็HFT: ถือหุ้นแค่ 11 วินาที...2-3 นาที (สงสัยต้องเรียกว่า mi
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 05, 2011 8:42 am
เมื่อก่อน เราบอกว่า day trading ซื้อขายรายวัน
เพิ่งรู้ว่า เดี๋ยวนี้ "เล่นสั้น" กันขนาดนี้แล้ว คงต้องเรียกว่าซื้อขายรายนาที
นับวัน ยิ่งห่างไกลจากคำว่า "ลงทุน" กันมากขึ้นทุกที
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=440
จับตา'ไฮ ฟรีเจนซี่ เทรดดิ้ง'
การเงิน Financial - การเงิน-ตลาดทุน
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธที่ 04 พฤษภาคม 2011 เวลา 10:42 น.
การส่งคำสั่งซื้อขายที่มีความถี่สูง (High Frequency Trading:HFT) เป็นที่สนใจมากขึ้นในตลาดทุนโลก จากเหตุการณ์ Flash Crash ในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553 ที่ส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงกว่า 1,000 จุด
HFT ได้เป็นหนึ่งในจำเลยที่ได้รับการกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แม้ผลการตรวจสอบ พบว่า HFT ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวโดยตรง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำรายการของ HFT ในวันนั้น อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนของราคาหุ้นไม่มากก็น้อย
อัญชนี วิชยาภัย บุนนาค ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นเช่นไร HFT ถือเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการที่ทุกคนต้องจับตามอง ด้วยคุณสมบัติสำคัญในการสร้างสภาพคล่องและเพิ่มปริมาณการซื้อขายให้กับตลาดหลักทรัพย์ HFT จึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงขึ้นในเอเชีย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯและผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนจำเป็นต้องเตรียมรับมืออย่างเหมาะสมและสมดุล
เธอขยายความว่า HFT เป็นการส่งคำสั่งซื้อขายที่มีความถี่สูง โดยใช้วิธีการส่งคำสั่งซื้อขายแบบ Algorithmic Trading หรือโปรแกรม เทรดดิ้ง ซึ่งเป็นวิธีการส่งคำสั่งซื้อขายโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จะใช้ความเร็วจากระบบคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุโอกาสการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาที เพื่อจัดส่งคำสั่งซื้อขาย
ทั้งนี้การส่งคำสั่งแบบ HFT จะเน้นส่งคำสั่งเป็นจำนวนมากในหนึ่งวินาทีและอาจทำรายการพร้อมกันในตลาดหลักทรัพย์ฯมากกว่าหนึ่งแห่ง เพื่อสร้างโอกาสในการทำกำไรจากรายการดังกล่าว โดยนักลงทุนที่มีการซื้อขายแบบ HFT จะถือครองหลักทรัพย์ไว้ในเวลาที่สั้นมากและส่วนใหญ่จะไม่ถือไว้ข้ามคืน
อาจกล่าวได้ว่า HFT ช่วยสร้างสภาพคล่องให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยลักษณะสำคัญหลายประการด้วยกัน ดังนี้
1.ความเร็วในการทำรายการ การทำรายการของ HFT จะต้องอาศัย Ultra-low Latency โดยเน้นระบบคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วระดับ Millisecond (1/1,000 วินาที) หรือ Microsecond (1/1 ล้านวินาที) เท่านั้น
2.ระยะเวลาการถือครองหลักทรัพย์ นักลงทุนที่ส่งคำสั่งซื้อขายแบบ HFT จะถือครองหลักทรัพย์ไว้ในระยะเวลาสั้นมากเพียงไม่กี่นาที โดยจะไม่ถือครองหลักทรัพย์ข้ามคืน เนื่องจากถือเป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ประเด็นนี้ทำให้ HFT แตกต่างจาก Algorithmic Trading (Algo) ซึ่งทั้งสองต่างใช้กลยุทธ์การซื้อขายด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ Algo ครอบคลุมการถือครองหลักทรัพย์ระยะยาวด้วย อาจกล่าวได้ว่า HFT ทุกรายใช้ Algo แต่ Algo ทุกรายไม่ใช่ HFT
ดังตัวอย่าง บริษัทเทรดบอทฯ ซึ่งเป็นนักลงทุน HFT รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้เมื่อปี 2551 ว่า ปกติจะถือหุ้นไว้เพียง 11 วินาทีเท่านั้น
ปริมาณการทำรายการ HFT ทำรายการสูงสุดได้นับล้านคำสั่งซื้อขายภายในเวลาเพียงหนึ่งวินาที โดยอาจครอบคลุมหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งประเภท ทั้งหุ้น ออพชั่น ฟิวเจอร์ส อีทีเอฟ หรือ อัตราแลกเปลี่ยน และอาจทำรายการในตลาดหลักทรัพย์ฯหลายแห่งพร้อมๆ กัน
อัญชนี กล่าวว่า นักลงทุนที่ซื้อขายแบบ HFT อาศัยส่วนต่างของราคาเสนอซื้อหรือขายเพื่อทำกำไร โดยอาจได้รับกำไรต่อหุ้นเพียงเล็กน้อย บริษัทหลักทรัพย์โรเซนแบรต ในสหรัฐอเมริกา ประมาณการว่า นักลงทุน HFT มีรายรับโดยเฉลี่ยเพียง 0.001 - 0.002 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อหุ้น แต่จะทำรายการบ่อยครั้งและด้วยปริมาณที่สูงมาก
สำหรับนักลงทุนที่มีการซื้อขายแบบ HFT ประกอบด้วย บริษัทวาณิชธนกิจชั้นนำและบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ที่มีพอร์ตการลงทุนของตนเอง อาทิ โกลด์แมน ซากส์ หรือเมอร์ริล ลินช์ เป็นต้น รวมถึงกลุ่มกองทุนบริหารความเสี่ยง หรือเฮดจ์ฟันด์ โดยกลยุทธ์ในการทำรายการมีหลายประเภทด้วยกัน
เป้าหมายของนักลงทุนที่ซื้อขายแบบ HFT คือ การค้นหาโอกาสในการลงทุนและการใช้ประโยชน์จากโอกาสเพื่อทำกำไร การที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้นั้น จะต้องมีระบบเทคโนโลยีที่รวดเร็วมาก ซึ่งบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ รวมถึงกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ได้ลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงดังกล่าว
อัญชนี กล่าวว่า HFT นับเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาด และช่วยทำให้ส่วนต่างของราคาเสนอซื้อและเสนอขาย (Bid-Offer Spread) แคบลง ซึ่งทำให้ต้นทุนในการซื้อขายลดต่ำลง นอกจากนี้ นักลงทุนที่มีการซื้อขายแบบ HFT ยังสนับสนุนให้มีปริมาณการซื้อขายในตลาดเพิ่มสูงขึ้นด้วย
แต่มีสิ่งที่คนส่วนใหญ่วิตกกังวลเกี่ยวกับนักลงทุนที่มีการซื้อขายแบบ HFT ก็คือ การที่นักลงทุนที่มีการซื้อขายแบบ HFT เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและเข้าครอบครองส่วนแบ่งการตลาดในระดับที่สูงเกินไป อาจทำให้เข้ามามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาโดยฉับพลันและมีผลในวงกว้าง และอาจทำให้หุ้นบางตัวเกิดความผันผวนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ภาวะความผันผวนดังกล่าวอาจยิ่งกระตุ้นให้นักลงทุนแบบ HFT เลือกใช้กลยุทธ์ Algo ในการทำรายการมากขึ้นด้วย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดโดยรวมได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี นักวิชาการที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เชื่อว่า พัฒนาการของ HFT ในเอเชียจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่จะไม่เติบโตในเวลาที่รวดเร็วนัก อย่างน้อยต้องใช้เวลาอีกราว 5 - 7 ปี เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียส่วนใหญ่ยังผูกขาดโดยตลาดหลักทรัพย์หลักของประเทศนั้นๆ อีกทั้งสัดส่วนของนักลงทุนในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักลงทุนรายย่อยมากกว่านักลงทุนสถาบัน ซึ่งต่างจากตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
โดยปัจจุบันปริมาณการซื้อขายแบบ HFT ในเอเชีย ยังคงมีเพียง 5 - 10 % เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีในตลาดหุ้น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย และอินเดีย
สำหรับHFT ในประเทศไทย ปัจจุบันเรียกได้ว่ายังไม่มีรูปแบบการซื้อขายแบบดังกล่าวเกิดขึ้น โดยรูปแบบที่ใกล้เคียงที่สุด คือ Algorithmic Trading ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เริ่มอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้มาตั้งแต่ปี 2549 แต่การใช้งานยังไม่แพร่หลายมากนัก
ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบงานหลักใหม่ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที มาสเตอร์ แพลน เพื่อยกระดับระบบเทคโนโลยีสู่มาตรฐานสากลและรองรับบริบทการแข่งขันที่มาจากทั่วทุกมุมโลก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,632 5-7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
เพิ่งรู้ว่า เดี๋ยวนี้ "เล่นสั้น" กันขนาดนี้แล้ว คงต้องเรียกว่าซื้อขายรายนาที
นับวัน ยิ่งห่างไกลจากคำว่า "ลงทุน" กันมากขึ้นทุกที
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=440
จับตา'ไฮ ฟรีเจนซี่ เทรดดิ้ง'
การเงิน Financial - การเงิน-ตลาดทุน
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธที่ 04 พฤษภาคม 2011 เวลา 10:42 น.
การส่งคำสั่งซื้อขายที่มีความถี่สูง (High Frequency Trading:HFT) เป็นที่สนใจมากขึ้นในตลาดทุนโลก จากเหตุการณ์ Flash Crash ในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553 ที่ส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงกว่า 1,000 จุด
HFT ได้เป็นหนึ่งในจำเลยที่ได้รับการกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แม้ผลการตรวจสอบ พบว่า HFT ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวโดยตรง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำรายการของ HFT ในวันนั้น อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนของราคาหุ้นไม่มากก็น้อย
อัญชนี วิชยาภัย บุนนาค ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นเช่นไร HFT ถือเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการที่ทุกคนต้องจับตามอง ด้วยคุณสมบัติสำคัญในการสร้างสภาพคล่องและเพิ่มปริมาณการซื้อขายให้กับตลาดหลักทรัพย์ HFT จึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงขึ้นในเอเชีย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯและผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนจำเป็นต้องเตรียมรับมืออย่างเหมาะสมและสมดุล
เธอขยายความว่า HFT เป็นการส่งคำสั่งซื้อขายที่มีความถี่สูง โดยใช้วิธีการส่งคำสั่งซื้อขายแบบ Algorithmic Trading หรือโปรแกรม เทรดดิ้ง ซึ่งเป็นวิธีการส่งคำสั่งซื้อขายโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จะใช้ความเร็วจากระบบคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุโอกาสการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาที เพื่อจัดส่งคำสั่งซื้อขาย
ทั้งนี้การส่งคำสั่งแบบ HFT จะเน้นส่งคำสั่งเป็นจำนวนมากในหนึ่งวินาทีและอาจทำรายการพร้อมกันในตลาดหลักทรัพย์ฯมากกว่าหนึ่งแห่ง เพื่อสร้างโอกาสในการทำกำไรจากรายการดังกล่าว โดยนักลงทุนที่มีการซื้อขายแบบ HFT จะถือครองหลักทรัพย์ไว้ในเวลาที่สั้นมากและส่วนใหญ่จะไม่ถือไว้ข้ามคืน
อาจกล่าวได้ว่า HFT ช่วยสร้างสภาพคล่องให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยลักษณะสำคัญหลายประการด้วยกัน ดังนี้
1.ความเร็วในการทำรายการ การทำรายการของ HFT จะต้องอาศัย Ultra-low Latency โดยเน้นระบบคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วระดับ Millisecond (1/1,000 วินาที) หรือ Microsecond (1/1 ล้านวินาที) เท่านั้น
2.ระยะเวลาการถือครองหลักทรัพย์ นักลงทุนที่ส่งคำสั่งซื้อขายแบบ HFT จะถือครองหลักทรัพย์ไว้ในระยะเวลาสั้นมากเพียงไม่กี่นาที โดยจะไม่ถือครองหลักทรัพย์ข้ามคืน เนื่องจากถือเป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ประเด็นนี้ทำให้ HFT แตกต่างจาก Algorithmic Trading (Algo) ซึ่งทั้งสองต่างใช้กลยุทธ์การซื้อขายด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ Algo ครอบคลุมการถือครองหลักทรัพย์ระยะยาวด้วย อาจกล่าวได้ว่า HFT ทุกรายใช้ Algo แต่ Algo ทุกรายไม่ใช่ HFT
ดังตัวอย่าง บริษัทเทรดบอทฯ ซึ่งเป็นนักลงทุน HFT รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้เมื่อปี 2551 ว่า ปกติจะถือหุ้นไว้เพียง 11 วินาทีเท่านั้น
ปริมาณการทำรายการ HFT ทำรายการสูงสุดได้นับล้านคำสั่งซื้อขายภายในเวลาเพียงหนึ่งวินาที โดยอาจครอบคลุมหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งประเภท ทั้งหุ้น ออพชั่น ฟิวเจอร์ส อีทีเอฟ หรือ อัตราแลกเปลี่ยน และอาจทำรายการในตลาดหลักทรัพย์ฯหลายแห่งพร้อมๆ กัน
อัญชนี กล่าวว่า นักลงทุนที่ซื้อขายแบบ HFT อาศัยส่วนต่างของราคาเสนอซื้อหรือขายเพื่อทำกำไร โดยอาจได้รับกำไรต่อหุ้นเพียงเล็กน้อย บริษัทหลักทรัพย์โรเซนแบรต ในสหรัฐอเมริกา ประมาณการว่า นักลงทุน HFT มีรายรับโดยเฉลี่ยเพียง 0.001 - 0.002 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อหุ้น แต่จะทำรายการบ่อยครั้งและด้วยปริมาณที่สูงมาก
สำหรับนักลงทุนที่มีการซื้อขายแบบ HFT ประกอบด้วย บริษัทวาณิชธนกิจชั้นนำและบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ที่มีพอร์ตการลงทุนของตนเอง อาทิ โกลด์แมน ซากส์ หรือเมอร์ริล ลินช์ เป็นต้น รวมถึงกลุ่มกองทุนบริหารความเสี่ยง หรือเฮดจ์ฟันด์ โดยกลยุทธ์ในการทำรายการมีหลายประเภทด้วยกัน
เป้าหมายของนักลงทุนที่ซื้อขายแบบ HFT คือ การค้นหาโอกาสในการลงทุนและการใช้ประโยชน์จากโอกาสเพื่อทำกำไร การที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้นั้น จะต้องมีระบบเทคโนโลยีที่รวดเร็วมาก ซึ่งบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ รวมถึงกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ได้ลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงดังกล่าว
อัญชนี กล่าวว่า HFT นับเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาด และช่วยทำให้ส่วนต่างของราคาเสนอซื้อและเสนอขาย (Bid-Offer Spread) แคบลง ซึ่งทำให้ต้นทุนในการซื้อขายลดต่ำลง นอกจากนี้ นักลงทุนที่มีการซื้อขายแบบ HFT ยังสนับสนุนให้มีปริมาณการซื้อขายในตลาดเพิ่มสูงขึ้นด้วย
แต่มีสิ่งที่คนส่วนใหญ่วิตกกังวลเกี่ยวกับนักลงทุนที่มีการซื้อขายแบบ HFT ก็คือ การที่นักลงทุนที่มีการซื้อขายแบบ HFT เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและเข้าครอบครองส่วนแบ่งการตลาดในระดับที่สูงเกินไป อาจทำให้เข้ามามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาโดยฉับพลันและมีผลในวงกว้าง และอาจทำให้หุ้นบางตัวเกิดความผันผวนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ภาวะความผันผวนดังกล่าวอาจยิ่งกระตุ้นให้นักลงทุนแบบ HFT เลือกใช้กลยุทธ์ Algo ในการทำรายการมากขึ้นด้วย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดโดยรวมได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี นักวิชาการที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เชื่อว่า พัฒนาการของ HFT ในเอเชียจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่จะไม่เติบโตในเวลาที่รวดเร็วนัก อย่างน้อยต้องใช้เวลาอีกราว 5 - 7 ปี เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียส่วนใหญ่ยังผูกขาดโดยตลาดหลักทรัพย์หลักของประเทศนั้นๆ อีกทั้งสัดส่วนของนักลงทุนในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักลงทุนรายย่อยมากกว่านักลงทุนสถาบัน ซึ่งต่างจากตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
โดยปัจจุบันปริมาณการซื้อขายแบบ HFT ในเอเชีย ยังคงมีเพียง 5 - 10 % เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีในตลาดหุ้น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย และอินเดีย
สำหรับHFT ในประเทศไทย ปัจจุบันเรียกได้ว่ายังไม่มีรูปแบบการซื้อขายแบบดังกล่าวเกิดขึ้น โดยรูปแบบที่ใกล้เคียงที่สุด คือ Algorithmic Trading ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เริ่มอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ใช้มาตั้งแต่ปี 2549 แต่การใช้งานยังไม่แพร่หลายมากนัก
ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบงานหลักใหม่ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที มาสเตอร์ แพลน เพื่อยกระดับระบบเทคโนโลยีสู่มาตรฐานสากลและรองรับบริบทการแข่งขันที่มาจากทั่วทุกมุมโลก
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,632 5-7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554