http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2011-01-27
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4283 ประชาชาติธุรกิจ
ทัศพล แบเลเว็ลด์ ซีอีโอไทย แอร์เอเชีย "โลว์คอสต์เบอร์ 1 เอเชีย...ชาวนาก็บินได้"
ธุรกิจ การบินสายพันธุ์ใหม่ "โลว์คอสต์แอร์ไลน์" เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชียเมื่อปี 2546 สร้างความฮือฮาและคำถามมากมายว่าเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง หรือเพราะถึงเวลาที่ประเทศไทยควรจะต้องเป็นผู้นำตลาดการบินอาเซียนด้วยวิธี การใหม่ให้ทันกระแสโลก
เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนั้นการบินทั่วโลก ต่างปรับแผนการลงทุนแบบ 360 องศา เมื่อมีแรงกดดันรุนแรงจากต้นทุนเชื้อเพลิง "ราคาน้ำมัน" ปรับเพดานทะลุ 140 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล พร้อมกับ "พฤติกรรมผู้โดยสาร" เปลี่ยนหันมาเดินทางแบบประหยัดมากขึ้น
วันนี้ "ทัศพล แบเลเว็ลด์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทย แอร์เอเชีย เจ้าของธุรกิจพันธุ์ใหม่วัย 44 ปี ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงเรื่องราวทั้งหมดหลังจากพิสูจน์ผลงานจนก้าวขึ้นมายืนเป็นโลว์คอสต์แอร์ ไลน์เบอร์ 1 ของเอเชียได้สำเร็จ
มีทั้งคนไทยและต่างประเทศมาใช้ บริการถึงปีละ 6-7 ล้านคน เปิดโอกาสให้ผู้โดยสารรากหญ้ามีทางเลือกโดยยกระดับจากการนั่งรถทัวร์ รถไฟ เปลี่ยนมานั่งเครื่องบินเพิ่มขึ้น 40-50% และปีนี้แม้แต่ชาวนาไทยและชาวนาฝรั่ง...ใคร ๆ ก็บินแอร์เอเชียได้
- ไทย แอร์เอเชียตั้งขึ้นเพื่อล้มการบินไทยหรือมีเหตุผลอื่นที่ดีกว่า
ไทย แอร์เอเชียเราแค่ทำหน้าที่นำโอกาสไปให้ผู้โดยสาร สร้างความ แตกต่างของการบินสมัยก่อนเป็นเรื่องหรูหรา ใครสักคนได้ขึ้นเครื่องต้องใส่สูทขนญาติมายืนคล้องพวงมาลัยร่ำลากันเต็มสนาม บินดอนเมือง ต่างจากยุคนี้เราพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า "ใคร ๆ ก็บินได้" เงิน 100 บาทก็ซื้อตั๋วเครื่องบินได้
เพราะเราไม่ได้บอกให้พวกเขามาบินแต่ ให้มาเดินทางแทน จะเดินทางท่องเที่ยว ค้าขาย หรือเยี่ยมญาติก็ได้ บริการทุกระดับ อย่างกลุ่มลูกค้านักศึกษา คณาจารย์ ข้าราชการ จากเดิมต้องเก็บเงินทุกบาทไว้จ่ายค่าที่พักรายวัน แต่ตอนนี้จ่ายแค่ 5 วัน นำเงินที่เหลืออีก 2 วันมาซื้อตั๋วเครื่องบินราคาประหยัดกลับไปหาพ่อแม่และครอบครัวได้โดยไม่ เดือดร้อน
แม้ แต่สถาบันการศึกษาสมัยก่อนต้องจัดงบฯแต่ละปี 300-400 ล้านบาทเตรียมไว้ให้ข้าราชการซื้อตั๋วบินไปประชุม สัมมนา ตอนนี้ไม่ต้องทำแบบนั้นอีกแล้ว เพราะหลายแห่งหันมาบริหารจัดการเดินทางให้เหมาะสมบินกับโลว์คอสต์
ตรง จุดนี้เราถือว่าไทย แอร์เอเชียเป็นเฟืองอีกกลไกที่เชื่อมสังคมเข้าหากันได้ และไม่เคยคิดจะล้มล้างสายการบินไหน ไม่ว่าจะเป็นการบินไทยหรือใครก็ตาม น่าจะถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ในการขยายตลาดใหม่ ๆ เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีแฟนคลับต่างกลุ่มกัน
- ยุทธจักรการบินจะโตได้ด้วยวิธีไหน
วัน ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ไทย แอร์เอเชียครบรอบ 7 ปีแรก ช่วงเวลาที่ผ่านมาเราเน้นการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสารชาติไหน คนไทย แขก ฝรั่ง เชื้อชาติใดก็แล้วแต่เมื่อมาถึงเอเชียต้องใช้
http://www.airasia. com ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทุกจุด มีความถี่มากจะเลือกบินเวลาไหนก็สะดวก
แบ รนด์ถือเป็นจุดแข็งของสินค้าทุกชนิด ถ้าสร้างสำเร็จเร็วการขยายธุรกิจจะยิ่งง่าย ไม่ว่าฝนตก แดดออก ปฏิวัติ หรือโรคซาร์สระบาด ถ้าแบรนด์แข็งแรงเราก็อยู่ได้
อนาคตอีก 7 ปีข้างหน้าเรายังเน้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ ตอนนี้กระแส IPAD มาแรง เราก็นำมาใช้เช็กอินทั้งหมด ทำให้ผู้โดยสารสะดวก
- แล้วมีเครื่องมืออื่นที่สำคัญอีกหรือไม่
แน่ นอนฝูงบินใหม่ก็สำคัญ 7 ปีแรกเรามีเครื่องป้ายแดงแอร์บัส A320 จำนวน 20 ลำ ต่อจากนี้ไปอีก 7 ปีเราตั้งเป้าจะซื้อฝูงบินป้ายแดงเพิ่มอีก 20 ลำ ถึงจะลงทุนสูงแต่ถ้าสามารถจัดการได้ด้วยแบรนด์แกร่ง ทีมงานแข็งแรง บวกเทคโนโลยีสมัยใหม่ ฝูงบินสมรรถนะเยี่ยม ปริมาณที่นั่งเพิ่มจำนวนผู้โดยสารย่อมเพิ่มตามด้วย เราเน้น ปริมาณ โดยเอากำไรน้อยหน่อย
เพื่อจะได้มีโอกาสทำ "ราคาตั๋วเครื่องบิน" ให้ถูกลงอีก 20% เป็นกุญแจวัดความสำเร็จของเรา เพราะปกติการขายตั๋วราคาแพงสายการบินไหนก็ทำได้ ไม่เหมือนการขายตั๋วถูกท้าทายกว่ามาก
- อนาคตตั๋วจะถูกลงกว่านี้ได้อีกหรือ
เป็น ไปได้แน่เพราะเราได้ลงมือทำมาแล้วด้วยวิธีต่างกันในแต่ละสถานการณ์ ตั้งแต่จุดเริ่มเราเป็นสายการบินที่ตกเป็นเป้าทางการเมือง ยุคนั้นยอมรับเลยว่าได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนเก่าผมจากหลายธุรกิจช่วยสนับ สนุน มีทั้งทีวีช่อง 3 ช่อง 7 ค่ายเพลงแกรมมี่ ช่วยโปรโมตโดยคิดค่าใช้จ่ายน้อยมาก เงิน 100 บาทเราลงทุนน้อยกว่าสายการบินอื่น 40%
จากนั้นเราเริ่มต้องยืนอยู่ บนลำแข้งตัวเองด้วยการไปทำแบรนด์พ่วงโฆษณากับสินค้าดังในตลาดระดับประเทศและ โลก เดินเข้าหาทีมแมนฯ ยูไนเต็ด โฆษณาในพรีเมียร์ลีก ช่วง 3 ปีแรกทำโฆษณาในประเทศ 3 ปีต่อมาขยับไปต่างประเทศ ตอนนี้เราไปถึงอเมริกาแล้ว
- ตอบให้ตรงคำถามได้ไหมว่า สำเร็จเพราะโชคหรือฝีมือ
คง ทั้ง 2 อย่าง เพราะผมเปิดหนังสือแล้วลอกแบบธุรกิจจากโลว์คอสต์ในซีกโลกตะวันตก จากไรอัน แอร์ กับเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ส แล้วผมก็บังเอิญเปิดถูกทุกหน้าเท่ากับถูกแจ็กพอตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์ซึ่งเป็นหัวใจหลัก การวางระบบปฏิบัติการด้วยวิธีเทรนนิ่งพนักงานทุกฝ่าย ในช่วงทำธุรกิจปีที่ 2 ได้ตั้งสถาบันฝึกอบรมขึ้น เริ่มจากหลักสูตรผลิตนักบินรุ่นแรก 40 คน ตอนนี้ขยายเป็น 100 คน พอปีที่ 3 เปิดสถาบันฝึกอบรมฝ่ายซ่อมบำรุงเครื่องบิน เพราะรู้ตัวว่าถ้าเราโตขนาดนี้ต้องเตรียมทุกอย่างไว้รองรับให้ได้
สิ่ง สำคัญคือการวางแผนธุรกิจในอนาคต ต้องทำเตรียมไว้หมดทุกอย่าง ทั้งเรื่องการสร้างบุคลากรให้แข็งแกร่ง วางเครือข่ายเที่ยวบินควบคู่กับการเลือกใช้สิทธิการบิน (traffic light) ต้องเข้าใจวิธีเลือกช่วงเวลาบินให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
- จะใช้วิธีใดครองตลาดรากหญ้า
ง่าย มากตอนนำเครื่องลำแรกเข้ามาบินปี 2546 เราเพนต์ "เขาควายคาราบาว" บนลำตัวเครื่อง คนพากันงงว่าเอาศิลปินวงเก่ามาทำไม แต่เราคิดต่างตรงที่ว่าลูกค้าเป้าหมายของเราคือคนต่างจังหวัดซึ่งคุ้นเคยกับ ตลาดลูกทุ่ง 70% และชื่นชอบเพลงเพื่อชีวิต 30% ทั้ง 2 สไตล์นี้ไม่เคยปิดกั้นลูกค้า วัดผลง่าย ๆ พอมีผับล้อมรั้วสังกะสีทุกจังหวัด เมื่อมีคาราบาวไปแสดงคอนเสิร์ตที่ไหนจะมีคนแห่แหนกันไปดู
เราจะ เสียเวลาไปสร้างตลาดเองทำไม ก็กระโดดซ้อนท้ายไปกับคาราบาว คนบิดมอเตอร์ไซค์มาดูคอนเสิร์ตในงานวัดแล้วอยู่ ๆ ก็ได้รางวัลตั๋วบินฟรี ชาวบ้านหรือชาวนาใครบ้างจะไม่ตื่นเต้น ตรงนี้เป็นจุดเริ่มที่เราเข้าถึงรากหญ้า ผ่านมา 7 ปีเรากวาดตลาดสามเหลี่ยม A, B, C มาเกือบหมด มีส่วนแบ่งตลาดรากหญ้า 40-50%
ปี 2554 จะลองขยายตลาดลงไปหา กลุ่ม D เป็นกลุ่มชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ลองให้พวกเขาลองมาบินดูบ้างอาจจะเป็นแจกรางวัลเพื่อแนะนำตัวก่อนจากนั้นจึง เริ่มสร้างความคุ้นเคยที่จะนั่งเครื่อง เพราะตอนผมไปสิงคโปร์ ฮ่องกง คุยกับคนขับแท็กซี่ 60% เคยขึ้นเครื่องมาเที่ยวเมืองไทย หรือฝรั่งตะวันตก คนกวาดถนน เก็บขยะ มาเที่ยวเมืองไทยตั้งมากมาย
จากการพยากรณ์ของ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ระบุชัดเจนว่า การทำโลว์คอสต์ตลาดรากหญ้าเป็นลูกค้าสำคัญที่สุด เราตั้งเป้าจะทำอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยให้ได้ 80-90% เมื่อปี 2553 ทำได้ 80% ยังไม่สะใจ ปี 2554 จะต้องถึง 85%
- จะประสบความสำเร็จโดยเก่งอยู่คนเดียวหรือใช้วิธีอื่นด้วย
ผม เพิ่งประชุมกับหัวหน้าทุกแผนกว่า ถ้ามีอะไรคาใจหรือแรงกดดันไม่ว่าจะเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว หรือเรื่องไหนก็ได้ เปิดประตูเข้ามาคุยกับซีอีโอได้ทุกเรื่อง ผมตั้งเป้าจะทำให้พนักงานในบริษัทนี้ทุกคนแฮปปี้ก่อนด้วยการเปิดห้องคุยช่วย แก้ไขไปด้วยกัน
ดีเดย์ตั้งแต่ 1 พฤษภาคมนี้ เราจะต้องเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่พนักงานแฮปปี้ที่สุด ตื่นเช้าขึ้นทุกคนอยากมาทำงาน
ผมได้ปอกเปลือกชีวิตและเรื่องราวไทย แอร์เอเชียจนหมดแล้ว ต่อไปก็เลิกมองผมเป็นนักธุรกิจนอมินีเสียทีนะครับ
หน้า 26