เหตุและผล
-
- Verified User
- โพสต์: 1598
- ผู้ติดตาม: 0
เหตุและผล
โพสต์ที่ 1
รู้อะไรไม่สู้รู้งี้
รู้งี้ซื้อมากกว่านี้ รู้งี้ไม่ซื้อดีกว่า
คำว่า "รู้งี้" หมายถึงอะไร รู้ว่าหุ้นจะขึ้นหรือจะลง หรือ รู้ถึงเหตุที่ทำให้หุ้นขึ้นลงครับ
หลายๆ ท่านต้องบอกว่าถ้ารู้ผลได้ก่อนก็ดีสิ แต่ในหลักความเป็นจริงแล้ว
"เหตุต้องเกิดก่อนผล"
คนที่ "เล่นหุ้น" มักจะตั้งคำถามว่าทำไมวันนี้หุ้นถึงตก แล้วก็จะมีคนที่พยามหาเหตุนานาประการมาสนับสนุนผลที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ เกิดเหตุยิงกันที่ชายแดน นายกขายไข่เป็นกิโล หรือแม้กระทั่งภรรยานายกตด ยังเป็นเหตุได้
แต่ที่ผมต้องการจะสื่อคือ ทำไมคนส่วนมากมักจะกังวลกับเหตุที่ได้เกิดขึ้นแล้ว แทนที่จะหาทางออกกับผลในปัจจุบัน (เตรียมแผนรับมือกับเหตุที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่เกิดเหตุ)
แน่นอนครับ ไม่มีใครสามารถความการณ์เหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ทุกๆ เหตุการณ์ แต่ถ้าเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเกิดเราจะทำยังไง???
ใช่ครับ ผมพูดถึง "ทางออกฉุกเฉิน"
ผมคงบอกไม่ได้ว่า ทางออกฉุกเฉิน ของแต่ละท่านอยู่ตรงไหน แต่ผมมีทางออกฉุกเฉินของผม
ท่านละครับเคยมองหา ทางออกฉุกเฉิน ไหมครับ
ในตลาดหุ้นมีหุ้นมากมาย มีระยะเวลาลงทุนอีกยาวนาน (ผมไม่คิดว่าตลาดหุ้นจะปิดก่อนผมตาย) ไม่จำเป็นต้องเอาเงินเราไปเสี่ยงกับสิ่งที่เราไม่รู้ เอาเงินไปเสี่ยงกับอะไรที่มันเทาๆ
ลองมองด้วยใจที่เป็นกลาง มองอย่างคนไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นคุณจะทำอย่างไร อย่าอมทุกข์(หุ้น) จนลืมเหตุผลหลักของการลงทุนนะครับ เราต้องการ "กำไร" ไม่ได้ต้องการคำชมว่าเป็น VI เป็นคนที่ทนถือหุ้นได้นาน
คุยกันเล่นๆสนุกสนานนะครับ
รู้งี้ซื้อมากกว่านี้ รู้งี้ไม่ซื้อดีกว่า
คำว่า "รู้งี้" หมายถึงอะไร รู้ว่าหุ้นจะขึ้นหรือจะลง หรือ รู้ถึงเหตุที่ทำให้หุ้นขึ้นลงครับ
หลายๆ ท่านต้องบอกว่าถ้ารู้ผลได้ก่อนก็ดีสิ แต่ในหลักความเป็นจริงแล้ว
"เหตุต้องเกิดก่อนผล"
คนที่ "เล่นหุ้น" มักจะตั้งคำถามว่าทำไมวันนี้หุ้นถึงตก แล้วก็จะมีคนที่พยามหาเหตุนานาประการมาสนับสนุนผลที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ เกิดเหตุยิงกันที่ชายแดน นายกขายไข่เป็นกิโล หรือแม้กระทั่งภรรยานายกตด ยังเป็นเหตุได้
แต่ที่ผมต้องการจะสื่อคือ ทำไมคนส่วนมากมักจะกังวลกับเหตุที่ได้เกิดขึ้นแล้ว แทนที่จะหาทางออกกับผลในปัจจุบัน (เตรียมแผนรับมือกับเหตุที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่เกิดเหตุ)
แน่นอนครับ ไม่มีใครสามารถความการณ์เหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ทุกๆ เหตุการณ์ แต่ถ้าเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเกิดเราจะทำยังไง???
ใช่ครับ ผมพูดถึง "ทางออกฉุกเฉิน"
ผมคงบอกไม่ได้ว่า ทางออกฉุกเฉิน ของแต่ละท่านอยู่ตรงไหน แต่ผมมีทางออกฉุกเฉินของผม
ท่านละครับเคยมองหา ทางออกฉุกเฉิน ไหมครับ
ในตลาดหุ้นมีหุ้นมากมาย มีระยะเวลาลงทุนอีกยาวนาน (ผมไม่คิดว่าตลาดหุ้นจะปิดก่อนผมตาย) ไม่จำเป็นต้องเอาเงินเราไปเสี่ยงกับสิ่งที่เราไม่รู้ เอาเงินไปเสี่ยงกับอะไรที่มันเทาๆ
ลองมองด้วยใจที่เป็นกลาง มองอย่างคนไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นคุณจะทำอย่างไร อย่าอมทุกข์(หุ้น) จนลืมเหตุผลหลักของการลงทุนนะครับ เราต้องการ "กำไร" ไม่ได้ต้องการคำชมว่าเป็น VI เป็นคนที่ทนถือหุ้นได้นาน
คุยกันเล่นๆสนุกสนานนะครับ
อย่ามัวติดกับเรื่องในอดีต กังวลกับเรื่องในอนาคต จนลืมว่าปัจจุบันต้องทำอะไร
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุและผล
โพสต์ที่ 2
ผมเห็นด้วยครับในสภาวะผิดปกติ เราต้องมี Plan B (ทางออกฉุกเฉิน)
ผมคิดว่าการที่เราอยู่เฉยๆ ในสภาวะที่หุ้นตก (หรือขึ้นแบบรุนแรง)ไม่น่าถูกต้อง
เราต้องมี Plan แตกต่างจากสภาวะที่เป็นปกติ (Side Way)
ผมเคยเล่นหุ้นโดยมองแต่มูลค่าที่เป็น บาท และ ผลตอบแทนเงินปันผลที่เป็น บาท
วันนี้ผมถือว่า ปริมาณ หรือ จำนวนหุ้นใน Port มีความสำคัญไม่แพ้ หรือ มากกว่ามูลค่าหุ้นที่เป็นบาทด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดผันผวนรุนแรง
ผมถามคำถามง่ายๆครับว่า ถ้าให้เลือกเอาระหว่างได้ปันผล 5% กับได้ปริมาณหุ้นมากขึ้น 5% อันใหนมีค่ามากกว่า?
อย่าลืมครับว่าวันที่ปันผล 5% หุ้นจะตกลงไป 5% เช่นกัน และ ใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง หรือ อาจ 1 รอบการปันผลเพื่อจะกลับมาที่ราคาเก่า
แต่การได้จำนวนหุ้นมากขึ้น 5% มันส่งผลทันทีถ้า มูลค่ากิจการไม่ได้เปลี่ยน
แต่แน่นอนการขายหุ้นในช่วงหุ้นตก เพื่อถือเงินสดไว้แล้วรอให้หุ้นตัวนั้นต่ำลงแล้วกลับไปซื้อเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เราไม่มีทางรู้อนาคตว่ามันจะเป็นไปตามนั้น 100% ผมไม่แนะนำให้ทำ
ผมจะใช้สัจจะธรรม "อยู่กับปัจจุบัน"
เมื่อใดก็ตามที่ผมขายหุ้นตัวหนึ่ง ต้องสามารถซื้อหุ้นอีกตัวหนึ่งได้ทันทีในปริมาณที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อวาน หรือ เดือนที่แล้ว ฯลฯ ไม่เช่นนั้นไม่ขาย
แต่มันหมายถึงว่าคุณต้องมีตัวเลขสัดส่วนที่ชัดเจน ว่าหุ้นตัวหนึ่งมีค่าเท่ากับเท่าไหร่เมื่อเทียบกับอีกตัวหนึ่งในช่วงระยะเวลาหลายปีนับจากนี้
มันหมายถึงการประมาณมูลค่ากิจการ ผลตอบแทน การเติบโต ในระยะยาวอย่างชัดแจ้ง ไม่เช่นนั้นจะทำได้ยาก
ลองฝึกดูซิครับ แล้วคุณจะรู้ว่า ถ้าจะเป็น VI สามารถขายหุ้นได้ และแทบไม่เคยรู้สึกสะทกสะท้านกับหุ้นขึ้นหรือตกเลย แต่มันกลับเพิ่ม Opportunities ให้เราได้มากขึ้น
ผมคิดว่าการที่เราอยู่เฉยๆ ในสภาวะที่หุ้นตก (หรือขึ้นแบบรุนแรง)ไม่น่าถูกต้อง
เราต้องมี Plan แตกต่างจากสภาวะที่เป็นปกติ (Side Way)
ผมเคยเล่นหุ้นโดยมองแต่มูลค่าที่เป็น บาท และ ผลตอบแทนเงินปันผลที่เป็น บาท
วันนี้ผมถือว่า ปริมาณ หรือ จำนวนหุ้นใน Port มีความสำคัญไม่แพ้ หรือ มากกว่ามูลค่าหุ้นที่เป็นบาทด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดผันผวนรุนแรง
ผมถามคำถามง่ายๆครับว่า ถ้าให้เลือกเอาระหว่างได้ปันผล 5% กับได้ปริมาณหุ้นมากขึ้น 5% อันใหนมีค่ามากกว่า?
อย่าลืมครับว่าวันที่ปันผล 5% หุ้นจะตกลงไป 5% เช่นกัน และ ใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง หรือ อาจ 1 รอบการปันผลเพื่อจะกลับมาที่ราคาเก่า
แต่การได้จำนวนหุ้นมากขึ้น 5% มันส่งผลทันทีถ้า มูลค่ากิจการไม่ได้เปลี่ยน
แต่แน่นอนการขายหุ้นในช่วงหุ้นตก เพื่อถือเงินสดไว้แล้วรอให้หุ้นตัวนั้นต่ำลงแล้วกลับไปซื้อเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เราไม่มีทางรู้อนาคตว่ามันจะเป็นไปตามนั้น 100% ผมไม่แนะนำให้ทำ
ผมจะใช้สัจจะธรรม "อยู่กับปัจจุบัน"
เมื่อใดก็ตามที่ผมขายหุ้นตัวหนึ่ง ต้องสามารถซื้อหุ้นอีกตัวหนึ่งได้ทันทีในปริมาณที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อวาน หรือ เดือนที่แล้ว ฯลฯ ไม่เช่นนั้นไม่ขาย
แต่มันหมายถึงว่าคุณต้องมีตัวเลขสัดส่วนที่ชัดเจน ว่าหุ้นตัวหนึ่งมีค่าเท่ากับเท่าไหร่เมื่อเทียบกับอีกตัวหนึ่งในช่วงระยะเวลาหลายปีนับจากนี้
มันหมายถึงการประมาณมูลค่ากิจการ ผลตอบแทน การเติบโต ในระยะยาวอย่างชัดแจ้ง ไม่เช่นนั้นจะทำได้ยาก
ลองฝึกดูซิครับ แล้วคุณจะรู้ว่า ถ้าจะเป็น VI สามารถขายหุ้นได้ และแทบไม่เคยรู้สึกสะทกสะท้านกับหุ้นขึ้นหรือตกเลย แต่มันกลับเพิ่ม Opportunities ให้เราได้มากขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1598
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุและผล
โพสต์ที่ 3
ผมไม่สามารถทำนายอนาคตได้เช่นเดียวกับทุกๆท่าน ผมไม่ได้บอกว่าตลาดจะลง
แต่สิ่งที่ผมต้องการจะออกมาเตือนคือ ผลซึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว
เช่น ผู้บริหารเจตนาที่จะไม่รายงานการซื้อขายตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แล้วบอกนักลงทุนว่าไม่ได้ซื้อขายหุ้น ทั้งๆที่ตลอด 2 ปีได้ขายหุ้นตลอด เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นท่านจะทำอย่างไร
ท่านจะให้ความเชื่อถือกับคำพูดประมาณการกำไรของผู้บริหารท่านนี้อีกไหม เชื่อในการลงบัญชีของบริษัทอีกไหม
การที่เราลงถือหุ้นตลาดเวลา บางครั้งทำให้เรามีอารมณ์ร่วมกลับตลาดมากเกินพอดีนะครับ
เราไม่สามารถชนะตลาดได้ตลอดเวลา ยอมรับความจริงข้อนี้ด้วยนะครับ
แต่เมื่อเราแพ้เราต้องรู้ว่าทำไมเราถึงแพ้ อย่าให้ประสบการณ์เป็นเพียงเสียงกระซิบที่ผ่านจากหูซ้ายแล้วออกทางหูขวา
ปล.เป็นแค่ตัวอย่างนะครับไม่ใช่เหตุการณ์จริง ^^"
แต่สิ่งที่ผมต้องการจะออกมาเตือนคือ ผลซึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว
เช่น ผู้บริหารเจตนาที่จะไม่รายงานการซื้อขายตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แล้วบอกนักลงทุนว่าไม่ได้ซื้อขายหุ้น ทั้งๆที่ตลอด 2 ปีได้ขายหุ้นตลอด เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นท่านจะทำอย่างไร
ท่านจะให้ความเชื่อถือกับคำพูดประมาณการกำไรของผู้บริหารท่านนี้อีกไหม เชื่อในการลงบัญชีของบริษัทอีกไหม
การที่เราลงถือหุ้นตลาดเวลา บางครั้งทำให้เรามีอารมณ์ร่วมกลับตลาดมากเกินพอดีนะครับ
เราไม่สามารถชนะตลาดได้ตลอดเวลา ยอมรับความจริงข้อนี้ด้วยนะครับ
แต่เมื่อเราแพ้เราต้องรู้ว่าทำไมเราถึงแพ้ อย่าให้ประสบการณ์เป็นเพียงเสียงกระซิบที่ผ่านจากหูซ้ายแล้วออกทางหูขวา
ปล.เป็นแค่ตัวอย่างนะครับไม่ใช่เหตุการณ์จริง ^^"
อย่ามัวติดกับเรื่องในอดีต กังวลกับเรื่องในอนาคต จนลืมว่าปัจจุบันต้องทำอะไร
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุและผล
โพสต์ที่ 4
ถ้ามันตกเพราะ
1. ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ต่ำ (ต่อ ผถห. พนง. และ สังคม) >>เผ่นเถอะโยม
2. พื้นฐานมันเป็นแค่นั้น เราคำนวณผิดเอง >>> ละเมียดในการปรับ port
3. เฮ ตาม SET หรือ หุ้นขนาดใหญ่ที่มีค่า เบต้าสูงๆ แล้วเกิดการขายทำกำไร >>> หาทางเพิ่มปริมาณ
4. เฮ ตาม SET ซี่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม >>> คำนวณใหม่ว่า ไอ้ตัวที่ถืออยู่ มูลค่ากิจการ (ดูอนาคต) มันยัง OK หรือไม่ ถ้าไม่ OK มันควรจะอยู่เท่าไหร่ >>> เพิ่มหรือลดปริมาณ ต้องดูในรายละเอียดเช่น
4.1 พื้นฐานมันเปลี่ยนแล้วแต่ราคาหุ้นไม่ได้ลง หรือกลับเพิ่มขึ้นไปอีก >>> ลดปริมาณลง เพื่อเอาไปซื้อตัวที่มัน มีมูลค่าต่ำกว่าพื้นฐาน เช่นในข้อ 3
4.2 พื้นฐานมันเปลี่ยนแล้ว และ ราคาหุ้นลงสอดคล้องกับพื้นฐาน >>> นอนรอซิครับ
4.3 พื้นฐานเปลี่ยนแล้ว แต่ราคาหุ้นลงต่ำกว่าพื้นฐานซะอีก Panic เกินไป >>> หาทางเพิ่มปริมาณ
ที่ผมกล่าวมา ทำได้ยาก ไม่ได้ง่าย เวลาในการศีกษาและติดตาม Indicators ต่างๆ ใช้เวลามาก แต่สนุกครับ และ จะทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ และ ที่แน่ๆ ไม่กลัวหุ้นตก
1. ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ต่ำ (ต่อ ผถห. พนง. และ สังคม) >>เผ่นเถอะโยม
2. พื้นฐานมันเป็นแค่นั้น เราคำนวณผิดเอง >>> ละเมียดในการปรับ port
3. เฮ ตาม SET หรือ หุ้นขนาดใหญ่ที่มีค่า เบต้าสูงๆ แล้วเกิดการขายทำกำไร >>> หาทางเพิ่มปริมาณ
4. เฮ ตาม SET ซี่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม >>> คำนวณใหม่ว่า ไอ้ตัวที่ถืออยู่ มูลค่ากิจการ (ดูอนาคต) มันยัง OK หรือไม่ ถ้าไม่ OK มันควรจะอยู่เท่าไหร่ >>> เพิ่มหรือลดปริมาณ ต้องดูในรายละเอียดเช่น
4.1 พื้นฐานมันเปลี่ยนแล้วแต่ราคาหุ้นไม่ได้ลง หรือกลับเพิ่มขึ้นไปอีก >>> ลดปริมาณลง เพื่อเอาไปซื้อตัวที่มัน มีมูลค่าต่ำกว่าพื้นฐาน เช่นในข้อ 3
4.2 พื้นฐานมันเปลี่ยนแล้ว และ ราคาหุ้นลงสอดคล้องกับพื้นฐาน >>> นอนรอซิครับ
4.3 พื้นฐานเปลี่ยนแล้ว แต่ราคาหุ้นลงต่ำกว่าพื้นฐานซะอีก Panic เกินไป >>> หาทางเพิ่มปริมาณ
ที่ผมกล่าวมา ทำได้ยาก ไม่ได้ง่าย เวลาในการศีกษาและติดตาม Indicators ต่างๆ ใช้เวลามาก แต่สนุกครับ และ จะทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ และ ที่แน่ๆ ไม่กลัวหุ้นตก
- VI Wannabe
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1014
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุและผล
โพสต์ที่ 6
Good stuffs. Thanks for sharing.
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"
"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 604
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุและผล
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณค่ะกุหลาบงามหลังฝน เขียน:"เหตุต้องเกิดก่อนผล"
คนที่ "เล่นหุ้น" มักจะตั้งคำถามว่าทำไมวันนี้หุ้นถึงตก แล้วก็จะมีคนที่พยามหาเหตุนานาประการมาสนับสนุนผลที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ เกิดเหตุยิงกันที่ชายแดน นายกขายไข่เป็นกิโล หรือแม้กระทั่งภรรยานายกตด ยังเป็นเหตุได้
แต่ที่ผมต้องการจะสื่อคือ ทำไมคนส่วนมากมักจะกังวลกับเหตุที่ได้เกิดขึ้นแล้ว แทนที่จะหาทางออกกับผลในปัจจุบัน (เตรียมแผนรับมือกับเหตุที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่เกิดเหตุ)
แน่นอนครับ ไม่มีใครสามารถความการณ์เหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ทุกๆ เหตุการณ์ แต่ถ้าเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเกิดเราจะทำยังไง???
ใช่ครับ ผมพูดถึง "ทางออกฉุกเฉิน"
ฝนเข้าใจว่าประเด็นที่คุณลุงจะสื่อคือ
ไม่ว่าเราจะเป็นนักลงทุนแนวใหนก็ตาม เราคิดตามหลักการคิดเหตุและผล ของความเชื่อของเรา
และที่ขาดไม่ได้ เราต้องคิดไปอีกขั้นหนึ่ง คือวางแผนให้พร้อมสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเสมอ
อาจารย์ที่ฝนนับถือ (ยกให้เป็นท่านอาจารย์ แต่ไม่รู้ว่ารับฝนเป็นศิษย์รึยัง ^^" )
กล่าวใว้ว่า
" เราคิดว่าถ้าเป็นแบบนั้นเราจะทำอย่างไร และถ้าไม่เป็นแบบนั้นแล้วเราจะทำอย่างไร"
ผิดหนึ่งพึงจดไว้.....ในสมอง
เร่งระวังผิดสอง.....ภายหน้า
สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก.....เพื่อนเอย
ถึงสี่อีกทีห้า.....หกซ้ำ อภัยไฉน
เร่งระวังผิดสอง.....ภายหน้า
สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก.....เพื่อนเอย
ถึงสี่อีกทีห้า.....หกซ้ำ อภัยไฉน
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุและผล
โพสต์ที่ 10
แต่อย่างน้อยก็ควรถามว่า "มันใหม้ในเตารึเปล่า?" ไม่ใช่เหรอครับ
:lovl: :lovl: :lovl:
:lovl: :lovl: :lovl:
- pholsuwa
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุและผล
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณครับพี่ ....กุหลาบงามหลังฝน เขียน:รู้อะไรไม่สู้รู้งี้
รู้งี้ซื้อมากกว่านี้ รู้งี้ไม่ซื้อดีกว่า
คำว่า "รู้งี้" หมายถึงอะไร รู้ว่าหุ้นจะขึ้นหรือจะลง หรือ รู้ถึงเหตุที่ทำให้หุ้นขึ้นลงครับ
หลายๆ ท่านต้องบอกว่าถ้ารู้ผลได้ก่อนก็ดีสิ แต่ในหลักความเป็นจริงแล้ว
"เหตุต้องเกิดก่อนผล"
คนที่ "เล่นหุ้น" มักจะตั้งคำถามว่าทำไมวันนี้หุ้นถึงตก แล้วก็จะมีคนที่พยามหาเหตุนานาประการมาสนับสนุนผลที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ เกิดเหตุยิงกันที่ชายแดน นายกขายไข่เป็นกิโล หรือแม้กระทั่งภรรยานายกตด ยังเป็นเหตุได้
แต่ที่ผมต้องการจะสื่อคือ ทำไมคนส่วนมากมักจะกังวลกับเหตุที่ได้เกิดขึ้นแล้ว แทนที่จะหาทางออกกับผลในปัจจุบัน (เตรียมแผนรับมือกับเหตุที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่เกิดเหตุ)
แน่นอนครับ ไม่มีใครสามารถความการณ์เหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ทุกๆ เหตุการณ์ แต่ถ้าเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงเกิดเราจะทำยังไง???
ใช่ครับ ผมพูดถึง "ทางออกฉุกเฉิน"
ผมคงบอกไม่ได้ว่า ทางออกฉุกเฉิน ของแต่ละท่านอยู่ตรงไหน แต่ผมมีทางออกฉุกเฉินของผม
ท่านละครับเคยมองหา ทางออกฉุกเฉิน ไหมครับ
ในตลาดหุ้นมีหุ้นมากมาย มีระยะเวลาลงทุนอีกยาวนาน (ผมไม่คิดว่าตลาดหุ้นจะปิดก่อนผมตาย) ไม่จำเป็นต้องเอาเงินเราไปเสี่ยงกับสิ่งที่เราไม่รู้ เอาเงินไปเสี่ยงกับอะไรที่มันเทาๆ
ลองมองด้วยใจที่เป็นกลาง มองอย่างคนไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นคุณจะทำอย่างไร อย่าอมทุกข์(หุ้น) จนลืมเหตุผลหลักของการลงทุนนะครับ เราต้องการ "กำไร" ไม่ได้ต้องการคำชมว่าเป็น VI เป็นคนที่ทนถือหุ้นได้นาน
คุยกันเล่นๆสนุกสนานนะครับ
ไม่ขาย ไม่ขาดทุน แต่ขาดใจ
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุและผล
โพสต์ที่ 13
......เป็น ข้อคิดที่เห็นภาพเลยนะครับRONNAPUM เขียน:อาจารย์ ท่านหนึ่งเขียนใน FB ว่า
ถ้าไฟใหม้ จะถามหาเหตุผล ก่อนไหม
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
-
- Verified User
- โพสต์: 1598
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุและผล
โพสต์ที่ 14
ตอนสมัยเป็นนักลงทุนใหม่ๆ ผมมักจะเข้ามาเว็บแทบทุกวัน ได้ความรู้ ได้มิตรภาพ ที่สำคัญได้เงิน ^^
ปัจจุบันลดการอ่านเหลือ อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง (แต่ช่วงนี้อ่านบ่อยหน่อยเพราะติดละคร)
ผมลงทุนมาประมาณ 7-8 ปี ในโลกการลงทุนของผมช่วงปีแรกเป็นช่วงที่มีความสุขในการลงทุนน้อยที่สุด แต่ 4 ปีหลักเป็นช่วงที่มีความสุขที่สุด
อยากจะแบ่งปันความไม่รู้ของผมให้เพื่อนนักลงทุนรุ่นใหม่ได้ฟัง
ผมอาจจะโชคดีที่เริ่มต้นชีวิตการลงทุนด้วยหลักการลงทุนที่ถูกต้อง แต่วิธีการถูกไหมผมไม่รู้ @-@
ปัจจุบันหลักการลงทุนผมยังเหมือนเดิม วิธีการเปลี่ยนไป(ถูกไหมไม่รู้) แต่ความสุขมากมาย
เราลองมองไปรอบๆตัวเรานะครับ ในโลกของการลงทุนมีส่ิงต่างให้เรียนรู้มากมาย "การคัดเลือกหุ้น" เป็นเพียงส่วนเล็กๆ(แต่สำคัญ) แต่ยังมีอีกหลายส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันเช่น "การบริหารความเสี่ยง" "การกระจายการถือครองสินทรัพย์" "การไหลเวียนของเงินในระบบ" "สมการเชิงเส้น" ฯลฯ
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น หลายๆ คนมักคิดว่า หุ้นตกดีซิจะได้ซื้อหุ้นถูก พื้นฐานไม่เปลี่ยนจะได้ซื้อหุ้นถูก เวลาหุ้นลง ซื้อเฉลี่ยขาลงตลอด คุณชนะ 99 ครั้งใน 100 ครั้ง แต่ครั้งเดียวที่แพ้ เราอาจจะต้องเริ่มต้นที่ 0 หรือติดลบ มันคุ้มไหม
อย่าทำตัวเป็นวัวหนุ่มเห็นเสือ แล้วคิดว่าเป็นแมวตัวใหญ่ หารู้ไม่แมวตัวใหญ่ตัวนั้นมันกินเราได้ทั้งตัว
ทุกวิธีการต้องมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน เป็นได้ไหมครับ ที่จะหยิบข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธีมาศึกษา ปรับให้เข้ากับตัวเองให้มากที่สุด
เรารู้แต่การคัดเลือกหุ้น ส่วนต่างความปลอดภัย แค่นี้พอแล้วหรือครับ??
อย่าหลอกตัวเองนะครับ มองด้วยใจที่เป็นกลาง แล้วถ้าตัวเองว่าเราพร้อมแค่ไหนที่จะเอาเงินที่หามาหยาดเหงื่อมาจ่ายในตลาดหุ้น???
เราลงทุนไม่ใช่เพื่อผลตอบแทนที่เป็นเม็ดเงินอย่างเดียวนะคับ ความสุขในการลงทุนก็สำคัญไม่แพ้กัน
สุดท้ายพื้นฐานคืออะไรใครรู้บ้าง???
ปัจจุบันลดการอ่านเหลือ อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง (แต่ช่วงนี้อ่านบ่อยหน่อยเพราะติดละคร)
ผมลงทุนมาประมาณ 7-8 ปี ในโลกการลงทุนของผมช่วงปีแรกเป็นช่วงที่มีความสุขในการลงทุนน้อยที่สุด แต่ 4 ปีหลักเป็นช่วงที่มีความสุขที่สุด
อยากจะแบ่งปันความไม่รู้ของผมให้เพื่อนนักลงทุนรุ่นใหม่ได้ฟัง
ผมอาจจะโชคดีที่เริ่มต้นชีวิตการลงทุนด้วยหลักการลงทุนที่ถูกต้อง แต่วิธีการถูกไหมผมไม่รู้ @-@
ปัจจุบันหลักการลงทุนผมยังเหมือนเดิม วิธีการเปลี่ยนไป(ถูกไหมไม่รู้) แต่ความสุขมากมาย
เราลองมองไปรอบๆตัวเรานะครับ ในโลกของการลงทุนมีส่ิงต่างให้เรียนรู้มากมาย "การคัดเลือกหุ้น" เป็นเพียงส่วนเล็กๆ(แต่สำคัญ) แต่ยังมีอีกหลายส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันเช่น "การบริหารความเสี่ยง" "การกระจายการถือครองสินทรัพย์" "การไหลเวียนของเงินในระบบ" "สมการเชิงเส้น" ฯลฯ
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น หลายๆ คนมักคิดว่า หุ้นตกดีซิจะได้ซื้อหุ้นถูก พื้นฐานไม่เปลี่ยนจะได้ซื้อหุ้นถูก เวลาหุ้นลง ซื้อเฉลี่ยขาลงตลอด คุณชนะ 99 ครั้งใน 100 ครั้ง แต่ครั้งเดียวที่แพ้ เราอาจจะต้องเริ่มต้นที่ 0 หรือติดลบ มันคุ้มไหม
อย่าทำตัวเป็นวัวหนุ่มเห็นเสือ แล้วคิดว่าเป็นแมวตัวใหญ่ หารู้ไม่แมวตัวใหญ่ตัวนั้นมันกินเราได้ทั้งตัว
ทุกวิธีการต้องมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน เป็นได้ไหมครับ ที่จะหยิบข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธีมาศึกษา ปรับให้เข้ากับตัวเองให้มากที่สุด
เรารู้แต่การคัดเลือกหุ้น ส่วนต่างความปลอดภัย แค่นี้พอแล้วหรือครับ??
อย่าหลอกตัวเองนะครับ มองด้วยใจที่เป็นกลาง แล้วถ้าตัวเองว่าเราพร้อมแค่ไหนที่จะเอาเงินที่หามาหยาดเหงื่อมาจ่ายในตลาดหุ้น???
เราลงทุนไม่ใช่เพื่อผลตอบแทนที่เป็นเม็ดเงินอย่างเดียวนะคับ ความสุขในการลงทุนก็สำคัญไม่แพ้กัน
สุดท้ายพื้นฐานคืออะไรใครรู้บ้าง???
อย่ามัวติดกับเรื่องในอดีต กังวลกับเรื่องในอนาคต จนลืมว่าปัจจุบันต้องทำอะไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1455
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุและผล
โพสต์ที่ 15
โดนใจมากครับ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับกุหลาบงามหลังฝน เขียน:ตอนสมัยเป็นนักลงทุนใหม่ๆ ผมมักจะเข้ามาเว็บแทบทุกวัน ได้ความรู้ ได้มิตรภาพ ที่สำคัญได้เงิน ^^
ปัจจุบันลดการอ่านเหลือ อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง (แต่ช่วงนี้อ่านบ่อยหน่อยเพราะติดละคร)
ผมลงทุนมาประมาณ 7-8 ปี ในโลกการลงทุนของผมช่วงปีแรกเป็นช่วงที่มีความสุขในการลงทุนน้อยที่สุด แต่ 4 ปีหลักเป็นช่วงที่มีความสุขที่สุด
อยากจะแบ่งปันความไม่รู้ของผมให้เพื่อนนักลงทุนรุ่นใหม่ได้ฟัง
ผมอาจจะโชคดีที่เริ่มต้นชีวิตการลงทุนด้วยหลักการลงทุนที่ถูกต้อง แต่วิธีการถูกไหมผมไม่รู้ @-@
ปัจจุบันหลักการลงทุนผมยังเหมือนเดิม วิธีการเปลี่ยนไป(ถูกไหมไม่รู้) แต่ความสุขมากมาย
เราลองมองไปรอบๆตัวเรานะครับ ในโลกของการลงทุนมีส่ิงต่างให้เรียนรู้มากมาย "การคัดเลือกหุ้น" เป็นเพียงส่วนเล็กๆ(แต่สำคัญ) แต่ยังมีอีกหลายส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันเช่น "การบริหารความเสี่ยง" "การกระจายการถือครองสินทรัพย์" "การไหลเวียนของเงินในระบบ" "สมการเชิงเส้น" ฯลฯ
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น หลายๆ คนมักคิดว่า หุ้นตกดีซิจะได้ซื้อหุ้นถูก พื้นฐานไม่เปลี่ยนจะได้ซื้อหุ้นถูก เวลาหุ้นลง ซื้อเฉลี่ยขาลงตลอด คุณชนะ 99 ครั้งใน 100 ครั้ง แต่ครั้งเดียวที่แพ้ เราอาจจะต้องเริ่มต้นที่ 0 หรือติดลบ มันคุ้มไหม
อย่าทำตัวเป็นวัวหนุ่มเห็นเสือ แล้วคิดว่ ... ได้ทั้งตัว
ทุกวิธีการต้องมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน เป็นได้ไหมครับ ที่จะหยิบข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธีมาศึกษา ปรับให้เข้ากับตัวเองให้มากที่สุด
เรารู้แต่การคัดเลือกหุ้น ส่วนต่างความปลอดภัย แค่นี้พอแล้วหรือครับ??
อย่าหลอกตัวเองนะครับ มองด้วยใจที่เป็นกลาง แล้วถ้าตัวเองว่าเราพร้อมแค่ไหนที่จะเอาเงินที่หามาหยาดเหงื่อมาจ่ายในตลาดหุ้น???
เราลงทุนไม่ใช่เพื่อผลตอบแทนที่เป็นเม็ดเงินอย่างเดียวนะคับ ความสุขในการลงทุนก็สำคัญไม่แพ้กัน
สุดท้ายพื้นฐานคืออะไรใครรู้บ้าง???
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
- pholsuwa
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุและผล
โพสต์ที่ 16
ขอบคุณครับ ผมพอจะทราบว่าพี่ต้องการจะสื่ออะไร ผมเองโชคดีที่เริ่มเล่นก็มีรุ่นพี่สอนใน limit losse ตั้งแต่แรก ผมไม่เก่งที่จะหามูลค่าหุ้นแต่ละตัวเหมือนคนอื่นๆ ผมอาศัยการลอกหุ้นในใต้เงื่อนไขปกป้องเหตุการ์ณไม่คาดฝัน ผมเลยไม่เคยเจ็บแบบถอดใจและทำผลกำไรได้ตามเป้ากุหลาบงามหลังฝน เขียน:ตอนสมัยเป็นนักลงทุนใหม่ๆ ผมมักจะเข้ามาเว็บแทบทุกวัน ได้ความรู้ ได้มิตรภาพ ที่สำคัญได้เงิน ^^
ปัจจุบันลดการอ่านเหลือ อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง (แต่ช่วงนี้อ่านบ่อยหน่อยเพราะติดละคร)
ผมลงทุนมาประมาณ 7-8 ปี ในโลกการลงทุนของผมช่วงปีแรกเป็นช่วงที่มีความสุขในการลงทุนน้อยที่สุด แต่ 4 ปีหลักเป็นช่วงที่มีความสุขที่สุด
อยากจะแบ่งปันความไม่รู้ของผมให้เพื่อนนักลงทุนรุ่นใหม่ได้ฟัง
ผมอาจจะโชคดีที่เริ่มต้นชีวิตการลงทุนด้วยหลักการลงทุนที่ถูกต้อง แต่วิธีการถูกไหมผมไม่รู้ @-@
ปัจจุบันหลักการลงทุนผมยังเหมือนเดิม วิธีการเปลี่ยนไป(ถูกไหมไม่รู้) แต่ความสุขมากมาย
เราลองมองไปรอบๆตัวเรานะครับ ในโลกของการลงทุนมีส่ิงต่างให้เรียนรู้มากมาย "การคัดเลือกหุ้น" เป็นเพียงส่วนเล็กๆ(แต่สำคัญ) แต่ยังมีอีกหลายส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันเช่น "การบริหารความเสี่ยง" "การกระจายการถือครองสินทรัพย์" "การไหลเวียนของเงินในระบบ" "สมการเชิงเส้น" ฯลฯ
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น หลายๆ คนมักคิดว่า หุ้นตกดีซิจะได้ซื้อหุ้นถูก พื้นฐานไม่เปลี่ยนจะได้ซื้อหุ้นถูก เวลาหุ้นลง ซื้อเฉลี่ยขาลงตลอด คุณชนะ 99 ครั้งใน 100 ครั้ง แต่ครั้งเดียวที่แพ้ เราอาจจะต้องเริ่มต้นที่ 0 หรือติดลบ มันคุ้มไหม
อย่าทำตัวเป็นวัวหนุ่มเห็นเสือ แล้วคิดว่าเป็นแมวตัวใหญ่ หารู้ไม่แมวตัวใหญ่ตัวนั้นมันกินเราได้ทั้งตัว
ทุกวิธีการต้องมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน เป็นได้ไหมครับ ที่จะหยิบข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธีมาศึกษา ปรับให้เข้ากับตัวเองให้มากที่สุด
เรารู้แต่การคัดเลือกหุ้น ส่วนต่างความปลอดภัย แค่นี้พอแล้วหรือครับ??
อย่าหลอกตัวเองนะครับ มองด้วยใจที่เป็นกลาง แล้วถ้าตัวเองว่าเราพร้อมแค่ไหนที่จะเอาเงินที่หามาหยาดเหงื่อมาจ่ายในตลาดหุ้น???
เราลงทุนไม่ใช่เพื่อผลตอบแทนที่เป็นเม็ดเงินอย่างเดียวนะคับ ความสุขในการลงทุนก็สำคัญไม่แพ้กัน
สุดท้ายพื้นฐานคืออะไรใครรู้บ้าง???
Stock selection, Money management, Emotion เป็นส่วนสำคัญในการลงทุน แต่มือใหม่ทั่วไปมักจะให้ความสำคัญกับ Stock selection มากเป็นพิเศษจนลืมตัวอื่นไป
Stock Selection ผมใช้พื้นฐาน (ลอกเค้า) กับทางเทคนิค (เบรก) หากผ่านสองตัวยิ่งสวย
Money Management ผมแบ่งลงทุนหุ้นไม่เกินห้าตัวที่ดีที่สุดอย่างละเท่าๆกัน ทุกเดือนจะมาดูว่าตัวไหนแย่ก็จะเอาออกแล้วใส่ตัวไหม่เข้ามา หรือลงน้ำหนักกับตัวดีที่สุดมากขึ้นตามความเหมาะสม
Emotion ผมจะไม่ขายไม่สนใจราคารายวัน หากมันยังไม่ไปเป้าที่ต้องการ คำนวณจาก MOS แต่ผมจะทิ้งทันทีหากหุ้นลงถึงจุดที่ผมวางแผนรองรับไว้ (ห้ามขาดทุนในกรณีทำกำไรไปแล้ว หรือ -7%จากจุดซื้อ) เพราะผมไม่เก่งเหมือนลุงบัฟเฟตหรือเซียนในเวปนี้
"ผมมีความสุขที่เงินที่ลงทุนไปไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยยะ มีแต่จะเพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง โดยใช้เวลาเท่าที่จำเป็น(นอกเวลางานประจำ)"
ป.ล. ผมไม่สังกัดค่ายนะครับ ค่อนข้างเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆในโลกการลงทุน กราฟก็ดูได้ หุ้นก็ลอกเป็น คนเชียร์ผมก็ซื้อ
ไม่ขาย ไม่ขาดทุน แต่ขาดใจ