โทษทีครับพี่ เพิ่งได้เข้ามาอ่านอีกทีวันนี้ เลยมาตอบช้าไปหน่อย
ก่อนอื่นขอชี้แจงนิดนึงครับว่าสูตรที่ผมเสนอนั้น ไม่ใช่ว่าผมคิดเองนะครับ แต่ลอกมาจากหนังสือ The Little Book that Beats the Market ทั้งหมดเลย แต่ผมพยายามตีความจากหนังสือให้เข้าใจเท่านั้นเอง
เรื่องแรก Earnings Yield นั้น ประกอบด้วย 2 ส่วน
ส่วนแรกคือใช้ EBIT แทน Net Profit ก็เพราะต้องการเปรียบเทียบบริษัทที่มีระดับหนี้สินและอัตราภาษีต่างกันให้อยู่บนฐานเดียวกันได้
และส่วนที่สองคือ Enterprise Value นั้น ในหนังสือบอกว่า เขาใช้แทน Price of Equity เพราะว่ามูลค่าบริษัทนั้นรวมทั้งส่วนของผู้ถือหุ้นและ Debt Financing ด้วย ซึ่งบริษัทใช้เงินทุนจากทั้งสองทางมาสร้างกำไรจากการดำเนินงาน ซึ่งทำให้เราสามารถเปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่มีระดับหนี้สินและอัตราภาษีแตกต่างกันได้เช่นกัน
เขายกตัวอย่างว่า หากบริษัทระดมทุนสร้างอาคารมูลค่า 1,000,000 โดยใช้เงินกู้ 800,000 และส่วนผู้ถือหุ้น 200,000 โดยอาคารสามารถสร้าง EBIT = $100,000 ในกรณีนี้ Earnings Yield แบบของเขา จะได้ = 100,000/1,000,000 = 10% แต่หากใช้ Net Profit แล้ว (สมมติให้ดอกเบี้ยเงินกู้ 6% และอัตราภาษี 40%) Net Profit จะกลายเป็น $31,200 (EBIT 100,000- ดอกเบี้ย 48,000 - ภาษี 20,800 = Net Profit 31,200) ถ้าเราคิด ROA ก็จะได้ = 31,200/1,000,000 = 0.31% แต่ถ้าคิด ROE = 31,200/200,000 = 15.6%
โจเอลยังยกตัวอย่างในรายละเอียดต่อว่า สมมติเราเปรียบเทียบบริษัท A กับ บริษัท B โดยมีข้อมูลดังนี้
บริษัท A บริษัท B
รายได้ 100 100
EBIT 10 10
ดอกเบี้ยจ่าย 0 5
กำไรก่อนภาษี 10 5
ภาษี (@40%) 4 2
กำไรสุทธิ 6 3
Market Cap 60 10
ถามว่า หุ้นตัวไหนถูกกว่า?
P/E 10 3.33
ถ้าเราใช้ P/E หุ้น B จะถูกกว่าหุ้น A
แต่ถ้าเราใช้ Earnings Yield แบบ EBIT/EV เปรียบเทียบ พบว่า
EBIT/EV ของหุ้น A = 10/(60+0) = 16.7%
EBIT/EV ของหุ้น B = 10/(10+50) = 16.7%
แปลว่า ทั้งสองบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานเหมือนกัน พูดง่ายๆก็คือ
ไม่ว่าคุณจะเลือกจ่าย 60 เพื่อบริษัทที่ไม่มีหนี้เลย ก็มีค่าเท่ากับ จ่ายค่าหุ้น 10 เพื่อเป็นเจ้าของบริษัทที่ติดหนี้อีก 50 นั่นเอง
เรื่อง
Market Value of Equity ผมคิดว่า ก็เหมือนกับ Market Cap. นั่นล่ะครับ แต่ในหนังสือมีหมายเหตุเพิ่มเติมว่า ให้รวม มูลค่าหุ้นบุริมสิทธิด้วย ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าในตลาดหุ้นมีหุ้นสักกี่ตัวที่มีหุ้นบุริมสิทธิ และมูลค่าตลาดของหุ้นบุริมสิทธิคิดอย่างไร ตอนนี้ผมจึงคิดว่า
เท่ากับ Market Cap. จะสะดวกสุด
สำหรับ
Net Interest-bearing Debt นั้น เขาไม่ได้เขียนอธิบายไว้ว่าแปลว่าอะไร ผมเข้าใจว่า น่าจะหมายถึง หนี้สินทั้งหมดที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ทั้งเงินกู้ธนาคารและหุ้นกู้ที่บริษัทออก แต่ไม่แน่ใจเรื่องที่ว่า Net คืออะไร แต่อ่านที่พี่ครรชิตค้นมาและความเห็นประกอบของพี่แล้ว
ผมเห็นด้วยกับพี่ครับ
สำหรับตัววัดที่สอง คือ Return on Capital นั้น = EBIT / (Net Working Capital + Net Fixed Assets)
Net Working Capital ผมเห็นด้วยกับพี่ว่า = ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ - เจ้าหนี้การค้า (ไม่เอาเงินสดมาคำนวณด้วย)
แต่
Net Fixed Asset ผมคิดว่า ไม่ควรเอาหนี้สินไม่หมุนเวียนมาหักออก เพราะคำว่า Net ตรงนี้ผมเข้าใจว่า หมายถึง การหักเอาค่าเสื่อมราคาสะสมออกเท่านั้น หมายความว่า สภาพสินทรัพย์ถาวรปัจจุบัน เช่น อาคาร สำนักงาน โรงงาน ฯลฯ ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ อันที่จริงผมคิดว่าหากหามูลค่าตลาดของสินทรัพย์ถาวรได้น่าจะดีที่สุด แต่ทำให้ยุ่งยากจนเกินกว่าจะเป็น Magic Formula จึงใช้แค่ การหักค่าเสื่อมออกให้ใกล้เคียงกับมูลค่าปัจจุบันที่สุดแทน ส่วนหนี้สินไม่หมุนเวียนนั้น ไม่น่าจะเกี่ยวกับสินทรัพย์ถาวร เพราะหากนำมาหักออกไป ทุนที่ใช้ในการทำธุรกิจจะต่ำเกินจริง และสินทรัพย์ถาวรนั้นก็ไม่ได้ funding ด้วยหนี้สินไม่หมุนเวียนอย่างเดียวแต่มี Equity เข้าไปผสมด้วย ผมคิดว่าคนละเรื่องกัน
สรุปคือ ผมเห็นด้วยกับสูตรพี่ทุกอย่าง ยกเว้น Net Fixed Asset ที่ผมคิดว่า น่าจะเป็น สินทรัพย์ถาวร หักค่าเสื่อมราคาสะสม เท่านั้น (ไม่นำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาคำนวณด้วย)
ถึงตรงนี้ ก็ต้องขอบคุณพี่ครรชิตมากที่ช่วยทำสูตรต่างๆเข้าไปในไฟล์ให้ มันสุดยอดจริงๆครับ