นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 1
ยิ่งลักษณ์ แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ลั่นสร้างเศรษฐกิจเข้มแข็ง สร้างความปรองดอง และพาประเทศชาติสู่ประชาคมอาเซียน พร้อมประกาศ 16 นโยบายสำคัญ
วันนี้ (23 สิงหาคม) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยระบุว่า นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลจะยึดหลักการบริหารที่มีความยืดหยุ่น คำนึงพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ...
1. นำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ภายในประเทศมากขึ้น
2. นำประเทศไทยไปสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อประชาชนคนไทยทุกคน
3. นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและ วัฒนธรรมและการเมืองและความมั่นคง
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า นโยบายของรัฐบาลจะมี 2 ส่วนสำคัญ คือนโยบายเร่งด่วน และนโยบายตลอดอายุรัฐบาล ซึ่งเนื้อหานโยบายเร่งด่วน 16 ข้อ มีดังนี้
1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
2. กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ
3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง
4. ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก
5. เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว
6. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ
7. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
- ลดส่งเข้ากองทุนพลังงาน
- จัดให้มับัตรเครดิตพลังงาน
- ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค
- แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ
8. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ
- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท
- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท
- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ
- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก
9. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
10. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ
- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท
- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท
- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ
- SML
11. ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รับจำนำข้าวเกวียนละ15,000บาท
12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555
13. สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรม และผลิตภัณชุมชน เพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น
- สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
- บริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ใช้ภูมิปัญญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้ใหม่ๆ
14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า30 บาทรักษาทุกโรค
15. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี
16. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ
ส่วนนโยบายที่ต้องดำเนินการในกรอบระยะเวลาบริหารราชการ 4 ปี รวม 7 ข้อ โดยนโยบายเร่งด่วน ที่เริ่มดำเนินการในปีแรก เช่น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมั้นเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราว เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน รวมถึงจัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน สำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้าง ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้ต่อเดือนจริง และแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ โดยดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชน โดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม
นอกจากนี้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุล และความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมหภาค ได้แก่ พักหนี้ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อย ที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบระดับการศึกษาปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก จะดำเนินการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 พร้อมส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน เช่น เพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท
วันนี้ (23 สิงหาคม) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยระบุว่า นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลจะยึดหลักการบริหารที่มีความยืดหยุ่น คำนึงพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ...
1. นำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ ภายในประเทศมากขึ้น
2. นำประเทศไทยไปสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อประชาชนคนไทยทุกคน
3. นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและ วัฒนธรรมและการเมืองและความมั่นคง
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า นโยบายของรัฐบาลจะมี 2 ส่วนสำคัญ คือนโยบายเร่งด่วน และนโยบายตลอดอายุรัฐบาล ซึ่งเนื้อหานโยบายเร่งด่วน 16 ข้อ มีดังนี้
1. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
2. กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ
3. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง
4. ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก
5. เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว
6. เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ
7. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
- ลดส่งเข้ากองทุนพลังงาน
- จัดให้มับัตรเครดิตพลังงาน
- ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภค
- แก้ไขปัญหาค่าครองชีพ
8. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ
- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท
- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท
- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ
- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก
9. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
10. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ
- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีแห่งละ 1 ล้านบาท
- จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท
- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ
- SML
11. ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รับจำนำข้าวเกวียนละ15,000บาท
12. เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555
13. สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรม และผลิตภัณชุมชน เพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น
- สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
- บริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ใช้ภูมิปัญญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้ใหม่ๆ
14. พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า30 บาทรักษาทุกโรค
15. จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี
16. เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ
ส่วนนโยบายที่ต้องดำเนินการในกรอบระยะเวลาบริหารราชการ 4 ปี รวม 7 ข้อ โดยนโยบายเร่งด่วน ที่เริ่มดำเนินการในปีแรก เช่น แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยการชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมั้นเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราว เพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน รวมถึงจัดให้มีบัตรเครดิตพลังงาน สำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้าง ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้ต่อเดือนจริง และแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ โดยดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชน โดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม
นอกจากนี้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุล และความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมหภาค ได้แก่ พักหนี้ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อย ที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบระดับการศึกษาปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก จะดำเนินการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 พร้อมส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน เช่น เพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 2
มีคำถามนิดนึงครับ
1. เรื่อง effective tax rate
23% ใน 2555
20% ใน 2556
แล้วหลังจากนั้นคือ ......?
2. กู้ซื้ออสังหา 0% 5 ปี? ยังไม่ได้พูดถึง? เห็นแต่ ลดภาษีอสังหา (และรถคันแรก)
ขอบคุณครับ
1. เรื่อง effective tax rate
23% ใน 2555
20% ใน 2556
แล้วหลังจากนั้นคือ ......?
2. กู้ซื้ออสังหา 0% 5 ปี? ยังไม่ได้พูดถึง? เห็นแต่ ลดภาษีอสังหา (และรถคันแรก)
ขอบคุณครับ
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 3
เหมือนกับว่าเป็นเกษตรกร นี่ไม่ต้องจ่ายหนี้เลยนะครับ
รบ ไหนมาก็พักชำระหนี้กันหมด
รบ ไหนมาก็พักชำระหนี้กันหมด
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 4
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 5
1. หลังจากนั้นก็คือ 20% สิครับ เขาไม่ได้ลดเป็นปีๆไปนะครับ ลดแบบขั้นบันไดแล้วคงไว้ครับ ประเทซอย่าง HK Singapore corporate tax ก็ประมาณ 15-17% มั้งครับเท่าที่จำได้multipleceilings เขียน:มีคำถามนิดนึงครับ
1. เรื่อง effective tax rate
23% ใน 2555
20% ใน 2556
แล้วหลังจากนั้นคือ ......?
2. กู้ซื้ออสังหา 0% 5 ปี? ยังไม่ได้พูดถึง? เห็นแต่ ลดภาษีอสังหา (และรถคันแรก)
ขอบคุณครับ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 6
นั้นแหละครับที่อยากรู้ ว่า settle ที่ 20% เลยหรือไม่ ขอบคุรครับSumotin เขียน:1. หลังจากนั้นก็คือ 20% สิครับ เขาไม่ได้ลดเป็นปีๆไปนะครับ ลดแบบขั้นบันไดแล้วคงไว้ครับ ประเทซอย่าง HK Singapore corporate tax ก็ประมาณ 15-17% มั้งครับเท่าที่จำได้multipleceilings เขียน:มีคำถามนิดนึงครับ
1. เรื่อง effective tax rate
23% ใน 2555
20% ใน 2556
แล้วหลังจากนั้นคือ ......?
2. กู้ซื้ออสังหา 0% 5 ปี? ยังไม่ได้พูดถึง? เห็นแต่ ลดภาษีอสังหา (และรถคันแรก)
ขอบคุณครับ
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 7
อะไรที่มันทำบ่อยๆจนเคยตัวก็จะเป็นนิสัยMO101 เขียน:เหมือนกับว่าเป็นเกษตรกร นี่ไม่ต้องจ่ายหนี้เลยนะครับ
รบ ไหนมาก็พักชำระหนี้กันหมด
ลงทุนเพื่อชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 348
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 9
เห็น รมต.บอกว่าการที่มาเก็บ30บาท เป็นศักดิ์สรีของคนไทย พอฟังเลยงง ทำไมศักดิ์ศรีคนไทย ถูกจังเลย มีค่า 30 บาท เท่านั้น ผมว่ารัฐบาลที่มี รมต.อย่างนี้ ประเทศไทยต่อไปคงแย่แน่jmb2511 เขียน:จะนํา30บาทรักษาทุกโรคมาใช้อีกทําไม?วนไปวนมา.
- thipong
- Verified User
- โพสต์: 178
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 10
เค้าคงไม่ให้เห็นว่าเป็นของฟรีละมั้งครับ เพราะถ้าเป็นของฟรี เอะอะอะไร กินข้าวไม่ถูกปาก ก็ไปหาหมอ แบบนี้คนเป็นนิดเป็นหน่อยก็ไปหาหมอ ตั้งไว้สามสิบบาทจะได้รู้ไว้ว่าไม่ใช่ของฟรีtanatat เขียน:เห็น รมต.บอกว่าการที่มาเก็บ30บาท เป็นศักดิ์สรีของคนไทย พอฟังเลยงง ทำไมศักดิ์ศรีคนไทย ถูกจังเลย มีค่า 30 บาท เท่านั้น ผมว่ารัฐบาลที่มี รมต.อย่างนี้ ประเทศไทยต่อไปคงแย่แน่jmb2511 เขียน:จะนํา30บาทรักษาทุกโรคมาใช้อีกทําไม?วนไปวนมา.
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 11
ผมว่าเขาหมายความว่า คนที่จนแล้วป่วยมาใช้บริการ ก็สามารถจ่าย 30 บาท เพื่อรักษาตัวได้ ไม่ได้มาขอใครฟรีหนะครับtanatat เขียน:เห็น รมต.บอกว่าการที่มาเก็บ30บาท เป็นศักดิ์สรีของคนไทย พอฟังเลยงง ทำไมศักดิ์ศรีคนไทย ถูกจังเลย มีค่า 30 บาท เท่านั้น ผมว่ารัฐบาลที่มี รมต.อย่างนี้ ประเทศไทยต่อไปคงแย่แน่jmb2511 เขียน:จะนํา30บาทรักษาทุกโรคมาใช้อีกทําไม?วนไปวนมา.
ส่วนเรื่องพักหนี้เกษตรกร อันนี้คงแล้วแต่คนคิดครับ เพราะ เกษตรก็คือ SME รายย่อยมากๆ ที่ต้องเจอความเสี่ยงที่ไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างภัยธรรมชาติ ครับ หรืออย่างเช่นเรื่องน้ำท่วมเอาง่ายๆ ที่กรุงเทพไม่ท่วมเพราะมีต่างจังหวัดที่รับตรงนี้ไปแทนซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แค่นี้เขาก็หมดตัวแล้วครับ ต้องมองในมุมของคนไม่มีเงินบ้างนะครับ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 12
เก็บ 30 บาท ไม่คุ้ม แถม รพ ยังต้องเสียเวลาจัดการกับบัญชีและการบริหาร วุ่ยวานมากกว่าได้tanatat เขียน:เห็น รมต.บอกว่าการที่มาเก็บ30บาท เป็นศักดิ์สรีของคนไทย พอฟังเลยงง ทำไมศักดิ์ศรีคนไทย ถูกจังเลย มีค่า 30 บาท เท่านั้น ผมว่ารัฐบาลที่มี รมต.อย่างนี้ ประเทศไทยต่อไปคงแย่แน่jmb2511 เขียน:จะนํา30บาทรักษาทุกโรคมาใช้อีกทําไม?วนไปวนมา.
- pizad_sura
- Verified User
- โพสต์: 67
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 13
จริงๆ ไม่ได้อยากพูดให้ออกการเมืองนะครับ แต่สมัยที่แล้วท่านจุรินทร์เค้าเปลี่ยน 30 บาทรักษาทุกโรคเป็น บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรีทุกโรค พอพรรคนี้ได้เป็นรบ.เลยเปลี่ยนกลับไปเหมือนเดิม คงกลัวไม่ได้คะแนนนิยมแหละครับSumotin เขียน:ผมว่าเขาหมายความว่า คนที่จนแล้วป่วยมาใช้บริการ ก็สามารถจ่าย 30 บาท เพื่อรักษาตัวได้ ไม่ได้มาขอใครฟรีหนะครับtanatat เขียน:เห็น รมต.บอกว่าการที่มาเก็บ30บาท เป็นศักดิ์สรีของคนไทย พอฟังเลยงง ทำไมศักดิ์ศรีคนไทย ถูกจังเลย มีค่า 30 บาท เท่านั้น ผมว่ารัฐบาลที่มี รมต.อย่างนี้ ประเทศไทยต่อไปคงแย่แน่jmb2511 เขียน:จะนํา30บาทรักษาทุกโรคมาใช้อีกทําไม?วนไปวนมา.
ส่วนเรื่องพักหนี้เกษตรกร อันนี้คงแล้วแต่คนคิดครับ เพราะ เกษตรก็คือ SME รายย่อยมากๆ ที่ต้องเจอความเสี่ยงที่ไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างภัยธรรมชาติ ครับ หรืออย่างเช่นเรื่องน้ำท่วมเอาง่ายๆ ที่กรุงเทพไม่ท่วมเพราะมีต่างจังหวัดที่รับตรงนี้ไปแทนซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แค่นี้เขาก็หมดตัวแล้วครับ ต้องมองในมุมของคนไม่มีเงินบ้างนะครับ
(ผมว่าใช้บัตรประชาชนเพื่อรับการรักษาดีกว่า เพราะไม่มีปัญหาบัตรหาย บัตรหมดอายุ)
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 920
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 14
เรื่อง 30 บาท ผมกลับคิดว่าถูกแล้วครับที่เก็บ 30 บาท
อย่างน้อยให้คนไข้รู้สึกว่า ต้องเสียอะไรบ้าง ถ้าจะต้องการมารพ.
ตอนนี้รพ.หลายๆแห่งต้องประสบปัญหาคนไข้มากจนแพทย์หรือบุคลากรทำงานกันไม่ไหว
เพราะคนไข้มารพ.ไม่มีต้นทุนใดๆ หลายคนไม่ได้เป็นอะไรเลยแต่มาแค่ขอยา
บางคนปวดหัว 2 hr ก่อนมารพ. โดยที่ไม่ยอมกินพารา หรือพักผ่อน(ควรดูแลตัวเองไปก่อน)
การเก็บเงิน 30 บาท เป็นการเพิ่มต้นทุนถึงแม้จะแค่เล็กน้อยแต่ผมเชื่อว่า
จะทำให้คนไข้ที่ไม่ได้ป่วยจริงน้อยลงไปบ้างครับ แพทย์ก็จะดูคนไข้ที่ป่วยจริงๆได้มีคุณภาพมากขึ้นครับ
อย่างน้อยให้คนไข้รู้สึกว่า ต้องเสียอะไรบ้าง ถ้าจะต้องการมารพ.
ตอนนี้รพ.หลายๆแห่งต้องประสบปัญหาคนไข้มากจนแพทย์หรือบุคลากรทำงานกันไม่ไหว
เพราะคนไข้มารพ.ไม่มีต้นทุนใดๆ หลายคนไม่ได้เป็นอะไรเลยแต่มาแค่ขอยา
บางคนปวดหัว 2 hr ก่อนมารพ. โดยที่ไม่ยอมกินพารา หรือพักผ่อน(ควรดูแลตัวเองไปก่อน)
การเก็บเงิน 30 บาท เป็นการเพิ่มต้นทุนถึงแม้จะแค่เล็กน้อยแต่ผมเชื่อว่า
จะทำให้คนไข้ที่ไม่ได้ป่วยจริงน้อยลงไปบ้างครับ แพทย์ก็จะดูคนไข้ที่ป่วยจริงๆได้มีคุณภาพมากขึ้นครับ
- Jazzman
- Verified User
- โพสต์: 388
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 15
เรื่องนโยบายลดภาษี และเพิ่มค่าแรงนั้น ผมฟังก็เกิดคำถามว่า
บริษัทที่ได้ สิทธิ BOI ก็จะไม่ได้รับประโยชน์ตรงนี้เลยสิครับ พวกบริษัทที่ทำ Electronic คงได้รับผลกระทบไปเต็มๆ
บริษัทที่ได้ สิทธิ BOI ก็จะไม่ได้รับประโยชน์ตรงนี้เลยสิครับ พวกบริษัทที่ทำ Electronic คงได้รับผลกระทบไปเต็มๆ
ลงทุนในสิ่งที่เพิ่ม " ค่า " ไปเรื่อยๆ
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 16
น่าจะทำได้หมดครับ
ถ้า ขุดน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนออกมาใช้และขายได้
เราก้จะเป็น บรูไนย่อมๆๆ
สำคัญคือ ยอมหรือเปล่าที่จะ50/50กับกัมพูชา
ถ้า ขุดน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนออกมาใช้และขายได้
เราก้จะเป็น บรูไนย่อมๆๆ
สำคัญคือ ยอมหรือเปล่าที่จะ50/50กับกัมพูชา
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 17
จากพีค ออย อีกหน่อย พอแหล่งเบรน์ และ แหล่งอื่นหมด
ท่านคิดว่า
น้ำมันจะถูกหรือจะแพงครับ
อีกคำถาม ถ้าอีกหน่อยขุดแร่ทำอุตสาหกรรมไม่ส่งออก ตลาดจะมีแร่ในระบบพอใช้ไหมครับ
และราคาแร่จะแพงขึ้นไหมครับ ถ้าซัพพลายน้อยลง แต่ดีมานท์มากขึ้น
เมืองไทยมีครบทั้งสองอย่าง ตอบโจทย์ได้หมดครับ
ขึ้นกับว่า ใครเป็นคนตอบ
ดาบวิเศษในมือ นักดาบโง่ๆๆ ก้คือ ไม้ตีพริกอันใหญ่เท่านั้น
ท่านคิดว่า
น้ำมันจะถูกหรือจะแพงครับ
อีกคำถาม ถ้าอีกหน่อยขุดแร่ทำอุตสาหกรรมไม่ส่งออก ตลาดจะมีแร่ในระบบพอใช้ไหมครับ
และราคาแร่จะแพงขึ้นไหมครับ ถ้าซัพพลายน้อยลง แต่ดีมานท์มากขึ้น
เมืองไทยมีครบทั้งสองอย่าง ตอบโจทย์ได้หมดครับ
ขึ้นกับว่า ใครเป็นคนตอบ
ดาบวิเศษในมือ นักดาบโง่ๆๆ ก้คือ ไม้ตีพริกอันใหญ่เท่านั้น
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 19
ธีระชัยวางจุดยืนไทย ลดภาษีนิติบุคคล-ภาษีบีโอไอ-เปิดเสรีตลาดเงินรับแบงก์นอก [ นสพ.ทันหุ้น, 06 กันยายน 2011 ]
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนาวิชาการของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ครั้งที่ 8 ประจำปี 2554 เรื่อง "อนาคตเศรษฐกิจไทย ก้าวอย่างมั่นใจสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ว่า ภาครัฐจะมีมาตรการต่างๆ เพื่อปูพื้นและสร้างกระบวนการให้ภาคเอกชนของไทยสามารถปรับตัวรับมือการแข่งขันทางการค้าการลงทุนที่จะมีมากขึ้น จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 อย่างไรก็ดีภาคเอกชนเองก็ต้องเร่งปรับตัว ปรับประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงปรับทัศนคติให้ถูกต้อง คือต้องมอง AEC เป็นโอกาสในการขยายตลาดและโอกาสในการแสวงหาวัตถุดิบ ไม่ใช่มองเป็นภัยคุกคาม
สำหรับมาตรการที่ภาครัฐจะดำเนินการในเชิงรุก แบ่งเป็น มาตรการด้านการคลัง ที่จะมีการปฏิรูปโครงสร้างและกระบวนการจัดเก็บภาษีทั้งระบบ เพราะจะเป็นข้อเปรียบเทียบกันระหว่างประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคลที่ขณะนี้ไทยจัดเก็บในอัตราสูงกว่าหลายประเทศในอาเซียน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายจะลดจากปัจจุบัน30% เหลือ 23% ในปี 2555 และเหลือ 20%ในปี 2556 ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการลดมาตรการภาษีที่ใช้ส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ที่ปัจจุบันให้มากเกินไป รวมถึงลดอุปสรรคด้านอื่นๆ เพื่อดึงดูดให้ต่างชาติย้ายฐานมาลงทุนหรือตั้งสำนักงานสาขาในไทยมากขึ้น
นายธีระชัยกล่าวว่า ส่วนมาตรการด้านการเงินนั้น มีแนวคิดให้เร่งเปิดเสรีด้านการเงินกับประเทศในอาเซียนให้เร็วขึ้น จากที่มีการวางกันไว้ว่า ในปี 2558 จะเริ่มเปิดเสรีบางส่วนในสาขาความถนัดของแต่ละประเทศและเปิดเสรีเต็มรูปแบบในปี 2563 โดยสิ่งที่ตนต้องการเห็น คือ การดึงสถาบันการเงินรายใหญ่อันดับต้นของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างจีน อินเดีย และอาเซียนบวก 3 มาทำธุรกิจในไทย และผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์อันดับต้นๆ ตั้งแต่ 1, 2 และ 3 ของไทยไปทำธุรกิจในประเทศเหล่านี้ เรื่องนี้จะหารือกับ ธปท.ในรายละเอียดต่อไป
"เชื่อว่าการแข่งขันที่มากขึ้น จะช่วยกระตุ้นสถาบันการเงินในประเทศให้พัฒนาความสามารถการแข่งขันกันมากขึ้น มั่นใจว่าปัจจุบันธนาคารไทยมีความพร้อมสูง สังเกตได้จากมีผลกำไรที่ค่อนข้างเยอะ จึงสามารถรองรับการมีคู่แข่งจากต่างประเทศที่จะมากขึ้นได้"นายธีระชัย กล่าว
รมว.คลัง กล่าวอีกว่า ขณะที่มาตรการด้านตลาดทุนนั้น จะต้องมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน โดยขยายขอบเขตการทำงานให้มากขึ้น ซึ่งจะมีการเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ผู้ถือหุ้นรายย่อย ให้สามารถดำเนินการได้คล่องตัวขึ้น ในกรณีหากมีการฟ้องร้องคดีแพ่งจากการซื้อขายหลักทรัพย์ข้ามประเทศในอนาคต เพราะปัจจุบันค่าใช้จ่ายส่วนนี้สูงมาก
ขณะเดียวกัน เพื่อขับเคลื่อนด้านการเงินการคลังอาเซียน ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)จะตั้งสำนักการเงินการคลังอาเซียนขึ้นภายใน พร้อมกับตั้งคณะกรรมการอาเซียนด้านการเงินการคลัง โดยมีอธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวงการคลัง ผู้ว่าการ ธปท.เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมเป็นกรรมการ
นายปัณณ์ อนันอภิบุตร หัวหน้าฝ่ายพัฒนาโครงสร้างภาษี สำนักนโยบายภาษี สศค.กล่าวว่า ระหว่างปี 2549-2553 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีแนวโน้มลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลง แต่มี4 ประเทศที่ไม่มีแนวโน้ม คือ ไทย กัมพูชา พม่าและลาว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนแล้ว อัตราภาษีนิติบุคคลของไทยไม่ควรสูงกว่า25% โดยจริงๆ แล้วในวันนี้ภาษีนิติบุคคลของไทยควรอยู่ที่ 21% เพราะบีโอไอให้สิทธิอยู่ที่ 21%ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2548 มีจำนวนโครงการแค่ 6,628 โครงการ หรือคิดเป็นนักลงทุนแค่ 19% ส่วนที่เหลือต้องเสีย 30% จึงเป็นคำถามว่าการที่ให้คนส่วนใหญ่ต้องแบกรับภาระภาษีมากกว่าแล้วคงบีโอไอไว้จะคุ้มค่าหรือไม่
"มักจะมีการอ้างว่า บีโอไอจะช่วยจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่เคยมีการคำนวณว่าเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ โดยการศึกษาพบว่า ในปี 2553 รัฐต้องสูญเสียภาษีศุลกากรเป็นเงิน 5.96 หมื่นล้านบาทสูญเสียรายได้ภาษีนิติบุคคล 1.42 แสนล้านบาทรวมเป็น 2.02 แสนล้านบาท ขณะที่เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ 1.89 แสนล้านบาทดังนั้นถ้าวันนี้เลิกบีโอไอ คนไทยแทบจะไม่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา แถมเงินยังเหลืออีก"นายปัณณ์ กล่าว
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนาวิชาการของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ครั้งที่ 8 ประจำปี 2554 เรื่อง "อนาคตเศรษฐกิจไทย ก้าวอย่างมั่นใจสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ว่า ภาครัฐจะมีมาตรการต่างๆ เพื่อปูพื้นและสร้างกระบวนการให้ภาคเอกชนของไทยสามารถปรับตัวรับมือการแข่งขันทางการค้าการลงทุนที่จะมีมากขึ้น จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 อย่างไรก็ดีภาคเอกชนเองก็ต้องเร่งปรับตัว ปรับประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงปรับทัศนคติให้ถูกต้อง คือต้องมอง AEC เป็นโอกาสในการขยายตลาดและโอกาสในการแสวงหาวัตถุดิบ ไม่ใช่มองเป็นภัยคุกคาม
สำหรับมาตรการที่ภาครัฐจะดำเนินการในเชิงรุก แบ่งเป็น มาตรการด้านการคลัง ที่จะมีการปฏิรูปโครงสร้างและกระบวนการจัดเก็บภาษีทั้งระบบ เพราะจะเป็นข้อเปรียบเทียบกันระหว่างประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคลที่ขณะนี้ไทยจัดเก็บในอัตราสูงกว่าหลายประเทศในอาเซียน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายจะลดจากปัจจุบัน30% เหลือ 23% ในปี 2555 และเหลือ 20%ในปี 2556 ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการลดมาตรการภาษีที่ใช้ส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ที่ปัจจุบันให้มากเกินไป รวมถึงลดอุปสรรคด้านอื่นๆ เพื่อดึงดูดให้ต่างชาติย้ายฐานมาลงทุนหรือตั้งสำนักงานสาขาในไทยมากขึ้น
นายธีระชัยกล่าวว่า ส่วนมาตรการด้านการเงินนั้น มีแนวคิดให้เร่งเปิดเสรีด้านการเงินกับประเทศในอาเซียนให้เร็วขึ้น จากที่มีการวางกันไว้ว่า ในปี 2558 จะเริ่มเปิดเสรีบางส่วนในสาขาความถนัดของแต่ละประเทศและเปิดเสรีเต็มรูปแบบในปี 2563 โดยสิ่งที่ตนต้องการเห็น คือ การดึงสถาบันการเงินรายใหญ่อันดับต้นของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างจีน อินเดีย และอาเซียนบวก 3 มาทำธุรกิจในไทย และผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์อันดับต้นๆ ตั้งแต่ 1, 2 และ 3 ของไทยไปทำธุรกิจในประเทศเหล่านี้ เรื่องนี้จะหารือกับ ธปท.ในรายละเอียดต่อไป
"เชื่อว่าการแข่งขันที่มากขึ้น จะช่วยกระตุ้นสถาบันการเงินในประเทศให้พัฒนาความสามารถการแข่งขันกันมากขึ้น มั่นใจว่าปัจจุบันธนาคารไทยมีความพร้อมสูง สังเกตได้จากมีผลกำไรที่ค่อนข้างเยอะ จึงสามารถรองรับการมีคู่แข่งจากต่างประเทศที่จะมากขึ้นได้"นายธีระชัย กล่าว
รมว.คลัง กล่าวอีกว่า ขณะที่มาตรการด้านตลาดทุนนั้น จะต้องมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน โดยขยายขอบเขตการทำงานให้มากขึ้น ซึ่งจะมีการเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ผู้ถือหุ้นรายย่อย ให้สามารถดำเนินการได้คล่องตัวขึ้น ในกรณีหากมีการฟ้องร้องคดีแพ่งจากการซื้อขายหลักทรัพย์ข้ามประเทศในอนาคต เพราะปัจจุบันค่าใช้จ่ายส่วนนี้สูงมาก
ขณะเดียวกัน เพื่อขับเคลื่อนด้านการเงินการคลังอาเซียน ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)จะตั้งสำนักการเงินการคลังอาเซียนขึ้นภายใน พร้อมกับตั้งคณะกรรมการอาเซียนด้านการเงินการคลัง โดยมีอธิบดีทุกกรมในสังกัดกระทรวงการคลัง ผู้ว่าการ ธปท.เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ร่วมเป็นกรรมการ
นายปัณณ์ อนันอภิบุตร หัวหน้าฝ่ายพัฒนาโครงสร้างภาษี สำนักนโยบายภาษี สศค.กล่าวว่า ระหว่างปี 2549-2553 ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีแนวโน้มลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลง แต่มี4 ประเทศที่ไม่มีแนวโน้ม คือ ไทย กัมพูชา พม่าและลาว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนแล้ว อัตราภาษีนิติบุคคลของไทยไม่ควรสูงกว่า25% โดยจริงๆ แล้วในวันนี้ภาษีนิติบุคคลของไทยควรอยู่ที่ 21% เพราะบีโอไอให้สิทธิอยู่ที่ 21%ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2548 มีจำนวนโครงการแค่ 6,628 โครงการ หรือคิดเป็นนักลงทุนแค่ 19% ส่วนที่เหลือต้องเสีย 30% จึงเป็นคำถามว่าการที่ให้คนส่วนใหญ่ต้องแบกรับภาระภาษีมากกว่าแล้วคงบีโอไอไว้จะคุ้มค่าหรือไม่
"มักจะมีการอ้างว่า บีโอไอจะช่วยจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่เคยมีการคำนวณว่าเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ โดยการศึกษาพบว่า ในปี 2553 รัฐต้องสูญเสียภาษีศุลกากรเป็นเงิน 5.96 หมื่นล้านบาทสูญเสียรายได้ภาษีนิติบุคคล 1.42 แสนล้านบาทรวมเป็น 2.02 แสนล้านบาท ขณะที่เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ 1.89 แสนล้านบาทดังนั้นถ้าวันนี้เลิกบีโอไอ คนไทยแทบจะไม่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา แถมเงินยังเหลืออีก"นายปัณณ์ กล่าว
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 1401
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 20
เกษตรกรตัวจริงก็สร้างหนี้กันปาย คนที่ได้คือเจ้าของที่ แต่ต้องยอมรับอย่างนึงว่า สมองแต่ละทุกคนไม่ได้ฉลาดเท่ากัน เกษตรกรส่วนใหญ่ทำมา พอมีเงินเหลือก็ซื้อโน่นซื้อนี่ แทนที่จะเก็บเงินไว้ลงทุนต่อ แทนที่จะช่วยพักหนี้ รัฐบาลหาทางให้ชาวนาทำผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นดีกว่า (ศึกษาจากเวียดนามก็ได้ เอ้า!)MO101 เขียน:เหมือนกับว่าเป็นเกษตรกร นี่ไม่ต้องจ่ายหนี้เลยนะครับ
รบ ไหนมาก็พักชำระหนี้กันหมด
- SamuelYeD
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 21
เห็นด้วยเลยครับ ไม่ไหวจริงนักการเมืองสมัยนี้ นโยบายเสพติดความสุข ให้ทุกอย่าง ยกเว้นความรู้ แล้วอย่างงี้ชาวนาchootana เขียน:เกษตรกรตัวจริงก็สร้างหนี้กันปาย คนที่ได้คือเจ้าของที่ แต่ต้องยอมรับอย่างนึงว่า สมองแต่ละทุกคนไม่ได้ฉลาดเท่ากัน เกษตรกรส่วนใหญ่ทำมา พอมีเงินเหลือก็ซื้อโน่นซื้อนี่ แทนที่จะเก็บเงินไว้ลงทุนต่อ แทนที่จะช่วยพักหนี้ รัฐบาลหาทางให้ชาวนาทำผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นดีกว่า (ศึกษาจากเวียดนามก็ได้ เอ้า!)MO101 เขียน:เหมือนกับว่าเป็นเกษตรกร นี่ไม่ต้องจ่ายหนี้เลยนะครับ
รบ ไหนมาก็พักชำระหนี้กันหมด
ที่ขยันทำงาน แล้วเก็บเงินไปใช้หนี้ แทนที่จะเป็นคนดี คนขยัน กลับกลายเป็นคนเสียเปรียบ เพราะพวกมักง่ายทั้งหลายๆ
แถมเดี๋ยวนี้มีกฏหมู่เหนือกฏหมายอีก เดือนที่แล้ว พวกค้าสุนัขพบโดนจับออกมาประท้วง อ้างทำให้ไม่มีรายได้
ถ้าหากไม่ให้ทำต่อ ก็ต้องหางาน หารายได้ให้ นั้นๆๆ...เป็นภาระสังคมอีก
มาเดือนนี้ iPhone 4 DTAC กติกาก็บอกอยู่แล้วว่า 100 เครื่องแรก ยังจะไปต่อคิว พอไม่ได้ โว้ยวาย ไม่ยอม จะ นู๊น นี้ นั้น...
เหอะๆ เซ็งเป็ด
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 22
แนะ "ปู" แก้โจทย์หินอสังหาฯผุดคอนโดรากหญ้ากลางเมืองแทนเอื้ออาทร
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เปิดเผยว่า จะยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายก
รัฐมนตรี เพื่อเสนอข้อคิดเห็นเชิงนโยบายและมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยการส่งเสริมที่อยู่อาศัยของ
ผู้มีรายได้น้อย รัฐบาลไม่ควรแข่งขันกับภาคเอกชน เช่น การสร้างบ้านเอื้ออาทรในอดีตเพราะภาคเอกชนก็
สามารถผลิตที่อยู่อาศัยราคาถูกป้อนตลาดได้ดีอยู่แล้ว ขณะที่การผลิตที่อยู่อาศัยของรัฐมักไม่สามารถแข่งขันได้
--จบ--
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เปิดเผยว่า จะยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายก
รัฐมนตรี เพื่อเสนอข้อคิดเห็นเชิงนโยบายและมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยการส่งเสริมที่อยู่อาศัยของ
ผู้มีรายได้น้อย รัฐบาลไม่ควรแข่งขันกับภาคเอกชน เช่น การสร้างบ้านเอื้ออาทรในอดีตเพราะภาคเอกชนก็
สามารถผลิตที่อยู่อาศัยราคาถูกป้อนตลาดได้ดีอยู่แล้ว ขณะที่การผลิตที่อยู่อาศัยของรัฐมักไม่สามารถแข่งขันได้
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 23
พิชัย' ลงทุนแหล่งพลังงาน จีบบิ๊ก ปตท.ช่วยงานรัฐบาล 'ปู' ทำแผนแม่บทชาติ
แหล่งข่าว : บ้านเมือง ,วันที่ : 09/09/2011
"พิชัย นริพทะพันธุ์" ย้ำไทยจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานสำรอง หากนายหญิง "ปู" เจรจากับกัมพูชาถึงแหล่งพลังงานสำเร็จ ไทยพร้อมลงทุน ย้ำไม่นำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนแน่ ขณะที่เตรียมจีบ "ประเสริฐ บุญสัมพันธ์" เข้าร่วมทีมช่วยทำแผนพัฒนาพลังงานไทยให้ยั่งยืน
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งระงับการเดินหน้าการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ เนื่องจากมีกระแสต่อต้านจากหลายฝ่ายว่า ตนมีความเห็นว่าการนำเงินสำรองระหว่างประเทศมูลค่า 1.89 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปลงทุนในการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่ง กับการนำเงินไปลงทุนในการซื้อพลังงานในต่างประเทศเพื่อเพิ่มมูลค่าและเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองของประเทศเป็นคนละเรื่องกัน โดยการซื้อแหล่งพลังงานในต่างประเทศยังมีความสำคัญ เพราะในอนาคตแหล่งพลังงานจะหายากขึ้นเรื่อยๆ และประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศสูง เช่น น้ำมันเรามีการนำเข้าสูงถึง 80% หากมีปัญหาเกิดขึ้น และไม่มีแหล่งสำรองก็จะทำให้เกิดการขาดแคลนได้ในเวลาอันรวดเร็ว
"ถึงเราจะมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาก แต่ไม่มีแหล่งพลังงานสำรองไว้สำหรับอนาคต หากวันหนึ่งทุกประเทศที่ส่งน้ำมันให้ประเทศไทยเกิดปัญหาและส่งน้ำมันมาไม่ได้ ต่อให้เรามีเงินเราก็ไม่สามารถซื้อพลังงานมาใช้ได้" นายพิชัย กล่าว
นายพิชัย กล่าวว่า ทุกฝ่ายต้องทำความเข้าใจร่วมกันว่าการมีแหล่งพลังงานสำรองในต่างประเทศ นอกจากจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้ประเทศ ยังเป็นการลงทุนเพื่อไม่ให้ทรัพย์สินของประเทศมีค่าน้อยลงตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกับการซื้อทองคำในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ในอนาคตพลังงานก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน นายพิชัยยังกล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี จะมีการเดินทางไปยังประเทศกัมพูชาเพื่อเจรจาข้อตกลงแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ว่าต้องแล้วแต่นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งกรอบแนวคิดในการเจรจาจะมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นแกนนำ โดยกระทรวงพลังงานเป็นคนให้ข้อมูลสนับสนุนในเรื่องนี้ ดังนั้นถ้าหากกระทรวงต่างประเทศผลักดันเรื่องนี้ได้สำเร็จ กระทรวงพลังงานก็มีความพร้อมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่นำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนในการขุดเจาะและสำรวจก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาอย่างแน่นอน
ในวันเดียวกัน หลังการตรวจเยี่ยมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ได้แจ้งกับนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หลังจากพ้นวาระในวันที่ 9 กันยายนแล้ว ขอให้มาช่วยงานที่กระทรวงพลังงานต่อ เพราะต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มาร่วมทำงานโดยเฉพาะแผนงานสำคัญที่จะมีการปรับโครงสร้างพลังงานของประเทศ ทั้งระบบโดยดูถึงความต้องการและการจัดหาเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งได้มีการหารือเป็นการเบื้องต้นกับนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะมีการประกาศเป็นแผนงานที่ชัดเจนต่อไป
โดยแผนงานดังกล่าวจะครอบคลุมไปถึงการดูแลทุกภาคส่วนรวมถึงผลดีผลเสียหลังจากการสิ้นสุดมาตรการการตรึงราคาเอ็นจีวี แอลพีจีภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ โดยจะขยับราคาหรือไม่นั้น จะต้องดูถึงต้นทุนค่าครองชีพของประชาชนควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานรับทราบถึงปัญหาว่า ปตท.มีภาระในการอุดหนุนราคาพลังงาน เช่น อุดหนุนราคาเอ็นจีวีปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจที่ ปตท.ร่วมดูแลสังคมและภาคประชาชน โดยเรื่องดังกล่าว ปตท.มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบมากขึ้น ขณะเดียวกันกระทรวงพลังงานก็พร้อมที่จะให้ ปตท.เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนในและต่างประเทศ และ ปตท.จะเป็นแกนหลักในการศึกษาโครงการแลนด์บริจด์ภาคใต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ ปตท.ศึกษาบัตรเครดิตพลังงาน โดยเบื้องต้นจะมีการจัดทำบัตรเครดิตเฉพาะเอ็นจีวีออกมาก่อน โดยอาจจะมีการช่วยเหลือเฉพาะรถแท็กซี่เท่านั้น เนื่องจากรถประเภทอื่นๆ เช่น ตุ๊กตุ๊ก รถตู้ รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ไม่ได้ถูกควบคุมราคาเหมือนกับแท็กซี่มิเตอร์ โดยปัจจุบันนี้แท็กซี่ที่ติดตั้งเอ็นจีวีมีประมาน 5.8 หมื่นคัน ตุ๊กตุ๊ก เอ็นจีวี 1.7 พันคัน โดยแนวทางคาดว่าจะมีการเสนอต่อกระทรวงพลังงาน ในการขยับขึ้นราคาเอ็นจีวี จาก 8.50 บาท เป็น 10.50 บาท ต่อกิโลกรัม ในขณะที่บัตรเครดิตพลังงานที่ออกมาสำหรับรถแท็กซี่จะมีการตรึงราคาเท่าเดิม และจะมีการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาอุถดหนุน 2 บาทต่อกิโลกรัมเช่นเดิม
"รถตุ๊กตุ๊ก และรถตู้ ที่ใช้เอ็นจีวี ปัจจุบันพบว่าได้ประโยชน์จากการตรึงราคาเอ็นจีวี แต่กลับไปขึ้นราคาค่าโดยสารกับประชาชน ดังนั้น หากออกบัตรเครดิตพลังงานมาช่วยเหลือก็น่าจะช่วยเฉพาะแท็กซี่ที่มีมิเตอร์คุมราคาและสามารถตรวจสอบได้"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
แหล่งข่าว : บ้านเมือง ,วันที่ : 09/09/2011
"พิชัย นริพทะพันธุ์" ย้ำไทยจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานสำรอง หากนายหญิง "ปู" เจรจากับกัมพูชาถึงแหล่งพลังงานสำเร็จ ไทยพร้อมลงทุน ย้ำไม่นำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนแน่ ขณะที่เตรียมจีบ "ประเสริฐ บุญสัมพันธ์" เข้าร่วมทีมช่วยทำแผนพัฒนาพลังงานไทยให้ยั่งยืน
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งระงับการเดินหน้าการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ เนื่องจากมีกระแสต่อต้านจากหลายฝ่ายว่า ตนมีความเห็นว่าการนำเงินสำรองระหว่างประเทศมูลค่า 1.89 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปลงทุนในการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่ง กับการนำเงินไปลงทุนในการซื้อพลังงานในต่างประเทศเพื่อเพิ่มมูลค่าและเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองของประเทศเป็นคนละเรื่องกัน โดยการซื้อแหล่งพลังงานในต่างประเทศยังมีความสำคัญ เพราะในอนาคตแหล่งพลังงานจะหายากขึ้นเรื่อยๆ และประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศสูง เช่น น้ำมันเรามีการนำเข้าสูงถึง 80% หากมีปัญหาเกิดขึ้น และไม่มีแหล่งสำรองก็จะทำให้เกิดการขาดแคลนได้ในเวลาอันรวดเร็ว
"ถึงเราจะมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาก แต่ไม่มีแหล่งพลังงานสำรองไว้สำหรับอนาคต หากวันหนึ่งทุกประเทศที่ส่งน้ำมันให้ประเทศไทยเกิดปัญหาและส่งน้ำมันมาไม่ได้ ต่อให้เรามีเงินเราก็ไม่สามารถซื้อพลังงานมาใช้ได้" นายพิชัย กล่าว
นายพิชัย กล่าวว่า ทุกฝ่ายต้องทำความเข้าใจร่วมกันว่าการมีแหล่งพลังงานสำรองในต่างประเทศ นอกจากจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้ประเทศ ยังเป็นการลงทุนเพื่อไม่ให้ทรัพย์สินของประเทศมีค่าน้อยลงตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกับการซื้อทองคำในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ในอนาคตพลังงานก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน นายพิชัยยังกล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี จะมีการเดินทางไปยังประเทศกัมพูชาเพื่อเจรจาข้อตกลงแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ว่าต้องแล้วแต่นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งกรอบแนวคิดในการเจรจาจะมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นแกนนำ โดยกระทรวงพลังงานเป็นคนให้ข้อมูลสนับสนุนในเรื่องนี้ ดังนั้นถ้าหากกระทรวงต่างประเทศผลักดันเรื่องนี้ได้สำเร็จ กระทรวงพลังงานก็มีความพร้อมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่นำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนในการขุดเจาะและสำรวจก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาอย่างแน่นอน
ในวันเดียวกัน หลังการตรวจเยี่ยมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ได้แจ้งกับนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หลังจากพ้นวาระในวันที่ 9 กันยายนแล้ว ขอให้มาช่วยงานที่กระทรวงพลังงานต่อ เพราะต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มาร่วมทำงานโดยเฉพาะแผนงานสำคัญที่จะมีการปรับโครงสร้างพลังงานของประเทศ ทั้งระบบโดยดูถึงความต้องการและการจัดหาเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งได้มีการหารือเป็นการเบื้องต้นกับนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะมีการประกาศเป็นแผนงานที่ชัดเจนต่อไป
โดยแผนงานดังกล่าวจะครอบคลุมไปถึงการดูแลทุกภาคส่วนรวมถึงผลดีผลเสียหลังจากการสิ้นสุดมาตรการการตรึงราคาเอ็นจีวี แอลพีจีภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ โดยจะขยับราคาหรือไม่นั้น จะต้องดูถึงต้นทุนค่าครองชีพของประชาชนควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานรับทราบถึงปัญหาว่า ปตท.มีภาระในการอุดหนุนราคาพลังงาน เช่น อุดหนุนราคาเอ็นจีวีปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจที่ ปตท.ร่วมดูแลสังคมและภาคประชาชน โดยเรื่องดังกล่าว ปตท.มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบมากขึ้น ขณะเดียวกันกระทรวงพลังงานก็พร้อมที่จะให้ ปตท.เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนในและต่างประเทศ และ ปตท.จะเป็นแกนหลักในการศึกษาโครงการแลนด์บริจด์ภาคใต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ ปตท.ศึกษาบัตรเครดิตพลังงาน โดยเบื้องต้นจะมีการจัดทำบัตรเครดิตเฉพาะเอ็นจีวีออกมาก่อน โดยอาจจะมีการช่วยเหลือเฉพาะรถแท็กซี่เท่านั้น เนื่องจากรถประเภทอื่นๆ เช่น ตุ๊กตุ๊ก รถตู้ รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ไม่ได้ถูกควบคุมราคาเหมือนกับแท็กซี่มิเตอร์ โดยปัจจุบันนี้แท็กซี่ที่ติดตั้งเอ็นจีวีมีประมาน 5.8 หมื่นคัน ตุ๊กตุ๊ก เอ็นจีวี 1.7 พันคัน โดยแนวทางคาดว่าจะมีการเสนอต่อกระทรวงพลังงาน ในการขยับขึ้นราคาเอ็นจีวี จาก 8.50 บาท เป็น 10.50 บาท ต่อกิโลกรัม ในขณะที่บัตรเครดิตพลังงานที่ออกมาสำหรับรถแท็กซี่จะมีการตรึงราคาเท่าเดิม และจะมีการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาอุถดหนุน 2 บาทต่อกิโลกรัมเช่นเดิม
"รถตุ๊กตุ๊ก และรถตู้ ที่ใช้เอ็นจีวี ปัจจุบันพบว่าได้ประโยชน์จากการตรึงราคาเอ็นจีวี แต่กลับไปขึ้นราคาค่าโดยสารกับประชาชน ดังนั้น หากออกบัตรเครดิตพลังงานมาช่วยเหลือก็น่าจะช่วยเฉพาะแท็กซี่ที่มีมิเตอร์คุมราคาและสามารถตรวจสอบได้"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 24
อย่างแรกผมอยากถามว่าคุณรู้จักเกษตรตัวจริงกันหรือเปล่า ว่าเขาได้เงินมาก็เอาไปซื้อโน่นซื้อนี่หมด? หรือว่าฟังๆเขาว่ากันมา? ผมว่าต้องมองในมุมของเกษตรกรนะครับ อย่ามองในมุมของคุณเอง คุณๆได้โอกาสที่ดีกว่าเขามากมาย อาจจะพ่อแม่สร้างมาดีหรือคุณมีโอกาสที่คุณได้สร้างมาเองก็แล้วแต่SamuelYeD เขียน:เห็นด้วยเลยครับ ไม่ไหวจริงนักการเมืองสมัยนี้ นโยบายเสพติดความสุข ให้ทุกอย่าง ยกเว้นความรู้ แล้วอย่างงี้ชาวนาchootana เขียน:เกษตรกรตัวจริงก็สร้างหนี้กันปาย คนที่ได้คือเจ้าของที่ แต่ต้องยอมรับอย่างนึงว่า สมองแต่ละทุกคนไม่ได้ฉลาดเท่ากัน เกษตรกรส่วนใหญ่ทำมา พอมีเงินเหลือก็ซื้อโน่นซื้อนี่ แทนที่จะเก็บเงินไว้ลงทุนต่อ แทนที่จะช่วยพักหนี้ รัฐบาลหาทางให้ชาวนาทำผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นดีกว่า (ศึกษาจากเวียดนามก็ได้ เอ้า!)MO101 เขียน:เหมือนกับว่าเป็นเกษตรกร นี่ไม่ต้องจ่ายหนี้เลยนะครับ
รบ ไหนมาก็พักชำระหนี้กันหมด
ที่ขยันทำงาน แล้วเก็บเงินไปใช้หนี้ แทนที่จะเป็นคนดี คนขยัน กลับกลายเป็นคนเสียเปรียบ เพราะพวกมักง่ายทั้งหลายๆ
แต่เกษตรกรหลายๆคน เขาก็เลือกที่จะทำเพราะมีเหตุผลหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านการศึกษา ความรักในพื้นแผ่นดินที่อยู่ ฯลฯ
- อย่างในกรณีของการพักชำระหนี้ อย่างแรกต้องคิดก่อนถึงตอนเราเป็นหนี้ อาจจะมาจากหลายสาเหตุ ความไม่รู้หรือความผิดพลาดบางอย่างหรือดินฟ้าอากาศทำให้เจ๊ง ก็มีเยอะ หลังจากประเมินเหตุได้แล้วก็มาดูที่ผลครับ ผลคือเป็นหนี้เพราะต้องกู้เงินทุนมาก่อน เป็นหนี้เยอะๆก็เครียดจนหาทางออกไปทำอย่างอื่นได้ยากแล้วครับ มันเป็นเหมือนบ่วงที่มัดเราไว้ อาจจะมีบางคนที่รอดมาได้ (แค่ส่วนน้อยที่หาทางรอดจากวิกฤตแล้วแปลงเป็นโอกาสได้ ~เพราะเราก็เคยฟังแต่เรื่องคนสำเร็จ เข้า concept คนตายไม่ได้พูดอีก)
- ส่วนเรื่องการพัฒนาผลผลิตต้องเป็นสิ่งที่ตามมาหรือทำควบคู่ขนานกันไปต้องไปดูที่คุณภาพของ พวกกระทรวงเกษตร ต่างๆ ผมเห็นคนชอบว่าแต่นักการเมืองไม่ว่าจะ รัฐบาลไหนก็แล้วแต่ แต่ไม่ได้ดูคนที่ทำงานประจำ พวกราชการ ที่ควรจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักซะมากกว่าว่าต้องมีการพัฒนา competency หลักของชาติ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
- py106
- Verified User
- โพสต์: 296
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 25
เรื่อง 30 บาทถ้ามองตามหลักวิชาการและประวัติศาสตร์สาธารณสุขระดับนานาชาติจะพบว่าระบบว่าเป็นการจ่ายส่วนหนึ่ง (ส่วนน้อย) ในการรักษา ก็จะตรงกับงานวิจัยและประวัติศาสตร์ที่ประเทศพัฒนาแล้วเค้าทำกันมาว่า จะไม่ทำให้คนมาใช้บริการมากเกินความจำเป็น สามารถลดปริมาณการใช้ยาที่เกินความพอดี ซึ่งก็จะไปลดปริมาณการนำเข้ายา (หรือนำเข้าวัตถุดิบผลิตยา... ประเทศไทยผลิตไม่ได้นะครับวัตถุดิบผลิตยาเนี่ย) และ health expenditure per capita ต่อไปนั่นเอง...
การมองว่าเก็บ 30 บาทไม่คุ้มนั้นเป็นการมองข้ามหลักฐานทางวิชาการมากไป คิดแบบง่ายๆ แบบคนไทย... ไม่ได้มองให้ลึกซึ้งกว่านั้น... ยกตัวอย่างเช่น ประเทศบางประเทศในยุโรปเก็บค่าบริการ 5 EUR ซึ่งก็ถือเป็นเงินเล็กน้อยของเค้า ก็เข้าใจได้ว่า ไม่มีความคุ้มค่าที่สถานบริการสาธารณสุขจะจัดเก็บ แต่ที่จัดเก็บเพราะความลึกซึ้งดังข้างต้น... ทั้งนี้ ที่ต้องมีการเก็บเพราะเดิมทีนโยบายรักษาฟรีของประเทศเหล่านี้ทำให้เกิด burden มหาศาลกับงบประมาณของประเทศ... ท่านเชื่อหรือไม่ว่าเงินเล็กน้อยแค่นี้กลับช่วยระบบสาธารณสุขของประเทศได้อย่างมหาศาลในทางอ้อม...
ยิ่งตอนนี้สถานการณ์ในประเทศจะเหมือนกับประเทศในยุโรปที่เดิมเคยได้รับรักษาฟรี แล้วจะเปลี่ยนมาเป็นเก็บตังนิดหน่อย... คาดว่าผลกระทบแบบเดียวกันน่าจะเกิดขึ้น คือ คนคิดมากขึ้นเล็กน้อยกับการป่วยที่ไม่ต้องไปโรงพยาบาล แต่ก็ยังอุ่นใจอยู่ว่า หากป่วยหนัก แค่มี 30 บาทก็พอแล้ว...
แต่ถ้ามองทางการเมือง... มองทางด้าน image ของพรรค... มองทางด้านที่ว่านโยบายขานโยบายเอ็ง... อันนี้ไม่ขอออกความเห็น!!!
การมองว่าเก็บ 30 บาทไม่คุ้มนั้นเป็นการมองข้ามหลักฐานทางวิชาการมากไป คิดแบบง่ายๆ แบบคนไทย... ไม่ได้มองให้ลึกซึ้งกว่านั้น... ยกตัวอย่างเช่น ประเทศบางประเทศในยุโรปเก็บค่าบริการ 5 EUR ซึ่งก็ถือเป็นเงินเล็กน้อยของเค้า ก็เข้าใจได้ว่า ไม่มีความคุ้มค่าที่สถานบริการสาธารณสุขจะจัดเก็บ แต่ที่จัดเก็บเพราะความลึกซึ้งดังข้างต้น... ทั้งนี้ ที่ต้องมีการเก็บเพราะเดิมทีนโยบายรักษาฟรีของประเทศเหล่านี้ทำให้เกิด burden มหาศาลกับงบประมาณของประเทศ... ท่านเชื่อหรือไม่ว่าเงินเล็กน้อยแค่นี้กลับช่วยระบบสาธารณสุขของประเทศได้อย่างมหาศาลในทางอ้อม...
ยิ่งตอนนี้สถานการณ์ในประเทศจะเหมือนกับประเทศในยุโรปที่เดิมเคยได้รับรักษาฟรี แล้วจะเปลี่ยนมาเป็นเก็บตังนิดหน่อย... คาดว่าผลกระทบแบบเดียวกันน่าจะเกิดขึ้น คือ คนคิดมากขึ้นเล็กน้อยกับการป่วยที่ไม่ต้องไปโรงพยาบาล แต่ก็ยังอุ่นใจอยู่ว่า หากป่วยหนัก แค่มี 30 บาทก็พอแล้ว...
แต่ถ้ามองทางการเมือง... มองทางด้าน image ของพรรค... มองทางด้านที่ว่านโยบายขานโยบายเอ็ง... อันนี้ไม่ขอออกความเห็น!!!
แวะไปเยี่ยมเยียนกันได้ครับ ^^
http://py106travel.blogspot.com
http://py106travel.blogspot.com
- yoyoeffect
- Verified User
- โพสต์: 364
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 26
ผมเห็นด้วยกับการเก็บค่าใช้จ่ายบางส่วน ในการเข้ารับการรักษาด้วยเหตุผลที่กล่าวมากันข้างต้น ไม่ว่าจะลดภาระงานโดยไม่จำเป็นของผู้ให้บริการแล้ว คนมาใช้บริการยังรู้สึกว่าไม่ได้มาขอรักษาฟรี
ผมยังคิดว่า น่าจะเพิ่มเป็น 35 หรือ 40 บาท ด้วยซ้ำไป(ขึ้นตามค่าแรง เงินเดือน)
(แต่ตามหลักประชานิยม คงเป็นไปได้ยาก จากไม่เก็บมาเก็บ 30 บาทแถมจะเพิ่มอีก)
ส่วนในยุโรป เท่าที่ผมทราบ(เยอรมัน) ที่เค้ามีสวัสดิการรักษา แต่ก็ต้องซื้อประกันไว้ หรือจ่ายตอนขณะทำงานสูงพอสมควร คล้ายๆประกันสังคมบ้านเรา ส่วนภาษีเค้าจ่าย ประมาณ 50%ของรายได้
ผมยังคิดว่า น่าจะเพิ่มเป็น 35 หรือ 40 บาท ด้วยซ้ำไป(ขึ้นตามค่าแรง เงินเดือน)
(แต่ตามหลักประชานิยม คงเป็นไปได้ยาก จากไม่เก็บมาเก็บ 30 บาทแถมจะเพิ่มอีก)
ส่วนในยุโรป เท่าที่ผมทราบ(เยอรมัน) ที่เค้ามีสวัสดิการรักษา แต่ก็ต้องซื้อประกันไว้ หรือจ่ายตอนขณะทำงานสูงพอสมควร คล้ายๆประกันสังคมบ้านเรา ส่วนภาษีเค้าจ่าย ประมาณ 50%ของรายได้
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นโยบายใหม่รัฐบาลจากที่แถลงการ
โพสต์ที่ 27
เรื่องสวัสดิการสังคมนี่ ขอยกตัวอย่าง Canada ครับพอดีได้ไปอยู่มาปีหนึ่ง คนที่โน่นเข้าจ่ายภาษีกันโหดมาก บางราย 50%+ แต่ก็จะได้สิทธิในการรักษามากกว่าคนอื่นเช่นในเรื่องของทำฟัน การเก็บ Tax เยอะๆทำให้ความเท่าเทียมมีมากขึ้น อีกอย่าง homeless ที่โน่นอยู่ condo อย่างดีครับมีเงินให้ในแต่ละเดือน ถึงแม้ว่าจะมาขอเงินตามถนนก็ตามเถอะ แต่ไม่ให้ก็ไม่ได้แสดงท่าทีอะไร รวมทั้งคนที่โน่นไม่ lock ประตูบ้านครับ เพราะไม่มีคนมาขโมย ครับ
ถึงแม้คนที่เสียภาษีเยอะเขาจะบ่นก็ตามว่าทำไมต้องเอาอุ้มคนที่ไม่ทำงาน เน้นว่าไม่ทำงานนะครับ แต่เขาก็ได้่แลกกับความปลอดภัยที่มากขึ้นมาแทนตามความเห็นผมครับ
ถึงแม้คนที่เสียภาษีเยอะเขาจะบ่นก็ตามว่าทำไมต้องเอาอุ้มคนที่ไม่ทำงาน เน้นว่าไม่ทำงานนะครับ แต่เขาก็ได้่แลกกับความปลอดภัยที่มากขึ้นมาแทนตามความเห็นผมครับ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment