วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียน
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 04, 2010 9:18 pm
วงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียนธุรกิจ
พอดีผมซื้อหนังสือเรื่องฉลาดรู้ทางการเงินซื่งแปลและเรียบเรียงจาก หนังสือ Financial Intelligence พิมพ์ ED 3rd เมื่อกค 53 นี้
มีอยู่บทหนึ่งในหนังสือที่น่าสนใจ จึงสรุปออกมาตามความเข้าใจและนำมาเผยแพร่ครับ
เป็นเรื่องของวงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียนธุรกิจ
วงจรการหมุนเวียนของเงินสด
= ช่วงระยะเวลาสินค้าคงคลัง + ช่วงระยะเวลาลูกหนี้ ช่วงระยะเวลาเจ้าหนี้การค้า (หน่วยเป็น วัน)
= หลักการ
ช่วงระยะเวลารอคอยที่จะได้รับเงินคือ ช่วงเวลาสินค้าคงคลัง + ช่วงเวลาลูกหนี้ คือหนึ่งรอบของวัฎจักร
ส่วน ช่วงระยะเวลาที่จะต้องจ่ายเงินคือ ช่วงเวลาเจ้าหนี้การค้า
ดังนั้นผลต่างของทั้งสองช่วงเวลา หรือ วงจรการหมุนเวียนของเงินสดนี้ จะเป็นตัวบอกว่าบริษัทต้องขาดเงินสดไปเป็นเวลากี่วัน
อีกนัยหนึ่งผลที่ได้บอกว่าบริษัทสามารถนำเงินสดกลับคืนมาได้เร็วแค่ไหนนับจากเวลาที่บริษัทจ่ายเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า
จนกระทั่งเวลาที่บริษัทเก็บเงินสดจากลูกหนี้การค้าได้
วงจรหมุนเวียนเงินสดยังเป็นข้อมูลให้คุณสามารถคำนวณได้ว่าจะต้องมีเงินสดเท่าใดที่ต้องจัดหามาสำหรับดำเนินธุรกิจโดย
เงินทุนหมุนเวียนสำหรับดำเนินการ (ล้านบาท)
= ยอดขายต่อวัน (ล้านบาทต่อวัน) x วงจรหมุนเวียนของเงินสด (วัน)
= อีกความหมาย นี่คือยอดเงินขึ้นต่ำที่กิจการนี้ต้องการเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับดำเนินกิจการในช่วงที่ไม่มีเงินเข้า
เพื่อให้ได้ยอดขายตามที่ต้องการ
ตัวอย่างกับ DRT แล้วกัน งบสิ้นปี2009
ยอดขาย = 2774.56
ลูกหนี้การค้า = 356.66
สินค้าคงคลัง = 424.77
ต้นทุนขาย = 1868.83
เจ้าหนี้การค้า = 182.22
ระยะเวลาเก็บสต็อกสินค้าเฉลี่ย
= 365 x สินค้าคงเหลือ / ยอดขาย = (365 x 424.77) / 2774.56 = 55.88 วัน
ระยะเวลาการเก็บหนี้จากลูกหนี้เฉลี่ย
= 365 x ลูกหนี้การค้า / ยอดขาย = (365 x 356.66) / 2774.56 = 46.92 วัน
ระยะเวลาเครดิตการจ่ายหนี้
= 365 x เจ้าหนี้การค้า / ต้นทุนขาย = (365 x 182.22) / 1868.83 = 35.59 วัน
ยอดขายต่อวัน
= ยอดขาย / 365 = 2774.56 / 365 = 7.6 ล้านบาท
ดังนั้น
วงจรการหมุนเวียนของเงินสด = 55.88 + 46.92 - 35.59 = 67.21 วัน
และ
เงินทุนหมุนเวียนที่จำเป็นสำหรับดำเนินการ = 67.21 x 7.6 = 510.80 ล้านบาท
พอดีผมซื้อหนังสือเรื่องฉลาดรู้ทางการเงินซื่งแปลและเรียบเรียงจาก หนังสือ Financial Intelligence พิมพ์ ED 3rd เมื่อกค 53 นี้
มีอยู่บทหนึ่งในหนังสือที่น่าสนใจ จึงสรุปออกมาตามความเข้าใจและนำมาเผยแพร่ครับ
เป็นเรื่องของวงจรการหมุนเวียนของเงินสดและจำนวนเงินขั้นต่ำสำหรับหมุนเวียนธุรกิจ
วงจรการหมุนเวียนของเงินสด
= ช่วงระยะเวลาสินค้าคงคลัง + ช่วงระยะเวลาลูกหนี้ ช่วงระยะเวลาเจ้าหนี้การค้า (หน่วยเป็น วัน)
= หลักการ
ช่วงระยะเวลารอคอยที่จะได้รับเงินคือ ช่วงเวลาสินค้าคงคลัง + ช่วงเวลาลูกหนี้ คือหนึ่งรอบของวัฎจักร
ส่วน ช่วงระยะเวลาที่จะต้องจ่ายเงินคือ ช่วงเวลาเจ้าหนี้การค้า
ดังนั้นผลต่างของทั้งสองช่วงเวลา หรือ วงจรการหมุนเวียนของเงินสดนี้ จะเป็นตัวบอกว่าบริษัทต้องขาดเงินสดไปเป็นเวลากี่วัน
อีกนัยหนึ่งผลที่ได้บอกว่าบริษัทสามารถนำเงินสดกลับคืนมาได้เร็วแค่ไหนนับจากเวลาที่บริษัทจ่ายเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า
จนกระทั่งเวลาที่บริษัทเก็บเงินสดจากลูกหนี้การค้าได้
วงจรหมุนเวียนเงินสดยังเป็นข้อมูลให้คุณสามารถคำนวณได้ว่าจะต้องมีเงินสดเท่าใดที่ต้องจัดหามาสำหรับดำเนินธุรกิจโดย
เงินทุนหมุนเวียนสำหรับดำเนินการ (ล้านบาท)
= ยอดขายต่อวัน (ล้านบาทต่อวัน) x วงจรหมุนเวียนของเงินสด (วัน)
= อีกความหมาย นี่คือยอดเงินขึ้นต่ำที่กิจการนี้ต้องการเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับดำเนินกิจการในช่วงที่ไม่มีเงินเข้า
เพื่อให้ได้ยอดขายตามที่ต้องการ
ตัวอย่างกับ DRT แล้วกัน งบสิ้นปี2009
ยอดขาย = 2774.56
ลูกหนี้การค้า = 356.66
สินค้าคงคลัง = 424.77
ต้นทุนขาย = 1868.83
เจ้าหนี้การค้า = 182.22
ระยะเวลาเก็บสต็อกสินค้าเฉลี่ย
= 365 x สินค้าคงเหลือ / ยอดขาย = (365 x 424.77) / 2774.56 = 55.88 วัน
ระยะเวลาการเก็บหนี้จากลูกหนี้เฉลี่ย
= 365 x ลูกหนี้การค้า / ยอดขาย = (365 x 356.66) / 2774.56 = 46.92 วัน
ระยะเวลาเครดิตการจ่ายหนี้
= 365 x เจ้าหนี้การค้า / ต้นทุนขาย = (365 x 182.22) / 1868.83 = 35.59 วัน
ยอดขายต่อวัน
= ยอดขาย / 365 = 2774.56 / 365 = 7.6 ล้านบาท
ดังนั้น
วงจรการหมุนเวียนของเงินสด = 55.88 + 46.92 - 35.59 = 67.21 วัน
และ
เงินทุนหมุนเวียนที่จำเป็นสำหรับดำเนินการ = 67.21 x 7.6 = 510.80 ล้านบาท