หน้า 1 จากทั้งหมด 1
สรุป Company Visit UAC เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 29, 2011 11:06 am
โดย earthcu
สรุปการไปเยี่ยมชมกิจการบริษัท UAC วันที่ 28/5/2554
ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ (โปรดระมัดระวังในการนำข้อมูลไปใช้ด้วยครับ)
ช่วงเช้า 10:00-11:30 (UAC)
ลักษณะธุรกิจ
1.ประกอบธุรกิจนำเข้า จำหน่าย สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ปิโตรเคมี, โรงกลั่น,น้ำมันหล่อลื่น
2.ลงทุนในธุรกิจไบโอดีเซล โดยการร่วมหุ้นกับบริษัท BCP โดยที่ UAC ถือหุ้น 30%
3.ลงทุนโครงการก๊าซชีวภาพความดันสูงสำหรับรถยนต์เพื่อทดแทน CNG
4.ลงทุนโครงการน้ำสะอาดสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรม, โรงไฟฟ้า และชุมชนขนาดใหญ่
โครงการในอนาคต
1.โรงงานก๊าซชีวภาพ CBG ที่เชียงใหม่ จะเริ่มลงมือผลิตจริงช่วงต้นปี 55 โดยลงนามสัญญาขายก๊าซจากทาง PTTอายุ 15 ปี ไม่จำกัดจำนวน (สาเหตุที่ต้องตั้งโรงงานที่เชียงใหม่ เนื่องจากไม่ได้เป็นแนวท่อส่งก๊าซของ PTT ทำให้ต้นทุนการขนส่งจะค่อนข้างแพง)
2.โครงการผลิตน้ำโดย UAC Utilities เพื่อส่งชุมชน โรงงาน โดยใช้ระบบ Micro Filtration เนื่องจากประสิทธิภาพสูง,ต้นทุนต่ำ ขนาด 24000 ลบ.ม./วัน อยู่แถวเทศบาลในภาคอีสาน จะใช้เวลาในการสร้างประมาณ 10 เดือน มีอายุสัญญา 25 ปี เงินลงทุนประมาณ 100 ล้าน ราคาจะปรับทุกๆปีตาม 1.)ค่า FT ของไฟ 2.)Inflation โดยจะมีทั้งหมด 2 Phase ซึ่ง Phase 2 จะมีขนาดใหญ่กว่า Phase ที่ 1
โครงการอื่นๆ
1.CBG สามร้อยยอด โดยบริษัทร่วมทุนกับบริษัทอื่น ตั้งอยู่ที่ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจะใ้ช้ Technology ต่างจากที่เชียงใหม่ ในขณะนี้อยู่ระหว่างการทำ Feasibility study
2.CBG ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ระหว่างการทำ Feasibility study เช่นเดียวกัน
3.UAC Utilities สำหรับการผลิตน้ำสำหรับโรงงานในภาคตะวันออก (มาบตาพุด) ซึ่งเบื้องต้นมีการเจรจาักับโรงงานประมาณ 4-5 โรงงาน
รายงานการเงิน
1.D/E ปัจจุบัน 0.58 เท่า
2.ROE ประมาณ 34%
ความเห็นผู้บริหาร
1.แนวโน้มยอดขายเพิ่มขึ้น 13%
2.กำไรสุทธิตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 13% (คิดว่าไม่รวมส่วนแบ่งกำไรจาก BBF)
(ขอให้ใช้ความระมัดระวังในการนำข้อมูลไปใช้ด้วยครับ)
แนวโน้มไตรมาส 2
1.Backlog order อยู่ในระดับสูง (Refinery และ Margin Spread ยังสูง)
2.ค่าเงินและดอกเบี้ยยังเป็นไปตามคาด
3.มีการเปลี่ยนจาก B2 เป็น B3 ตั้งแต่ พ.ค. และมีความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนเป็น B4 เื่นื่องจากปาล์มยังมีจำนวนมาก
Q&A
1.นโยบายการปันผลจาก BBF?
ทางผู้บริหารชี้แจงว่ายังไม่มีการกำหนดใน Joint Venture Agreement ว่าสัดส่วนต้องเป็นเท่าไร แต่ที่ผ่านมา ได้อยู่ที่ร้อยละ 50 ของกำไรซึ่งทางบริษัทได้รับปันผลมาแล้วตั้งแต่ช่วงปลาย Q1-ต้น Q2
2.สัดส่วนการขายสารเคมี/พลังงานทางเลือก?
ทางผู้บริหารชี้แจงว่าปัจจุบันรายได้ 100% ยังมาจากการขายสารเคมี เพราะ BBF บริษัทถือแค่ 30% แต่ในอีก 5 ปีข้างหน้านั้นทางบริษัทจะพยายามปรับสัดส่วนให้มีจากพลังงานทางเลือกมากขึ้น คาดว่าจะมีความชัดเจนใน Q3
3.BBF นั้นกำไรขึ้นกับราคาน้ำมันมากขนาดไหน?
ทางบริษัทชี้แจงว่าราคาผลิตภัณฑ์ก็จะแปรผันไปตามราคาน้ำมันด้วย ซึ่งก็จะมีการปรับราคากับทางลูกค้าอยู่ (แต่ไม่ได้อธิบายครับว่าสูตรเป็นยังไง)
4.ความเสี่ยงของ BBF?
-วัตถุดิบถ้าขาดแคลน ก็จะกระทบกับปริมาณการผลิต
-นโยบายรัฐบาล เช่นการปรับจาก B3 เป็น B2 ทำให้ Demand น้ำมัน Biodiesel ลดลง
-ลูกค้าเช่น PTT, Shell, Caltex มีความเสี่ยงที่อาจจะไปซื้อจาก supplier เจ้าอื่นได้
5.โครงสร้างกำไรในอนาคต?
ทางบริษัทตั้งเป้าจะเพิ่มสัดส่วนจากพลังงานทดแทนขึ้น ซึ่งอาจจะมีสัดส่วนถึง 3/4 ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
6.โครงการ CBG ที่สามร้อยยอด และ ขอนแก่น รายละเอียด?
ที่สามร้อยยอดนั้นใช้ของเสียจากโรงงานแปรรูปพืชผลด้านการเกษตรในกระบวนการผลิต
โดยที่ทั้ง 2 ที่อยู่ระหว่างการเจรจากับทาง PTT เพื่อซื้อก๊าซ
ึ7.ปัจจัยของการผลิต CBG?
-ปริมาณ Gas ที่ผลิตได้
-ลูกค้า (PTT) มีความต้องการใช้ในพื้นที่นั้นๆ เนื่องจากห่างไกลของแนวท่อ PTT
8.BBF มีแผนการเพิ่มกำลังการผลิต?
บริษัทชี้แจงว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขยายกำลังการผลิตประมาณ 20%
9.CBG นั้นถ้าจะนำไปใช้กับรถยนต์ต้องมีการปรับส่วนผสมโดยการเติมสารอะไรลงไปไหม?
บริษัทชี้แจงว่าก๊าซที่ได้ไม่จำเป็นต้องเติมสารอย่างอื่นลงไป โดยคุณภาพที่ได้นั้นต้องเป็นไปตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด
10.พลังงานทดแทนนั้นมีโอกาสที่ PTT จะไม่ต่อสัญญาไหม?
บริษัทชี้แจงว่าเนื่องจาก Technology ที่ใช้ค่อนข้างจำกัด ปัจจุบันคิดว่ามีบริษัทที่มี Technology อยู่เพียงเจ้าเดียว
11.เนื่องจากบริษัทมีโครงการค่อนข้างมาก เป็นไปได้ไหมที่บริษัทจะตอบแทนผู้ถือหุ้นอย่างการจ่ายหุ้นปันผล?
ทางบริษัทขอรับไว้พิจารณาเรื่องนี้อีกที (Q2 จะมีประชุมคณะกรรมการ)
12.ทางบริษัทมีการยื่น carbon credit ในโครงการ CBG ไหม?
ทางบริษัทชี้แจงว่ามีการยื่น carbon credit ตั้งแต่ปีที่แล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาอยู่ โดยปกติคิดว่าใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี (ต้อง Certify by Third Party) ซึ่งถ้าได้ก็จะทำให้ได้รายได้มากขึ้น (อันนี้ยังมีความเสี่ยงอยู่ ซึ่งทางบริษัท ก็ไม่อยากให้คาดหวังมากครับ)
ของช่วงบ่าย (BBF) เดี๋ยวมาโพสให้อีกรอบนึงครับ
Re: สรุป Company Visit UAC เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 29, 2011 12:10 pm
โดย earthcu
ช่วงบ่าย (13:00-15:00) สรุป Company Visit BBF เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
Presentation BBF
1.BBF ถือหุ้นโดย UAC 30% และ BCP 70%
2.ข้อดีของพื้นที่โรงงาน (ที่อยุธยา) เนื่องจากอยู่ใกล้ BCP ทำให้สามารถส่งผลิตภัณฑ์ผ่านท่อได้อย่างสะดวกจึงเป็นข้อได้เปรียบในแง่ต้นทุนการขนส่ง รวมไปถึงเป็น area ที่อยู่ใกล้ในการจะเดินทางไปภาคอื่นๆ โดยที่ปัจจุบันนั้นภาคกลางใช้น้ำมันถึง 66% จึงเป็นเหตุผลนึงที่บริษัทมาตั้งโรงงานอยู่แถวอยุธยา
3.ลูกค้าปัจจุบัน main เป็น BCP ประมาณ 60% ที่เหลือเป็นผู้ค้าน้ำมันรายอื่นๆ
4.BBF Start 12 Mar 08
โดยที่มีการนำวัตถุดิบหลักอย่าง Crude Palm Oil และ Methanol มาเข้ากระบวนการผลิตเพื่อออกมาเป็น Biodiesel และ Glecerin (ปัจจุบันกำลังการผลิต Biodiesel ประมาณ 300,000 l/วัน และ Glycerin ประมาณ 30,000 /วัน)
5.Glycerin นั้นปัจจุบันบริษัท export ไปขายที่จีนเพื่อใช้ในการผลิตเป็นส่วนผสมพวกยาสีฟัน และ moisture leizure
ุ6.Technology ที่ใช้ในการผลิตชื่อว่า Diemet Bellestra จาก Italy ซึ่งสามารถใช้วัตถุดิบได้หลายประเภทเช่น Palm oil, high acid oil, Refined oil
7.ข้อได้เปรียบของ Technology นี้
-Multi Feed Stock
-Fully COntinuous
-High Yield 99%
-High Quality Glycerin
8.ปัจจุบันใช้ระบบ PLC Controller ในการควบคุม ซึ่งเป็นระบบ Automatic System ทำให้ใช้พนักงานน้อย (ที่สอบถามมีประมาณ 40 คนครับ)
9.กระบวนการผลิตคร่าวๆ Crude Palm Oil (CPO) จะถูกนำเข้าไปกำจัด Proshotide , Color ,กลิ่น ซึ่งจะได้ออกมาเป็น RBD Palm oil และ PFAD (กรดไขมัน)
จากนั้น RBD Palm oil ---> Bio Diesel (หลังจากผ่านกระบวนการ Transterification)
PFAD ---> Glecerin (หลังจากผ่านกระบวนการ Transterification)
10.Biodiesel Quality
-Raw material check 100% (Crude Palm Oil, Refined Oil, Methanol, Sodium Methylate)
Raw material sampling check (Other Raw material)
-Product check (Tank) every day
-Spec Product ในการ control มี 24 รายการ
Q&A
1.โรงงานที่ผลิต Biodiesel นอกจากที่ BBF มีมากไหม?
ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 15 โรงงาน
2.กำลังการผลิตที่ผ่านมาผลิตเต็ม 100% หรือเปล่า รวมไปถึงเหตุการณ์ช่วงที่น้ำมันปาล์มขาดแคลน?
ปัจจุบัน (พ.ค. ใช้กำลังการผลิต 70 กว่า %) ซึ่งบริษัทจะใช้วิธี Run ยาวต่อเนื่องแล้วค่อยหยุดโรงงานเอา
3.ปริมาณการผลิตที่จะ Break Even Point?
ทางบริษัทไม่ได้ตอบเจาะจงเป็นตัวเลขเป๊ะๆ เพียงแต่บอกว่าถ้าผลิตในระดับปัจจุบัน (70 กว่า%) ก็อยู่ได้ครับ
4.กำไรของบริษัทปีที่แล้วมาจากอะไรบ้าง?
-กำไรปกติของการดำเนินงาน
-กำไรจากการบริหาร stock ประมาณ 100 ล้าน
-กำไรจากค่าปรับ (ก่อสร้างล่าช้า)
(ส่วนที่ 2 และ 3 โปรดระมัดระวังด้วยครับ เนื่องจากไม่ได้มาจากกำไรปกติของการดำเนินงาน)
5.ต้นทุนวัตถุดิบคิดเป็นกี่ %?
ประมาณ 90% ส่วนที่เหลือจะมาจาก พวกสารเคมีและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น
6.สูตรการขายผลิตภัณฑ์
มาจากสูตรของทางราชการ (ส่วนนึงจะแปรผันตามราคาวัตถุดิบ) +- การใ้ห้ส่วนลดลูกค้า
ึ7.Yield ของการผลิต?
>99% (โดยที่ปกติจะใช้ CPO 100 ส่วน + Methanol 10 ส่วน --> Bio Diesel ประมาณ 100 ส่วน + Glycerin 10 ส่วน)
8.การแข่งขันในธุรกิจนี้?
มีการแข่งขันค่อนข้างสูงเนื่องจากปริมาณ Supply ในปัจจุบัน นั้นมากกว่า Demand อยู่ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากนโยบายของรัฐบาลที่มีกาีรปรับเปลี่ยนอยู่เป็นระยะเช่นปรับจาก B3 เหลือ B2 ในช่วงน้ำมันปาล์มขาดแคลน) รวมไปถึงภาคเอกชนมีการก่อสร้างโรงงานหลายโรง ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง Over supply ขึ้น
9.โครงการในปัจจุบันและอนาคต?
-สร้างถังเก็บน้ำมันเพิ่มอีก 3 ใบ (ประมาณ 10 ล้านลิตร)
-เพิ่มกำลังการผลิตประมาณ 20% โดยขยายในส่วนของ bottle neck เพื่อให้ใช้เงินลงทุนไม่มาก
10.วิธีการจัดการของฝ่ายบริหารเพื่อป้องกันปัญหา stock loss?
ทางทีมผู้บริหารจะใช้วิธีการลงไปดูผลผลิตถึงที่สวนปาล์ม เพื่อคาดการณ์ราคา (จากข้อมูลทางผู้บริหารชี้แจงว่าปกติปีนึงจะมี cycle ประมาณ 2 ครั้ง)
หวังว่าคงพอจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆนักลงทุนท่านอื่นๆครับ (หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ
1.ผู้บริหารของ UAC และ BBF และพนักงานต้อนรับ ที่ได้ช่วยกรุณาอธิบายข้อมูลของบริษัทอย่างละเอียด รวมไปถึงความรู้ด้านธุรกิจพลังงานทดแทนด้วยครับ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ได้เข้าไป company visit ในวันเสาร์ซึ่งทำให้ผมได้มีโอกาสไปด้วยครับ
2.Staff ของ Thaivi ทุกท่านครับ ที่ได้ติดต่อให้ผมและเพื่อนๆสมาชิดท่านอื่นได้มีโอกาสเข้าำไปเยี่ยมชมกิจการครับ
3.Web Thaivi ที่ให้โอกาสผมในการเรียนรู้ด้านการลงทุน
4.เพื่อนๆพี่ๆที่ไปในงานนี้ครับ เช่น P'Suwits, P'กาละมัง, P'วัฒน์ ครับที่ช่วยอธิบายความรู้เกี่ยวกับการลงทุนแนว vi ให้ทราบ รวมไปถึงเพื่อนๆท่านอื่นที่ผมอาจจะจำชื่อไม่ได้ด้วยครับ
ขอบคุณครับ
Re: สรุป Company Visit UAC เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 30, 2011 1:17 pm
โดย suwits
ผมขอสรุป Company visit เพิ่มเติมจากน้อง earthcu นะครับ ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใด อยากให้ทางเพื่อนนักลงทุนที่ไปด้วยกัน หรือ ทาง IR ช่วยท้วงติงด้วยครับ
บริษัท UAC เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก และมีธุรกิจพลังงานทดแทนเป็นธุรกิจที่เข้ามาเสริม เช่น ธุรกิจไบโอดีเซล B100 ธุรกิจก๊าซชีวภาพอัดความดันสูงหรือ CBG ธุรกิจน้ำประปา เป็นต้น
เป้าหมายการเติบโตของรายได้ธุรกิจหลักสำหรับปีนี้ อยู่ที่ 13-15% จะเติบโตตามการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงาน ปิโตรเคมี และการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาเสริม (ในไตรมาสที่ 1 บริษัทมีการนำผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาจำหน่าย และมีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 15%) รวมถึงการขยายกลุ่มลูกค้าเช่น ปิโตรเคมีปลายน้ำ
จุดแข็งและข้อได้เปรียบทางธุรกิจ
1) เป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลังงาน ปิโตรเคมี และระบบสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นแบรนด์ผู้ผลิตรายใหญ่ระดับ top 3 ของโลกแต่เพียงผู้เดียว เช่น UOP, Pall Corporation, NESTE Oil, DAELIM, INEOS เป็นต้น ปัจจุบันบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 70-80%
2) มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับลูกค้า และเจ้าของผลิตภัณฑ์
3) การบริการที่ดี บุคลากรในการขาย มีความรู้ความชำนาญในทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เป็นอย่างดี สามารถคุยและให้คำปรึกษากับลูกค้าได้ การส่งมอบสินค้าที่ตรงเวลา บริษัทมีคลังสินค้าขนาด 2,200 ตร.ม. ที่บางปู จ.สมุทรปราการ ในขณะที่คู่แข่ง เป็นบริษัทต่างประเทศที่ไม่มีตัวแทนจำหน่ายในไทย
4) Switching cost สูง การเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคู่แข่ง ค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เนื่องจากระบบของลูกค้าได้ใช้สินค้าของบริษัทมาเป็นเวลานาน การจะลองเปลี่ยนไปใช้ของคู่แข่ง จะต้องหยุดกระบวนการผลิต และต้องทดสอบจนมั่นใจ ซึ่งมีความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
5) การต่อยอดธุรกิจ เนื่องจากบริษัท มีประสบการณ์ในการขายสารเคมีและเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวกับพลังงานและสาธารณูปโภค มากกว่า 15 ปี จึงมีความรู้และความชำนาญในเทคโนโลยีเพียงพอที่จะต่อยอดไปยังธุรกิจพลังงานทดแทนใหม่ๆ เช่น ธุรกิจไบโอดีเซล ต่อยอดจากการจำหน่ายสาร Methanol, ธุรกิจ CBG ต่อยอดจากเครื่องมือในการแยกก๊าซชีวภาพ, ธุรกิจน้ำประปา ต่อยอดจากเครื่องมือในการแปลงน้ำดิบไปเป็นน้ำประปา
จุดอ่อน
1) รายได้ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ อย่าง ปตท. ทำให้อำนาจต่อรองในการซื้อของลูกค้าจะสูง อาจจะมีผลให้อัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจหลักมีแนวโน้มที่ลดลง
โอกาส
1) การเติบโตของธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมี และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
2) การที่บริษัทในประเทศ อย่าง กลุ่มปตท. และปูนซีเมนต์ไทย ไปลงทุนในต่างประเทศ เช่นเวียดนาม เป็นโอกาสที่บริษัทจะทำธุรกิจในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับลูกค้าและเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้วย (ต้องขออนุญาตการขายผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศจากเจ้าของ)
3) ผลกระทบจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น ทำให้โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น
อุปสรรค
1) ปัญหามาบตาพุต การเติบโตของโรงงานใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน จะไม่รวดเร็วเหมือนแต่ก่อน
บริษัทย่อย - บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด หรือ BBF
โครงการไบโอดีเซล ร่วมทุนกับบางจาก ก่อตั้งบริษัท BBF ผลิตไบโอดีเซล B100
จุดเด่นและข้อได้เปรียบของ BBF
1) ทางบางจากรับซื้อ 60% ของ B100 ที่ผลิตได้ ที่เหลือจำหน่ายให้กับบริษัทน้ำมันอื่น
2) การใช้เทคโนโลยี desmet ballestra จากอิตาลี ซึ่งมีข้อได้เปรียบดังนี้
2.1 Multi-Feed stock ใช้วัตถุดิบได้หลายประเภท เช่น Palm oil, Refined oil, High acid oil
2.2 Fully Continous ผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
2.3 High yield ให้ yield มากกว่า 99%
2.4 High quality glycerin เป็น by product ที่ได้จากการผลิต บริษัทส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์
3) ความได้เปรียบทางด้าน logistic น้ำมันไบโอดีเซล B100 ที่ผลิตได้จะถูกส่งไปยังท่อส่งน้ำมัน ไม่มีค่าขนส่ง
4) ระบบส่วนใหญ่จะเป็นระบบอัตโนมัติ ใช้คนดูแลน้อย ปกติเครื่องจักรรันต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ทำงานเป็นกะ ใช้พนักงานในส่วนของโรงงานเพียง 40 คนเท่านั้น
อุปสรรค
1) คู่แข่งมาก ปัจจุบันมีโรงงานผลิต B100 อยู่ประมาณ 15 โรง มีกำลังการผลิตรวม 6 ล้านลิตร/วัน ในขณะที่ความต้องการใช้อยู่ที่ 1.7 ล้านลิตร/วัน ถ้าทุกโรงงานผลิตที่ 100% จะทำให้ Supply มากกว่า demand เกือบ 4 เท่าตัว เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา BBF ใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 70% แม้ว่าจะมีสูตรราคากลางที่ออกมาโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน (สนพ.) แต่ราคาจริงต้องแข่งขันกันประมูล ซึ่งจะต่ำกว่าสูตรราคากลางตัวอย่างสูตรที่ใช้คิดราค B100 ที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มดิบเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554
B100 = 0.94 CPO + 0.1 MtOH + 3.82
B100 คือ ราคาขายไบโอดีเซล (B100) ในกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/ลิตร
CPO คือ ราคาขายน้ำมันปาล์มดิบในเขตกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/กิโลกรัม
MtOH คือ ราคาขายเมทานอลในกรุงเทพมหานคร หน่วย บาท/กิโลกรัม
2) ความขาดแคลนวัตถุดิบและราคาวัตถุดิบที่ผันผวนในบางช่วง ทำให้บางครั้งต้องลดกำลังการผลิตลง
ปัจจัยสำคัญในการผลักดันรายได้และกำไร
1) การบริหารสต๊อกวัตถุดิบ เป็นปัจจัยสำคัญต่อกำไรของ BBF ปีที่แล้ว BBF มีกำไร 250 ล้านบาท เป็นกำไรจากสต๊อกวัตถุดิบ 100 ล้านบาท
บริษัทมีวิธีบริหาร โดยส่งคนไปยังพื้นที่ปลูกปาล์ม เพื่อประเมินดูจำนวนผลผลิตที่จะออกมา และซื้อวัตถุดิบในช่วงราคาต่ำ และลดจำนวนลงเมื่อราคาวัตถุดิบอยู่ระดับสูง อย่างไรก็ตาม น้ำมันปาล์มดิบ สามารถเก็บได้เพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น เพราะถ้านานกว่านั้น จะเน่าเสีย
2) นโยบายภาครัฐ สนับสนุนให้ใช้ไบโอดีเซลมากขึ้น ปัจจุบันค่อนข้างล่าช้าจากแผนเดิมที่ได้วางไว้ เนื่องจากต้นปีเกิดปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน ปัจจุบัน น้ำมันไบโอดีเซลที่จำหน่าย ปรับจาก B2 มาอยู่ที่ B3 นอกจากนี้ยังขึ้นกับผู้ผลิตรถยนต์ มีแผนที่จะผลิตรถยนต์รองรับไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นหรือไม่ รวมถึงการยอมรับของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล
แผนการปรับปรุงในอนาคต
1) ขยายกำลังการผลิต 20% จาก 300,000 ลิตร/วัน โดยการขยายคอขวดซึ่งใช้เงินลงทุนน้อย ปัจจุบันได้ทดลองทำไปแล้ว
2) เพิ่มถังเก็บน้ำมัน 3 ถัง ขนาด 10 ล้านลิตร ทำให้มีถังเก็บจำนวน 25 ล้านลิตร ไว้สำหรับบริหารสต๊อกวัตถุดิบ
3) การลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงในการผลิต จากน้ำมันเตา มาเป็นก๊าซธรรมชาติ
4) โครงการปลูกปาล์มของบางจาก (ดูจาก Oppday ของบางจากครั้งล่าสุด) น่าจะลดการขาดแคลนวัตถุดิบและความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบ
โครงการใหม่ๆ ด้านพลังงานทดแทนของบริษัท
โครงการก๊าซชีวภาพอัดหรือ CBG (Compressed Bio- methane gas)
โครงการแรกของบริษัทเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการผลิต CBG จากมูลสุกร เมื่อไม่นานนี้ บริษัทได้เซ็นสัญญาซื้อขาย CBG กับทางบริษัทปตท. ปริมาณรับซื้อไม่จำกัด เนื่องจากปัจจุบัน ปตท. ไม่มีท่อส่งก๊าซในบริเวณนั้น ต้องใช้รถขนส่งจากจังหวัดสระบุรี ทำให้สิ้นเปลืองค่าขนส่ง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต CBG ของบริษัท ได้จากฟาร์มเลี้ยงสุกร ตอนนี้อยู่ในระหว่างสร้างโรงงาน คาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตได้ในต้นปี 2555
โครงการก๊าซชีวภาพอัดในอนาคต
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้จะแตกต่างจากโครงการแรกที่เชียงใหม่ เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้แตกต่างกัน ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ 2 แห่ง คือ
CBG สามร้อยยอด วัตถุดิบที่ใช้จะเป็นของเสียที่ได้จากการแปรรูปพืชทางการเกษตร (สับปะรด)
CBG ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัตถุดิบที่ใช้จะเป็นของเสียที่ได้จากโรงงานผลิตสุรารายใหญ่
ซึ่งทั้งสองโครงการ คาดว่าทางบริษัทปตท. จะเป็นผู้รับซื้อก๊าซชีวภาพที่ได้ทั้งหมด
โครงการสาธารณูปโภค
ทางบริษัท UAC ได้ตั้งบริษัทย่อย UAC Utilities ขึ้นมารองรับโครงการสาธารณูปโภคที่จะทำในอนาคต
โครงการแรกจะเป็นโครงการผลิตน้ำประปาให้กับทางเทศบาลจังหวัดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่ง UAC Utilities จะลงทุนสร้างโรงผลิตและติดตั้งเครื่องผลิตน้ำประปาซึ่งบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายมากว่า 15 ปี การขายน้ำจะอยู่ในรูปแบบการให้บริการ โดยทางเทศบาลจะเป็นผู้จัดหาน้ำดิบ ทางบริษัทจะเป็นผู้แปลงน้ำดิบเป็นน้ำประปา จากนั้น ทางเทศบาลจะเป็นผู้ขนส่งน้ำประปา ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างท่อส่งน้ำ ดังนั้นเงินลงทุนที่ใช้จึงไม่มาก ประมาณ 100 ล้านบาท กำลังการผลิตเริ่มแรกอยู่ที่ 20,000 ลบ.ม. ต่อวัน ใช้เวลาก่อสร้าง 10 เดือน อายุสัญญากับทางเทศบาลอยู่ที่ 25 ปี ส่วนราคาค่าน้ำประปา จะมีการปรับขึ้นค่าน้ำตามค่า FT และอัตราเงินเฟ้อ
ในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้า สัดส่วนรายได้จากธุรกิจหลักกับรายได้จากธุรกิจพลังงานทดแทน จะอยู่ที่ 50:50
ส่วนเรื่องปันผลระหว่างกาลและการออกวอร์แรนต์ ยังไม่มีความชัดเจน ต้องรอประชุมคณะกรรมการในเดือนสิงหาคมนี้ คงจะได้ทราบพร้อมกับผลประกอบการไตรมาสที่ 2 อาจารย์ไพบูลย์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ เสนอให้จ่ายปันผลที่ได้จาก BBF เป็นหุ้นปันผลแทนเงินสด เพราะบริษัทจะได้นำเงินไปทำโครงการต่างๆ ในอนาคต ซึ่งตัวผมเองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยเห็นด้วยกับอาจารย์ ทางคุณกิตติ ผู้บริหารของ UAC จะนำไปพิจารณาครับ
ขอขอบคุณผู้บริหารและพนักงานของ UAC และ BBF ที่ได้สละเวลาช่วงวันหยุดนี้ในการต้อนรับนักลงทุนอย่างอบอุ่น ทำให้นักลงทุนที่ไปเยี่ยมชมกิจการเข้าใจตัวกิจการของบริษัทและทิศทางที่บริษัทจะไปในอนาคตได้ดีขึ้น
ขอขอบคุณทางเว็บไซต์ thaivi.org ที่จัดกิจกรรมดีๆ เช่นนี้ ขอบคุณผู้ประสานงานอย่างคุณ kongkang อ.ไพบูลย์ และเพื่อนๆ นักลงทุนที่ช่วยกันถามคำถามดีๆ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการลงทุนร่วมกัน
สุดท้ายนี้ ขอยกประโยคของอาจารย์ไพบูลย์ในรายการ Moneytalk Weekly ที่ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
ขอให้มีความสุขในการลงทุนทุกท่านครับ
Re: สรุป Company Visit UAC เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 30, 2011 3:56 pm
โดย oatty
คนนี้ที่ขาดไม่ได้ พี่หลิน / kongkang
Re: สรุป Company Visit UAC เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 30, 2011 4:00 pm
โดย oatty
Re: สรุป Company Visit UAC เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ค. 30, 2011 4:02 pm
โดย oatty
Re: สรุป Company Visit UAC เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ค. 31, 2011 9:53 am
โดย ake3004
thanks a lot kab.summary is better than analysis eek.
Re: สรุป Company Visit UAC เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 10, 2011 11:25 am
โดย dino
อิอิ เอาภาพมาเสริมอะครับ
Re: สรุป Company Visit UAC เมื่อวันที่ 28 พ.ค.
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 10, 2011 11:26 am
โดย dino
โห ย่อแล้วนะ ยังใหญ่เบิ้มเลย อิอิ