ความพอเพียงตอนไปต่างประเทศ
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ค. 25, 2011 5:37 pm
ความพอเพียงตอนไปต่างประเทศ
ดร.โสภณ พรโชคชัย*
ทุกท่านคงเคยได้ยินคำว่าความพอเพียงกันมามากพอสมควร วันนี้ผมจะเล่าจากประสบการณ์จริงของผมบ้างครับ เพื่อให้เห็นความพอเพียงที่แท้ที่พวกข้าราชการระดับสูง ๆ ต่างหากที่ควรน้อมนำไปปฏิบัติ
เรื่องก็คือ ผมได้รับมอบหมายจากสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยในฐานะรองประธานให้ไปประชุม UN Global Compact ขององค์การสหประชาชาติ ที่สภาฯ เป็นองค์กรผู้แทนในประเทศไทย และผมเป็นคนประสานงานกับองค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ การประชุมครั้งนี้จัดขึ้น ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในระหว่างวันที่ 16-20 พฤษภาคม ศกนี้
ตอนแรกผมก็คิดจะใช้บริการบินตรง 11 ชั่งโมงครึ่งของการบินไทยครับ แต่ค่าตั๋วชั้นประหยัดราคา 48,000 บาท ผมเลยเปลี่ยนใจไปใช้กาตาร์แอร์เวย์ ซึ่งค่าตั๋วอยู่ที่ 38,000 บาท แต่ต้องเปลี่ยนเครื่องที่กรุงโดฮาประมาณสองชั่วโมง ทำให้เวลาเดินทาง 13 ชั่วโมง แต่ผมก็ยินดีครับเพื่อประหยัดเงินให้สภาฯ บางท่านอาจอยากถามว่าแล้วทำไมผมไม่ออกเองล่ะ ผมก็คงตอบว่า งานนี้ผมช่วยด้วยการสละเวลาทำมาหากินไป 5 วันเต็มครับ
สำหรับกาตาร์แอร์เวย์ เครื่องบินก็ใหม่ อาหารดี ดนตรีไพเราะ พร้อมมีภาพยนตร์ให้ดูนับร้อยเรื่อง บริการก็ไม่แพ้ (ไม่อยากบอกว่าชนะ) การบินไทย แอร์โฮสเตสก็มีหลายสัญชาติ ให้บริการใกล้ชิดกับลูกค้าได้หลายภาษา และก็มีอายุไม่มาก เหมาะกับงานแบบนี้ ต่างกับสายการบินบางแห่งที่แอร์ฯ ชราจนน่าเป็นห่วง ซึ่งคงเป็นเพราะ (จำต้อง) เอาใจแอร์ (ลูกจ้าง) มากกว่าจะยึดเอาประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง ท่านทราบไหม ข้าราชการถูกกำหนดให้ใช้การบินไทย นี่ถ้าไม่กำหนดไว้ ป่านนี้การบินไทยจะอยู่รอดหรือไม่
ยิ่งถ้าเป็นข้าราชการระดับสูงยังได้สิทธิบินชั้นธุรกิจที่ค่าตั๋วเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 3 เท่า (ราคา 130,000 บาท) อันที่จริงถ้าเราเกรงว่าพวกข้าราชการระดับสูงจะเหนื่อยเกินไป ก็น่าให้เขาบินล่วงหน้าสัก 1 วัน และเมื่อกลับก็ให้หยุดงานได้ 1 วัน จะได้ไม่ต้องเปลืองเงินมากมาย แต่ก็ไม่แน่ว่าถ้าให้พวกเขาเดินทางก่อน 1 วัน พวกเขาอาจใช้เวลาดังกล่าวไป “ช็อบสนั่น” หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งมากกว่านอนพักหรือไม่
ผมเองเดินทางไปอเมริกาปีละ 2 ครั้ง เสียค่าเครื่องบินครั้งละ 65,000 บาท ผมยังเสียดายเงินนัก ผมมักพูดเล่นออกบ่อย ๆ ว่า ถ้ามีตั๋วยืน 10,000 บาท ผมซึ่งอายุปูนนี้ยังจะยอมยืนสัก 17 ชั่วโมงเพราะสามารถประหยัดได้ถึง 55,000 บาท ผมไปรับจ้างพวกองค์การระหว่างประเทศบรรยายหรือทำวิจัย ก็ได้วันละราว ๆ นี้
ทางออกอีกทางหนึ่งในการประหยัดงบประมาณแผ่นดินก็คือ การเสนอให้ข้าราชการระดับสูงที่มีสิทธินั่งตั๋วธุรกิจ ให้มีทางเลือกว่า ถ้าไม่นั่ง ส่วนต่างได้กันคนละครึ่ง คือข้าราชการผู้นั้นได้ครึ่งและคืนคลังหลวงอีกครึ่ง ผมเชื่อว่าข้าราชการหลายคนอาจยินดีรับเงินเพิ่ม ทำให้ประหยัดงบประมาณแผ่นดินไปอีกมาก และในปัจจุบัน ข้าราชการระดับสูง ๆ ก็ยังได้เบี้ยเลี้ยง ค่าแต่งตัวสำหรับตนเองและคู่ครอง และอื่น ๆ อีกต่างหากเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ
ในเรื่องค่าที่พัก เราควรให้ข้าราชการได้รับค่าที่พักแบบประหยัดก็พอเพราะเป็นเงินภาษีของประชาชนทั้งนั้น การให้ข้าราชการระดับสูงหรือบอร์ดรัฐวิสาหกิจไปต่างประเทศแบบหรูหรา ใช้เงินนับสิบล้านบาท ถือเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินและไม่ได้เจริญรอยตามหลักความพอเพียงเลย ข้าราชการไม่พึงอ้างศักดิ์ศรีของประเทศเพราะความจริงอาจกลัวเสียโอกาสเสพสุขเกินพอเพียงต่างหาก สำหรับการเดินทางของผมในครั้งนี้ ผมยังประหยัดกว่ามาตรฐานอีก ผมจองห้องพักแบบนอนรวม 6 เตียง ค่าที่พักตกเป็นเงินคืนละ 1,700 บาทเท่านั้น แต่ถ้าผมพักแบบปกติก็คงต้องเสียค่าที่พักคืนละ 4,000-8,000 บาท
ท่านเชื่อหรือไม่คืนแรกผมโชคดีได้พักกันเพียง 2 คน มีผมกับสาวสวยชาวเกาหลี ซึ่งดูเธอก็ตกใจเล็กน้อยที่มาพักกับชายแปลกหน้าสองต่อสอง แต่ที่เดนมาร์ก เขาไม่ถือเรื่องเพศ คืนแรกผ่านไปด้วยดี คืนที่สองมีสาวสวยชาวจีนอีก 2 คนมาพักด้วย คืนที่สามมีหนุ่มญี่ปุ่นมาอีก 1 ราย ส่วนคืนสุดท้ายได้ปู่อายุ 70 ปีชาวเบลเยียมมานอนครบ 6 เตียงพอดี โชคร้ายหน่อยที่ปู่แกกรนหนัก
ผมยังถือปฏิบัติ “ยิ่งกว่าความพอเพียง” อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การเดินทางระหว่างโรงแรมที่พักกับที่ประชุม ซึ่งอยู่ห่างไกลกัน 3.5 กิโลเมตร มีทางเลือกหลายทาง เช่น นั่งแท็กซี่ รถไฟ หรือรถประจำทาง ซึ่งก็ยังต้องเดินอีกพอสมควร หรือไม่ก็เช่ารถจักรยานสองล้อ ซึ่งผมขี่เป็นประจำตอนเรียนอยู่เบลเยียมเมื่อ 25 ปีก่อน แต่ตอนนี้คงไม่ไหวแล้ว สุดท้ายผมเลือกการเดินครับ ผมเดินวันละประมาณ 8-10 กิโลเมตร เพื่อไปประชุมและเดินชมเมือง บางวันที่เดิน ผมถือร่มด้วยเพราะฝนตก แต่วันหลัง ๆ ฟ้าโปร่งก็เลยสบาย
ผมไม่อายที่เล่าเรื่องข้างต้นให้ฟังเพราะฝรั่งเองก็ใช้ชีวิตแบบนี้ แม้เรามีฐานะที่ดีกว่าแต่ก็ควรอยู่อย่าง “ติดดิน” บ้าง จะได้ไม่กลายเป็นศักดินาบนหอคอยที่ไม่เห็นหัวของปุถุชน อย่างไรก็ตามสาระสำคัญที่ผมอยากบอกก็คือ พวกข้าราชการใหญ่โตที่ควรน้อมนำความพอเพียงมาใช้ กลับไม่นำพา พวกเขาอ้างว่าทำงานรับใช้ประชาชนและราชบัลลังก์ แต่กลับเสพสุขกันโดยใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนอย่างสุรุ่ยสุร่าย เรื่องนี้ไม่มีใครคิดแก้ไขเพราะต่างเป็นอภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยที่ได้รับแจกจ่ายประโยชน์กันถ้วนหน้า และนับวันประโยชน์เหล่านี้จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในทางตรงกันข้ามหน่วยงานของรัฐกลับพยายามประชาสัมพันธ์เรื่องความพอเพียงอย่างเป็นบ้าเป็นหลังให้กับประชาชนนำไปปฏิบัติกันฝ่ายเดียว
เชิญฟังเสวนาวิชาการรายเดือนครั้งที่ 104 (ฟรี)
"ประสบการณ์การศึกษาการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาเซียน"
วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2554 เวลา 13:00-16:00 น. ณ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
คลิ๊กดูรายละเอียดตามนี้
http://www.thaiappraisal.org/thai/monthly/monthly.php
หรือโทร. 0.2295.3171 คุณธันยมัย
ดร.โสภณ พรโชคชัย*
ทุกท่านคงเคยได้ยินคำว่าความพอเพียงกันมามากพอสมควร วันนี้ผมจะเล่าจากประสบการณ์จริงของผมบ้างครับ เพื่อให้เห็นความพอเพียงที่แท้ที่พวกข้าราชการระดับสูง ๆ ต่างหากที่ควรน้อมนำไปปฏิบัติ
เรื่องก็คือ ผมได้รับมอบหมายจากสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยในฐานะรองประธานให้ไปประชุม UN Global Compact ขององค์การสหประชาชาติ ที่สภาฯ เป็นองค์กรผู้แทนในประเทศไทย และผมเป็นคนประสานงานกับองค์การสหประชาชาติในเรื่องนี้ การประชุมครั้งนี้จัดขึ้น ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในระหว่างวันที่ 16-20 พฤษภาคม ศกนี้
ตอนแรกผมก็คิดจะใช้บริการบินตรง 11 ชั่งโมงครึ่งของการบินไทยครับ แต่ค่าตั๋วชั้นประหยัดราคา 48,000 บาท ผมเลยเปลี่ยนใจไปใช้กาตาร์แอร์เวย์ ซึ่งค่าตั๋วอยู่ที่ 38,000 บาท แต่ต้องเปลี่ยนเครื่องที่กรุงโดฮาประมาณสองชั่วโมง ทำให้เวลาเดินทาง 13 ชั่วโมง แต่ผมก็ยินดีครับเพื่อประหยัดเงินให้สภาฯ บางท่านอาจอยากถามว่าแล้วทำไมผมไม่ออกเองล่ะ ผมก็คงตอบว่า งานนี้ผมช่วยด้วยการสละเวลาทำมาหากินไป 5 วันเต็มครับ
สำหรับกาตาร์แอร์เวย์ เครื่องบินก็ใหม่ อาหารดี ดนตรีไพเราะ พร้อมมีภาพยนตร์ให้ดูนับร้อยเรื่อง บริการก็ไม่แพ้ (ไม่อยากบอกว่าชนะ) การบินไทย แอร์โฮสเตสก็มีหลายสัญชาติ ให้บริการใกล้ชิดกับลูกค้าได้หลายภาษา และก็มีอายุไม่มาก เหมาะกับงานแบบนี้ ต่างกับสายการบินบางแห่งที่แอร์ฯ ชราจนน่าเป็นห่วง ซึ่งคงเป็นเพราะ (จำต้อง) เอาใจแอร์ (ลูกจ้าง) มากกว่าจะยึดเอาประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง ท่านทราบไหม ข้าราชการถูกกำหนดให้ใช้การบินไทย นี่ถ้าไม่กำหนดไว้ ป่านนี้การบินไทยจะอยู่รอดหรือไม่
ยิ่งถ้าเป็นข้าราชการระดับสูงยังได้สิทธิบินชั้นธุรกิจที่ค่าตั๋วเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 3 เท่า (ราคา 130,000 บาท) อันที่จริงถ้าเราเกรงว่าพวกข้าราชการระดับสูงจะเหนื่อยเกินไป ก็น่าให้เขาบินล่วงหน้าสัก 1 วัน และเมื่อกลับก็ให้หยุดงานได้ 1 วัน จะได้ไม่ต้องเปลืองเงินมากมาย แต่ก็ไม่แน่ว่าถ้าให้พวกเขาเดินทางก่อน 1 วัน พวกเขาอาจใช้เวลาดังกล่าวไป “ช็อบสนั่น” หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งมากกว่านอนพักหรือไม่
ผมเองเดินทางไปอเมริกาปีละ 2 ครั้ง เสียค่าเครื่องบินครั้งละ 65,000 บาท ผมยังเสียดายเงินนัก ผมมักพูดเล่นออกบ่อย ๆ ว่า ถ้ามีตั๋วยืน 10,000 บาท ผมซึ่งอายุปูนนี้ยังจะยอมยืนสัก 17 ชั่วโมงเพราะสามารถประหยัดได้ถึง 55,000 บาท ผมไปรับจ้างพวกองค์การระหว่างประเทศบรรยายหรือทำวิจัย ก็ได้วันละราว ๆ นี้
ทางออกอีกทางหนึ่งในการประหยัดงบประมาณแผ่นดินก็คือ การเสนอให้ข้าราชการระดับสูงที่มีสิทธินั่งตั๋วธุรกิจ ให้มีทางเลือกว่า ถ้าไม่นั่ง ส่วนต่างได้กันคนละครึ่ง คือข้าราชการผู้นั้นได้ครึ่งและคืนคลังหลวงอีกครึ่ง ผมเชื่อว่าข้าราชการหลายคนอาจยินดีรับเงินเพิ่ม ทำให้ประหยัดงบประมาณแผ่นดินไปอีกมาก และในปัจจุบัน ข้าราชการระดับสูง ๆ ก็ยังได้เบี้ยเลี้ยง ค่าแต่งตัวสำหรับตนเองและคู่ครอง และอื่น ๆ อีกต่างหากเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ
ในเรื่องค่าที่พัก เราควรให้ข้าราชการได้รับค่าที่พักแบบประหยัดก็พอเพราะเป็นเงินภาษีของประชาชนทั้งนั้น การให้ข้าราชการระดับสูงหรือบอร์ดรัฐวิสาหกิจไปต่างประเทศแบบหรูหรา ใช้เงินนับสิบล้านบาท ถือเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินและไม่ได้เจริญรอยตามหลักความพอเพียงเลย ข้าราชการไม่พึงอ้างศักดิ์ศรีของประเทศเพราะความจริงอาจกลัวเสียโอกาสเสพสุขเกินพอเพียงต่างหาก สำหรับการเดินทางของผมในครั้งนี้ ผมยังประหยัดกว่ามาตรฐานอีก ผมจองห้องพักแบบนอนรวม 6 เตียง ค่าที่พักตกเป็นเงินคืนละ 1,700 บาทเท่านั้น แต่ถ้าผมพักแบบปกติก็คงต้องเสียค่าที่พักคืนละ 4,000-8,000 บาท
ท่านเชื่อหรือไม่คืนแรกผมโชคดีได้พักกันเพียง 2 คน มีผมกับสาวสวยชาวเกาหลี ซึ่งดูเธอก็ตกใจเล็กน้อยที่มาพักกับชายแปลกหน้าสองต่อสอง แต่ที่เดนมาร์ก เขาไม่ถือเรื่องเพศ คืนแรกผ่านไปด้วยดี คืนที่สองมีสาวสวยชาวจีนอีก 2 คนมาพักด้วย คืนที่สามมีหนุ่มญี่ปุ่นมาอีก 1 ราย ส่วนคืนสุดท้ายได้ปู่อายุ 70 ปีชาวเบลเยียมมานอนครบ 6 เตียงพอดี โชคร้ายหน่อยที่ปู่แกกรนหนัก
ผมยังถือปฏิบัติ “ยิ่งกว่าความพอเพียง” อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การเดินทางระหว่างโรงแรมที่พักกับที่ประชุม ซึ่งอยู่ห่างไกลกัน 3.5 กิโลเมตร มีทางเลือกหลายทาง เช่น นั่งแท็กซี่ รถไฟ หรือรถประจำทาง ซึ่งก็ยังต้องเดินอีกพอสมควร หรือไม่ก็เช่ารถจักรยานสองล้อ ซึ่งผมขี่เป็นประจำตอนเรียนอยู่เบลเยียมเมื่อ 25 ปีก่อน แต่ตอนนี้คงไม่ไหวแล้ว สุดท้ายผมเลือกการเดินครับ ผมเดินวันละประมาณ 8-10 กิโลเมตร เพื่อไปประชุมและเดินชมเมือง บางวันที่เดิน ผมถือร่มด้วยเพราะฝนตก แต่วันหลัง ๆ ฟ้าโปร่งก็เลยสบาย
ผมไม่อายที่เล่าเรื่องข้างต้นให้ฟังเพราะฝรั่งเองก็ใช้ชีวิตแบบนี้ แม้เรามีฐานะที่ดีกว่าแต่ก็ควรอยู่อย่าง “ติดดิน” บ้าง จะได้ไม่กลายเป็นศักดินาบนหอคอยที่ไม่เห็นหัวของปุถุชน อย่างไรก็ตามสาระสำคัญที่ผมอยากบอกก็คือ พวกข้าราชการใหญ่โตที่ควรน้อมนำความพอเพียงมาใช้ กลับไม่นำพา พวกเขาอ้างว่าทำงานรับใช้ประชาชนและราชบัลลังก์ แต่กลับเสพสุขกันโดยใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนอย่างสุรุ่ยสุร่าย เรื่องนี้ไม่มีใครคิดแก้ไขเพราะต่างเป็นอภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยที่ได้รับแจกจ่ายประโยชน์กันถ้วนหน้า และนับวันประโยชน์เหล่านี้จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในทางตรงกันข้ามหน่วยงานของรัฐกลับพยายามประชาสัมพันธ์เรื่องความพอเพียงอย่างเป็นบ้าเป็นหลังให้กับประชาชนนำไปปฏิบัติกันฝ่ายเดียว
เชิญฟังเสวนาวิชาการรายเดือนครั้งที่ 104 (ฟรี)
"ประสบการณ์การศึกษาการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาเซียน"
วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2554 เวลา 13:00-16:00 น. ณ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
คลิ๊กดูรายละเอียดตามนี้
http://www.thaiappraisal.org/thai/monthly/monthly.php
หรือโทร. 0.2295.3171 คุณธันยมัย