กี่วันนายตลาดก็มาเห็นคุณค่า และปรับพีอีให้ทันที สุดท้ายผมขายไปที่ 9 บาท เนื่องจากมองว่าพีอีในระดับ 8 กว่าๆ ถือว่า fair แล้ว และตอนนั้นผมก็มีหุ้นที่มี upside มากกว่าให้เก็บ
ตัวที่สองคือ moong ตัวนี้ผมก้ชอบใจในคุณภาพของแบรนด์พีเจียน ( moong ถือ TP อยู่ 47% ) ประกอบกับดูข้อมูลย้อนหลังไป งบของ TP ก็โตต่อเนื่องทุกปี ผมเก็บที่ต้นทุน 2.4 -2.5 ซึ่งพีอีที่ทุนผมแค่ประมาณ 5 กว่าๆ
ผมเก็บได้สักพักก็เหมือนจะมีคน มา recognized hidden value ของมุ่ง ( ซึ่งก้คือ TP ) ได้ ราคาหุ้นถูกไล่มาถึง 2.8 แต่ทันทีที่งบไตรมาสสุดท้ายถูกประกาศออกมา กำไรของ TP ลดลงมาก Value investor หลายท่านพากันถอดใจ ( ทั้งที่ความจริงกำไรปี 51 เป็นกำไรพิเศษ และกำไรของปี 52 เทียบแล้วก็โตกว่า 50 ) ราคาค่อยๆรูดลงมาจนเหลือ 2.4 เท่าเดิม ผมเองก้ไม่เดือดร้อนใจอะไร เพราะถ้าไม่นับกำไรผิดปกติของปี 51, กำไรของ TP ก็โตได้มาเรื่อยๆ ที่พีอี 5 ผมก้ยังยืนยันเช่นเดิมว่าไม่สมศักดิ์ ศรีกับแบรนด์ระดับพี เจียน และถึงแม้ตลาดจะไม่ปรับพีอีให้ ปันผลที่ผมจะได้ก็เกือบ 10% ต่อปีอยู่ดี
สุดท้ายนายตลาดก้มาปรับพีอีให้ มุ่งจริงๆ ผมขายออกไปที่ราคาประมาณ 3.2 -3.3 จนเกือบหมด เนื่องจากมองว่าพีอีประมาณ 8 นั้น fair แล้วสำหรับพีเจียน
สำหรับเสนาก้เช่นเดียวกัน ตัวนี้หลายคนอาจจะมองว่าหุ้นอสังหาไม่น่าจะเข้าข่ายหุ้นแบบเนฟฟ์ ที่เน้นการเติบโตในระดับต่ำๆ แต่ต่อเนื่องได้ แต่ผมกลับมองว่าอสังหา ( โดยเฉพาะอสังหาระดับกลางล่างซึ่ง เป็นตลาดของเสนา ) เป็น real demand ซึ่งบริษัทก็สามารถปรับราคาขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามเงินเฟ้อได้ ( ยกเว้นเศรษฐกิจมหภาคจะเลวร้ายจริงๆ ) ซึ่งถ้าผบห เปิดโครงการใหม่ด้วยความระมัดระวัง และ balance งบดุลให้ดี การจะทำการเติบโตปีละ 7 -10% ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ( ซึ่งเสนาเองดูงบย้อนกลับไปห้าปี บริษัทก็เติบโตในระดับประมาณนี้ มาได้ทุกปี ) ซึ่ง forward pe ที่ต้นทุนของผม ( 1.9 ) ก็อยู่แค่ประมาณ 3 กว่าๆ
เสนาเป็นหุ้นแบบเนฟฟ์ตัวสุดท้าย ในพอร์ตที่นายตลาดยังไม่ปรับ พีอีให้ ซึ่งผมก็ยังยืนยันแนวคิดเดิมว่า ผมไม่เดือดร้อนอะไรเพราะถึง แม้ตลาดจะไม่ปรับพีอีให้ปันผล ที่ผมจะได้ก็ 10% กว่าๆต่อปีอยู่ดี
บทเรียนจากหุ้นแบบเนฟฟ์
1. ผมคิดว่าการลงทุนแบบเนฟฟ์ใช้ได้จ ริงกับตลาดบ้านเรา
2. กรอบระยะเวลาของการลงทุนแบบเนฟฟ์ ค่อนข้างจะกำหนดยาก เราคงไม่สามารถไปกะเกณฑ์ได้ว่านายตลาดจะมาปรับพีอีให้หุ้นของเราเมื่อไร ( หนี่งเดือนสำหรับพาโต้ หกเดือนสำหรับมุ่ง และยังไม่ได้ปรับพีอีสำหรับเสนา )
3. การตั้งเป้าผลตอบแทนเป็นประเด็น ที่สำคัญสำหรับการลงทุนสไตล์ นี้ ผมเองจะตั้งเป้าผลตอบแทนต่อปี แค่ประมาณ 10 - 15% ซึ่งเป้านี้เราจะถึงได้ไม่ยาก ( แค่จากปันผลก็มักจะ achieve แล้ว ) ส่วนการที่ตลาดจะปรับพีอีให้ ให้ถือเป็นโบนัสนอกเหนือจากเป้า หมายแรก
4. ไม่ควรลงทุนในหุ้นแบบเนฟฟ์เพี ยงตัวเดียวในสัดส่วนที่มากของ พอร์ต เนื่องจากเรากำหนด timing ไม่ได้ดังที่กล่าวในข้อสอง ( การกระจายการถือครองสามถึงสี่ตัว จะช่วยลด risk ตรงนี้ได้ เพราะถ้ามีตัวใดตัวหนี่งถูกนายตลาดปรับพีอี ผลตอบแทนของเราก็จะดีกว่าเป้าหมาย 10 -15% อย่างมากมาย )
สำหรับ ADVANC และ KYE ตั้งใจจะเอาปันผล และเอาเครดิตภาษีไปช่วยลดภาษีตอนต้นปีหน้า ก็ไม่ได้ทำอะไรกับสองตัวนี้เท่าไร ครับ ADVANC ตอนโดนไล่ราคาไป 90 ปลายๆเพราะปันผลพิเศษ ผมก็ไม่ได้ขาย ( มีมารินออกเมื่อสักอาทิตย์ก่อน เพื่อเอาทุนไปซื้อ SF ) เจ้า KYE เคยมีเยอะกว่านี้ แต่ขายออกไปช่วงจ้าวลากบ้าเลือ ดเกือบหมด ที่ถือมาข้ามปีนี่คือตั้งใจจะ เอาปันผล และโตไปพร้อมๆกับ mcp
ช่วงประมาณเดือนมีนา ผมเริ่มลงทุนในหุ้นวัฎจักรตัวแรกคือ SMT อันที่จริงหุ้นวัฎจักรเป็นหุ้นที่ผมไม่ถนัดและพยายามหลีกเลี่ยงมาตลอด แต่ SMT มีรุ่นพี่ที่เคารพรักท่านนึงแนะ นำมา ผมลองคำนวณแบบงูๆปลาๆ ใช้ net margin คำนวณง่ายๆ ตามข่าวที่ผบห ให้มา ก็พบว่ากำไรโตมากจริงๆ ผมเลยไล่ซื้อที่ราคาแถว 6.1 -6.3 บาท
ถือได้สักพัก ก็มีรุ่นพี่อีกท่านหนึ่งเข้ามาแนะนำการทำ valuation อย่างละเอียด ผมเลยได้อาศัยใบบุญศึกษาการประมาณ ผลกำไรโดยใช้ value -added ซึ่งพอคำนวณด้วยวิธีนี้ ผลประกอบการณ์ดีกว่าที่ผมประเมิ นตอนแรกมาก หลังจากนั้นราคาก็ถูกไล่ไปด้วยความคาดหวังจนถึง 8 บาทกว่า แต่พองบ q1 ออกมาปรากฏว่ากำไรโตไม่เท่าที่ คาดหวัง และราคาร่วงลงมาถึง 7 บาท ผมเองก็ยอมรับว่าผิดหวังในผลประกอบการณ์เช่นเดียวกัน และเทขายออกมาในช่วง 7.8 -8 บาท แต่อย่างไรก็ดี เมื่อราคาร่วงลงมาถึง 7 บาท ผมตัดสินใจกลับเค้าไปรับอีกครั้ง ( เพราะหลังจากประมาณการณ์ผลกำไร ใหม่ ผมคิด fair value ได้ที่ 8 8.5 บาท, ที่ราคา 7 บาทถือว่ามี mos พอสมควร ) หลังจากนายตลาดหายตกใจ ราคาของ smt ก็กลับมายืนที่ 8 บาทอีกครั้ง และผมก็ทยอยขายหมูหมดไปตั้งแต่ 8.6 8.8 บาท ( เนื่องจากผมมองว่าราคาเกิน 8.5 ถือว่าไม่มี discount แล้ว... จาก valuation ของผมเอง )
ช่วงประมาณต้นเดือนพค. ผมเริ่มลงทุนในหุ้นวัฎจักรตัวที่สองคือ IHL, ผมเริ่มสนใจกลุ่มออโต้หลังจากที่ เห็น SAT และ STANLY วิ่ง พอเริ่มศึกษาก็เห็นเทรนด์ของยอดขายรถทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากนั้นผมก็ลองมาไล่แกะงบของออโต้ตัวที่เหลือทีละตัว แล้วก็มาปิ๊งกับ IHL เนื่องจาก forward pe ต่ำมาก ( แค่ห้ากว่าๆ ) และกระแสเงินสดดีผิดวิสัยออโต้ตัวอื่น ร่วมกับผบห มีแนวโน้มจะจ่ายปันผลมากกว่านโย บาย จากการที่ผบห ต้องควักกระเป๋าตัวเองซื้อหุ้นคืนจากกลุ่มทุนญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดีคงปฎิเสธไม่ได้ว่าหุ้น ตัวนี้มีคนคอยทำราคาอยู่ ซึ่งผมเองก็ยังคงหนักแน่นกับหลัก การที่ว่าสุดท้ายแล้วผลประกอบ การณ์จะเป็นจ้าวมือที่แท้จริง
บทเรียนจากหุ้นวัฎจักรทั้งสองตัว : ตอนนี้ผมคงยังไม่ได้บทเรียนอะไร มาก คงได้แค่ว่า อย่ารีบปฎิเสธการลงทุนในหุ้นตัวใดว่ามัน too hard จนกว่าเราจะได้ศึกษามันอย่างจริงๆ จังๆเสียก่อน
ช่วงประมาณเดือนมีนา ผมไล่เก็บหุ้นก้นบุหรี่อีกสองตัวคือ TIW กับ SYNTEC
สำหรับ TIW จะมองเป็น cash cow ก็ได้ มองเป็นก้นบุหรี่แบบเกรแฮมก็ได้ หรือจะมองแบบ asset play ก็ยังได้ สำหรับผมเอง เลือกมองแบบก้นบุหรี่ของเกรแฮม โดยที่สามไตรมาสบริษัททำกำไรไปแล้ว 11 บาท ผมมองว่าทั้งปีน่าจะได้ 16 -17 บาท เนื่องจากปกติไตรมาสสี่จะเป็นไตรมาสที่พีคสุด ผลออกมาดีกว่าที่คิด ได้ 17 บาทกว่าๆ และปันผลที่เกือบ 9 บาท
ตัวนี้ผมยังมอง fair value ด้วย yield model เหมือนหุ้นก้นบุหรี่ตัวอื่น แต่อย่างไรก็ดี ผมใช้ yield ที่ 8% เนื่องจากปันผลของบริษัทมีสเถียร ภาพกว่าบริษัทก้นบุหรี่สอง ตัวแรกที่ผมเคยลงทุน ผมมอง fair value ที่ 110 บาท จึงทะยอยขายไปที่ 110 -115 บาท ( แต่ว่าหลังจากนั้นราคาหุ้นก้ไปต่อถึง 130 บาท )
ส่วน syntec นี่ผมสะดุดตาจากพีอีที่ต่ำเพียง 4 กว่าๆ พอศึกษา ไปก็ยิ่งชอบ เพราะผลกำไรโตอย่างสม่ำเสมอ ผิดวิสัยหุ้นรับเหมาทั่วไป แต่ติดปัญหาที่ cash flow ไม่ดีมาตลอด บริษัทเลยไม่ยอมปันผล เพิ่งจะมาปลดล้อคปันผลในปี 52 ที่ cash flow กลับมาเป็นบวก ตัวนี้ผมประมาณกำไรจากที่ผบห ให้ข่าว ทั้งแบคลอค ทั้งมาร์จิน แล้วฝันหวานเลยครับ eps น่าจะได้ประมาณ 30 สต ถ้าปีนี้ cash flow ยังบวกต่อเนื่องและปันผลได้สัก 40% ของกำไร forward pe แค่ 3 ผมเลยไล่เก็บตั้งแต่ 0.9 1บาท
แต่ตัวนี้พองบออกมานี่พลิคล้อค คับ ทั้งรายได้ทั้งมาร์จินคนละเรื่อ งกับที่ผบห และ IR เคยให้ข่าวเลย ราคาก็ร่วงไปพร้อมกับปลประกอบการณ์ที่แย่ ตัวนี้ผมคัตลอสไปอย่างเจ็บปวด โดนไปเกือบ 10%
บทเรียนจากหุ้นตัวนี้ ก็คือธรรมาภิบาลต้องมาก่อน แม้ดูจะเป็นเรื่องที่รู้ๆกันอ ยู่แล้ว แต่ถ้าไม่เคยเจอกับตัว บางครั้งเราก็หลงลืมกฏการลงทุนพื้นฐานง่ายๆไป
ตัวที่ผมมาไล่เก็บท้ายสุดเมื่อ ปลายเดือนมิย นี้เองก็คือ SF หุ้นตัวนี้ผมได้มาจากรุ่นพี่ที่เคารพรักท่านเดิม หลังจากมีนัดกินข้าวด้วยกัน SF เป็นสไตล์หุ้น growth ซึ่งปกติผมจะไม่ค่อยชอบ เพราะหุ้นแนวนี้จะไม่มีปันผลหนุน หลัง และผมกังวลว่าผมอาจประเมิน growth ผิด ซึ่งอาจจะทำให้ผมขาดทุนได้มาก
แต่กับตัวนี้ด้วย base ของรายได้จากโครงการเดิมก็มากอยู่แล้ว และโครงการใหม่ก็จะเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญ และความแน่นอนของรายได้ก็ค่อนข้าง มาก เนื่องจากผู้ค้ามาจองพื้นที่ใน โครงการใหม่จนเต็มแล้ว ทำให้ผมมีความมั่นใจที่ลงทุนค่อนข้างมาก ผมจึงไล่เก็บในช่วง 3.6 -3.7 บาท
โดยปกติผมมักจะสรุปสถิติในการลงทุนของตนเองทุกๆครึ่งปี โดยหมายหลักในการสรุปผลการลงทุน คือเป็นโอกาสที่ผมจะได้ทบทวนกลยุทธ์การลงทุน ตลอดจนข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นประสบการณ์และพัฒนากระบวนการคิดในการลงทุนต่อไป
คิดว่าบันทึกนี้อาจจะมีประโยชน์กับเพื่อนนลท.บ้าง เลยขอนำมาโพสต์ให้เพื่อนนลท.ได้อ่านกัน
ผมเริ่มต้นปีด้วย SENA, MOONG, BCP, UPF, PATO , ADVANC, KYE .... ใครที่พอจะรู้จักผมอยู่บ้าง จะทราบดีว่าผมเป็นนักลงทุนที่ใช้ กลยุทธ์ Low PE ( แบบ John Neff ) เป็นหลัก
หุ้นที่ผมถือมาข้ามปีจะเป็นหุ้น สไตล์แบบเนฟฟ์เป็นส่วนใหญ่คือ SENA, MOONG, PATO และมีหุ้นที่ผมถือด้วยแนวคิดแบบก้นบุหรี่ ( ของเกรแฮม ) สองตัวคือ UPF และ BCP ส่วน ADVANC และ KYE นั้น ผมตั้งใจถือไว้เอาปันผล
ขอกล่าวถึงหุ้นแบบก้นบุหรี่ก่อน คือ UPF และ BCP
UPF ผมเข้าถือในช่วงเดือนธค 52 ด้วยต้นทุนที่ 60 บาท สถานการณ์ ณ ขณะนั้นคือบริษัทมีกำไรสามไตรมา สที่ 10 บาท ซึ่งกำไรที่เยอะขึ้นเป็นผลจากการที่ราคายาง ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักตกต่ำลง ผมคำนวณ eps ทั้งปีไว้ที่ประมาณ 12 บาท และคาดว่าบริษัทจะจ่ายปันผลที่ 11 บาท ซึ่งถ้าคิดมูลค่าเหมาะสมจาก yield model ที่ 10% ตัว upf ควรจะได้เทรดที่ประมาณ 100 110 บาท
ปรากฏว่าบริษัททำผลงานดีกว่าที่ คาด จากการที่ขยายลูกค้าไปยังประเทศ ในกลุ่มยุโรป ทำให้ eps รวมทั้งปีได้ 15 บาท และบริษัทก้จ่ายปันผลออกมาที่ 14 บาท.... ราคาพุ่งขึ้นตามปันผลไปถึง 130 บาท ผมตัดสินใจขายออกไปที่ช่วง 120 บาทต้นๆ เป็นหุ้นหนึ่งเด้งตัวที่ 3 ในชีวิตการลงทุนของผม
BCP ผมเข้าถือที่ต้นทุนประมาณ 14.5 บาท ตอนนั้นกำไรของบริษัทสามไตรมาสอยู่ที่ 5.6 บาท และค่าการกลั่นก็ยังทรงตัวดีอยู่ ผมประมาณกำไรทั้งปีไว้ที่ 6-7 บาท และคาดว่าน่าจะได้ปันผลอีก 2 บาทสำหรับงวด 2H52 ซึ่งถ้าคิดมูลค่าเหมาะสมจาก yield model ที่ 10% ตัว BCP ควรจะได้เทรดที่ประมาณ 19 -20 บาท
ผมประมาณการกำไรถูก งบออกมาทั้งปีที่ 6.57 บาท แต่บริษัทปันผลออกมาแค่ 80 สต โดยผบห อ้างว่าจะเอาไปลงทุนในพลังงานสะอาด. ราคาหุ้นตกลงด้วยความผิดหวังปัน ผล ผมเองก็ยอมขายออกในราคาเท่าทุน ( ถือมาสี่เดือนไม่ได้ผลตอบแทนเลย )
บทเรียนที่ผมได้จากหุ้นก้นบุหรี่ สองตัวนี้
1. นายตลาดไม่สนใจคุณภาพของกำไร.... ปันผลที่มากจะช่วย boost ราคาโดยอัตโนมัติ ( yield model สามารถใช้ได้ผลดีกับหุ้นแนวนี้ ) แม้ว่าหุ้นก้นบุหรี่ของเราจะมี ผลการดำเนินการที่ดีเพียงชั่ว คราว ( upf ดีจากราคาวัตถุดิบตกต่ำ bcp ดีจากการ hedge ค่าการกลั่น )
2. อย่างไรก็ดีต้องเผื่อใจไว้ว่าเรา จะมีโอกาสโดนหุ้นถูกเรื้อ รังเล่นงาน ในกรณีที่ปันผลไม่ดีตามที่เราคาดการณ์
หุ้นในกลุ่มที่สองที่ผมจะพูดถึง คือหุ้นแบบเนฟฟ์
ตัวแรกคือ PATO ผมไล่เก็บที่ช่วง 6.3 6.5 บาท ตัวนี้ผมชอบมากเนื่องจากเจ้ากับเกณฑ์ของเนฟฟ์ทุกข้อ อุตสาหกรรมน่าเบื่อ โตเกิน 7% ทุกปี pe ต่ำ ( ตอนที่ผมเก็บ forward pe ~ 6 ) และปันผลมาก ( เกือบ 90% ทุกปี ) ตอนนี้ผมค่อนข้างโชคดีที่เก็บไม่กี่วันนายตลาดก็มาเห็นคุณค่า และปรับพีอีให้ทันที สุดท้ายผมขายไปที่ 9 บาท เนื่องจากมองว่าพีอีในระดับ 8 กว่าๆ ถือว่า fair แล้ว และตอนนั้นผมก็มีหุ้นที่มี upside มากกว่าให้เก็บ
ตัวที่สองคือ moong ตัวนี้ผมก้ชอบใจในคุณภาพของแบรนด์พีเจียน ( moong ถือ TP อยู่ 47% ) ประกอบกับดูข้อมูลย้อนหลังไป งบของ TP ก็โตต่อเนื่องทุกปี ผมเก็บที่ต้นทุน 2.4 -2.5 ซึ่งพีอีที่ทุนผมแค่ประมาณ 5 กว่าๆ
ผมเก็บได้สักพักก็เหมือนจะมีคน มา recognized hidden value ของมุ่ง ( ซึ่งก้คือ TP ) ได้ ราคาหุ้นถูกไล่มาถึง 2.8 แต่ทันทีที่งบไตรมาสสุดท้ายถูกประกาศออกมา กำไรของ TP ลดลงมาก Value investor หลายท่านพากันถอดใจ ( ทั้งที่ความจริงกำไรปี 51 เป็นกำไรพิเศษ และกำไรของปี 52 เทียบแล้วก็โตกว่า 50 ) ราคาค่อยๆรูดลงมาจนเหลือ 2.4 เท่าเดิม ผมเองก้ไม่เดือดร้อนใจอะไร เพราะถ้าไม่นับกำไรผิดปกติของปี 51, กำไรของ TP ก็โตได้มาเรื่อยๆ ที่พีอี 5 ผมก้ยังยืนยันเช่นเดิมว่าไม่สมศักดิ์ ศรีกับแบรนด์ระดับพี เจียน และถึงแม้ตลาดจะไม่ปรับพีอีให้ ปันผลที่ผมจะได้ก็เกือบ 10% ต่อปีอยู่ดี
สุดท้ายนายตลาดก้มาปรับพีอีให้ มุ่งจริงๆ ผมขายออกไปที่ราคาประมาณ 3.2 -3.3 จนเกือบหมด เนื่องจากมองว่าพีอีประมาณ 8 นั้น fair แล้วสำหรับพีเจียน
สำหรับเสนาก้เช่นเดียวกัน ตัวนี้หลายคนอาจจะมองว่าหุ้นอสังหาไม่น่าจะเข้าข่ายหุ้นแบบเนฟฟ์ ที่เน้นการเติบโตในระดับต่ำๆ แต่ต่อเนื่องได้ แต่ผมกลับมองว่าอสังหา ( โดยเฉพาะอสังหาระดับกลางล่างซึ่ง เป็นตลาดของเสนา ) เป็น real demand ซึ่งบริษัทก็สามารถปรับราคาขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามเงินเฟ้อได้ ( ยกเว้นเศรษฐกิจมหภาคจะเลวร้ายจริงๆ ) ซึ่งถ้าผบห เปิดโครงการใหม่ด้วยความระมัดระวัง และ balance งบดุลให้ดี การจะทำการเติบโตปีละ 7 -10% ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ( ซึ่งเสนาเองดูงบย้อนกลับไปห้าปี บริษัทก็เติบโตในระดับประมาณนี้ มาได้ทุกปี ) ซึ่ง forward pe ที่ต้นทุนของผม ( 1.9 ) ก็อยู่แค่ประมาณ 3 กว่าๆ
เสนาเป็นหุ้นแบบเนฟฟ์ตัวสุดท้าย ในพอร์ตที่นายตลาดยังไม่ปรับ พีอีให้ ซึ่งผมก็ยังยืนยันแนวคิดเดิมว่า ผมไม่เดือดร้อนอะไรเพราะถึง แม้ตลาดจะไม่ปรับพีอีให้ปันผล ที่ผมจะได้ก็ 10% กว่าๆต่อปีอยู่ดี
บทเรียนจากหุ้นแบบเนฟฟ์
1. ผมคิดว่าการลงทุนแบบเนฟฟ์ใช้ได้จ ริงกับตลาดบ้านเรา
2. กรอบระยะเวลาของการลงทุนแบบเนฟฟ์ ค่อนข้างจะกำหนดยาก เราคงไม่สามารถไปกะเกณฑ์ได้ว่านายตลาดจะมาปรับพีอีให้หุ้นของเราเมื่อไร ( หนี่งเดือนสำหรับพาโต้ หกเดือนสำหรับมุ่ง และยังไม่ได้ปรับพีอีสำหรับเสนา )
3. การตั้งเป้าผลตอบแทนเป็นประเด็น ที่สำคัญสำหรับการลงทุนสไตล์ นี้ ผมเองจะตั้งเป้าผลตอบแทนต่อปี แค่ประมาณ 10 - 15% ซึ่งเป้านี้เราจะถึงได้ไม่ยาก ( แค่จากปันผลก็มักจะ achieve แล้ว ) ส่วนการที่ตลาดจะปรับพีอีให้ ให้ถือเป็นโบนัสนอกเหนือจากเป้า หมายแรก
4. ไม่ควรลงทุนในหุ้นแบบเนฟฟ์เพี ยงตัวเดียวในสัดส่วนที่มากของ พอร์ต เนื่องจากเรากำหนด timing ไม่ได้ดังที่กล่าวในข้อสอง ( การกระจายการถือครองสามถึงสี่ตัว จะช่วยลด risk ตรงนี้ได้ เพราะถ้ามีตัวใดตัวหนี่งถูกนายตลาดปรับพีอี ผลตอบแทนของเราก็จะดีกว่าเป้าหมาย 10 -15% อย่างมากมาย )
สำหรับ ADVANC และ KYE ตั้งใจจะเอาปันผล และเอาเครดิตภาษีไปช่วยลดภาษีตอนต้นปีหน้า ก็ไม่ได้ทำอะไรกับสองตัวนี้เท่าไร ครับ ADVANC ตอนโดนไล่ราคาไป 90 ปลายๆเพราะปันผลพิเศษ ผมก็ไม่ได้ขาย ( มีมารินออกเมื่อสักอาทิตย์ก่อน เพื่อเอาทุนไปซื้อ SF ) เจ้า KYE เคยมีเยอะกว่านี้ แต่ขายออกไปช่วงจ้าวลากบ้าเลือ ดเกือบหมด ที่ถือมาข้ามปีนี่คือตั้งใจจะ เอาปันผล และโตไปพร้อมๆกับ mcp
ช่วงประมาณเดือนมีนา ผมเริ่มลงทุนในหุ้นวัฎจักรตัวแรกคือ SMT อันที่จริงหุ้นวัฎจักรเป็นหุ้นที่ผมไม่ถนัดและพยายามหลีกเลี่ยงมาตลอด แต่ SMT มีรุ่นพี่ที่เคารพรักท่านนึงแนะ นำมา ผมลองคำนวณแบบงูๆปลาๆ ใช้ net margin คำนวณง่ายๆ ตามข่าวที่ผบห ให้มา ก็พบว่ากำไรโตมากจริงๆ ผมเลยไล่ซื้อที่ราคาแถว 6.1 -6.3 บาท
ถือได้สักพัก ก็มีรุ่นพี่อีกท่านหนึ่งเข้ามาแนะนำการทำ valuation อย่างละเอียด ผมเลยได้อาศัยใบบุญศึกษาการประมาณ ผลกำไรโดยใช้ value -added ซึ่งพอคำนวณด้วยวิธีนี้ ผลประกอบการณ์ดีกว่าที่ผมประเมิ นตอนแรกมาก หลังจากนั้นราคาก็ถูกไล่ไปด้วยความคาดหวังจนถึง 8 บาทกว่า แต่พองบ q1 ออกมาปรากฏว่ากำไรโตไม่เท่าที่ คาดหวัง และราคาร่วงลงมาถึง 7 บาท ผมเองก็ยอมรับว่าผิดหวังในผลประกอบการณ์เช่นเดียวกัน และเทขายออกมาในช่วง 7.8 -8 บาท แต่อย่างไรก็ดี เมื่อราคาร่วงลงมาถึง 7 บาท ผมตัดสินใจกลับเค้าไปรับอีกครั้ง ( เพราะหลังจากประมาณการณ์ผลกำไร ใหม่ ผมคิด fair value ได้ที่ 8 8.5 บาท, ที่ราคา 7 บาทถือว่ามี mos พอสมควร ) หลังจากนายตลาดหายตกใจ ราคาของ smt ก็กลับมายืนที่ 8 บาทอีกครั้ง และผมก็ทยอยขายหมูหมดไปตั้งแต่ 8.6 8.8 บาท ( เนื่องจากผมมองว่าราคาเกิน 8.5 ถือว่าไม่มี discount แล้ว... จาก valuation ของผมเอง )
ช่วงประมาณต้นเดือนพค. ผมเริ่มลงทุนในหุ้นวัฎจักรตัวที่สองคือ IHL, ผมเริ่มสนใจกลุ่มออโต้หลังจากที่ เห็น SAT และ STANLY วิ่ง พอเริ่มศึกษาก็เห็นเทรนด์ของยอดขายรถทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากนั้นผมก็ลองมาไล่แกะงบของออโต้ตัวที่เหลือทีละตัว แล้วก็มาปิ๊งกับ IHL เนื่องจาก forward pe ต่ำมาก ( แค่ห้ากว่าๆ ) และกระแสเงินสดดีผิดวิสัยออโต้ตัวอื่น ร่วมกับผบห มีแนวโน้มจะจ่ายปันผลมากกว่านโย บาย จากการที่ผบห ต้องควักกระเป๋าตัวเองซื้อหุ้นคืนจากกลุ่มทุนญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดีคงปฎิเสธไม่ได้ว่าหุ้น ตัวนี้มีคนคอยทำราคาอยู่ ซึ่งผมเองก็ยังคงหนักแน่นกับหลัก การที่ว่าสุดท้ายแล้วผลประกอบ การณ์จะเป็นจ้าวมือที่แท้จริง
บทเรียนจากหุ้นวัฎจักรทั้งสองตัว : ตอนนี้ผมคงยังไม่ได้บทเรียนอะไร มาก คงได้แค่ว่า อย่ารีบปฎิเสธการลงทุนในหุ้นตัวใดว่ามัน too hard จนกว่าเราจะได้ศึกษามันอย่างจริงๆ จังๆเสียก่อน
ช่วงประมาณเดือนมีนา ผมไล่เก็บหุ้นก้นบุหรี่อีกสองตัวคือ TIW กับ SYNTEC
สำหรับ TIW จะมองเป็น cash cow ก็ได้ มองเป็นก้นบุหรี่แบบเกรแฮมก็ได้ หรือจะมองแบบ asset play ก็ยังได้ สำหรับผมเอง เลือกมองแบบก้นบุหรี่ของเกรแฮม โดยที่สามไตรมาสบริษัททำกำไรไปแล้ว 11 บาท ผมมองว่าทั้งปีน่าจะได้ 16 -17 บาท เนื่องจากปกติไตรมาสสี่จะเป็นไตรมาสที่พีคสุด ผลออกมาดีกว่าที่คิด ได้ 17 บาทกว่าๆ และปันผลที่เกือบ 9 บาท
ตัวนี้ผมยังมอง fair value ด้วย yield model เหมือนหุ้นก้นบุหรี่ตัวอื่น แต่อย่างไรก็ดี ผมใช้ yield ที่ 8% เนื่องจากปันผลของบริษัทมีสเถียร ภาพกว่าบริษัทก้นบุหรี่สอง ตัวแรกที่ผมเคยลงทุน ผมมอง fair value ที่ 110 บาท จึงทะยอยขายไปที่ 110 -115 บาท ( แต่ว่าหลังจากนั้นราคาหุ้นก้ไปต่อถึง 130 บาท )
ส่วน syntec นี่ผมสะดุดตาจากพีอีที่ต่ำเพียง 4 กว่าๆ พอศึกษา ไปก็ยิ่งชอบ เพราะผลกำไรโตอย่างสม่ำเสมอ ผิดวิสัยหุ้นรับเหมาทั่วไป แต่ติดปัญหาที่ cash flow ไม่ดีมาตลอด บริษัทเลยไม่ยอมปันผล เพิ่งจะมาปลดล้อคปันผลในปี 52 ที่ cash flow กลับมาเป็นบวก ตัวนี้ผมประมาณกำไรจากที่ผบห ให้ข่าว ทั้งแบคลอค ทั้งมาร์จิน แล้วฝันหวานเลยครับ eps น่าจะได้ประมาณ 30 สต ถ้าปีนี้ cash flow ยังบวกต่อเนื่องและปันผลได้สัก 40% ของกำไร forward pe แค่ 3 ผมเลยไล่เก็บตั้งแต่ 0.9 1บาท
แต่ตัวนี้พองบออกมานี่พลิคล้อค คับ ทั้งรายได้ทั้งมาร์จินคนละเรื่อ งกับที่ผบห และ IR เคยให้ข่าวเลย ราคาก็ร่วงไปพร้อมกับปลประกอบการณ์ที่แย่ ตัวนี้ผมคัตลอสไปอย่างเจ็บปวด โดนไปเกือบ 10%
บทเรียนจากหุ้นตัวนี้ ก็คือธรรมาภิบาลต้องมาก่อน แม้ดูจะเป็นเรื่องที่รู้ๆกันอ ยู่แล้ว แต่ถ้าไม่เคยเจอกับตัว บางครั้งเราก็หลงลืมกฏการลงทุนพื้นฐานง่ายๆไป
ตัวที่ผมมาไล่เก็บท้ายสุดเมื่อ ปลายเดือนมิย นี้เองก็คือ SF หุ้นตัวนี้ผมได้มาจากรุ่นพี่ที่เคารพรักท่านเดิม หลังจากมีนัดกินข้าวด้วยกัน SF เป็นสไตล์หุ้น growth ซึ่งปกติผมจะไม่ค่อยชอบ เพราะหุ้นแนวนี้จะไม่มีปันผลหนุน หลัง และผมกังวลว่าผมอาจประเมิน growth ผิด ซึ่งอาจจะทำให้ผมขาดทุนได้มาก
แต่กับตัวนี้ด้วย base ของรายได้จากโครงการเดิมก็มากอยู่แล้ว และโครงการใหม่ก็จะเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญ และความแน่นอนของรายได้ก็ค่อนข้าง มาก เนื่องจากผู้ค้ามาจองพื้นที่ใน โครงการใหม่จนเต็มแล้ว ทำให้ผมมีความมั่นใจที่ลงทุนค่อนข้างมาก ผมจึงไล่เก็บในช่วง 3.6 -3.7 บาท