ไม่มีใครสามารถรู้เรื่องได้หมด
แต่ยิ่งรู้มาก คือการลดความเสี่ยงมากขึ้น โอกาสพลาดในการลงทุนก็น้อยลง
แต่อย่างน้อย
- ในเชิงปริมาณหรือเชิงตัวเลข (Quantitative) = สุขภาพทางการเงิน
ควรรู้แหล่งที่มาของรายได้ ผลิตภัณฑ์ของธุรกิจนั้นๆ
ลักษณะของรายจ่าย
การไหลของเงินสด
อัตราส่วนทางการเงิน โดยเฉพาะความสามารถในการทำกำไร และการเป็นหนี้
ต้องดูลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมนั้นๆ ว่าทางการเงินมีอะไรเป็นพิเศษแตกต่างจากกิจการหรือุตสาหกรรมอื่นหรือไม่ มิฉะนั้นอาจติดกับดักทางตัวเลข หรือถูกนักบัญชีหลอกได้ เช่น กิจการหลายประเภท Backlog เป็นสิ่งสำคัญ
และโดยเฉพาะถ้าเป็นวงการก่อสร้างบ้านขาย ดร.นิเวศน์บอกว่า ส่วนตัวไม่อยากเข้าไปยุ่ง เพราะตัวเลขที่เห็นอยู่ เป็นผลงานในอดีตที่ผ่านมานานแล้ว ไม่ได้แสดงฝีมือปัจจุบัน เป็นต้น
หรือบางกิจการ ได้ของมาก่อน แล้วผ่อนทีหลังก็เยอะ ก็จะเป็นประโยชน์ในเชิงแข่งขัน
แต่ก็ระวังการแต่งตัวเลข ลงประเภทของตัวเลขเพี้ยนจากสิ่งที่ควรจะเป็น อย่างที่เกิดกับบริษัทระดับโลกมาแล้ว
อย่างวงการ ICT (มือถือ/อินเตอร์เน็ต) ADVANCE/DTAC/TRUE/JAS คุณต้องศึกษาส่วนแบ่งในตลาดและลูกค้าในมือ เพราะชัดเจนมากที่แปรผันกับรายได้
แล้วต้องศึกษาศัพท์เฉพาะในวงการนั้นๆ ที่ตรงประเด็นกับตัวเลขแสดง "สุขภาพทางการเงินเลย" อย่างตัวอย่างในวงการมือถือหรอือินเตอร์เน็ต ถ้าไม่รู้จัก ก็ต้องเรียนรู่ว่า ARPU: Avearge Revenue per Unit or per User คืออะไร ถ้ายังไม่รู้แล้วซื้อหุ้น แปลว่ารู้โดยผิวเผินมาก
ลองเอางบการเงินในอดีตมาเปิดดูเลย จะค่อยๆ เริ่มรู้จักกิจการเชิงตัวเลขมากขึ้น
- ในเชิงคุณภาพ (Quantitative)
วิเคราะห์ว่าธุรกิจเป็นอย่างไร
เริ่มจากง่ายๆ ก่อน ว่าถ้าเอ่ยถึงบริษัทนี้ แล้วเรานึกถึงอะไรเป็นอันดับแรก แล้วให้ดูว่ามันอยู่ประมาณระดับไหนในตลาด
เช่น พูดถึง TF ก็นึกถึงซองมาม่าลอยมาแต่ไกล อันดับหนึ่งในตลาด
ถ้าพูดถึง CPN เราอาจนึกภาพห้าง Central, Central World อันดับต้นๆ ในตลาด แต่ก็ยังมีคู่แข่งเช่น เดอะมอลล์ มาบุญครอง Siam Paragon/Siam Center & discovery
อย่างพูดถึง DTAC ก็มีอันดับหนึ่ง ADVANC รองลงมา TRUE แล้วก็ TOT
หรือถ้าบริษัท มีกิจการจำนวนมาก ให้จดออกมาเลย ว่ามีอะไรในระดับไหนบ้าง
เช่น พูดถึง MBK มีหุ้นในสนามกอล์ฟ มีข้าวถุง มีหุ้นร่วมกับ The Mall ทำสยามพิวรรธน์ บริหาร Siam Paragon/Siam Center & discovery
ถ้าพูดถึง SHIN ก็ต้องไปดูว่ามีกิจการ ADVANC ในมือ มี THCOM, etc.
ปวดหัวอยู่เหมือนกัน ถ้าเป็นบริษัท Holding Company
ถ้านึกภาพไม่ออกเลย ก็ต้องค้นคว้า (นึกภาพออกอยู่แล้ว ก็แปลว่ารู้จักระดับหนึ่ง แต่ไม่รู้จักเลย ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณค่ามันจะไม่ดี แต่ถ้าอยากเข้าไป "ซื้อกิจการ" ก็ต้องทำความรู้จักก่อนซื้อ)
ถ้าเราคิดว่า ยังไม่เชี่ยว (เพราะแต่ละคน มีพื้นฐานทางธุรกิจต่างกัน)
ให้ใช้ Model และ Tools ทางธุรกิจ มาช่วยวิเคราะห์เพิ่มเติม เพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น มีหลักให้เกาะมีแนวให้คิด มากกว่าจะชกสะเปะสะปะแบบมวยวัด
- Five Forces Model Prof. Michael E. Porter
- BCG Matrix (Business Consulting Group)
- 4P Marketing Mixes
(ไม่ยากเกินไป ที่จะศึกษา ลองไปค้นดูนะครับ)
ถ้าจะให้เร็วยิ่งขึ้น ใช้อากู๋ (google.com) หรือน้าบิง (boing.com) ให้เป็นประโยชน์นี่แหละ หาข้อมูลรอบด้านของกิจการนี้ และคู่แข่งในตลาดเลย ว่ามีใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
นอกจากนี้ ในเมื่อรักจะลงทุนในตลาด เราต้องมีหลักเกาะ ว่ากิจการเป็นกลุ่มไหน ผมชอบหลักการแบ่งของลุงปีเตอร์ ลินช์ ลองไปอ่านบทความของพี่วิบูลย์ที่นี่นะครับ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B9%8C.html
หุ้น 6 ประเภท "ปีเตอร์ ลินซ์"
วิบูลย์ พึงประเสริฐ
อ่านละเอียด ก็หนังสือแปล ของอ.นิเวศน์
เหนือกว่าวอลสตรีท (One Up On Wall Street)
เขียนโดย :
Peter Lynch
แปลโดย :
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
http://www.fp.co.th/