หน้า 1 จากทั้งหมด 1

อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 17, 2011 11:55 pm
โดย dome@perth
ผมติดตามบทความของท่านอาจารย์ ดร.ภาพร
เอกอรรถพร ทาง หนังสือพิมพืกรุงเทพธุรกิจมาหลายสัปดาห์
และ คัดลอกไว้ ผมอยากเอาแบ่งปัน เผื่อเป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆบ้าง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ่านงบการเงินให้เป็น
โดย : ดร.ภาพร เอกอรรถพร
Source: bangkokbiznews.com

1. เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบหมายถึงอะไร?
“เนื้อหา สำคัญกว่ารูปแบบ Substance than Form” มีความหมายว่า รูปแบบตามกฎหมายไม่สำคัญกับการบันทึกบัญชีเท่ากับเนื้อหาทางเศรษฐกิจ นักบัญชีพร้อมจะมองข้ามรูปแบบตามกฎหมายไปหาข้อเท็จจริงทางธุรกิจทุกเมื่อ
ตัวอย่างเช่น ในการออกงบการเงิน “หน่วยงานที่เสนอรายงาน” อาจประกอบด้วยบริษัทมากกว่าหนึ่งแห่ง หากโดยเนื้อหาแล้ว บริษัทเหล่านั้นคือบริษัทเดียวกัน แม้ว่าจะเป็นคนละนิติบุคคลกัน (ตามรูปแบบของกฎหมาย) ทั้งนี้ เนื่องจากกฎบัญชีกำหนดว่า “บริษัทใหญ่” ต้องนำงบการเงินของ “บริษัทย่อย” มารวมเพื่อจัดทำ “งบการเงินรวม” เมื่อบริษัทใหญ่สามารถ “ควบคุม” นโยบายการเงินและการดำเนินงานของบริษัทย่อยได้
2.ทำไมนักบัญชีจึงต้องจู้จี้กับ “งวดบัญชี” หรือ “งวดการรายงานทางการเงิน” หรือ “ความถี่ของการรายงาน”?
เพราะ งวดบัญชีคือเส้นแบ่งเวลาที่จะทำให้นักบัญชีสามารถสรุปผลการดำเนินงานของ บริษัทเพื่อออกงบการเงิน ลองมโนภาพถึงเส้นเวลาที่ไม่มีวันสิ้นสุด เรารู้ว่าบริษัทเริ่มต้นเมื่อไร แต่ไม่รู้ว่าบริษัทจะจบลงเมื่อไร ถ้านักบัญชีไม่กำหนด “งวดบัญชี” ไว้ นักบัญชีก็จะต้องรอให้บริษัทหมดอายุขัยก่อนที่จะสามารถรายงานผลให้นักลงทุน ทราบ บริษัทบางบริษัทมีอายุเป็นร้อยปี (แล้วนักลงทุนอายุไม่ถึงร้อยอย่างเราจะรอไหวหรือ?) นักบัญชีจึงจำเป็นต้องสร้างกลไกให้สามารถสรุปผลทางบัญชีเพื่อรายงานให้เจ้า ของบริษัททราบเป็นระยะๆ โดยนำเวลามาแบ่งออกเป็นช่วงๆ ช่วงละเท่าๆ กัน

3. “กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม” ประกอบด้วยรายการอะไร?
“กำไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จ” หมายถึง กำไรขาดทุนทุกประเภทที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด ดังนั้น “กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม” จึงแยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม นั่นคือ

กลุ่มที่หนึ่ง กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่เกิดจากการดำเนินงานในระหว่างงวดของบริษัท กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จประเภทนี้คำนวณได้จากการนำรายได้ (จากการดำเนินงานในระหว่างงวด) มาหักค่าใช้จ่าย (ในการดำเนินงานระหว่างงวด) เพื่อหา “กำไรขาดทุนสุทธิ” ซึ่งถือเป็นกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ “หลัก”

กลุ่มที่สอง กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่เกิดจากการปรับมูลค่าของสินทรัพย์หรือหนี้สินตามวิธี การบัญชี ณ วันสิ้นงวด แต่กฎบัญชีไม่อนุญาตให้บริษัทนำกำไรขาดทุนเหล่านี้ไปแสดงรวมกับรายการใน กลุ่มที่หนึ่ง เช่น กำไรที่เกิดจากการเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ หรือกำไรจากการแปลงค่างบการเงิน กำไรขาดทุนเหล่านี้รวมเรียกว่า “กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น”

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 17, 2011 11:56 pm
โดย dome@perth
4. “งบการเงินสำหรับบุคคลภายนอก” แตกต่างจาก “งบการเงินเพื่อผู้บริหาร” อย่างไร?

งบ การเงินที่ออกให้บุคคลภายนอก (Financial Statements) เน้นการให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้และเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน เพื่อให้นักลงทุนสามารถนำงบการเงินนั้นไปใช้ในการตัดสินใจซื้อหุ้นหรือให้ บริษัทกู้ยืมเงิน ดังนั้น งบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกจึงต้องอยู่ภายใต้ “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” (ซึ่งรวมถึง “แม่บทการบัญชี” และ “มาตรฐานการบัญชี”) ที่ออกโดยผู้เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี นอกจากนั้น งบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกยังต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่ มีหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของนักลงทุน เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์ และหน่วยงานกำกับดูแลอื่น เช่น กระทรวงพาณิชย์หรือธนาคารแห่งประเทศไทย

ผลที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทต้องออกงบการเงินให้แก่บุคคลภายนอกตามรูป แบบที่กำหนดโดยกฎบัญชีหรือข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้การรวมรายการ (การนำบัญชีย่อยๆ หลายบัญชีมารวมกัน) และชื่อบัญชีที่ปรากฏในงบแตกต่างไปจากรายการที่แสดงในงบการเงินเพื่อผู้ บริหาร นอกจากนั้น ข้อมูลที่ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุน เช่น รายละเอียดปลีกย่อยและจำนวนเศษสตางค์ ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาแสดงให้บุคคลภายนอกทราบ

ส่วนงบการเงินเพื่อผู้บริหาร (Management Accounts) เป็นงบการเงินที่ใช้เป็นการภายในเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารและควบคุม ดังนั้น รายการที่แสดงในงบการเงินเพื่อผู้บริหารจึงอาจมีรายละเอียดหรือมีการจำแนก หมวดหมู่ที่แตกต่างไปจากงบการเงินที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป นอกจากนั้น งบการเงินเพื่อผู้บริหารไม่จำเป็นต้องแสดงหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะผู้บริหารทราบความเป็นไปภายในบริษัทอยู่แล้ว

เนื่องจากบริษัทใช้งบการเงินเพื่อผู้บริหารเป็นฐานในการออกงบการเงิน ให้กับบุคคลภายนอก ดังนั้น งบการเงินเพื่อผู้บริหารกับงบการเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกจึงเป็นสิ่งเดียว กัน จะแตกต่างกันก็แต่รูปแบบที่นำเสนอ

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 17, 2011 11:56 pm
โดย dome@perth
5. ทำอย่างไรจึงจะมั่นใจว่างบการเงินที่บริษัทนำเสนอแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่เชื่อถือได้?
งบ การเงินที่ออกให้บุคคลภายนอกต้องตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับ อนุญาต (คือผู้สอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่วิชาชีพกำหนด) ความเห็นของผู้สอบบัญชีจะแสดงอยู่หน้างบการเงิน (เป็นแผ่นแรกก่อนที่จะถึงงบการเงิน) เรียกว่า “รายงานของผู้สอบบัญชี”

“การตรวจสอบ” งบการเงินจะเป็นไปตาม “มาตรฐานการสอบบัญชี” ซึ่งการตรวจสอบนั้นก็เพื่อให้แน่ใจว่างบการเงินที่บริษัทออก แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานอย่าง “ถูกต้องตามควร” และเป็นไปตาม “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” (ซึ่งแต่เดิมรู้จักกันในชื่อ “มาตรฐานการบัญชี” แต่ในปัจจุบันมาตรฐานการรายงานทางการเงินมีความหมายที่กว้างกว่า และครอบคลุมกฎบัญชีหลายชนิด เป็นต้นว่า แม่บทการบัญชี “มาตรฐานการบัญชี” “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” การตีความมาตรฐานการบัญชี และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน)

ตามปกติ รายงานของผู้สอบบัญชีจะมีสามวรรค ถ้ารายงานผู้สอบบัญชีมีมากกว่าหรือน้อยกว่าสามวรรค ผู้ใช้งบการเงินต้องพิจารณางบการเงินนั้นเป็นพิเศษ เพราะแสดงว่าผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบงบการเงินนั้น ได้พบอะไรบางอย่างที่ทำให้ต้องออกรายงานต่างไปจากปกติ

6. จริงหรือไม่ที่ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบการฉ้อฉลในบริษัท?
ผู้ สอบบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบว่างบการเงินที่บริษัทออกเป็นไปตามข้อกำหนดใน “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” หรือไม่ ผู้สอบบัญชีไม่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบการฉ้อฉลในบริษัท แต่ระหว่างการตรวจสอบ หากผู้สอบบัญชีตรวจพบข้อสงสัย ผู้สอบบัญชีต้อง “ตรวจสอบเพิ่มเติมจนเป็นที่พอใจ” ก่อนที่จะสามารถให้ความเห็นต่องบการเงินได้ เพราะการฉ้อฉลอาจทำให้งบการเงินของบริษัทไม่แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนิน งานที่ “ถูกต้องตามควร”

ข้อกำหนดของการสอบบัญชีกล่าวไว้ว่า ผู้สอบบัญชีไม่มีความรับผิดชอบในการป้องกันการทุจริตหรือข้อผิดพลาด แต่การตรวจสอบประจำปีอาจยับยั้งการทุจริตและข้อผิดพาดได้

7. อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt-equity Ratio) คืออะไร?
เมื่อ เราทราบว่าสินทรัพย์ทั้งสิ้นของบริษัทต้องนำมาแบ่งกันระหว่างเจ้าหนี้กับผู้ ถือหุ้น นักการเงินจึงสร้างอัตราส่วนขึ้นมาจำนวนหนึ่ง เพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัดถึงสัดส่วนของหนี้สินต่อทุน (เรียกสั้นๆ ว่า ดีอีเรโช) โดยนำเอา “หนี้สินทั้งสิ้นหารส่วนทุนทั้งสิ้น”

ตัวอย่างเช่น 200,000/100,000 = 2:1 หมายความว่าบริษัทนั้นมีหนี้สินสองเท่าของส่วนทุน นักลงทุนดูดีอีเรโช เพื่อพิจารณาความเสี่ยงในการลงทุน ถ้าดีอีเรโชสูง ก็หมายความว่าบริษัทบริหารงานด้วยหนี้ หรือสินทรัพย์ในบริษัทเกิดขึ้นจากการกู้ยืมเป็นหลัก เมื่อบริษัทได้รายได้จากการดำเนินงาน บริษัทต้องนำรายได้ดังกล่าวมาจ่ายดอกเบี้ย ถ้าหนี้สูง ดอกเบี้ยอาจสูงจนทำให้ผู้ถือหุ้นไม่ได้รับผลตอบแทนต่อการลงทุนเต็มเม็ดเต็ม หน่วย

ดีอีเรโชยังชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการกู้ยืมเงินเพิ่มเติม ถ้าดีอีเรโชสูง โอกาสในการกู้ยืมเงินเมื่อจำเป็นอาจมีจำกัด และเป็นเหตุให้เกิดปัญหาสภาพคล่องได้ และหากบริษัทเกิดปัญหาสภาพคล่อง ทางเลือกที่เหลืออยู่จะกลายเป็นการออกหุ้นทุนเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ในการลงทุนได้ (สัดส่วนการถือหุ้นอาจลดลงถ้าไม่มีเงินเพียงพอมาซื้อหุ้นใหม่)

สำหรับเจ้าหนี้ ดีอีเรโชที่ มีจำนวนสูงแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในการให้บริษัทกู้ยืมเงินเพิ่มเติม เพราะหากบริษัทมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยมากๆ บริษัทอาจไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำไปบริหารงานและล้มละลายในที่สุด หากบริษัทล้มละลาย การเรียกร้องสินทรัพย์ก็เป็นไปได้ยาก เพราะต้องแบ่งกับเจ้าหนี้หลายฝ่าย เจ้าหนี้อาจไม่ได้หนี้คืนเต็มเม็ดเต็มหน่วย

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 17, 2011 11:57 pm
โดย dome@perth
8. การเรียงลำดับรายการภายใต้ “สินทรัพย์” มีหลักเกณฑ์อย่างไร?
ใน ประเทศไทย “สินทรัพย์”จะเรียงลำดับจากรายการที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วที่สุด และแน่นอนที่สุด เช่น เงินสด เงินลงทุน ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือ ไปจนถึงรายการที่ไม่อาจเปลี่ยนเป็นเงินสดแต่จะเปลี่ยนเป็นบริการแทน เช่น ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า

รูปแบบการเรียงลำดับรายการในงบแสดงฐานะการเงินของแต่ละประเทศอาจแตก ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวคิดและข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ ในภาคพื้นยุโรป สินทรัพย์จะเรียงลำดับจาก “ไม่หมุนเวียน” ไปสู่ “หมุนเวียน” ในประเทศไทย สินทรัพย์หมุนเวียนจะแสดงอยู่ก่อนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนตามรูปแบบ ของอเมริกัน อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังมาตรฐานบัญชีของประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากทางยุโรป ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจถ้ารูปแบบงบการเงินของประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

9. “เงินลงทุนเพื่อค้า” ต่างจาก “เงินลงทุนเผื่อขาย” อย่างไร?
“เงิน ลงทุนเพื่อค้า” มีไว้เพื่อการค้าจริงๆ (ชื่อก็บอกอยู่แล้ว) บริษัทบางบริษัทมีอาชีพในการค้าขายหลักทรัพย์ (หุ้นทุนหรือหุ้นกู้ที่มีสภาพคล่องจนสามารถซื้อง่ายขายได้ทันที) บริษัทจึงทำมาค้าขายหลักทรัพย์โดยการซื้อมาขายไปตลอดเวลาเพื่อตัดกำไรช่วง สั้น การทำมาค้าขายหลักทรัพย์ของบริษัทเหล่านี้มีรูปแบบชัดเจน บริษัทอาจทำการจัดกลุ่มสินทรัพย์ตามลักษณะความเสี่ยงและซื้อขายคละกันเพื่อ ลดความเสี่ยงในการขาดทุน หรือมีการบริหารจัดการโดยการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างเป็นระบบ

“เงินลงทุนเผื่อขาย” มีไว้ขายเพื่อเก็งกำไรเหมือนกัน (ปกติจะไม่อยู่ในลักษณะที่เป็นอาชีพ) บริษัททั่วไปมักนำเงินที่เหลือใช้ไปลงทุนระยะสั้นในหลักทรัพย์เผื่อว่า เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงิน บริษัทจะได้นำหลักทรัพย์ออกขายได้ทันที โดยเฉพาะเวลาที่ราคาหุ้นกำลังขึ้น เพราะบริษัทอาจได้กำไรจากการลงทุนในขณะที่รอใช้เงินมากกว่าการนำเงินไปฝาก ธนาคารที่มักให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า

10. ค่าเผื่อคืออะไร?
ค่า เผื่อคือ “บัญชีหัก” หรือบัญชีสินทรัพย์ซึ่งมียอดอยู่ทางด้านเครดิต (ตามปกติสินทรัพย์จะมียอดทางด้านเดบิต) ค่าเผื่อเป็นบัญชีที่มีไว้หักจากสินทรัพย์บัญชีอื่น เช่น ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนจะเป็นบัญชีที่นำไปหักจากบัญชีเงินลงทุน เนื่องจากราคาของเงินลงทุนได้ลดลง แต่บริษัทไม่ต้องการที่จะสูญเสียข้อมูลเดิมเกี่ยวกับเงินลงทุน จึงนำบัญชีค่าเผื่อมาหักจากบัญชีเงินลงทุนเพื่อแสดงยอดสุทธิ แทนที่จะลดจำนวนเงินลงทุนลงตรงๆ การทำอย่างนี้ทำให้เราได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 17, 2011 11:57 pm
โดย dome@perth
11. บัญชีปรับมูลค่าคืออะไร?
บัญชี ที่จะนำมาปรับมูลค่าสินทรัพย์หรือหนี้สินให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง เนื่องจากมูลค่าที่แสดงอยู่ภายใต้บัญชีสินทรัพย์หรือหนี้สินนั้นเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม แต่บริษัทต้องการแสดงยอดเดิมไว้เพื่อใช้อ้างอิงในภายหน้า จึงอาศัยบัญชีปรับมูลค่ามาบวกหรือลบบัญชีสินทรัพย์หรือหนี้สิน เพื่อให้ได้ยอดสุทธิตามมูลค่าที่ควรเป็นขณะที่ออกงบการเงิน

12. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญคืออะไร?
เมื่อ มีการขายเชื่อก็ย่อมจะมีหนี้สูญ บริษัทต้องประมาณ “หนี้สงสัยจะสูญ” ที่น่าคาดว่าจะเกิดจากลูกหนี้ที่บันทึกไว้ (ดูจากประสบการณ์ในอดีต หรืออัตราหนี้สูญที่เกิดกับอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน) บริษัทต้องเครดิต“ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ”เพื่อนำมาหักจากบัญชี “ลูกหนี้” ในงบแสดงฐานะการเงินตามเกณฑ์คงค้าง โดยไม่ต้องรอให้ลูกหนี้กลายเป็นบุคคลล้มละลายก่อน

ข้อสังเกต นักบัญชีใช้คำว่า “หนี้สงสัยจะสูญ” เมื่อทำการประมาณ “หนี้สูญ” และบันทึกบัญชี “หนี้สงสัยจะสูญ” เป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างงวด แต่นักบัญชีใช้คำว่า “หนี้สูญ” เมื่อบริษัทได้ติดตามหนี้จนถึงที่สุดแล้วไม่ได้รับชำระหนี้

13. เกณฑ์คงค้างคืออะไร?
นัก บัญชีใช้เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) ในการบันทึกบัญชี ไม่ใช่เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) เกณฑ์คงค้างทำให้นักบัญชีต้องบันทึกบัญชีเมื่อมีรายการทางธุรกิจ “เกิดขึ้น” แทนที่จะบันทึกเมื่อมีการรับหรือจ่ายเงินสด เช่น บริษัทใช้ไฟฟ้าไปแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายค่าไฟ บริษัทต้องบันทึกบัญชีค่าไฟในงวดที่ใช้ไฟโดยการ

เดบิต ค่าไฟ (ถือเป็นบัญชีค่าใช้จ่าย)
เครดิตค่าไฟฟ้าค้างจ่าย (ถือเป็นบัญชีหนี้สิน)

สรุปว่า เกณฑ์คงค้างทำให้นักบัญชีต้องบันทึก “รายได้” และ “ค่าใช้จ่าย” ในขณะเดียวกับที่บันทึก “สินทรัพย์” และ “หนี้สิน” ในงวดที่ “เกิดขึ้น” ไม่ใช่งวดที่มีการชำระเงิน เพื่อให้สามารถวัดผลกำไรขาดทุนและฐานะการเงินที่แท้จริงของบริษัท

คำว่า “เกิดขึ้น” ในทางบัญชี มีความหมายที่เฉพาะเจาะจง เช่น รายได้ “เกิดขึ้น” เมื่อกระบวนการก่อให้เกิดรายได้เสร็จสิ้นลง และค่าใช้จ่าย “เกิดขึ้น” เมื่อบริษัทได้รับประโยชน์จากค่าใช้จ่ายนั้น หรือค่าใช้จ่ายนั้นหมดประโยชน์ต่อบริษัทแล้ว

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 17, 2011 11:58 pm
โดย dome@perth
14. รายการระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันบอกอะไรแก่นักลงทุน?
รายการ ระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (เรียกสั้นๆ ว่า “รายการระหว่างกัน”) เช่น เงินให้กู้แก่กรรมการ เงินให้กู้แก่บริษัทในเครือ และลูกหนี้หรือเจ้าหนี้การค้ากับบริษัทในเครือ เป็นรายการที่นักลงทุนต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องจากรายการเหล่านี้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทำให้บริษัทสามารถ “สร้าง” รายการดังกล่าวได้โดยไม่ต้องพึ่งบุคคลที่สาม เช่น ถ้าบริษัทเรียก “ค่าบริหารจัดการ (Management Fee)” จากบริษัทในเครือและบันทึกเป็นรายได้ รายได้ดังกล่าวอาจไม่สะท้อน “ความสามารถในการดำเนินงาน” ของบริษัทอย่างแท้จริง เนื่องจากบริษัทสามารถสั่งให้บริษัทในเครือจ่ายค่าบริหารจัดการเมื่อไรและ เป็นจำนวนเท่าไรก็ได้ ดังนั้น นักลงทุนจึงควรพิจารณารายการระหว่างกันเป็นพิเศษก่อนตัดสินใจลงทุน
15. ราคาทุนของเงินลงทุนคืออะไร?
ราคา ทุนของเงินลงทุน หมายถึง จำนวนเงินที่บริษัทจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุน บวก รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการให้ได้มาซึ่งเงินลงทุนนั้น เช่น ค่าจัดการรายการ ค่านายหน้า และค่าธรรมเนียมวิชาชีพ
16. การด้อยค่าคืออะไร?
สินทรัพย์ ที่อยู่ในงบแสดงฐานะการเงิน เช่น เงินลงทุน หรือที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ อาจแสดงมูลค่าที่สูงกว่าราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด เรียก “ราคาตลาด” (หรือราคาที่เทียบเท่ากับราคาตลาดในกรณีที่สินทรัพย์ไม่มีราคาตลาดชัดๆ ซึ่งการหาราคาที่เทียบเท่ากับราคาตลาดนี้ กฎบัญชีมีวิธีการปฏิบัติที่หยุมหยิมเยอะแยะและมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตาม สถานการณ์ ในเบื้องต้นนี้ เราคงจะไม่ลงลึกลงไปให้ปวดสมอง)
ถ้า “ราคาตลาด” ของสินทรัพย์ต่ำกว่ามูลค่าที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน แสดงว่าสินทรัพย์ที่อยู่ในงบแสดงฐานะการเงินนั้นเกิดการด้อยค่า บริษัทต้องปรับมูลค่าของสินทรัพย์ลงให้เท่ากับ “ราคาตลาด” โดยนำบัญชีสินทรัพย์มาหักจากค่าเผื่อการด้อยค่า ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์สามารถปรับสูงขึ้นหรือต่ำลงได้ในงวดถัดไป หาก “ราคาตลาด” ของสินทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปอีก
17. เงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลด้อยค่าได้หรือไม่?
ตาม ปกติ เงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอาจไม่ด้อยค่าด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก รัฐบาลจะไม่ล้มละลาย (แต่ถ้ารัฐบาลไม่มีเงินจ่ายหนี้เมื่อไร เงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลก็อาจด้อยค่าได้) ประการที่สอง บริษัทตั้งใจถือพันธบัตรไปจนครบกำหนดโดยไม่ขายออกไปก่อน เพราะถ้าบริษัทถือพันธบัตรไปจนหมดอายุ บริษัทก็จะได้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นคืนตามสัญญา (ถ้ารัฐบาลไม่ล้มละลาย) เงินลงทุนนั้นก็จะไม่ด้อยค่า (เงินลงทุนในพันธบัตรที่บริษัทตั้งใจและมีความสามารถที่จะถือไปจนครบกำหนด เรียกว่า “เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด”)

แต่เงินลงทุนในพันธบัตรอาจด้อยค่าได้ ถ้าบริษัทไม่คิดจะถือพันธบัตรไปจนหมดอายุ แต่ถือไว้เผื่อจำเป็นต้องขาย (เรียกว่า “เงินลงทุนเผื่อขาย”) บังเอิญว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีแต่เพิ่มสูงขึ้น จนไม่เห็นทางว่าจะลดต่ำลงมาสู่ระดับเดิม ถ้าเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น ราคาพันธบัตรก็จะดิ่งลงจนทำให้พันธบัตรด้อยค่าได้ (เหตุที่ราคาของพันธบัตรลดลงก็เพราะ พันธบัตรจ่ายอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าคนอื่น เราเลยต้องลดราคาลงเพื่อให้ขายออก) อายุคงเหลือของพันธบัตรยิ่งยาวเท่าไร โอกาสด้อยค่าก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 12:00 am
โดย dome@perth
18. สินค้าคงเหลือควรมีจำนวนมากหรือน้อยดี?


จำนวน ของสินค้าคงเหลือในบริษัทหนึ่งๆ มักขึ้นอยู่กับลักษณะอุตสาหกรรมของบริษัทนั้น เช่น บริษัทที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะมีสินค้าคงเหลือจำนวนสูงตามลักษณะธุรกิจ แต่บริษัทที่ซื้อมาขายไปในยุคดอตคอม สินค้าคงเหลือจะมีจำนวนต่ำเนื่องจากการสื่อสารที่รวดเร็ว ทำให้การสั่งซื้อสินค้าและการจัดส่งสามารถทำได้โดยที่บริษัทไม่ต้องเก็บ สินค้าคงเหลือไว้มากนัก อย่างไรก็ตาม สินค้าที่คงเหลืออยู่ในบริษัทไม่ควรมีจำนวนแตกต่างมากจากจำนวนสินค้าคงเหลือ ถัวเฉลี่ยของบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 1:06 am
โดย Dekfaifah
พี่โดมขยันจริงๆ ขอบคุณครับ

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 8:48 am
โดย NARATE
ขอบคุณครับพี่โดม

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 9:32 am
โดย porzilla
:bow: :bow:

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 9:45 am
โดย whiteknight_p
ขอบคุณพี่โดมมากครับ
:)

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 10:16 am
โดย saichon
Dekfaifah เขียน:พี่โดมขยันจริงๆ ขอบคุณครับ
นอกจากขยันแล้วพี่โดมยังเป็นผู้มีน้ำใจงาม
เผื่อแผ่สิ่งดีๆแก่ผู้อื่นเสมอมาด้วยครับ
นับถือครับพี่ :bow:

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 10:50 am
โดย เกล้า
saichon เขียน:
Dekfaifah เขียน:พี่โดมขยันจริงๆ ขอบคุณครับ
นอกจากขยันแล้วพี่โดมยังเป็นผู้มีน้ำใจงาม
เผื่อแผ่สิ่งดีๆแก่ผู้อื่นเสมอมาด้วยครับ
นับถือครับพี่ :bow:
มาช่วยยืนยันตามพี่สายชล :D

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 11:13 am
โดย opengn
ขอบคุณมากๆเลยครับ
สำหรับคนที่อ่านในคอมแล้วปวดตา ข้อมูลพวกนี้มีในหนังสือของ ดร.ภาพร เหมือนกันนะครับ ชื่อว่า "อ่านงบการเงินให้เป็น" :D

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 11:57 am
โดย noooon010
ขอบคุณนะครับผม :D

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 12:00 pm
โดย Jeng
ขอบคุณครับ เดี๋ยวว่างๆ จะมาอ่านครับ

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 3:07 pm
โดย Ii'8N
ผมก็แฟนอ.ภาพร (fan แบบแฟนพันธุ์แท้นะครับ) ตอนแรก ก็อ่านจากในกรุงเทพธุรกิจ online ที่เป็นคอลัมน์แบบนี้ในsection ถนนนักลงทุน (น่้าจะราว 2546) ต่อมารวมเล่มเริ่มจากเล่มแรกที่อ่านเป็นจริงเป็นจัีง ก็แกะเงื่อนงบการเงินนานมาแล้ว

ตอนหลัง เลยไปรวมรวมมาว่ามีอะไรอีก ...ผมว่าเป็นการลงทุนในราคาไม่แพง ช่วยสนับสนุนให้นักเขียนไทย เขียนผลงานออกมาดีๆ แบบนี้เยอะๆ
ได้มาเกือบครบแล้ว :) ยกเว้น บัญชีศรีธนญชัยยังอยู่ในรายชื่อสินค้าหมดอยู่




http://www.se-ed.com/eshop/(A(irJBxM6QzAEkAAAAZDIyMzc4ZDAtNjIwZC00ZGMyLTgyZmEtMTgyZTkwYzQxMWI0TNAt6s5wIhvcq_cy9M9td5CNACY1))/Products/Detail.aspx?No=9786160802234&ref=author
รูปภาพ
อ่านงบการเงินให้เป็น
ดร.ภาพร เอกอรรถพร, บมจ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จัดพิมพ์, 145 บาท
หนังสือบัญชีเล่มนี้อธิบายถึงหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน เนื้อหาค่อนข้างเบ็ดเสร็จ มีการอธิบายค�าศัพท์รายการบัญชีที่แสดงในงบการเงิน ตัวอย่างงบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน และเกร็ดความรู้ต่าง ๆ จึงเหมาะส�าหรับ
นักลงทุน นักวิเคราะห์ นักบัญชี อาจารย์ และนักศึกษาที่ต้องการหนังสืออ้างอิงที่เข้าใจง่ายเกี่ยวกับการอ่านและการวิเคราะห์งบการเงินขั้นพื้นฐาน

รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ


ส่วนไฟล์แนบ เป็นบทความที่อ.ภาพรเอามาเผยแพร่อีกทาง ในวารสารวิชาชีพบัญชี แต่อ่านดูแล้วเนื้อหาเหมือนในหนังสือ (บางตอนของหนังสือ)

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 10:03 pm
โดย dome@perth
ู^^^ โอ้ขอบคุณมากครับ

กลับเมืองไทยทุกรอบ ขนแต่หนังสือมาอ่าน
เดี๋ยวรอบหน้าจะต้องอุดหนุนหนังสืออาจารย์ มาแจกเพื่อนๆหน่อยแล้วครับ

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 10:07 pm
โดย ziannoom
ขอบคุณจากใจจริงครับ

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 10:15 pm
โดย itim
ขอบคุณค่ะ

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2011 11:33 pm
โดย My House
ขอบคุณครับ

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 19, 2011 8:49 am
โดย บัวบังใบ
ขอบคุณทุกคนเลยครับที่ให้ข้อมูล

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ส.ค. 21, 2011 11:28 am
โดย dome@perth
อาทิตย์นี้มาต่อเรื่อง
ค่าเสื่อมราคา และการคิดค่าเสื่อมราคา :D

19. ค่าเสื่อมราคาสะสมคืออะไร?

คือ การสะสมของค่าเสื่อมราคาทีละงวด ๆ ตั้งแต่วันที่ได้สินทรัพย์มา
(ตามกฎบัญชี ค่าเสื่อมราคาจะเริ่มคิดเมื่อสินทรัพย์พร้อมใช้งาน
หากวันที่สินทรัพย์พร้อมใช้งานไม่ตรงกับวันที่บริษัทได้สินทรัพย์มา)
จนถึงวันที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน



20. ค่าเสื่อมราคาคืออะไร?


คือ การปันส่วนมูลค่าของสินทรัพย์ไปเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวด เพราะเมื่อบริษัทนำสินทรัพย์ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์
สินทรัพย์นั้นจะเสื่อมสภาพ และกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องบันทึกในงบกำไรขาด ทุน (หมายถึงค่าใช้จ่ายได้ “เกิดขึ้น”)
ใช้ไปงวดหนึ่งก็ปันส่วนไปเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่ง จะยกเว้นแต่ที่ดินที่ไม่มีการเสื่อมค่า (แต่อาจเกิดการด้อยค่า)


21. วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา


คิดได้หลายวิธี ส่วนใหญ่จะใช้ “วิธีเส้นตรง Straight-line Basis” ซึ่งมีข้อสมมติว่า
โดยเฉลี่ยสินทรัพย์จะเสื่อมสภาพเท่ากันทุกปี ในการคิดค่าเสื่อมราคา
บริษัทต้องประมาณอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ตามสภาพที่บริษัทจะนำสินทรัพย์มา ใช้
(ทำให้สินทรัพย์ชนิดเดียวกัน อาจมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ต่างบริษัทกัน)
และต้องประมาณมูลค่าเมื่อเลิกใช้ (เรียกว่า “มูลค่าซาก Salvage Value” หรือ “มูลค่าคงเหลือ Residual Value”)
จากนั้นจึงนำมูลค่าเมื่อเริ่มแรกของสินทรัพย์ (เรียกว่า “ราคาทุนเดิม”) มาลบด้วยมูลค่าซาก แล้วหารด้วยอายุการใช้งาน
บริษัทก็จะได้ค่าเสื่อมราคาที่ต้องตัดเป็นค่าใช้จ่ายทุกปี

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:00 pm
โดย Ii'8N
ผมซื้อได้จนครบแล้วครับ :D
ที่ยังไม่มี ไปตั้ง wait list ไว้ใน website e-shop se-ed แล้วได้มาจาก se-ed เพิ่มอีกเล่ม
เกือบสิบปีมาแล้ว...แต่คุณค่ายังไม่เปลี่ยน


รู้บัญชีมีประโยชน์
รูปภาพ

ชื่อหนังสือ รู้บัญชีมีประโยชน์
โดย ดร.ภาพร เอกอรรถพร
สำนักพิมพ์ สถาบันภาภัทร
ราคา 185 ฿
จำนวน 209 หน้า
จำหน่ายโดย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
ISBN 974-90129-7-6

หนังสือ "รู้บัญชีมีประโยชน์" เป็นหนังสือทีได้รวบรวมเรื่องที่น่าสนใจ และน่าศึกษาของมาตรฐานบัญชี ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันกว้างขวางอยู่ในปัจจุบัน โดยผู้เขียนได้หยิบยกเอาปัญหาทางบัญชี ที่นักบัญชีเองก็เห็นว่า เป็นเรื่องที่น่าเข้าใจยาก และกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้มาเขียน ด้วยลักษณะการใช้ภาษาง่ายๆ เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ นักวิเคราะห์ นุกลงทุน และนักธุรกิจทั่วไป แม้แต่นักบัญชีที่ยังไม่กระจ่างในเรื่องเหล่านี้ ก็จะเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ตอนที่ 1 ประโยชน์ต่อนักลงทุน
ตอนที่ 2 มาเลิกนั่งเทียนซื้อหุ้นกันเถอะ
ตอนที่ 3 วิธีอ่านรายงานผู้สอบบัญชี
ตอนที่ 4 งบดุลบอกได้
ตอนที่ 5 ภาพรวม
ตอนที่ 6 กำไรไม่ใช่สูตรสำเร็จ
ตอนที่ 7 สลึงดีกว่าห้าสิบ
ตอนที่ 8 งบกำไรขาดทุนหลอกได้
ตอนที่ 9 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
ตอนที่ 10 งบกระแสเงินสด
ตอนที่ 11 การด้อยค่าของสินทรัพย์
ตอนที่ 12 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการด้อยค่าของสินทรัพย์
ตอนที่ 13 ทางเลือก
ตอนที่ 14 ราคาทุนเดิมกับราคาที่ดีใหม่
ตอนที่ 15 ต้นทุนการกู้ยืม
ตอนที่ 16 ต้นทุนการกู้ยืม - เหตุผลของนักบัญชี
ตอนที่ 17 หมายเหตุประกอบงบการเงิน
ตอนที่ 18 ใช้แทนยานอนหลับได้
ตอนที่ 19 แปลไทยเป็นไทย
ตอนที่ 20 งบการเงินรวม
ตอนที่ 21 แม่บทการบัญชี - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรบัญชี
ตอนที่ 22 แม่บทการบัญชีที่นักบัญชีต้องเข้าใจ




ไปเจอบทความเก่า ที่ไม่เห็นในหนังสือ แต่อยู่ในคอลัมน์ที่ web เืศรษฐศาสตร์ nida

http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2003q ... eb10p5.htm
รู้บัญชีมีประโยชน์
ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ กรุงเทพธุรกิจ Biz & Money หน้า 2 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2546

มนุษย์เรามี ความอยากได้ ด้วยกันทั้งนั้น ความอยากได้ เป็นแรงจูงใจขั้นพื้นฐานที่ส่งเสริมให้มนุษย์มี ไฟ ที่จะสู้และสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับตัวเอง แต่ความอยากได้ก็อาจกลายเป็น ความโลภ ที่กลับมาบ่อนทำลายสังคมให้เสื่อมลง

ตามปกติวิสัย มนุษย์มักต้องการเพิ่มความมั่งคั่งให้ตัวเองมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ เช่น พยายามทำให้เกิดรายได้สูงสุดแต่ไม่สามารถทำงานเกิน 15 ชั่วโมงต่อวัน เรียกว่าเป็นการ Maximize Wealth

(ในวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาค นักทฤษฎีมักต้องสมมติให้ Maximize อะไรสักอย่างหนึ่ง เนื่องจากสมการที่ใช้ เช่น สมการรายได้ มักเป็นสมการเส้นโค้งยอดสูง ปลายยอดแสดงตำแหน่งของตัวแปรที่จุด Maximum เช่น จำนวนชั่วโมงทำงานที่ทำให้เกิดรายได้สูงสุด ตัวแปรนี้สามารถหาค่าได้ เพียงแต่ต้องนำวิชา Calculus มาช่วยในการ take derivatives สมการเส้นโค้ง เพื่อหาตำแหน่งระนาบที่ปลายยอดหรือจุดที่การเปลี่ยนแปลงเท่ากับศูนย์ จากนั้นเราจะสามารถแกะสมการหาค่าตัวแปรที่จุด maximum ได้)

หาก ความอยากได้ อยู่ในระดับสูงและสถานการณ์เอื้ออำนวย ผู้มีอำนาจอาจเกิด ความโลภ จนทำให้ตัดสินใจหันหลังให้จริยธรรมและทำในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร ทั้งที่ทราบดีว่าสิ่งนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ ต่อคนส่วนใหญ่หรือต่อข้อกำหนดของกฎหมาย (เรียกว่า Moral Hazard หรือ คุณธรรมวิบัติ ได้เกิดขึ้น)

คุณธรรมอาจวิบัติได้ในองค์กรธุรกิจ เช่น บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไหนก็ตาม) เนื่องจากบริษัทเหล่านี้กระจายขายหุ้นให้แก่นักลงทุนทั่วไป ตามปกติ ผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัทจดทะเบียน (โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อย) จะไม่เข้ามาบริหารบริษัทด้วยตัวเอง แต่จะมอบหมายให้ ผู้บริหาร มืออาชีพ (หรือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่) เข้ามาบริหารงานแทน

กรณีนี้เท่ากับว่า ผู้ถือหุ้นได้มอบความไว้วางใจให้แก่ผู้บริหาร (ที่จ้างมาด้วยราคาแพงๆ) ให้เข้ามาดูแลความเป็นไปในบริษัท และมอบ อำนาจ ในการสั่งการ และดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้บริหาร ประหนึ่งว่าผู้บริหารนั้นเป็น ตัวแทน (Agency) และผู้ถือหุ้นนั้นเป็น ตัวการ (Principal)

ตาม หน้าที่ ของการเป็นตัวแทน ผู้บริหารสามารถใช้ อำนาจ ที่ได้รับมอบหมายเข้ากระทำการแทนผู้ถือหุ้น แต่ผู้บริหารก็มี ความรับผิดชอบ ที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นไม่ให้เสียหาย เรียกว่ามี Fiduciary Duty หรือมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาทรัพย์สินและเพิ่มผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายนำมารวมกันไว้ให้ดูแล

คำว่า Fiduciary Duty จึงไม่ได้มีความหมายแคบๆ เพียงแค่ เขามอบหน้าที่ให้ทำ ก็สักแต่ทำๆ ให้เสร็จไป แต่คำว่า Fiduciary Duty ให้ความหมายลึกซึ้งไปถึงการที่ คนส่วนรวม ได้ให้ ความไว้วางใจ (ฝรั่งเรียกว่า Trust) แก่คนๆ หนึ่งหรือคนกลุ่มหนึ่งให้ดูแลทรัพย์สมบัติอันมีค่าของพวกเขา (สถาบันการเงินหรือกองทุนที่เรียกว่า Trust มีพื้นฐานมาจากความหมายนี้)

ดังนั้น คำว่า Fiduciary Duty โดยนัยแล้ว จึงมีความหมายครอบคลุมไปถึง การปฏิบัติหน้าที่เพื่อคนส่วนรวม และแฝงไว้ซึ่ง คุณธรรม หรือ จริยธรรม ที่ทำให้ผู้ได้รับมอบหมายต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด เพื่อให้สมกับความไว้วางใจที่ได้รับและเพื่ออำนวยประโยชน์แก่คนส่วนรวม

แต่ก็แปลกที่คำว่า Fiduciary Duty ไม่มีคำแปลตรงๆ ในภาษาไทยที่จะทำให้มองเห็นภาพของคุณธรรมหรือจริยธรรมที่แฝงอยู่ (เหมือนกับคำว่า เกรงใจ ที่ไม่มีคำแปลตรงๆ ในภาษาอังกฤษ คำที่ใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็นคำว่า Being courteous)

ที่นึกออกตอนนี้ อาจมีแต่สำนวนไทย ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ที่จะพอกล้อมแกล้มไปได้ แม้ว่าจะไม่ตรงกับความหมายเสียทีเดียว แต่มีข้อแม้ว่า เราต้องสมมติให้ปู่โสมได้รับการมอบหมายให้เฝ้าทรัพย์สมบัติของผู้อื่น เช่น ของเจ้านายหรือของหลวง เพื่อที่เราจะได้เห็นภาพของปู่โสมที่ยึดมั่นต่อหน้าที่ หวงแหนทรัพย์สมบัติที่เฝ้าอยู่ แม้ว่าทรัพย์สมบัตินั้นจะเป็นของผู้อื่น มิฉะนั้น ภาพของปู่โสมอาจผิดเพี้ยนไป กลายเป็นคนแก่ที่ใกล้จะลงโลงแล้ว แต่ยังไม่ยอมปล่อยวาง วันๆ ได้แต่นั่งตะบันเฝ้าทรัพย์สมบัติของตัวเอง (เดี๋ยวเลยจะกลายเป็นเรื่องของ ไก่ตามงู ไป)

ทีนี้ เมื่อปู่โสมได้รับความไว้วางใจให้เฝ้าสมบัติ สิ่งที่เราคาดหวังจาก ปู่โสม คือความซื่อสัตย์สุจริต แต่อย่าลืมว่า ปู่โสม ก็เป็นปุถุชนธรรมดา ในเมื่อปู่มองเห็นและจับต้องทรัพย์สมบัติของคนอื่นอยู่ทุกวัน ปู่อาจเกิดความโลภจนต้องพยายามหาทางทำให้ทรัพย์สมบัตินั้นกลายมาเป็นของตัวเอง

ถ้าปู่โสมเริ่มมองเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ปู่โสมอาจพยายาม Maximize Wealth จนลืมนึกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ และยักย้ายถ่ายเททรัพย์สมบัติบางส่วนมาเป็นของตน หรือที่เรียกกันว่าการ โอนถ่ายความมั่งคั่ง (Transfer of Wealth) ซึ่งในฐานะผู้เฝ้าสมบัติ ปู่โสมอาจทำได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

การเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนจนไปขัดแย้งต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (ให้ดูแลผลประโยชน์ของผู้อื่น) ถือเป็น ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interests) รูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อการเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่ตัวเองเกิดจากการไปเบียดบังผลประโยชน์ของผู้อื่น

ในกรณีของบริษัทจดทะเบียน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจว่าจะเลือกเดินทางไหน จะซื่อสัตย์ต่อผู้ถือหุ้นหรือจะปฏิบัติตามอำนาจฝ่ายต่ำของตัวเอง

อิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยทางสังคมว่าสังคมยอมรับคนที่ไม่มีจริยธรรมในระดับไหน ปัจจัยทางกฎหมายว่าบทลงโทษรุนแรงและได้ผลเพียงใด หรือปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมว่าในอดีต คนผู้นั้นได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาอย่างไร (สมัยก่อนเวลาเขาก่นด่ากันเขาจึงมักใช้คำว่า พ่อแม่ไม่สั่งสอน อยู่เสมอ แต่ปัจจุบัน เนื่องจากสภาพสังคมทำให้พ่อแม่เกือบทุกคนไม่มีเวลา สั่งสอน ลูก คำก่นด่านั้นก็เป็นอันตกไป เพราะถ้าขืนขุดขึ้นมาด่า ก็อาจจะไปกระทบกับคนทั้งบาง (กอก) ได้)

ก่อนที่จะตัดสินใจ ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะเป็นตัวชี้ว่าผู้บริหารจะเลือกเดินทางไหน ถ้าผู้บริหารเลือกทางแรก ผู้ถือหุ้นก็ถือว่าโชคดีไป (ถือว่ากรรมดีที่ทำไว้ในอดีตส่งผล) แต่เมื่อไรที่คุณธรรมวิบัติ ผู้บริหารจะตัดสินใจเลือกที่จะยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นให้มาเป็นของตน (ซึ่งถือเป็นกรรมเก่าของผู้ถือหุ้น)

การยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์นั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ตั้งแต่ระดับเบี้ยวเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงการตั้งใจโกง ซึ่งตอนนี้ การตกแต่งบัญชีมักจะเข้ามามีบทบาทไม่มากก็น้อย จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถส่วนบุคคลและปัจจัยอีกหลายประการ เช่น โครงสร้างการบริหารของบริษัท การควบคุมภายใน อำนาจที่ผู้บริหารได้รับ การตรวจสอบ บทลงโทษ ไปจนถึงความจำเป็นด้านวัตถุและด้านการเงิน และที่จะลืมเสียไม่ได้คือ พื้นฐานนิสัย (Nature) และการอบรมเลี้ยงดูที่ได้รับมาแต่เยาว์วัย (Nurture) ของผู้บริหารเอง

ดังนั้น การสอนในโรงเรียนจึงต้องเน้นไปที่การเสียสละและการเล่านิทานจึงต้องจบด้วย นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพราะนั่นคือการสอนจริยธรรมควบคู่ไปกับเนื้อหา ถ้าผู้ใหญ่ สอนลูกให้เป็นโจร พร้อมกับทำตัวอย่างให้เด็กดู เมื่อเติบใหญ่ เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็น โจร อย่างช่วยไม่ได้ ถ้าอาจารย์สอนศิษย์ให้ เอาชนะโดยไม่ต้องคำนึงถึงอะไรทั้งนั้น ศิษย์ก็จะยึดมั่นในปรัชญานั้นและถ่ายทอดคำสั่งสอนให้ศิษย์รุ่นหลังต่อไป

สรุปว่า ผู้บริหารในฐานะ ตัวแทน ได้เข้ามามี อำนาจ ในการบริหารบริษัทแทนผู้ถือหุ้นซึ่งเป็น ตัวการ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์อาจทำให้ผู้บริหารลืม Fiduciary Duty ที่ได้รับมอบหมาย จนทำให้ Moral Hazard เกิดขึ้น เมื่อผู้บริหารเลือกที่จะ Maximize Wealth ของตัวเอง ผู้บริหารจะทำการเบียดบังผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และในที่สุดก็จะหาทางออกโดยการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีเพื่อความอยู่รอด

ที่กล่าวมาทั้งหมด อย่าเข้าใจผิดว่าผู้เขียนจะลึกซึ้งถึงขนาดคิดทฤษฎีขึ้นมาเอง ทฤษฎี ตัวการ-ตัวแทน ที่นำมาเล่าให้ฟังข้างต้นเรียกว่า Agency Theory ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี 1958 โดยยอดฝีมือสองท่านคือ Franco Modigliani (รางวัลโนเบลปี 1984) และ Merton Miller (รางวัลโนเบลปี 1990) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า M&M (ชื่อเหมือนช็อกโกเเลตยี่ห้อหนึ่ง)

Agency Theory ได้รับการยกย่องว่าสามารถสะท้อนพฤติกรรมของคนและความเป็นไปในองค์กรได้อย่างลึกซึ้ง จนสามารถนำมาปรับให้เข้ากับองค์กรทุกองค์กรได้ (ไล่ตั้งแต่รัฐบาลลงมา) แถมทฤษฎีนี้ยังสามารถนำมาใช้อธิบายมูลเหตุจูงใจในการตกแต่งบัญชี ที่มักเป็นบ่อเกิดแห่งการยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์ที่ควรเป็นของ ผู้ถือหุ้น ให้กลายมาเป็นของ ผู้บริหาร

แม้ทฤษฎี ตัวการ-ตัวแทน จะสามารถอธิบายมูลเหตุจูงใจในการตกแต่งบัญชีได้ส่วนหนึ่ง แต่มูลเหตุจูงใจในการตกแต่งบัญชีของผู้บริหารอาจเกิดมาจากสาเหตุอื่น เช่น ผู้บริหารเห็นบริษัททำท่าจะไปไม่รอด และด้วยความกลัวที่จะสูญเสียรายได้แพงๆ โบนัสงามๆ (ที่ได้รับจากผู้ถือหุ้น) ผู้บริหารอาจตัดสินใจตกแต่งตัวเลขทางบัญชีเพื่อประวิงเวลาให้แก่ตัวเอง ก่อนที่บริษัทจะล่มหรือตัวเองจะได้งานใหม่

หรือผู้บริหารที่เป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อยากปั่นราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ จึงพยายามหลอกลวงนักลงทุนใหม่ให้เข้าซื้อหุ้น และเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ตัวเองโดยการตกแต่งบัญชีเพื่อลวงตา

แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ผู้บริหารก็ได้ละเลย Fiduciary Duty ที่ได้รับมอบหมายจนคุณธรรมวิบัติไป เมื่อผู้บริหารสามารถ Maximize Wealth ของตัวเองได้ ก็หมายความว่า Wealth ของนักลงทุนจะถูกโอนถ่ายไปอยู่ในกระเป๋าของผู้บริหาร

น่าเสียดายที่ทฤษฎีไม่ได้ทำนายต่อว่า ผู้บริหารเหล่านี้มีความสุขในบั้นปลายชีวิตขนาดไหน

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:02 pm
โดย Paul VI
ขอบคุณคุณ Dome คุณ Ii'8N ครับ

ผมพิมพ์ไม่ผิดแล้วนะครับ คุณ Ii'8N :mrgreen:

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:28 pm
โดย baggyman
ขอบคุณครับ

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 6:28 pm
โดย torpongpak
ขอบคุณพี่โดมมากๆ ที่เผื่อเเผ่ความรู้
ขอให้ "ยิ่งให้ ยิ่งได้" นะครับ

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 9:38 pm
โดย Ii'8N
Paul VI เขียน:ขอบคุณคุณ Dome คุณ Ii'8N ครับ

ผมพิมพ์ไม่ผิดแล้วนะครับ คุณ Ii'8N :mrgreen:
ไม่ผิดครับ คุณหมอ :D


ผมอาจต่างจากคนอื่น ที่เพิ่งหัดแนว VI ไม่นาน (ยังเป็น VI ครึ่งๆ กลางๆ ครึ่งบกครึ่งน้ำด้วยสิ :mrgreen: ) เลยต้องขวนขวายอ่านเยอะๆ และสนใจที่ VI รุ่นพี่เอามาฝาก

ผมไปเจออะไรมาเลยเอามา share กลับ จะได้ช่วยๆ กันให้บอร์ดคึกคัก... บางที สิ่งที่เราแปะ เหมือนนั่งอ่านซ้ำๆ เข้าใจดีขึ้นไปอีกกว่าเก่า

Re: อ่านงบการเงินให้เป็น

โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 9:59 pm
โดย torpongpak
Ii'8N เขียน:
Paul VI เขียน:ขอบคุณคุณ Dome คุณ คร
ผมไปเจออะไรมาเลยเอามา share กลับ จะได้ช่วยๆ กันให้บอร์ดคึกคัก... บางที สิ่งที่เราแปะ เหมือนนั่งอ่านซ้ำๆ เข้าใจดีขึ้นไปอีกกว่าเก่า
ประโยคนี้ให้+1ไปเเล้วครับ เเละขอขอบคุณพี่ Ii'8N อีกคนด้วยครับ(Cut Paste เลยจะได้พิมพ์ชื่อไม่ผิด) :wink: