ประชาชนมาบตาพุดส่วนใหญ่ต้องการอุตสาหกรรมและแนวทางแก้ไขมลพิษ
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 23, 2010 3:20 pm
22 พฤศจิกายน 2553
เรื่อง ประชาชนมาบตาพุดส่วนใหญ่ต้องการอุตสาหกรรมและแนวทางแก้ไขมลพิษ
เรียน ท่านสื่อมวลชน-ผู้สื่อข่าว ที่นับถือ
อ้างถึง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้อง ลว.17 พฤศจิกายน 2553
กระผมได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนชาวมาบตาพุดจำนวน 2,140 ราย ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนที่แท้จริงของชาวมาบตาพุด ระยอง จึงขอเรียนท่านสื่อมวลชน-ผู้สื่อข่าว เพื่อโปรดพิจารณาเผยแพร่เสียงของประชาชนด้วย จะเป็นพระคุณต่อประชาชนและสังคมในการมีข้อมูลเพื่อการใช้วิจารณญาณ ผลการสำรวจชี้ชัดเจนว่า
1. ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในเขตมาบตาพุดต่อไป โดยประชาชน 56% เห็นด้วย โดยในรายละเอียดพบว่า กลุ่มผู้เป็นเจ้าของบ้านของตนเองเห็นด้วย 50% อย่างไรก็ตามกลุ่มที่เป็นทั้งเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน เห็นด้วย 48% ส่วนกลุ่มที่เป็นผู้เช่าบ้าน เห็นด้วยถึง 65%
2. ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้รัฐซื้อหรือเวนคืนในกรณีจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษโดยต้องจ่ายค่าทดแทนที่สมเหตุผล โดยประชาชนถึง 69% เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวนี้ โดยเห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ในทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มเจ้าของบ้านและที่ดิน เจ้าของบ้านแต่เช่าที่ดินปลูก ผู้เช่าบ้านและอื่น ๆ
3. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วงเรื่องมาบตาพุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา มีประชาชนเพียง 32% เท่านั้นที่เห็นด้วย ทั้งนี้มีความเห็นในทางเดียวกันทั้งกลุ่มเจ้าของบ้านและที่ดิน เจ้าของบ้านแต่เช่าที่ดินปลูก ผู้เช่าบ้านและอื่น ๆ
โดยสรุปแล้ว ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด เห็นด้วยที่พื้นที่อุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้องขยายตัวต่อไป ทั้งนี้มาบตาพุดเป็นแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งสำคัญที่สุดซึ่งได้วางแผนดำเนินการแล้วตั้งแต่สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หากย้ายออกไปคงไม่มีพื้นที่อื่นจะสามารถรองรับได้ และในกรณีจำเป็นประชาชนจึงเห็นด้วยกับการเวนคืนโดยจ่ายค่าทดแทนที่สมเหตุผลเพื่อความผาสุกของทุกฝ่าย และประชาชนก็ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วง แสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการทางออกที่ดีกว่านี้
นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด ระยอง ยังได้ให้ข้อเสนอแนะหลายประการต่อปัญหามลพิษที่ประชาชนยกขึ้นมา ทั้งน้ำเสีย อากาศ (กลิ่น แก๊สพิษ ควันพิษ ฝุ่น) ขยะ เสียง และสารเคมี ซึ่งประชาชนได้พบเห็นเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง การมีมลภาวะเช่นนี้แสดงว่าที่ผ่านมายังมีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิผลและยังไม่เป็นที่พึงพอใจเท่าที่ควร ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหาจึงอยู่ที่การตรวจสอบเพื่อควบคุมการกระทำผิดกฎหมายเช่นนี้อย่างใกล้ชิด หากทางราชการหรือภาคประชาชนได้จัดตั้งหน่วยงานที่เป็นกลางซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียมาตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พร้อมกับการรายงานผลการตรวจสอบต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เชื่อว่าการปล่อยมลพิษในรูปแบบต่าง ๆ จะลดน้อยลง
การที่ประชาชนในพื้นที่ยังมีความเชื่อว่าโรงงานจำนวนมากยังมีการละเมิดกฎหมาย ละเมิดต่อผู้อยู่อาศัยหรือชุมชนโดยรอบนั้น ถือเป็นการละเมิด เป็นอาชญากรรม และถือเป็นการขาดความรับผิดชอบต่อสังคมโดยตรง ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ และการฟ้องร้องเป็นราย ๆ ไป จึงน่าจะเป็นมาตรการแก้ไขและป้องกันปัญหามากกว่าการเหวี่ยงแห ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน และโรงงานต่าง ๆ ต้องดำเนินการไปอย่างจริงจังและตรวจสอบในการได้ จึงจะยังความเชื่อถือจากประชาชน
อนึ่ง กระผมเคยทำหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อปีที่แล้ว (7 ธันวาคม 2552) เกี่ยวกับผลการสำรวจในลักษณะคล้ายกันและได้ผลออกมาคล้ายกันว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องการให้อุตสาหกรรมขยายตัวต่อไป การสำรวจครั้งล่าสุดจึงเป็นการประเมินผลเพิ่มเติม และมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหามลพิษในมาบตาพุด
ด้วยความเคารพ
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
โทร. 02.295.3905 Email: [email protected] URL: www.thaiappraisal.org
หนังสือข้างต้นนี้ได้วางไว้ที่ http://housingyellow.com/csr.wboard/sho ... p?topic=37
Letter to the Prime Minister on Voice of Map Ta Phut People
November 22, 2010
Dear Reporters:
On November 17, 2010, I sent a letter to the Prime Minister by post which should have reached him by now. The Thai Appraisal Foundation conducted a survey on the opinion of some 2,140 people living in Map Ta Phut, with the cooperation of 57 high-school students of Map Tha Phut Pan Pittayakan School, on November 7, 2010. The crucial findings for the planning purposes of the beneficiaries involved are:
1. Fifty-six percent of the people agreed that industry in Map Ta Phut had to be expanded in the area. In detail, 50% of the house owners agreed so, whereas 48% of the house and land owners agreed. However, for house renters, 65% of them agreed to this proposition. This implies that the majority of the people in Map Ta Phut saw this need for industry expansion. This was designed since the beginning and is the centre for the petrochemical industry in Thailand.
2. Sixty-nine percent of the people agreed that in the case of needing to solve pollution problems, public land acquisition (land purchase or eminent domain), with ample compensation, is a solution. People in all groups of different property holdings had a consensus on this matter. This implies that if there is really pollution, they are willing to move away with the provision of ample compensation.
3. Sixty-eight percent of the people in all groups disagreed with the protest rally of some people and NGOs on September 30, 2010. This implies that people did not want a confrontation and saw that the rally might not help solve the problem.
On the whole, the majority of Map Ta Phut people agreed to the need for the expansion of industrial activities. Regarding this need, public land acquisition is a solution for moving the people away if pollution is evident, provided that the people are fairly compensated. Most of them did not agreed with the protest rally organized by some groups of dwellers and NGOs.
Pollution in Map Ta Phut can often be observed; however, the actions to solve this problem seem ineffective and inconsistent. People have offered a lot of good suggestions, such as:
1. Factories must realize the rights of the residents and should not emit pollution, and solution measures must be realistic, not face-lifting.
2. Direct measures include a decrease in the number of polluting factories, and strict approval of new factories and the close down of polluting factories.
3. Timely and efficient checks from medical doctors on health are a must.
4. Regarding protection, measures include the expansion of green areas, more tree plantings, and the like.
5. For local people, there should be health and full participation of the dwellers in any environmental protection programs.
6. Measures should be put in place regarding public land acquisition, voluntary land sales for industry expansion, and the like.
Selected preventive and watchdog programs must be conducted with the cooperation of the dwellers, factories, and the government in order to catch the instance of any illegal pollution emissions. This should be better than any measures applied to all. Polluting factories must be sued and information on this issue must be widely disclosed to the public.
Kindly consider to help report the results of this survey for the benefit of the public.
Sincerely
Sopon Pornchokchai, Ph.D., D.FIABCI, CRS, RICS
President, Thai Appraisal Foundation
Tel. +66.2295.3171, Email: [email protected]
http://www.thaiappraisal.org/english/co ... .sopon.htm
http://www.facebook.com/sopon.pornchokchai
The above text is available at http://housingyellow.com/csr.wboard/sho ... p?topic=36
ð
------------------------- สำเนาจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี --------------------------
ที่ TAF 11/235/53
17 พฤศจิกายน 2553
เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหามลพิษมาบตาพุด
กราบเรียน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภา
ประธานวุฒิสภา และรองประธานสภา
ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองมาบตาพุด และชุมชน 31 แห่งในเขตเทศบาล
หน่วยงาน NGO ที่เกี่ยวข้อง
อ้างถึง หนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ลว.7 ธันวาคม 2552
http://www.thaiappraisal.org/thai/letter/letter17.htm
เนื่องด้วยมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องมลพิษในมาบตาพุดข้างต้น จึงขอทำหนังสือนี้มากราบเรียนนำเสนอเพื่อ ฯพณฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาประกอบการวางแผนการแก้ไขปัญหา โดยมีการสำรวจนี้มีผลสรุปเพื่อโปรดพิจารณาดังนี้:
เรื่องเดิม
มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีมลพิษในมาบตาพุด เมื่อปี 2552 ตามหนังสือที่อ้างถึงข้างต้น และสำรวจซ้ำในปี 2553 ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการหาแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษ จึงขอสรุปผลการสำรวจไว้ในรายงานฉบับนี้
ว่าด้วยการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามโดยได้รับความร่วมมือจากนักเรียนชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร อ.เมือง จ.ระยอง จำนวน 57 คน ออกทำการสำรวจด้วยแบบสอบถามกับประชาชนที่บรรลุนิติภาวะแล้วในชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด โดยสามารถสำรวจความคิดเห็นได้ถึง 2,140 คน และมีผู้ตอบแบบสอบถามที่ยินดีเปิดเผยชื่อและที่อยู่จำนวนถึง 1,900 คนเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนที่แท้จริงในพื้นที่ การสำรวจนี้ไม่ได้ขอความร่วมมือกับผู้นำชุมชนหรือกลุ่มเอ็นจีโอใด เพื่อให้เกิดความเป็นกลาง
การที่มูลนิธิขอความร่วมมือจากนักเรียนให้ทำการสำรวจนั้น ก็เพื่อให้เกิดความเป็นกลาง โดยในเวลา 09:00 น. ของวันที่นัดหมายคือวันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2553 มูลนิธิได้ทำการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสำรวจเพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และแจกแบบสอบถามให้ทดลองทำโดยนักเรียนก่อน เพื่อซักซ้อมความเข้าใจ จากนั้นในเวลา 10:00 น. ให้นักออกไปสอบถามตามชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด และกลับมารายงานผล ปรึกษาปัญหาที่อาจพบ รวมทั้งรับประทานอาหารร่วมกัน จากนั้นให้ออกไปสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม จนเสร็จสิ้นเวลาประมาณ 16:00 น. จึงทำการตรวจสอบ โดยคณะนักวิจัยของมูลนิธิเดินทางกลับจากพื้นที่ในเวลาประมาณ 17:30 น. ของวันดังกล่าว การสำรวจโดยนักเรียนนั้น มุ่งให้เกิดความเป็นกลางอย่างที่สุด เพราะเป็นเยาวชนที่น่าจะมีความเป็นกลางหรือปราศจากอคติใด ๆ
คำถามในแบบสอบถามเป็นคำถามสั้น ๆ เพียง 3 ข้อ และมีข้อแสดงความคิดเห็นแบบเปิดและข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม รายละเอียดแบบสอบถามแสดงในภาคผนวก 1.
อนึ่ง เมื่อปีที่แล้วในช่วงวันที่ 14, 15 และ 22 พฤศจิกายน 2552 มูลนิธิได้เคยจัดส่งคณะนักวิจัยมาทำการสำรวจความเห็นของประชาชนครั้งหนึ่งแล้ว โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้น (Two-stage Sampling) โดยการสุ่มในขั้นแรก เป็นการสุ่มชุมชนตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) ในระดับชุมชน ได้ 21 ชุมชนจาก 31 ชุมชน และการสุ่มขั้นที่ 2 คือ การสุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่สุ่มได้ในขั้นที่ 1 สำหรับขนาดตัวอย่างจำนวนครัวเรือน เป็นไปตามสูตรของ Yamane โดยได้ตัวอย่างจริงครั้งนี้ได้ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 1,107 คน
ดังนั้นการสำรวจครั้งล่าสุดจึงเป็นการประเมินผลเพิ่มเติม และมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหามลพิษในมาบตาพุด
ผลการสำรวจ
ต่อการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในเขตมาบตาพุดต่อไปนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ 56% เห็นด้วย โดยในรายละเอียดพบว่า กลุ่มผู้เป็นเจ้าของบ้านของตนเองเห็นด้วย 50% อย่างไรก็ตามกลุ่มที่เป็นทั้งเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน เห็นด้วย 48% ส่วนกลุ่มที่เป็นผู้เช่าบ้าน เห็นด้วยถึง 65% การนี้แสดงให้เห็นว่า แม้สังคมและประชาชนบางส่วนจะเห็นว่าอุตสาหกรรมก่อให้เกิดมลพิษ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็เล็งเห็นความจำเป็นในการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในมาบตาพุด
ต่อ “การให้รัฐซื้อหรือเวนคืนในกรณีจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษโดยต้องจ่ายค่าทดแทนที่สมเหตุผล” ผลปรากฏว่า ประชาชนถึง 69% เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวนี้ โดยเห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ในทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มเจ้าของบ้านและที่ดิน เจ้าของบ้านแต่เช่าที่ดินปลูก ผู้เช่าบ้านและอื่น ๆ ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยินดีที่จะรับค่าทดแทนที่สมเหตุผลในการแก้ไขปัญหามลพิษ เพราะหากมีมลพิษจริง ก็คงไม่มีใครอยากจะอยู่อาศัยในบริเวณที่ใกล้เคียงกับมลพิษโดยตรง
ต่อการชุมนุมประท้วงเรื่องมาบตาพุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ประชาชนเพียง 32% เท่านั้นที่เห็นด้วย แต่ส่วนใหญ่ 68% ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม ทั้งนี้มีความเห็นในทางเดียวกันทั้งกลุ่มเจ้าของบ้านและที่ดิน เจ้าของบ้านแต่เช่าที่ดินปลูก ผู้เช่าบ้านและอื่น ๆ การนี้แสดงให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้มีการชุมนุมในลักษณะนี้อีก การชุมนุมอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งอาจไม่ใช่คนในพื้นที่มาบตาพุดหรือระยอง
โดยสรุปแล้ว ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด เห็นด้วยที่พื้นที่อุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้องขยายตัวต่อไป ทั้งนี้มาบตาพุดเป็นแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งสำคัญที่สุดซึ่งได้วางแผนดำเนินการแล้วตั้งแต่สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หากย้ายออกไปคงไม่มีพื้นที่อื่นจะสามารถรองรับได้ และในกรณีจำเป็นประชาชนจึงเห็นด้วยกับการเวนคืนโดยจ่ายค่าทดแทนที่สมเหตุผลเพื่อความผาสุกของทุกฝ่าย และประชาชนก็ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วง แสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการทางออกที่ดีกว่านี้
ข้อเสนอแนะ
ปัญหามลพิษที่ประชาชนยกขึ้นมานั้น ได้แก่ น้ำเสีย อากาศ (กลิ่น แก๊สพิษ ควันพิษ ฝุ่น) ขยะ เสียง และสารเคมี ซึ่งประชาชนได้พบเห็นเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงว่าที่ผ่านมายังมีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิผลและยังไม่เป็นที่พึงพอใจเท่าที่ควร ประชาชนต่างเห็นถึงการกระทำผิดกฎหมายในการปล่อยมลพิษอยู่เนือง ๆ เช่น การปล่อยแก๊สพิษในยามที่อากาศโปร่ง หรือการปล่อยน้ำเสียโดยไม่บำบัดในช่วงที่เกิดฝนตกหนัก เป็นต้น
สำหรับแนวทางการแก้ไขที่ประชาชนเสนอ มีดังนี้
1. โดยทั่วไปประชาชนอยากให้มีการสร้างจิตสำนึกของโรงงาน ไม่ให้ละเมิดต่อชุมชน และต้องการให้หน่วยราชการหรือโรงงานมีการดำเนินการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ไม่ใช่แบบสร้างภาพ
2. ในส่วนที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้น บางส่วนต้องการให้มีการลดจำนวนโรงงาน หรือหยุดขยายโรงงานโดยสิ้นเชิง การควบคุมการอนุญาตเปิดโรงงานต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานอย่างเข้มงวด การควบคุมการปล่อยมลพิษตามเกณฑ์ที่กำหนด และตามเวลาที่เหมาะสม การตรวจสอบสภาพโรงงานโดยหน่วยงานอิสระเป็นระยะ ๆ จะได้ไม่รุนแรง การติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัยและตรวจจับมลพิษ การลงโทษโรงงานที่ปล่อยมลพิษอย่างเข้มงวด เช่น ปิดโรงงาน และการให้โรงงานแสดงแผนการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
3. ในส่วนของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านั้น ประชาชนต้องการให้มีแพทย์-พยาบาลไปตรวจสุขภาพประชาชนเป็นระยะ ๆ และการแจกหน้ากากอนามัย
4. ในส่วนของการป้องกันนั้น มีข้อเสนอแนะให้มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ และปลูกต้นไม้จำนวนมากเพื่อลดมลพิษ
5. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนนั้น มีข้อเสนอให้ให้มีการตั้งกองทุนและสนับสนุนให้ทุนแก่ชุมชนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การรับฟังเสียงของประชาชนและการประชุมร่วมระหว่างประชาชนกับโรงงาน การให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องมลพิษและการเฝ้าระวัง รวมทั้ง การเปิดเผยข้อมูล โปร่งใส ไม่ปิดข่าว
6. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองและการเวนคืน มีข้อเสนอแนะให้มีการแยกพื้นที่อยู่อาศัยกับอุตสาหกรรมให้ชัดเจน การให้โรงงานซื้อที่ดินรอบ ๆ โรงงานเพื่อเป็นแนวกันชน การย้ายชุมชนออกไป การจัดหาที่อยู่อาศัยให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า และการเวนคืนที่ดินเพื่อการขยายอุตสาหกรรม
คณะนักวิจัยเห็นว่า แนวทางการแก้ไขจึงอยู่ที่การตรวจสอบเพื่อควบคุมการกระทำผิดกฎหมายเช่นนี้อย่างใกล้ชิด หากทางราชการหรือภาคประชาชนได้จัดตั้งหน่วยงานที่เป็นกลางซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียมาตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พร้อมกับการรายงานผลการตรวจสอบต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เชื่อว่าการปล่อยมลพิษในรูปแบบต่าง ๆ จะลดน้อยลง
การที่ประชาชนในพื้นที่ยังมีความเชื่อว่าโรงงานจำนวนมากทั้งที่เป็นของบริษัทมหาชนและบริษัททั่วไป ยังมีการละเมิดกฎหมาย ละเมิดต่อผู้อยู่อาศัยหรือชุมชนโดยรอบนั้น ถือเป็นการละเมิด เป็นอาชญากรรม และถือเป็นการขาดความรับผิดชอบต่อสังคมโดยตรง ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ และการฟ้องร้องเป็นราย ๆ ไป จึงน่าจะเป็นมาตรการแก้ไขและป้องกันปัญหามากกว่าการเหวี่ยงแห ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน
โรงงานต่าง ๆ ต้องดำเนินการไปอย่างจริงจังและตรวจสอบในการได้ จึงจะยังความเชื่อถือจากประชาชน ผู้ประกอบอุตสาหกรรมก็ควรตระหนักว่า การลดต้นทุนด้วยการแพร่กระจายมลพิษนั้น ย่อมส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมในระยะยาว เพราะจะถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
(ดร.โสภณ พรโชคชัย)
ประธานกรรมการบริหาร
มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
[email protected]
โทร.0.2295.3171
เรื่อง ประชาชนมาบตาพุดส่วนใหญ่ต้องการอุตสาหกรรมและแนวทางแก้ไขมลพิษ
เรียน ท่านสื่อมวลชน-ผู้สื่อข่าว ที่นับถือ
อ้างถึง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้อง ลว.17 พฤศจิกายน 2553
กระผมได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนชาวมาบตาพุดจำนวน 2,140 ราย ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนที่แท้จริงของชาวมาบตาพุด ระยอง จึงขอเรียนท่านสื่อมวลชน-ผู้สื่อข่าว เพื่อโปรดพิจารณาเผยแพร่เสียงของประชาชนด้วย จะเป็นพระคุณต่อประชาชนและสังคมในการมีข้อมูลเพื่อการใช้วิจารณญาณ ผลการสำรวจชี้ชัดเจนว่า
1. ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในเขตมาบตาพุดต่อไป โดยประชาชน 56% เห็นด้วย โดยในรายละเอียดพบว่า กลุ่มผู้เป็นเจ้าของบ้านของตนเองเห็นด้วย 50% อย่างไรก็ตามกลุ่มที่เป็นทั้งเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน เห็นด้วย 48% ส่วนกลุ่มที่เป็นผู้เช่าบ้าน เห็นด้วยถึง 65%
2. ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการให้รัฐซื้อหรือเวนคืนในกรณีจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษโดยต้องจ่ายค่าทดแทนที่สมเหตุผล โดยประชาชนถึง 69% เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวนี้ โดยเห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ในทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มเจ้าของบ้านและที่ดิน เจ้าของบ้านแต่เช่าที่ดินปลูก ผู้เช่าบ้านและอื่น ๆ
3. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วงเรื่องมาบตาพุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา มีประชาชนเพียง 32% เท่านั้นที่เห็นด้วย ทั้งนี้มีความเห็นในทางเดียวกันทั้งกลุ่มเจ้าของบ้านและที่ดิน เจ้าของบ้านแต่เช่าที่ดินปลูก ผู้เช่าบ้านและอื่น ๆ
โดยสรุปแล้ว ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด เห็นด้วยที่พื้นที่อุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้องขยายตัวต่อไป ทั้งนี้มาบตาพุดเป็นแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งสำคัญที่สุดซึ่งได้วางแผนดำเนินการแล้วตั้งแต่สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หากย้ายออกไปคงไม่มีพื้นที่อื่นจะสามารถรองรับได้ และในกรณีจำเป็นประชาชนจึงเห็นด้วยกับการเวนคืนโดยจ่ายค่าทดแทนที่สมเหตุผลเพื่อความผาสุกของทุกฝ่าย และประชาชนก็ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วง แสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการทางออกที่ดีกว่านี้
นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่มาบตาพุด ระยอง ยังได้ให้ข้อเสนอแนะหลายประการต่อปัญหามลพิษที่ประชาชนยกขึ้นมา ทั้งน้ำเสีย อากาศ (กลิ่น แก๊สพิษ ควันพิษ ฝุ่น) ขยะ เสียง และสารเคมี ซึ่งประชาชนได้พบเห็นเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง การมีมลภาวะเช่นนี้แสดงว่าที่ผ่านมายังมีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิผลและยังไม่เป็นที่พึงพอใจเท่าที่ควร ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหาจึงอยู่ที่การตรวจสอบเพื่อควบคุมการกระทำผิดกฎหมายเช่นนี้อย่างใกล้ชิด หากทางราชการหรือภาคประชาชนได้จัดตั้งหน่วยงานที่เป็นกลางซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียมาตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พร้อมกับการรายงานผลการตรวจสอบต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เชื่อว่าการปล่อยมลพิษในรูปแบบต่าง ๆ จะลดน้อยลง
การที่ประชาชนในพื้นที่ยังมีความเชื่อว่าโรงงานจำนวนมากยังมีการละเมิดกฎหมาย ละเมิดต่อผู้อยู่อาศัยหรือชุมชนโดยรอบนั้น ถือเป็นการละเมิด เป็นอาชญากรรม และถือเป็นการขาดความรับผิดชอบต่อสังคมโดยตรง ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ และการฟ้องร้องเป็นราย ๆ ไป จึงน่าจะเป็นมาตรการแก้ไขและป้องกันปัญหามากกว่าการเหวี่ยงแห ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน และโรงงานต่าง ๆ ต้องดำเนินการไปอย่างจริงจังและตรวจสอบในการได้ จึงจะยังความเชื่อถือจากประชาชน
อนึ่ง กระผมเคยทำหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เมื่อปีที่แล้ว (7 ธันวาคม 2552) เกี่ยวกับผลการสำรวจในลักษณะคล้ายกันและได้ผลออกมาคล้ายกันว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องการให้อุตสาหกรรมขยายตัวต่อไป การสำรวจครั้งล่าสุดจึงเป็นการประเมินผลเพิ่มเติม และมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหามลพิษในมาบตาพุด
ด้วยความเคารพ
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
โทร. 02.295.3905 Email: [email protected] URL: www.thaiappraisal.org
หนังสือข้างต้นนี้ได้วางไว้ที่ http://housingyellow.com/csr.wboard/sho ... p?topic=37
Letter to the Prime Minister on Voice of Map Ta Phut People
November 22, 2010
Dear Reporters:
On November 17, 2010, I sent a letter to the Prime Minister by post which should have reached him by now. The Thai Appraisal Foundation conducted a survey on the opinion of some 2,140 people living in Map Ta Phut, with the cooperation of 57 high-school students of Map Tha Phut Pan Pittayakan School, on November 7, 2010. The crucial findings for the planning purposes of the beneficiaries involved are:
1. Fifty-six percent of the people agreed that industry in Map Ta Phut had to be expanded in the area. In detail, 50% of the house owners agreed so, whereas 48% of the house and land owners agreed. However, for house renters, 65% of them agreed to this proposition. This implies that the majority of the people in Map Ta Phut saw this need for industry expansion. This was designed since the beginning and is the centre for the petrochemical industry in Thailand.
2. Sixty-nine percent of the people agreed that in the case of needing to solve pollution problems, public land acquisition (land purchase or eminent domain), with ample compensation, is a solution. People in all groups of different property holdings had a consensus on this matter. This implies that if there is really pollution, they are willing to move away with the provision of ample compensation.
3. Sixty-eight percent of the people in all groups disagreed with the protest rally of some people and NGOs on September 30, 2010. This implies that people did not want a confrontation and saw that the rally might not help solve the problem.
On the whole, the majority of Map Ta Phut people agreed to the need for the expansion of industrial activities. Regarding this need, public land acquisition is a solution for moving the people away if pollution is evident, provided that the people are fairly compensated. Most of them did not agreed with the protest rally organized by some groups of dwellers and NGOs.
Pollution in Map Ta Phut can often be observed; however, the actions to solve this problem seem ineffective and inconsistent. People have offered a lot of good suggestions, such as:
1. Factories must realize the rights of the residents and should not emit pollution, and solution measures must be realistic, not face-lifting.
2. Direct measures include a decrease in the number of polluting factories, and strict approval of new factories and the close down of polluting factories.
3. Timely and efficient checks from medical doctors on health are a must.
4. Regarding protection, measures include the expansion of green areas, more tree plantings, and the like.
5. For local people, there should be health and full participation of the dwellers in any environmental protection programs.
6. Measures should be put in place regarding public land acquisition, voluntary land sales for industry expansion, and the like.
Selected preventive and watchdog programs must be conducted with the cooperation of the dwellers, factories, and the government in order to catch the instance of any illegal pollution emissions. This should be better than any measures applied to all. Polluting factories must be sued and information on this issue must be widely disclosed to the public.
Kindly consider to help report the results of this survey for the benefit of the public.
Sincerely
Sopon Pornchokchai, Ph.D., D.FIABCI, CRS, RICS
President, Thai Appraisal Foundation
Tel. +66.2295.3171, Email: [email protected]
http://www.thaiappraisal.org/english/co ... .sopon.htm
http://www.facebook.com/sopon.pornchokchai
The above text is available at http://housingyellow.com/csr.wboard/sho ... p?topic=36
ð
------------------------- สำเนาจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี --------------------------
ที่ TAF 11/235/53
17 พฤศจิกายน 2553
เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหามลพิษมาบตาพุด
กราบเรียน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภา
ประธานวุฒิสภา และรองประธานสภา
ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองมาบตาพุด และชุมชน 31 แห่งในเขตเทศบาล
หน่วยงาน NGO ที่เกี่ยวข้อง
อ้างถึง หนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ลว.7 ธันวาคม 2552
http://www.thaiappraisal.org/thai/letter/letter17.htm
เนื่องด้วยมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องมลพิษในมาบตาพุดข้างต้น จึงขอทำหนังสือนี้มากราบเรียนนำเสนอเพื่อ ฯพณฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาประกอบการวางแผนการแก้ไขปัญหา โดยมีการสำรวจนี้มีผลสรุปเพื่อโปรดพิจารณาดังนี้:
เรื่องเดิม
มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีมลพิษในมาบตาพุด เมื่อปี 2552 ตามหนังสือที่อ้างถึงข้างต้น และสำรวจซ้ำในปี 2553 ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการหาแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษ จึงขอสรุปผลการสำรวจไว้ในรายงานฉบับนี้
ว่าด้วยการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามโดยได้รับความร่วมมือจากนักเรียนชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร อ.เมือง จ.ระยอง จำนวน 57 คน ออกทำการสำรวจด้วยแบบสอบถามกับประชาชนที่บรรลุนิติภาวะแล้วในชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด โดยสามารถสำรวจความคิดเห็นได้ถึง 2,140 คน และมีผู้ตอบแบบสอบถามที่ยินดีเปิดเผยชื่อและที่อยู่จำนวนถึง 1,900 คนเพื่อเป็นการยืนยันตัวตนที่แท้จริงในพื้นที่ การสำรวจนี้ไม่ได้ขอความร่วมมือกับผู้นำชุมชนหรือกลุ่มเอ็นจีโอใด เพื่อให้เกิดความเป็นกลาง
การที่มูลนิธิขอความร่วมมือจากนักเรียนให้ทำการสำรวจนั้น ก็เพื่อให้เกิดความเป็นกลาง โดยในเวลา 09:00 น. ของวันที่นัดหมายคือวันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2553 มูลนิธิได้ทำการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสำรวจเพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และแจกแบบสอบถามให้ทดลองทำโดยนักเรียนก่อน เพื่อซักซ้อมความเข้าใจ จากนั้นในเวลา 10:00 น. ให้นักออกไปสอบถามตามชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด และกลับมารายงานผล ปรึกษาปัญหาที่อาจพบ รวมทั้งรับประทานอาหารร่วมกัน จากนั้นให้ออกไปสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม จนเสร็จสิ้นเวลาประมาณ 16:00 น. จึงทำการตรวจสอบ โดยคณะนักวิจัยของมูลนิธิเดินทางกลับจากพื้นที่ในเวลาประมาณ 17:30 น. ของวันดังกล่าว การสำรวจโดยนักเรียนนั้น มุ่งให้เกิดความเป็นกลางอย่างที่สุด เพราะเป็นเยาวชนที่น่าจะมีความเป็นกลางหรือปราศจากอคติใด ๆ
คำถามในแบบสอบถามเป็นคำถามสั้น ๆ เพียง 3 ข้อ และมีข้อแสดงความคิดเห็นแบบเปิดและข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม รายละเอียดแบบสอบถามแสดงในภาคผนวก 1.
อนึ่ง เมื่อปีที่แล้วในช่วงวันที่ 14, 15 และ 22 พฤศจิกายน 2552 มูลนิธิได้เคยจัดส่งคณะนักวิจัยมาทำการสำรวจความเห็นของประชาชนครั้งหนึ่งแล้ว โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้น (Two-stage Sampling) โดยการสุ่มในขั้นแรก เป็นการสุ่มชุมชนตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) ในระดับชุมชน ได้ 21 ชุมชนจาก 31 ชุมชน และการสุ่มขั้นที่ 2 คือ การสุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่สุ่มได้ในขั้นที่ 1 สำหรับขนาดตัวอย่างจำนวนครัวเรือน เป็นไปตามสูตรของ Yamane โดยได้ตัวอย่างจริงครั้งนี้ได้ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 1,107 คน
ดังนั้นการสำรวจครั้งล่าสุดจึงเป็นการประเมินผลเพิ่มเติม และมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหามลพิษในมาบตาพุด
ผลการสำรวจ
ต่อการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในเขตมาบตาพุดต่อไปนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ 56% เห็นด้วย โดยในรายละเอียดพบว่า กลุ่มผู้เป็นเจ้าของบ้านของตนเองเห็นด้วย 50% อย่างไรก็ตามกลุ่มที่เป็นทั้งเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน เห็นด้วย 48% ส่วนกลุ่มที่เป็นผู้เช่าบ้าน เห็นด้วยถึง 65% การนี้แสดงให้เห็นว่า แม้สังคมและประชาชนบางส่วนจะเห็นว่าอุตสาหกรรมก่อให้เกิดมลพิษ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็เล็งเห็นความจำเป็นในการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในมาบตาพุด
ต่อ “การให้รัฐซื้อหรือเวนคืนในกรณีจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษโดยต้องจ่ายค่าทดแทนที่สมเหตุผล” ผลปรากฏว่า ประชาชนถึง 69% เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวนี้ โดยเห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ในทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มเจ้าของบ้านและที่ดิน เจ้าของบ้านแต่เช่าที่ดินปลูก ผู้เช่าบ้านและอื่น ๆ ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยินดีที่จะรับค่าทดแทนที่สมเหตุผลในการแก้ไขปัญหามลพิษ เพราะหากมีมลพิษจริง ก็คงไม่มีใครอยากจะอยู่อาศัยในบริเวณที่ใกล้เคียงกับมลพิษโดยตรง
ต่อการชุมนุมประท้วงเรื่องมาบตาพุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ประชาชนเพียง 32% เท่านั้นที่เห็นด้วย แต่ส่วนใหญ่ 68% ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม ทั้งนี้มีความเห็นในทางเดียวกันทั้งกลุ่มเจ้าของบ้านและที่ดิน เจ้าของบ้านแต่เช่าที่ดินปลูก ผู้เช่าบ้านและอื่น ๆ การนี้แสดงให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้มีการชุมนุมในลักษณะนี้อีก การชุมนุมอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งอาจไม่ใช่คนในพื้นที่มาบตาพุดหรือระยอง
โดยสรุปแล้ว ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด เห็นด้วยที่พื้นที่อุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้องขยายตัวต่อไป ทั้งนี้มาบตาพุดเป็นแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งสำคัญที่สุดซึ่งได้วางแผนดำเนินการแล้วตั้งแต่สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หากย้ายออกไปคงไม่มีพื้นที่อื่นจะสามารถรองรับได้ และในกรณีจำเป็นประชาชนจึงเห็นด้วยกับการเวนคืนโดยจ่ายค่าทดแทนที่สมเหตุผลเพื่อความผาสุกของทุกฝ่าย และประชาชนก็ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วง แสดงให้เห็นว่าประชาชนต้องการทางออกที่ดีกว่านี้
ข้อเสนอแนะ
ปัญหามลพิษที่ประชาชนยกขึ้นมานั้น ได้แก่ น้ำเสีย อากาศ (กลิ่น แก๊สพิษ ควันพิษ ฝุ่น) ขยะ เสียง และสารเคมี ซึ่งประชาชนได้พบเห็นเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงว่าที่ผ่านมายังมีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิผลและยังไม่เป็นที่พึงพอใจเท่าที่ควร ประชาชนต่างเห็นถึงการกระทำผิดกฎหมายในการปล่อยมลพิษอยู่เนือง ๆ เช่น การปล่อยแก๊สพิษในยามที่อากาศโปร่ง หรือการปล่อยน้ำเสียโดยไม่บำบัดในช่วงที่เกิดฝนตกหนัก เป็นต้น
สำหรับแนวทางการแก้ไขที่ประชาชนเสนอ มีดังนี้
1. โดยทั่วไปประชาชนอยากให้มีการสร้างจิตสำนึกของโรงงาน ไม่ให้ละเมิดต่อชุมชน และต้องการให้หน่วยราชการหรือโรงงานมีการดำเนินการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ไม่ใช่แบบสร้างภาพ
2. ในส่วนที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้น บางส่วนต้องการให้มีการลดจำนวนโรงงาน หรือหยุดขยายโรงงานโดยสิ้นเชิง การควบคุมการอนุญาตเปิดโรงงานต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานอย่างเข้มงวด การควบคุมการปล่อยมลพิษตามเกณฑ์ที่กำหนด และตามเวลาที่เหมาะสม การตรวจสอบสภาพโรงงานโดยหน่วยงานอิสระเป็นระยะ ๆ จะได้ไม่รุนแรง การติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัยและตรวจจับมลพิษ การลงโทษโรงงานที่ปล่อยมลพิษอย่างเข้มงวด เช่น ปิดโรงงาน และการให้โรงงานแสดงแผนการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
3. ในส่วนของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านั้น ประชาชนต้องการให้มีแพทย์-พยาบาลไปตรวจสุขภาพประชาชนเป็นระยะ ๆ และการแจกหน้ากากอนามัย
4. ในส่วนของการป้องกันนั้น มีข้อเสนอแนะให้มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ และปลูกต้นไม้จำนวนมากเพื่อลดมลพิษ
5. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนนั้น มีข้อเสนอให้ให้มีการตั้งกองทุนและสนับสนุนให้ทุนแก่ชุมชนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การรับฟังเสียงของประชาชนและการประชุมร่วมระหว่างประชาชนกับโรงงาน การให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องมลพิษและการเฝ้าระวัง รวมทั้ง การเปิดเผยข้อมูล โปร่งใส ไม่ปิดข่าว
6. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองและการเวนคืน มีข้อเสนอแนะให้มีการแยกพื้นที่อยู่อาศัยกับอุตสาหกรรมให้ชัดเจน การให้โรงงานซื้อที่ดินรอบ ๆ โรงงานเพื่อเป็นแนวกันชน การย้ายชุมชนออกไป การจัดหาที่อยู่อาศัยให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า และการเวนคืนที่ดินเพื่อการขยายอุตสาหกรรม
คณะนักวิจัยเห็นว่า แนวทางการแก้ไขจึงอยู่ที่การตรวจสอบเพื่อควบคุมการกระทำผิดกฎหมายเช่นนี้อย่างใกล้ชิด หากทางราชการหรือภาคประชาชนได้จัดตั้งหน่วยงานที่เป็นกลางซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียมาตรวจสอบอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พร้อมกับการรายงานผลการตรวจสอบต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เชื่อว่าการปล่อยมลพิษในรูปแบบต่าง ๆ จะลดน้อยลง
การที่ประชาชนในพื้นที่ยังมีความเชื่อว่าโรงงานจำนวนมากทั้งที่เป็นของบริษัทมหาชนและบริษัททั่วไป ยังมีการละเมิดกฎหมาย ละเมิดต่อผู้อยู่อาศัยหรือชุมชนโดยรอบนั้น ถือเป็นการละเมิด เป็นอาชญากรรม และถือเป็นการขาดความรับผิดชอบต่อสังคมโดยตรง ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ และการฟ้องร้องเป็นราย ๆ ไป จึงน่าจะเป็นมาตรการแก้ไขและป้องกันปัญหามากกว่าการเหวี่ยงแห ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน
โรงงานต่าง ๆ ต้องดำเนินการไปอย่างจริงจังและตรวจสอบในการได้ จึงจะยังความเชื่อถือจากประชาชน ผู้ประกอบอุตสาหกรรมก็ควรตระหนักว่า การลดต้นทุนด้วยการแพร่กระจายมลพิษนั้น ย่อมส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมในระยะยาว เพราะจะถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
(ดร.โสภณ พรโชคชัย)
ประธานกรรมการบริหาร
มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
[email protected]
โทร.0.2295.3171