การคำนวนผลตอบแทนแบบฉบับของผู้จัดการกองทุนแล้วหลักๆมี 3 วิธีครับ
1. Holding Period Return
2. Dollar-Weighted Return
3. Time-Weighted Return
โดยการคำนวนแบบ XIRR ของคุณ VI Wannabe และของคุณ Ii'8N ก็คือหลักการเดียวกับ Dollar-Weighted Return นั่นเองครับ แต่วิธีที่ผมใช้เป็นหลักนั้นคือ Time-Weighted Return ครับ ทีนี้เรามาดูว่าในแต่ละวิธีนั้นต่างกันอย่างไร มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร และในสถานการณ์ไหนวิธีไหนเหมาะสมกว่า :lol:
ก่อนที่ผมจะเริ่มขอทำความตกลงเกี่ยวกับassumptionการคำนวนซักเล็กน้อยนะครับ เพื่อความเข้าใจตรงกัน
1. มูลค่าของ portfolio คือการรวมมูลค่าของสินทรัพย์ทุกชนิด รวมถึงเงินสด ด้วยนะครับ... เช่นในพอร์ตมีหุ้น 50,000 บาท เงินสด 150,000 บาท ในกรณีนี้ มูลค่าพอร์ตคือ 50,000+150,000 = 200,000 นะครับ
2. การซื้อและขายหุ้นในพอร์ต ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเงินลงทุน หรือ เปลี่ยนแปลงมูลค่าพอร์ตครับ
3. ผลตอบแทนจากการลงทุนคือรวมผลตอบแทนทั้งจาก (1) Capital gain (การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น) และ (2) Income (เช่น เงินปันผล, ดอกเบี้ย) ครับ
1. Holding Period Return
HPR = (V1/V0)-1 หรือ (V1-V0)/V0
โดย V คือมูลค่าของพอร์ตการลงทุน (V1= ปลายปี V0 = ต้นปี) ซึ่งรวมถึงผลตอบแทนทั้งจาก นะครับ
HPR คือการคำนวนผลตอบแทนที่ง่ายแต่หยายที่สุดครับ สิ่งที่ HPR บอกเราก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่งจากการหา Percentage Change ของมูลค่าพอร์ตนั่นเองครับ
ข้อจำกัดของ HPR ก็คือ...
มันสามารถใช้ได้แม่นยำกับพอร์ตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนเท่านั้นครับ ถ้าพอร์ตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนเช่น มีการฝากเงินเพิ่มเข้าไปในพอร์ตและมีการถอนเงินออกมาในระหว่างปี ถ้าเงินที่ใส่เข้าและออกคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเทียบกับมูลค่าพอร์ต (เช่น มูลค่าพอร์ต 1 ล้าน แต่ใส่และถอนเฉลี่ยแล้วหลักพันแบบนี้ ok ครับ) อยากจะใช้ HPR ก็พอได้ครับ โดยการใช้ (V1/ต้นทุนเฉลี่ยทั้งปี)-1 ได้ครับ แต่จะทำให้ผลตอบแทนที่ได้ bias upward ครับ (คำนวนได้มากกว่าผลตอบแทนที่ได้จริง)
รูป1: ถ้าพอร์ตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงต้นทุน การคำนวนทั้ง 3 วิธีจะออกมาเหมือนกันครับ
รูป2: ถ้ามีการใส่เงินเพิ่มหรือถอนออกในอัตราส่วนที่ไม่มากถ้าเทียบกับมูลค่าพอร์ต การคำนวนด้วย HPR โดยใช้สูตร (V1/ต้นทุนเฉลี่ยทั้งปี)-1 ก็จะให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับผลตอบแทนที่ได้จริงครับ (ในแบบที่ bias upward)
2. Dollar-Weighted Return
หลักการและวิธีคำนวนของ DWR นั้นใช้หลักการของ IRR อย่างที่พี่ๆได้ว่าไปนั่นแหละครับ โดยวิธีการคำนวนก็ใช้สูตร XIRR ใน Excel ครับ
ข้อดีของ DWR เหนือ HPR คือ DWR จะคำนวนผลตอบแทนโดย take หลัก Time Value of Money into account ครับ พูดง่ายๆคือนำหลักการทบต้น (compound) เข้ามาคิดด้วยนั่นเอง ซึ่งแบบนี้จะให้ตัวเลขผลตอบแทนที่ตรงกับความเป็นจริงกว่า HPR ครับ
ข้อดีอีกอย่างของ DWR ก็คือ ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะ
สะท้อนความสามารถในการจัดสรรเงินลงทุนตามจังหวะของตลาดด้วยครับ แฮ่ๆอ่านดูแบบนี้อาจจะงงนะครับ ทีนี้ลองฟังตัวอย่างนี้ดูครับ...
ถ้าสมมุติว่า ณ วันนี้คือวันที่ 31/6/2010 เราคิดว่า6เดือนหลังจากนี้ ตลาดจะเป็นขาขึ้น (ขาลง) อย่างชัดเจน เราก็เลยตัดสินใจเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปในพอร์ต (ถอนเงินลงทุนออกจากพอร์ต) เดือนละ 200 บาท... ถ้าตลาดเป็นขาขึ้น (ขาลง)จริงๆตามที่เราคาด การคำนวนแบบ DWR จะสะท้อน performance ตรงนี้ออกมาด้วยครับโดยผลตอบแทนที่ได้จะสูงขึ้นกว่าปกติ ในทางกลับกันถ้าตลาดเป็นตรงกันข้ามกับที่คาด ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะลดต่ำลงครับ
ปล. ด้วยจากข้อสมมุติฐานที่ (3) ที่ว่าผลตอบแทนของพอร์ตคือรวมทั้ง capital gain และ income ดังนั้นการนำเงินปันผลมา reinvest ผมไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของเงินสดนะครับ แต่ถือเป็นผลตอบแทนซึ่งจะรวมเข้าไปเป็นส่วนนึงของมูลค่าพอร์ตเลยนะครับ อันนี้ต้องบอกก่อนครับว่าจะแหกกฏของการคำนวนผลตอบแทนแบบที่ Fund Manager ใช้กันครับ เพราะตามหลักการจริงๆแล้ว FM จะนำเงินปันผลที่ได้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของเงินสดแบบที่พี่ VI Wannabe คำนวนครับ เหตุผลก็คือด้วยหลักการจัดการกองทุนนั้น เงินปันผลที่ได้ถือเป็นเงินได้ที่ "อยู่ภายใต้การตัดสินใจ" ครับ นั่นหมายความว่า เงินปันผลที่ได้ในตอนแรกแล้วนั้นควรเป็นเงินที่จะต้องส่งต่อไปให้ผู้ถือหน่อยลงทุนครับ (ด้วยเหตุผลทางภาษี ซึ่งไม่มีในบ้านเรา) ดังนั้นถ้าจะนำเงินปันผลนั้นใส่กลับเข้ามาในพอร์ต (reinvest) ก็จะถือว่าเงินก้อนนี้คือเงินทุนที่เพิ่มเข้าไปครับ แต่ในการบริหารพอร์ต VI แบบเราๆแล้ว เงินปันผลที่ได้ผมถือว่านำมา reinvested โดยอัตโนมัติครับ ดังนั้นมันจึงไม่ใช่ เงินที่"อยู่ภายใต้การตัดสินใจ"ครับ ดังนั้นผมจึงไม่นำมาเป็นการเคลื่อนไหวของเงินสดให้มัน capture ในการคำนวน DWR ครับ (เข้าใจกันมั้ยอ่า ถ้าพางงก็ขออภัยนะครับ
)
รูป3: จะเห็นว่า DWR จะสูงกว่า TWR ครับเพราะผลตอบแทนที่คำนวนได้จาก DWR จะ reward จากการที่เราเพิ่มเงินเข้าไปในขณะที่ผลตอบแทนเป็นขาขึ้น
รูป4: ในขณะเดียวกันถ้า เราใส่เงินเพิ่มเข้าไปในขณะที่ตลาดเป็นขาลง การคำนวนที่ได้จาก DWR จะสะท้อนความผิดพลาดตรงนี้ออกมาด้วยครับ โดยผลตอบแทนที่คำนวนได้จะต่ำกว่า TWR
ข้อสังเกตุในรูป 3,4 ก็คือตัวเลขที่ได้จาก HPR นั้นเพี๊ยนได้ใจเลยครับ เพราะสาเหตุจากเงินที่เราฝากเพิ่มไปนั้นมีสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของพอร์ตนั่นเอง
3. Time-Weighted Return
TWR นั้นคือการคำนวนผลตอบแทนโดยเอา HPR ของแต่ละ period ย่อยๆมาหาค่าเฉลี่ย geometric mean นั่นเองครับ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวนด้วย geometric mean นั้น ทำให้ตัวเลขที่ได้เป็น compounded return ครับ
วิธีการคำนวน TWR นั้นเราจะต้องหา HPR ของในแต่ละ period ย่อยๆออกมาก่อนครับ โดยความพิเศษเหนือ HPR ปกติก็คือ เราจะหัก/เพิ่มเงินที่เราฝาก/ถอน ระหว่าง period ย่อยๆนั้นออกจากมูลค่าของพอร์ตก่อนครับ หลังจากนั้นให้หา geometric average ของ HPR ในแต่ละ period ครับ (เพิ่มความไม่งง ผมขอเรียกว่า HPRx นะครับ)
โดยสูตรที่ใช้คือ TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1))-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0
ในกรณีที่ไม่มีการเพิ่มหรือถอนเงินออกจากพอร์ตลงทุน หรือมีการเพิ่ม/ถอนเงินลงทุนในขณะที่ทิศทางตลาดไม่มีความเคลื่อนไหวที่ correlate กับการเคลื่อนไหวของเงินต้น ผลที่ได้จากการคำนวน DWR และ TWR ควรจะเท่ากันครับ (ดูจากรูป 1 และ 2 ได้ครับ) โดยถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเงินลงทุนระหว่างวด ผลต่างทีได้ระหว่าง DWR และ TWR ก็จะเป็นไปตามที่ผมอธิบายไปแล้วในส่วนของ DWR ด้านบน (รูป3, 4)ครับ
ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ข้อดีของ TWR ก็คือ ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะไม่นำความสามารถในการ allocate เงินทุนเมือเทียบกับ performance ของตลาดนั่นเองครับ ... บางคนอาจะสงสัยว่าแล้วทำไมเราถึงไม่อยากเอาตรงนี้มาคิดล่ะ ในเมื่อถ้าตลาดดีเราใส่เงินเพิ่ม หรือตลาดแย่เราถอนเงินออกเราก็น่าจะได้รางวัลตรงนั้นด้วยนี่นา
คำตอบก็คือ ถ้าผมเป็นมนุษย์เงินเดือนแล้วผมจะแบ่งเงินเดือน 50% เข้าพอร์ตทุกเดือนๆ ไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร ดังนั้นผลตอบแทนที่คำนวนออกมาก็ไม่ควรจะนำทิศทางของตลาดที่มีต่อทิศทางการเพิ่ม/ลดของเงินลงทุนจริงมาคิดมั้ยครับ นี่แหละครับผมถึงนิยมใช้ TWR ในการวัดผลตอบแทนมากกว่าการใช้ DWR ซึ่งอาจจะทำให้ผลตอบแทนที่คำนวนได้ผันไปตามทิศทางของตลาดเมื่อเทียบกับการเพิ่มหรือถอนเงินลงทุนของเรา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการที่เราใส่เงินเพิ่มหรือถอนออก ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการคาดเดาหรือวิเคราะห์ตลาดแม้แต่นิดเดียว