ข้อสรุปจากหนังสือ "วอร์เรน บัฟเฟตต์และการตีความความงบการเงิน
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 07, 2011 9:34 pm
ข้อสรุปที่ผมได้จากหนังสือ "วอร์เรน บัฟเฟตต์และการตีความความงบการเงิน" นะครับ
แปลโดย คุณ นรา สุภัคโรจน์
พอดีผมเพิ่งซื้อมา และเพิ่งอ่านจบครับ
ลักษณะของบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน เมื่อดูจากงบการเงินมีดังต่อไปนี้
(เท่าที่จับประเด็นได้ แต่อาจจะมีที่ผมเข้าใจผิด หรือ หลุดบางประเด็นนะครับ)
note :
การลงทุนของ บัฟเฟตต์ ไม่เน้นการปันผล แต่ใช้กลยุทธ์ หรือ วิศวกรรมทางการเงิน โดยการ"ซื้อหุ้นคืน"เป็นหลัก รวมทั้งการนำเอากำไรไปลงทุนต่อมากกว่า หลายข้อในด้านล่างและหลายบทในหนังสือ จึงกล่าวถึงการซื้อหุ้นคืนบ่อยมาก เนื่องจากเป็นกลยุทธที่บัฟเฟตต์ชอบใช้
1.บริษัทที่มี GPM >= 40% อย่างต่อเนื่องยาวนานถือว่ามี durable competitive advantage ได้ เพราะหมายถึงบริษัทไม่จำเป็นต้องตั้งราคาขายในระดับตํ่ามากเพื่อรักษายอดขาย เป็นการบอกว่าสินค้านั้นมีคุณภาพและลูกค้ามีความพึงพอใจต่อสินค้าของบริษัทโดยไม่ต้องลดราคา และในขณะเดียวกัน GPMที่สูงมากก็อาจหมายถึง บริษัทมีการควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดีเยี่ยม
2.ค่าเสื่อม / กำไรชั้นต้น < 10% ถือว่าบริษัทมี durable competitive advantage เพราะไม่ต้องลงทุนสูง
3.ดอกเบี้ยจ่าย ควรจะมีน้อยๆ หรือ ไม่ควรมีเลย
4.กำไรสุทธิ(net profit)ควรจะสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างสมํ่าเสมอ และกำไรสุทธิต่อหุ้น(EPS) ก็ควรสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาการซื้อหุ้นคืนอย่างเดียว
เพราะถ้ายกตัวอย่างในกรณีที่สุดโต่งของการซื้อหุ้นคืนนั้น มันอาจทำให้ EPSเพิ่มขึ้น (เนื่องจากจำนวนหุ้นที่เป็นตัวหารลดลง) ทั้งที่จริงๆกำไรสุทธิของบริษัทในขณะนั้นลดลงก็มี จึงเป็นตัวอย่างให้เห็นจุดอ่อนว่า หากมองไม่ละเอียดมากพอ คือมองเเต่ EPS อย่างเดียว โดยไม่มอง net profit อาจเข้าใจผิดได้ว่ากำไรดีขึ้น
5.บริษัทที่มี DCA นั้น NPM มักจะสูง > 20% อย่างสมํ่าเสมอต่อเนื่องมายาวนาน ถ้า NPM < 10% มักแสดงว่าเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและบริษัทไม่ได้เปรียบคู่แข่งอย่างเด่นชัดนัก
6.ความสามารถในการทำกำไรที่ยอดเยี่ยม จะทำให้บริษัทมีเงินเหลือพอที่จะจ่ายปันผลได้มากๆ และ/หรือ สามารถซื้อหุ้นคืนได้ ซึ่งทั้ง2อย่างนี้ จะลดความจำเป็นของเงินทุนหมุนเวียนได้ และอาจจะทำให้สภาพคล่องทางการเงินcurrent ratio <1 ได้ จึงอาจสรุปได้ว่า current ratio ไม่มีประโยชน์ในการประเมิน DCA ของบริษัทที่แข็งแกร่งมากๆ แต่ใช้ได้กับบริษัทธรรมดาทั่วไปเท่านั้น
7.เกี่ยวกับการลงทุนในอาคารที่ดินอุปกรณ์
บริษัทที่มี DCA จะสามารถระดมเงินทุนภายในบริษัทเองได้ แต่บริษัทที่ไม่มี DCA มักจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้ในการสร้างหรือปรับปรุงโรงงานและเครื่องจักรอยู่เสมอ นอกจากนั้น บริษัทที่ดีควรจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่างๆเพื่อสร้างรายได้เป็นจำนวนน้อยๆ ผมจึงสรุปเอาเองได้ว่า บริษัทที่มี DCA ควรจะมีสินทรัพย์ที่เป็นที่ดินอาคารอุปกรณ์เทียบกับยอดขายที่ทำได้ใน1ปียิ่งน้อยยิ่งดี หรือ มีTotal Asset Turnover ยิ่งมากยิ่งดีนั่นเอง
8.บริษัทที่มีขนาดเล็กเกินไป ถึงจะมีอัตราการทำกำไรต่อสินทรัพย์ดีมาก (ROAสุงๆ) แต่อาจจะไม่มี DCA ก็ได้ เพราะมีต้นทุนที่ตํ่าในการเข้าสู่ธุรกิจ(ถูกtake overง่ายนั่นเอง)
9.บริษัทที่มี DCA มักจะมีหนี้สินระยะยาวน้อยมากหรือไม่มีเลย โดยเฉพาะหากไม่มีหนี้เลยเป็นระยะเวลายาวนานมาแล้วจะยิ่งดี หรืออย่างน้อย หากมีหนี้สินบ้าง บริษัทควรมีความสามารถในการทำกำไรพอที่จะชำระคืนหนี้สินระยะยาวได้ใน 3-4 ปี
10.กล่าวซํ้าถึง current ratio ก็คือบริษัทที่มี DCA อาจมี current ratio < 1 ได้ สาเหตุก็คือความสามารถของบริษัทในการสร้างกำไรที่มหาศาลนั้น สามารถมาทดแทนเงินทุนหนุนเวียนที่ขาดไปได้ จึงไม่ต้องการสภาพคล่องมารองรับอย่างที่ธุรกิจธรรมดาต้องการ
11.D/E Ratio ปกติควรจะตํ่า คือค่ายิ่งตํ่ายิ่งดี แต่บางบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรที่สูงมากๆ จนสามารถซื้อหุ้นตัวเองคืนได้ แล้วทำให้retained earning และ Equity ลดลง สุดท้ายทำให้กลายเป็นว่ามี D/E Ratio สูงมากได้ ดังนั้นหากพบบริษัทดังกล่าว แทนที่เวลาปกติ จากที่เราจะเอาหุ้นซื้อคืน หักออกจากส่วนของequity ที่มีอยู่เดิม ให้ บวก หุ้นซื้อคืน กลับเข้าไปใน equity แล้วจะพบว่า D/E Ratio ไม่ได้สูงจริงอย่างที่เห็น
12.บริษัทที่มี DCA ไม่ควรมี"หุ้นบุริมสิทธิ" อยู่ในโครงสร้างทุน เนื่องจากมันมีต้นทุนทางการเงินที่สูงมากเพราะ 1.ปันผลก็ต้องจ่ายก่อนหุ้นสามัญ 2.ได้รับเงินคืนก่อนกรณีที่บริษัทล้มละลาย 3.เงินปันผลที่จ่ายไม่สามารถนำไปหักภาษีได้ ไม่เหมือนกับการกู้หนี้จากธนาคาร
13.บริษัทที่มี DCA ควรจะมีกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร (retained earning) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตาม บางบริษัททำกำไรได้ดีมาก จนไม่จำเป็นต้องเก็บกำไรสะสมมหึมาก้อนนี้ไว้ จึงนำไปซื้อหุ้นคืนและจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นจำนวนมาก กำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรรจึงอาจจะน้อยได้และไม่ได้แปลว่าบริษัทไม่ดี
14.เช่นเดิมเกี่ยวกับบริษัทที่ซื้อหุ้นคืน ถึงจะทำให้ EPS สูงขึ้น เพราะทำให้ตัวหาร(คือยอดของผู้ถือหุ้น)ลดลง แต่หากเรานำหุ้นซื้อคืนบวกกลับเข้าไปในยอดของผู้ถือหุ้นเดิมแทนที่จะลบออก แล้วหา EPS ใหม่อีกรอบ เราจะทราบได้ว่า EPS ที่สูงขึ้นนั้น มาจากการทำกำไรที่มากขึ้น หรือ วิศวกรรมทางการเงิน
15.การปรากฎหุ้นซื้อคืนในงบดุล และ ประวัติการซื้อหุ้นคืนในอดีต เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าบริษัทมี DCA
16.ปกติ ROE ยิ่งสูงยิ่งดี แต่บางกรณีที่ บริษัทจ่ายปันผล หรือ ซื้อหุ้นคืน จนequityติดลบ อาจทำให้ROE ติดลบไปด้วย จึงต้องดูด้วยว่า ถึงจะ มีROE ติดลบ แต่ถ้าบริษัท มีประวัติกำไรสุทธิที่แข็งแกร่งก็ไม่เป็นไร แต่ต้องระวัง แยกให้ดีจากบริษัทที่กำลังจะล้มละลาย ซึ่งมี ROE ติดลบเหมือนกัน แต่กรณีนี้ ROE ที่เป็นลบจะเป็นจากตัวตั้ง(ผลกำไร/ขาดทุน)ที่ติบลบ ไม่ใช่จากตัวหาร
หากไม่เหมาะสมประการใด เช่น เรื่องลิขสิทธิ์ ก็ขออภัย ณ ที่นี้ และลบได้เลยครับ ผมเจตนาเพื่อเผยแพร่ความรู้เฉยๆครับ
แปลโดย คุณ นรา สุภัคโรจน์
พอดีผมเพิ่งซื้อมา และเพิ่งอ่านจบครับ
ลักษณะของบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน เมื่อดูจากงบการเงินมีดังต่อไปนี้
(เท่าที่จับประเด็นได้ แต่อาจจะมีที่ผมเข้าใจผิด หรือ หลุดบางประเด็นนะครับ)
note :
การลงทุนของ บัฟเฟตต์ ไม่เน้นการปันผล แต่ใช้กลยุทธ์ หรือ วิศวกรรมทางการเงิน โดยการ"ซื้อหุ้นคืน"เป็นหลัก รวมทั้งการนำเอากำไรไปลงทุนต่อมากกว่า หลายข้อในด้านล่างและหลายบทในหนังสือ จึงกล่าวถึงการซื้อหุ้นคืนบ่อยมาก เนื่องจากเป็นกลยุทธที่บัฟเฟตต์ชอบใช้
1.บริษัทที่มี GPM >= 40% อย่างต่อเนื่องยาวนานถือว่ามี durable competitive advantage ได้ เพราะหมายถึงบริษัทไม่จำเป็นต้องตั้งราคาขายในระดับตํ่ามากเพื่อรักษายอดขาย เป็นการบอกว่าสินค้านั้นมีคุณภาพและลูกค้ามีความพึงพอใจต่อสินค้าของบริษัทโดยไม่ต้องลดราคา และในขณะเดียวกัน GPMที่สูงมากก็อาจหมายถึง บริษัทมีการควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดีเยี่ยม
2.ค่าเสื่อม / กำไรชั้นต้น < 10% ถือว่าบริษัทมี durable competitive advantage เพราะไม่ต้องลงทุนสูง
3.ดอกเบี้ยจ่าย ควรจะมีน้อยๆ หรือ ไม่ควรมีเลย
4.กำไรสุทธิ(net profit)ควรจะสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างสมํ่าเสมอ และกำไรสุทธิต่อหุ้น(EPS) ก็ควรสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาการซื้อหุ้นคืนอย่างเดียว
เพราะถ้ายกตัวอย่างในกรณีที่สุดโต่งของการซื้อหุ้นคืนนั้น มันอาจทำให้ EPSเพิ่มขึ้น (เนื่องจากจำนวนหุ้นที่เป็นตัวหารลดลง) ทั้งที่จริงๆกำไรสุทธิของบริษัทในขณะนั้นลดลงก็มี จึงเป็นตัวอย่างให้เห็นจุดอ่อนว่า หากมองไม่ละเอียดมากพอ คือมองเเต่ EPS อย่างเดียว โดยไม่มอง net profit อาจเข้าใจผิดได้ว่ากำไรดีขึ้น
5.บริษัทที่มี DCA นั้น NPM มักจะสูง > 20% อย่างสมํ่าเสมอต่อเนื่องมายาวนาน ถ้า NPM < 10% มักแสดงว่าเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและบริษัทไม่ได้เปรียบคู่แข่งอย่างเด่นชัดนัก
6.ความสามารถในการทำกำไรที่ยอดเยี่ยม จะทำให้บริษัทมีเงินเหลือพอที่จะจ่ายปันผลได้มากๆ และ/หรือ สามารถซื้อหุ้นคืนได้ ซึ่งทั้ง2อย่างนี้ จะลดความจำเป็นของเงินทุนหมุนเวียนได้ และอาจจะทำให้สภาพคล่องทางการเงินcurrent ratio <1 ได้ จึงอาจสรุปได้ว่า current ratio ไม่มีประโยชน์ในการประเมิน DCA ของบริษัทที่แข็งแกร่งมากๆ แต่ใช้ได้กับบริษัทธรรมดาทั่วไปเท่านั้น
7.เกี่ยวกับการลงทุนในอาคารที่ดินอุปกรณ์
บริษัทที่มี DCA จะสามารถระดมเงินทุนภายในบริษัทเองได้ แต่บริษัทที่ไม่มี DCA มักจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้ในการสร้างหรือปรับปรุงโรงงานและเครื่องจักรอยู่เสมอ นอกจากนั้น บริษัทที่ดีควรจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่างๆเพื่อสร้างรายได้เป็นจำนวนน้อยๆ ผมจึงสรุปเอาเองได้ว่า บริษัทที่มี DCA ควรจะมีสินทรัพย์ที่เป็นที่ดินอาคารอุปกรณ์เทียบกับยอดขายที่ทำได้ใน1ปียิ่งน้อยยิ่งดี หรือ มีTotal Asset Turnover ยิ่งมากยิ่งดีนั่นเอง
8.บริษัทที่มีขนาดเล็กเกินไป ถึงจะมีอัตราการทำกำไรต่อสินทรัพย์ดีมาก (ROAสุงๆ) แต่อาจจะไม่มี DCA ก็ได้ เพราะมีต้นทุนที่ตํ่าในการเข้าสู่ธุรกิจ(ถูกtake overง่ายนั่นเอง)
9.บริษัทที่มี DCA มักจะมีหนี้สินระยะยาวน้อยมากหรือไม่มีเลย โดยเฉพาะหากไม่มีหนี้เลยเป็นระยะเวลายาวนานมาแล้วจะยิ่งดี หรืออย่างน้อย หากมีหนี้สินบ้าง บริษัทควรมีความสามารถในการทำกำไรพอที่จะชำระคืนหนี้สินระยะยาวได้ใน 3-4 ปี
10.กล่าวซํ้าถึง current ratio ก็คือบริษัทที่มี DCA อาจมี current ratio < 1 ได้ สาเหตุก็คือความสามารถของบริษัทในการสร้างกำไรที่มหาศาลนั้น สามารถมาทดแทนเงินทุนหนุนเวียนที่ขาดไปได้ จึงไม่ต้องการสภาพคล่องมารองรับอย่างที่ธุรกิจธรรมดาต้องการ
11.D/E Ratio ปกติควรจะตํ่า คือค่ายิ่งตํ่ายิ่งดี แต่บางบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรที่สูงมากๆ จนสามารถซื้อหุ้นตัวเองคืนได้ แล้วทำให้retained earning และ Equity ลดลง สุดท้ายทำให้กลายเป็นว่ามี D/E Ratio สูงมากได้ ดังนั้นหากพบบริษัทดังกล่าว แทนที่เวลาปกติ จากที่เราจะเอาหุ้นซื้อคืน หักออกจากส่วนของequity ที่มีอยู่เดิม ให้ บวก หุ้นซื้อคืน กลับเข้าไปใน equity แล้วจะพบว่า D/E Ratio ไม่ได้สูงจริงอย่างที่เห็น
12.บริษัทที่มี DCA ไม่ควรมี"หุ้นบุริมสิทธิ" อยู่ในโครงสร้างทุน เนื่องจากมันมีต้นทุนทางการเงินที่สูงมากเพราะ 1.ปันผลก็ต้องจ่ายก่อนหุ้นสามัญ 2.ได้รับเงินคืนก่อนกรณีที่บริษัทล้มละลาย 3.เงินปันผลที่จ่ายไม่สามารถนำไปหักภาษีได้ ไม่เหมือนกับการกู้หนี้จากธนาคาร
13.บริษัทที่มี DCA ควรจะมีกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร (retained earning) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตาม บางบริษัททำกำไรได้ดีมาก จนไม่จำเป็นต้องเก็บกำไรสะสมมหึมาก้อนนี้ไว้ จึงนำไปซื้อหุ้นคืนและจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นจำนวนมาก กำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรรจึงอาจจะน้อยได้และไม่ได้แปลว่าบริษัทไม่ดี
14.เช่นเดิมเกี่ยวกับบริษัทที่ซื้อหุ้นคืน ถึงจะทำให้ EPS สูงขึ้น เพราะทำให้ตัวหาร(คือยอดของผู้ถือหุ้น)ลดลง แต่หากเรานำหุ้นซื้อคืนบวกกลับเข้าไปในยอดของผู้ถือหุ้นเดิมแทนที่จะลบออก แล้วหา EPS ใหม่อีกรอบ เราจะทราบได้ว่า EPS ที่สูงขึ้นนั้น มาจากการทำกำไรที่มากขึ้น หรือ วิศวกรรมทางการเงิน
15.การปรากฎหุ้นซื้อคืนในงบดุล และ ประวัติการซื้อหุ้นคืนในอดีต เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าบริษัทมี DCA
16.ปกติ ROE ยิ่งสูงยิ่งดี แต่บางกรณีที่ บริษัทจ่ายปันผล หรือ ซื้อหุ้นคืน จนequityติดลบ อาจทำให้ROE ติดลบไปด้วย จึงต้องดูด้วยว่า ถึงจะ มีROE ติดลบ แต่ถ้าบริษัท มีประวัติกำไรสุทธิที่แข็งแกร่งก็ไม่เป็นไร แต่ต้องระวัง แยกให้ดีจากบริษัทที่กำลังจะล้มละลาย ซึ่งมี ROE ติดลบเหมือนกัน แต่กรณีนี้ ROE ที่เป็นลบจะเป็นจากตัวตั้ง(ผลกำไร/ขาดทุน)ที่ติบลบ ไม่ใช่จากตัวหาร
หากไม่เหมาะสมประการใด เช่น เรื่องลิขสิทธิ์ ก็ขออภัย ณ ที่นี้ และลบได้เลยครับ ผมเจตนาเพื่อเผยแพร่ความรู้เฉยๆครับ