หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะให้คุณให้โทษบริษัทแบบไหนบ้าง

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 9:46 pm
โดย tidy
เหลือเวลา 3 ปีกว่าๆ AEC จะคลอดแล้ว เพื่อนๆ พี่ๆ มีมุมมองอย่างไรกันบ้างครับ

Re: ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะให้คุณให้โทษบริษัทแบบไหนบ้าง

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 20, 2011 7:07 pm
โดย hariphunchai
ประชาคมอาเซียน2558 ต้องรับมืออย่างไร

http://www.youtube.com/watch?v=Ku-2hE4a ... re=related

Re: ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะให้คุณให้โทษบริษัทแบบไหนบ้าง

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 20, 2011 7:59 pm
โดย hariphunchai
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community = AEC)

โดย ชวลิต องควานิช
ประธานกรรมการที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดอุบลฯ
(บทความมกราคม 2553)

สะบายดีปีเสือ ทุกคนต้องทำใจดีสู้เสือต้อนรับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป เราต้องฟันฝ่ามรสุมเศรษฐกิจที่กำลังรุกเร้าและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นถี่มากขึ้น เช่น แผ่นดินไหวที่ประเทศเฮติ คร่าชีวิตมนุษย์ไปราวสองแสนคน และไร้ที่อยู่อาศัยนับล้านคนและต้องสู้กับโรคภัยและความอดอยากต่าง ๆ นานา อีกทั้งภัยหนาว พายุหิมะคุกคามไปทั่วยุโรป อเมริกา จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งยังไม่รู้จะมีภัยธรรมชาติอะไร ที่จะเกิดขึ้นอีกตลอดปีเสือนี้
การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) มีเป้าหมายในการรวมตัวเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน แรงงานมีฝีมืออย่างเสรี เช่น
1. การเปิดเสรีการค้าสินค้า พันธกรณี ประกอบด้วย การเปิดเสรี 2 ประเภท
1.1 การยกเลิกภาษีสินค้า การยกเลิกภาษีสินค้า ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นข้อตกลงตามกรอบความร่วมมือ AFTA (ASEAN Free Trade Area) สำหรับสมาชิกอาเซียน เดิม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน ในปี พ.ศ. 2553 และสมาชิกอาเซียนใหม่ CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2558

ทั้งนี้การลดภาษีดังกล่าวได้มีการยกเว้นสำหรับสินค้า 2 ประเภท คือ
1. สินค้าอ่อนไหว (Sensitive List =SL) สินค้าในประเภทนี้ไม่ต้องลดภาษี เป็น 0% แต่ต้องลดให้เหลือน้อยกว่า 5% ซึ่งจะมีสินค้าอ่อนไหว 4 รายการ คือ กาแฟ มันฝรั่ง มะพร้าวแห้ง และไม้ตัดดอก
2. สินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List = HSL) สินค้าในประเภทนี้ไม่ต้องลดภาษีเป็น 0% คือสินค้าข้าว ของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ สินค้าน้ำตาลของอินโดนีเซีย
1.2 การขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี การขจัดมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่แนวทางการยกเลิกหรือขจัด 3 ระยะ ในส่วนของไทย มีรายการสินค้าที่ต้องขจัดมาตรการมิใช่ภาษีได้แก่
ชุดที่ 1 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2551 ครอบคลุมสินค้า 5 รายการ ได้แก่ ลำไย พริกไทย น้ำมันถั่วเหลือง ใบยาสูบ และน้ำตาล
ชุดที่ 2 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2552 มีสินค้า 3 รายการ คือ ปอกระเจา ป่าน มันฝรั่ง
ชุดที่ 3 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 ได้แก่ ข้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง น้ำมันมะพร้าว ชา ถั่วเหลือง เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป น้ำนมดิบ / นมปรุงแต่งและนมผงขาดมันเนย

2. การเปิดเสรีการค้าบริการ การเปิดเสรีการค้าบริการเป้าหมายเพื่อลดอุปสรรคในการนำเข้าสู่ตลาดในด้านต่าง ๆ ลง และเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับบุคคล / นิติบุคคลที่มีสัญชาติอาเซียน ซึ่งความตกลงระบุให้สมาชิกต้องเปิดตลาดการค้าบริการตามสาขาที่กำหนด จนถึงปี พ.ศ. 2558 ดังนี้
1. สาขาบริการที่เร่งรัดได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสุขภาพ มีข้อกำหนดว่า ต้องอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียน เข้ามาถือหุ้นได้ในนิติบุคคลที่ได้บริการไม่น้อยกว่า 51% ภายในปี พ.ศ. 2551 และเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 70% ภายในปี พ.ศ. 2553
2. สาขาบริการเร่งรัด โลจิสติกส์ มีข้อกำหนดว่าต้องอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่า 49% ในปี พ.ศ. 2551 และ 51% ในปี พ.ศ. 2553 และ 70% ในปี พ.ศ. 2556

3. สาขาบริการอื่น ๆ ที่เหลือ มีข้อกำหนดว่าต้องอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่า 49% ในปี พ.ศ. 2551 และ 51% ในปี พ.ศ. 2553 และ 70% ในปี พ.ศ. 2558 สินค้าบริการจำแนกสาขาบริการตามความตกลงแม่บท WTO (World Trade Organization) ได้จำแนกประเภทของการบริการไว้ 12 สาขา อิงตามการจำแนกประเภทของ UN (United Nation) ได้แก่
1. บริการด้านธุรกิจ (Business Services) ครอบคลุมวิชาชีพคอมพิวเตอร์ โฆษณา ค้นคว้า วิจัย และอื่น ๆ
2. บริการด้านสื่อสาร คมนาคม (Communication Services) ครอบคลุมบริการไปรษณีย์ พัสดุภัณฑ์ โทรคมนาคม โสตทัศน์
3. บริการด้านการก่อสร้าง และวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้าง (Construction and Related Engineering Services) ครอบคลุมการก่อสร้างและติดตั้ง
4. บริการด้านจัดจำหน่าย (Distribution Services) ครอบคลุมบริการค้าปลีก ค้าส่ง ตัวแทนจำหน่ายและธุรกิจแฟรนไชส์
5. บริการด้านการศึกษา (Education Services)
6. บริการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Services)
7. บริการด้านการเงิน (Financial Services) ครอบคลุมด้านประกันภัย การธนาคาร ธุรกิจหลักทรัพย์ และการเงินอื่น ๆ
8. บริการที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและบริการทางสังคม (Health Related and Social Services) ครอบคลุมโรงพยาบาลและธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพมนุษย์
9. บริการด้านการท่องเที่ยวและการเดินทางที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว (Tourism and Travel Related Services) ครอบคลุม โรงแรม ภัตตาคาร บริษัทตัวแทนท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์
10. บริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรมและการกีฬา (Recreational, Cultural and Sporting Services)
11. บริการด้านการขนส่ง (Transport Services) ครอบคลุมด้านการขนส่งทางบก เรือ อากาศ ทางท่อ
12. บริการด้านอื่น ๆ (Other Services Not Included Elsewhere) เช่น เสริมสวย จัดงานศพ เป็นต้น

หลังจากเปิดการค้าเสรี สินค้าทุกหมวด จะต้องมีการพัฒนา เพื่อให้สมารถแข่งขันกับสินค้าต่างประเทศได้ สินค้าที่จะกระทบมากได้แก่ สินค้า OTOP และ SME สินค้าเกษตรและการค้าบริการ

ฝ่ายเกษตรกรรมหอการค้าจังหวัดอุบลฯ ยังคงสนับสนุนการเกษตร 3 ประเด็นหลัก คือ เกษตรพอเพียง เกษตรครบวงจรเกษตรนอกฤดู และการเก็บรักษา การแปรรูป การถนอมอาหาร การบรรจุหีบห่อ หรือการบรรจุภัณฑ์ จากผลผลิตทางการเกษตรเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรไทย ...........................................................................................................................................

ที่มา www.ubonchamber.org