มอง set เป็น 1 บริษัท
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 1
มีบริษัทลูกมากมาย รวมกันแล้วกลายเป็น set
ลูกคนโตของ set คือ ptt
ผลประกอบการ Q2 ของ set ไม่ทราบว่าจะโตกว่า Q1 กี่เปอร์เซ็นต์
ผมเดาว่า โดกว่า Q1 แน่ๆ แต่ไม่ทราบว่า กี่เปอร์เซ็นต์
และยังไม่ทราบเหมือนกันว่า จะทราบได้เมื่อไร ที่จะรู้ผลประกอบการทั้งหมดของ set
ใน Q2 จะได้นำไปเทียบกับ Q1
ลองสมมุติเล่นๆว่า Q2 มีกำไรโตมากกว่า Q1 10 % 15 % 20 %
PE SET ควรจะอยู่ที่เท่าไร หาก Set เป็น 1 บริษัท
Q2 ที่มากขึ้น หรือน้อยลง เราจะสามารถประมาณการ pe set ได้หรือไม่
ว่าช่วงนี้ set pe สูงไปแล้ว หรือ ว่าต่ำไปแล้ว
หรือว่า อย่าไปสนใจ set เลย
pe set จะ 30 ก็ช่าง หน้าที่ของเราคือ ดูที่บริษัทของเราอย่างเดียวพอ
ลูกคนโตของ set คือ ptt
ผลประกอบการ Q2 ของ set ไม่ทราบว่าจะโตกว่า Q1 กี่เปอร์เซ็นต์
ผมเดาว่า โดกว่า Q1 แน่ๆ แต่ไม่ทราบว่า กี่เปอร์เซ็นต์
และยังไม่ทราบเหมือนกันว่า จะทราบได้เมื่อไร ที่จะรู้ผลประกอบการทั้งหมดของ set
ใน Q2 จะได้นำไปเทียบกับ Q1
ลองสมมุติเล่นๆว่า Q2 มีกำไรโตมากกว่า Q1 10 % 15 % 20 %
PE SET ควรจะอยู่ที่เท่าไร หาก Set เป็น 1 บริษัท
Q2 ที่มากขึ้น หรือน้อยลง เราจะสามารถประมาณการ pe set ได้หรือไม่
ว่าช่วงนี้ set pe สูงไปแล้ว หรือ ว่าต่ำไปแล้ว
หรือว่า อย่าไปสนใจ set เลย
pe set จะ 30 ก็ช่าง หน้าที่ของเราคือ ดูที่บริษัทของเราอย่างเดียวพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 2
เป็นวิธีที่นักวิเคราะห์ของบล.และบลจ.ใช้ทำ
ตัวเลขประมาณค่าดัชนี set ว่าปีนี้จะอยู่ที่เท่าไหร่ ปีหน้าที่เท่าไหร่
หลังงบ q2 ออกครบคงได้เห็นการปรับเป้าดัชนีกันอีกครั้ง
ตัวเลขประมาณค่าดัชนี set ว่าปีนี้จะอยู่ที่เท่าไหร่ ปีหน้าที่เท่าไหร่
หลังงบ q2 ออกครบคงได้เห็นการปรับเป้าดัชนีกันอีกครั้ง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 3
พวกเราวิเคราะห์หุ้นเก่ง และอาจจะเก่งกว่านักวิเคราะห์อีกprichar s. เขียน:เป็นวิธีที่นักวิเคราะห์ของบล.และบลจ.ใช้ทำ
ตัวเลขประมาณค่าดัชนี set ว่าปีนี้จะอยู่ที่เท่าไหร่ ปีหน้าที่เท่าไหร่
หลังงบ q2 ออกครบคงได้เห็นการปรับเป้าดัชนีกันอีกครั้ง
ผมเสนอว่า พวกเราควรเอา set มาวิเคราะห์ภาพใหญ่ด้วยครับ ว่า set ควรจะมี pe เท่าไร
เพราะอย่างไรก็ตาม หาก กำไร set ลดลง สมมุติว่า ลดลง 50 % จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
การที่ set ลดลง ย่อมส่งผลต่อราคาหุ้นของเราด้วยเช่นกัน
- Packy_Kittiworawut
- Verified User
- โพสต์: 242
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 4
โอว์ พี่เจ๋งมาแต่ละกระทู้นี่เฉียบขาด น่าคิดมากครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 11
ถึงกำไร Q2 54 จะลดลง 18 % แต่เวลาคำนวณ pe setistyle เขียน:เอาใหม่ครับ
กำไรสุทธิ
Q2 53 94948.85 ล้านบาท
Q1 54 192418.34 ล้านบาท
Q2 54 157334.59 ล้านบาท
Q2-Q1 ทิ้งดิ่งโดยกลุ่มพลังงานครับ ex.banpu top irpc pttar esso (แต่บางตัวก็ดี เช่น bcp) กับอื่นๆ เช่น scb ivl
น่าจะต้องใช้กำไร 4Q ย้อนหลังเช่นกัน เพราะฉะนั้น ผลประกอบการณ์ Q2 54 ต้องนำไปแทน Q2 53
ซึ่ง pe set ก็น่าจะลดลงไปมาก แต่คำนวณ ไม่เป็นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 16
ใช่นี่หรือไม่ ที่ทำให้ pe set ทะยานขึ้นมา ถึงระดับ 14.5 โดยประมาณก่อนหน้านี้
และถ้า Q2 54 ผลประกอบการณ์ทั้งตลาดไม่โตขึ้น หรือโตขึ้นมาก จะมีผลต่อ pe set หรือไม่ ???
แต่ก่อนผมเคยได้ยิน ในวีไอบอกว่า ถ้า pe ตลาด 15 ก็ล้างพอร์ทแล้ว ไม่รู้ว่า ยังใช้ได้หรือเปล่า
หรือว่า เราต้องดู growth ของตลาดควบคู่ไปด้วย
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 17
เท่าที่ผมสรุปได้คร่าวๆ คืออย่าไปดู set index แต่ให้ดู pe ตลาดแทน
เช่น set 600 ขึ้นมา 1100 แพง แบบนี้ต้องเลิกดู แต่ ให้ดู pe ตลาด
ตอน set 600 pe ตลาด อาจจะถูกกว่าตอน set 1100 จุดก็ได้นะครับ
หาก pe ตลาดสูง หรือมีแนวโน้มสูง เพราะ e ตลาดต่ำ
ก็น่าจะระวัง เพราะหุ้นที่เราถืออยู่นั้น ต่อให้ดีแค่ไหน หากตลาดสูงมากๆ ผมสมมุติเล่นๆ
pe ตลาด 30 และ e ตลาดมีแนวโน้มลดลง
ต่อให้หุ้นทีเราถือ ดีแค่ไหน สำหรับผมแล้ว ล้างพอร์ทออกมานั่งรอดีกว่า
เพราะจากประสบการณ์ พอตลาดตกหนักๆ หุ้นดีๆ ก็พลอยตกไปด้วย
ส่วนใครไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไร นานาจิตตัง การลงทุนมีหลายแบบ แล้วแต่ครับ
ใครชอบแบบไหน แนวไหน เลือกได้ตามสบาย
vi ที่เน้นไม่ขาย vi ที่เน้นถือหุ้น ก็ควรจะเป็น vi ที่พร้อมเสมอที่จะมีเงินมาซื้อเพิ่มตอนตลาดตก
ผมเห็น vi หลายคน ไม่ได้ขายหุ้น แต่ตอนตลาดตกหนักๆ ทำไมมีเงินมาซื้อเพิ่มกันได้ แปลกจัง
เช่น set 600 ขึ้นมา 1100 แพง แบบนี้ต้องเลิกดู แต่ ให้ดู pe ตลาด
ตอน set 600 pe ตลาด อาจจะถูกกว่าตอน set 1100 จุดก็ได้นะครับ
หาก pe ตลาดสูง หรือมีแนวโน้มสูง เพราะ e ตลาดต่ำ
ก็น่าจะระวัง เพราะหุ้นที่เราถืออยู่นั้น ต่อให้ดีแค่ไหน หากตลาดสูงมากๆ ผมสมมุติเล่นๆ
pe ตลาด 30 และ e ตลาดมีแนวโน้มลดลง
ต่อให้หุ้นทีเราถือ ดีแค่ไหน สำหรับผมแล้ว ล้างพอร์ทออกมานั่งรอดีกว่า
เพราะจากประสบการณ์ พอตลาดตกหนักๆ หุ้นดีๆ ก็พลอยตกไปด้วย
ส่วนใครไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไร นานาจิตตัง การลงทุนมีหลายแบบ แล้วแต่ครับ
ใครชอบแบบไหน แนวไหน เลือกได้ตามสบาย
vi ที่เน้นไม่ขาย vi ที่เน้นถือหุ้น ก็ควรจะเป็น vi ที่พร้อมเสมอที่จะมีเงินมาซื้อเพิ่มตอนตลาดตก
ผมเห็น vi หลายคน ไม่ได้ขายหุ้น แต่ตอนตลาดตกหนักๆ ทำไมมีเงินมาซื้อเพิ่มกันได้ แปลกจัง
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 18
พี่ jeng ครับ
ถ้าเรา PE และรวม risk เข้าไปด้วย
น่าจะเป็นอะไรที่ดีกว่ารึเปล่าครับ
ปัญหา คือ ผมจะดู PE ของประเทศต่างๆ จากไหนมีแหล่งรวมที่ update รึเปล่่าครับ
รวมทั้ง Risk ผมใช้ข้อมูลของ
Aswath Damodaran
http://pages.stern.nyu.edu/~adamodar/Ne ... yprem.html
ประกอบการตัดสินใจได้รึเปล่าครับ
ถ้าเรา PE และรวม risk เข้าไปด้วย
น่าจะเป็นอะไรที่ดีกว่ารึเปล่าครับ
ปัญหา คือ ผมจะดู PE ของประเทศต่างๆ จากไหนมีแหล่งรวมที่ update รึเปล่่าครับ
รวมทั้ง Risk ผมใช้ข้อมูลของ
Aswath Damodaran
http://pages.stern.nyu.edu/~adamodar/Ne ... yprem.html
ประกอบการตัดสินใจได้รึเปล่าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 19
โห รู้สึกว่า นักลงทุนบ้านเราพัฒนาไปไกล มีอะไรมาให้ดูเยอะแยะมากมาย
พี่ก็ไม่รู้ว่าช่วยได้หรือไม่
แต่ส่วนตัว คิดว่า ดูหุ้นเป็นหลัก โดยดู pe set ไว้บ้าง ก็ดีอยู่แล้ว พี่ก็ดูแค่นี้อะครับ
ตัวเลขอื่นๆ บางที มันซับซ้อนสำหรับพี่เกินไป
เอาว่า บริษัท กำไรดี กำไรโต และมีแนวโน้มโตต่อ ราคาถูก ก็ซื้อ
ตัวเลขอื่นๆ ดูเล่นๆเพลินดี ยังไงถ้าใช้ประโยชน์อะไรได้ เล่าให้ฟังก็ดีครับ
พี่ก็ไม่รู้ว่าช่วยได้หรือไม่
แต่ส่วนตัว คิดว่า ดูหุ้นเป็นหลัก โดยดู pe set ไว้บ้าง ก็ดีอยู่แล้ว พี่ก็ดูแค่นี้อะครับ
ตัวเลขอื่นๆ บางที มันซับซ้อนสำหรับพี่เกินไป
เอาว่า บริษัท กำไรดี กำไรโต และมีแนวโน้มโตต่อ ราคาถูก ก็ซื้อ
ตัวเลขอื่นๆ ดูเล่นๆเพลินดี ยังไงถ้าใช้ประโยชน์อะไรได้ เล่าให้ฟังก็ดีครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 24
อ่า ผิดอีกแล้ว พักนี้Jeng เขียน:ขอบคุณครับผมistyle เขียน:อัพเดทครับ
กำไรสุทธิ
Q2 53 107464 ล้านบาท
Q1 54 203790 ล้านบาท
Q2 54 170582 ล้านบาท
มีน้อยตัวแล้วครับที่ยังไม่ออก
แล้วมี Q1 53 หรือไม่ครับ ครบ 4 Q จะได้คำนวณ pe ตลาดไปเลย
เอาใหม่ มี Q4 กับ Q3 ปี 53 หรือไม่ครับ
จะได้คำนวณ pe ตลาด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 25
Q1 54 203790 ล้านบาท
Q2 54 170582 ล้านบาท
คิดเล่นๆระหว่างรอข้อมูล Q1+Q2 เท่ากับ 374372 x 2 เท่ากับ 748744
ถ้า set pe 12 ก็ต้องถือว่าถูก (สำหรับผมนะ เพราะกำไรปี 54 สูงกว่ากำไรปี 53 แสดงว่า set มี growth ) เพราะปีหน้า จะลดภาษีอีก ทำให้ set pe ลดลง 10 %
748744 x 12 เท่ากับ Market cap 8.98 ล้านล้านบาท
ณ เวลานี้ Market cap 8.88 ล้านๆบาท
Q2 54 170582 ล้านบาท
คิดเล่นๆระหว่างรอข้อมูล Q1+Q2 เท่ากับ 374372 x 2 เท่ากับ 748744
ถ้า set pe 12 ก็ต้องถือว่าถูก (สำหรับผมนะ เพราะกำไรปี 54 สูงกว่ากำไรปี 53 แสดงว่า set มี growth ) เพราะปีหน้า จะลดภาษีอีก ทำให้ set pe ลดลง 10 %
748744 x 12 เท่ากับ Market cap 8.98 ล้านล้านบาท
ณ เวลานี้ Market cap 8.88 ล้านๆบาท
-
- Verified User
- โพสต์: 872
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 26
TPIPL พึ่งออกครับ กู้หน้า SET มาได้อีก พันกว่าล้าน
PE ตลาด จากหน้าเว็บได้ 13.37 Market cap วันนี้ 8.69 ล้านล้าน
คิดย้อนกลับจะได้ PE ประมาณ 12.1 ครับ
http://marketdata.set.or.th/mkt/markets ... country=TH
ส่วน Q4 Q3 ยังไม่มีครับ พึ่งเริ่มเก็บข้อมูล
PE ตลาด จากหน้าเว็บได้ 13.37 Market cap วันนี้ 8.69 ล้านล้าน
คิดย้อนกลับจะได้ PE ประมาณ 12.1 ครับ
http://marketdata.set.or.th/mkt/markets ... country=TH
ส่วน Q4 Q3 ยังไม่มีครับ พึ่งเริ่มเก็บข้อมูล
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 27
ไม่รู้เหมือนกันว่า pe ตามลิ๊งที่ให้มานั้น ทาง set คำนวณกำไรใหม่เข้าไปหรือยังครับistyle เขียน:TPIPL พึ่งออกครับ กู้หน้า SET มาได้อีก พันกว่าล้าน
PE ตลาด จากหน้าเว็บได้ 13.37 Market cap วันนี้ 8.69 ล้านล้าน
คิดย้อนกลับจะได้ PE ประมาณ 12.1 ครับ
http://marketdata.set.or.th/mkt/markets ... country=TH
ส่วน Q4 Q3 ยังไม่มีครับ พึ่งเริ่มเก็บข้อมูล
- donrak
- Verified User
- โพสต์: 111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 28
http://www.moneyandbanking.co.th/analys ... newsID=953
ผมว่า e ในระยะใกล้ๆนี้ยังไม่น่าจะลดลงนะครับ
แนวโน้มการส่งออกปี 2554 ... ฝ่าปัจจัยลบ คาดเติบโตพุ่งถึง 20% (22/07/2011 08:54)
ส่งถึงเพื่อน
แนวโน้มการส่งออกปี 2554 ... ฝ่าปัจจัยลบ คาดเติบโตพุ่งถึง 20%
การส่งออกของไทยยังคงสะท้อนภาพที่แข็งแกร่ง โดยแม้ว่าอัตราการเติบโตของการส่งออกในเดือนมิถุนายน 2554 ชะลอตัวลงจากผลของฐานที่สูงในปีก่อน แต่ยังคงเป็นตัวเลขที่สูงเหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ทุกสถาบัน ขณะที่ผลกระทบจากภัยพิบัติในญี่ปุ่นไม่รุนแรงอย่างที่กังวล โดยแม้มีผลกระทบทำให้การส่งออกสินค้าบางกลุ่ม เช่นยานยนต์ หดตัวลง แต่ความต้องการของตลาดญี่ปุ่นต่อสินค้าหลายประเภทจากไทยที่เพิ่มขึ้นได้ทำให้การส่งออกของไทยไปยังญี่ปุ่นกลับขยายตัวสูงขึ้น อีกทั้งยังสูงกว่าตลาดอื่นๆ ส่วนใหญ่ ซึ่งนับเป็นแรงหนุนสำคัญประการหนึ่งต่อการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา จากทิศทางการเติบโตที่แข็งแกร่ง ก้าวฝ่าปัจจัยลบรุมเร้าหลายด้านในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 จะยังคงมีแรงส่งให้ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง
การส่งออกเดือนมิถุนายนใกล้เคียงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2554 ขยายตัวร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) ชะลอลงจากร้อยละ 17.6 ในเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นแตะระดับ 21,074 ล้านดอลลาร์ฯ จาก 19,465 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนก่อน ใกล้เคียงระดับที่เคยสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2554 (21,259 ล้านดอลลาร์ฯ) หลังจากอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติในญี่ปุ่นฟื้นตัวกลับมาผลิตได้ใกล้เคียงปกติมากขึ้น เห็นได้จากที่การส่งออกในหมวดรถยนต์และส่วนประกอบเริ่มหลุดพ้นจากตัวเลขติดลบ (หดตัวถึงร้อยละ 34.9 ในเดือนพฤษภาคม) กลับมาขยายตัวได้บ้างที่ร้อยละ 0.03 ในเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ แม้ญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติรุนแรง แต่การส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นยังคงแข็งแกร่งนำหน้าตลาดอื่นๆ โดยขยายตัวสูงขึ้นมาที่ร้อยละ 38.0 ในเดือนมิถุนายน (จากร้อยละ 30.4 ในเดือนก่อน)
ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมยังคงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 55.7 (จากร้อยละ 61.1 ในเดือนก่อน) แต่สินค้าอุตสาหกรรมโดยรวมยังคงขยายตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 8.4 แม้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน (ที่ขยายตัวร้อยละ 6.6) โดยสินค้าที่การส่งออกหดตัวลงหรือขยายตัวต่ำ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น สำหรับการส่งออกหมวดอัญมณีและ เครื่องประดับที่ติดลบนั้น เป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของการส่งออกทองคำ ซึ่งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับหากไม่รวมทองคำ ยังขยายตัวกว่าร้อยละ 20
อานิสงส์การผลิตในญี่ปุ่นฟื้น หนุนการส่งออกครึ่งปีหลังยังเติบโต 2 หลัก
ทิศทางการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 คาดว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดของอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาในญี่ปุ่น โดยกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นต่อเป้าหมายการผลิตในปีนี้ ว่าอาจทำได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ 1.8 ล้านคัน ขณะที่ความต้องการของญี่ปุ่นต่อสินค้าไทยก็น่าจะยังคงมีอย่างต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง เนื่องจากปัญหากระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอจะยังเป็นข้อจำกัดสำหรับภาคการผลิตในญี่ปุ่น รวมทั้งอานิสงส์จากการบูรณะฟื้นฟูประเทศอาจส่งผลดีต่อความต้องการสินค้าหลายประเภทจากไทย นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง รวมทั้งมาตรการจำนำข้าวของรัฐบาลไทยน่าจะมีส่วนช่วยผลักดันให้ราคาส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีหลังปรับตัวสูงขึ้นปัจจัยบวกดังที่กล่าวมาแล้วนี้น่าจะช่วยชดเชยผลกระทบจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่เผชิญแรงฉุดรั้งจากปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางในหลายภูมิภาค รวมทั้งประเด็นปัญหาหนี้ภาครัฐของสหรัฐฯ และยูโรโซน โดยการส่งออกของไทยน่าจะยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตสูงเป็นตัวเลขสองหลักต่อเนื่องไปได้อีกหลายเดือนข้างหน้า ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีเป็นระดับตัวเลข 2 หลัก อยู่ในช่วงร้อยละ 11-21 แต่จะชะลอลงจากร้อยละ 23.6 ในครึ่งปีแรก
โดยสรุป การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2554 ยังคงเติบโตสูงเหนือความคาดหมายของตลาด โดยมูลค่าการส่งออกไต่ขึ้นมาแตะระดับ 21,074 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งใกล้เคียงสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เคยทำไว้ที่ระดับ 21,259 ล้านดอลลาร์ฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่การส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่น สำหรับอัตราการขยายตัวของการส่งออกในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 17.6 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 คาดว่า อัตราการขยายตัวของการส่งออกอาจชะลอลงมาที่ร้อยละ 11-21 จากร้อยละ 23.6 ในครึ่งปีแรก (มีมูลค่า 114,978 ล้านดอลลาร์ฯ) แต่ยังเป็นทิศทางที่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดของอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนจากญี่ปุ่น นอกจากนี้ การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นอาจมีแรงหนุนจากความต้องการสินค้าไทยเนื่องจากภาคการผลิตของญี่ปุ่นยังคงเผชิญปัญหากระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ รวมทั้งอานิสงส์จากการบูรณะฟื้นฟูประเทศ ทั้งนี้ จากความแข็งแกร่งของตัวเลขส่งออกในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการส่งออกของไทยในปี 2554 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 20 โดยมีกรอบประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 17.0-22.0 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 226,000 ถึง 236,000 ล้านดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 7 ล้านล้านบาท
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกในครึ่งปีหลังนี้ ได้แก่ แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเด็นที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดคือสถานะหนี้ของสหรัฐฯ ที่อาจนำไปสู่ความเป็นไปได้ของการถูกปรับลดอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือของประเทศ รวมถึงปัญหาวิกฤติหนี้ของประเทศกลุ่ม PIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน) ที่ยังไม่มีข้อยุติและอาจมีผลลุกลามกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ในกลุ่มยูโรโซน นอกจากนี้ ผู้ส่งออกไทยอาจต้องเตรียมรับมือกับทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงาน อันจะเป็นโจทย์ที่ท้าทายต่อการรักษาสถานะการแข่งขันของสินค้าไทยเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอื่นๆ ในตลาดโลก
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ผมว่า e ในระยะใกล้ๆนี้ยังไม่น่าจะลดลงนะครับ
แนวโน้มการส่งออกปี 2554 ... ฝ่าปัจจัยลบ คาดเติบโตพุ่งถึง 20% (22/07/2011 08:54)
ส่งถึงเพื่อน
แนวโน้มการส่งออกปี 2554 ... ฝ่าปัจจัยลบ คาดเติบโตพุ่งถึง 20%
การส่งออกของไทยยังคงสะท้อนภาพที่แข็งแกร่ง โดยแม้ว่าอัตราการเติบโตของการส่งออกในเดือนมิถุนายน 2554 ชะลอตัวลงจากผลของฐานที่สูงในปีก่อน แต่ยังคงเป็นตัวเลขที่สูงเหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ทุกสถาบัน ขณะที่ผลกระทบจากภัยพิบัติในญี่ปุ่นไม่รุนแรงอย่างที่กังวล โดยแม้มีผลกระทบทำให้การส่งออกสินค้าบางกลุ่ม เช่นยานยนต์ หดตัวลง แต่ความต้องการของตลาดญี่ปุ่นต่อสินค้าหลายประเภทจากไทยที่เพิ่มขึ้นได้ทำให้การส่งออกของไทยไปยังญี่ปุ่นกลับขยายตัวสูงขึ้น อีกทั้งยังสูงกว่าตลาดอื่นๆ ส่วนใหญ่ ซึ่งนับเป็นแรงหนุนสำคัญประการหนึ่งต่อการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา จากทิศทางการเติบโตที่แข็งแกร่ง ก้าวฝ่าปัจจัยลบรุมเร้าหลายด้านในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 จะยังคงมีแรงส่งให้ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง
การส่งออกเดือนมิถุนายนใกล้เคียงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2554 ขยายตัวร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) ชะลอลงจากร้อยละ 17.6 ในเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นแตะระดับ 21,074 ล้านดอลลาร์ฯ จาก 19,465 ล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนก่อน ใกล้เคียงระดับที่เคยสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2554 (21,259 ล้านดอลลาร์ฯ) หลังจากอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติในญี่ปุ่นฟื้นตัวกลับมาผลิตได้ใกล้เคียงปกติมากขึ้น เห็นได้จากที่การส่งออกในหมวดรถยนต์และส่วนประกอบเริ่มหลุดพ้นจากตัวเลขติดลบ (หดตัวถึงร้อยละ 34.9 ในเดือนพฤษภาคม) กลับมาขยายตัวได้บ้างที่ร้อยละ 0.03 ในเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ แม้ญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติรุนแรง แต่การส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นยังคงแข็งแกร่งนำหน้าตลาดอื่นๆ โดยขยายตัวสูงขึ้นมาที่ร้อยละ 38.0 ในเดือนมิถุนายน (จากร้อยละ 30.4 ในเดือนก่อน)
ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมยังคงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 55.7 (จากร้อยละ 61.1 ในเดือนก่อน) แต่สินค้าอุตสาหกรรมโดยรวมยังคงขยายตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 8.4 แม้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน (ที่ขยายตัวร้อยละ 6.6) โดยสินค้าที่การส่งออกหดตัวลงหรือขยายตัวต่ำ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น สำหรับการส่งออกหมวดอัญมณีและ เครื่องประดับที่ติดลบนั้น เป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของการส่งออกทองคำ ซึ่งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับหากไม่รวมทองคำ ยังขยายตัวกว่าร้อยละ 20
อานิสงส์การผลิตในญี่ปุ่นฟื้น หนุนการส่งออกครึ่งปีหลังยังเติบโต 2 หลัก
ทิศทางการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 คาดว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดของอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาในญี่ปุ่น โดยกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นต่อเป้าหมายการผลิตในปีนี้ ว่าอาจทำได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ 1.8 ล้านคัน ขณะที่ความต้องการของญี่ปุ่นต่อสินค้าไทยก็น่าจะยังคงมีอย่างต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง เนื่องจากปัญหากระแสไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอจะยังเป็นข้อจำกัดสำหรับภาคการผลิตในญี่ปุ่น รวมทั้งอานิสงส์จากการบูรณะฟื้นฟูประเทศอาจส่งผลดีต่อความต้องการสินค้าหลายประเภทจากไทย นอกจากนี้ ราคาสินค้าเกษตรยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง รวมทั้งมาตรการจำนำข้าวของรัฐบาลไทยน่าจะมีส่วนช่วยผลักดันให้ราคาส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีหลังปรับตัวสูงขึ้นปัจจัยบวกดังที่กล่าวมาแล้วนี้น่าจะช่วยชดเชยผลกระทบจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่เผชิญแรงฉุดรั้งจากปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางในหลายภูมิภาค รวมทั้งประเด็นปัญหาหนี้ภาครัฐของสหรัฐฯ และยูโรโซน โดยการส่งออกของไทยน่าจะยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตสูงเป็นตัวเลขสองหลักต่อเนื่องไปได้อีกหลายเดือนข้างหน้า ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีเป็นระดับตัวเลข 2 หลัก อยู่ในช่วงร้อยละ 11-21 แต่จะชะลอลงจากร้อยละ 23.6 ในครึ่งปีแรก
โดยสรุป การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2554 ยังคงเติบโตสูงเหนือความคาดหมายของตลาด โดยมูลค่าการส่งออกไต่ขึ้นมาแตะระดับ 21,074 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งใกล้เคียงสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เคยทำไว้ที่ระดับ 21,259 ล้านดอลลาร์ฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่การส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่น สำหรับอัตราการขยายตัวของการส่งออกในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 17.6 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งหลังของปี 2554 คาดว่า อัตราการขยายตัวของการส่งออกอาจชะลอลงมาที่ร้อยละ 11-21 จากร้อยละ 23.6 ในครึ่งปีแรก (มีมูลค่า 114,978 ล้านดอลลาร์ฯ) แต่ยังเป็นทิศทางที่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดของอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนจากญี่ปุ่น นอกจากนี้ การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นอาจมีแรงหนุนจากความต้องการสินค้าไทยเนื่องจากภาคการผลิตของญี่ปุ่นยังคงเผชิญปัญหากระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ รวมทั้งอานิสงส์จากการบูรณะฟื้นฟูประเทศ ทั้งนี้ จากความแข็งแกร่งของตัวเลขส่งออกในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการส่งออกของไทยในปี 2554 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 20 โดยมีกรอบประมาณการอยู่ที่ร้อยละ 17.0-22.0 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 226,000 ถึง 236,000 ล้านดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 7 ล้านล้านบาท
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกในครึ่งปีหลังนี้ ได้แก่ แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเด็นที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดคือสถานะหนี้ของสหรัฐฯ ที่อาจนำไปสู่ความเป็นไปได้ของการถูกปรับลดอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือของประเทศ รวมถึงปัญหาวิกฤติหนี้ของประเทศกลุ่ม PIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน) ที่ยังไม่มีข้อยุติและอาจมีผลลุกลามกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ในกลุ่มยูโรโซน นอกจากนี้ ผู้ส่งออกไทยอาจต้องเตรียมรับมือกับทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงาน อันจะเป็นโจทย์ที่ท้าทายต่อการรักษาสถานะการแข่งขันของสินค้าไทยเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอื่นๆ ในตลาดโลก
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ถ้าเรายังเอาชนะ"ใจ"ตัวเองไม่ได้
เราก็"ชนะ"ตลาดหุ้นไม่ได้
เราก็"ชนะ"ตลาดหุ้นไม่ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 60
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 29
ข้อมูลเเน่นกันมากครับ ผมตามไม่ทันเลย - -
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 260
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มอง set เป็น 1 บริษัท
โพสต์ที่ 30
หลักทรัพย์ SET
แหล่งข่าว SET
หัวข้อข่าว SET News :ครึ่งปีแรก 2554 บจ.ยังสร้างสถิติกำไรรวมสูงสุดต่อเนื่องเป็นประวัติการณ์ โดยมีกำไรเกือบ 4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 35 % จากปีก่อน
วันที่/เวลา 18 ส.ค. 2554 18:36:44
ฉบับที่ 99 /2554
18 สิงหาคม 2554
ครึ่งปีแรก 2554 บจ.ยังสร้างสถิติกำไรรวมสูงสุดต่อเนื่องเป็นประวัติการณ์ โดยมีกำไรเกือบ 4 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้นเกือบ 35 % จากปีก่อน
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงสร้างสถิติยอดขายและกำไรสูงสุดต่อเนื่อง
โดยทำกำไรรวมงวดครึ่งปีแรกของปี 2554 สูงถึง 385,957 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.61% จากงวดเดียวของปีก่อน
และมียอดขายรวมสูงถึง 4,487,505 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.37 % กลุ่มอุตสาหกรรม 3
อันดับแรกที่มีกำไรสุทธิรวมสูงสุด คือ กลุ่มทรัพยากร กลุ่มธุรกิจการเงิน
และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง โดยมี PTT, PTTEP, SCB , SCC และ BBL
เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีกำไรสุทธิสูงสุด
5 อันดับแรก
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) จำนวน 472 บริษัท หรือ 92.73 % ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด
509 บริษัท (รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 34 กองทุน) ได้ส่งงบการเงินงวดสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
2554 รวมกำไรสุทธิงวด 6 เดือน จำนวน 385,957 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งมีกำไรรวม 286,727
ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 34.61% โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 6 กลุ่ม
ขณะที่ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 2 ปี 2554 บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวม 172,384 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
35.46 % จากงวดเดียวกันของปีก่อน และมียอดขายรวมเติบโตเป็นสถิติสูงสุด ทั้งนี้
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) ที่ส่งงบการเงินงวดครึ่งปี 2554 มีบริษัทที่มีกำไรสุทธิ 402
บริษัท หรือ 85.17%
"ผลดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในครึ่งปีแรกของปี 2554
ยังคงสะท้อนถึงแนวโน้มและอัตราการเติบโตของทั้งยอดขายและกำไรรวมที่ปรับตัวเพิ่ม
และสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องจากไตรมาส 1 ที่ผ่านมา
โดยมีสัญญาณการปรับตัวเพิ่มชัดเจนมาตั้งแต่งวด ปี 2553 และงวดไตรมาส 1 ของปี 2554 ที่ผ่านมา
ด้วยผลจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง
ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น และด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจซึ่งมีเสถียรภาพ
รวมถึงศักยภาพของผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียนในการบริหารค่าใช้จ่ายและการบริหารจัดการเพื่อสร้างกำไรแก่ธ
ุรกิจภายใต้ภาวะต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ทำให้ยอดขายเติบโตอย่างโดดเด่น
ถึงแม้จะมีผลกระทบจากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในยุโรปและอเมริกาก็ตาม
โดยมีการเติบโตอย่างโดดเด่นในหุ้นขนาดใหญ่ (SET50) โดยเฉพาะหุ้นในหมวดพลังงาน ปิโตรเคมี และธนาคาร
ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปีนี้ " นายจรัมพรกล่าว
สำหรับบริษัทในกลุ่ม SET100 มีกำไรสุทธิงวด 6 เดือนของปี 2554 รวม 330,769 ล้านบาท คิดเป็น 85.28%
ของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนรวมทั้งหมด คิดเป็นกำไรเพิ่มขึ้น 35.93% จากงวดเดียวกันของปีก่อน
โดยมียอดขายรวม 3,788,106 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.43% จากงวดเดียวกันของปีก่อน
ในขณะที่มีการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 327 ล้านบาท มีภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น 18.32%
และต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 24.41 % ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 19.20% เป็น 19.22%
ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนที่มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติสูงสุด 5 อันดับแรก คือ บมจ. ปตท. (PTT)
บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) และ
บมจ. ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
สำหรับหมวดธุรกิจที่มีกำไรรวมสูงสุด 5 อันดับแรกในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 จาก 27 หมวดธุรกิจ ได้แก่
หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และหมวดวัสดุก่อสร้าง
แหล่งข่าว SET
หัวข้อข่าว SET News :ครึ่งปีแรก 2554 บจ.ยังสร้างสถิติกำไรรวมสูงสุดต่อเนื่องเป็นประวัติการณ์ โดยมีกำไรเกือบ 4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 35 % จากปีก่อน
วันที่/เวลา 18 ส.ค. 2554 18:36:44
ฉบับที่ 99 /2554
18 สิงหาคม 2554
ครึ่งปีแรก 2554 บจ.ยังสร้างสถิติกำไรรวมสูงสุดต่อเนื่องเป็นประวัติการณ์ โดยมีกำไรเกือบ 4 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้นเกือบ 35 % จากปีก่อน
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงสร้างสถิติยอดขายและกำไรสูงสุดต่อเนื่อง
โดยทำกำไรรวมงวดครึ่งปีแรกของปี 2554 สูงถึง 385,957 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.61% จากงวดเดียวของปีก่อน
และมียอดขายรวมสูงถึง 4,487,505 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.37 % กลุ่มอุตสาหกรรม 3
อันดับแรกที่มีกำไรสุทธิรวมสูงสุด คือ กลุ่มทรัพยากร กลุ่มธุรกิจการเงิน
และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง โดยมี PTT, PTTEP, SCB , SCC และ BBL
เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีกำไรสุทธิสูงสุด
5 อันดับแรก
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) จำนวน 472 บริษัท หรือ 92.73 % ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด
509 บริษัท (รวมกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 34 กองทุน) ได้ส่งงบการเงินงวดสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
2554 รวมกำไรสุทธิงวด 6 เดือน จำนวน 385,957 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งมีกำไรรวม 286,727
ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 34.61% โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 6 กลุ่ม
ขณะที่ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 2 ปี 2554 บริษัทจดทะเบียนมีกำไรสุทธิรวม 172,384 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
35.46 % จากงวดเดียวกันของปีก่อน และมียอดขายรวมเติบโตเป็นสถิติสูงสุด ทั้งนี้
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) ที่ส่งงบการเงินงวดครึ่งปี 2554 มีบริษัทที่มีกำไรสุทธิ 402
บริษัท หรือ 85.17%
"ผลดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในครึ่งปีแรกของปี 2554
ยังคงสะท้อนถึงแนวโน้มและอัตราการเติบโตของทั้งยอดขายและกำไรรวมที่ปรับตัวเพิ่ม
และสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องจากไตรมาส 1 ที่ผ่านมา
โดยมีสัญญาณการปรับตัวเพิ่มชัดเจนมาตั้งแต่งวด ปี 2553 และงวดไตรมาส 1 ของปี 2554 ที่ผ่านมา
ด้วยผลจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง
ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น และด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจซึ่งมีเสถียรภาพ
รวมถึงศักยภาพของผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียนในการบริหารค่าใช้จ่ายและการบริหารจัดการเพื่อสร้างกำไรแก่ธ
ุรกิจภายใต้ภาวะต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ทำให้ยอดขายเติบโตอย่างโดดเด่น
ถึงแม้จะมีผลกระทบจากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจในยุโรปและอเมริกาก็ตาม
โดยมีการเติบโตอย่างโดดเด่นในหุ้นขนาดใหญ่ (SET50) โดยเฉพาะหุ้นในหมวดพลังงาน ปิโตรเคมี และธนาคาร
ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปีนี้ " นายจรัมพรกล่าว
สำหรับบริษัทในกลุ่ม SET100 มีกำไรสุทธิงวด 6 เดือนของปี 2554 รวม 330,769 ล้านบาท คิดเป็น 85.28%
ของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนรวมทั้งหมด คิดเป็นกำไรเพิ่มขึ้น 35.93% จากงวดเดียวกันของปีก่อน
โดยมียอดขายรวม 3,788,106 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.43% จากงวดเดียวกันของปีก่อน
ในขณะที่มีการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 327 ล้านบาท มีภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น 18.32%
และต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 24.41 % ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 19.20% เป็น 19.22%
ทั้งนี้ บริษัทจดทะเบียนที่มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติสูงสุด 5 อันดับแรก คือ บมจ. ปตท. (PTT)
บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) และ
บมจ. ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
สำหรับหมวดธุรกิจที่มีกำไรรวมสูงสุด 5 อันดับแรกในช่วง 6 เดือนแรกปี 2554 จาก 27 หมวดธุรกิจ ได้แก่
หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดธนาคาร หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และหมวดวัสดุก่อสร้าง
เมื่อใดเห็นทุกข์ เมื่อนั้นเห็นธรรม