ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
- Skyforever
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1221
- ผู้ติดตาม: 0
ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 1
ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
ถ้าจะถามคนที่มีประสบการณ์การลงทุนมายาวนาน คงจะไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยเลือกหุ้นผิด การเลือกหุ้นผิดของแต่ละคน ก็แตกต่างกันไปตามความสามารถ ลักษณะนิสัยของคนนั้นๆ เท่าที่ผมได้สังเกต ความผิดพลาดในการเลือกหุ้นน่าจะแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ประการที่หนึ่ง ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเลือกซื้อหุ้นที่คิดว่าดีไว้ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ดีอย่างที่คิด เมื่อเวลาผ่านไปจึงจะรู้ความจริง ซึ่งอาการที่มักจะสังเกตุได้ของความผิดพลาดประเภทนี้คือ "ติดดอย" และประการที่สอง ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเลือกที่จะไม่ซื้อหุ้น หรือขายหุ้นที่คิดว่าไม่ดี แต่แท้ที่จริงแล้วหุ้นตัวนั้นกลับกลายเป็นหุ้นที่ดีมาก ซึ่งอาการที่มักจะสังเกตุเห็นได้คือ "ตกรถ"
ความผิดพลาดทั้งสองอย่างนั้นล้วนไม่ส่งผลดีต่อผลการลงทุนของเรา หลายๆคนพยายามที่จะไม่ให้เกิดความผิดพลาดทั้งสองอย่าง จนไม่ได้ตระหนักว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดทั้งสองอย่างพร้อมๆกันได้ ในชีวิตจริงเราจะต้องเลือกว่าเรายอมจะเกิดความผิดพลาดแบบไหนขึ้น แต่ความผิดพลาดอันไหนล่ะที่รุนแรงกว่า และเราจะทำอย่างไรเพื่อลดความผิดพลาดนั้น
ในความเป็นจริงแล้ว ความผิดพลาดจากการเลือก หรือตัดสินใจ มีให้พบเห็นกันทั่วไปในชีวิตประจำวัน ถ้าจะยกตัวอย่างให้ชัดเจน ก็คงเป็นการพิพากษาตัดสินในศาล หากเราลองเปรียบเทียบการเลือกหุ้นกับการตัดสินพิพากษาในศาล การเลือกซื้อหุ้นที่คิดว่าดี แต่ที่จริงเป็นหุ้นที่ไม่ดี ก็คงเปรียบได้กับการตัดสินว่าคนที่มีความผิดจริงนั้นบริสุทธิ์ และความผิดพลาดจากการเลือกที่จะไม่ซื้อหุ้นที่ดีไว้ ก็คงเปรียบได้กับการตัดสินจำคุกคนบริสุทธิ์
ข้อเสียของการติดสินผิดทำให้คนดีต้องติดคุกคือ มีคนบริสุทธิ์ต้องมาถูกลงโทษทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของตัวเอง ครอบครัวของเขาก็อาจจะต้องลำบากหรือทุกข์ใจไปด้วย ส่วนการตัดสินให้คนชั่วหลุดพ้นความผิดนั้น ก็มีข้อเสียเช่นกัน คือคนที่ทำชั่วไม่ถูกลงโทษ และอาจจะออกไปสร้างความชั่วให้กับคนในสังคมภายนอกได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นอีก ในสังคมเรานั้นยอมรับ เห็นพ้องต้องกันว่าการตัดสินผิด ทำให้คนที่บริสุทธิ์ต้องได้รับโทษความผิดนั้นเป็นเรื่องที่รุนแรงกว่าการปล่อยคนชั่วลอยนวล จึงเป็นที่มาของรูปแบบการพิจารณาคดีทุกวันนี้ ที่ในเบื้องต้นจะถือว่าจำเลยทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากความผิด และหากไม่มีหลักฐานที่แน่นหนาชัดเจนพอ ก็จะไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้ ในทางตรงกันข้ามกัน หากสังคมใดเห็นว่าการปล่อยคนชั่วออกมาลอยนวลนั้นร้ายแรงกว่าการลงโทษคนดีแล้ว สังคมนั้นก็จะใช้หลักการพิจารณาความผิด โดยมีสมมุติฐานเบื้องต้นว่าทุกคนที่โดนกล่าวหาว่าผิดนั้นมีความผิดจริง และหากต้องการพ้นข้อกล่าวหา จะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง ถ้าหลักฐานนั้นไม่เพียงพอ ก็จะต้องได้รับโทษ
กลับมาสู่เรื่องการลงทุน และการตัดสินใจเลือกซื้อหุ้น โดยถ้าจะพิจารณาความผิดพลาดทั้งสองลักษณะคือ การซื้อหุ้นไม่ดี กับการไม่ได้ซื้อหุ้นดีนั้น จะพบว่าในทุกๆการตัดสินใจซื้อหุ้นนั้นเราจำเป็นต้องเลือกว่ายอมที่จะเกิดความผิดพลาดแบบไหนขึ้น เช่นเราอาจจะพบหุ้นตัวหนึ่งซึ่งเราพบว่ามี Upside มากเหลือเกิน ในขณะเดียวกันเราก็เห็นว่ามีความไม่แน่นอนบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นกับผลประกอบการของบริษัทได้และทำให้เสียหายมากมายได้ เมื่อเราพิจารณาหุ้นตัวนี้ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อดี เราก็ต้องเลือกระหว่างยอมซื้อผิด หรือยอมเสียโอกาสซื้อหุ้นที่ดี การซื้อหุ้นไม่ดีมีข้อเสียคือเราอาจจะขาดทุนได้จากราคาที่ตกต่ำลงไป ส่วนการพลาดไม่ได้ซื้อหุ้นที่ดีไว้นั้น มีข้อเสียคือเราจะไม่ได้กำไรจากการขึ้นแรงๆของหุ้นตัวนั้น
ถ้าถามนักลงทุนทั่วไป ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็คงจะมองเหมือนกันคือ เสียดายดีกว่าเสียใจ นั่นคือ ไม่ได้กำไรไม่ว่า แต่ขออย่าให้ขาดทุนเลย เหมือนกับกฎการลงทุนที่สำคัญที่วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยบอกไว้ว่า "จงอย่าขาดทุน"
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หลักการนี้ไม่ได้ทำง่ายๆอย่างที่คิด เพราะถ้ามองหุ้นอยู่ 2 กลุ่ม คือ หนึ่ง หุ้นที่เป็นที่นิยม ธุรกิจกำลังโตอย่างรวดเร็ว แต่มีความเสี่ยงบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้กับธุรกิจ ที่ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นไม่มากนัก แต่ถ้าเกิดแล้วก็จะกระทบกับมูลค่าของบริษัทอย่างรุนแรง หรือเป็นบริษัทที่เรามองอนาคตไปอีก 3-5 ปีข้างหน้าไม่ชัดเจน มีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และบางทีหุ้นของบริษัทเหล่านี้ก็ประเมินหามูลค่าที่เหมาะสมยากจนบางทีเราก็กะประมาณ P/E ตามความรู้สึกของเราเอง และหลายๆครั้ง ด้วยความรักหุ้นเป็นทุน เราก็มักจะให้ P/E ที่สูงเกินไปโดยไม่รู้ตัว
ส่วนหุ้นกลุ่มที่สอง เป็นหุ้นที่คนไม่ค่อยนิยมซื้อขายกันมากนัก ปริมาณซื้อขายต่อวันมักจะไม่ติดหนึ่งในสิบของตลาด แต่ว่ามีการเติบโตสม่ำเสมอเกือบทุกปี มีประวัติที่ดีอย่างยาวนาน อาจจะไม่ก้าวกระโดดมากนัก แต่ก็เติบโตไม่น้อยกว่า 15% ต่อปี ธุรกิจมีความแน่นอนสูง และคาดการณ์อนาคตของธุรกิจได้ค่อนข้างชัดเจน ผู้บริหารไว้ใจได้ และสามารถประเมินมูลค่าของกิจการได้ไม่ยากนัก
ผมสังเกตุเห็นว่า คนจำนวนมากมักจะเลือกซื้อหุ้นในกลุ่มที่หนึ่งมากกว่า เพราะมักจะเลือกมองไปที่ Upside มากกว่าที่จะมอง Downside ถึงแม้ว่าหุ้นในกลุ่มที่สองจะสร้างผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอนกว่า แต่ก็ไม่ดึงดูดใจมากพอ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากเลือกที่จะเสี่ยงมากขึ้นแลกกับผลตอบแทนคาดหวังที่สูงขึ้น และในที่สุดก็จะมีคนจำนวนมากที่ขาดทุน ทั้งๆที่ได้ศึกษาข้อมูลบริษัทมาอย่างดี แต่ผิดพลาดจากการเลือกตัดสินใจ
ถ้าจะถามคนที่มีประสบการณ์การลงทุนมายาวนาน คงจะไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยเลือกหุ้นผิด การเลือกหุ้นผิดของแต่ละคน ก็แตกต่างกันไปตามความสามารถ ลักษณะนิสัยของคนนั้นๆ เท่าที่ผมได้สังเกต ความผิดพลาดในการเลือกหุ้นน่าจะแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ประการที่หนึ่ง ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเลือกซื้อหุ้นที่คิดว่าดีไว้ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ดีอย่างที่คิด เมื่อเวลาผ่านไปจึงจะรู้ความจริง ซึ่งอาการที่มักจะสังเกตุได้ของความผิดพลาดประเภทนี้คือ "ติดดอย" และประการที่สอง ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเลือกที่จะไม่ซื้อหุ้น หรือขายหุ้นที่คิดว่าไม่ดี แต่แท้ที่จริงแล้วหุ้นตัวนั้นกลับกลายเป็นหุ้นที่ดีมาก ซึ่งอาการที่มักจะสังเกตุเห็นได้คือ "ตกรถ"
ความผิดพลาดทั้งสองอย่างนั้นล้วนไม่ส่งผลดีต่อผลการลงทุนของเรา หลายๆคนพยายามที่จะไม่ให้เกิดความผิดพลาดทั้งสองอย่าง จนไม่ได้ตระหนักว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดทั้งสองอย่างพร้อมๆกันได้ ในชีวิตจริงเราจะต้องเลือกว่าเรายอมจะเกิดความผิดพลาดแบบไหนขึ้น แต่ความผิดพลาดอันไหนล่ะที่รุนแรงกว่า และเราจะทำอย่างไรเพื่อลดความผิดพลาดนั้น
ในความเป็นจริงแล้ว ความผิดพลาดจากการเลือก หรือตัดสินใจ มีให้พบเห็นกันทั่วไปในชีวิตประจำวัน ถ้าจะยกตัวอย่างให้ชัดเจน ก็คงเป็นการพิพากษาตัดสินในศาล หากเราลองเปรียบเทียบการเลือกหุ้นกับการตัดสินพิพากษาในศาล การเลือกซื้อหุ้นที่คิดว่าดี แต่ที่จริงเป็นหุ้นที่ไม่ดี ก็คงเปรียบได้กับการตัดสินว่าคนที่มีความผิดจริงนั้นบริสุทธิ์ และความผิดพลาดจากการเลือกที่จะไม่ซื้อหุ้นที่ดีไว้ ก็คงเปรียบได้กับการตัดสินจำคุกคนบริสุทธิ์
ข้อเสียของการติดสินผิดทำให้คนดีต้องติดคุกคือ มีคนบริสุทธิ์ต้องมาถูกลงโทษทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของตัวเอง ครอบครัวของเขาก็อาจจะต้องลำบากหรือทุกข์ใจไปด้วย ส่วนการตัดสินให้คนชั่วหลุดพ้นความผิดนั้น ก็มีข้อเสียเช่นกัน คือคนที่ทำชั่วไม่ถูกลงโทษ และอาจจะออกไปสร้างความชั่วให้กับคนในสังคมภายนอกได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นอีก ในสังคมเรานั้นยอมรับ เห็นพ้องต้องกันว่าการตัดสินผิด ทำให้คนที่บริสุทธิ์ต้องได้รับโทษความผิดนั้นเป็นเรื่องที่รุนแรงกว่าการปล่อยคนชั่วลอยนวล จึงเป็นที่มาของรูปแบบการพิจารณาคดีทุกวันนี้ ที่ในเบื้องต้นจะถือว่าจำเลยทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากความผิด และหากไม่มีหลักฐานที่แน่นหนาชัดเจนพอ ก็จะไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้ ในทางตรงกันข้ามกัน หากสังคมใดเห็นว่าการปล่อยคนชั่วออกมาลอยนวลนั้นร้ายแรงกว่าการลงโทษคนดีแล้ว สังคมนั้นก็จะใช้หลักการพิจารณาความผิด โดยมีสมมุติฐานเบื้องต้นว่าทุกคนที่โดนกล่าวหาว่าผิดนั้นมีความผิดจริง และหากต้องการพ้นข้อกล่าวหา จะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง ถ้าหลักฐานนั้นไม่เพียงพอ ก็จะต้องได้รับโทษ
กลับมาสู่เรื่องการลงทุน และการตัดสินใจเลือกซื้อหุ้น โดยถ้าจะพิจารณาความผิดพลาดทั้งสองลักษณะคือ การซื้อหุ้นไม่ดี กับการไม่ได้ซื้อหุ้นดีนั้น จะพบว่าในทุกๆการตัดสินใจซื้อหุ้นนั้นเราจำเป็นต้องเลือกว่ายอมที่จะเกิดความผิดพลาดแบบไหนขึ้น เช่นเราอาจจะพบหุ้นตัวหนึ่งซึ่งเราพบว่ามี Upside มากเหลือเกิน ในขณะเดียวกันเราก็เห็นว่ามีความไม่แน่นอนบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นกับผลประกอบการของบริษัทได้และทำให้เสียหายมากมายได้ เมื่อเราพิจารณาหุ้นตัวนี้ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อดี เราก็ต้องเลือกระหว่างยอมซื้อผิด หรือยอมเสียโอกาสซื้อหุ้นที่ดี การซื้อหุ้นไม่ดีมีข้อเสียคือเราอาจจะขาดทุนได้จากราคาที่ตกต่ำลงไป ส่วนการพลาดไม่ได้ซื้อหุ้นที่ดีไว้นั้น มีข้อเสียคือเราจะไม่ได้กำไรจากการขึ้นแรงๆของหุ้นตัวนั้น
ถ้าถามนักลงทุนทั่วไป ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็คงจะมองเหมือนกันคือ เสียดายดีกว่าเสียใจ นั่นคือ ไม่ได้กำไรไม่ว่า แต่ขออย่าให้ขาดทุนเลย เหมือนกับกฎการลงทุนที่สำคัญที่วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยบอกไว้ว่า "จงอย่าขาดทุน"
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หลักการนี้ไม่ได้ทำง่ายๆอย่างที่คิด เพราะถ้ามองหุ้นอยู่ 2 กลุ่ม คือ หนึ่ง หุ้นที่เป็นที่นิยม ธุรกิจกำลังโตอย่างรวดเร็ว แต่มีความเสี่ยงบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้กับธุรกิจ ที่ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นไม่มากนัก แต่ถ้าเกิดแล้วก็จะกระทบกับมูลค่าของบริษัทอย่างรุนแรง หรือเป็นบริษัทที่เรามองอนาคตไปอีก 3-5 ปีข้างหน้าไม่ชัดเจน มีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และบางทีหุ้นของบริษัทเหล่านี้ก็ประเมินหามูลค่าที่เหมาะสมยากจนบางทีเราก็กะประมาณ P/E ตามความรู้สึกของเราเอง และหลายๆครั้ง ด้วยความรักหุ้นเป็นทุน เราก็มักจะให้ P/E ที่สูงเกินไปโดยไม่รู้ตัว
ส่วนหุ้นกลุ่มที่สอง เป็นหุ้นที่คนไม่ค่อยนิยมซื้อขายกันมากนัก ปริมาณซื้อขายต่อวันมักจะไม่ติดหนึ่งในสิบของตลาด แต่ว่ามีการเติบโตสม่ำเสมอเกือบทุกปี มีประวัติที่ดีอย่างยาวนาน อาจจะไม่ก้าวกระโดดมากนัก แต่ก็เติบโตไม่น้อยกว่า 15% ต่อปี ธุรกิจมีความแน่นอนสูง และคาดการณ์อนาคตของธุรกิจได้ค่อนข้างชัดเจน ผู้บริหารไว้ใจได้ และสามารถประเมินมูลค่าของกิจการได้ไม่ยากนัก
ผมสังเกตุเห็นว่า คนจำนวนมากมักจะเลือกซื้อหุ้นในกลุ่มที่หนึ่งมากกว่า เพราะมักจะเลือกมองไปที่ Upside มากกว่าที่จะมอง Downside ถึงแม้ว่าหุ้นในกลุ่มที่สองจะสร้างผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอนกว่า แต่ก็ไม่ดึงดูดใจมากพอ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากเลือกที่จะเสี่ยงมากขึ้นแลกกับผลตอบแทนคาดหวังที่สูงขึ้น และในที่สุดก็จะมีคนจำนวนมากที่ขาดทุน ทั้งๆที่ได้ศึกษาข้อมูลบริษัทมาอย่างดี แต่ผิดพลาดจากการเลือกตัดสินใจ
ชนะเพราะไม่คิดเอาชนะ กำไรเพราะไม่โลภ ลงทุนอย่างมีความสุขเพราะจิตใจอยู่เหนืออารมณ์ตลาด
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณพี่ skyforever มากครับ คงเป็นความผิดพลาด แบบ type I หรือ type II เป็นผม ผมขอแบบ type I แล้วกัน
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 3
ผมแก้ปัญหาด้วยการลงทุนในสัดส่วนที่น้อย สำหรับหุ้น Upside สูง ความเสี่ยงสูง ประเมินมูลค่ากิจการได้ยาก
สัดส่วนการลงทุนนี่... พูดยากมาก... มันเป็นศาสตร์และศิลป์ในการลงทุนเลยทีเดียว... เวลามันจะออกมาเป็นตัวเลข...
สรุปว่า... การเลือกสัดส่วนนี่ จะมั่วๆ แล้วแต่บุญแต่กรรมยังไงไม่รู้... รู้แค่ว่าให้น้ำหนักมาก น้ำหนักน้อย ต้องระวัง หรือลุยได้สุดตัวก็พอ...
สัดส่วนการลงทุนนี่... พูดยากมาก... มันเป็นศาสตร์และศิลป์ในการลงทุนเลยทีเดียว... เวลามันจะออกมาเป็นตัวเลข...
สรุปว่า... การเลือกสัดส่วนนี่ จะมั่วๆ แล้วแต่บุญแต่กรรมยังไงไม่รู้... รู้แค่ว่าให้น้ำหนักมาก น้ำหนักน้อย ต้องระวัง หรือลุยได้สุดตัวก็พอ...
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 4
เรื่องสัดส่วนลงทุนนี่
ผมก็ยอมรับว่าตัวเองทำไปแบบเทาๆ
แต่อย่างน้อย
ก็จะเรียงลำดับสัดส่วนได้
ตามระดับความมั่นใจครับ
ผมก็ยอมรับว่าตัวเองทำไปแบบเทาๆ
แต่อย่างน้อย
ก็จะเรียงลำดับสัดส่วนได้
ตามระดับความมั่นใจครับ
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
- Murphy.Bkk
- Verified User
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 6
ความผิดพลาดแบบที่ 1 ที่เลือกซื้อหุ้นผิด คิดว่าดีแต่จริงๆแล้วไม่ใช่Skyforever เขียน:ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
ความผิดพลาดในการเลือกหุ้นน่าจะแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ประการที่หนึ่ง ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเลือกซื้อหุ้นที่คิดว่าดีไว้ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ดีอย่างที่คิด เมื่อเวลาผ่านไปจึงจะรู้ความจริง ซึ่งอาการที่มักจะสังเกตุได้ของความผิดพลาดประเภทนี้คือ "ติดดอย" และประการที่สอง ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเลือกที่จะไม่ซื้อหุ้น หรือขายหุ้นที่คิดว่าไม่ดี แต่แท้ที่จริงแล้วหุ้นตัวนั้นกลับกลายเป็นหุ้นที่ดีมาก ซึ่งอาการที่มักจะสังเกตุเห็นได้คือ "ตกรถ"
อันนี้เราสามารถจำกัดผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ โดยรีบขายหุ้นนั้นทิ้งโดยเร็ว เมื่อรู้ว่าเราซื้อหุ้นหรือดูธุรกิจผิดพลาด "อย่าเก็บวัชพืชไว้" ครับ ถึงขาดทุนก็รีบขายโดยเร็ว
ส่วนความผิดพลาดแบบที่ 2 ประเภทที่ไม่ซื้อหุ้นที่ดี (ไม่นับรวมขายหุ้นที่คิดว่าไม่ดี)
อันนี้เราหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่ๆครับ เพราะหุ้นที่ดีมีอยู่จำนวนมาก เราไม่สามารถซื้อหุ้นทุกตัวที่ดี ที่ราคาขึ้นมากๆ ได้ ผมคิดว่าสิ่งที่เราทำได้และผมก็ยึดถือเป็นคติประจำตัวก็คือ "เราไม่สามารถซื้อหุ้นทุกตัวที่ดีได้ แต่หุ้นทุกตัวที่เราซื้อต้องดีแน่ๆ"
ดังนั้นก่อนเราจะซื้อหุ้นเราต้องทำการบ้านให้ดีที่สุดทุ่มเทแรงเพื่อให้มั่นใจว่าหุ้นที่จะซื้อมันเป็นธุรกิจที่ดีสุดๆและเราอยากเป็นเจ้าของจริงๆ และเราก็ไม่ต้องเสียดายถ้าเห็นหุ้นที่ไม่ได้ซื้อกำลังวิ่งขึ้น
เราซื้อหุ้นดีทุกตัวไม่ได้ แต่หุ้นที่เราซื้อต้องดีเท่านั้น
เราซื้อหุ้นทุกตัวที่ขึ้นไม่ได้ แต่หุ้นที่เราซื้อต้องขึ้นเท่านั้น
เราซื้อหุ้นทุกตัวที่ขึ้นไม่ได้ แต่หุ้นที่เราซื้อต้องขึ้นเท่านั้น
- yoyoeffect
- Verified User
- โพสต์: 364
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 8
"ส่วนหุ้นกลุ่มที่สอง เป็นหุ้นที่คนไม่ค่อยนิยมซื้อขายกันมากนัก ปริมาณซื้อขายต่อวันมักจะไม่ติดหนึ่งในสิบของตลาด แต่ว่ามีการเติบโตสม่ำเสมอเกือบทุกปี มีประวัติที่ดีอย่างยาวนาน อาจจะไม่ก้าวกระโดดมากนัก แต่ก็เติบโตไม่น้อยกว่า 15% ต่อปี ธุรกิจมีความแน่นอนสูง และคาดการณ์อนาคตของธุรกิจได้ค่อนข้างชัดเจน ผู้บริหารไว้ใจได้ และสามารถประเมินมูลค่าของกิจการได้ไม่ยากนัก"
ในบางครั้ง หุ้นกลุ่มที่สอง พอนานไป คนเริ่มเห็นคุณค่า กลายมาเป็นที่นิยม มีstory มากมายจน PE มาสูงได้ จนกลายไปเป็นกลุ่มที่หนึ่ง ได้เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ คนที่มองเห็นก่อนต้นทุนจะต่ำมาก และราคาก็สะท้อนอนาคตไปอีกพอสมควรด้วยครับ
ในบางครั้ง หุ้นกลุ่มที่สอง พอนานไป คนเริ่มเห็นคุณค่า กลายมาเป็นที่นิยม มีstory มากมายจน PE มาสูงได้ จนกลายไปเป็นกลุ่มที่หนึ่ง ได้เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ คนที่มองเห็นก่อนต้นทุนจะต่ำมาก และราคาก็สะท้อนอนาคตไปอีกพอสมควรด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1400
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 9
บทความนี้เข้ามาได้ถูกเวลาที่สุด
ผมกำลังพิพากษาความผิดทางการลงทุน ที่ตัวเองเป็นคนก่อขึ้นเลยครับ
ผมกำลังพิพากษาความผิดทางการลงทุน ที่ตัวเองเป็นคนก่อขึ้นเลยครับ
เราต่างตื่นขึ้นมาทุกวัน เพื่อสร้างผลงานให้ได้ เราควรรู้ว่า ในทุกวันมีอะไรที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลงาน หากการตื่นขึ้นมา ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลงาน เราก็ไม่สมควรที่จะตื่นขึ้นมาให้รกหูรกตาคนรอบข้าง
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 10
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ พออ่านแล้วกลับไปย้อนดูข้อมูลหุ้นเก่าๆที่อยู่ในกรอบที่จะซื้อขายดู พบว่าผมเป็น
พวกที่ตกรถ กับ ขายหมู มากกว่าซื้อหุ้นติดดอยแหะ
พอวิเคราะห์ตัวเองต่อ พบว่าเป็นพวกกลัวขาดทุน ไม่กล้ารีบเข้าซื้อ ต้องหาข้อมูลมาอ่านเยอะๆก่อน สุดท้ายก็ตกรถไป
ซะหลายตัว (พอวิเคราะห์เสร็จ เห็นราคาขึ้นมา 10-20% จากวันที่เริ่มสนใจ ก็ไปต่อราคากับ Mr.Market อีกว่า
ถ้ากลับมาที่ราคาเดิม อั้วจะซื้อจริงๆ ล่ะนะ ... แล้วก็ไม่ได้ซื้ออีกเลย T_T )
ส่วนตัวที่มั่นใจแล้วจริงๆ เนื่องจากกลัวจะมั่นใจตัวเองมากจนเกินไป จึงตั้ง Limit ลงทุนไม่ให้เกิน 30% ของพอร์ตมาโดยตลอด
สุดท้ายสถิติตั้งแต่ลงทุนมา ประมาณได้ว่าซื้อ 10 ตัว กำไรซะ 7 เป็นปานกลาง 5 ดีเว่อร์ๆหน่อยอีก 2 หักกับส่วนที่
ขาดทุนแล้ว ได้ผลตอบแทนกลางๆ ไม่เทพเหมือนคนอื่นๆเค้าซักที
พวกที่ตกรถ กับ ขายหมู มากกว่าซื้อหุ้นติดดอยแหะ
พอวิเคราะห์ตัวเองต่อ พบว่าเป็นพวกกลัวขาดทุน ไม่กล้ารีบเข้าซื้อ ต้องหาข้อมูลมาอ่านเยอะๆก่อน สุดท้ายก็ตกรถไป
ซะหลายตัว (พอวิเคราะห์เสร็จ เห็นราคาขึ้นมา 10-20% จากวันที่เริ่มสนใจ ก็ไปต่อราคากับ Mr.Market อีกว่า
ถ้ากลับมาที่ราคาเดิม อั้วจะซื้อจริงๆ ล่ะนะ ... แล้วก็ไม่ได้ซื้ออีกเลย T_T )
ส่วนตัวที่มั่นใจแล้วจริงๆ เนื่องจากกลัวจะมั่นใจตัวเองมากจนเกินไป จึงตั้ง Limit ลงทุนไม่ให้เกิน 30% ของพอร์ตมาโดยตลอด
สุดท้ายสถิติตั้งแต่ลงทุนมา ประมาณได้ว่าซื้อ 10 ตัว กำไรซะ 7 เป็นปานกลาง 5 ดีเว่อร์ๆหน่อยอีก 2 หักกับส่วนที่
ขาดทุนแล้ว ได้ผลตอบแทนกลางๆ ไม่เทพเหมือนคนอื่นๆเค้าซักที
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 11
yoyoeffect เขียน:"ส่วนหุ้นกลุ่มที่สอง เป็นหุ้นที่คนไม่ค่อยนิยมซื้อขายกันมากนัก ปริมาณซื้อขายต่อวันมักจะไม่ติดหนึ่งในสิบของตลาด แต่ว่ามีการเติบโตสม่ำเสมอเกือบทุกปี มีประวัติที่ดีอย่างยาวนาน อาจจะไม่ก้าวกระโดดมากนัก แต่ก็เติบโตไม่น้อยกว่า 15% ต่อปี ธุรกิจมีความแน่นอนสูง และคาดการณ์อนาคตของธุรกิจได้ค่อนข้างชัดเจน ผู้บริหารไว้ใจได้ และสามารถประเมินมูลค่าของกิจการได้ไม่ยากนัก"
ในบางครั้ง หุ้นกลุ่มที่สอง พอนานไป คนเริ่มเห็นคุณค่า กลายมาเป็นที่นิยม มีstory มากมายจน PE มาสูงได้ จนกลายไปเป็นกลุ่มที่หนึ่ง ได้เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ คนที่มองเห็นก่อนต้นทุนจะต่ำมาก และราคาก็สะท้อนอนาคตไปอีกพอสมควรด้วยครับ
like+
ชอบครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 993
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 15
เปรียบเหมือนหุ้นเป็นจำเลย
บางครั้งจำเลยก็ดีจริงให้ข้อมูลถูกต้อง แต่แบบพวกให้การเท็จก็มีอันนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ
ส่วนตัวเจอ type I มากว่า typeII ขอบข่ายความรุ้ยังไม่เพียงพอครับ หุๆ
บางครั้งจำเลยก็ดีจริงให้ข้อมูลถูกต้อง แต่แบบพวกให้การเท็จก็มีอันนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ
ส่วนตัวเจอ type I มากว่า typeII ขอบข่ายความรุ้ยังไม่เพียงพอครับ หุๆ
เริ่มนับหนึ่ง...
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 16
ลืมเรื่องสำคัญมากเรื่องนึงนะครับ
investment time horizon ครับ
เพราะทุกอย่างคือ percetion ที่มี limit เท่า ความสามารถในการ measure และ assess ของนักลงุทน
ดังนั้น what seems to be a bad investment ในระยะเวลา t period อาจเป็น excellent investment ในระยะเวลา t+2 ..... etc. etc.
พูดยากเหมือนกันว่า อะไรคือ "พลาด"
investment time horizon ครับ
เพราะทุกอย่างคือ percetion ที่มี limit เท่า ความสามารถในการ measure และ assess ของนักลงุทน
ดังนั้น what seems to be a bad investment ในระยะเวลา t period อาจเป็น excellent investment ในระยะเวลา t+2 ..... etc. etc.
พูดยากเหมือนกันว่า อะไรคือ "พลาด"
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- PANMAN
- Verified User
- โพสต์: 76
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 17
ขอบคุณ สำหรับบทความดีๆ ในเวลาที่เหมาสมจริงๆ ครับ
เมื่อก่อนผมก็รู้สึกเหมือนตกรถไฟ เวลาเห็นบางตัววิ่งเอาๆ และเคยทำผิดพลาดมา โดยซื้อตามเซียน หรือ ตามความนิยม
โดยที่ยังไม่เข้าใจธุรกิจนั้น หรือ มีความเสี่ยงที่จะเสียใจ
ตอนนี้ ผมเริ่มทำได้แล้วครับ กับการเลือกหุ้นที่เราเข้าใจ และ สอดคล้องกับ "กฎการลงทุนที่สำคัญข้อ 1 ที่วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยบอกไว้ว่า "จงอย่าขาดทุน""
ตอนนี้ ชอบมากเลย กับหุ้นที่ผมตีแตก และ ยังไม่ค่อยมีใครสนใจ แล้ว ค่อยๆ เก็บหุ้น และ ฝึกที่จะไม่ให้ อารมณ์ตลาดพาไป
ผมเคร่งครัดกับกฎ ทั้ง 2 ข้อของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มากขึ้น (ข้อ 2 คือให้ไปดู ข้อ 1 "จงอย่าขาดทุน")
เขียนบทความดีๆ มาเรื่อยๆ นะครับ รอติดตามอยู่เรื่อยไป
เมื่อก่อนผมก็รู้สึกเหมือนตกรถไฟ เวลาเห็นบางตัววิ่งเอาๆ และเคยทำผิดพลาดมา โดยซื้อตามเซียน หรือ ตามความนิยม
โดยที่ยังไม่เข้าใจธุรกิจนั้น หรือ มีความเสี่ยงที่จะเสียใจ
ตอนนี้ ผมเริ่มทำได้แล้วครับ กับการเลือกหุ้นที่เราเข้าใจ และ สอดคล้องกับ "กฎการลงทุนที่สำคัญข้อ 1 ที่วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยบอกไว้ว่า "จงอย่าขาดทุน""
ตอนนี้ ชอบมากเลย กับหุ้นที่ผมตีแตก และ ยังไม่ค่อยมีใครสนใจ แล้ว ค่อยๆ เก็บหุ้น และ ฝึกที่จะไม่ให้ อารมณ์ตลาดพาไป
ผมเคร่งครัดกับกฎ ทั้ง 2 ข้อของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มากขึ้น (ข้อ 2 คือให้ไปดู ข้อ 1 "จงอย่าขาดทุน")
เขียนบทความดีๆ มาเรื่อยๆ นะครับ รอติดตามอยู่เรื่อยไป
ใจร่าเริงเป็นยาอย่างดี แต่จิตใจที่หมดมานะทำให้กระดูกแห้ง สุภาษิต 17:22
- kabu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 18
ถ้าเชื่อว่าวิเคราะห์ดีแล้ว ผมเลือกที่จะให้เวลากับมันอีกหน่อย ครับ
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณครับ
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator