หน้า 1 จากทั้งหมด 1
50 บริษัทนี้ รู้จักอะไรบ้างครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 19, 2011 9:28 am
โดย wit163
แกรนด์ โกบอล บจก
แกรนด์ไลท์ ดีเวลลอปเม้นท์ บจก.
คอฟฟี่ เซลล์ บจ.
คาโอ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) บจ.
เครเดิลเวิลด์เปลไกว
จาโกต้า บราเดอร์ส เทรดดิ้ง หจก.
เจียเม้ง มาร์เก็ตติ้ง บจก.
ชาร์ป ไทย บจก.
โชคลาภบุญไชย บจก.
ซินเน็ค(ประเทศไทย) บมจ.
โซนี่ ไทย บจก.
ดับเบิ้ลสตาร์ อินดัสตรี้ บจก.
ดาต้า เพาเวอร์ บจก.
ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) บจก.
เดอะแวลลูซิสเตมส์ บจก.
ไทยชูรส บจก.
ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ บจก.
ไทยสเตนเลสสตีล บจก.
นำสยาม ไบซิเคิล บจก.
นีเวลล์ รับเบอร์เมด(ประเทศไทย) บจก.
เน็กซ์ โปรดักส์ บจก.
เนสท์เล่(ไทย) บจก.
บางกอกดิสทริบิวเตอร์ บจก.
บีทาเก้น บจก.
เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ บมจ.
ไบโอ คอนซูเมอร์ บจก.
ป้อมทิพย์ บจก.
โปรเฟสชั่นนัล คลีนนิ่ง บจก.
ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล บมจ.
พรานทะเล มาร์เก็ตติ้ง บจก.
พรานไพร อินเตอร์เทรดดิ้ง บจก.
พี.เค.การ์เม้นท์(อิมปอร์ต-เอ็กซ์ปอร์ต) บจก.
แพน ราชเทวี กรุ๊ป บมจ.
มาร์ส ไทยแลนด์ อิงค์
มาลี เอ็นเตอร์ไพรส์ บจก.
มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา บจก.
แลคตาซอย บจก.
ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง บจก.
ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ บมจ.
สยามกรีน คอนซูเมอร์โพรดักส์ บจก.
สยามแอดวานซ์ อีเลคทรอนิค บจก.
สหพัฒนพิบูล บมจ.
อรนลิน บจก.
อิทม่า อิมเพ็กส์ บจก.
อีสท์เอเชีย เอ็นทีที่ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ บจก.
อุดมโชคพลาสติก บจก.
อุตสาหกรรมนมไทย บจก.
แอลจี อีเลคทรอนิคส์(ประเทศไทย) บจก.
ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล บมจ.
ไอนาโน๊ส(ประเทศไทย) บจก.
ลองไปหามา อันไหนมีในตลาดหุ้นเราบ้างครับ
จะได้ไปศึกษา เพิ่มครับ
Re: 50 บริษัทนี้ รู้จักอะไรบ้างครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 19, 2011 10:10 am
โดย ส.สลึง
บจก. = บริษัทจำกัด
บมจ. = บริษัทจำกัดมหาชน
Re: 50 บริษัทนี้ รู้จักอะไรบ้างครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 19, 2011 10:30 am
โดย navapon
ลักษณะพิเศษที่เพิ่มเติมจากบริษัทธรรมดาคือบริษัทมหาชน คือ
บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิด ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ
ต้องขออนุญาตตั้งบริษัทมหาชนจาก ก.ล.ต. และผ่านเกณฑ์ก่อนถึงจะตั้งได้ ส่วนใหญ่เกณฑ์ก็คือผลการดำเนินงานบริษัทที่ผ่านมาต้องดีหรือโครงการต้องดูดีมีอนาคต
จึงสรุปโครงสร้างคร่าวๆของบริษัทมหาชนได้ดังนี้
1 มีสิทธิเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป
2 ออกหนังสือชี้ชวนให้ประชาชนซื้อหุ้นได้
3 มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
4 ไม่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นตํ่าไว้
5 มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นแต่ละหุ้นต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
6 จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คนและกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย
7 ออกหุ้นกู้จำหน่ายแก่ประชาชนได้
สรุปประโยชน์ของบริษัทมหาชนที่เหนือกว่าบริษัทจำกัด คือ
ระดมทุนได้เพื่อก่อตั้งเป็นบริษัทมหาชน ถ้ามีประชาชนเชื่อถือแล้วมาร่วมลงทุนบริษัทที่กลายเป็นบริษัทมหาชนไม่จำเป็นต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ก็ได้ ถ้าบริษัทไม่ต้องการเข้า(ส่วนใหญ่ถ้าเงินทุนหนาแล้วและผลกำไรดี ก็ไม่คิดเอาเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะไม่มีความจำเป็นต้องระดมทุนเพิ่มเติมอีก บางบริษัทที่อยู่ในตลาดขอกลับ ย้ายออกจากตลาดหลักทรัพย์ด้วยซํ้า)
การนำบริษัทมหาชนจำกัดเข้าตลาดหลักทรัพย์ให้ผู้อื่นมาซื้อขายหุ้นเราได้
ต้องผ่านเกณฑ์ตัดสินของ ก.ล.ต. ว่ามีผลดำเนินงานดีใช้ได้ บริษัทจึงจะเข้ามาอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ได้
ประโยชน์ของ บมจ ที่เข้าตลาดลักทรัพย์ได้คือ
1 ในภาวะปกติ มูลค่าหุ้นมักจะสูงขึ้นเรื่อยๆตามผลการดำเนินงาน ตามราคาที่ตลาดหุ้นให้ (ตามทฤษฎีคือกิจการจะโตเพิ่มเฉลี่ย 10% ต่อปี)
สรุป มูลค่าของบริษัทเพิ่มขึ้นได้ ตามราคาหุ้นซื้อขายที่ตลาดให้ ถ้าหุ้นราคาขึ้น เจ้าของก็รวยขึ้น
2 สามารถขายหุ้นออกได้ถ้าไม่ต้องการลงทุนต่อในราคาที่ดีกว่าตอนเอาเงินมาลงทุนได้ หากราคาหุ้นขึ้น
3 ระดมทุนเพิ่มขึ้นได้เมื่อต้องการทุกเมื่อ โดยมีทางเลือกมากขึ้นนอกจากการกู้เงินธนาคาร หากบริษัทต้องการใช้เงิน เช่น ออกหุ้นกู้ หรือ ออกหุ้นเพิ่มทุนประเภทต่างๆ ไม่จำเป็นว่าจะหาเงินแล้วต้องกู้ธนาคารเพียงอย่างเดียว
4 หากตอนเปิดเป็นบริษัทมหาชนแจงไว้ว่าต้องการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วย มีโอกาสที่ ตอนเปิดซื้อหุ้นจอง(IPO)จะมีคนมาร่วมลงทุนด้วยมากขึ้น เพราะมีตลาดมือสอง(คือตลาดหลักทรัพย์)ไว้รองรับหากต้องการขายหุ้นทิ้ง ซึ่งจะต่างกับบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โอนหุ้นกันยุ่งยากกว่า ต้องอยู่กับบริษัทไปอีกนานถึงผลการดำเนินงานธุรกิจจะไม่ดีก็สลัดทึ้งไม่ง่าย หาคนมาซื้อหุ้นต่อยากกว่า ต้องติดต่อเอง
5 สร้างหลักธรรมาภิบาลและการบริหารงานที่โปร่งใสบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์มีกฎข้อบังคับตามกฎหมายในการที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความจริงต่อสาธารณชน และสามารถตรวจสอบได้ เพราะมีผู้ที่ถือหุ้นจำนวนมาก ความโปร่งใสจึงเป็นเรื่องสำคัญ อันจะกลายมาเป็นต้นแบบที่ดีในการบริหารงานต่อองค์กรอื่นๆในอนาคต
6 เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัทการเป็นบริษัท 'มหาชน' สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีน่าเชื่อถือให้กับบริษัท เพราะกว่าการที่จะได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างละเอียด มีเงินทุนจดทะเบียนจำนวนมหาศาล มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ มีผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพระดับสากล อันจะส่งผลในทางที่ดีต่อความน่าเชื่อถือให้กับคู่เจรจาการค้าทั้งในและต่างประเทศ
ผมสรุปเองนะครับ ถ้ามีผิดพลาดบ้างต้องขออภัย
Re: 50 บริษัทนี้ รู้จักอะไรบ้างครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ส.ค. 19, 2011 10:48 am
โดย wit163
ขอบคุณครับ
เป็น บ. สินค้าอุปโภคบริโภค เลย ลองหารายชื่อ Vender มา