มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 17, 2010 11:48 pm
มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 00574.html
(ดูในพันทิป ตามลิ้งที่ให้มา จะดูง่ายกว่านะครับ มีรูปภาพประกอบชัดเจน เข้าใจง่าย)
เครดิตคุณ Crazy Rabbit แห่ง Pantip นะครับ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 00574.html
(ดูในพันทิป ตามลิ้งที่ให้มา จะดูง่ายกว่านะครับ มีรูปภาพประกอบชัดเจน เข้าใจง่าย)
เครดิตคุณ Crazy Rabbit แห่ง Pantip นะครับ
มาทำความรู้จักกับ QE (Quantitative Easing)
ผมลองกลับไปนั่งเปิด Text Book เกี่ยวกับ Macroeconomics และ Monetary Policy ที่ใช้ในหลักสูตรปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ ปรากฏว่าไม่มีคำ Quantitative Easing อยู่เลย แสดงว่าผมเข้าใจถูกแล้วว่า อาจารย์ผมไม่ได้สอนเรื่องนี้ในห้องเรียนแน่ๆ
Quantitative Easing หรือ QE เป็นคำที่ปรากฏในสื่อบ่อยมากในช่วงหลังๆ ในสมัยก่อน ถ้าเราอยู่ใน Liquidity Trap นโยบายการเงินที่เน้นเรื่องอัตราดอกเบี้ยไม่มีผลแล้วเพราะดอกเบี้ยติดดิน จะทำให้เป็นลบก็ไม่ได้ ธนาคารกลางซึ่งดูแลการเงินก็ดูเหมือนจะหมดมุข ต้องปล่อยให้นโยบายการคลังของรัฐบาลเป็นพระเอก แต่ในยุคที่นโยบายการคลังก็ไปต่อไม่ได้แล้วเนื่องจาก หนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูงมาก คำตอบจึงออกมาที่ QE
QE คืออะไร ตอบแบบสั้นๆ คือการที่ธนาคารกลางเพิ่มเงินปริมาณมหาศาลเข้าสู่ระบบโดยตรง ด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์ คือตราสารทางการเงินต่างๆในตลาดอย่างจริงจัง มีผลทำให้งบดุล (Balance Sheet) ของธนาคารกลางบวมเป่ง ทั้งทางฝั่ง Asset (ตราสารที่ซื้อเข้ามา) และฝั่ง Liability (เงินที่จ่ายออกไป) ปกตินโยบายการเงินแบบเดิมๆไม่ได้ทำให้เกิดผลแบบนี้ และ Balance Sheet ของธนาคารกลางจะค่อนข้างทรงๆไม่ได้มีการแปลงมาก
ฝรั่งมักจะใช้คำว่า สร้างเงินขึ้นมาจาก Thin Air หรืออากาศบางๆ เพราะ เงินที่จ่ายออกไป ธนาคารกลางสร้างขึ้นมาจากความว่างเปล่า นอกจากนี้ เพดานในการทำ QE ดูเหมือนจะไม่มี จะเห็นได้ว่า Balance Sheet มันบวมได้อย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ทำให้ตัวเลข Public Debt แย่ลง เพราะซื้อตราสารที่มีอยู่แล้วในตลาด หนี้สาธารณะเค้าดูที่รัฐบาล ไม่ได้ดูที่ธนาคารกลาง
แต่ ... เงินเฟ้อในอนาคตที่จะเกิดจาก QE มีโอกาสทำให้หนี้ของรัฐบาลบาลสูงขึ้นได้
นอก จากนี้นโยบายการเงินปกติของธนาคารกลางจะเน้นที่ดอกเบี้ยระยะสั้นเท่านั้น เช่นของ BOT คือ RP-1 หรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรข้ามคืน หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ธนาคารกลางไม่สามารถควบคุมดอกเบี้ยระยะยาวได้ ในกรณีของ QE จะมีการซื้อตราสารระยะยาวด้วย ทำให้ yield ทุกช่วงเวลาลดลง
BOE (Bank of England) หรือธนาคารกลางของอังกฤษทำรูปนี้สวยดี เค้าแสดงให้เห็นกลไกการส่งผ่านของมาตรการ QE ไปสู inflation target 2% ของเค้า ตอนนี้อังกฤษ 3% แล้ว ไม่รู้ว่ายังจะทำอยู่หรือเปล่า (BOE เริ่มซื้อ asset เพิ่มตั้งแต่ปลายปี 2008 หรือต้นปี 2009 นี่แหละ)
องดู QE1 ของ Federal Reserve หรือเฟดเป็นตัวอย่าง (Ben Bernanke พยายามใช้คำว่า Credit Easing แต่ไม่ติดตลาด) หลังจากเฟดลดดอกเบี้ย Fed Fund Rate ซึ่งเป็นดอกเบี้ยนโยบายของเค้าอย่างรวดเร็วจนเหลือ 0-0.25% (ถึงตรงนี้อยากให้ทำความเข้าใจ BOJ ไม่ได้ลดดอกเบี้ยเหลือ 0 ตามที่หลายคนเอามา post แต่เป็น 0-0.1% นะครับ) เฟดก็จัด QE1 ให้โดยกว้านซื้อตราสารนานาชนิดเข้ามาเก็บ รวมถึงพวก Toxic Asset อย่าง Mortgage Backed Securities (MBS) ต้นตอของปัญหา subprime ด้วย เดิม Balance Sheet ของเฟดมี asset อยู่ประมาณ 800 พันล้าน US$ เท่านั้น เพิ่มขึ้นมาเป็น 2.3 ล้านล้าน US$ อย่างรวดเร็ว ข้อดีของ QE คือมันเร็ว และไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาด
ประเด็นสำคัญในการทำ QE คือ ตราสารที่จะเข้าซื้อนั้นอาจต้องมีมูลค่าสูงมากและทำอย่างต่อเนื่อง เพราะมันจะมีตราสารใหม่เข้ามาในตลาดเรื่อยๆ นอกจากนี้ต้องหยุดซื้อเมื่อถึงเวลาสมควร
พันธบัตรเหล่านี้ส่วนใหญ่ เวลาขายกลับคืนสู่ตลาดจะได้ราคาต่ำกว่าเดิมค่อนข้างแน่ เพราะธนาคารแทรกแซงในเวลาที่ดอกเบี้ยต่ำมาก เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติและ yield ปรับสูงขึ้น ธนาคารกลางก็จะต้องรับผลขาดทุน ซึ่งผมมองว่า การขาดทุนทางบัญชีของธนาคารกลางไม่ค่อยมีความหมายอะไร เพราะพี่เขาพิมพ์เงินได้เองอยู่แล้ว
แต่เฟดไม่ได้เป็นธนาคารกลางแห่งแรกที่ใช้ QE ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ (ถ้าจะถามว่า ใครใช้ก่อนในโลกจะตอบยาก ในช่วงปี 1930 สหรัฐก็ทำอะไรประมาณนี้ แต่อังกฤษอาจจะบอกว่าเราทำมา 200 ปีแล้ว) แต่เป็นญี่ปุ่นซึ่งต่อสู้กับภาวะเงินฝืดมาเป็นทศวรรษ เริ่มใช้มาตรการ QE ในปี 2001 โดย BOJ โกยพันธบัตรรัฐบาลมาเก็บและถีบเงินออกไปสู่ระบบ จากเดิม Balance Sheet มีขนาด 5 ล้านล้านเยน พุ่งพรวดไปเป็น 35 ล้านล้านเยนภายในเวลา 3 ปี และคงอยู่อย่างนั้นจนถึงปี 2006 ในปัจจุบัน BOJ unwind position ของตนเองเกือบหมดแล้วและ Balance Sheet หดกลับมาอยู่ที่ 8 ล้านล้านเยน แต่ในอนาคตไม่แน่ว่า ญี่ปุ่นจะมี QE2 หรือไม่
ที่แน่ๆ ตลาดคาดว่า สหรัฐจะมี QE2 ก่อน
นักเศรษฐศาสตร์บางคนพยายามจะบอกว่า QE ไม่ใช่การพิมพ์เงิน (Money Printing) ถ้ามุ่งเน้นที่การซื้อตราสารที่มีซื้อขายอยู่แล้วใน secondary market แต่ถ้ารัฐบาลจะออกพันธบัตรใหม่บอกให้แบงค์ชาติมาซื้อ นี่จึงนับเป็นการพิมพ์เงิน
ผลมันอาจจะคล้ายๆกันคือปริมาณเงินใน ระบบสูงขึ้น ถ้าทำให้ภาวะปกติจะนำไปสู่ Hyper Inflation แต่อย่างไรก็ตามคำว่า พิมพ์ นี้ไม่ได้เงินขึ้นจริง transaction ที่เกิดขึ้นเป็น electronics ทั้งหมด
เมื่อมองในภาพรวมแล้วการปล่อย สภาพคล่องจำนวนมหาศาลจากการเพิ่มฐานเงินเข้าไปในระบบก็อาจก่อให้เงินภาวะ เงินเฟ้อสูงขึ้นมากในอนาคตได้ และธนาคารกลางก็จะต้องหาทางจัดการดูดสภาพคล่องกลับให้ทันสถานการณ์ก่อนที่จะ เกิดปัญหา ซึ่งการกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมของ Exit Policy นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก
QE ได้ผลจริงเหรอ?
มีความเห็นไปต่างๆนานา เนื่องจากรู้ไปมันอาจจะประยุกต์กับการลงทุนของเราไม่ได้ ตอบสั้นๆว่า มีดีกว่าไม่มี และมันมีโอกาสจะทำให้เกิด asset bubble ในการลงทุนเราสนใจเฉพาะ fund flow จาก QE เท่านั้น
จะเห็นได้ว่าเฟดจริงๆ ยังไม่ได้ทำ QE2 แต่ตลาดเชื่อว่าจะทำ ทำไมเค้าถึงเชื่อแบบนี้ เรารู้มาแล้วว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐยังทรงๆ โดยเฉพาะการว่างงานที่เกิน 9% มาหลายเดือน (http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 88576.html) ผมลอกรายงานการประชุมของเฟดสองครั้งล่าสุดมาให้ดูเลย
10 สิงหาคม 2010
เฟด ประกาศคง Balance Sheet ไว้เท่าเดิม แม้จะได้รับเงินต้นคืนจากพวก MBS โดยจะนำเงินนั้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้เพื่อไม่ให้สภาพคล่องหายไปจากระบบ
To help support the economic recovery in a context of price stability, the Committee will keep constant the Federal Reserve's holdings of securities at their current level by reinvesting principal payments from agency debt and agency mortgage-backed securities in longer-term Treasury securities.1 The Committee will continue to roll over the Federal Reserve's holdings of Treasury securities as they mature.
21 กันยายน 2010
เฟด ประกาศเตรียมพร้อมที่จะมาตรการเพิ่มเติม ถ้าจำเป็น เพื่อที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และเพื่อ นำเงินเฟ้อกลับมา เป็นคำประกาศที่ฟังดูตลกดี แต่เงินเฟ้อเป็นที่ต้องการกว่าเงินฝืดนะ
The Committee will continue to monitor the economic outlook and financial developments and is prepared to provide additional accommodation if needed to support the economic recovery and to return inflation, over time, to levels consistent with its mandate.
เจอสองประกาศนี้ไป ตลาดคาดการณ์ว่า มี QE2 แน่นอน ดูได้จาก US$ ที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง และ Asset หลายๆตัวเริ่มกลับมามีฟองปุดๆอีก
ใครขยันอยากดูต้นฉบับ Minutes http://www.federalreserve.gov/monetaryp ... endars.htm
2 พฤศจิกายน 2010
ประชุม FOMC คร้งต่อไป ยังไม่รู้ว่าจะเอายังไง Ben Bernanke รู้ว่า คำพูดตัวเองมีผลมาก ก็เลยพูดน้อยลง ปกติคนระดับนี้เค้าจะระวังคำพูดมากเพราะมีผมต่อตลาด แต่หลังการประชุมในเดือนสิงหาคม William Dudley ประธานเฟดนิวยอร์ค ซึ่งเป็นสมาชิกที่สิทธิ Vote ด้วย บอกว่า ตัวเลขการว่างงานระดับนี้ รับไม่ได้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนตีความออกมาว่า นี่แหละคือ Strong Signal ของ QE2 ถึงแม้ประธานเฟดบางสาขาจะไม่เห็นด้วย
Bill Gross King of Bond CEO ของ Pimco กองทุนพันธบัตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก บอกว่า มี QE2 แน่นอน น่าจะออกมาเป็นค่อยๆซื้อ เดือนละ 100 พันล้าน US$ ทำไปจนกว่าจะแน่ใจว่าได้ผล (หรือไม่ก็เงินเฟ้อมีทีท่ากระฉูด และต้อง exit) ซึ่งอาจจะขึ้นไปถึง 1 ล้านล้าน US$
BNP Paribas คาดว่า เฟดน่าจะเริ่มต้นที่ตัวเลข 500 พันล้าน US$ และโอกาสค่อยๆปรับเพิ่มขึ้นในอนาคตมากกว่าจะปรับลง
Goldman Sachs บอกคล้ายๆกันว่า ภายในครึ่งปี 2011 เฟดน่าจะซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE2 ไปทั้งสิ้น 500 พันล้าน US$ และเตรียมพร้อมจะซื้อมากกว่านี้อีก
ตาม ความเห็นผม (หุหุ เป็นผุ้เชี่ยวชาญกับเค้าตอนไหนฟะ) QE2 น่าจะมี เพราะเหลือเวลาอีกเพียงสองสัปดาห์ ไม่น่าจะมีตัวเลขเศรษฐกิจออะไรที่ออกมาดีมากๆจนทำให้เชื่อว่า ไม่ต้องกระตุ้นอะไรเพิ่มแล้ว
แต่เรื่อง QE นี้ตลาด priced-in ไปเยอะแล้ว ถ้าออกมาผิดคาด ระวังจะ "แรง"
เมื่อ ตลาดเชื่ออย่างนั้น แล้วผลคือเงินไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ ยังมีแรงส่งต่อไป ทั้งจากความเชื่อที่ว่าปริมาณเงินจะถูกสร้างขึ้น และไหลเป็น Carry Trade มาอยู่แถวนี้ ผมเคยบอกหลายวันก่อนแล้วว่า ความเชื่อที่ว่าฝรั่งต้องซื้อกี่หมื่นล้านจึงขาย หรือขายเท่าไหร่จึงจะซื้อนั้นเหลวไหล เพราะเงินในโลกไม่ได้มีเท่าเดิม (มีคนบอกว่า ฝรั่งไม่ซื้อพันธบัตรไทยแล้วจะหันมาซื้อหุ้นไทย ผมว่าเหลวไหลเช่นเดียวกัน)
ทางด้านตลาดพันธบัตร เมื่อนักลงทุนเชื่อว่า เฟดจะเข้ามาซื้อ ทุกคนจึงซื้อไล่ดักหน้าทำให้ราคาพันธบัตรทุกช่วงอายุสูงขึ้น และ yield ต่ำลงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ Spread ของ Yield ใน emerging market กับของ advanced economies สูงขึ้นมาก เงินจึงไหลมากินส่วนต่าง ดังนั้นถ้าอยากจะให้ส่วนนี้หยุด เราอาจจะต้องหยุดขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน
เดา ต่อไปเพื่อให้มีประโยชน์ต่อการลงทุน มาตรการกุ๊กไก่ของรัฐบาลไม่ได้ผลแล้ว มีแต่ BOT ที่ยังไม่ได้พูดอะไร เค้า "อาจจะ" พูดในการประชุม กนง. วันที่ 20 ตุลาคมนี้ ว่า ขอหยุดขึ้นดอกเบี้ยก่อนนะ (เป็นไปได้เพราะหลายประเทศหยุดขึ้นไปแล้ว นอกจากนี้การว่างงานเราต่ำมาก เงินเฟ้อไม่สูงมาก) ซึ่งจะทำให้หุ้นบางกลุ่มกระโดดได้ ใส่ตัวคูณ Futures เข้าไป คิดแบบนี้อาจจะ Work ไม่ work แค่เสมอตัว
(วาดลูกศรแดงๆให้ สองลูก จริงๆผมต้องวาดในกราฟ inflation นะ เจ้าสิ่งนี้เรียกว่า disinflation ฟองสบู่ของสินทรัพย์ จะก่อตัวขึ้นในช่วงแบบนี้แหละ)