ไทยต้องมีมาตรการรองรับ หากยุโรปล่ม
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 28, 2011 1:57 pm
Credit
http://www.nitipoom.com/th/article1.asp ... ipagenum=1
ไทยต้องมีมาตรการรองรับ หากยุโรปล่ม
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2554
ไทยต้องมีมาตรการรองรับ หากยุโรปล่ม
จันทร์วันนี้ เวลา 10.30-12.30 น. ร.ต.อ. ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ พูด “การเพิ่มศักยภาพบุคลากรในเครือข่าย” ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 จำนวน 250 คน ที่โรงแรมบิ๊กเจียง จ.หนองคาย
ผู้อ่านท่านที่เคารพ ผมมีความรู้สึกว่า เศรษฐกิจโลกกำลังจะเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเจอมาในอนาคตอันใกล้ และผลกระทบในทางลบจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ที่มีต่อโลก จะรุนแรงยิ่งกว่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำครั้งใหญ่ ในระหว่าง พ.ศ. 2471-2472 ที่เราเรียกกันว่า The Great Depression
ทวีปยุโรปที่ผมใช้พำนักพักอาศัยอยู่ในขณะนี้ เริ่มมีปัญหารุนแรงและกระทบอย่างเห็นได้ชัดสัมผัสได้
ที่ว่าสัมผัสได้ ก็เพราะความโกลาหลอลหม่านได้เกิดขึ้นแล้วในยุโรป สัปดาห์ที่แล้วนี่เองครับ เมืองในราชอาณาจักรสเปนหลายเมืองเริ่มโดนตัดไฟฟ้า เพราะรัฐบาลไม่มีเงินไปจ่ายค่าไฟ วิกฤติการเงินในระดับประเทศส่งผลลงมาถึงระดับเมืองอย่างเร็วและแรง อย่างเมืองคอสตา เดล โซล ของสเปนนี่ ตอนนี้เป็นหนี้เป็นสิน 30 ล้านยูโร ไม่ได้จ่ายค่าไฟฟ้ามานาน หน่วยงานราชการและสถานที่สาธารณะโดนตัดไฟฟ้าหมดแล้ว แต่ก่อนง่อนชะไร เราเคยเจอแต่บุคคลธรรมดา หรือบริษัทถูกฟ้องล้มละลาย ตั้งแต่เกิดมา เราก็เพิ่งได้ยิน ว่าเมืองทั้งเมืองถูกฟ้องล้มละลาย
สภาวะโกลาหลอลหม่านในยุโรปแย่กว่าเมื่อคราวโซเวียตล่มเมื่อปลาย พ.ศ. 2534 ตอนนั้น โรงงานไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนนานถึง 6 เดือน แต่พนักงานก็ยังไปทำงาน และได้รับค่าตอบแทนเป็นสิ่งของ บางแห่งรับเงินเดือนเป็นสบู่ เป็นยกทรง เป็นผลิตภัณฑ์ที่โรงงานผลิตได้ แม้ว่าจะเจอปัญหาหนักอย่างนี้ แต่ผู้คนก็ยังไม่หยุดงาน ไม่ออกมาเดินขบวนประท้วง
สมัยที่พวกเราเจอกับวิกฤติเอเชีย หรือวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อ พ.ศ. 2540 ก็ยังไม่ถึงขนาดมีเมืองล้มละลายหายไป ข้าราชการก็ยังมาทำงาน หรือแม้แต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2551 ก็ยังไม่เจอสภาวะเมืองล้มละลาย
ทว่า วิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปที่อุบัติอยู่ในตอนนี้ เมืองล้มละลายยังไม่พอ ผู้คนที่นี่ ยังไม่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประเทศ ข้าราชการเริ่มพากันทิ้งงานเพราะราชการไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนมาหลายเดือนแล้ว ที่เมืองคอสตา เดล โซล ของสเปน ข้าราชการหยุดทำงาน เมืองวัลเวอร์เด เดล คามิโน ข้าราชการที่นั่นบอกว่า ไม่ได้เงินเดือนมานานถึง 4 เดือนแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะไม่ได้ต่อไปในอนาคตอีกนาน พวกเราขอทิ้งงาน เพราะไม่มีทุนในการดำเนินชีวิต
ผมได้ข่าวมาว่า แม้แต่ตำรวจสเปนในหลายเมืองก็ไม่มีปัญญาหาเงินมาซื้อน้ำมันมาใช้เติมรถยนต์ของทางราชการ ตำรวจต้องใช้วิธีเดินเท้าแทน แต่จะเดินกันไปได้สักกี่น้ำ
ทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ของสินค้าที่ไปจากจีนและอินเดีย เมื่อยุโรปมีปัญหา ผู้คนไม่มีปัญญาหาเงินมาซื้อของ วิกฤตินี้กระทบไปถึงจีนและอินเดียแน่นอนครับ ที่อเมริกาเองตอนนี้ สำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ ก็ออกมายอมรับแล้วครับว่า คนยากจนในสหรัฐฯมีมากขึ้น ตัวเลขคนยากจนตอนนี้พุ่งไปที่ 46 ล้านแล้ว อเมริกากลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีอัตราคนยากจนสูงที่สุด ปัญหาครั้งนี้ อาจจะเลวร้ายกว่าปัญหาครั้งก่อนๆ เยอะ
ที่ผมว่าจะเลวร้ายกว่าเก่า ก็เพราะถึงตอนนี้ เรายังไม่ค่อยเห็นแผนกู้วิกฤติอะไรที่เป็นรูปธรรมจากประเทศในทวีปยุโรปเลย ที่อเมริการอดเมื่อครั้งก่อนก็เพราะว่า รัฐบาลอเมริกันรีบเข็นโครงการกู้วิกฤติออกมาสู้
ผู้อ่านท่านยังจำปลายสมัยของประธานาธิบดีบุชได้ไหมครับ ตอนนั้นเรายังได้เห็นสภาคองเกรสผ่านโครงการ TARP (Troubled Assets Relief Program) ที่ใช้เงินตั้ง 700 พันล้านดอลลาร์ เอาไปใช้ซื้อหุ้นธนาคารที่ขาดทุน เอาไปช่วยอุตสาหกรรมรถยนต์ เอาไปช่วยผู้กู้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึด เอาไปช่วยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ให้มีสภาพคล่อง ฯลฯ มาตรการพวกนี้ ยังทำให้คนมีความหวัง ยังพอมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
หรืออย่างในยุคของโอบามา เรายังได้เห็นสภาคองเกรสผ่านร่าง พ.ร.บ. The American Recovery and Reinvestment Act พ.ศ. 2552 เพื่อลดภาษีบุคคลธรรมดาและสาธารณะ กฎหมายใหม่ช่วยให้เงินเข้าไปหมุนในเรื่องวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน พัฒนาพลังงานสะอาด พลังงานทดแทนน้ำมัน ปรับปรุงโรงเรียน ก่อสร้างและปรับปรุงสาธารณูปโภค กฎหมายทำให้รัฐบาลโอบามาสามารถสร้างงานให้คนตกงานที่ตอนนั้นมีเยอะจริงๆ ได้มีงานทำไปพลางก่อน ฯลฯ
ยังมีมาตรการของรัฐบาลอะไรอีกหลายอย่าง ที่ออกมาทำให้คนพอมีความหวัง ว่าเอาเถอะน่า ช่วยกันร่วมสู้กับวิกฤติ
วิกฤติที่เกิดในยุโรปนี่ อ่านข่าวแล้ว ยิ่งทำให้เราใจเหี่ยวครับ รัฐบาลฝรั่งมังค่าพวกนี้มีสติปัญญาแค่ออกมาตะโกนก้องร้องขอความช่วยเหลือจากจีน อะไรก็จีน ขอให้จีนช่วย
พ้นจากจีนแล้ว พวกนี้ก็ไปตะโกนก้องเรียกร้องความช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศบริกส์ BRICS ที่มีทั้งบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ให้ช่วย
แต่มาตรการหลักๆ ที่จะออกมาเป็นผลทางจิตวิทยา เพื่อให้คนเชื่อว่า ถ้าร่วมมือกันสู้วิกฤติ ก็จะไปรอด ยังไม่มี
รัฐบาลไทยต้องรีบสร้างมาตรการรองรับการล่มสลายของยุโรปไว้ด้วยครับ.
[19/9/2554]
http://www.nitipoom.com/th/article1.asp ... ipagenum=1
ไทยต้องมีมาตรการรองรับ หากยุโรปล่ม
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2554
ไทยต้องมีมาตรการรองรับ หากยุโรปล่ม
จันทร์วันนี้ เวลา 10.30-12.30 น. ร.ต.อ. ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ พูด “การเพิ่มศักยภาพบุคลากรในเครือข่าย” ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 จำนวน 250 คน ที่โรงแรมบิ๊กเจียง จ.หนองคาย
ผู้อ่านท่านที่เคารพ ผมมีความรู้สึกว่า เศรษฐกิจโลกกำลังจะเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเจอมาในอนาคตอันใกล้ และผลกระทบในทางลบจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ที่มีต่อโลก จะรุนแรงยิ่งกว่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำครั้งใหญ่ ในระหว่าง พ.ศ. 2471-2472 ที่เราเรียกกันว่า The Great Depression
ทวีปยุโรปที่ผมใช้พำนักพักอาศัยอยู่ในขณะนี้ เริ่มมีปัญหารุนแรงและกระทบอย่างเห็นได้ชัดสัมผัสได้
ที่ว่าสัมผัสได้ ก็เพราะความโกลาหลอลหม่านได้เกิดขึ้นแล้วในยุโรป สัปดาห์ที่แล้วนี่เองครับ เมืองในราชอาณาจักรสเปนหลายเมืองเริ่มโดนตัดไฟฟ้า เพราะรัฐบาลไม่มีเงินไปจ่ายค่าไฟ วิกฤติการเงินในระดับประเทศส่งผลลงมาถึงระดับเมืองอย่างเร็วและแรง อย่างเมืองคอสตา เดล โซล ของสเปนนี่ ตอนนี้เป็นหนี้เป็นสิน 30 ล้านยูโร ไม่ได้จ่ายค่าไฟฟ้ามานาน หน่วยงานราชการและสถานที่สาธารณะโดนตัดไฟฟ้าหมดแล้ว แต่ก่อนง่อนชะไร เราเคยเจอแต่บุคคลธรรมดา หรือบริษัทถูกฟ้องล้มละลาย ตั้งแต่เกิดมา เราก็เพิ่งได้ยิน ว่าเมืองทั้งเมืองถูกฟ้องล้มละลาย
สภาวะโกลาหลอลหม่านในยุโรปแย่กว่าเมื่อคราวโซเวียตล่มเมื่อปลาย พ.ศ. 2534 ตอนนั้น โรงงานไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนนานถึง 6 เดือน แต่พนักงานก็ยังไปทำงาน และได้รับค่าตอบแทนเป็นสิ่งของ บางแห่งรับเงินเดือนเป็นสบู่ เป็นยกทรง เป็นผลิตภัณฑ์ที่โรงงานผลิตได้ แม้ว่าจะเจอปัญหาหนักอย่างนี้ แต่ผู้คนก็ยังไม่หยุดงาน ไม่ออกมาเดินขบวนประท้วง
สมัยที่พวกเราเจอกับวิกฤติเอเชีย หรือวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อ พ.ศ. 2540 ก็ยังไม่ถึงขนาดมีเมืองล้มละลายหายไป ข้าราชการก็ยังมาทำงาน หรือแม้แต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2551 ก็ยังไม่เจอสภาวะเมืองล้มละลาย
ทว่า วิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปที่อุบัติอยู่ในตอนนี้ เมืองล้มละลายยังไม่พอ ผู้คนที่นี่ ยังไม่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประเทศ ข้าราชการเริ่มพากันทิ้งงานเพราะราชการไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนมาหลายเดือนแล้ว ที่เมืองคอสตา เดล โซล ของสเปน ข้าราชการหยุดทำงาน เมืองวัลเวอร์เด เดล คามิโน ข้าราชการที่นั่นบอกว่า ไม่ได้เงินเดือนมานานถึง 4 เดือนแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะไม่ได้ต่อไปในอนาคตอีกนาน พวกเราขอทิ้งงาน เพราะไม่มีทุนในการดำเนินชีวิต
ผมได้ข่าวมาว่า แม้แต่ตำรวจสเปนในหลายเมืองก็ไม่มีปัญญาหาเงินมาซื้อน้ำมันมาใช้เติมรถยนต์ของทางราชการ ตำรวจต้องใช้วิธีเดินเท้าแทน แต่จะเดินกันไปได้สักกี่น้ำ
ทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ของสินค้าที่ไปจากจีนและอินเดีย เมื่อยุโรปมีปัญหา ผู้คนไม่มีปัญญาหาเงินมาซื้อของ วิกฤตินี้กระทบไปถึงจีนและอินเดียแน่นอนครับ ที่อเมริกาเองตอนนี้ สำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ ก็ออกมายอมรับแล้วครับว่า คนยากจนในสหรัฐฯมีมากขึ้น ตัวเลขคนยากจนตอนนี้พุ่งไปที่ 46 ล้านแล้ว อเมริกากลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีอัตราคนยากจนสูงที่สุด ปัญหาครั้งนี้ อาจจะเลวร้ายกว่าปัญหาครั้งก่อนๆ เยอะ
ที่ผมว่าจะเลวร้ายกว่าเก่า ก็เพราะถึงตอนนี้ เรายังไม่ค่อยเห็นแผนกู้วิกฤติอะไรที่เป็นรูปธรรมจากประเทศในทวีปยุโรปเลย ที่อเมริการอดเมื่อครั้งก่อนก็เพราะว่า รัฐบาลอเมริกันรีบเข็นโครงการกู้วิกฤติออกมาสู้
ผู้อ่านท่านยังจำปลายสมัยของประธานาธิบดีบุชได้ไหมครับ ตอนนั้นเรายังได้เห็นสภาคองเกรสผ่านโครงการ TARP (Troubled Assets Relief Program) ที่ใช้เงินตั้ง 700 พันล้านดอลลาร์ เอาไปใช้ซื้อหุ้นธนาคารที่ขาดทุน เอาไปช่วยอุตสาหกรรมรถยนต์ เอาไปช่วยผู้กู้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึด เอาไปช่วยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ให้มีสภาพคล่อง ฯลฯ มาตรการพวกนี้ ยังทำให้คนมีความหวัง ยังพอมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
หรืออย่างในยุคของโอบามา เรายังได้เห็นสภาคองเกรสผ่านร่าง พ.ร.บ. The American Recovery and Reinvestment Act พ.ศ. 2552 เพื่อลดภาษีบุคคลธรรมดาและสาธารณะ กฎหมายใหม่ช่วยให้เงินเข้าไปหมุนในเรื่องวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน พัฒนาพลังงานสะอาด พลังงานทดแทนน้ำมัน ปรับปรุงโรงเรียน ก่อสร้างและปรับปรุงสาธารณูปโภค กฎหมายทำให้รัฐบาลโอบามาสามารถสร้างงานให้คนตกงานที่ตอนนั้นมีเยอะจริงๆ ได้มีงานทำไปพลางก่อน ฯลฯ
ยังมีมาตรการของรัฐบาลอะไรอีกหลายอย่าง ที่ออกมาทำให้คนพอมีความหวัง ว่าเอาเถอะน่า ช่วยกันร่วมสู้กับวิกฤติ
วิกฤติที่เกิดในยุโรปนี่ อ่านข่าวแล้ว ยิ่งทำให้เราใจเหี่ยวครับ รัฐบาลฝรั่งมังค่าพวกนี้มีสติปัญญาแค่ออกมาตะโกนก้องร้องขอความช่วยเหลือจากจีน อะไรก็จีน ขอให้จีนช่วย
พ้นจากจีนแล้ว พวกนี้ก็ไปตะโกนก้องเรียกร้องความช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศบริกส์ BRICS ที่มีทั้งบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ให้ช่วย
แต่มาตรการหลักๆ ที่จะออกมาเป็นผลทางจิตวิทยา เพื่อให้คนเชื่อว่า ถ้าร่วมมือกันสู้วิกฤติ ก็จะไปรอด ยังไม่มี
รัฐบาลไทยต้องรีบสร้างมาตรการรองรับการล่มสลายของยุโรปไว้ด้วยครับ.
[19/9/2554]