เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversio

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
vichit
Verified User
โพสต์: 15833
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversio

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversion Cycle)


Construction and Property ฉบับเดือน September-October 2009

โดย...ดร.อำพล ตังคนาวนิชย์

...วงจรการสร้างกระแสเงินสด (CCC) จึงเป็นตัวชึ้วัดที่ดีที่แสดงว่าโครงการสามารถบริหารเงินทุนหมุนเวียนได้ดีเพียงใด ยิ่งจำนวนวันของ CCC ยิ่งน้อยเท่าใด ความสามารถในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนของโครงการยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น ...

กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ กับเรื่องที่น่าสนใจสำหรับการบริหารเงินสด จากบทความที่แล้วผมได้กล่าวถึงหลักการบริหารเงินสดโดยการประยุกต์ใช้กฎ Demmings PDCA และ กฎเหล็ก 5 ประการสำหรับสร้างความสำเร็จในการบริหารกระแสเงินสดไปแล้ว หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะมองภาพรวมการบริหารเงินสดในเบื้องต้นได้ชัดเจนมากขึ้น สำหรับครั้งนี้ ผมจะขอกล่าวถึงวงจรการสร้างกระแสเงินสดของการทำธุรกิจจริงว่ามีขั้นตอนอะไรบ้างและ มีมุมมองที่น่าสนใจอย่างไร
ท่านผู้อ่านคงเห็นพ้องต้องกันแล้วนะครับว่าการคำนวณและประมาณการกระแสเงินสดเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารโครงการหรือเจ้าของธุรกิจ ซึ่งรายได้และรายจ่ายของโครงการนั้นโดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยจะคงที่หรือไม่ค่อยเป็นไปตามที่คาดไว้นัก เราจำเป็นต้องมีการวางแผนความต้องการเงินสดเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการ ซึ่งอาจะเป็นยามวิกฤต หรือยามที่เจอผลกระทบจากปัจจัยภายนอก หรือยามที่จำเป็นต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ออกไป ถ้าในช่วงเวลาใดก็ตามผู้จัดการโครงการหรือเจ้าของธุรกิจไม่สามารถจ่ายบิลได้ ก็มีอันว่าโครงการต้องล้มเหลวหรือธุรกิจก็ต้องล่มสลายไป โดยส่วนใหญ่เราพบว่าผู้จัดการโครงการมักจะสนใจเฉพาะรายได้และรายจ่ายเท่านั้นในการบริหารเงินสด ซึ่งอาจจะมองข้ามวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversion Cycle) ไป ซึ่งบ่อยครั้งอาจจะทำให้โครงการหรือธุรกิจตกอยู่ในภาวะลำบากได้ วงจรการสร้างกระแสเงินสดนี้คืออะไร แล้วทำไมเราต้องสนใจมันด้วย คำตอบมีอยู่แล้วครับในบทความนี้

อธิบายอย่างง่ายๆ วงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversion Cycle-CCC) ก็คือระยะเวลาที่โครงการหรือธุรกิจต้องใช้ในกิจกรรมการเปลี่ยนเงินสดที่ได้ลงทุนไปเป็นเงินสดที่ตอบแทนกลับมา (Cash Returns) วงจรนี้ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประเภทได้แก่ ระยะเวลาเก็บเงินลูกหนี้ (Accounts Receivable Outstanding Days- ARO) ระยะเวลาทำงานเพื่อให้งานที่พร้อมส่งมอบ (Inventory Outstanding Days- IOD) และระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินเจ้าหนี้ (Accounts Payable Outstanding Days- APO) ซึ่ง ระยะเวลาของวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversion Cycle Days- CCC)ก็คือระยะเวลาที่ต้องทำงานเพื่อส่งมอบผลงาน รวมกับระยะเวลาที่ต้องใช้เก็บเงินจากลูกค้าหรือเจ้าของงาน ลบด้วยเวลาที่ต้องใช้จ่ายเงินเจ้าหนี้นั่นเอง ซึ่งสรุปเป็นสูตรได้ดังต่อไปนี้

CCC = IOD+ ARO APO

ทำไมตัวเลข CCC นี้ถึงมีความสำคัญ นั่นเป็นเพราะว่า CCC แสดงถึงจำนวนวันที่ต้องเตรียมเงินสดให้เหลือเพื่อที่จะดำเนินงานของโครงการต่อไปได้ วงจรการสร้างกระแสเงินสด (CCC) จึงเป็นตัวชึ้วัดที่ดีที่แสดงว่าโครงการสามารถบริหารเงินทุนหมุนเวียนได้ดีเพียงใด ยิ่งจำนวนวันของ CCC ยิ่งน้อยเท่าใด ความสามารถในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนของโครงการยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น ถ้าจำนวนวันของ CCC มีแนวโน้มมากขึ้น อาจจะเป็นสัญญานเตือนว่าการบริหารเงินสดของโครงการอาจจะมีปัญหา

ในการวิเคราะห์กระแสเงินสด เรามีความจำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบของเงินทุนหมุนเวียน ทั้ง CCC, IOD, ARO และ APO ซึ่งก็คือ ถ้าระยะเวลาเก็บเงินลูกหนี้ (ARO) หรือระยะเวลาเก็บงานที่รอส่งมอบ (Inventory Outstanding Days- IOD) มากขึ้น จะต้องมีการใช้เงินสดมากขึ้น ในทางกลับกัน ถ้า ARO/IOD น้อยลง ก็จะมีความต้องการใช้เงินสดน้อยลง ถ้าระยะเวลาจ่ายเงินเจ้าหนี้ (APO) นานขึ้น ก็จะมีเงินสดเหลือในโครงการนานขึ้น ในทางกลับกัน ถ้า APO น้อยลง โครงการต้องมีความจำเป็นในการใช้เงินสดมากขึ้น ยกตัวอย่างการทำงานจริง ถ้าผู้จัดการโครงการตัดสินใจให้เครดิตลูกค้าในการจ่ายเงินสำหรับสินค้าหรือบริการเป็นจำนวน 60 วัน (จากอดีตที่เคยกำหนดไว้ 30 วัน) จะหมายถึง ผู้จัดการโครงการต้องรอคอยเงินจำนวนนั้นนานขึ้นซึ่งทำให้เงินสดของโครงการ (Cash on hand) น้อยลง นั่นเอง

มาถึงตอนนี้บางท่านอาจจะสงสัยว่า ถ้า CCC ยิ่งน้อยยิ่งดี แล้วจะมีธุรกิจไหนแข็งแกร่งจนสามารถทำให้ค่า CCC ติดลบได้หรือไม่ ขอตอบว่ามีครับ แต่มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ค่า CCC ติดลบนั้นหมายถึงอะไร ค่า CCC ติดลบหมายถึงการที่เราสามารถขายสินค้าหรือบริการ และเก็บเงินลูกหนี้ได้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ที่เราซื้อวัตถุดิบจากเขานั่นเอง จะเห็นว่าถ้าสามารถทำได้ จะเป็นสิ่งที่ดีต่อธุรกิจของเราอย่างมาก ก่อนที่จะพูดว่าไม่มีธุรกิจอย่างนี้ในโลกหรอก อยากให้ท่านผู้อ่านลองทบทวนดูดีๆนะครับ ว่าธุรกิจแบบไหนที่สามารถทำแบบนี้ได้บ้าง คำเฉลยก็คือร้าน Discount Store ต่าง ๆเช่น TESCO Lotus, BIG C ยังไงล่ะครับ ร้านค้าเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีอำนาจต่อรองสูง เพราะสั่งสินค้าเป็นปริมาณมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จะมี APO ที่ยาวนานมาก หรือบางทีถ้ายังขายไม่ได้ ก็ยังไม่จ่ายก็มี แล้วแต่กรณีตามที่ตกลงกัน

มาดูกันอีกสักตัวอย่างหนึ่งนะครับ สมมุติว่าคุณสามารถต่อรองขอเครดิตในการจ่ายเงินเจ้าหนี้ได้ 30 วัน และก็สามารถขายสินค้าหรือบริการได้ไว เช่น ขายได้ใน7 วัน และก็สามารถเก็บเงินได้ใน 7 วัน ตามสูตรที่ได้บอกไว้ข้างต้น คุณสามารถบริหาร CCC ได้เท่ากับ = IOD (7) + ARO (7) APO (30) = -16 วัน แสดงวันคุณมีเงินใช้ฟรี ๆ ก่อนจ่ายเจ้าหนี้ถึง 16 วัน ยินดีด้วยครับคุณบริหาร CCC ได้แล้ว ซึ่งคุณอาจจะสามารถเลือกที่จะเอาเงินไปหมุนเวียนอย่างอื่น หรือเอาไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ยก็ได้

ในทางกลับกัน ถ้าคุณใจดีให้ลูกค้าจ่ายเงินคุณได้ช้าลงเป็น 30 วัน CCC ของคุณจะเท่ากับ = IOD (7) + ARO (30) APO (30) = 7 วัน ซึ่งหมายถึงคุณต้องจ่ายเงินเจ้าหนี้ของคุณ แล้วต้องรออีก 7 วันกว่าคุณจะได้รับเงินจากลูกค้า ดังนั้นคุณต้องเตรียมเงินสดเพิ่มเติมอย่างน้อย 7 วันในการทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินต่อไปได้ สำหรับผลกระทบต่องบการเงินและความสามารถในการทำกำไร ก็มีอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมียอดขาย 1 ล้านบาทต่อปีและคุณให้เครดิตลูกค้า (ARO) โดยเฉลี่ย 60 วัน แสดงว่าคุณจะมียอดของลูกหนี้ประมาณ 60/365 * 1,000,000= 164,384 บาท ถ้าคุณมีความจำเป็นต้องใช้เครดิตกู้เงิน ในการรองรับลูกหนี้เป็นดอกเบี้ยที่ปีละ 8 % คุณต้องจ่ายดอกเบี้ย 8% * 164384 = 13,151 บาท ต่อปี สำหรับเงินที่คุณต้องเตรียมมาสำรองจ่ายเจ้าหนี้ก่อน

โดยสรุปนะครับ คงจะเห็นได้ว่าการบริหารวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversion Cycle-CCC) นั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการบริหารเงินสดและประสิทธิภาพการทำกำไรของโครงการ ระยะเวลาของวงจรการสร้างกระแสเงินสดจะช่วยคุณวางแผนโครงการว่าคุณมีความจำเป็นต้องใช้บริการการกู้เงินหรือไม่ หรือ คุณสามารถบริหารด้านการเงินได้ดีเพียงใด สวัสดีครับ


http://www.msil.co.th/news_3009.php
ภาพประจำตัวสมาชิก
manza125
Verified User
โพสต์: 92
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversio

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ

ผมกำลังหา เรื่อง กระแสเงินสด บวก / ลบ
อยู่เลย

ตอนแรกเข้าใจผิดนะเนี้ย ว่า กระแสเงินสด บวก จะดี เพราะเก็บเงินได้ และเหลือไปใช้

(หรือผมยังเข้าใจผิด คนละกระแสเงินสด?)


แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า จะหา IOD,ARO,APO ของแต่ละบริษัท ยังไง

(หรือมีข้อมูลไว้ให้?)

:oops:
------------------------------
การพูด คือ อาหารของนักการเมือง
การวิเคราห์ คือ อาหารของวีไอ
Possible
Verified User
โพสต์: 184
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversio

โพสต์ที่ 3

โพสต์

manza125 เขียน:
ตอนแรกเข้าใจผิดนะเนี้ย ว่า กระแสเงินสด บวก จะดี เพราะเก็บเงินได้ และเหลือไปใช้

(หรือผมยังเข้าใจผิด คนละกระแสเงินสด?)

:oops:
คิดว่าเข้าใจถูกนะครับ ว่า กระแสเงินสด บวก จะดี

แต่ข้างบนมันเป็น CCC หน่วยเป็น วัน ครับ
Reborn
ภาพประจำตัวสมาชิก
j21
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 690
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversio

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ   :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
j21
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 690
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversio

โพสต์ที่ 5

โพสต์

manza125 เขียน:



แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า จะหา IOD,ARO,APO ของแต่ละบริษัท ยังไง

(หรือมีข้อมูลไว้ให้?)

:oops:
คำนวณเองได้ครับ

แต่ถ้าเอาแบบง่าย ๆ ก็ดูในบทวิเคราะห์ของ broker ใน settrade  หรือ ดูใน annual report or 56-1 มีให้เหมือนกันครับ    :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
densin
Verified User
โพสต์: 1073
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversio

โพสต์ที่ 6

โพสต์

manza125 เขียน:ขอบคุณครับ

ตอนแรกเข้าใจผิดนะเนี้ย ว่า กระแสเงินสด บวก จะดี เพราะเก็บเงินได้ และเหลือไปใช้

(หรือผมยังเข้าใจผิด คนละกระแสเงินสด?)
ต้องดูว่าธุรกิจอยู๋ในสภาวะใด เติบโตหรืออิ่มตัว
ถ้าอิ่มตัวหรือโตไม่มาก ก็ควรมีกระแสเงินสดบวกเพื่อจะได้ปันผลได้
แต่ถ้าธุรกิจกำลังเติบโต เป็นไปได้ที่กระแสเงินสดติดลบ จากworking capมันมากขึ้น

แต่ถ้าเจอบริษัทที่เติบโตมากและกระแสเงินสดเป็นบวก ก็ยิ่งดีครับ
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
ภาพประจำตัวสมาชิก
manza125
Verified User
โพสต์: 92
ผู้ติดตาม: 0

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวงจรการสร้างกระแสเงินสด (Cash Conversio

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อ่อ ขอบคุณมากครับ คุณ
Possible, j21 และ densin
------------------------------
การพูด คือ อาหารของนักการเมือง
การวิเคราห์ คือ อาหารของวีไอ
โพสต์โพสต์