อินโดฯเรียกค่าเสียหายปตท.สผ.7หมื่นล้านบ.
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 01, 2010 5:11 am
อินโดนีเซียยื่น ข้อเสนอเรียกร้องค่าเสียหายกว่า 70,000 ล้านบาท จากบริษัทลูกในออสเตรเลียของ ปตท.สผ. จากเหตุน้ำมันรั่วจากแท่นขุดเจาะในทะเลติมอร์
สำนัก ข่าวเอเอฟพี รายงานวานนี้ (31 ส.ค.) อ้างการเปิดเผยของนายเฟรดดี นัมเบริ รัฐมนตรีคมนาคม อินโดนีเซียว่า ระหว่างการเจรจากับ พีทีที อสเตรเลเซีย หน่วยงานในเครือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ที่ออสเตรเลีย เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทางการอินโดนีเซีย ได้ยื่นข้อเรียกร้อง ขอเงินชดเชยค่าเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม จากกรณีน้ำมันรั่วไหลจากแท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัทลูก ปตท.สผ. ในทะเลติมอร์มูลค่า 2,400 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 74,400 ล้านบาท
"การประเมินค่าเสียหายของเรา รวมถึง ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับแนวปะการัง ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำมันรั่วดังกล่าว" นายนัมเบริ ระบุ
ทั้งนี้ นายนัมเบริ เป็นผู้นำคณะเจรจาของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ในการเจรจากับบริษัท ปตท.สผ.ของไทย ซึ่งทางฝ่ายไทยได้เรียกร้องขอพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่จะสนับสนุนข้อเรียกร้องดังกล่าวจากทางการอินโดนีเซียด้วย
เนื้อหาในแถลงการณ์ที่ออกมาก่อนหน้านี้นั้น ปตท.สผ. ยืนยันว่า บริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการออสเตรเลีย มีการติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และว่า ผลกระทบจากเหตุน้ำมันรั่วข้างต้น จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะพื้นที่ใกล้เคียงแท่นขุดเจาะน้ำมันมอนทารา ที่ได้รับความเสียหายเท่านั้น
ปตท.สผ.ยังให้คำมั่นว่า จะมีการเปิดเผยผลการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้สาธารณชนได้รับรู้ เมื่อการจัดทำรายงานเสร็จสิ้นลงด้วย
เหตุน้ำมันรั่วในทะเลติมอร์ข้างต้น ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 21 ส.ค. - 3 พ.ย. ปีที่แล้ว ถือเป็นอุบัติเหตุของแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งทะเลครั้งร้ายแรงสุดใน ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย แต่ยังมีความรุนแรงน้อยกว่าเหตุแท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัทบีพีในอ่าว เม็กซิโกระเบิดเมื่อเร็วๆ นี้
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับแท่นขุดเจาะน้ำมันมอนทารา ต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะอุดรอยรั่วได้สำเร็จ และยังทำให้เกิดเสียงเรียกร้องถึงการออกกฎข้อบังคับที่มีความเข้มงวดขึ้น ในการขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง ทั้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการตรวจสอบธุรกิจนี้ ยังตกเป็นเป้าโดนโจมตีอย่างนัก
ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ หน่วยงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อ้างหลักฐานจากคณะกรรมการตรวจสอบเหตุการณ์นี้ว่า น้ำมันที่รั่วจากแท่นขุดเจาะมอนทารา ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 90,000 ตร.กม. และล่วงล้ำเข้าไปในเขตน่านน้ำอินโดนีเซีย
ขณะมูลนิธิเวสต์ ติมอร์ แคร์ ซึ่งเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือต่อชาวประมงฐานะยากจน ทางภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย ประเมินว่า เหตุน้ำมันรั่วดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวประมงราว 18,000 คน และยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิเช่น ฟาร์มสาหร่าย และไข่มุกด้วย :lol:
สำนัก ข่าวเอเอฟพี รายงานวานนี้ (31 ส.ค.) อ้างการเปิดเผยของนายเฟรดดี นัมเบริ รัฐมนตรีคมนาคม อินโดนีเซียว่า ระหว่างการเจรจากับ พีทีที อสเตรเลเซีย หน่วยงานในเครือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ที่ออสเตรเลีย เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทางการอินโดนีเซีย ได้ยื่นข้อเรียกร้อง ขอเงินชดเชยค่าเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม จากกรณีน้ำมันรั่วไหลจากแท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัทลูก ปตท.สผ. ในทะเลติมอร์มูลค่า 2,400 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 74,400 ล้านบาท
"การประเมินค่าเสียหายของเรา รวมถึง ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับแนวปะการัง ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำมันรั่วดังกล่าว" นายนัมเบริ ระบุ
ทั้งนี้ นายนัมเบริ เป็นผู้นำคณะเจรจาของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ในการเจรจากับบริษัท ปตท.สผ.ของไทย ซึ่งทางฝ่ายไทยได้เรียกร้องขอพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่จะสนับสนุนข้อเรียกร้องดังกล่าวจากทางการอินโดนีเซียด้วย
เนื้อหาในแถลงการณ์ที่ออกมาก่อนหน้านี้นั้น ปตท.สผ. ยืนยันว่า บริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการออสเตรเลีย มีการติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และว่า ผลกระทบจากเหตุน้ำมันรั่วข้างต้น จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะพื้นที่ใกล้เคียงแท่นขุดเจาะน้ำมันมอนทารา ที่ได้รับความเสียหายเท่านั้น
ปตท.สผ.ยังให้คำมั่นว่า จะมีการเปิดเผยผลการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้สาธารณชนได้รับรู้ เมื่อการจัดทำรายงานเสร็จสิ้นลงด้วย
เหตุน้ำมันรั่วในทะเลติมอร์ข้างต้น ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 21 ส.ค. - 3 พ.ย. ปีที่แล้ว ถือเป็นอุบัติเหตุของแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งทะเลครั้งร้ายแรงสุดใน ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย แต่ยังมีความรุนแรงน้อยกว่าเหตุแท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัทบีพีในอ่าว เม็กซิโกระเบิดเมื่อเร็วๆ นี้
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับแท่นขุดเจาะน้ำมันมอนทารา ต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะอุดรอยรั่วได้สำเร็จ และยังทำให้เกิดเสียงเรียกร้องถึงการออกกฎข้อบังคับที่มีความเข้มงวดขึ้น ในการขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง ทั้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการตรวจสอบธุรกิจนี้ ยังตกเป็นเป้าโดนโจมตีอย่างนัก
ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ หน่วยงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อ้างหลักฐานจากคณะกรรมการตรวจสอบเหตุการณ์นี้ว่า น้ำมันที่รั่วจากแท่นขุดเจาะมอนทารา ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 90,000 ตร.กม. และล่วงล้ำเข้าไปในเขตน่านน้ำอินโดนีเซีย
ขณะมูลนิธิเวสต์ ติมอร์ แคร์ ซึ่งเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือต่อชาวประมงฐานะยากจน ทางภาคตะวันออกของอินโดนีเซีย ประเมินว่า เหตุน้ำมันรั่วดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวประมงราว 18,000 คน และยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิเช่น ฟาร์มสาหร่าย และไข่มุกด้วย :lol: