อยากทราบครับว่า มีหุ้นตัวไหนที่เกี่ยวข้องกับ BPA ครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 28, 2010 11:16 pm
จากข่าวครับว่า อียู จะแบน ขวดนมที่ปนเปื้อน BPA
ข่าวนี้จะกระทบกับ หุ้นกลุ่มไหนหรือตัวไหนไหมครับ
อียูประกาศห้ามใช้ขวดนม เปื้อนสารพิษก่อมะเร็ง-บีพีเอ กระทบพัฒนาการเด็ก แบนห้ามนำเข้า มิ.ย.ปีหน้าวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 13:33:23 น.
แบ่งปันข่าวนี้บน facebook Share
สหภาพยุโรปได้ประกาศแบนขวดนมเด็กที่ปนเปื้อนสารเคมี บิสฟีนอล-เอ (บีพีเอ) (Bisphenol A: BPA) เนื่องจากพบว่าสารเคมีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก ทั้งปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค และกระตุ้นให้เกิดเนื้องอกในเด็กที่ดื่มนมจากขวดพลาสติกดังกล่าว โดยจะเริ่มห้ามการนำเข้าและขายขวดนมพลาสติกปนเปื้อนสารดังกล่าวในเดือน มิ.ย.ปีหน้า
คณะกรรมาธิการสาธารณสุขและนโยบายผู้บริโภคของอียู ตรวจสอบพบว่าสารบิสฟีนอล-เอ (บีพีเอ) จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ ปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค และกระตุ้นให้เกิดเนื้องอกในเด็กผู้ดื่มนมจากขวดพลาสติกดังกล่าว โดยอียูจะเริ่มห้ามการนำเข้าและขายขวดนมพลาสติกปนเปื้อนสารดังกล่าวในเดือนมิถุนายนปีหน้า
นายจอห์น ดัลลี คณะกรรมาธิการกิจการนโยบายสาธารณสุข และผู้บริโภคของอียู กล่าวว่า ชาวสหภาพยุโรปมั่นใจได้ว่าในกลางปี 2554 ขวดนมทารกจะปราศจากสารบีพีเอ ทั้งนี้ ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้บริโภคด้วยมาตรการดังกล่าวที่รอผ่านการสนับสนุนจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาล ไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภายุโรป จะทำให้คำสั่งห้ามผลิตขวดนมทารกด้วยโพลีคาร์บอนเนตที่มีสารประกอบบีพีเอปนเปื้อนอยู่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 และห้ามจำหน่าย และนำเข้าขวดนมปนเปื้อนสารบีพีเอในตลาดอียู ซึ่งเป็นตลาดการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนปี 2554 เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้ แคนาดาเป็นประเทศแรกที่ระบุว่าสารบีพีเอมีอันตรายต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ขณะที่มีโรงงานผลิตขวดพลาสติก 6 แห่ง ในสหรัฐ ยุติการนำสารเคมีดังกล่าวมาใช้ผลิตขวด ซึ่งจำหน่ายภายในประเทศเมื่อปีที่แล้ว สำหรับสารบีพีเอมักถูกใช้เพื่อทำให้ขวดเครื่องดื่มพลาสติกต่าง ๆ มีคุณภาพแข็งแรงและใสสะอาด
สำหรับบีพีเอ เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติคประเภท โพลีคาร์บอเนต (polycarbonate plastic) และอีพอกซีเรซิ่น (Epoxy resins) โดยอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ได้แก่ พวกขวดต่างๆ อุปกรณ์กีฬา และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโพลิเมอร์ (Polymers) นอกจากนี้ยังนำบีพีเอเป็นส่วนประกอบในการผลิตวัสดุใช้ในวงการทันตกรรม เนื่องจากบีพีเอเป็นตัวทำให้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติคมีความแข็งแรงมากขึ้น ตามสถิติเมื่อปี 2545 ทั่วโลกใช้สารบีพีเอประมาณ 2.8 ล้านตัน
ข่าวนี้จะกระทบกับ หุ้นกลุ่มไหนหรือตัวไหนไหมครับ
อียูประกาศห้ามใช้ขวดนม เปื้อนสารพิษก่อมะเร็ง-บีพีเอ กระทบพัฒนาการเด็ก แบนห้ามนำเข้า มิ.ย.ปีหน้าวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลา 13:33:23 น.
แบ่งปันข่าวนี้บน facebook Share
สหภาพยุโรปได้ประกาศแบนขวดนมเด็กที่ปนเปื้อนสารเคมี บิสฟีนอล-เอ (บีพีเอ) (Bisphenol A: BPA) เนื่องจากพบว่าสารเคมีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก ทั้งปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค และกระตุ้นให้เกิดเนื้องอกในเด็กที่ดื่มนมจากขวดพลาสติกดังกล่าว โดยจะเริ่มห้ามการนำเข้าและขายขวดนมพลาสติกปนเปื้อนสารดังกล่าวในเดือน มิ.ย.ปีหน้า
คณะกรรมาธิการสาธารณสุขและนโยบายผู้บริโภคของอียู ตรวจสอบพบว่าสารบิสฟีนอล-เอ (บีพีเอ) จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ ปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค และกระตุ้นให้เกิดเนื้องอกในเด็กผู้ดื่มนมจากขวดพลาสติกดังกล่าว โดยอียูจะเริ่มห้ามการนำเข้าและขายขวดนมพลาสติกปนเปื้อนสารดังกล่าวในเดือนมิถุนายนปีหน้า
นายจอห์น ดัลลี คณะกรรมาธิการกิจการนโยบายสาธารณสุข และผู้บริโภคของอียู กล่าวว่า ชาวสหภาพยุโรปมั่นใจได้ว่าในกลางปี 2554 ขวดนมทารกจะปราศจากสารบีพีเอ ทั้งนี้ ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้บริโภคด้วยมาตรการดังกล่าวที่รอผ่านการสนับสนุนจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาล ไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภายุโรป จะทำให้คำสั่งห้ามผลิตขวดนมทารกด้วยโพลีคาร์บอนเนตที่มีสารประกอบบีพีเอปนเปื้อนอยู่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 และห้ามจำหน่าย และนำเข้าขวดนมปนเปื้อนสารบีพีเอในตลาดอียู ซึ่งเป็นตลาดการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนปี 2554 เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้ แคนาดาเป็นประเทศแรกที่ระบุว่าสารบีพีเอมีอันตรายต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ขณะที่มีโรงงานผลิตขวดพลาสติก 6 แห่ง ในสหรัฐ ยุติการนำสารเคมีดังกล่าวมาใช้ผลิตขวด ซึ่งจำหน่ายภายในประเทศเมื่อปีที่แล้ว สำหรับสารบีพีเอมักถูกใช้เพื่อทำให้ขวดเครื่องดื่มพลาสติกต่าง ๆ มีคุณภาพแข็งแรงและใสสะอาด
สำหรับบีพีเอ เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติคประเภท โพลีคาร์บอเนต (polycarbonate plastic) และอีพอกซีเรซิ่น (Epoxy resins) โดยอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ได้แก่ พวกขวดต่างๆ อุปกรณ์กีฬา และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโพลิเมอร์ (Polymers) นอกจากนี้ยังนำบีพีเอเป็นส่วนประกอบในการผลิตวัสดุใช้ในวงการทันตกรรม เนื่องจากบีพีเอเป็นตัวทำให้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติคมีความแข็งแรงมากขึ้น ตามสถิติเมื่อปี 2545 ทั่วโลกใช้สารบีพีเอประมาณ 2.8 ล้านตัน