บัฟเฟต์ พูด "หยุดเอาใจมหาเศรษฐีเสียที"
โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 17, 2011 12:06 am
Credit K.Somporn from Stock2morrow krab
หยุดเอาใจมหาเศรษฐีเสียที
สารจาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” วันที่ 14 สิงหาคม 2011
ผู้นำประเทศของเรา ได้ออกมาเรียกร้องให้ประชาชน “เสียสละร่วมกัน” แต่ในคำขอนั้น พวกเขากลับยกเว้นตัวผมเอาไว้ ผมได้สอบถามไปยังเพื่อนมหาเศรษฐีหลายคนว่าพวกเขาคิดว่าตัวเองจะต้องเสียอะไรบ้างจากคำขอดังกล่าว แต่ปรากฏว่า ไม่มีใครไปแตะต้องพวกเขาเช่นกัน
ในขณะที่คนจนและคนชั้นกลางออกไปสู้รบในอัฟกานิสถาน และคนอเมริกันส่วนใหญ่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มหาเศรษฐีอย่างพวกเรากลับได้รับยกเว้นภาษีเป็นกรณีพิเศษ
พวกเราบางคนเป็นผู้จัดการกองทุนซึ่งทำรายได้หลายพันล้านเหรียญจากหยาดเหงื่อของผู้ใช้แรงงานมากมาย แต่กลับได้รับอนุญาตให้จัดประเภทรายได้ของเราเป็น “รายได้ที่ได้รับการยกเว้น” ซึ่งช่วยให้ลดภาษีได้ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ พวกเราหลายคนถือหุ้นไว้เพียง 10 นาที และทำกำไรได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ โดยเสียภาษีเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ราวกับเป็นนักลงทุนระยะยาว
สิ่งเหล่านี้คือพรที่เราได้รับ จากพวกที่ออกกฎหมายในวอชิงตัน ซึ่งรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องปกป้องเรา ราวกับพวกเราเป็นนกฮูกที่กำลังถูกไล่ล่าหรือสัตว์อะไรบางอย่างที่กำลังจะสูญพันธุ์
ปีที่แล้ว ใบเสร็จภาษีทั้งหมดของผม ประกอบด้วยภาษีเงินได้ และภาษีอื่นๆ ที่เสียในนามของผม รวมแล้วเป็นจำนวน 6,938,744 ดอลล่าร์ ฟังดูเหมือนเป็นเงินมากมาย แต่อัตราภาษีที่ผมจ่ายไปนั้นอยู่ในระดับ 17.4 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับลูกน้องอีก 20 คนที่นั่งอยู่ในสำนักงานของผม ซึ่งเสียภาษีในอัตรา 33 ถึง 41 เปอร์เซ็นต์ เฉลี่ยแล้ว 36 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
ถ้าคุณใช้เงินทำเงิน แบบที่เพื่อนมหาเศรษฐีของผมทำ อัตราภาษีที่คุณต้องจ่ายจะยิ่งน้อยกว่านี้เสียอีก แต่ถ้าคุณทำงานเป็นลูกจ้าง คุณกลับต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าผม โดยมากแล้วจะสูงกว่ามากทีเดียว
การจะเข้าใจในเรื่องนี้ได้ คุณต้องวิเคราะห์ที่มาของรายได้ของรัฐบาลเสียก่อน ในปีที่แล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของรัฐบาลมาจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเงินประกันสังคม เหล่ามหาเศรษฐีจ่ายภาษีแค่ 15 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด แต่แทบไม่ต้องจ่ายประกันสังคมเลย ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับคนชั้นกลาง ที่โดยส่วนใหญ่แล้ว อยู่ในกลุ่มที่ต้องเสียภาษี 15 เปอร์เซ็นต์ ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังต้องรับกรรมด้วยการเสียภาษี ประกันสังคมจำนวนมาก
ย้อนหลังกลับไปในทศวรรษที่ 1980 และ 1990 อัตราภาษีสำหรับคนรวยยังสูงกว่านี้มาก เปอร์เซ็นต์ของภาษีที่ผมต้องเสียถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับคนทั้งหมด บางทฤษฎีถึงกับบอกว่าผมควรเลิกลงทุน เพราะยิ่งลงทุนมากก็ยิ่งต้องเสียภาษีมากขึ้นในอัตราก้าวหน้า ทั้งภาษีจากกำไรในการขายหุ้น และภาษีเงินปันผล
ผมอยู่ในแวดวงการลงทุนมามากกว่า 60 ปี ไม่ว่าตัวผมเองหรือใครๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า พวกเรายังไม่เคยเห็นใคร แม้แต่ในช่วงที่กำไรจากการขายหุ้นถูกหักภาษีถึง 39.9 เปอร์เซ็นต์ในปี 1976-77 เลิกลงทุนเพียงเพราะต้องจ่ายภาษีจากกำไรที่ทำได้ คนเราลงทุนเพื่อให้ได้เงิน และภาษีก็ไม่เคยทำให้พวกเขาถอยหนี
พวกที่เถียงว่าภาษีที่สูงขึ้นจะทำให้การจ้างงานลดลง ผมจะบอกให้ว่า มีตำแหน่งงานเกือบ 40 ล้านตำแหน่ง ถูกว่าจ้างระหว่างปี 1980 ถึงปี 2000 ซึ่งคุณก็คงรู้ดีว่าอะไรเกิดขึ้นระหว่างนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ อัตราภาษีที่ต่ำลง และการจ้างงานที่ลดลง
ตั้งแต่ปี 1992 กรมสรรพากรได้รวบรวมข้อมูลของคนอเมริกัน 400 คนที่เสียภาษีสูงสุด ในปี 1992 ปีเดียว คน 400 คนนี้มีรายได้รวมกัน 16,900 ล้านเหรียญ และจ่ายภาษีคิดเป็น 29.2 เปอร์เซ็นต์ของเงินจำนวนดังกล่าว ในปี 2008 รายได้รวมของ 400 คนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 90,900 ล้านเหรียญ เฉลี่ยแล้ว 227.4 ล้านเหรียญต่อคน แต่อัตราภาษีที่พวกเขาต้องเสียกลับลดลงเหลือ 21.5 เปอร์เซ็นต์
ภาษีที่ผมอ้างถึงในที่นี้ หมายถึงภาษีที่ต้องจ่ายให้กับรัฐบาลกลาง แต่เชื่อได้เลยว่าภาษีประกันสังคมของ 400 คนนี้ ไม่ได้มากเหมือนกับรายได้ของพวกเขาอย่างแน่นอน ที่จริงแล้ว 88 จาก 400 คนที่ว่า ไม่ได้รับค่าจ้างเลย แต่พวกเขามีรายได้จากกำไรในการลงทุน พี่ๆ น้องๆ ของผมบางคน อาจไม่ชอบทำงาน แต่พวกเขาชอบที่จะลงทุน (ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น)
ผมรู้จักมหาเศรษฐีจำนวนมาก พวกเขาส่วนใหญ่ เป็นคนที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย พวกเขารักอเมริกา และซาบซึ้งในโอกาสที่ประเทศนี้ให้กับเขา หลายคนได้มาร่วมโครงการ “สัญญาว่าจะให้” ของผม โดยรับปากว่าจะบริจาคเงินส่วนใหญ่ของพวกเขาให้กับการกุศล พวกเขาส่วนใหญ่แทบไม่สนใจหากจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เพื่อนร่วมชาติกำลังเดือดร้อน
สมาชิกสภาคองเกรส 12 คน กำลังจะทำหน้าที่อันสำคัญยิ่ง คือจัดระเบียบการเงินของประเทศนี้เสียใหม่ พวกเขาได้รับคำแนะนำให้เขียนแผนระยะยาว ซึ่งจะช่วยลดภาระการใช้จ่ายของชาติเราใน 10 ปีข้างหน้า ให้เหลือ 1.5 ล้านล้านเหรียญ แต่พวกเขาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแผนลดภาษีให้ได้มากกว่านั้น
คนอเมริกันกำลังสูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถของคองเกรสในการจัดการกับปัญหาการใช้จ่ายของชาติ มีแต่การกระทำที่เร่งด่วน จริงแท้ และยั่งยืนเท่านั้น ที่จะขจัดความระแวงสงสัยหรือความสิ้นหวังออกไปจากจิตใจของอเมริกันชน ความรู้สึกเชื่อมั่นเท่านั้น ที่จะสร้างความจริงขึ้นมาได้
งานแรกของสมาชิกสภาฯ 12 คน คือให้คำมั่นสัญญาในสิ่งที่แม้แต่คนรวยก็ทำไม่ได้ คือสัญญากว่าจะประหยัดเงินให้ได้มากๆ จากนั้น สมาชิกสภาฯ ทั้ง 12 คน จึงควรหันไปพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับรายได้ ผมอยากให้ อัตราภาษีที่คนอเมริกัน 99.7 เปอร์เซ็นต์ ต้องจ่ายยังคงเดิม แต่ควรลดเปอร์เซ็นต์ของรายได้ที่ลูกจ้างต้องจ่ายเป็นภาษีประกันสังคมลง 2 เปอร์เซ็นต์ การลดลงนี้จะเป็นการช่วยเหลือคนจนและคนชั้นกลาง ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างยิ่ง
แต่สำหรับคนที่รายได้เกิน 1 ล้านเหรียญ ซึ่งมีอยู่ 236,883 ครัวเรือนในปี 2009 ผมเสนอให้ขึ้นภาษีทันที ในส่วนของรายได้ที่เกิน 1 ล้านเหรียญ ซึ่งแน่นอนว่าต้องรวมภาษีจากกำไรจากการขายหุ้นและเงินปันผลด้วย และสำหรับคนที่รายได้เกิน 10 ล้านเหรียญ ซึ่งมีอยู่ 8,274 คนในปี 2009 ผมแนะนำให้ขึ้นอัตราภาษีขึ้นไปอีก
เพื่อนๆ ของผมและตัวผมได้รับการเอาอกเอาใจมากพอแล้วจากสภาคองเกรสที่แสนจะเป็นมิตรกับมหาเศรษฐีมาโดยตลอด ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลของเราจะต้องทำให้เกิดการ “เสียสละร่วมกัน” อย่างแท้จริงเสียที
วอร์เรน อี บัฟเฟตต์ ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารของ เบิร์คไชร์ แฮธาเวย์
[เนื้อหาข้างต้น เป็นสารของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ออกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2011 ผมได้อ่านในเช้าวันที่ 15 ส.ค. แล้วถึงกับขนลุก ชอบมากๆ จึงรีบแปลจากเว็บไซต์ของ New York Times อยากให้คนไทยได้อ่านเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วเอาลงบล็อกโดยพลัน ....มีใครคิดเหมือนผมบ้าง ผู้ชายคนนี้ ยิ่งใหญ่เหนือคำบรรยายจริงๆ ครับ]
หยุดเอาใจมหาเศรษฐีเสียที
สารจาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” วันที่ 14 สิงหาคม 2011
ผู้นำประเทศของเรา ได้ออกมาเรียกร้องให้ประชาชน “เสียสละร่วมกัน” แต่ในคำขอนั้น พวกเขากลับยกเว้นตัวผมเอาไว้ ผมได้สอบถามไปยังเพื่อนมหาเศรษฐีหลายคนว่าพวกเขาคิดว่าตัวเองจะต้องเสียอะไรบ้างจากคำขอดังกล่าว แต่ปรากฏว่า ไม่มีใครไปแตะต้องพวกเขาเช่นกัน
ในขณะที่คนจนและคนชั้นกลางออกไปสู้รบในอัฟกานิสถาน และคนอเมริกันส่วนใหญ่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาเงินมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มหาเศรษฐีอย่างพวกเรากลับได้รับยกเว้นภาษีเป็นกรณีพิเศษ
พวกเราบางคนเป็นผู้จัดการกองทุนซึ่งทำรายได้หลายพันล้านเหรียญจากหยาดเหงื่อของผู้ใช้แรงงานมากมาย แต่กลับได้รับอนุญาตให้จัดประเภทรายได้ของเราเป็น “รายได้ที่ได้รับการยกเว้น” ซึ่งช่วยให้ลดภาษีได้ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ พวกเราหลายคนถือหุ้นไว้เพียง 10 นาที และทำกำไรได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ โดยเสียภาษีเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ราวกับเป็นนักลงทุนระยะยาว
สิ่งเหล่านี้คือพรที่เราได้รับ จากพวกที่ออกกฎหมายในวอชิงตัน ซึ่งรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องปกป้องเรา ราวกับพวกเราเป็นนกฮูกที่กำลังถูกไล่ล่าหรือสัตว์อะไรบางอย่างที่กำลังจะสูญพันธุ์
ปีที่แล้ว ใบเสร็จภาษีทั้งหมดของผม ประกอบด้วยภาษีเงินได้ และภาษีอื่นๆ ที่เสียในนามของผม รวมแล้วเป็นจำนวน 6,938,744 ดอลล่าร์ ฟังดูเหมือนเป็นเงินมากมาย แต่อัตราภาษีที่ผมจ่ายไปนั้นอยู่ในระดับ 17.4 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับลูกน้องอีก 20 คนที่นั่งอยู่ในสำนักงานของผม ซึ่งเสียภาษีในอัตรา 33 ถึง 41 เปอร์เซ็นต์ เฉลี่ยแล้ว 36 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
ถ้าคุณใช้เงินทำเงิน แบบที่เพื่อนมหาเศรษฐีของผมทำ อัตราภาษีที่คุณต้องจ่ายจะยิ่งน้อยกว่านี้เสียอีก แต่ถ้าคุณทำงานเป็นลูกจ้าง คุณกลับต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าผม โดยมากแล้วจะสูงกว่ามากทีเดียว
การจะเข้าใจในเรื่องนี้ได้ คุณต้องวิเคราะห์ที่มาของรายได้ของรัฐบาลเสียก่อน ในปีที่แล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของรัฐบาลมาจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเงินประกันสังคม เหล่ามหาเศรษฐีจ่ายภาษีแค่ 15 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด แต่แทบไม่ต้องจ่ายประกันสังคมเลย ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับคนชั้นกลาง ที่โดยส่วนใหญ่แล้ว อยู่ในกลุ่มที่ต้องเสียภาษี 15 เปอร์เซ็นต์ ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังต้องรับกรรมด้วยการเสียภาษี ประกันสังคมจำนวนมาก
ย้อนหลังกลับไปในทศวรรษที่ 1980 และ 1990 อัตราภาษีสำหรับคนรวยยังสูงกว่านี้มาก เปอร์เซ็นต์ของภาษีที่ผมต้องเสียถือว่าอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับคนทั้งหมด บางทฤษฎีถึงกับบอกว่าผมควรเลิกลงทุน เพราะยิ่งลงทุนมากก็ยิ่งต้องเสียภาษีมากขึ้นในอัตราก้าวหน้า ทั้งภาษีจากกำไรในการขายหุ้น และภาษีเงินปันผล
ผมอยู่ในแวดวงการลงทุนมามากกว่า 60 ปี ไม่ว่าตัวผมเองหรือใครๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า พวกเรายังไม่เคยเห็นใคร แม้แต่ในช่วงที่กำไรจากการขายหุ้นถูกหักภาษีถึง 39.9 เปอร์เซ็นต์ในปี 1976-77 เลิกลงทุนเพียงเพราะต้องจ่ายภาษีจากกำไรที่ทำได้ คนเราลงทุนเพื่อให้ได้เงิน และภาษีก็ไม่เคยทำให้พวกเขาถอยหนี
พวกที่เถียงว่าภาษีที่สูงขึ้นจะทำให้การจ้างงานลดลง ผมจะบอกให้ว่า มีตำแหน่งงานเกือบ 40 ล้านตำแหน่ง ถูกว่าจ้างระหว่างปี 1980 ถึงปี 2000 ซึ่งคุณก็คงรู้ดีว่าอะไรเกิดขึ้นระหว่างนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ อัตราภาษีที่ต่ำลง และการจ้างงานที่ลดลง
ตั้งแต่ปี 1992 กรมสรรพากรได้รวบรวมข้อมูลของคนอเมริกัน 400 คนที่เสียภาษีสูงสุด ในปี 1992 ปีเดียว คน 400 คนนี้มีรายได้รวมกัน 16,900 ล้านเหรียญ และจ่ายภาษีคิดเป็น 29.2 เปอร์เซ็นต์ของเงินจำนวนดังกล่าว ในปี 2008 รายได้รวมของ 400 คนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 90,900 ล้านเหรียญ เฉลี่ยแล้ว 227.4 ล้านเหรียญต่อคน แต่อัตราภาษีที่พวกเขาต้องเสียกลับลดลงเหลือ 21.5 เปอร์เซ็นต์
ภาษีที่ผมอ้างถึงในที่นี้ หมายถึงภาษีที่ต้องจ่ายให้กับรัฐบาลกลาง แต่เชื่อได้เลยว่าภาษีประกันสังคมของ 400 คนนี้ ไม่ได้มากเหมือนกับรายได้ของพวกเขาอย่างแน่นอน ที่จริงแล้ว 88 จาก 400 คนที่ว่า ไม่ได้รับค่าจ้างเลย แต่พวกเขามีรายได้จากกำไรในการลงทุน พี่ๆ น้องๆ ของผมบางคน อาจไม่ชอบทำงาน แต่พวกเขาชอบที่จะลงทุน (ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น)
ผมรู้จักมหาเศรษฐีจำนวนมาก พวกเขาส่วนใหญ่ เป็นคนที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย พวกเขารักอเมริกา และซาบซึ้งในโอกาสที่ประเทศนี้ให้กับเขา หลายคนได้มาร่วมโครงการ “สัญญาว่าจะให้” ของผม โดยรับปากว่าจะบริจาคเงินส่วนใหญ่ของพวกเขาให้กับการกุศล พวกเขาส่วนใหญ่แทบไม่สนใจหากจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เพื่อนร่วมชาติกำลังเดือดร้อน
สมาชิกสภาคองเกรส 12 คน กำลังจะทำหน้าที่อันสำคัญยิ่ง คือจัดระเบียบการเงินของประเทศนี้เสียใหม่ พวกเขาได้รับคำแนะนำให้เขียนแผนระยะยาว ซึ่งจะช่วยลดภาระการใช้จ่ายของชาติเราใน 10 ปีข้างหน้า ให้เหลือ 1.5 ล้านล้านเหรียญ แต่พวกเขาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแผนลดภาษีให้ได้มากกว่านั้น
คนอเมริกันกำลังสูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถของคองเกรสในการจัดการกับปัญหาการใช้จ่ายของชาติ มีแต่การกระทำที่เร่งด่วน จริงแท้ และยั่งยืนเท่านั้น ที่จะขจัดความระแวงสงสัยหรือความสิ้นหวังออกไปจากจิตใจของอเมริกันชน ความรู้สึกเชื่อมั่นเท่านั้น ที่จะสร้างความจริงขึ้นมาได้
งานแรกของสมาชิกสภาฯ 12 คน คือให้คำมั่นสัญญาในสิ่งที่แม้แต่คนรวยก็ทำไม่ได้ คือสัญญากว่าจะประหยัดเงินให้ได้มากๆ จากนั้น สมาชิกสภาฯ ทั้ง 12 คน จึงควรหันไปพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับรายได้ ผมอยากให้ อัตราภาษีที่คนอเมริกัน 99.7 เปอร์เซ็นต์ ต้องจ่ายยังคงเดิม แต่ควรลดเปอร์เซ็นต์ของรายได้ที่ลูกจ้างต้องจ่ายเป็นภาษีประกันสังคมลง 2 เปอร์เซ็นต์ การลดลงนี้จะเป็นการช่วยเหลือคนจนและคนชั้นกลาง ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างยิ่ง
แต่สำหรับคนที่รายได้เกิน 1 ล้านเหรียญ ซึ่งมีอยู่ 236,883 ครัวเรือนในปี 2009 ผมเสนอให้ขึ้นภาษีทันที ในส่วนของรายได้ที่เกิน 1 ล้านเหรียญ ซึ่งแน่นอนว่าต้องรวมภาษีจากกำไรจากการขายหุ้นและเงินปันผลด้วย และสำหรับคนที่รายได้เกิน 10 ล้านเหรียญ ซึ่งมีอยู่ 8,274 คนในปี 2009 ผมแนะนำให้ขึ้นอัตราภาษีขึ้นไปอีก
เพื่อนๆ ของผมและตัวผมได้รับการเอาอกเอาใจมากพอแล้วจากสภาคองเกรสที่แสนจะเป็นมิตรกับมหาเศรษฐีมาโดยตลอด ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลของเราจะต้องทำให้เกิดการ “เสียสละร่วมกัน” อย่างแท้จริงเสียที
วอร์เรน อี บัฟเฟตต์ ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารของ เบิร์คไชร์ แฮธาเวย์
[เนื้อหาข้างต้น เป็นสารของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ออกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2011 ผมได้อ่านในเช้าวันที่ 15 ส.ค. แล้วถึงกับขนลุก ชอบมากๆ จึงรีบแปลจากเว็บไซต์ของ New York Times อยากให้คนไทยได้อ่านเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วเอาลงบล็อกโดยพลัน ....มีใครคิดเหมือนผมบ้าง ผู้ชายคนนี้ ยิ่งใหญ่เหนือคำบรรยายจริงๆ ครับ]