ผม assume ว่าคุณรู้จักดีแล้วว่า IRR คืออะไร
สูตรก็ง่ายๆ
= IRR(Arrays ปีที่ 1 ถึงปีที่ N ที่ต้องการคำนวณ)
เช่น
=IRR(A9:A15) ข้อมูลแนวตั้ง
=IRR(F10:L10) ข้อมูลแนวนอน
IRR มักใช้ในการ forecast การลงทุนทำธุรกิจอย่างกว้างๆ หรือคำนวณผลตอบแทนของกรมธรรม์ฯ ที่เงินเข้าออกสมำ่เสมอ
เงื่อนไขการใช้ของ function นี้ คือ
- ระยะห่างของการลงทุนและการรับผลตอบแทน นับเป็นปีละครั้ง
- สิ่งที่เป็นการลงทุน initial outlay ต้องจ่้ายลงทุน หรือว่ามีขาดทุนที่ต้องหักเงินออกออกจากกระเป๋า ใส่ตัวเลขติดลบ
- กำไรที่จ่ายให้มากระเป๋าเราใส่ตัวเลขธรรมดา (บวก)
เช่น
ถ้าเป็นประกันสะสมทรัพย์ ก็มีเงินปลอบใจระหว่างรอ กับเงินคืนงวดสุดท้าย ใส่ค่าเป็นบวก
เราส่งเบี้ยประกัน จ่ายค่าเป็นลบ
โดนตีหัว เคลมประกัน เราได้เงิน ...ใส่ค่าเป็นบวก
อันนี้ไม่ต้องเผื่อก็ได้ครับ เป็นลาง...
- ถ้าปีเดียวกัน มีทั้ง "ได้และจ่าย" เราจ่ายลงทุน/ส่งเบี้ย และเรารับเงินปันผล/ได้กำไรจากธุรกิจ/เงินคืน เอาตัวเลขมาหักลบกันก่อน
...........ซึ่งก็เหมือนการคำนวณ IRR ตอนที่เรามาจับคำนวณ ก่อนที่จะจับไปคูณ discount rate แต่ละปี
cash outflow ติดลบ, cash inflow เป็นบวก
- ถ้าปีมากๆ บางทีคำนวณไม่ออก ให้ใส่ตัวเลข guess อะไรก็ได้ (xx%) แม้จะผิด excel จะทำให้ออกมาถูกเอง
เช่น
=IRR(A9:A15,15%) ข้อมูลแนวตั้ง
=IRR(F10:L10,0.51) ข้อมูลแนวนอน
ส่วน XIRR เป็นการคำนวณที่การนำเงินเข้าไปไม่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะใส่้เงินลงทุน หรือได้กำไร
แต่การทีไม่สมำ่เสมอ จึงคำนวณโดยเอา cashflow มาสัมพันธ์กับจำนวนวัน ถ้าไม่เต็มปี ก็จะเฉลี่ยให้เปรียบเสมือน 365 วัน
สูตรมันจึงประกอบด้วยตัวเลข 2 ชุด อย่างคุณ blueplanet ว่า
= XIRR (Array เงินเข้าหรือออก, Array วันที่, guess value)
เช่น
=IRR(A9:A15,B9:B1515%) ข้อมูลแนวตั้ง
=IRR(F10:L10,F11:L11,0.51) ข้อมูลแนวนอน
หลักการ เงินออก "ค่าลบ" เงินเข้า "ค่าบวก" เหมือนเดิม
XIRR ผมก็เพิ่งมาเรียนรู้ใน ThaiVI นี่แหละครับ
ก่อนหน้า่นี้ ผมทำเองด้วยการคำนวณวันที่ ว่าผ่านไปแล้วกี่วันของปี แล้วจับนำมันมาเฉลี่ย
พอมี XIRR สั้นนิดเดียวออกมาเลย
ผมใช้วิธี manual ในการคำนวณ IRR port ของผม เพราะผมเป็นมนุษย์เงินเดือน port ผมเติมเงินลงไปทุกเดือน แล้วได้โบนัสกับปันผลมา ผมก็เอามาลงหมด ดังนั้นใน 1 ปี ยังไม่นับครั้งที่มีการปรับพอร์ต ผมจึงซื้อไม่ต่ำกว่า 12 ครั้งแน่นอน
รวมถึงหุ้นแต่ละตัว ถ้าผมซื้อหลายครั้ง ผมจะแยกกันคำนวณ เพราะผมถือว่าการลงทุนแต่ละครั้ง ไม่ใช่การเฉลี่ยต้นทุน
ในความเป็นจริงถ้าเราขายแบบแบ่งไม่ได้ขายทิ้งครั้งเดียว broker ก็จะเอาคำนวณต้นทุนส่วนที่ซื้อก่อนออกมาขายก่อน (FIFO) ไม่ใช่ต้นทุน average
ลองเข้าไปอ่านที่เขาถกกันไว้ดูเพิ่มนะครับ
จะเข้าใจยิ่งขึ้น ลอง copy จาก help หรือ เอาไฟล์ที่หลายๆ คนทำมา แล้วลองเล่นดูแก้ตัวเลขไปมาเอง ไม่ต้องจำอะไรเลย
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=45776
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?t=44521
ที่ผมทำไว้ ตัวอย่างสมมติ
ถ้าออกไปไหนมาไหน ไม่มีตำรา แล้วยังไม่คล่อง
มีวิธีลัดในการเขียนสูตรหรือเรียนรู้ด้วยตัวเองครับ
เข้าไปใน help ของ function ที่เราต้องการเรียนรู้ ผ่าน F1 หรือระหว่าง Insert Function จะมี Link คำว่า Help on this function
เข้าไปดู แล้ว copy ตัวอย่างมาลง cell A1 ของ worksheet ว่างๆ
เราได้ตัวอย่างของจริงมาใช้หรือทดลองได้ทันทีเลย