การบริหารความเสี่ยง กับการประเมินมูลค่าแบบช่วง (Range)
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 18, 2011 8:49 am
ในการประเมินมูลค่ากิจการ เนื่องจากว่าเราประเมินมูลค่ากิจการภายใต้สมมติฐานต่างๆ ภายใต้ความน่าจะเป็น ดังนั้นมูลค่ากิจการแทบจะทั้งหมดมูลค่าที่ประเมินได้ค่าออกมาเป็นช่วง ตัวอย่างเช่น มีมูลค่าแบบ Conservative มูลค่าแบบ Base Case และมูลค่าแบบ Best Case
ลักษณะของธุรกิจ + ความเข้าใจในกิจการ จะเป็นตัวชี้วัดว่า มูลค่าที่ประเมินได้มีช่วงกว้างขนาดไหน
ตามปกติธุรกิจที่มีเสถียรภาพของกำไรจะมีช่วงของมูลค่ายุติธรรมที่แคบกว่าธุรกิจที่มีกำไรผันผวน ตัวอย่างเช่น กำไรของธุรกิจสาธารณูปโภคประเมินในระยะ 5 ปี ประเมินได้ง่ายกว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ ดังนั้น หุ้น Utility จะมี Range ของ Fair Value ที่แคบกว่า หุ้น Commo หรือ หุ้นวัฎจักร
บ่อยครั้งที่เราถือหุ้นมาจนถึงราคาเป้าหมาย ขายหุ้นออกไปแล้วหุ้นก็ยังวิ่งต่อ และอีกบ่อยครั้งที่ราคาหุ้นของเราไม่เคยไปถึงเป้าหมาย แล้วลงมาก่อน เหล่านี้ส่วนหนึ่งนั้นอาจจะเป็นผลมาจากกรอบมูลค่ายุติธรรมแบบช่วง
ดังนั้นในการบริหารความเสี่ยงของพอร์ต เราจึงควรมีกลยุทธแบบช่วง (Range) แทนที่จะเป็นแบบจุดตายตัว (Discrete) ซึ่งจะทำให้นอกจากเราสามารถบริหารพอร์ตได้สมเหตุสมผลสอดคล้องการประเมินมูลค่าของเรามากขึ้นแล้ว มันยังช่วยลดการยึดมั่น ถือมั่น ในมูลค่า ทำให้เราปล่อยวาง พร้อมรับการสถานการณ์ได้มากยิ่งขึ้น
เพราะ อย่าลืม ว่า... ทุกสรรพสิ่งล้วนมีสามัญลักษณ์ ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ อันประกอบด้วย อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) ทุกขัง (ความทนอยู่ได้ยาก) และ อนัตตา (ความไร้ซึ่งตัวตน ไม่สามารถบังคับ ให้เกิดขึ้น หรือดับไปได้) และในตลาดหุ้น คือ สถานที่ๆ รวมที่สุดแห่งความไม่เที่ยงเข้าไว้ด้วยกัน... กิจการนั้นไม่เที่ยง ราคาหุ้นยิ่งไม่เที่ยง และใจของคนที่เล่นหุ้นยิ่งไม่เที่ยงที่เป็นที่สุด
เมื่อหุ้นขึ้น Upside จะลดลง พร้อมๆ กับ Expected Return ... Concept ของการบริหารพอร์ต VI ที่ดี คือ การบริหาร Upside ของพอร์ตให้สูงที่สุด ภายใต้ความเสี่ยงทางธุรกิจที่เรายอมรับได้ ดังนั้น เมื่อหุ้นขึ้น Upside ของพอร์ตก็จะลดลงโดยปริยาย ซึ่งควรที่จะปรับพอร์ตแต่ถ้าปรับพอร์ตบ่อยเกิน ก็ไม่ดี เพราะ เราจะไม่ได้อานิสงค์ของ Momentum ที่เกิดจากความโลภของนักลงทุนคนอื่นๆ ดังนั้น สำหรับผม ผมจะกำหนดกลยุทธ เป็น 3 กรณีเช่นเดียวกับการประเมินมูลค่า ว่า
1. เมื่อราคากรอบด้านล่างสุด เราจะทำอย่างไร?
2. เมื่อราคาอยู่ในช่วงของ Base Case จะทำอย่างไร?
3. เมื่อราคาอยู่ในกรอบด้านบน เกือบๆ จะ Over ไปจนถึง Over เราจะทำอย่างไร?
คำตอบตายตัวนั้นไม่มี... เพราะ มันแล้วแต่หุ้น แล้วแต่สถานการณ์... แต่ที่แน่ๆ เราควรที่จะมีแผนรับมือกับมันอยู่ครับ
เพื่อนๆ มีความเห็นยังไงบ้างครับ? มีกลยุทธมาแลกเปลี่ยนกันไหมครับ?
ลักษณะของธุรกิจ + ความเข้าใจในกิจการ จะเป็นตัวชี้วัดว่า มูลค่าที่ประเมินได้มีช่วงกว้างขนาดไหน
ตามปกติธุรกิจที่มีเสถียรภาพของกำไรจะมีช่วงของมูลค่ายุติธรรมที่แคบกว่าธุรกิจที่มีกำไรผันผวน ตัวอย่างเช่น กำไรของธุรกิจสาธารณูปโภคประเมินในระยะ 5 ปี ประเมินได้ง่ายกว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ ดังนั้น หุ้น Utility จะมี Range ของ Fair Value ที่แคบกว่า หุ้น Commo หรือ หุ้นวัฎจักร
บ่อยครั้งที่เราถือหุ้นมาจนถึงราคาเป้าหมาย ขายหุ้นออกไปแล้วหุ้นก็ยังวิ่งต่อ และอีกบ่อยครั้งที่ราคาหุ้นของเราไม่เคยไปถึงเป้าหมาย แล้วลงมาก่อน เหล่านี้ส่วนหนึ่งนั้นอาจจะเป็นผลมาจากกรอบมูลค่ายุติธรรมแบบช่วง
ดังนั้นในการบริหารความเสี่ยงของพอร์ต เราจึงควรมีกลยุทธแบบช่วง (Range) แทนที่จะเป็นแบบจุดตายตัว (Discrete) ซึ่งจะทำให้นอกจากเราสามารถบริหารพอร์ตได้สมเหตุสมผลสอดคล้องการประเมินมูลค่าของเรามากขึ้นแล้ว มันยังช่วยลดการยึดมั่น ถือมั่น ในมูลค่า ทำให้เราปล่อยวาง พร้อมรับการสถานการณ์ได้มากยิ่งขึ้น
เพราะ อย่าลืม ว่า... ทุกสรรพสิ่งล้วนมีสามัญลักษณ์ ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ อันประกอบด้วย อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) ทุกขัง (ความทนอยู่ได้ยาก) และ อนัตตา (ความไร้ซึ่งตัวตน ไม่สามารถบังคับ ให้เกิดขึ้น หรือดับไปได้) และในตลาดหุ้น คือ สถานที่ๆ รวมที่สุดแห่งความไม่เที่ยงเข้าไว้ด้วยกัน... กิจการนั้นไม่เที่ยง ราคาหุ้นยิ่งไม่เที่ยง และใจของคนที่เล่นหุ้นยิ่งไม่เที่ยงที่เป็นที่สุด
เมื่อหุ้นขึ้น Upside จะลดลง พร้อมๆ กับ Expected Return ... Concept ของการบริหารพอร์ต VI ที่ดี คือ การบริหาร Upside ของพอร์ตให้สูงที่สุด ภายใต้ความเสี่ยงทางธุรกิจที่เรายอมรับได้ ดังนั้น เมื่อหุ้นขึ้น Upside ของพอร์ตก็จะลดลงโดยปริยาย ซึ่งควรที่จะปรับพอร์ตแต่ถ้าปรับพอร์ตบ่อยเกิน ก็ไม่ดี เพราะ เราจะไม่ได้อานิสงค์ของ Momentum ที่เกิดจากความโลภของนักลงทุนคนอื่นๆ ดังนั้น สำหรับผม ผมจะกำหนดกลยุทธ เป็น 3 กรณีเช่นเดียวกับการประเมินมูลค่า ว่า
1. เมื่อราคากรอบด้านล่างสุด เราจะทำอย่างไร?
2. เมื่อราคาอยู่ในช่วงของ Base Case จะทำอย่างไร?
3. เมื่อราคาอยู่ในกรอบด้านบน เกือบๆ จะ Over ไปจนถึง Over เราจะทำอย่างไร?
คำตอบตายตัวนั้นไม่มี... เพราะ มันแล้วแต่หุ้น แล้วแต่สถานการณ์... แต่ที่แน่ๆ เราควรที่จะมีแผนรับมือกับมันอยู่ครับ
เพื่อนๆ มีความเห็นยังไงบ้างครับ? มีกลยุทธมาแลกเปลี่ยนกันไหมครับ?