หน้า 1 จากทั้งหมด 1

รบกวนถามครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 29, 2011 2:57 am
โดย nightkiller
พอดีอยากทราบว่าเราจะหาต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ในงบดุลและกำไรขาดทุนตรงไหนครับ มือใหม่หัดเดินครับ ขออภัยที่รบกวนทุกท่านครับ. :P :oops:

Re: รบกวนถามครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 29, 2011 1:48 pm
โดย imerlot
เรื่องนี้ ..ก็มือใหม่หัด..ตอบ
ลองดูนะครับ วิชา-ต้นทุน101
http://investing.businessweek.com/resea ... ker=dcc:TB

ตัวอย่าง บ. DCC
ผลิตกระเบื้อง


TOTAL REVENUES 4,475.4
Cost of Goods Sold 2,742.2
GROSS PROFIT 1,733.2
Selling General & Admin Expenses, Total 797.3
Depreciation & Amortization, Total 37.7
OTHER OPERATING EXPENSES, TOTAL 835.0 9
OPERATING INCOME 898.2

---
เราต้องอนุมานเอาเองว่า Selling & Admin + Depre 797.3+37.7=835 เป็นต้นทุนคงที่
คือถ้าไม่ได้ขาย อะไร เลยก็ต้อง มีค่าใช้จ่าย ปีละ 835ล้าน
--
ส่วนต้นทุนผันแปร นั้น เราทราบว่า ต้นทุนขาย Cost of Goods Sold 2,742.2
เพียงแต่ไม่ทราบ หน่วย เพราะอาจจะมี สินค้าหลายชนิด
และ เราก็ทราบว่า Margin ประมาณ 4475-2742=1733 และ 1733/4475=38.7ของราคาขาย
หรือ 1733/2742 = 63% ของทุน..ประมาณนี้

สมมติว่า คุณไปค้นมา..พบว่า เขามี ผลิตได้ สมมติ 48ล้าน ตรม./ปี
คุณก็เอา ต้นทุนขาย Cost of Goods Sold 2,742.2ล้านบาท/(48ล้าน ตรม./ปี)***ค่าโดยประมาณ
จะได้57บาท/ตรม.***ค่าโดยประมาณ**มีสิทธิผิดพลาด อย่านำไปใช้ แค่แสดงวิธีคิด**

เดินหน้าขยายกำลังการผลิต สร้างสถิติกำไรเติบโตต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมกระเบื้องในประเทศฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่เริ่มดีขึ้น ทำให้งวด 1Q53 บริษัทผู้ผลิตกระเบื้องในประเทศ 7 แห่ง มีปริมาณการขายรวมกัน 45.2 ล้าน ตรม. เพิ่มขึ้น 21%YoY ประเมินว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมกระเบื้องในปัจจุบันอยู่ที่ 80% ขณะที่ DCC มีอัตราการใช้กำลังการผลิตใกล้เคียง 100% มาโดยตลอด จึงมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี 2552 ที่มีอยู่ 48 ล้าน ตรม. จะเพิ่มเป็น 58 ล้าน ตรม. ในปี 2553 และ เพิ่มเป็น 61 ล้าน ตรม. ในปี 2554 รวมถึงจะมีการเปิด Outlet ใหม่อีก 14 แห่งในปี 2553 เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยใช้กระแสเงินสดภายในบริษัททั้งหมด ซึ่งปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น จะช่วยลดต้นทุนคงที่ต่อหน่วยของ DCC ลง และทำให้ Gross margin ของ DCC มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในอนาค
http://www.kaohoon.com/online/index.php ... le&id=2676

Re: รบกวนถามครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 29, 2011 1:53 pm
โดย imerlot
จุดคุ้มทุน ก็เอา
**เราต้องอนุมานเอาเองว่า Selling & Admin + Depre 797.3+37.7=835 เป็นต้นทุนคงที่**

835ล้านบาท= เป็นต้นทุนคงที่
หารด้วย
57บาท/ตรม ต้นทุนต่อหน่วย
=ต้องผลิตและขายขั้นต่ำ ปีละ14,649,122ตรม.
14.6/48
หรืแค่ 30% กำลังผลิตปัจจุบัน 48ล้าน ตรม./ปี
ข้อมูลอาจมีผิดพลาด โปรด check ดูเองใหม่ นะครับ..

Re: รบกวนถามครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 29, 2011 1:58 pm
โดย imerlot
As of: Dec 31
2007
Restated
THB

ดูเหมือนผม จะเอาข้อมูลมาผิดปี ดูว่า จะเป็น ปี 2007
ลองเอาข้อมูล ปี 2010 มาทำดูเอง จะเข้าใจมากขึ้น

Re: รบกวนถามครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 29, 2011 2:00 pm
โดย imerlot

Re: รบกวนถามครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 29, 2011 5:07 pm
โดย nightkiller
ขอบคุณท่าน imerlot มากๆเลยครับ ที่อยากรู้เพราะว่าอ่านเจอที่โรเบริต์ คิโยซากิแกเขียนในหนังสือพ่อรวยสอนการลงทุนไว้ว่าถ้าบริษัทใดก้อตามหารายได้ทั้งปีได้แค่คุ้มทุนแสดงว่าเราไม่ควรสนใจที่จะลงทุนในบริษัทนั้น สมการที่แกให้มาคิดหาหนึ่งในนั้นคือต้นทุนผันแปรครับ จะหาเองก้อมือใหม่จริงๆ อยากนำไปใช้จริงๆครับ เพราะอยากเป็น VIที่รู้จริงๆและทำได้จริงๆครับ ขอบคุณสำหรับคำตอบครับท่าน.

Re: รบกวนถามครับ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 30, 2011 12:34 pm
โดย imerlot
เหมือนจะคำนวณผิด แก้ไขด้วย

ต้องเอา กำไรต่อหน่วย
ไม่ใช่ ต้นทุนต่อหน่วย

Re: รบกวนถามครับ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 30, 2011 5:59 pm
โดย imerlot
http://www.siraekabut.com/2010/01/cost-volume-profit/
หลังจากที่พูดเรื่องพื้นฐานบัญชีกันมานานพอสมควร วันนี้จะขอพูดถึงหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิชาบัญชีบริหารจริงๆแล้ว ซึ่งหัวข้อนี้จะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุน ปริมาณการผลิต และผลกำไร ภาษาคนเรียน MBA เรียกมันว่า Cost-Volume-Profit หรือ CVP Analysis ครับ

แต่ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจส่วนประกอบของมันก่อน นั่นก็คือ

1. Variable Cost (ต้นทุนแปรผัน) = คือต้นทุนรวมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสัดส่วนเมื่อเราผลิตสินค้าจำนวนมาก ขึ้นหรือน้อยลง (ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยเท่าเดิม) ยกตัวอย่างเช่น ต้นทุนของวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเป็นต้น

2. Fixed Cost (ต้นทุนคงที่) = ต้นทุนรวมที่คงที่แม้เราจะผลิตสินค้าจำนวนมากขึ้นหรือน้อยลง (ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยจะลดลง) ยกตัวอย่างเช่น ค่าเช่าที่สำนักงานหรือโรงงานเป็นต้น

แต่แน่นอนว่า การที่จะทำให้ Variable Cost แปรผันเป้นสัดส่วนตามปริมาณการผลิต หรือทำให้ Fixed Cost คงที่แม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตนั้น ย่อมเป็นจริงได้ในช่วงการผลิตบางช่วงเท่านั้น (ไม่ได้เป็นไปตลอด) ซึ่งเราจะเรียกช่วงนี้ว่า Relevant Range นั่นเอง ซึ่งการวิเคราะห์ CVP นี้จะสมมติว่าวิเคราะห์อยู่ใน Relevant Range ครับ

3. Mixed Cost คือต้นทุนที่มีทั้งส่วนประกอบของ Fixed Cost และ Variable Cost อยู่ด้วยกัน ซึ่งนี่แหละคือต้นทุนที่พบได้ในชีวิตจริงมากที่สุดครับ

วิธีการหา Variable Cost ต่อหน่วย ที่แฝงอยู่ใน Mixed Cost ก็คือ การหา "ความชันของรูปสามเหลี่ยม" ด้าน บนนั่นเองครับ ซึ่งทำได้โดยการ นำ ต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้น หารด้วย จำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้น = (4000-1000)/(3000-0) = $1 / หน่วย นั่นเองครับ

เมื่อเรารู้จัก Variable Cost ดีขึ้นแล้ว เราก็มาเรียนรู้ศัพท์อีกซักคำนะครับ นั่นคือ

Contribution Margin (กำไรส่วนเกิน) = Total Sales - Total Variable Cost

ถ้าคิดต่อหน่วย => Contribution Margin/Unit (กำไรส่วนเกินต่อหน่วย) = Price/Unit - Variable Cost/Unit

เอาล่ะ พอเรารู้ศัพท์ครบแล้วเราก็สามารถเรียนรู้เรื่อง CVP ได้อย่างง่ายดายแล้วครับ
สมการทั่วๆ ไปของเรื่องเงินๆทองๆ มีดังนี้

Sales (ยอดขาย) - Variable Cost (ต้นทุนผันแปร) - Fixed Cost (ต้นทุนคงที่) = Net Income (กำไร+ หรือ ขาดทุน-)

ดังนั้นถ้าให้ Q เป็นจำนวนที่ทำการผลิต จะได้ว่า

(Price/unit x Q) - ( Variable Cost/unit x Q ) - Fixed Cost = Net Income

จัดรูปร่างหน่อยจะได้ว่า

( Price/unit - Variable Cost/unit) x Q = Fixed Cost + Net Income

หรือจะใช้ศัพท์เท่ๆ ที่เพิ่งเรียนมาก็ได้ได้ว่า

Contribution Margin/Unit x Q = Fixed Cost + Net Income จัดข้างหน่อย จะได้ว่า

Q (จำนวนหน่วยที่ทำการผลิต) = (Fixed Cost + Net Income) / Contribution Margin ต่อหน่วย

ที่นี้ เราสามารถหาได้เลยครับว่า ถ้าเราต้องการกำไรเท่านี้ เราต้องผลิตสินค้าเท่าไหร่ ( สมมติว่าผลิตแล้วขายออกหมดเลยนะครับ)
ตัวอย่าง

เราเป็นพ่อค้าทำขนมขาย โดยเวลาเราทำขนมแต่ละชิ้น เราต้องใช้ส่วนผสมมูลค่า 20 บาท โดยเราตั้งราคาขายขนมที่ทำเสร็จแล้วที่ชิ้นละ 30 บาท แต่เราจะต้องเสียค่าเช่าพื้นที่วันละ 500 บาท

1. เราจะต้องทำขนมขายวันละกี่ชิ้นถึงจะได้กำไรวันละ 1000 บาท ??

มาวิเคราะห์โจทย์กันก่อน จะเห็นได้ว่า Variable Cost/unit = 20 บาท , Price/unit = 30 บาท, Fixed Cost = 500 บาท, Net Income = 1000 บาท

จะได้ว่า Contribution Margin / unit = 30-20 = 10 บาท/unit

จากสมการ ==> Q (จำนวนหน่วยที่ทำการผลิต) = (Fixed Cost + Net Income) / Contribution Margin ต่อหน่วย

แทนข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ลงในสมการจะได้ว่า

Q (จำนวนหน่วยที่ทำการผลิต) = (500 + 1000) / 10

ต้องทำ Q = 150 ชิ้น หรือ ต้องขายให้ได้ 150x30 = 4,500 บาท นั่นเอง

2. เราจะต้องขายได้วันละกี่ตัวถึงจะคุ้มทุน??

คำว่าคุ้มทุนก็คือ ไม่ได้กำไร ไม่ขาดทุน แปลว่า Net Income เป็น 0 นั่นเอง

แทนข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ลงในสมการจะได้ว่า

Q (จำนวนหน่วยที่ทำการผลิต) = (500 + 0) / 10

ต้องทำ Q = 50 ชิ้น หรือ ต้องขายให้ได้ 50x30 = 1,500 บาท นั่นเอง

Re: รบกวนถามครับ

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 04, 2011 9:59 pm
โดย navapon
พอดีอ่านเรื่องการบัญชีต้นทุน จากหนังสือ การบัญชีสำหรับผู้บริหารและผู้ที่มิใช่นักบัญชี
แต่งโดย รศ. อัญชลี พิพัฒนเสริญ พิมพ์ครั้งที่ 1(เป็นการพิมพ์ครั้งแรก) เมื่อ มิถุนายน 2553

บทที่ 7 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน และ การวางแผนกำไร ตั้งแต่ หน้า 123-136
เกี่ยวกับเรื่องต้นทุนแบ่งซึ่งเป็น 3 ชนิด ต้นทุนคงที่, ต้นทุนผันแปร ต้นทุนผสม

และเจอประเด็นเรื่อง operating leverage
โดย
operating leverage = กำไรส่วนเกิน / กำไรจากการดำเนินงาน

เขาบอกว่าเราสามารถใช้ operating leverage เพื่อเป็นตัววัดความรุนแรงของผลกำไรจากการดำเนินงานเมื่อยอดขายเปลี่ยนไป

ทั้งนี้ กำไรจากการดำเนินงาน = EBIT และสรุปความรู้จากหนังสือเอาเองได้ว่า

1. ถ้าต้นทุนคงที่สูง ผลคือ operating leverage และ ผลกระทบต่อกำไร(จากการดำเนินงาน)เมื่อยอดขายเปลี่ยนแปลงจะมากตาม
หมายถึง
> เมื่อยอดขายเพิ่มเพียงเล็กน้อย จะได้ EBIT เพิ่มอีกมาก
> เมื่อยอดขายลดลงเพียงเล็กน้อย EBITจะลดลงมาก

2. ถ้าต้นทุนคงที่ตํ่า ผลคือ operating leverage และ ผลกระทบต่อกำไร(จากการดำเนินงาน)เมื่อยอดขายเปลี่ยนแปลงจะน้อยตาม
หมายถึง
> ไม่ว่ายอดขายจะเพิ่มหรือลดลงอย่างไรก็ไม่มีผลกระทบต่อ EBIT มากนัก

ทีนี้ถ้าเราจะอนุมานหยาบเอาเลยว่า ต้นทุนคงที่ คือ ต้นทุนขายสินค้าและบริการ
จึงจะมาตีความต่อเอาว่า ต้นทุนคงที่(fixed cost)ที่สูงๆ หรือ ต้นทุนคงที่(fixed cost)ที่ตํ่า หมายถึงอะไร
เพื่อจะมาแปลความหมายของประโยค 1 และ 2 ข้างบน

จากที่ว่า
ถ้าต้นทุนคงที่สูง > ผลคือ operating leverage และ ผลกระทบต่อ EBIT เมื่อยอดขายเปลี่ยนแปลงจะมากตาม

จะกลายเป็น
ถ้า GPM สูงมากๆ และ ผลต่างของ GPM กับ Operation margin สูง > ผลคือ operating leverage และ ผลกระทบต่อ EBIT เมื่อยอดขายเปลี่ยนแปลงจะมากตาม
(โดย ผลต่างของ GPM กับ Operation margin สูง หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารสูงๆ
และ GPM สูง หมายถึง ต้นทุนขายน้อยๆ)

และจากที่ว่า
ถ้าต้นทุนคงที่ตํ่า > ผลคือ operating leverage และ ผลกระทบต่อ EBIT เมื่อยอดขายเปลี่ยนแปลงจะน้อยตาม

จะกลายเป็น
ถ้า GPM ตํ่า และ GPM กับ Operation margin แตกต่างกันน้อย > ผลคือ operating leverage และ ผลกระทบต่อ EBIT เมื่อยอดขายเปลี่ยนแปลงจะน้อยตาม
(โดย ผลต่างของ GPM กับ Operation margin น้อย หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารน้อย
และ GPM ตํ่า หมายถึง ต้นทุนขายมาก)

ไม่รู้ทำถูกหรือเปล่า และมีประโยชน์อะไรไหมครับ ใครรู้ช่วยแนะนำผมด้วยครับ