หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 9:47 am
โดย noooon010
นำมาจาก web ของพี่โจ๊กครับ
ขออนุญาติพี่โจ๊กเรียบร้อยแล้วครับ

คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆนักลงทุนบ้างไม่มากก็น้อยครับ
:D
*******************************************

0407: ตรวจฟองสบู่

มีนักลงทุนถามผมอยู่เสมอว่า จะมีวิธีดูยังไงว่ากำลังจะมีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นหรือไม่ จะได้เตรียมการรับมือปรับพอร์ตการลงทุนกันได้ทัน

ผมยอมรับว่าการทำนายวิกฤตล่วงหน้าเป็นสิ่งที่ยากมากทีเดียว ผมจึงตอบคำถามนี้ได้ไม่ถนัด ส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะได้แค่พอรู้ว่า มีสัญญาณอะไรบางอย่างที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจอาจกำลังเติบโตแบบไม่ยั่งยืน และอาจเป็นผลให้เกิดวิกฤตขึ้นในอนาคตได้ แต่เป็นเรื่องยากมาก ที่จะระบุว่า วิกฤตที่ว่านั้นจะเกิดเมื่อใด

ตัวอย่างเช่น วิกฤตเงินดอลล่าร์นั้นที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่พูดกันมานานเกือบยี่สิบปีแล้ว เพราะสหรัฐฯ ขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่สูงมาก จนทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าเป็นระดับที่ไม่ sustainable แต่ปีแล้วปีเล่า วิกฤตก็ไม่เกิด ดอลล่าร์มีแต่แข็งขึ้น ติดต่อกันนานหลายปี กว่าจะเกิดให้เห็นเป็นวิกฤตรุนแรงจริงๆ ก็อีกเกือบยี่สิบปีให้หลังเลยทีเดียว ส่วนใหญ่แล้ว วิกฤตที่กลัวกันมักจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์อะไรบางอย่างที่อาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับวิกฤตนั้นก็ได้แต่มา “ลั่นไก” ให้ปัญหาที่สะสมอยู่นานระเบิดขึ้น อย่างกรณีของวิกฤตเงินดอลล่าร์ก็คือ ปัญหาซัพไพร์มและการล้มละลายของเลห์แมนบราเดอร์นั่นเอง และเหตุที่เราทำนายได้ยากว่าช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตจะเป็นเมื่อไรก็เพราะเรามักไม่มีทางรู้ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรที่มา “ลั่นไก” ให้วิกฤตเริ่มต้นขึ้น

ตัวอย่างนี้ทำให้มองเห็นได้ว่า บางทีมันอาจไม่ค่อยคุ้มเท่าไรนักที่เราจะพยายามคาดการณ์วิกฤตแล้วล้างพอร์ตหุ้นล่วงหน้า เพราะหากเราหยุดลงทุนไปเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เพราะรู้ว่าจะต้องมีวิกฤตเงินดอลล่าร์เกิดขึ้น ก็เท่ากับเราค่าเสียโอกาสลงทุนเป็นยี่สิบปีเลยทีเดียว ค่าเสียโอกาสนี้อาจจะมากกว่าความเสียหายของพอร์ตที่เกิดจากผลของวิกฤตจริงๆ ก็ได้ เพราะคนที่ลงทุนอย่างต่อเนื่องยี่สิบปีเพราะไม่รู้ว่าจะมีวิกฤต อาจทำให้พอร์ตโตขึ้นได้ 4-5 เท่าไปแล้ว พอเกิดวิกฤต พอร์ตอาจลดลงไป 50% แต่ถ้าคิดผลสุทธิแล้วก็ยังดีกว่า คนที่หยุดลงทุนไปยี่สิบปีเพื่อพยายามเลี่ยงวิกฤต

เพราะฉะนั้นผมจึงไม่อยากให้วิตกเรื่องวิกฤตกันมากนักจนทำให้ไม่กล้าลงทุน เชื่อหรือไม่ว่าความกังวลเรื่องวิกฤตนี่มีอยู่ตลาดแทบตลอดเวลา จำไว้ว่า การทายวิกฤตล่วงหน้าอาจจะเป็นไปได้ แต่การระบุช่วงเวลาแน่นอนที่จะเกิดนั้นยากมาก มันจึงอาจไม่คุ้มมากนักที่จะกังวลกับวิกฤตมากจนเกินไป

แต่เอาเถอะ ถ้าหากจะให้ผม “ตรวจวิกฤต” จริงๆ ผมคงตรวจสอบจากตัวชี้วัดต่อไปนี้ครับ

ตัวแรกที่ผมจะดูคือ ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันนานๆ เป็นสาเหตุของวิกฤตมาแล้วหลายหน ตัวเลขนี้ควรจะเป็นบวกแทบทุกปี เพราะเป็นการแสดงว่า ประเทศยังขายของได้มากกว่าที่นำเข้า ดังนั้นโอกาสที่จะตกอับ เพราะไม่มีเงินตราต่างประเทศไว้นำเข้าสินค้าคงจะไม่เกิดขึ้นง่ายๆ ตัวเลขนี้หากจะติดลบบ้างก็ขอแค่สักปีเดียวแล้วผงกหัวขึ้น แต่ถ้าตัวเลขนี้ติดลบติดต่อกันนานๆ หลายปี ด้วยขนาดที่ใหญ่เกิน 3% ของจีดีพี อันนี้น่าเป็นห่วง

ถ้าหากตัวเลขนี้ดูแล้วน่าเป็นห่วง ตัวเลขที่ผมจะเอามาดูต่อก็คือ หนี้ต่างประเทศระยะสั้น เทียบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยปกติแล้วประเทศกำลังพัฒนาควรจะมีทุนสำรองเท่ากับหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอย่างน้อยสัก 6 เดือนขึ้นไป เพราะจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในสายตานักลงทุนต่างประเทศ ถ้าหากเกิดความวุ่นวายในตลาดเงินของโลกขึ้นมา เขาจะได้ไม่ตื่นตกใจแห่ขนเงินหนีออกจากประเทศของเราครับ

ช่วงนี้ประเทศไทยมีตัวเลขทั้งสองตัวนี้ที่ดูดีมากทีเดียว เป็นภาพที่แตกต่างจากช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งมากเลยครับ เพราะฉะนั้นก็สบายใจกันไปได้เปราะหนึ่ง

ถัดมาผมจะดูอัตราการเติบโตของปริมาณเงินในประเทศ (Money Supply Growth) เป็นตัวต่อไป โดยปกติ ปริมาณเงินในประเทศเฉลี่ยหลายๆ ปีควรจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็คืออัตราการเติบโตของจีดีพีนั่นเอง เช่น ถ้าจีดีพีโตปีละ 5% ปริมาณเงินก็ควรจะเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5% ด้วย แต่ถ้าเพิ่มขึ้นปีละ 20% ทุกปี ก็อาจเป็นการเติบโตแบบฟองสบู่ได้ เพราะในระยะสั้นถ้าปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้นมาก คนหาเงินมาลงทุนง่าย ก็มักลงทุนเกินตัว ทำให้ภาพระยะสั้นดูดี แต่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจภายในประเทศแบบฟองสบู่ตามมา

ตัวเลขที่บอกปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจนั้นมีหลายตัว ขึ้นอยู่กับนิยามของคำว่าเงิน แต่ตัวที่เป็นนิยมดูกันมากที่สุดก็น่าจะเป็น M2 นะครับ

โดยปกติแล้ว ในระยะยาวปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจควรจะเติบโตในอัตราเดียวกันกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ถ้า GDP โตปีละ 7% แต่ปริมาณเงินโตปีละ 20% ติดต่อกัน 4-5 ปีขึ้นไปก็เป็นสัญญาณว่าอาจเป็นการเติบโตแบบฟองสบู่ ในช่วงปี 2006-2009 ประเทศไทยมีปริมาณเงินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7.6% ต่อปี ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของจีดีพีบวกด้วยเงินเฟ้อในช่วงเวลาเดียวกันแล้ว ถือว่าใกล้เคียงกันมาก แบบนี้ก็ช่วยให้สบายใจได้ครับ

ไหนๆ ดู Money Supply Growth แล้ว ผมก็จะเหลือบไปดูตัวชี้วัดอีกตัวหนึ่งเพิ่มด้วยคือ Loan to Deposit Ratio ของระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่บอกว่า ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบปล่อยกู้ไปแล้วคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินฝากที่มีอยู่ ในทางทฤษฎีควรจะเท่ากัน (คือเท่ากับ 100%) ถ้าต่ำกว่าก็แปลว่าธนาคารยังค่อนข้างปล่อยสินเชื่อแบบระมัดระวังอยู่ ซึ่งก็เป็นเรื่องดี ถ้าเรากำลังกลัวฟองสบู่อยู่ แต่ถ้าสูงกว่า 100% มากๆ ติดต่อกันนานๆ ก็อาจแสดงว่า ธนาคารค่อนข้าง Bullish ในการปล่อยสินเชื่อ และอาจทำให้ต้องคิดได้ว่าเศรษฐกิจจะเกิดภาวะ overheat ได้รึเปล่า ณ สิ้นปี 2010 ธนาคารพาณิชย์ไทยมี L/D ratio อยู่ที่ 117% ก็ถือว่าสูง แต่ก็ยังไม่ถึงกับน่ากลัวมากนัก ยิ่งถ้านับตั๋วบีอี ซึ่งธนาคารสมัยนี้นิยมอออกกันมากว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินฝากด้วย ตัวเลขนี้จะอยู่ที่ 88% เท่านั้น ซึ่งอาจถือได้ว่าธนาคารยังปล่อยกู้กันน้อยไปด้วยซ้ำ

ถัดจากนี้ไปอีก ถ้ายังไม่สะใจอีก อีกตัวเลขหนึ่งที่ผมชอบดูเรียกว่า ICOR หรือ Incremental Capital per Output Ratio หรือ ICOR ตัวเลขนี้มีหน่วยเป็นเท่า ซึ่งจะบอกว่า เศรษฐกิจต้องอัดเงินลงทุนเพิ่มกี่บาท ถึงจะสร้างการเติบโตของจีดีพีได้ 1 บาท เช่น ถ้าเท่ากับ 2 ก็แปลว่า เราจะต้องลงทุน 2 บาท ถึงจะทำให้เกิด GDP Growth ได้ 1 บาท เป็นต้น ตัวเลขนี้ยิ่งมากเท่าไรก็แสดงว่าเราใกล้จะถึงจุดอิ่มตัวของศักยภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว เพราะแปลว่าเราต้องใช้เงินลงทุนมากขึ้น ในการสร้างการเติบโตที่เท่ากัน ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีนัยสำคัญ​ ไม่ช้าไม่นาน การลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตก็จะถึงจุดอิ่มตัว เพราะเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปเท่าไรก็ไม่สามารถทำให้เกิดการเติบโตได้ ถ้าไม่ถึงกับเป็นวิกฤต ก็อาจมีภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังจะตามมาได้

หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ตัวเลขนี้ของบ้านเรามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากประมาณ 3-4 เท่าในช่วงปี 2002-2004 มาเป็น 5 เท่า ในช่วงปี 2005-2007 และสูงสุดในปี 2009 ที่ 9.1 เท่าเมื่อเกิดวิกฤตซับไพรม์ ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่อาจจะต้องจับตาดูเหมือนกันว่าจะเป็นต้นเหตุทำให้เศรษฐกิจเกิดภาวะอิ่มตัวในอนาคตอันใกล้ได้รึเปล่า เพราะในช่วงห้าปีก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ตัวเลขนี้ของไทยก็เคยมีค่าเฉลี่ยสูงราวๆ 6.7 เท่าต่อปี ซึ่งนับว่าสูงเกินไป

แต่ถ้าหากพิจารณาจากตัวเลขทั้งหมดที่กล่าวมาโดยรวมแล้ว คิดว่ายังไม่มีอะไรที่ต้องเป็นห่วงมากครับ เอาไว้อีกสัก 1-2 ปีค่อยเอาตัวเลขเหล่านี้มาดูกันอีกรอบว่าเปลี่ยนไปแค่ไหน

อีกประเด็นหนึ่งที่อยากฝากไว้ก็คือ ในวิกฤตแต่ละครั้ง สิ่งที่มา “ลั่นไก” ให้เกิดวิกฤตมักเป็นคนละสิ่งเสมอ เพราะสิ่งที่เคยลั่นไกให้เกิดวิกฤตไปแล้วมักได้รับการดูแลอย่างดีหลังจากนั้นเลยทำให้ทำให้เกิดวิกฤตอีก ดังนั้นสิ่งที่จะลั่นไกให้เกิดวิกฤตครั้งต่อไปนั้นจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดไม่ถึงมาก่อนเสมอ ทำให้มันไม่ได้รับการป้องกันที่ดีพอ และนั่นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การทำนายวิกฤตเป็นเรื่องยาก

Read more: http://dekisugi.net/#ixzz1XtI4zOrz
Under Creative Commons License: Attribution Non-Commercial No Derivatives

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 10:10 am
โดย ตามด้วยคน
ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากเลยครับ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 10:15 am
โดย chatchai
ขอบคุณสำหรับคุณ Noooon010 ที่นำบทความดีๆมาให้อ่าน

และขอบคุณคุณสุมาอี้ที่เขียนบทความดีๆ และให้นำมาเผยแพร่

ผมมีความคิดเหมือนคุณสุมาอี้ว่า การวิเคราะห์ปัญหาอย่างไม่ยากนัก แต่การที่จะระบุว่าปัญหานั้นจะสร้างความเสียหายเมื่อไร เป็นสิ่งที่ยากมาก เพราะเศรษฐกิจระดับโลกนั้นซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะรู้

ถ้าเราคิดว่ามีปัญหาแล้วเราจะไม่ลงทุนเลย เราก็คงจะไม่ได้ลงทุนเลยไปตลอดชีวิต เพราะโลกในปัจจุบันมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นมุมไหนในโลก และด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกันอย่างมาก เราก็จะเสียโอกาสในการลงทุน

ดังนั้น ทางที่ดี เราก็ควรที่จะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยตลอดเวลา ไม่ควรที่เสี่ยงมากเกินไป

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 10:27 am
โดย awesomekid
chatchai เขียน:ขอบคุณสำหรับคุณ Noooon010 ที่นำบทความดีๆมาให้อ่าน

และขอบคุณคุณสุมาอี้ที่เขียนบทความดีๆ และให้นำมาเผยแพร่

ผมมีความคิดเหมือนคุณสุมาอี้ว่า การวิเคราะห์ปัญหาอย่างไม่ยากนัก แต่การที่จะระบุว่าปัญหานั้นจะสร้างความเสียหายเมื่อไร เป็นสิ่งที่ยากมาก เพราะเศรษฐกิจระดับโลกนั้นซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะรู้

ถ้าเราคิดว่ามีปัญหาแล้วเราจะไม่ลงทุนเลย เราก็คงจะไม่ได้ลงทุนเลยไปตลอดชีวิต เพราะโลกในปัจจุบันมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นมุมไหนในโลก และด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกันอย่างมาก เราก็จะเสียโอกาสในการลงทุน

ดังนั้น ทางที่ดี เราก็ควรที่จะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยตลอดเวลา ไม่ควรที่เสี่ยงมากเกินไป
ขอบคุณพี่ที่ใจดีมาเตือนสติครับ ^^ ยิ่งตรงเนี่ย

ถ้าเราคิดว่ามีปัญหาแล้วเราจะไม่ลงทุนเลย เราก็คงจะไม่ได้ลงทุนเลยไปตลอดชีวิต เพราะโลกในปัจจุบันมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นมุมไหนในโลก และด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกันอย่างมาก เราก็จะเสียโอกาสในการลงทุน

ดังนั้น ทางที่ดี เราก็ควรที่จะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยตลอดเวลา ไม่ควรที่เสี่ยงมากเกินไป



โดนมาก ๆ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 11:20 am
โดย chootana
ขอบคุณครับ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 11:22 am
โดย saichon
บทความนี้มาถูกที่ ถูกเวลาดีจังครับ :D

ขอบคุณครับ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 11:43 am
โดย xylemoo
ขอบคุณพี่ๆทุกคนที่ให้ความรู้ครับ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 12:11 pm
โดย shinray
ขอบคุณมากสำหรับบทความดีดี นะครับ :D

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 12:36 pm
โดย good to great
chatchai เขียน:ขอบคุณสำหรับคุณ Noooon010 ที่นำบทความดีๆมาให้อ่าน

และขอบคุณคุณสุมาอี้ที่เขียนบทความดีๆ และให้นำมาเผยแพร่

ผมมีความคิดเหมือนคุณสุมาอี้ว่า การวิเคราะห์ปัญหาอย่างไม่ยากนัก แต่การที่จะระบุว่าปัญหานั้นจะสร้างความเสียหายเมื่อไร เป็นสิ่งที่ยากมาก เพราะเศรษฐกิจระดับโลกนั้นซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะรู้

ถ้าเราคิดว่ามีปัญหาแล้วเราจะไม่ลงทุนเลย เราก็คงจะไม่ได้ลงทุนเลยไปตลอดชีวิต เพราะโลกในปัจจุบันมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นมุมไหนในโลก และด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกันอย่างมาก เราก็จะเสียโอกาสในการลงทุน

ดังนั้น ทางที่ดี เราก็ควรที่จะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยตลอดเวลา ไม่ควรที่เสี่ยงมากเกินไป
เออ พี่ครับถ้าจำไม่ผิด ผมเคยดูใน money talk จำได้ว่าพี่ออกมาก่อนจะเกิดวิกฤต เพราะคาดว่าวิกฤตกำลังจะเกิดขึ้น แสดงว่าจริงๆแล้ว พี่ก็ดูแนวโน้มใหญ่เหมือนกันใช่มั้ยครับว่า อะไรกำลังจะมา ขออนุญาต ถามต่อเลยครับว่า แล้วพี่มองยังไงอะครับรอบนี้ คือในใจผมว่าหลายๆคนคงคิดคล้ายกันหรือเปล่าครับว่าขาลงรอบใหญ่กำลังจะมา เออ ถ้าผมจำผิด ต้องขออภัยครับ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 1:35 pm
โดย Undead
ตามความเห็นของผม สภาพเศรษฐกิจบ้านเราน่าจะยังโอเคอยู่

แต่ตลาดหุ้นก็ไม่น่าจะดีเพราะปัจจัยกลัวจากสภาพแวดล้อมอื่นๆ

เช่น ปัญหายุโรป อเมริกา คงต้องรอลุ้นมาตราการที่จะทางนั้นจะออกมา

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 1:39 pm
โดย harikung
เป็นบทความที่ดีมากๆเลยครับ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 5:43 pm
โดย hatehate
ขอบคุณมากครับ เป็นบทความที่ดีมาก

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 6:15 pm
โดย thaloengsak

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 6:17 pm
โดย thaloengsak

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 10:33 pm
โดย simplelife
ก่อนฟองสบู่จะแตก ไม่มีึใครรู้ตัวหรอกครับ ปัจจุบันมันเป็นฟองสบู่ เหมือนกับเรื่อง housing bubble ในสหรัฐเมื่อหลายปีก่อน ถึงหลายๆคนจะบอกว่ามัน bubble คนจำนวนมากกว่ากลับบอกว่า "ต้องรีบซื้อบ้าน ก่อนที่บ้านจะราคาขึ้นไปอีก ที่ดินมันไม่ได้มีเพิ่มนะ มันมีแต่จะหมดไป"

ให้ผมสมมติว่า ราคาทองในปัจจุบัน อีก 4-5 ปี เกิดตกอย่างรุนแรงขึ้นมา กลับไปเหลือ 15,000 เหมือนเดิม ถามคนจำนวนมากในปัจจุบัน "ก็จะบอกว่ามันไปไม่ได้หรอก ทองมันหาเพิ่มได้ไม่มากนะ ใครๆก็อยากซื้อทอง ยิ่งจีนซื้อทองยิ่งหมด" เพราะถ้าคนส่วนมากเชื่อว่ามัน overprice มันก็จะยืนอยู่ราคานี้ไม่ได้หรอกครับ

แต่ถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ คนใน 4-5 ปีข้างหน้าก็จะเริ่มคิดย้อนหลัง ว่าตอนนั้นคิดอะไร ไปซื้อทองที่บาทละ 27,000 บ้าหรือเปล่า ตอนนั้นเราถึงจะรู้ตัวกันว่า bubble มันแปลว่าอะไร

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 11:29 pm
โดย chitadisai
ขอบคุณครับ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 14, 2011 11:43 pm
โดย chatchai
good to great เขียน:
chatchai เขียน:ขอบคุณสำหรับคุณ Noooon010 ที่นำบทความดีๆมาให้อ่าน

และขอบคุณคุณสุมาอี้ที่เขียนบทความดีๆ และให้นำมาเผยแพร่

ผมมีความคิดเหมือนคุณสุมาอี้ว่า การวิเคราะห์ปัญหาอย่างไม่ยากนัก แต่การที่จะระบุว่าปัญหานั้นจะสร้างความเสียหายเมื่อไร เป็นสิ่งที่ยากมาก เพราะเศรษฐกิจระดับโลกนั้นซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะรู้

ถ้าเราคิดว่ามีปัญหาแล้วเราจะไม่ลงทุนเลย เราก็คงจะไม่ได้ลงทุนเลยไปตลอดชีวิต เพราะโลกในปัจจุบันมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นมุมไหนในโลก และด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกันอย่างมาก เราก็จะเสียโอกาสในการลงทุน

ดังนั้น ทางที่ดี เราก็ควรที่จะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยตลอดเวลา ไม่ควรที่เสี่ยงมากเกินไป
เออ พี่ครับถ้าจำไม่ผิด ผมเคยดูใน money talk จำได้ว่าพี่ออกมาก่อนจะเกิดวิกฤต เพราะคาดว่าวิกฤตกำลังจะเกิดขึ้น แสดงว่าจริงๆแล้ว พี่ก็ดูแนวโน้มใหญ่เหมือนกันใช่มั้ยครับว่า อะไรกำลังจะมา ขออนุญาต ถามต่อเลยครับว่า แล้วพี่มองยังไงอะครับรอบนี้ คือในใจผมว่าหลายๆคนคงคิดคล้ายกันหรือเปล่าครับว่าขาลงรอบใหญ่กำลังจะมา เออ ถ้าผมจำผิด ต้องขออภัยครับ
ผมวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคเท่าที่ผมจะพอเท่าได้ครับ วิเคราะห์เพื่อดูว่าจะส่งผลกระทบต่อบริษัทที่ผมลงทุนอย่างไร

วิกฤตที่พูดถึงคงเป็นวิกฤตปี 40 คราวนั้นปัญหาอยู่ที่ประเทศไทย ผลกระทบมากและกระจายเป็นวงกว้าง ผมก็ถือเงินสด เพื่อรอให้ปัญหาถูกแก้ไขให้เรียบร้อย และรับรู้ความเสียหายจนชัดเจนแล้ว จึงกลับมาลงทุนใหม่

วิกฤต Sub Prime ฐานะทางการเงิน การคลังของไทยแข็งแกร่งมาก รวมทั้งของบริษัทจดทะเบียน ผลกระทบต่อบริษัทในตลาดมีจำกัดอยู่ในบางอุตสาหกรรม บริษัทที่ผมลงทุนก็ได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มากนัก ผมก็ถือลงทุน 100%

ครั้งนี้ ปัญหาอยู่ที่ยุโรป ฐานะทางการเงิน การคลังของไทย และบริษัทในไทยก็ยังแข็งแกร่งอยู่ ก็คงคล้ายๆกับตอน Sub Prime ครับ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 15, 2011 12:12 am
โดย jo7393
ขอบคุณครับ สำหรับบทความดีๆ รวมถึงความเห็นดีๆของพี่ฉัตรชัยด้วยครับ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 15, 2011 11:37 am
โดย KimVi
ขอบคุณพี่ฉัตรชัยครับที่ให้ความกระจ่าง :bow: :bow: :bow:

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 15, 2011 2:20 pm
โดย xiaonong
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆที่มาให้อ่านเช่นกันครับ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 15, 2011 11:27 pm
โดย Prelude
ขอบคุณครับ :D

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 16, 2011 1:09 am
โดย pla_0072
เป็นบทความที่เหมาะเจาะทั้งเนื้อหาและเวลาคะ

Re: ตรวจฟองสบู่ โดยพี่โจ๊ก นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 16, 2011 10:33 am
โดย JN_5480
ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ
หนี้ต่างประเทศระยะสั้น เทียบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ
อัตราการเติบโตของปริมาณเงินในประเทศ (Money Supply Growth)
ICOR

ไม่ทราบว่าดูจากเว็บไหนและมีการจัดทำกันถี่แค่ไหนครับ