ความสามารถในการจัดการกับความไม่รู้นั้นสำคัญกว่าความรู้
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 23, 2011 3:14 pm
สวัสดีครับ
ผมนึกอยู่นานว่าจะเขียนเรื่องอะไร ผมไม่ได้เขียนนานจนไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรแล้ว วินาทีนั้นก็นึกขึ้นได้ว่า นั่นละเป็นหัวข้อของวันนี้ ผมจะเขียนเรื่องที่ถนัดที่สุดคือเรื่องความไม่รู้
ผมควรพูดว่า ความสามารถในการจัดการกับความไม่รู้นั้นสำคัญกว่าความรู้ ต่อให้เรียนมาก รู้มากแล้วจะมีประโยชน์อะไร ถ้ารับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิดไม่เป็นเลย ที่รับมือไม่ได้ เพราะเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองรู้ว่าถูกต้องแล้ว ผมอยู่กับไม่รู้แล้วยังสบายใจกว่าอยู่ความรู้ ผมไม่กลัวที่ตัวเองไม่รู้อะไรเลย ผมกลัวที่ตัวเองที่รู้แล้วแต่สิ่งนั้นอาจไม่ใช่ที่ผมคิดตั้งแต่แรกก็ได้
เมื่อก่อนอ่านหนังสืออย่างน้อยเดือนละ 4-5 เล่ม เดี๋ยวนี้ไม่ได้อ่านอะไรอีกแล้ว ผมใช้เวลาส่วนใหญ่อ่านตัวเอง ผมอ่านสิ่งที่ตัวเองเชื่อว่าถูกต้องแล้ว แล้วผมก็หาทางจับผิดตัวเองว่าสิ่งที่ผมเชื่อนั้นมันผิดเพราะว่าอะไรบ้าง หรือพูดอีกอย่างได้ว่า ผมจะถูกก็ต่อเมื่อผมผิดเท่านั้น
บทความนี้จึงเกี่ยวกับความไม่รู้มากกว่าความรู้เหมือนบทความอื่นที่เคยเขียนมา ซึ่งความไม่รู้นี้จะไม่กลายเป็นความรู้ตามที่ผมคาดคิดตั้งแต่แรก แต่ความไม่รู้นี้ถึงผ่านช่วงการทดลองและแก้ไขแล้วก็ยังกลายเป็นความไม่รู้เหมือนเดิม ซึ่งมาเข้าใจทีหลังว่านั่นเป็นเรื่องที่ใช้ได้ดีในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและใช้ได้ดีในเวลาปัจจุบันที่ความไม่แน่นอนนั้นมีบทบาทในชีวิตผมมากขึ้นทุกวันที่แก่ตัวมากขึ้น
ผมจะถูกก็ต่อเมื่อผมผิดเท่านั้น ผมจะยกตัวอย่างให้ดูครับ เมื่อผมข้ามถนนนั้นผมคิดแต่ว่าผมต้องถูกรถชนตายแน่ๆ ผมจึงจับผิดตัวเองและมองว่าผมจะต้องตายแน่ๆ ผมคิดแต่สิ่งที่ทำให้ผมตายได้ในขณะนั้น เมื่อข้ามพ้นไปแล้วผมกลับไม่เป็นอะไรเลย ผมจึงผิดที่คาดการณ์ตัวเองตายตั้งแต่แรก แต่ในกรณีนี้ ผมผิดกลับเป็นผลดี เพราะถ้าผมถูกผมต้องหาทางประกันความเสี่ยงไว้ตั้งแต่แรก สถานการณ์นี้ตรงกับประโยคที่แรบไบโซรอสเคยพูดไว้ว่า I'm only rich because I know when I'm wrong หรือ แปลแบบผมว่า ผมจะรวยก็ต่อเมื่อผมผิดเท่านั้น
ความสามารถในการจัดการกับความไม่รู้นั้นสำคัญกว่าความสามารถในการจัดการกับความรู้ จึงสำคัญอย่างมาก ความรู้นั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับความไม่รู้ที่อยู่รอบตัวเรา ยิ่งเป็นความไม่รู้ที่เกิดจากคนอื่นแล้ว ยิ่งมีผลกระทบทางลบไปในทางตรงกันข้าม
คนทุกคนไมได้ตัดสินใจด้วยเหตุและผลเหมือนอย่างที่แรบไบโซรอสพูดไว้จริงๆ คนที่อยู่ในสถานการณ์หรือเกมนั้นๆ อาจไม่เข้าใจและตัดสินใจด้วยเหตุและผลเหมือนอย่างที่ผมเข้าใจ พลังของความไม่รู้ในตัวอย่างนี้ของคนอื่นนั้นมีผลกระทบร้ายแรงมากและมันส่งผลต่อรูปเกมให้ผิดคาดจากที่เข้าใจตั้งแต่แรกเริ่ม
ตอนนี้เวลาใครมาถามว่าผม ผมผิดพลาดอย่างไรในการลงทุนที่ผ่านมา ผมจะบอกว่าผมอ่านหนังสือมาก แต่ผมไม่เคยอ่านตัวเองเลย แม้แต่ในตลาดหุ้นเองก็ไม่ใช่เกมที่เพอร์แฟคเลย ยังมีคนที่ไม่รู้มากมายอยู๋ในนั้นและพวกเขายังไม่รู้ตัวอีกว่าตัวเองนั้นยังไม่รู้ เวลามีอะไรเกิดขึ้นจากที่คิด พวกเขาจึงรับมือกับความรู้ของตัวเองไม่เป็นและอาจตัดสินใจโดยไม่ใช้เหตุและผล
เคยมีคนสอนผมว่า จงใช้ชีวิตเหมือนกับว่าทุกขณะนั้นมันเป็นประสบการณ์ครั้งที่สองของคุณที่เคยผ่านมาแล้ว แต่ครั้งแรกนั้นคุณได้ทำผิดพลาด และครั้งนี้คุณกำลังจะทำผิดอีกครั้ง ถึงแม้ผมคาดเดาอารมณ์ของตลาดไม่ได้ แต่อย่างน้อยผมต้องถนัดที่สุด ถึงขนาดเป็นผู้เชี่ยวชาญนั่นก็คือการจับผิดตนเองนั่นเอง
สวัสดีครับ
ผมนึกอยู่นานว่าจะเขียนเรื่องอะไร ผมไม่ได้เขียนนานจนไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรแล้ว วินาทีนั้นก็นึกขึ้นได้ว่า นั่นละเป็นหัวข้อของวันนี้ ผมจะเขียนเรื่องที่ถนัดที่สุดคือเรื่องความไม่รู้
ผมควรพูดว่า ความสามารถในการจัดการกับความไม่รู้นั้นสำคัญกว่าความรู้ ต่อให้เรียนมาก รู้มากแล้วจะมีประโยชน์อะไร ถ้ารับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิดไม่เป็นเลย ที่รับมือไม่ได้ เพราะเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองรู้ว่าถูกต้องแล้ว ผมอยู่กับไม่รู้แล้วยังสบายใจกว่าอยู่ความรู้ ผมไม่กลัวที่ตัวเองไม่รู้อะไรเลย ผมกลัวที่ตัวเองที่รู้แล้วแต่สิ่งนั้นอาจไม่ใช่ที่ผมคิดตั้งแต่แรกก็ได้
เมื่อก่อนอ่านหนังสืออย่างน้อยเดือนละ 4-5 เล่ม เดี๋ยวนี้ไม่ได้อ่านอะไรอีกแล้ว ผมใช้เวลาส่วนใหญ่อ่านตัวเอง ผมอ่านสิ่งที่ตัวเองเชื่อว่าถูกต้องแล้ว แล้วผมก็หาทางจับผิดตัวเองว่าสิ่งที่ผมเชื่อนั้นมันผิดเพราะว่าอะไรบ้าง หรือพูดอีกอย่างได้ว่า ผมจะถูกก็ต่อเมื่อผมผิดเท่านั้น
บทความนี้จึงเกี่ยวกับความไม่รู้มากกว่าความรู้เหมือนบทความอื่นที่เคยเขียนมา ซึ่งความไม่รู้นี้จะไม่กลายเป็นความรู้ตามที่ผมคาดคิดตั้งแต่แรก แต่ความไม่รู้นี้ถึงผ่านช่วงการทดลองและแก้ไขแล้วก็ยังกลายเป็นความไม่รู้เหมือนเดิม ซึ่งมาเข้าใจทีหลังว่านั่นเป็นเรื่องที่ใช้ได้ดีในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและใช้ได้ดีในเวลาปัจจุบันที่ความไม่แน่นอนนั้นมีบทบาทในชีวิตผมมากขึ้นทุกวันที่แก่ตัวมากขึ้น
ผมจะถูกก็ต่อเมื่อผมผิดเท่านั้น ผมจะยกตัวอย่างให้ดูครับ เมื่อผมข้ามถนนนั้นผมคิดแต่ว่าผมต้องถูกรถชนตายแน่ๆ ผมจึงจับผิดตัวเองและมองว่าผมจะต้องตายแน่ๆ ผมคิดแต่สิ่งที่ทำให้ผมตายได้ในขณะนั้น เมื่อข้ามพ้นไปแล้วผมกลับไม่เป็นอะไรเลย ผมจึงผิดที่คาดการณ์ตัวเองตายตั้งแต่แรก แต่ในกรณีนี้ ผมผิดกลับเป็นผลดี เพราะถ้าผมถูกผมต้องหาทางประกันความเสี่ยงไว้ตั้งแต่แรก สถานการณ์นี้ตรงกับประโยคที่แรบไบโซรอสเคยพูดไว้ว่า I'm only rich because I know when I'm wrong หรือ แปลแบบผมว่า ผมจะรวยก็ต่อเมื่อผมผิดเท่านั้น
ความสามารถในการจัดการกับความไม่รู้นั้นสำคัญกว่าความสามารถในการจัดการกับความรู้ จึงสำคัญอย่างมาก ความรู้นั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับความไม่รู้ที่อยู่รอบตัวเรา ยิ่งเป็นความไม่รู้ที่เกิดจากคนอื่นแล้ว ยิ่งมีผลกระทบทางลบไปในทางตรงกันข้าม
คนทุกคนไมได้ตัดสินใจด้วยเหตุและผลเหมือนอย่างที่แรบไบโซรอสพูดไว้จริงๆ คนที่อยู่ในสถานการณ์หรือเกมนั้นๆ อาจไม่เข้าใจและตัดสินใจด้วยเหตุและผลเหมือนอย่างที่ผมเข้าใจ พลังของความไม่รู้ในตัวอย่างนี้ของคนอื่นนั้นมีผลกระทบร้ายแรงมากและมันส่งผลต่อรูปเกมให้ผิดคาดจากที่เข้าใจตั้งแต่แรกเริ่ม
ตอนนี้เวลาใครมาถามว่าผม ผมผิดพลาดอย่างไรในการลงทุนที่ผ่านมา ผมจะบอกว่าผมอ่านหนังสือมาก แต่ผมไม่เคยอ่านตัวเองเลย แม้แต่ในตลาดหุ้นเองก็ไม่ใช่เกมที่เพอร์แฟคเลย ยังมีคนที่ไม่รู้มากมายอยู๋ในนั้นและพวกเขายังไม่รู้ตัวอีกว่าตัวเองนั้นยังไม่รู้ เวลามีอะไรเกิดขึ้นจากที่คิด พวกเขาจึงรับมือกับความรู้ของตัวเองไม่เป็นและอาจตัดสินใจโดยไม่ใช้เหตุและผล
เคยมีคนสอนผมว่า จงใช้ชีวิตเหมือนกับว่าทุกขณะนั้นมันเป็นประสบการณ์ครั้งที่สองของคุณที่เคยผ่านมาแล้ว แต่ครั้งแรกนั้นคุณได้ทำผิดพลาด และครั้งนี้คุณกำลังจะทำผิดอีกครั้ง ถึงแม้ผมคาดเดาอารมณ์ของตลาดไม่ได้ แต่อย่างน้อยผมต้องถนัดที่สุด ถึงขนาดเป็นผู้เชี่ยวชาญนั่นก็คือการจับผิดตนเองนั่นเอง
สวัสดีครับ