ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 23, 2010 2:54 pm
ใครๆ ก็มักรู้แล้ว ว่าวันนี้อาจารย์นิเวศน์ประสบความสำเร็จในการลงทุน
มีบทความในกรุงเทพธุรกิจ post ลงใน pantip และ copy ลง bloggang อีกที บังเอิญไปเจอมา เอามาฝากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาว VI
เผื่อเป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนแนว VI ให้เชื่อมั่นว่าทำได้จริง โดยไม่ต้องใช้โชคช่วย
เป็นแรงประคองจิตใจตอนไขว้เขว เผลอออกนอกลู่นอกทาง (ที่มือใหม่อย่างผมเป็นบ่อยๆ :D )
เหมือน rewind เทป กลับไปนั่งฟังดร. พูดตั้งแต่ปี 2545 ...5 ปีหลังจากลงทุน หลังวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ตอนนั้่น
แต่ตอนนี้
ผลงานจริง: มากกว่า 50 เท่า (30.8M->1,589M) ใน 13 ปี
อายุยังแค่ 57 เอง (2553->2496)
หมายถึง ตอน 70 ไปได้ไกลกว่านี้อีกหลายขุม เพราะอีกครึ่งทาง ไม่ได้หมายความว่าจะเพิ่มอีกเท่าตัว....เพราะเป็นการทบต้น
และตอนนี้
ตลาดหุ้นใน 'มุมมองใหม่' ของ 'เสือเก่า'
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=44695
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=44683
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... sc&start=0
สรุปพอร์ต8ปีของ 2นิ+1น ผู้ยิ่งใหญ่>นิติ&นิเวศน์+นริศ
" ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"
"Value Investor" พันธุ์แท้ของเมืองไทย
ไม่เคยมีการจัดอันดับนักลงทุนที่เล่นหุ้นจนร่ำรวยที่สุดของเมืองไทย และถึงแม้จะมีการจัดอันดับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ก็คงไม่ใช่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแง่ของเม็ดเงิน แต่เขาคือบุคคลแรกที่ออกมาประกาศตัวเองว่าเป็น "Value Investor" หรือนักลงทุนแบบ "เน้นคุณค่าของตัวหุ้น" คนแรกในเมืองไทย
นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา ดร.นิเวศน์ พิสูจน์ให้เห็นว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่าหุ้น โดยไม่เก็งกำไรวูบวาบตามสภาพตลาด สามารถสร้างกำไรให้กับเขาได้ในอัตราเฉลี่ย 40% ต่อปี ชนะดัชนีตลาดหลักทรัพย์อย่างสบายๆ
เขาผู้นี้จบดอกเตอร์ด้านการลงทุน แต่กลับไม่ยอมรับความเป็นนักวิชาการ เพราะหลังจากที่อ่านตำราศึกษากลยุทธ์การลงทุนของนักยุทธศาสตร์การลงทุนชั้นนำของโลกมาหลายร้อยเล่ม ไม่ว่าจะเป็น เบนจามิน เกรแฮม, ฟิลิป ฟิเชอร์, วอร์เรน บัฟเฟตต์ ปีเตอร์ ลินช์ แม้กระทั่งจอร์จ โซรอส เขาก็ตกตะกอนเพียงพอที่จะหล่อหลอมความคิดด้านการลงทุนของเขาเป็นหนึ่งเดียว โดยมี "Value Investor" หรือนักลงทุนหุ้นมูลค่า เป็นคำตอบ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งงานปัจจุบันของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร คือ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย ฝ่ายสายงานบริหารความเสี่ยงและนโยบาย แต่เป้าหมายชีวิตอันใกล้ของอดีตเอ็มดีบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งคร่ำเคร่งกับการเฟ้นหาหุ้นดีของตลาดหุ้นไทยมาหลายปีดีดักก็คือ การก้าวสู่การเป็นนักเลงหุ้นมูลค่า หรือ Value Investor อย่างเต็มตัว
ดร.นิเวศน์ รักอาชีพ "นักลงทุน" เป็นชีวิตจิตใจ และต้องต่อสู้กับความขัดแย้งในตัวเองมาหลายปี "อาชีพนักลงทุนยังไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม และถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคง" ดร.นิเวศน์ บอกถึงต้นเหตุของความสับสนในใจในช่วงก่อนหน้านี้ไว้อย่างนั้น
มาถึงวันนี้ ดร.นิเวศน์ ตั้งใจแน่วแน่ว่าอยากจะมีเงินสัก 1,000 ล้านบาท ซึ่งเขาบอกว่ามันไม่ใช่แค่ความฝันที่เลื่อนลอย ด้วยความมั่นใจว่าเงินหนึ่งพันล้านบาทเป็นไปได้สำหรับทุกคน "ถ้าคุณมีความตั้งใจจริง"
ความฝันใกล้ความจริงมากขึ้นทุกขณะ เมื่อ ดร.นิเวศน์ เริ่มวางแผนการลงทุน เพื่อ "ใช้เงินทำงาน" ภายหลังปลดเกษียณตัวเองออกจากงานประจำ เขาเริ่มวางแผนนี้อย่างจริงจังเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมานี้เอง
เส้นทางการลงทุนแบบ Value Investor ของ ดร.นิเวศน์ เกิดขึ้นภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เขาค้นพบว่ามีหุ้นราคาถูกจำนวนมากมาย ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม แต่ไม่มีใครสนใจ เรียกว่าซื้อไปแล้วมั่นใจ 100% ว่าปลอดภัย บางบริษัทแค่จ่ายปันผลอย่างเดียวก็คุ้มค่า
ประสบการณ์นี้เขาซึมซับมาจากหนังสือการลงทุนที่เขาเก็บสะสมไว้นับร้อยเล่ม "วอร์เรน บัฟเฟตต์" หรือ "ปีเตอร์ ลินช์" ก็ล้วนมีจุดกำเนิดแห่งความสำเร็จมาจากวิกฤติใหญ่แทบทั้งสิ้น
"หลังเกิดวิกฤติใหม่ๆ มีหุ้นให้เลือกเยอะมาก ถูกจนกระทั่งผมบอกกับภรรยาว่าเราจะหาโอกาสอย่างนี้ไม่ได้อีกแล้ว"
ขณะที่นักลงทุนคนอื่นกลัว แต่เขากลับแปร "วิกฤติ" นี้ให้เป็น "โอกาส"
ก่อนหน้านั้น ดร.นิเวศน์ เคยใช้รูปแบบการลงทุนที่หลากหลายซึ่งรวมถึงการเก็งกำไร แต่แล้วก็พบว่ามันไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง "ถ้าคุณมีเงินลงทุนก้อนโตมากขึ้นเรื่อยๆ โอกาสจะไปให้ถึงเป้าหมายก็ยากมากขึ้นทุกที"
เงินลงทุนของ ดร.นิเวศน์ถูกจัดตั้งเหมือนกองทุนส่วนตัว เขาจะใส่เงินลงไป 100% เต็มของเงินที่ถูกแบ่งเอาไว้เพื่อการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งหมด และมีเป้าหมายว่าจะไม่ถอนมันออกมาใช้จ่ายเลยตลอดชีวิต เงินกำไร หรือเงินปันผลจะถูกทบต้นเข้าไป
ในทางทฤษฎี นี่คือ วิธีการ "Reinvestment" หรือการนำดอกผลไปลงทุนต่อ สร้างดอกผลทบต้นไปเรื่อยๆ
เพาพิลาส ภรรยาของ ดร.นิเวศน์ มีความคิดเหมือนกับคนไทยทั่วไป คือ อยากให้สามีทำธุรกิจส่วนตัวมากกว่า "เขามักถามผมว่า ทำไมไม่ทำธุรกิจบ้าง ผมตอบว่าผมทำอยู่แล้ว!!!" ธุรกิจส่วนตัวของ ดร.นิเวศน์ หมายถึงการเลือกซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และพอใจที่จะเป็นหุ้นส่วนของกิจการที่เขารู้สึกว่าประสบความสำเร็จอยู่แล้วย่อมดีกว่า
แม้ภรรยาอยากทำธุรกิจแต่สามีกลับเลือกที่จะซื้อหุ้นไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ หรือหุ้น "มาม่า" หุ้นเพรซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ ผู้ผลิตมาม่าเส้นขาว และขนมปังฟาร์มเฮ้าส์ หุ้นไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นส์ ผู้ผลิตซีเล็คทูน่า และปลาเส้นฟิชโช หุ้นเสริมสุขผู้ผลิตและจำหน่ายเป๊ปซี่
หุ้นไทยวาโก้ ผู้ผลิตชุดชั้นใน หุ้นไทยสแตนเลย์ ผู้ผลิตโคมไฟรถยนต์ นอกจากนี้เขายังซื้อหุ้นปูนซิเมนต์ไทย หุ้นแบตเตอรี่ 3K หุ้นยางกู๊ดเยียร์ หุ้นพิซซ่า และอีกหลายกิจการ
ดร.นิเวศน์ บอกกับเพาพิลาส ภรรยาของเขาว่า "บริษัทของเราก็ดีๆ ทั้งนั้น "
นับจากเริ่มลงทุนเมื่อปี 2540 จนถึงปัจจุบัน เงินลงทุนของ ดร.นิเวศน์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 40% เหนือกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละไม่ถึง 10% ต่อปี
ดร.นิเวศน์ ซึ่งร่ำเรียนจนจบดอกเตอร์ทางด้านการลงทุนโดยตรงมาจาก มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี สหรัฐอเมริกา เริ่มไม่เชื่อในทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market Theory) ว่าใช้ได้จริงในตลาดหุ้นไทย
"ผมเรียนมาทางด้านการลงทุนโดยตรง แต่นักวิชาการทางด้านการลงทุนโดยตรงเดี๋ยวนี้ผมไม่ยอมรับแล้ว เพราะคนที่เรียนมาจะมีความคิดเรื่องทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผมไม่ค่อยเชื่อ ผมเชื่อว่าเราสามารถชนะตลาดได้"
อย่างหุ้นไทยสแตนเลย์ เขาเริ่มซื้อที่ราคา 12 บาท เมื่อราคาขึ้นมาที่ 40 บาท คนอื่นขายแต่เขากลับซื้อเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เพราะยังเชื่อว่า "มาร์เก็ตแค็ป" ยังต่ำกว่า "มูลค่าของกิจการ" ปัจจุบันราคาหุ้นตัวนี้ซื้อขายที่หุ้นละ 93 บาท
หุ้นเสริมสุข เป็นอีกตัวหนึ่งที่ทำกำไรให้กับเขาจำนวนมาก เขาเริ่มซื้อหุ้นตัวนี้ที่ราคา 105 บาท และซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากตอนที่ราคาหุ้นตกลงมาเหลือ 70-71 บาท ปัจจุบันราคาหุ้นขึ้นไปสูงถึง 236 บาท เขาก็ยังไม่ได้ขายออกแม้แต่หุ้นเดียว เพราะฉะนั้นในพอร์ตของ ดร.นิเวศน์ทุกวันนี้ จึงไม่มีหุ้นที่ขาดทุนเลยแม้แต่ตัวเดียว
เขาบอกว่า "จะมีหุ้นขาดทุนได้ยังไง! เพราะผมถือคติว่าหุ้นที่ไม่ดีจะไม่ถือเอาไว้ในพอร์ตเด็ดขาด"
จึงไม่ใช่เรื่องเกินเลยถ้าเขาจะฝันว่าในวัย 70 ปี ตัวเองจะมีเงิน 1,000 ล้านบาท ด้วยวิธีการลงทุนแบบทบต้น บนสมมติฐานที่ว่าหุ้นในพอร์ตของเขาต้องทำกำไรทบต้นให้ได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าปีละ 15% ตลอด 20 ปีนับต่อจากนี้
"ถ้าปีหนึ่งๆ พอร์ตของผมโตขึ้น 15% ทุก 7 ปีจะโตขึ้นเท่าตัว และภายใน 21 ปี จะโตขึ้น 8 เท่าตัว"
ดร.นิเวศน์ คิดว่าตัวเองน่าจะมีอายุถึง 80 ปี และแม้จะไม่มีการเปิดเผยถึงเม็ดเงินลงทุนในปัจจุบัน แต่มันก็คงมากโข "ทุกวันนี้ผมไม่จำเป็นต้องทำงานประจำ เฉพาะเงินปันผลก็พอเลี้ยงครอบครัวได้แล้ว"
ทุกปี ดร.นิเวศน์จะพาครอบครัวเดินทางไปพักผ่อนยังต่างประเทศปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อเป็นรางวัลให้แก่ชีวิต แต่จะเลือกตีตั๋วชั้นประหยัดทุกครั้ง
"ผมว่านั่งชั้นบิสซิเนส หรืออีโคโนมี ก็ไปถึงเหมือนกัน ปลอดภัยเท่ากัน ผมมองว่าความสุขมันอยู่ที่ใจ ทุกวันนี้ผมไม่ได้ขี้เหนียว แต่ผมชอบความเรียบง่ายมากกว่า"
จากคุณ : ปีเตอร์ ชาง - [21 พ.ค. 45 20:44:26 A:202.133.156.18 X:]
ความคิดเห็นที่ 2
คนที่คิดแบบ Value Investor จะคิดอะไรที่มีเหตุผล คิดถึงผลตอบแทน คิดถึงความคุ้มค่าของการลงทุน ผมคิดว่าถ้าคุณเป็น Value Investor จริงๆคุณจะไม่ซื้อ เบนซ์ S 500 ขับหรอก! เพราะวิธีคิดของนักลงทุน Value โดยจิตวิญญาณ จะใช้ชีวิตแบบธรรมดาๆ
ผลตอบแทน 5 ปีที่ผ่านมา ผมกล้าพูดได้เลยว่าเยอะมาก แต่ก็ไม่ได้ใช้ ผมใช้เงินเดือนประจำ แต่ไม่ได้ประหยัด ยังไปเที่ยวต่างประเทศทุกปี แต่จะไม่ฟุ่มเฟือย ถ้าเราไม่ทำงานเป็นผู้บริหารอย่างมากผมก็ซื้อรถธรรมดา ไม่เคยอยากซื้อรถเบนซ์อย่างที่นั่งอยู่ตอนนี้"
ความตั้งใจของ ดร.นิเวศน์ จะลงทุนไปจนกว่าตัวเขาจะตายจากโลกนี้ไป "ผมคิดว่านักลงทุน Value ส่วนใหญ่คิดอย่างนี้ หลายคนบอกว่าลงทุนแบบอาจารย์ไม่ไหวหรอก! กำไรแล้วไม่ได้ใช้จะเล่นหุ้นไปทำไม! ผมก็บอกว่าผมก็ใช้ชีวิตเหมือนปกติ ความสุขของผมไม่ได้อยู่ที่การเอาเงินไปซื้อ ความสุขของผมเหมือนกับคุณตีกอล์ฟแล้วคุณได้คะแนนดีขึ้นเรื่อยๆ
มันเป็นความสุขจากการได้เห็น Score ของตัวเองเพิ่มขึ้นๆ ถ้าใครก็ตามเริ่มตั้งโจทย์ว่าถ้าลงทุนรวยแล้วจะเอาเงินไปซื้อความสุข นี่เป็น Value Investor ไม่ได้ เพราะแค่เริ่มต้นก็ผิดแล้ว"
หุ้นแต่ละตัวที่ซื้อจะถือลงทุนเฉลี่ยประมาณ 2 ปีขึ้นไป บางตัวถือเอาไว้ตั้งแต่ปี 2540 ถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้ขายออกจากพอร์ต
ยิ่งพอร์ตใหญ่มากขึ้น หุ้นที่จะลงทุนก็ต้องเลือกหุ้นที่ดีเยี่ยม และต้องไม่กระจายการลงทุนในหุ้นมากตัวจนเกินไป "ทุกวันนี้ผมลงทุนในหุ้นประมาณ 20 ตัว แต่ลงทุนมากๆ มีแค่ 5-6 ตัว นอกนั้นลงทุนตัวละไม่เกิน 3-5 ล้านบาท การลงทุนที่มากเกินไปโอกาสเติบโตของพอร์ตจะยาก"
กลยุทธ์ของ ดร.นิเวศน์ ก็คือ หุ้นที่ถืออยู่ถ้ามันดี ไม่ต้องหมุนบ่อยมันก็จะโตขึ้นด้วยตัวของมันเอง แต่ถ้าหุ้นตัวไหนเริ่มอืดมองดูแล้วว่าระยะยาวจะโตช้าเขาก็จะค่อยๆ ขายออก และเปลี่ยนตัวไปเรื่อยๆ ดร.นิเวศน์จะให้น้ำหนักในการดูที่ "มาร์เก็ตแค็ป" อย่างมาก เพราะเขาเชื่อว่า มาร์เก็ตแค็ป คือ ภาพสะท้อนของหุ้นทั้งบริษัท
"ถ้าคุณเลือกหุ้นที่มีมาร์เก็ตแค็ปต่ำมากเมื่อเทียบกับยอดขาย มีแนวโน้มว่าหุ้นตัวนั้นราคาจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่ใช่กฎที่ตายตัว เพราะสินค้าแต่ละตัวมีมาร์จินไม่เหมือนกัน"
บนความเชื่อที่ว่าการเลือกซื้อหุ้นดีๆ และถือไว้สักระยะหนึ่งตราบเท่าที่ราคาของหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าของกิจการ ทำให้ ดร.นิเวศน์จะไม่ขายหุ้นที่มีกำไรต่ำกว่า 30% ออกจากพอร์ต เขาจะรอคอยด้วยความอดทนจนกว่าโอกาสที่ยิ่งใหญ่จะมาถึง
"ถ้ามั่นใจว่าหุ้นตัวนั้นดีจริง ราคาจะต้องสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของมันออกมาในที่สุด โดยปกติผมจะไม่ได้ตั้งเป้ากำไร แต่การที่ผมมองเป้าหมายระยะยาว ถ้าเราซื้อมา 100 บาท เราต้องมองไปข้างหน้าอย่างต่ำ 180-200 บาท เพราะฉะนั้นถ้าราคาหุ้นขึ้นมาที่ 120 บาท ผมจะไม่มีทางขายเลย เพราะผมรู้ว่ามันยังมีมาร์จินอีก 80 บาท" เขากล่าว
"ถ้าหุ้นตัวนี้เราเคยซื้อที่ พี/อี เรโช 5 เท่า มันขึ้นมา 7 เท่า เราก็บอกว่ามันยังถูก แต่ถ้าขึ้นมา 10 เท่าก็ต้องระวังแล้ว หุ้นที่ผมซื้อจะต้องมีมาร์เก็ตแค็ปต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นของกิจการมากๆ"
แนวคิดการลงทุนส่วนใหญ่ของ ดร.นิเวศน์จะเอนเอียงไปทางวอร์เรน บัฟเฟตต์มากที่สุด
บัฟเฟตต์ไม่ใช่เพียงต้นแบบของ Value Investor รุ่นใหม่ที่อยู่ในใจของ ดร.นิเวศน์เท่านั้น แต่บัฟเฟตต์ยังเป็นต้นแบบของ Value Investor ที่อยู่ในใจของนักลงทุนทั่วทั้งโลก ในฐานะนักเล่นหุ้นที่ยิ่งใหญ่ และร่ำรวยเป็นอันดับ 2 ของโลก
เฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ คนเดียว ดร.นิเวศน์ มีอยู่ในตู้หนังสือเกือบ 10 เล่ม
"แนวคิดที่ผมนำมาใช้ผมจะยึดของหลายคนมาก แต่ยึดแนวทางของวอร์เรน บัฟเฟตต์มากที่สุด ผมศึกษากลยุทธ์ และวิธีการลงทุน รวมถึงปรัชญาคิดของเขา ต้องยอมรับว่าเขาสุดยอดจริงๆ"
ดร.นิเวศน์ อธิบายถึงบุคลิกของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ว่าเป็นอะไรที่แปลกมาก มูลค่าหุ้นของเขาเป็นล้านล้านบาท แต่เขากลับจ่ายเงินเดือนให้กับตัวเองเพียงปีละ 1-2 แสนดอลลาร์เท่านั้นเอง และไม่เคยขายหุ้นของตัวเองเลยตลอดชีวิต ชอบกินแมคโดนัลด์ ดื่มโค้ก ขับรถเก่าไปทำงานเอง ไม่มีเลขาหน้าห้อง บนโต๊ะทำงานไม่เคยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ดูราคาหุ้น ชอบใช้ชีวิตแบบเดิมๆ และคิดถึงผู้ถือหุ้นเป็นอันดับแรก
แนวคิดของบัฟเฟตต์แตกแขนงออกมาจากแนวคิดของเบนจามิน เกรแฮม ผู้ซึ่งแต่งตำราที่ถูกกล่าวขวัญมากที่สุดในหมู่ Value Investor ที่ชื่อ "The Intelligent Investor"
ดร.นิเวศน์ เชื่ออย่างที่เบนจามิน เกรแฮม เชื่อในกฎของ Margin of Safety หรือกันชนเพื่อความปลอดภัย การเลือกหุ้นของ ดร.นิเวศน์จึงนิยมเลือกหุ้นที่มีราคา Discount จากมูลค่าของกิจการมากๆ ไม่น้อยกว่า 40% และจะตั้งคำถามเสมอว่าถ้าลงทุนหุ้นตัวนี้ต่อไปอีก 5 ปี จะเป็นอย่างไร? ถ้าได้รับคำตอบว่าถึงหุ้นจะตกลง 30-40% ก็ไม่มีทางเจ๊ง นั่นหมายความว่าหุ้นตัวนั้นมี Margin of Safety แล้ว
เช่นเดียวกับที่เขานำกลยุทธ์การลงทุนบางส่วนมาจากหนังสือ "One Up on Wall Street" ที่เขียนขึ้นโดย "ปีเตอร์ ลินช์" เซียนหุ้นบรรลือโลก ดร.นิเวศน์ บอกว่า ทุกสัปดาห์ผมจะต้องเดินจับจ่ายตามห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต นอกจากเป็นเรื่องของการหาซื้อปัจจัยสี่เพื่อความอยู่รอดของชีวิตแล้ว เหตุผลสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นช่วงเวลาที่ผมใช้สำรวจสินค้าของบริษัทจดทะเบียนทั้งหลายที่ผมลงทุนอยู่ "แนวคิดนี้ผมได้มาจากปีเตอร์ ลินช์"
ดร.นิเวศน์จะบอกภรรยาและลูกว่า ถ้าจะดื่มน้ำอัดลมให้ดื่ม "เป๊ปซี่" ถ้าจะกินบะหมี่สำเร็จรูปให้เลือกยี่ห้อ "มาม่า" ซื้อขนมปัง "ฟาร์มเฮ้าส์" กินขนม "เอสแอนด์พี" และเดินเที่ยวเล่นที่ห้าง "มาบุญครอง" เพราะมันเป็นกิจการของพ่อ
ความภูมิใจของ ดร.นิเวศน์ในวันนี้ นอกจากการได้เห็น Score ของตัวเองเพิ่มขึ้นแล้ว ความภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ได้เห็น Value Investor เกิดมากขึ้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา หลังจากอ่านหนังสือ "ตีแตก" และอ่านบทความ "โลกในมุมมองของ Value Investor ที่เขียนลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ
"มีหลายคนอ่านแล้วบอกว่าประทับใจ บางคนบอกว่ามันจุดประกายให้กับเขา ในฐานะที่ผมเป็นส่วนหนึ่งที่บุกเบิก ผมก็ภูมิใจ และอยากเผยแพร่ไอเดียพวกนี้ให้กว้างขึ้น คิดว่าไอเดียพวกนี้เหมาะกับกลุ่มคนที่กินเงินเดือนประจำ ไม่มีทางออกเรื่องการลงทุนอย่างอื่น และไม่มีเวลาดูแลหุ้นทุกวัน การลงทุนแบบนี้จะเพิ่มทางเลือกและทำให้ชีวิตของเขาดีขึ้น"
ความฝันอีกอย่างหนึ่งของ ดร.นิเวศน์ ก็คือ เขาอยากจัดตั้งชมรม Value Investor อย่างเป็นทางการขึ้นในประเทศไทย
แนวคิดนี้เกิดขึ้นมานานแล้วแต่ก็ยังไปไม่ถึงไหน "ส่วนหนึ่งผมไม่ค่อยมีเวลาสานต่ออย่างจริงจัง แต่ผมก็ยังไม่ทิ้ง ทุกวันนี้ผมเป็นกรรมการของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ก็คิดว่าอาจใช้ช่องทางนี้ลองทำดู"
ชีวิตของชายผู้นี้อาจจะเป็นสิ่งที่แปลกแยก และแตกต่างจากใครหลายคน
เขาอยากมีเงิน 1,000 ล้านบาท แต่กลับไม่อยากใช้มัน
อยากเห็นเพียง Score ที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อยากเห็นการแตกตัวออกไปของสังคม Value Investor และภาคภูมิใจเพียงแค่การเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างมันขึ้นมา
และนี่คือความสุขที่แท้จริงของชายที่ชื่อ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" Value Investor พันธุ์แท้ของเมืองไทย
จากคุณ : ปีเตอร์ ชาง - [21 พ.ค. 45 20:44:50 A:202.133.156.18 X:]
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... =4&gblog=4
มีบทความในกรุงเทพธุรกิจ post ลงใน pantip และ copy ลง bloggang อีกที บังเอิญไปเจอมา เอามาฝากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาว VI
เผื่อเป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนแนว VI ให้เชื่อมั่นว่าทำได้จริง โดยไม่ต้องใช้โชคช่วย
เป็นแรงประคองจิตใจตอนไขว้เขว เผลอออกนอกลู่นอกทาง (ที่มือใหม่อย่างผมเป็นบ่อยๆ :D )
เหมือน rewind เทป กลับไปนั่งฟังดร. พูดตั้งแต่ปี 2545 ...5 ปีหลังจากลงทุน หลังวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ตอนนั้่น
และตอนนั้น"ถึงแม้จะมีการจัดอันดับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ก็คงไม่ใช่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแง่ของเม็ดเงิน"
จึงไม่ใช่เรื่องเกินเลยถ้าเขาจะฝันว่าในวัย 70 ปี ตัวเองจะมีเงิน 1,000 ล้านบาท ด้วยวิธีการลงทุนแบบทบต้น บนสมมติฐานที่ว่าหุ้นในพอร์ตของเขาต้องทำกำไรทบต้นให้ได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าปีละ 15% ตลอด 20 ปีนับต่อจากนี้
"ถ้าปีหนึ่งๆ พอร์ตของผมโตขึ้น 15% ทุก 7 ปีจะโตขึ้นเท่าตัว และภายใน 21 ปี จะโตขึ้น 8 เท่าตัว"
แต่ตอนนี้
ผลงานจริง: มากกว่า 50 เท่า (30.8M->1,589M) ใน 13 ปี
อายุยังแค่ 57 เอง (2553->2496)
หมายถึง ตอน 70 ไปได้ไกลกว่านี้อีกหลายขุม เพราะอีกครึ่งทาง ไม่ได้หมายความว่าจะเพิ่มอีกเท่าตัว....เพราะเป็นการทบต้น
และตอนนี้
ชีวิตเกษียณ 'เซียนหุ้น'(พันล้าน) มุ่งสู่ความยั่งยืนแวลูอินเวสเตอร์ มาถูกทาง และเป็นกลุ่มที่ทรงพลังในตลาดหุ้น
'เสี่ยยักษ์' วิชัย วชิรพงศ์
ตลาดหุ้นใน 'มุมมองใหม่' ของ 'เสือเก่า'
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=44695
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=44683
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... sc&start=0
สรุปพอร์ต8ปีของ 2นิ+1น ผู้ยิ่งใหญ่>นิติ&นิเวศน์+นริศ
" ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"
"Value Investor" พันธุ์แท้ของเมืองไทย
ไม่เคยมีการจัดอันดับนักลงทุนที่เล่นหุ้นจนร่ำรวยที่สุดของเมืองไทย และถึงแม้จะมีการจัดอันดับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ก็คงไม่ใช่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแง่ของเม็ดเงิน แต่เขาคือบุคคลแรกที่ออกมาประกาศตัวเองว่าเป็น "Value Investor" หรือนักลงทุนแบบ "เน้นคุณค่าของตัวหุ้น" คนแรกในเมืองไทย
นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา ดร.นิเวศน์ พิสูจน์ให้เห็นว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่าหุ้น โดยไม่เก็งกำไรวูบวาบตามสภาพตลาด สามารถสร้างกำไรให้กับเขาได้ในอัตราเฉลี่ย 40% ต่อปี ชนะดัชนีตลาดหลักทรัพย์อย่างสบายๆ
เขาผู้นี้จบดอกเตอร์ด้านการลงทุน แต่กลับไม่ยอมรับความเป็นนักวิชาการ เพราะหลังจากที่อ่านตำราศึกษากลยุทธ์การลงทุนของนักยุทธศาสตร์การลงทุนชั้นนำของโลกมาหลายร้อยเล่ม ไม่ว่าจะเป็น เบนจามิน เกรแฮม, ฟิลิป ฟิเชอร์, วอร์เรน บัฟเฟตต์ ปีเตอร์ ลินช์ แม้กระทั่งจอร์จ โซรอส เขาก็ตกตะกอนเพียงพอที่จะหล่อหลอมความคิดด้านการลงทุนของเขาเป็นหนึ่งเดียว โดยมี "Value Investor" หรือนักลงทุนหุ้นมูลค่า เป็นคำตอบ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตำแหน่งงานปัจจุบันของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร คือ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย ฝ่ายสายงานบริหารความเสี่ยงและนโยบาย แต่เป้าหมายชีวิตอันใกล้ของอดีตเอ็มดีบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งคร่ำเคร่งกับการเฟ้นหาหุ้นดีของตลาดหุ้นไทยมาหลายปีดีดักก็คือ การก้าวสู่การเป็นนักเลงหุ้นมูลค่า หรือ Value Investor อย่างเต็มตัว
ดร.นิเวศน์ รักอาชีพ "นักลงทุน" เป็นชีวิตจิตใจ และต้องต่อสู้กับความขัดแย้งในตัวเองมาหลายปี "อาชีพนักลงทุนยังไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม และถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคง" ดร.นิเวศน์ บอกถึงต้นเหตุของความสับสนในใจในช่วงก่อนหน้านี้ไว้อย่างนั้น
มาถึงวันนี้ ดร.นิเวศน์ ตั้งใจแน่วแน่ว่าอยากจะมีเงินสัก 1,000 ล้านบาท ซึ่งเขาบอกว่ามันไม่ใช่แค่ความฝันที่เลื่อนลอย ด้วยความมั่นใจว่าเงินหนึ่งพันล้านบาทเป็นไปได้สำหรับทุกคน "ถ้าคุณมีความตั้งใจจริง"
ความฝันใกล้ความจริงมากขึ้นทุกขณะ เมื่อ ดร.นิเวศน์ เริ่มวางแผนการลงทุน เพื่อ "ใช้เงินทำงาน" ภายหลังปลดเกษียณตัวเองออกจากงานประจำ เขาเริ่มวางแผนนี้อย่างจริงจังเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมานี้เอง
เส้นทางการลงทุนแบบ Value Investor ของ ดร.นิเวศน์ เกิดขึ้นภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เขาค้นพบว่ามีหุ้นราคาถูกจำนวนมากมาย ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม แต่ไม่มีใครสนใจ เรียกว่าซื้อไปแล้วมั่นใจ 100% ว่าปลอดภัย บางบริษัทแค่จ่ายปันผลอย่างเดียวก็คุ้มค่า
ประสบการณ์นี้เขาซึมซับมาจากหนังสือการลงทุนที่เขาเก็บสะสมไว้นับร้อยเล่ม "วอร์เรน บัฟเฟตต์" หรือ "ปีเตอร์ ลินช์" ก็ล้วนมีจุดกำเนิดแห่งความสำเร็จมาจากวิกฤติใหญ่แทบทั้งสิ้น
"หลังเกิดวิกฤติใหม่ๆ มีหุ้นให้เลือกเยอะมาก ถูกจนกระทั่งผมบอกกับภรรยาว่าเราจะหาโอกาสอย่างนี้ไม่ได้อีกแล้ว"
ขณะที่นักลงทุนคนอื่นกลัว แต่เขากลับแปร "วิกฤติ" นี้ให้เป็น "โอกาส"
ก่อนหน้านั้น ดร.นิเวศน์ เคยใช้รูปแบบการลงทุนที่หลากหลายซึ่งรวมถึงการเก็งกำไร แต่แล้วก็พบว่ามันไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง "ถ้าคุณมีเงินลงทุนก้อนโตมากขึ้นเรื่อยๆ โอกาสจะไปให้ถึงเป้าหมายก็ยากมากขึ้นทุกที"
เงินลงทุนของ ดร.นิเวศน์ถูกจัดตั้งเหมือนกองทุนส่วนตัว เขาจะใส่เงินลงไป 100% เต็มของเงินที่ถูกแบ่งเอาไว้เพื่อการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งหมด และมีเป้าหมายว่าจะไม่ถอนมันออกมาใช้จ่ายเลยตลอดชีวิต เงินกำไร หรือเงินปันผลจะถูกทบต้นเข้าไป
ในทางทฤษฎี นี่คือ วิธีการ "Reinvestment" หรือการนำดอกผลไปลงทุนต่อ สร้างดอกผลทบต้นไปเรื่อยๆ
เพาพิลาส ภรรยาของ ดร.นิเวศน์ มีความคิดเหมือนกับคนไทยทั่วไป คือ อยากให้สามีทำธุรกิจส่วนตัวมากกว่า "เขามักถามผมว่า ทำไมไม่ทำธุรกิจบ้าง ผมตอบว่าผมทำอยู่แล้ว!!!" ธุรกิจส่วนตัวของ ดร.นิเวศน์ หมายถึงการเลือกซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และพอใจที่จะเป็นหุ้นส่วนของกิจการที่เขารู้สึกว่าประสบความสำเร็จอยู่แล้วย่อมดีกว่า
แม้ภรรยาอยากทำธุรกิจแต่สามีกลับเลือกที่จะซื้อหุ้นไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ หรือหุ้น "มาม่า" หุ้นเพรซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ ผู้ผลิตมาม่าเส้นขาว และขนมปังฟาร์มเฮ้าส์ หุ้นไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นส์ ผู้ผลิตซีเล็คทูน่า และปลาเส้นฟิชโช หุ้นเสริมสุขผู้ผลิตและจำหน่ายเป๊ปซี่
หุ้นไทยวาโก้ ผู้ผลิตชุดชั้นใน หุ้นไทยสแตนเลย์ ผู้ผลิตโคมไฟรถยนต์ นอกจากนี้เขายังซื้อหุ้นปูนซิเมนต์ไทย หุ้นแบตเตอรี่ 3K หุ้นยางกู๊ดเยียร์ หุ้นพิซซ่า และอีกหลายกิจการ
ดร.นิเวศน์ บอกกับเพาพิลาส ภรรยาของเขาว่า "บริษัทของเราก็ดีๆ ทั้งนั้น "
นับจากเริ่มลงทุนเมื่อปี 2540 จนถึงปัจจุบัน เงินลงทุนของ ดร.นิเวศน์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 40% เหนือกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละไม่ถึง 10% ต่อปี
ดร.นิเวศน์ ซึ่งร่ำเรียนจนจบดอกเตอร์ทางด้านการลงทุนโดยตรงมาจาก มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี สหรัฐอเมริกา เริ่มไม่เชื่อในทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market Theory) ว่าใช้ได้จริงในตลาดหุ้นไทย
"ผมเรียนมาทางด้านการลงทุนโดยตรง แต่นักวิชาการทางด้านการลงทุนโดยตรงเดี๋ยวนี้ผมไม่ยอมรับแล้ว เพราะคนที่เรียนมาจะมีความคิดเรื่องทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผมไม่ค่อยเชื่อ ผมเชื่อว่าเราสามารถชนะตลาดได้"
อย่างหุ้นไทยสแตนเลย์ เขาเริ่มซื้อที่ราคา 12 บาท เมื่อราคาขึ้นมาที่ 40 บาท คนอื่นขายแต่เขากลับซื้อเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เพราะยังเชื่อว่า "มาร์เก็ตแค็ป" ยังต่ำกว่า "มูลค่าของกิจการ" ปัจจุบันราคาหุ้นตัวนี้ซื้อขายที่หุ้นละ 93 บาท
หุ้นเสริมสุข เป็นอีกตัวหนึ่งที่ทำกำไรให้กับเขาจำนวนมาก เขาเริ่มซื้อหุ้นตัวนี้ที่ราคา 105 บาท และซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากตอนที่ราคาหุ้นตกลงมาเหลือ 70-71 บาท ปัจจุบันราคาหุ้นขึ้นไปสูงถึง 236 บาท เขาก็ยังไม่ได้ขายออกแม้แต่หุ้นเดียว เพราะฉะนั้นในพอร์ตของ ดร.นิเวศน์ทุกวันนี้ จึงไม่มีหุ้นที่ขาดทุนเลยแม้แต่ตัวเดียว
เขาบอกว่า "จะมีหุ้นขาดทุนได้ยังไง! เพราะผมถือคติว่าหุ้นที่ไม่ดีจะไม่ถือเอาไว้ในพอร์ตเด็ดขาด"
จึงไม่ใช่เรื่องเกินเลยถ้าเขาจะฝันว่าในวัย 70 ปี ตัวเองจะมีเงิน 1,000 ล้านบาท ด้วยวิธีการลงทุนแบบทบต้น บนสมมติฐานที่ว่าหุ้นในพอร์ตของเขาต้องทำกำไรทบต้นให้ได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าปีละ 15% ตลอด 20 ปีนับต่อจากนี้
"ถ้าปีหนึ่งๆ พอร์ตของผมโตขึ้น 15% ทุก 7 ปีจะโตขึ้นเท่าตัว และภายใน 21 ปี จะโตขึ้น 8 เท่าตัว"
ดร.นิเวศน์ คิดว่าตัวเองน่าจะมีอายุถึง 80 ปี และแม้จะไม่มีการเปิดเผยถึงเม็ดเงินลงทุนในปัจจุบัน แต่มันก็คงมากโข "ทุกวันนี้ผมไม่จำเป็นต้องทำงานประจำ เฉพาะเงินปันผลก็พอเลี้ยงครอบครัวได้แล้ว"
ทุกปี ดร.นิเวศน์จะพาครอบครัวเดินทางไปพักผ่อนยังต่างประเทศปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อเป็นรางวัลให้แก่ชีวิต แต่จะเลือกตีตั๋วชั้นประหยัดทุกครั้ง
"ผมว่านั่งชั้นบิสซิเนส หรืออีโคโนมี ก็ไปถึงเหมือนกัน ปลอดภัยเท่ากัน ผมมองว่าความสุขมันอยู่ที่ใจ ทุกวันนี้ผมไม่ได้ขี้เหนียว แต่ผมชอบความเรียบง่ายมากกว่า"
จากคุณ : ปีเตอร์ ชาง - [21 พ.ค. 45 20:44:26 A:202.133.156.18 X:]
ความคิดเห็นที่ 2
คนที่คิดแบบ Value Investor จะคิดอะไรที่มีเหตุผล คิดถึงผลตอบแทน คิดถึงความคุ้มค่าของการลงทุน ผมคิดว่าถ้าคุณเป็น Value Investor จริงๆคุณจะไม่ซื้อ เบนซ์ S 500 ขับหรอก! เพราะวิธีคิดของนักลงทุน Value โดยจิตวิญญาณ จะใช้ชีวิตแบบธรรมดาๆ
ผลตอบแทน 5 ปีที่ผ่านมา ผมกล้าพูดได้เลยว่าเยอะมาก แต่ก็ไม่ได้ใช้ ผมใช้เงินเดือนประจำ แต่ไม่ได้ประหยัด ยังไปเที่ยวต่างประเทศทุกปี แต่จะไม่ฟุ่มเฟือย ถ้าเราไม่ทำงานเป็นผู้บริหารอย่างมากผมก็ซื้อรถธรรมดา ไม่เคยอยากซื้อรถเบนซ์อย่างที่นั่งอยู่ตอนนี้"
ความตั้งใจของ ดร.นิเวศน์ จะลงทุนไปจนกว่าตัวเขาจะตายจากโลกนี้ไป "ผมคิดว่านักลงทุน Value ส่วนใหญ่คิดอย่างนี้ หลายคนบอกว่าลงทุนแบบอาจารย์ไม่ไหวหรอก! กำไรแล้วไม่ได้ใช้จะเล่นหุ้นไปทำไม! ผมก็บอกว่าผมก็ใช้ชีวิตเหมือนปกติ ความสุขของผมไม่ได้อยู่ที่การเอาเงินไปซื้อ ความสุขของผมเหมือนกับคุณตีกอล์ฟแล้วคุณได้คะแนนดีขึ้นเรื่อยๆ
มันเป็นความสุขจากการได้เห็น Score ของตัวเองเพิ่มขึ้นๆ ถ้าใครก็ตามเริ่มตั้งโจทย์ว่าถ้าลงทุนรวยแล้วจะเอาเงินไปซื้อความสุข นี่เป็น Value Investor ไม่ได้ เพราะแค่เริ่มต้นก็ผิดแล้ว"
หุ้นแต่ละตัวที่ซื้อจะถือลงทุนเฉลี่ยประมาณ 2 ปีขึ้นไป บางตัวถือเอาไว้ตั้งแต่ปี 2540 ถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้ขายออกจากพอร์ต
ยิ่งพอร์ตใหญ่มากขึ้น หุ้นที่จะลงทุนก็ต้องเลือกหุ้นที่ดีเยี่ยม และต้องไม่กระจายการลงทุนในหุ้นมากตัวจนเกินไป "ทุกวันนี้ผมลงทุนในหุ้นประมาณ 20 ตัว แต่ลงทุนมากๆ มีแค่ 5-6 ตัว นอกนั้นลงทุนตัวละไม่เกิน 3-5 ล้านบาท การลงทุนที่มากเกินไปโอกาสเติบโตของพอร์ตจะยาก"
กลยุทธ์ของ ดร.นิเวศน์ ก็คือ หุ้นที่ถืออยู่ถ้ามันดี ไม่ต้องหมุนบ่อยมันก็จะโตขึ้นด้วยตัวของมันเอง แต่ถ้าหุ้นตัวไหนเริ่มอืดมองดูแล้วว่าระยะยาวจะโตช้าเขาก็จะค่อยๆ ขายออก และเปลี่ยนตัวไปเรื่อยๆ ดร.นิเวศน์จะให้น้ำหนักในการดูที่ "มาร์เก็ตแค็ป" อย่างมาก เพราะเขาเชื่อว่า มาร์เก็ตแค็ป คือ ภาพสะท้อนของหุ้นทั้งบริษัท
"ถ้าคุณเลือกหุ้นที่มีมาร์เก็ตแค็ปต่ำมากเมื่อเทียบกับยอดขาย มีแนวโน้มว่าหุ้นตัวนั้นราคาจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่ใช่กฎที่ตายตัว เพราะสินค้าแต่ละตัวมีมาร์จินไม่เหมือนกัน"
บนความเชื่อที่ว่าการเลือกซื้อหุ้นดีๆ และถือไว้สักระยะหนึ่งตราบเท่าที่ราคาของหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าของกิจการ ทำให้ ดร.นิเวศน์จะไม่ขายหุ้นที่มีกำไรต่ำกว่า 30% ออกจากพอร์ต เขาจะรอคอยด้วยความอดทนจนกว่าโอกาสที่ยิ่งใหญ่จะมาถึง
"ถ้ามั่นใจว่าหุ้นตัวนั้นดีจริง ราคาจะต้องสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของมันออกมาในที่สุด โดยปกติผมจะไม่ได้ตั้งเป้ากำไร แต่การที่ผมมองเป้าหมายระยะยาว ถ้าเราซื้อมา 100 บาท เราต้องมองไปข้างหน้าอย่างต่ำ 180-200 บาท เพราะฉะนั้นถ้าราคาหุ้นขึ้นมาที่ 120 บาท ผมจะไม่มีทางขายเลย เพราะผมรู้ว่ามันยังมีมาร์จินอีก 80 บาท" เขากล่าว
"ถ้าหุ้นตัวนี้เราเคยซื้อที่ พี/อี เรโช 5 เท่า มันขึ้นมา 7 เท่า เราก็บอกว่ามันยังถูก แต่ถ้าขึ้นมา 10 เท่าก็ต้องระวังแล้ว หุ้นที่ผมซื้อจะต้องมีมาร์เก็ตแค็ปต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นของกิจการมากๆ"
แนวคิดการลงทุนส่วนใหญ่ของ ดร.นิเวศน์จะเอนเอียงไปทางวอร์เรน บัฟเฟตต์มากที่สุด
บัฟเฟตต์ไม่ใช่เพียงต้นแบบของ Value Investor รุ่นใหม่ที่อยู่ในใจของ ดร.นิเวศน์เท่านั้น แต่บัฟเฟตต์ยังเป็นต้นแบบของ Value Investor ที่อยู่ในใจของนักลงทุนทั่วทั้งโลก ในฐานะนักเล่นหุ้นที่ยิ่งใหญ่ และร่ำรวยเป็นอันดับ 2 ของโลก
เฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ คนเดียว ดร.นิเวศน์ มีอยู่ในตู้หนังสือเกือบ 10 เล่ม
"แนวคิดที่ผมนำมาใช้ผมจะยึดของหลายคนมาก แต่ยึดแนวทางของวอร์เรน บัฟเฟตต์มากที่สุด ผมศึกษากลยุทธ์ และวิธีการลงทุน รวมถึงปรัชญาคิดของเขา ต้องยอมรับว่าเขาสุดยอดจริงๆ"
ดร.นิเวศน์ อธิบายถึงบุคลิกของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ว่าเป็นอะไรที่แปลกมาก มูลค่าหุ้นของเขาเป็นล้านล้านบาท แต่เขากลับจ่ายเงินเดือนให้กับตัวเองเพียงปีละ 1-2 แสนดอลลาร์เท่านั้นเอง และไม่เคยขายหุ้นของตัวเองเลยตลอดชีวิต ชอบกินแมคโดนัลด์ ดื่มโค้ก ขับรถเก่าไปทำงานเอง ไม่มีเลขาหน้าห้อง บนโต๊ะทำงานไม่เคยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ดูราคาหุ้น ชอบใช้ชีวิตแบบเดิมๆ และคิดถึงผู้ถือหุ้นเป็นอันดับแรก
แนวคิดของบัฟเฟตต์แตกแขนงออกมาจากแนวคิดของเบนจามิน เกรแฮม ผู้ซึ่งแต่งตำราที่ถูกกล่าวขวัญมากที่สุดในหมู่ Value Investor ที่ชื่อ "The Intelligent Investor"
ดร.นิเวศน์ เชื่ออย่างที่เบนจามิน เกรแฮม เชื่อในกฎของ Margin of Safety หรือกันชนเพื่อความปลอดภัย การเลือกหุ้นของ ดร.นิเวศน์จึงนิยมเลือกหุ้นที่มีราคา Discount จากมูลค่าของกิจการมากๆ ไม่น้อยกว่า 40% และจะตั้งคำถามเสมอว่าถ้าลงทุนหุ้นตัวนี้ต่อไปอีก 5 ปี จะเป็นอย่างไร? ถ้าได้รับคำตอบว่าถึงหุ้นจะตกลง 30-40% ก็ไม่มีทางเจ๊ง นั่นหมายความว่าหุ้นตัวนั้นมี Margin of Safety แล้ว
เช่นเดียวกับที่เขานำกลยุทธ์การลงทุนบางส่วนมาจากหนังสือ "One Up on Wall Street" ที่เขียนขึ้นโดย "ปีเตอร์ ลินช์" เซียนหุ้นบรรลือโลก ดร.นิเวศน์ บอกว่า ทุกสัปดาห์ผมจะต้องเดินจับจ่ายตามห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต นอกจากเป็นเรื่องของการหาซื้อปัจจัยสี่เพื่อความอยู่รอดของชีวิตแล้ว เหตุผลสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นช่วงเวลาที่ผมใช้สำรวจสินค้าของบริษัทจดทะเบียนทั้งหลายที่ผมลงทุนอยู่ "แนวคิดนี้ผมได้มาจากปีเตอร์ ลินช์"
ดร.นิเวศน์จะบอกภรรยาและลูกว่า ถ้าจะดื่มน้ำอัดลมให้ดื่ม "เป๊ปซี่" ถ้าจะกินบะหมี่สำเร็จรูปให้เลือกยี่ห้อ "มาม่า" ซื้อขนมปัง "ฟาร์มเฮ้าส์" กินขนม "เอสแอนด์พี" และเดินเที่ยวเล่นที่ห้าง "มาบุญครอง" เพราะมันเป็นกิจการของพ่อ
ความภูมิใจของ ดร.นิเวศน์ในวันนี้ นอกจากการได้เห็น Score ของตัวเองเพิ่มขึ้นแล้ว ความภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ได้เห็น Value Investor เกิดมากขึ้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา หลังจากอ่านหนังสือ "ตีแตก" และอ่านบทความ "โลกในมุมมองของ Value Investor ที่เขียนลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ
"มีหลายคนอ่านแล้วบอกว่าประทับใจ บางคนบอกว่ามันจุดประกายให้กับเขา ในฐานะที่ผมเป็นส่วนหนึ่งที่บุกเบิก ผมก็ภูมิใจ และอยากเผยแพร่ไอเดียพวกนี้ให้กว้างขึ้น คิดว่าไอเดียพวกนี้เหมาะกับกลุ่มคนที่กินเงินเดือนประจำ ไม่มีทางออกเรื่องการลงทุนอย่างอื่น และไม่มีเวลาดูแลหุ้นทุกวัน การลงทุนแบบนี้จะเพิ่มทางเลือกและทำให้ชีวิตของเขาดีขึ้น"
ความฝันอีกอย่างหนึ่งของ ดร.นิเวศน์ ก็คือ เขาอยากจัดตั้งชมรม Value Investor อย่างเป็นทางการขึ้นในประเทศไทย
แนวคิดนี้เกิดขึ้นมานานแล้วแต่ก็ยังไปไม่ถึงไหน "ส่วนหนึ่งผมไม่ค่อยมีเวลาสานต่ออย่างจริงจัง แต่ผมก็ยังไม่ทิ้ง ทุกวันนี้ผมเป็นกรรมการของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ก็คิดว่าอาจใช้ช่องทางนี้ลองทำดู"
ชีวิตของชายผู้นี้อาจจะเป็นสิ่งที่แปลกแยก และแตกต่างจากใครหลายคน
เขาอยากมีเงิน 1,000 ล้านบาท แต่กลับไม่อยากใช้มัน
อยากเห็นเพียง Score ที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อยากเห็นการแตกตัวออกไปของสังคม Value Investor และภาคภูมิใจเพียงแค่การเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างมันขึ้นมา
และนี่คือความสุขที่แท้จริงของชายที่ชื่อ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" Value Investor พันธุ์แท้ของเมืองไทย
จากคุณ : ปีเตอร์ ชาง - [21 พ.ค. 45 20:44:50 A:202.133.156.18 X:]
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... =4&gblog=4