การคิดค่าเสื่อมและการตัดจำหน่าย จนทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ
- ^^
- Verified User
- โพสต์: 519
- ผู้ติดตาม: 1
การคิดค่าเสื่อมและการตัดจำหน่าย จนทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ
โพสต์ที่ 1
-ดีหรือไม่ดีครับ
-เป็นการกดกำไรสุทธิไว้หรือเปล่า
-บริษัทที่ผมเจอ คิดค่าเสื่อมและตัดจำหน่ายสูง เกือบเท่ากับกำไรสุทธิทั้งปี ของปีที่แล้วเลยอ่ะ ทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ
-แต่ปีนี้โอนกลับของที่ตัดค่าเสื่อมปีที่แล้วแต่ไปสร้างรายจ่ายเพิ่มด้วยการลงทุน
ทำให้งบการเงินก็ยังขาดทุนอยู่
-เป็นการกดกำไรสุทธิไว้หรือเปล่า
-บริษัทที่ผมเจอ คิดค่าเสื่อมและตัดจำหน่ายสูง เกือบเท่ากับกำไรสุทธิทั้งปี ของปีที่แล้วเลยอ่ะ ทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ
-แต่ปีนี้โอนกลับของที่ตัดค่าเสื่อมปีที่แล้วแต่ไปสร้างรายจ่ายเพิ่มด้วยการลงทุน
ทำให้งบการเงินก็ยังขาดทุนอยู่
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
-
- Verified User
- โพสต์: 220
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การคิดค่าเสื่อมและการตัดจำหน่าย จนทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ
โพสต์ที่ 2
ถ้าบอกว่าเป็นบริษัทในอุตสาหกรรมอะไรก็จะช่วยคิดได้มากขึ้นนะครับ
แล้วบริษัทชี้แจงว่าอย่างไรกับงบที่เกิดขึ้นบอกด้วยก็ดีครับ(จะได้ดูว่าตั้งใจหมกเม็ดหรือมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นจริงหรือไม่)
แล้วบริษัทชี้แจงว่าอย่างไรกับงบที่เกิดขึ้นบอกด้วยก็ดีครับ(จะได้ดูว่าตั้งใจหมกเม็ดหรือมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นจริงหรือไม่)
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การคิดค่าเสื่อมและการตัดจำหน่าย จนทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ
โพสต์ที่ 3
มีข้อมูลประวัติพฤติกรรมผบห.และธรรมมาภิบาลของผบห.ไหมครับ
ลงทุนเพื่อชีวิต
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 325
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การคิดค่าเสื่อมและการตัดจำหน่าย จนทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ
โพสต์ที่ 5
เรื่องค่าเสื่อม มันมีระเบียบการตัดค่าเสื่อมอยู่แล้วนี่ครับว่าจะตัดมากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่ว่าจะตั้งเอาตามใจชอบได้ ไม่งั้นผู้สอบบัญชีมีปัญหาแน่ๆ
ยกตัวอย่าง ครุภัณฑ์ต้องลงเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนซื้ออุปกรณ์ต้องตัด 5 ปีเป็นเส้นตรง ซื้อคำอธิบายและเกณฑ์ก็จะปรากฏในหมายเหตุประกอบงบการเงินเสมอ
ทั้งนี้ โดยค่าเสื่อมที่ตัด ไม่ได้เกี่ยวกับเงินสดที่บริษัทมี บริษัทที่เอาค่าเสื่อมไปลงทุนต่อก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ..
หรือ ผมอ่านไม่เข้าใจ ???
ยกตัวอย่าง ครุภัณฑ์ต้องลงเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนซื้ออุปกรณ์ต้องตัด 5 ปีเป็นเส้นตรง ซื้อคำอธิบายและเกณฑ์ก็จะปรากฏในหมายเหตุประกอบงบการเงินเสมอ
ทั้งนี้ โดยค่าเสื่อมที่ตัด ไม่ได้เกี่ยวกับเงินสดที่บริษัทมี บริษัทที่เอาค่าเสื่อมไปลงทุนต่อก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ..
หรือ ผมอ่านไม่เข้าใจ ???
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การคิดค่าเสื่อมและการตัดจำหน่าย จนทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ
โพสต์ที่ 6
การตัดค่าเสื่อมราคา มาตรฐานทางบัญชีไม่ได้ระบุไว้แน่นอนตายตัวว่าจะต้องตัดกี่ปี และวิธีตัดก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเส้นตรงเสมอไปครับProxity เขียน:เรื่องค่าเสื่อม มันมีระเบียบการตัดค่าเสื่อมอยู่แล้วนี่ครับว่าจะตัดมากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่ว่าจะตั้งเอาตามใจชอบได้ ไม่งั้นผู้สอบบัญชีมีปัญหาแน่ๆ
ยกตัวอย่าง ครุภัณฑ์ต้องลงเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนซื้ออุปกรณ์ต้องตัด 5 ปีเป็นเส้นตรง ซื้อคำอธิบายและเกณฑ์ก็จะปรากฏในหมายเหตุประกอบงบการเงินเสมอ
ทั้งนี้ โดยค่าเสื่อมที่ตัด ไม่ได้เกี่ยวกับเงินสดที่บริษัทมี บริษัทที่เอาค่าเสื่อมไปลงทุนต่อก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ..
หรือ ผมอ่านไม่เข้าใจ ???
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การคิดค่าเสื่อมและการตัดจำหน่าย จนทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ
โพสต์ที่ 7
เท่าที่นึกได้ก็
safari
erawan
ขาดทุนแต่เงินสดท่วมบริษัท ผู้บริหารเปรมเพราะมีเงินมาทำนู่นทำนี่ แบงค์ก็ชอบเพราะมีเงินมาจ่ายดอกเบีย แต่ผู้ถือหุ้นรอเหงือกแห้งเพราะไม่มีปันผล
safari
erawan
ขาดทุนแต่เงินสดท่วมบริษัท ผู้บริหารเปรมเพราะมีเงินมาทำนู่นทำนี่ แบงค์ก็ชอบเพราะมีเงินมาจ่ายดอกเบีย แต่ผู้ถือหุ้นรอเหงือกแห้งเพราะไม่มีปันผล
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 581
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การคิดค่าเสื่อมและการตัดจำหน่าย จนทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ
โพสต์ที่ 8
ผมอ่านของจขกท. ยังไม่ค่อยเข้าใจความหมายนะครับ
แต่สำหรับเรื่องค่าเสื่อม
บริษัทสามารถใช้วิธีหักค่าเสื่อมแบบไหนก็ได้ตามที่มาตรฐานบัญชีให้ทำได้
สิ่งที่ควรดูคือ หากบริษัทเลือกใช้วิธีไหนแล้วก็ไม่ควรเปลี่ยนไปมา โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนแล้วส่งผลต่องบการเงินอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีที่ดีมักจะให้ความเห็นต่อเรื่องการเปลี่ยนหลักเกณฑ์วิธีคำนวณที่ต่างไปจากเดิมไว้ในรายงานตรวจสอบบัญชีครับ
ส่วนอีกเรื่องที่ผมมักจะตั้งขอสังเกต และดูเป็นพิเศษโดยเฉพาะกับบริษัทที่ค้าขาย "ดี" แต่ "ขาดทุนสุทธิ" เสมอ
คือเรื่องไซฟอนกับวางแผนภาษีครับ
(ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นพูดเพราะต่อเนื่องกับการรายงานงบการเงินที่ต้องดูให้ละเอียดครับ)
แต่สำหรับเรื่องค่าเสื่อม
บริษัทสามารถใช้วิธีหักค่าเสื่อมแบบไหนก็ได้ตามที่มาตรฐานบัญชีให้ทำได้
สิ่งที่ควรดูคือ หากบริษัทเลือกใช้วิธีไหนแล้วก็ไม่ควรเปลี่ยนไปมา โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนแล้วส่งผลต่องบการเงินอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีที่ดีมักจะให้ความเห็นต่อเรื่องการเปลี่ยนหลักเกณฑ์วิธีคำนวณที่ต่างไปจากเดิมไว้ในรายงานตรวจสอบบัญชีครับ
ส่วนอีกเรื่องที่ผมมักจะตั้งขอสังเกต และดูเป็นพิเศษโดยเฉพาะกับบริษัทที่ค้าขาย "ดี" แต่ "ขาดทุนสุทธิ" เสมอ
คือเรื่องไซฟอนกับวางแผนภาษีครับ
(ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นพูดเพราะต่อเนื่องกับการรายงานงบการเงินที่ต้องดูให้ละเอียดครับ)
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การคิดค่าเสื่อมและการตัดจำหน่าย จนทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ
โพสต์ที่ 9
ถ้ามองในแง่ดีบริษัทยังมีกำไรเงินสดอยู่ แต่ขาดทุนทางบัญชีเท่านั้น
ถ้ามองในแง่การดำเนินของบริษัท มันก็แปลก ๆอยู่ เหมือนกับบริษัทมีการลงทุนในสินทรัพย์มูลค่าสูง ๆ แต่ผลตอบแทนในรูปกำไรไม่พอเพียง
เพราะหลักการของบัญชีที่ให้บันทึกค่าเสื่อมเป็นรายจ่าย เพื่อต้องการสะท้อนให้เห็นกำไรจากการใช้สินทรัพย์ในการดำเนินธุรกิจ ตามหลัก
การจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย ถ้าลักษณะอย่างนี้ธุรกิจมีแนวโน้มลงทุนไมุ่คุ้มค่าทางธุรกิจครับ
คงต้องดูรายละเอียดลึก ๆอีกทีว่ามีเหตุผลกลใดซ่อนเงื่อนอยู่หรือเปล่า
ถ้ามองในแง่การดำเนินของบริษัท มันก็แปลก ๆอยู่ เหมือนกับบริษัทมีการลงทุนในสินทรัพย์มูลค่าสูง ๆ แต่ผลตอบแทนในรูปกำไรไม่พอเพียง
เพราะหลักการของบัญชีที่ให้บันทึกค่าเสื่อมเป็นรายจ่าย เพื่อต้องการสะท้อนให้เห็นกำไรจากการใช้สินทรัพย์ในการดำเนินธุรกิจ ตามหลัก
การจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย ถ้าลักษณะอย่างนี้ธุรกิจมีแนวโน้มลงทุนไมุ่คุ้มค่าทางธุรกิจครับ
คงต้องดูรายละเอียดลึก ๆอีกทีว่ามีเหตุผลกลใดซ่อนเงื่อนอยู่หรือเปล่า
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....