หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ตัวอย่างพฤติกรรมของมวลชนในตลาดหุ้น

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 26, 2010 3:31 pm
โดย thaloengsak

Re: ตัวอย่างพฤติกรรมของมวลชนในตลาดหุ้น

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 29, 2010 11:05 am
โดย tooyen
เคยได้ยินไม่นึกว่าหนูlemmingจะน่ารักคิดว่าเหมือนหนูทั่วไป ดูแล้วมันก็กล้าหาญน่าดู ผู้นำของมันและตัวที่ตามก็ตายหมู่ ส่วนพฤติกรรมมวลชนในตลาดหุ้น(ในการเก็งกำไร)ผู้นำมักไม่ตายแต่ผู้ตามท้ายๆมักไม่รอดครับ

Re: ตัวอย่างพฤติกรรมของมวลชนในตลาดหุ้น

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 01, 2010 5:00 am
โดย kookpoon
ไม่เข้าใจ? มันฆ่าตัวตายทำไม ?

Re: ตัวอย่างพฤติกรรมของมวลชนในตลาดหุ้น

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 01, 2010 7:00 pm
โดย Frodo
เท่าที่ทราบก็ยังไม่มีใครเข้าใจมันเหมือนกันครับ

บ้างก็เดาว่าเป็นการลดจำนวนประชากร เพื่อไม่ให้ตายหมู่

เนื่องจากประชากรล้นครับ

Re: ตัวอย่างพฤติกรรมของมวลชนในตลาดหุ้น

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 08, 2010 9:52 am
โดย gongort2
ขอแก้ไขความเข้าใจผิดกันหน่อยนะครับ

http://www.abc.net.au/science/articles/ ... sinscience

Lemmings Suicide Myth

คือเราจะเข้าใจเอาว่า Lemmings จะฆ่าตัวตายหมู่
ลองอ่านบทความดูจะรู้ว่าไม่ใช่
แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่คนทำให้เราคิดว่ามันเป็นอย่างนั้น

เอาส่วนท้ายของบทความมาโพสนะครับ
ลองอ่านกันดู

"So lemmings do have their regular wild fluctuations in population - and when the numbers are high, the lemmings do migrate.

The myth of mass lemming suicide began when the Walt Disney movie, Wild Wilderness was released in 1958. It was filmed in Alberta, Canada, far from the sea and not a native home to lemmings. So the filmmakers imported lemmings, by buying them from Inuit children. The migration sequence was filmed by placing the lemmings on a spinning turntable that was covered with snow, and then shooting it from many different angles. The cliff-death-plunge sequence was done by herding the lemmings over a small cliff into a river. It's easy to understand why the filmmakers did this - wild animals are notoriously uncooperative, and a migration-of-doom followed by a cliff-of-death sequence is far more dramatic to show than the lemmings' self-implemented population-density management plan.

So lemmings do not commit mass suicide. Indeed, animals live to thrive and survive. Consider a company like Disney, where one rodent, namely Mickey Mouse, was Royalty. It's rather odd to think that Disney could be so unkind to another rodent, the lemming..."

Re: ตัวอย่างพฤติกรรมของมวลชนในตลาดหุ้น

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 08, 2010 12:32 pm
โดย tooyen
หนูเลมมิ่งฆ่าตัวตายหมู่

ต้นศตวรรษที่ 19 จำนวนประชากรของหนูเลมมิ่ง (Lemming) ลดลงอย่างฮวบฮาบจนน่าตกใจทั้งๆที่มันเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นจนปัญญาไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าทำไม จนกระทั่งในปี 1908 อาร์เธอร์ มี (Arthur Mee) แต่งเรื่องหนูเลมมิ่งฆ่าตัวตายหมู่บรรจุลงในสารานุกรมสำหรับเด็ก

อาร์เธอร์ให้เหตุผลว่าเมื่อประชากรหนูเลมมิ่งมีมากเกินไป สัญชาตญาณบังคับให้พวกมันฆ่าตัวตายหมู่เพื่อลดจำนวนประชากร หาไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่มีอาหารเหลือเพียงพอสำหรับหนูเลมมิ่งรุ่นใหม่หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ คำกล่าวอ้างของอาร์เธอร์ถูกพิสูจน์ในอีก 50 ปีต่อมาโดยทีมงานสารคดีสัตว์โลกของวอลท์ ดิสนีย์ (Walt Disney)

ปี 1958 ทีมงานสารคดีเรื่อง White Wilderness สามารถบันทึกภาพฝูงหนูเลมมิ่งร่วมใจกันกระโดดหน้าผาลงสู่ท้องทะเล พิสูจน์ทฤษฎีของอาร์เธอร์ว่าถูกต้อง ส่งผลให้ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาสารคดียอดเยี่ยม ในปี 1959

มันเป็นไปได้อย่างไร สัตว์ทั้งหลายล้วนแต่มีสัญชาตญาณเอาตัวรอดไม่ใช่ฆ่าตัวตาย หรือว่าหนูเลมมิ่งเป็นสัตว์ที่มีจริยธรรมสูงส่ง ยอมสละชีวิตของตัวเองเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ แต่ความน่าเชื่อถือของทีมงานวอลท์ ดิสนีย์ ประกอบกับหลักฐานฟิล์มภาพยนตร์ ทำให้ทุกคนเชื่อว่าหนูเลมมิ่งกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายหมู่เป็นเรื่องจริง

เบื้องหลังสารคดี

White Wilderness ถ่ายทำในเมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ซึ่งไม่ใช่ถิ่นที่อยู่อาศัยของหนูเลมมิ่ง ทีมงานได้กว้านซื้อหนูเลมมิ่งจำนวนหนึ่งแล้วนำไปปล่อยบนเกาะ นำหิมะมาโปรยลงบนพื้นจัดฉากว่าถ่ายทำบริเวณแถบขั้วโลกเหนือ

อาศัยการใช้มุมกล้องและการตัดต่อให้ภาพออกมาเหมือนมีฝูงหนูเลมมิ่งจำนวนมากเคลื่อนพลออกจากทุ่งหญ้า เมื่อพิจารณาจากการใช้มุมกล้องแคบๆ ทำให้เชื่อได้ว่ามีการต้อนหนูเลมมิ่งไปยังริมหน้าผาและบังคับให้พวกหนูเลมมิ่งกระโดดหน้าผา

ผู้บรรยายอธิบายว่าเมื่อประชากรหนูเลมมิ่งมีจำนวนมากขึ้น หนูเลมมิ่งจำนวนหนึ่งจำเป็นต้องอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อหาแหล่งอาหารใหม่แม้ว่าจะต้องว่ายน้ำข้ามทะเลไปหลายร้อยไมล์ก็ตาม เพื่อให้หนูเลมมิ่งรุ่นเยาว์ที่ยังอยู่บนเกาะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้จากปริมาณอาหารที่เหลืออยู่อย่างจำกัด

เมื่อพิจารณาภาพทีละเฟรม จะพบว่ามีหนูเลมมิ่งปรากฏอยู่พร้อมๆกันครั้งละไม่เกิน 20 ตัวเท่านั้น จึงเป็นไปได้ว่ามีการถ่ายทำหนูชุดเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าในพื้นที่ต่างๆแล้วนำมาตัดต่อให้ดูเหมือนมีฝูงหนูเลมมิ่งจำนวนมาก ปัจจุบันยังไม่มีใครสืบสวนว่บริษัทดิสนีย์รู้เห็นเป็นใจกับทีมงานกับการผลิตสารคดีแหกตาประชาชนในครั้งนี้หรือไม่

เรื่องราวเหล่านี้ตอกย้ำคำสอนในกาลามะสูตรที่กล่าวว่า “อย่าเชื่อถือเพียงเพราะผู้พูดเป็นสมณะหรือครูอาจารย์”

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 5 ฉบับที่ 226 วันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552 หน้า 42 คอลัมน์ ร้ายสาระ โดย ศิลป์ อิศเรศ
ขอบคุณน้องgongort2 ที่บอกผมเลยไปค้นข้อมูลนี้มา