ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

4/10/2554

xBT> GREECE:ยูโรโซนเลื่อนตัดสินใจปล่อยกู้กรีซเป็นเดือนพ.ย./ยกเลิกประชุม 13 ต.ค.
ลักเซมเบิร์ก/เอเธนส์--4 ต.ค.--รอยเตอร์

รัฐมนตรีคลังยูโรโซน หรือกลุ่มยูโรกรุ๊ป ได้ตกลงกันหลังการประชุมวานนี้
ที่ลักเซมเบิร์กว่า กรีซสามารถรอจนถึงกลางเดือนพ.ย.สำหรับการรับเงินช่วยเหลือ
ฉุกเฉินงวดถัดไปภายใต้มาตรการให้ความช่วยเหลือรอบแรก โดยการตกลงกันใน
เรื่องนี้ถือเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลกรีซให้แก้ไขปัญหาหนี้สินของตนเอง
การตกลงดังกล่าวส่งผลให้การประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนครั้งถัดไป
ที่กำหนดไว้ในวันที่ 13 ต.ค.ได้ถูกยกเลิก และผู้ตรวจสอบของสหภาพยุโรป (อียู),
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
หรือกลุ่ม "ทรอยกา" ก็จะมีเวลา 2-3 สัปดาห์ในการจัดทำรายงานเกี่ยวกับการ
ปรับลดงบประมาณของกรีซ
นายดิดิเยร์ เรย์นเดอร์ส รมว.คลังเบลเยียมกล่าวว่า "กรีซบอกเราว่า
กรีซจำเป็นต้องได้รับเงินช่วยเหลือภายในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพ.ย." โดยถ้อยแถลงนี้
เป็นการกำหนดเส้นตายครั้งใหม่ให้กับการจ่ายเงินช่วยเหลืองวดดังกล่าว
"เราได้ทบทวนแผนการของกรีซ และขณะนี้เราก็กำลังรอดูรายงานฉบับสุดท้าย
จากทรอยกา เพราะเรามีเวลาสำหรับการตัดสินใจในเรื่องนี้" นายเรย์นเดอร์สกล่าว
--จบ--

(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

รมว.คลังญี่ปุ่นเตรียมลัดฟ้าหารือกับ "เบอร์นันเก้" วันพรุ่งนี้
Tuesday, October 04, 2011 13:48

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 ต.ค. 54)--นายโมโตฮิสะ ฟูรุกาวะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและนโยบายทางการเงินมีกำหนดเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาในวันพุธนี้ และจะเข้าพบนายเบน เบอร์นันเก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมทั้งตัวแทนจากรัฐบาลสหรัฐ
นายฟูรุกาวะยังจะเดินทางเยือนนิวยอร์กเพื่อพูดคุยกับนายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก และขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ก่อนจะเดินทางกลับโตเกียวในวันอาทิตย์นี้
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า นายฟูรุกาวะน่าจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประธานเฟด และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางทั้ง 2 สาขาดังกล่าว ท่ามกลางความวิตกกังวลเรื่องภาพรวมของเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลมาจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนและการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ
“ผมอยากจะสร้างบรรยากาศที่ญี่ปุ่นและสหรัฐจะสามารถป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจร่วมกันได้" นายฟูรุกาวะกล่าว พร้อมเสริมว่า ทั้งสองประเทศยังจะเรียกร้องให้ยุโรปดำเนินมาตรการอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อแก้ปัญหาทางการเงินในกรีซและประเทศต่างๆในยูโรโซนด้วย

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียง
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

xBT> GREECE:หุ้นแบงก์กรีซทรุดกว่า 7% ขณะนักลงทุนแห่ทิ้งหุ้นผวาผิดนัดชำระหนี้
เอเธนส์--4 ต.ค.--รอยเตอร์

นักวิเคราะห์กล่าวว่า หุ้นกลุ่มธนาคารของกรีซดิ่งลงกว่า 7% ในวันนี้
จากการที่นักลงทุนมีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ หลังจากรัฐบาล
กรีซไม่สามารถบรรลุเป้าลดยอดขาดดุลงบประมาณ และรมว.คลังยูโรโซน
ตัดสินใจทบทวนโครงการสว๊อปตราสารหนี้
"การทบทวนปรับเพิ่มยอดขาดดุลที่ระบุไว้ในร่างงบประมาณปี 2012
ทำให้เกิดความวิตกครั้งใหม่เรื่องการผิดนัดชำระหนี้ในตลาด ขณะที่หุ้นกรีซก็ร่วง
ตามหุ้นยุโรปด้วย" นายมาเรีย คาเนลโลปูลู นักวิเคราะห์จาก Euroxx
Securities กล่าว
ณ เวลา 14.53 น.ตามเวลาไทย ดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารในตลาดหุ้น
กรีซดิ่งลง 7.4% ขณะที่ตลาดหุ้นกรีซร่วงลง 4.6%
หุ้นกลุ่มธนาคารของกรีซทรุดตัวลงกว่า 67% แล้วนับตั้งแต่ต้นปีนี้--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ลือ'อเมริกันแอร์ไลนส์'จะยื่นล้มละลาย
Tuesday, October 04, 2011 15:12

มีกระแสข่าวลือสะพัดว่าสายการบิน อเมริกัน แอร์ไลน์ของสหรัฐอาจต้องยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์จากการล้มละลาย ฉุดให้หุ้นของบริษัทร่วงดิ่งลง 41% แต่บริษัทได้ปฏิเสธข่าวลือนี้แล้ว
4 ต.ค.54 หุ้นของอเมริกัน แอร์ไลนส์ สายการบินรายใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐ ร่วงต่ำลงมากถึง 41% ช่วงสั้นๆ ก่อนขยับขึ้นปิดตลาดที่ 1.98 ดอลลาร์ หรือราว 60 บาทวานนี้ ซึ่งลดลงจากวันก่อน 31%
นักวิเคราะห์บอกว่า นักลงทุนวิตกว่า บริษัทอาจเลือกยื่นล้มละลายในช่วงที่กำลังประสบปัญหาหนี้จำนวนมหาศาล และการชะลอตัวของตลาดการบิน บวกกับในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา มีนักบิน
เกษียณอายุมากผิดปกติถึงกว่า 200 คน ทั้งที่ปกติมีนักบินเกษียณเฉลี่ยเดือนละแค่ 12 คน นอก
จากนี้นักบินยังแห่เทขายหุ้นในบริษัทที่ตัวเองถือครองไว้ เพราะกลัวว่าบริษัทจะประสบวิกฤติการเงินจนต้องยื่นล้มละลาย
มีรายงานว่า บริษัทประสบปัญหาขาดทุน 286 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 8,600 ล้านบาทในไตรมาสสองที่ผ่านมา และมูลค่าหุ้นร่วงลงไป 75% แล้ว นับจากต้นปีนี้ และคาดว่า เมื่อรวมผลประกอบการตลอดปีนี้ จะประสบภาวะขาดทุนติดต่อกันเป็นปีที่ 4 และอาจขาดทุนต่อในปีหน้าอีกด้วย
แต่บริษัท แถลงว่า ข่าวลือเรื่องยื่นล้มละลายไม่มีมูลความจริง พร้อมกับยืนยันว่า แผนยื่นล้มละลายไม่ใช่เป้าหมายของบริษัท
นอกจากนี้นักวิเคราะห์บางคนไม่คิดว่า อเมริกัน แอร์ไลนส์ จะยื่นล้มละลายเพราะเชื่อว่าสายการบินจะยังมีเงินสดสำรองเมื่อสิ้นไตรมาสสามมากถึงเกือบ 4,200 ล้านดอลลาร์ หรือราว 126,000 ล้านบาท

ที่มา: http://www.komchadluek.net
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

5 ต.ค. Troika จะส่งรายงานแสดงฐานะการเงินการคลังของกรีซให้ EFSF
6 ต.ค. ECB ประชุม - ตลาดคาดว่า ECB จะลดดอกเบี้ย UBS คาดลด 0.5% เหลือ 1.0% (ECB เหลือประชุมอีก 2 ครั้ง 3 พ.ย. และ 8 ธ.ค.)
11-16 ต.ค. ประเทศในยูโรโซนอีก 4 ประเทศ (ออสเตรีย มอลต้า เนเธอร์แลนด์ สโลวาเกีย) จะลงมติเพิ่มเงินใน EFSF หลังจาก 13 ประเทศลงมติไปแล้ว (ได้แก่เบลเยี่ยม ไซปรัส ฟินแลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก โปรตุเกส สเปน สโลวาเนีย เอสโตเนีย)
17-18 ต.ค. ประชุมสุดยอดผู้นำ EU
สัปดาห์ที่ 2 ของ พ.ย. รมว.คลังของยูโรโซนประชุมตัดสินใจให้เงินช่วยเหลือกรีซ 8 พันล้านยูโรป เลื่อนมาจาก 13 ต.ค.
Troika จะตรวจสอบสถานะของกรีซทุกไตรมาส

- กรีซ มีหนี้ทั้งหมด 3.53 แสนล้านยูโร
- โปรตุเกส มีหนี้ 1.6 แสนล้านยูโร
- สเปน มีหนี้ 7.67 พันล้านยูโร
- EFSF มีเงิน 2.55 แสนล้านยูโร ล่าสุดกำลังจะเพิ่มวงเงินกู้ให้เป็น 4.4 แสนล้านยูโร (รอสภาของทั้ง 17 ประเทศในยูโรโซนอนุมัติให้ครบ) ในอนาคตอาจขยายการค้ำประกันได้ถึง 7.8 แสนล้านยูโร แต่หลายฝ่ายมองว่าอาจะต้องมีเงินถึง 3 ล้านล้านยูโร

หนี้กรีซที่ครบกำหนดรายเดือน
Principal Interest Total Due
10/2011 3,625 1,170 4,795
11/2011 3,300 90 3,390
12/2011 10,097 125 10,222
01/2012 1,641 349 1,990
02/2012 813 206 1,019
03/2012 15,735 1,562 17,297
04/2012 0 465 465
05/2012 8,450 1,496 9,946
06/2012 553 434 987
07/2012 0 3,046 3,046
08/2012 7,720 1,960 9,680
09/2012 200 821 1,021
10/2012 0 1,180 1,180
11/2012 0 88 88
12/2012 2,297 38 2,335
01/2013 0 341 341
02/2013 5,820 200 6,020
03/2013 49 941 990
04/2013 3,146 465 3,611
05/2013 11,577 1,074 12,651
06/2013 1,068 410 1,478
07/2013 1,035 3,048 4,083
08/2013 5,850 1,535 7,385
09/2013 149 810 959
10/2013 0 1,180 1,180
11/2013 0 88 88
Source: Bloomberg
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

Moody’s Cuts Italy Rating Following S&P
Italy's credit rating was cut by Moody’s Investors Service for the first time in almost two decades on concern that Prime Minister Silvio Berlusconi’s government will struggle to reduce the region’s second-largest debt amid chronically weak growth.
Moody’s lowered Italy’s rating three levels to A2 from Aa2, with a negative outlook, the New York-based company said in a statement yesterday. The action comes after Standard & Poor’s downgraded Italy on Sept. 20 for the first time in five years. Italy was last cut by Moody’s in May 1993.
Source: Bloomberg
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

EFSF คืออะไร
European Financial Stability Facility (EFSF) เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2010 โดย 23 ประเทศในยูโรโซนทั้งหมดตกลงร่วมให้สัตยาบันเพื่อให้ EFSF ทำหน้าที่รักษาสเถียรภาพทางการเงินในยุโรป คอยช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาทางการเงินและเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อสกุลเงินยูโร
EFSF จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทมีสำนักงานใหญ่ที่ Luxembourg มี CEO (Klaus Regling), Board of Director และเจ้าหน้าที่ประมาณ 12 คน (เพียงพอเพราะใช้ European Investment Bank เป็น back office และใช้ German Debt Management Office เป็น front office)
EFSF มีอายุ 3 ปี จะครบกำหนดอายุ 30 มิ.ย. 2013 แต่ถ้ายังมีสถานะคงค้างก็ยังอยู่ต่อไปได้จนกว่าข้อผูกมัดทางการเงินจะสิ้นสุดลง EFSF ได้รับเรทติ้งจากสถาบันจัดอันดับดังนี้
Long Short Outlook
S&P AAA NR Stable
Moody’s Aaa NR Stable
Fitch AAA NR NR

23 ประเทศที่ใช้เงินยูโรมีประเทศใดบ้าง?
Andorra, Austria, Belgium, Cyprus, Estonia, Finland, France, Germany, Greece, Ireland, Italy, Kosovo, Luxembourg, Malta, Monaco, Montenegro, Netherlands, Portugal, San Marina, Slovakia, Slovania, Spain, Vatican City.

EFSF มีวงเงินเท่าไหร่ ช่วยอย่างไร?
EFSF มีวงเงินเริ่มต้น 4.40 แสนล้านยูโร ใช้ไปแล้วประมาณ 1.42 แสนล้านยูโร เหลืออยู่ 2.98 แสนล้านยูโร ไม่เพียงพอต่อการช่วยอีกหลายประเทศเมื่อมีปัญหา
เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2011 ที่ผ่านมา มีการคุยกันในเบื้องต้นว่าจะขยายเป็น 7.8 แสนล้านยูโรเพราะปัญหามีมาก จำนวนเงินดังกล่าวเป็นเพียงวงเงิน ในทางปฏิบัติ ทุกประเทศต้องกลับไปขออนุญาตจากประชาชนของประเทศซึ่งเป็นผู้เสียภาษีผ่านการอนุมัติจากสภา และยังอาจมีปัญหาเรื่องการรักษาสถานะ Rating ของ EFSF เองด้วย
ช่วงที่ผ่านมา มี 13 ใน 16 ประเทศที่อนุมัติการใส่เงินเพิ่มใน ESFS ไปแล้ว เหลืออีก 3 ประเทศคือเนเธอร์แลนด์ และมอลต้า ภายในสัปดาห์นี้ และสโลวาเกีย วันที่ 17 ต.ค.
การระดมเงินของ EFSF ทำโดยการออกพันธบัตรหรือตราสารหนี้ต่างๆ ขายให้สถาบัน/นักลงทุนที่สนใจ เพื่อเอาเงินนั้นมาปล่อยกู้ให้ประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือ (เป็นการให้กู้ ไม่ใช่ให้เปล่า ผู้ที่กู้ไปต้องคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย) เงินกู้นั้นได้รับการการันตีจากทุกประเทศสมาชิกในกลุ่มยูโรโซนตามสัดส่วนของ GDP ของแต่ละประเทศ (ดูตาราง)
Initial contributions Enlarged contributions
Guarantee Commitments
Million Euro Percentage Guarantee Commitments
Million Euro Percentage
Austria 12,241.43 2.78% 21,639.19 2.78%
Belgium 15,292.18 3.48% 27,031.99 3.47%
Cyprus 863.09 0.20% 1,525.68 0.20%
Estonia -- -- 1,994.86 0.26%
Finland 7,905.20 1.80% 13,974.03 1.79%
France 89,657.45 20.38% 158,487.53 20.32%
Germany 119,390.07 27.13% 211,045.9 27.06%
Greece 12,387.70 2.82% 21,897.74 2.81%
Ireland 7,002.40 1.59% 12,378.15 1.59%
Italy 78,784.72 17.91% 139,267.81 17.86%
Luxembourg 1,101.39 0.25% 1,946.94 0.25%
Malta 398.44 0.09% 704.33 0.09%
Netherlands 25,143.58 5.71% 44,446.32 5.70%
Portugal 11,035.38 2.51% 19,507.26 2.50%
Slovakia 4,371.54 0.99% 7,727.57 0.99%
Slovenia 2,072.92 0.47% 3,664.3 0.47%
Spain 52,352.51 11.90% 92,543.56 11.87%
Eurozone (16) 440,000 100% 779,783.14 100%
ที่มา: www.efsf.europa.eu

EFSF ช่วยใครแล้วบ้าง?
EFSF ออกพันธบัตรครั้งแรกให้ Ireland 25 ม.ค. 2011 เป็นพันธบัตร 5 พันล้านยูโร อายุ 5 ปี ดอกเบี้ย 5.9% และกลางเดือน มิ.ย. ออกพันธบัตรให้ Portugal 5.9 พันล้านยูโร อายุ 5 - 10 ปี (มี 2 tranch) ดอกเบี้ย 5.3% – 6.0%
แต่วงเงินช่วยกรีซ 1.1 แสนล้านยูโรที่ออกมาตั้งแต่ปี 2010 ไม่อยู่ในวงเงินของ EFSF เป็นการช่วยเหลือจากสมาชิกในกลุ่มยูโรโซน 8 หมื่นล้านยูโร + IMF 3 หมื่นล้านยูโร

ขั้นตอนในการขอเงินกู้จาก EFSF
ถ้าประเทศสมาชิกที่มีปัญหาไม่สามารถไปกู้ในตลาดเงินได้ตามปกติ (ไม่มี Rating ที่จะสามารถกู้ได้หรือเรทติ้งเป็น Junk) จะมาขอรับเงินกู้จาก EFSF ขณะเดียวกันก็ต้องขออนุมัติจาก EU และ IMF ด้วย ซึ่งจะต้องถูกตรวจสอบฐานะทางการเงินก่อนจะได้รับเงินกู้ หากได้รับการอนุมัติแล้ว จะใช้เวลา paper work ประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ ผู้ขอกู้จึงจะได้รับเงินกู้

กรีซมีหนี้เท่าไหร่ ใครเป็นเจ้าหนี้?
กรีซมีหนี้สาธารณะทั้งหมดล่าสุด 4.46 แสนล้านยูโร (เงินต้น 3.52 แสนล้านยูโร + ดอกเบี้ย 9.3 หมื่นล้านยูโร) หรือ 154.74% ของ GDP มีหนี้ที่ครบกำหนดชำระทุกเดือน (ดูกราฟด้านล่าง)
หนี้ที่ครบกำหนดชำระรายเดือนของกรีซ

ที่มา: Bloomberg
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

KOREA:เกาหลีใต้แย้มจี-20 กำลังหารือลับเล็งเสริมสภาพคล่องระบบการเงินโลก
โซล--5 ต.ค.--รอยเตอร์

เกาหลีใต้เปิดเผยว่า กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา 19 ประเทศ
รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) กำลังทำการหารือกันภายใน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่
ระบบการเงินโลก และก็มีความคืบหน้าเกิดขึ้นบ้างแล้ว
"ผมยังเปิดเผยรายละเอียดในขณะนี้ไม่ได้ แต่มีการหารือในระดับกลุ่มจี-20
เกี่ยวกับการเสริมสภาพคล่องแล้ว" นายชิน เจ-ยูน รมช.คลังเกาหลีใต้กล่าว
รมว.คลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจากกลุ่มจี-20 จะประชุมกันที่กรุงปารีส
ในวันที่ 14-15 ต.ค.นี้ ก่อนที่ผู้นำกลุ่มจี-20 จะประชุมสุดยอดที่เมืองคานส์ในช่วง
ต้นเดือนพ.ย.
สินทรัพย์เสี่ยง อาทิ สกุลเงินของประเทศเกิดใหม่ ดิ่งลงในช่วงไม่กี่เดือน
ที่ผ่านมา ขณะที่ความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับวิกฤติหนี้ของยุโรป และภาวะเศรษฐกิจโลก
ที่ชะลอตัว ทำให้นักลงทุนย้ายไปถือดอลลาร์และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เยอรมัน, ฝรั่งเศส, อิตาลีเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการต่ำกว่าคาด

Date Time Event Survey Actual Prior
10/05/2011 14:45 IT PMI Services SEP 47.00 45.80 48.40
10/05/2011 14:50 FR PMI Services SEP F 52.50 51.50 52.50
10/05/2011 14:55 GE PMI Services SEP F 50.30 49.70 50.30
10/05/2011 15:00 EC PMI Composite SEP F 49.20 49.10 49.20
10/05/2011 15:00 EC PMI Services SEP F 49.10 48.80 49.10
source: bloomberg
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

USA:นักเศรษฐศาสตร์ประสานเสียงเตือนเศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสถดถอยอีกรอบ
วอชิงตัน--5 ต.ค.--รอยเตอร์

นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังจำนวนหนึ่งเปิดเผยว่า มีโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะถดถอยอีกครั้ง ขณะที่การจ้างงานและตลาดที่อยู่อาศัยยังคง
ตกต่ำ และวิกฤติหนี้ของยุโรปจะลุกลามออกไป
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า
การฟื้นตัวใกล้จะชะงักงัน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์กล่าวว่า
สหรัฐใกล้ประสบกับภาวะถดถอย และนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยวัฏจักร
เศรษฐกิจระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาวะตกต่ำอีกครั้ง
นายเบอร์นันเก้กล่าวเตือนดังกล่าวในการแถลงต่อคณะกรรมาธิการ
เศรษฐกิจร่วมของสภาคองเกรส โดยระบุว่า เฟดเตรียมที่จะดำเนินการมากขึ้น
เพื่อหนุนการฟื้นตัว
นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมนได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ
ในไตรมาสแรกปีหน้าลงสู่ระดับ 0.5% โดยระบุว่าวิกฤติหนี้ของยุโรปอาจเป็น
ปัจจัยกระทบให้เศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำ
"วิกฤติยุโรปคุกคามการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐผ่านภาวะการเงิน
ที่ตึงตัวมากขึ้น, ปริมาณสินเชื่อที่ลดลง และการส่งออกของสหรัฐไปยังยุโรป
ที่ชะลอตัวลง" นายแอนดรูว์ ทิลทัน นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมนกล่าว
"ผลกระทบนี้อาจจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงจนเกือบจะถดถอยภายใน
ต้นปีหน้า"
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว สถาบันวิจัยวัฏจักรเศรษฐกิจระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐ
ได้ผ่านจุดที่ไม่อาจหวนคืนแล้ว เช่นเดียวกับความสามารถของผู้กำหนดนโยบาย
ที่จะเข้าช่วยเหลือ
เศรษฐกิจสหรัฐมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยไม่ถึง 1% ในช่วงครึ่งปีแรก
และอัตราว่างงานทรงตัวเหนือระดับ 9% มาหลายเดือนแล้ว ขณะที่อัตราว่างงาน
ระยะยาวอยู่ที่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ แม้เฟดได้ผ่อนคลายนโยบายการเงิน
แบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้วก็ตาม
ด้านกลุ่ม Conference Board ระบุว่า โอกาสที่จะเกิดภาวะถดถอย
ได้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงต่ำกว่าระดับ 50-50--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

France:รมว.คลังฝรั่งเศสเผยจะสรุปทางแก้ปัญหาแบงก์"เด็กเซีย"ได้พรุ่งนี้

สำนักข่าวดาวน์โจนส์ (05 ต.ค. 54)--นายฟรังซัวส์ บารวง รัฐมนตรีกระทรวงคลังฝรั่งเศส กล่าวว่า จะหาทางออกให้กับแบงก์เด็กเซีย ซึ่งเป็นธนาคารของฝรั่งเศส-เบลเยียมได้ในวันพรุ่งนี้
นายบารวงให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุ RTL ว่า "เด็กเซียจะไม่อยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนี้"
รัฐบาลฝรั่งเศสและเบลเยียมจะให้การสนับสนุนผู้ฝากเงินในธนาคารดังกล่าวในเบลเยียม และจะปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
นายบารวงกล่าวว่า การเทคโอเวอร์ธุรกิจไฟแนนซ์สาธารณะโดยธนาคาร Caisse des Depots & Consignations หรือ CDC และธนาคาร La Banque Postale ซึ่งเป็นธนาคารออมทรัพย์ของฝรั่งเศส ถือเป็นทางเลือกที่จริงจังที่สุดที่กำลังมีการหารือกัน
อย่างไรก็ดี การแก้วิกฤติของเด็กเซียจะไม่ทำให้รัฐบาลฝรั่งเศสมีหนี้เพิ่มขึ้น
นายบารวงกล่าวว่า ทางการยุโรปอยู่ในระหว่างการหารือว่า ภาคเอกชนควรยอมขาดทุนมากขึ้นหรือไม่จากปัญหาหนี้กรีซ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อช่วยกรีซ

--อินโฟเควสท์
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

> Italy:บริษัทอิตาลี,สเปนเผชิญปัญหาระดมทุนในตลาดตราสารหนี้หลังต้นทุนพุ่ง

สำนักข่าวดาวน์โจนส์ (05 ต.ค. 54)--นักวิเคราะห์ในตลาดเปิดเผยว่า บรรดาบริษัทของอิตาลีและสเปนกำลังประสบปัญหาในการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ และในการออกตราสารหนี้ ท่ามกลางต้นทุนการระดมทุนที่พุ่งสูง ขณะที่ค่าสเปรดที่ประเทศหลักๆของยุโรปสามารถชำระได้และค่าสเปรดที่บริษัทในประเทศรายย่อยต้องจ่าย ยังคงแตกต่างกัน
"มีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เกี่ยวกับประเทศรายย่อย การระดมทุนของบริษัทเหล่านี้ในตลาดจะยังคงมีค่าใช้จ่ายสูง และจะยังคงเป็นเช่นนั้นต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาในยูโรโซนบางประการออกมา" นายซูกิ มานน์ นักวิเคราะห์จากโซซิเอเต เจเนอ
ราลกล่าว
บริษัทของฝรั่งเศสใกล้ที่จะระดมทุนได้เต็มที่แล้ว และการออกตราสารหนี้ใดๆเพิ่มเติมจะนำไปสู่ภาวะอิ่มตัวของตลาด โดยมีการออกตราสารหนี้ 9 รายการจากบริษัทฝรั่งเศสในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนก.ย.
ส่วนบริษัทของอิตาลีและสเปนไม่สามารถที่จะเข้าถึงตลาดทุนได้ อันเนื่องมาจากผลตอบแทนที่ระดับสูงที่นักลงทุนเรียกร้องให้มีการชดเชยแก่พวกเขาสำหรับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับประเทศรายย่อย
นายมานน์กล่าวว่า การระดมทุนได้มีการแบ่งความแตกต่างตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยบริษัทในประเทศทางยุโรปเหนือหรือบริษัทจากกลุ่มประเทศ"หลัก" จะสามารถเข้ามาในตลาดได้ หากพวกเขาต้องการ ซึ่งตรงกันข้ามกับบริษัทในกลุ่มประเทศรายย่อยที่ยังคงมีเงินสด แต่ไม่สามารถเข้ามาตลาดได้ แม้ว่าพวกเขามีความต้องการ
อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่มีความเห็นแย้งในประเด็นที่ว่าบริษัทดังกล่าวได้ถูกปิดกั้นจากตลาดอย่างสิ้นเชิง
"บริษัทเหล่านี้จำนวนมากไม่ต้องการเงินสด ซึ่งจริงๆแล้วจะขึ้นอยู่กับค่าพรีเมียมที่พวกเขายินดีจะจ่าย" เจ้าหน้าที่รายหนึ่งกล่าว




--อินโฟเควสท์
strapcharoen
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

wiss42 เขียน:> Italy:บริษัทอิตาลี,สเปนเผชิญปัญหาระดมทุนในตลาดตราสารหนี้หลังต้นทุนพุ่ง

สำนักข่าวดาวน์โจนส์ (05 ต.ค. 54)--นักวิเคราะห์ในตลาดเปิดเผยว่า บรรดาบริษัทของอิตาลีและสเปนกำลังประสบปัญหาในการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ และในการออกตราสารหนี้ ท่ามกลางต้นทุนการระดมทุนที่พุ่งสูง ขณะที่ค่าสเปรดที่ประเทศหลักๆของยุโรปสามารถชำระได้และค่าสเปรดที่บริษัทในประเทศรายย่อยต้องจ่าย ยังคงแตกต่างกัน
"มีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เกี่ยวกับประเทศรายย่อย การระดมทุนของบริษัทเหล่านี้ในตลาดจะยังคงมีค่าใช้จ่ายสูง และจะยังคงเป็นเช่นนั้นต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาในยูโรโซนบางประการออกมา" นายซูกิ มานน์ นักวิเคราะห์จากโซซิเอเต เจเนอ
ราลกล่าว
บริษัทของฝรั่งเศสใกล้ที่จะระดมทุนได้เต็มที่แล้ว และการออกตราสารหนี้ใดๆเพิ่มเติมจะนำไปสู่ภาวะอิ่มตัวของตลาด โดยมีการออกตราสารหนี้ 9 รายการจากบริษัทฝรั่งเศสในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนก.ย.
ส่วนบริษัทของอิตาลีและสเปนไม่สามารถที่จะเข้าถึงตลาดทุนได้ อันเนื่องมาจากผลตอบแทนที่ระดับสูงที่นักลงทุนเรียกร้องให้มีการชดเชยแก่พวกเขาสำหรับความเสี่ยงที่เกี่ยวกับประเทศรายย่อย
นายมานน์กล่าวว่า การระดมทุนได้มีการแบ่งความแตกต่างตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยบริษัทในประเทศทางยุโรปเหนือหรือบริษัทจากกลุ่มประเทศ"หลัก" จะสามารถเข้ามาในตลาดได้ หากพวกเขาต้องการ ซึ่งตรงกันข้ามกับบริษัทในกลุ่มประเทศรายย่อยที่ยังคงมีเงินสด แต่ไม่สามารถเข้ามาตลาดได้ แม้ว่าพวกเขามีความต้องการ
อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่มีความเห็นแย้งในประเด็นที่ว่าบริษัทดังกล่าวได้ถูกปิดกั้นจากตลาดอย่างสิ้นเชิง
"บริษัทเหล่านี้จำนวนมากไม่ต้องการเงินสด ซึ่งจริงๆแล้วจะขึ้นอยู่กับค่าพรีเมียมที่พวกเขายินดีจะจ่าย" เจ้าหน้าที่รายหนึ่งกล่าว




--อินโฟเควสท์
w2tc
Verified User
โพสต์: 245
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
กระทู้มีประโยชน์มากๆ :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
samahara
Verified User
โพสต์: 136
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ยังไม่เห็นทางแก้เลย
:?
บุคคลผู้มีปัญญารู้จักใคร่ครวญ ย่อมตั้งตนได้ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุน แม้มีประมาณน้อย เหมือนคนก่อไฟกองน้อย ให้เป็นกองใหญ่
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารปรับลดลง 28% ภายใน 2 เดือน จากความกังวลของวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป ณ จุดนี้เราจึงพยายามหาจุดซื้อที่ดีโดยการเปรียบเทียบกับค่า PBV และ PE ในสภาวะวิกฤติในอดีตปี 51-52 กับค่าปัจจุบัน พร้อมกับคำนึงปัจจัยพื้นฐานของธนาคารไปพร้อมกัน โดยสมมติฐานว่าความเสี่ยงของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอยู่ที่ 70% และด้วยปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดีกว่าทำให้เชื่อว่าวิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้จะลึกเพียง 70% ของวิกฤติเศรษฐกิจรอบที่แล้ว ด้วยการเปรียบเทียบดังกล่าวราคาหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ได้สะท้อนความเสี่ยงนั้นแล้ว ในขณะที่ธนาคารกลาง-เล็กยังไม่ต่ำสุด ดังนั้น เราเลือก KBANK และ SCB เป็น top pick

สถานการณ์ปัจจุบันจะไม่แย่เหมือนปี 51-52
มี 5 เหตุผลที่เชื่อว่ามูลค่าหุ้นธนาคารรอบนี้จะไม่ต่ำเท่ารอบวิกฤติเศรษฐกิจปี 51-52 นั่นคือ 1) อัตราเติบโตเศรษฐกิจ (GDP) ปี 54-55 สูงกว่าปี 51-52 (+3.6%/+4.2% ในปีนี้/ปีหน้า เทียบกับ +2.6%/-2.3% ในปี 51/52) 2.) ความสามารถทำกำไรของธนาคารสูงขึ้น ROE 54/55 = 15.5% เทียบกับ 13% ในปี 51/52 3.) ความผันผวนกำไรมีน้อยกว่าเพราะสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมคิดเป็น 37% ในปัจจุบัน เทียบกับ 28% ในปี 51/52 4.) NPL ต่ำกว่า ที่ 4% และการกันสำรอง/หนี้เสีย 94% เทียบกับปี 51/52 มี NPL ที่ 6.7% และการสำรอง/หนี้เสีย 71% 5.) มีการเตรียมตัวดีกว่าโดยพยายามลดสัดส่วนการลงทุนในยุโรป จนมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของสินทรัพย์

--ktzmico--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

7-10-2554

เมื่อคืนนี้ ECB ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนที่คาดการณ์ว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาค ในขณะที่ BOE ประกาศใช้มาตรการ QE2 เพิ่มอีก GBP75bn (สูงกว่าคาดการณ์ที่ GBP50bn) ซึ่งทำให้ FTSE100 ปรับตัวขึ้น 3.71% เมื่อคืนนี้
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ECB หนุนสภาพคล่อง ธ.พ. เต็มที่จนถึงปีหน้า เพื่อให้ระบบสินเชื่อโลกทำงาน
ดังที่กล่าวไปแล้ววานนี้ว่า แม้ตลาดโลกยังกังวลต่อความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้ของกรีซที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น หลังจากธนาคารกลางยุโรปให้เลื่อนการเบิกถอนเงินงวดที่ 6 ของกรีซออกไปเป็นหลังวันที่ 13 ต.ค. ที่จะถึงแล้วก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นพัฒนาการเชิงบวกในหลายเรื่อง ธนาคารกลางยุโรป (ECB) กลับให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินในกลุ่มสหภาพยุโรปอย่างเต็มที่ โดยดำเนินการซื้อหุ้นกู้วงเงิน 4 หมื่นล้านเหรียญยูโร และเงินกู้ระยะยาว 12 เดือนแก่สถาบันการเงินโดยไม่จำกัดจำนวนเงิน เพื่อให้กลไกการทำงานของตลาดเงินและระบบสินเชื่อยังเดินหน้าตามปกติ เท่ากับแผนการแก้ไขวิกฤติการเงินในยุโรป ได้ถูกมองข้ามไปยังธนาคารพาณิชย์ ในยุโรป ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้หลักในการลงทุนพันธบัตรรัฐบาลของยุโรป 2) อังกฤษได้ขยายวงเงินซื้อพันธบัตรจาก 2 แสนล้านปอนด์ เป็น 2.75 แสนล้านปอนด์ เพื่อเพิ่มสภาพในระบบการเงิน และ 3) ECB จะขอความร่วมมือกับ Fed ในการปล่อยเงินในรูปสกุลดอลล่าร์ โดยสรุปแนวทางการแก้ปัญหาที่เริ่มเห็นทางออก น่าจะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้ โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นต่อตลาดว่าจะให้การช่วยเหลือ ธ.พ. อย่างเต็มที่ในฐานะ ธ.พ. คือผู้ที่เจ็บปวดที่สุดในทุกสถานการณ์วิกฤติโลก ต้องประสบปัญหาขาดทุนจนต้องเร่งเพิ่มทุนเพื่อเพิ่มสภาพในการทำธุรกิจ ในอีกด้านหนึ่ง หากเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลงมาจนมี Expected PER 10 เท่า แม้ได้ฟื้นตัวขึ้นมาล่าสุดแล้วก็ตาม เชื่อว่าได้ตอบรับความเสี่ยงขาลงในระดับหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะหากเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย และจะกดดันให้ราคาน้ำมันดิบดูไบลงไปที่ 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล จะกดดันให้ EPS ตลาดปีหน้า ลดลงจากเดิม 11.8%มาอยู่ที่ 83.8 บาทต่อหุ้น ซึ่งตลาดหุ้นไทยก็ยังซื้อขาย Expected PER 10 เท่า ซึ่งทำให้เชื่อว่าดัชนีที่ระดับต่ำกว่า 900 จุดอยู่ได้ไม่นาน และในที่สุดจะต้องกลับขึ้นไปยืนที่ expected PER 11 เท่าคือ 950-960 จุดอีกครั้ง


ค่าเงินยูโร ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด แต่ก็มาตามนัด หนุนราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวระยะสั้น ๆ
เมื่อแนวทางการแก้ไขปัญหาเริ่มเดินหน้าและได้รับการตอบรับในด้านบวก สิ่งที่เห็นในขณะนี้นอกจากตลาดหุ้นจะฟื้นตัวแล้ว ค่าเงินยูโร เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็มีสัญญาณฟื้นตัว โดยระยะ 2 วันที่ผ่านมา ฟื้นตัวแล้วราว 2% (แม้ว่าการฟื้นตัวของเงินยูโร จะล่าช้ากว่าที่ ASP คาดไว้ก็ตาม) ซึ่งตรงกันข้ามที่ค่าเงินสหรัฐ หรือ Dollar Index มีแนวโน้มอ่อนตัวเล็กน้อย โดยอ่อนตัวลงหลังจากแตะที่ระดับ 79.838 จุดเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา และล่าสุดเช้านี้ลงมาที่ 78.651 จุด ทั้งนี้หาก Dollar Index หลุดลงต่ำกว่าระดับปัจจุบัน ก็อาจจะหนุนให้ราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัวต่อ โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบ ฟื้นตัวจาก 95 เหรียญฯ ขึ้นมาที่ 100 เหรียญฯ อีกครั้ง ดังนั้นนับจากจุดนี้ ทิศทางของเงินยูโร และ Dollar Index จะมีความสำคัญอย่างมากในการกำหนดทิศทางของราคาน้ำมัน หรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ รวมถึงหุ้นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์


เงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มลดลง ยืนยันดอกเบี้ยขาลงนับจากนี้
ในการประชุมของธนาคารกลางยุโรปวานนี้มีข้อสรุปให้ยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ที่เดิม แม้จะไม่เป็นตามที่ตลาดคาดหวังว่าจะเห็นการลดดอกเบี้ยนโยบายลงในการประชุมรอบนี้ก็ตาม เนื่องจากธนาคารกลางยุโรปยังคงให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อที่ปัจจุบันเฉลี่ยยังยืนใกล้เคียง 3% ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ระดับ 2% แต่อย่างไรก็ตามธนาคารกลางยุโรปก็มิได้ปฏิเสธต่อแนวคิดที่ว่าจะปรับลดดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นในอนาคต หากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอ่อนลงในปี 2555 ทั้งนี้แนวทางการยืนดอกเบี้ยนโยบายที่เดิมสอดคล้องกับประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง โดยเฉพาะอังกฤษ และออสเตรเลีย ล่าสุดได้ยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำ 0.5% และ 4.75%เช่นเดิม และส่งสัญญาณว่าจะลดดอกเบี้ยในปี 2555 ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับมุมมองของ ASP เชื่อว่า กนง. น่าจะมีมติยืนดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม 3.5% ในการประชุมอีก 2 ครั้งที่เหลือของปีคือ 19 ต.ค. 2554 และ 30 พ.ย. 2554 และน่าจะส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยในปี 2555 เช่นกัน

โดย บมจ. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2554
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

EUROPE:สภาเนเธอร์แลนด์มีมติอนุมัติแผนเพิ่มอำนาจกองทุนเสถียรภาพยุโรปแล้ว
บรัสเซลส์--7 ต.ค.--รอยเตอร์

รัฐสภาเนเธอร์แลนด์มีมติเห็นชอบแผนการเพิ่มอำนาจและบทบาท
ของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) เมื่อวานนี้ และส่งผล
ให้เหลือประเทศสมาชิกยูโรโซนอีกเพียงแค่ 2 ประเทศเท่านั้นที่รัฐสภา
ยังไม่ได้ลงมติอนุมัติแผนการนี้ ซึ่งได้แก่ สโลวาเกียและมอลตา
ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเนเธอร์แลนด์ 96 จาก 150 คน
ลงมติเห็นชอบแผนการเพิ่มอำนาจและบทบาท EFSF เมื่อวานนี้
อำนาจและบทบาทที่เพิ่มขึ้นของกองทุน EFSF จะช่วยให้ทาง
กองทุนสามารถเข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตร, ขยายวงเงินสินเชื่อสำรอง
ให้แก่รัฐบาลของประเทศต่างๆ และปล่อยกู้ให้แก่รัฐบาลสำหรับเป้าหมาย
ที่เฉพาะเจาะจงในการเพิ่มทุนธนาคาร--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

สาเหตุที่ยังไม่มองว่าตลาดเปลี่ยน Trend เป็นขาขึ้นเพราะ
• ย้อนกลับไปดูว่า risk asset ที่ปรับลงมารอบนี้เพราะอะไร? เพราะกลัวกรีซ default แล้วลากคนอื่นล้มเป็นโดมิโน + กลัวเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย วันนี้ทั้ง 2 ปัญหายังไม่ได้ถูกแก้ไข
• ยุโรป: เมื่อคืนนี้ ECB ทำได้เพียงเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงิน (หากแบงก์ขาดสภาพคล่อง วิกฤตจะลุกลามรวดเร็วและกระทบเป็นวงกว้างมาก) โดยการปล่อยการกู้ยืมระยะยาว (ดอกเบี้ยคงที่ 12-13 เดือน) ให้กับแบงก์พาณิชย์ และรับซื้อพันธบัตรจากประเทศที่มีปัญหา เพื่อป้องกันไม่ให้แบงก์ขาดสภาพคล่อง (มาตรการเหล่านี้เคยใช้เมื่อปี 2008-2009 แล้ว แสดงว่าปัญหามีไม่น้อยเลย) แต่ดอกเบี้ยไม่ได้ลด
• สิ่งที่ยังไม่ได้แก้ไขคือ
1. ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานของกรีซ - หนี้ยังมีอยู่ครบและยังคืนหนี้ไม่ได้ (ควรต้อง hair cut ไม่ต่ำกว่า 50% แต่ยังไม่ได้ทำแม้แต่เปอร์เซนต์เดียว)
2. กรีซยังไม่ได้รับเงินกู้ 8 พันล้านยูโร (วันที่หุ้นตก 90 จุดเพราะผิดหวังกับการที่กรีซถูกเลื่อนได้รับเงินจาก 13 ต.ค. ไปเป็นกลาง พ.ย. วันนี้ก็ยังไม่ได้เงิน!!)
3. หลายประเทศในยุโรปยังขาดดุลงบประมาณ ยังมีหนี้สูงมาก รายจ่ายยังไม่ลด และยังทำท่าว่าจะมีปัญหาการเมืองซ้ำเข้าไปอีก (ปชช.ประท้วง)
4. เงินกองทุนของหลายแบงก์ในยุโรปมีไม่พอและจะต้องหาทางเพิ่มทุนต่อไป (แต่ก็ใจชื้นว่า ECB กำลังทำแผนช่วยเหลืออยู่ อย่างน้อยก็เลื่อนการทำ Stress Test 3 ออกไป)
5. เงินกองทุน EFSF ยังรออีก 2 ประเทศ (มอลต้าและสโลวาเกีย) ที่จะโหวตในสัปดาห์หน้า
6. ขนาดของปัญหาหรือขนาดของกองทุน EFSF ยังได้ define ว่าเป็นเท่าไหร่
• สหรัฐ: ตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัวยังมีให้เห็น อย่างน้อยคืนนี้มี non-farm payroll ให้ลุ้น โดยรวมก็คือการว่างงานสูง กำลังซื้อของผู้บริโภคต่ำ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ราคาบ้านและยอดขายบ้านทรงถึงลง ภาคการผลิตทรงถึงบวกเล็กน้อย
• ไปข้างหน้ายังมีความเสี่ยง - ถ้า Troika ที่ตกลงกันไว้ว่าจะให้เงินกรีซกลาง พ.ย. นี้เลื่อนออกไปอีก หรือตัดสินใจว่าไม่ช่วยเลย (กรีซจำเป็นต้องได้รับการ hair cut, ลดดอกเบี้ย, ใส่เงินเพิ่ม) แล้วกรีซจะพาใครไปด้วย ความน่าเชื่อถือของเงินสกุลยูโรจะเป็นอย่างไร ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจึงยังไม่มองว่าตลาดเปลี่ยน Trend เป็นขาขึ้น เพียงแต่ตลาดเบาใจขึ้นว่าอย่างน้อยทุกฝ่ายก็จริงจังในการแก้ปัญหา จึง rebound ให้เห็นและเป็น short covering มากกว่าจะเป็นเม็ดเงินใหม่กลับเข้ามาในตลาด ตลาดจึงน่าจะยังแกว่งในกรอบ 880-950 จนกว่าปัญหาจะมีทางออก กลยุทธ์: ขึ้นขาย ลงซื้อ ไม่จำเป็นต้องไล่ราคา ถ้าติดอยู่ ให้ short against port แต่ถ้าจะลงทุนยาว รอให้ตลาดลงแถว 900 ค่อยว่ากัน
FSS Research
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก : วิตกหนี้ยุโรปฉุดยูโรอ่อน ขณะตลาดจับตาประชุมธ.กลางยุโรป (07/06/2554)
ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 มิ.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลเรื่องปัญหาหนี้ยุโรป หลังจากเจ้าหน้าที่เยอรมนีได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า การให้ความช่วยเหลือครั้งใหม่กับกรีซนั้นอาจจะยังไม่แน่นอน แม้สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตกลงกันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับกรีซอีกก็ตาม ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) หลังจากมีการคาดการณ์ว่าคณะกรรมการอีซีบีอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้

ค่าเงินยูโรร่วงลง 0.45% แตะที่ 1.4568 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.4634 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินปอนด์ร่วงลง 0.47% แตะที่ 1.6349 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.6427 ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลง 0.16% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 80.130 เยน จากระดับ 80.260 เยน แต่ดีดตัวขึ้น 0.37% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.8363 ฟรังค์ จากระดับ 0.8332 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.14% แตะที่ 1.0700 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0715 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนตัวลง 0.32% แตะที่ 0.8127 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8153 ดอลลาร์สหรัฐ

สกุลเงินยูโรยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องปัญหาหนี้ยุโรป หลังจากเจ้าหน้าที่เยอรมนีได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า การให้ความช่วยเหลือครั้งใหม่กับกรีซนั้นอาจจะยังไม่แน่นอน แม้อียูและไอเอ็มเอฟได้ตกลงกันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับกรีซอีกก็ตาม

นอกจากนี้ สกุลเงินยูโรยังถูกกดดันจากการที่นายฌอง-คล้อด ยุงเกอร์ ประธานรัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซนได้แสดงความเห็นต่อคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจของยุโรปว่า สกุลเงินยูโรกำลังอยู่ในภาวะที่ "มีมูลค่าสูงเกินไป"

นักลงทุนกังวลว่า แม้กรีซได้รับเงินช่วยเหลือจากอียูและไอเอ็มเอฟงวดแรกมูลค่า 100 ล้านยูโรในปีที่แล้ว แต่สถานะการคลังของกรีซยังคงย่ำแย่มาจนถึงปีนี้ และมีความเป็นไปได้ว่าสถานการณ์ด้านการเงินของกรีซอาจจะยังไม่กระเตื้องขึ้นไปจนถึงปีหน้า ซึ่งอาจจะทำให้กรีซต้องยื่นขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากอียูและไอเอ็มเอฟอีก

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงได้รับปัจจัยลบจากรายงานที่ว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น 54,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าคาดการณ์ ขณะที่อัตราว่างงานในเดือนพ.ค.ขยับขึ้นสู่ระดับ 9.1% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง

ข้อมูลของกระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่า จำนวนคนว่างงานที่ไม่มีงานทำติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 27 สัปดาห์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 361,000 คน สู่ระดับ 6.2 ล้านคนในเดือนพ.ค. ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 45.1% ของจำนวนคนว่างงานทั้งหมด และใกล้เคียงกับสัดส่วนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 45.6% เมื่อปีที่แล้ว

คอนเฟอเรนซ์ บอร์ดเปิดเผยว่า ดัชนีแนวโน้มการจ้างงานของสหรัฐลดลงสู่ระดับ 99.7 จุดในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 จากระดับ 100.1 จุดของเดือนเม.ย. อย่างไรก็ตาม ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.3% จากเดือนพ.ค.ปีที่แล้ว

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นักลงทุนจับตาดูการประชุมของธนาคารกลางยุโรปในวันพฤหัสบพีที่ 10 มิ.ย. โดยมีการคาดการณ์ในวงกว้างว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรปจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในการประชุมครั้งนี้หรืออาจจะเป็นการประชุมในครั้งหน้า หลังจากอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนพุ่งขึ้นเหนือระดับเป้าหมายของธนาคารกลาง

ทางการสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาหนี้ รวมถึงรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจหรือ Beige Book ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนเม.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และรายงานงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐประจำเดือนพ.ค.

ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 7 มิถุนายน 2554)
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

EUROPE:บอร์ดบริหาร"เด็กเซีย"เตรียมลงมติแผนปรับโครงสร้างธนาคารพรุ่งนี้
บรัสเซลส์--7 ต.ค.--รอยเตอร์

คณะกรรมการบริหารธนาคารเด็กเซีย ซึ่งเป็นผู้ปล่อยกู้ระดับ
เทศบาลของฝรั่งเศส-เบลเยียมจะลงมติต่อแผนการแยกกิจการในวันเสาร์นี้
เจ้าหน้าที่บางรายกังวลว่าธนาคารแห่งอื่นๆอาจตกอยู่ในสถานะ
เดียวกับเด็กเซีย ถึงแม้ธนาคารดังกล่าวผ่านการทดสอบภาวะวิกฤติของ
สำนักงานการธนาคารยุโรป (EBA) ในเดือนก.ค.ปีนี้
การทดสอบดังกล่าวครอบคลุมธนาคาร 91 แห่งในอียู และผลการ
ทดสอบระบุว่ามีธนาคารเพียง 8 แห่งเท่านั้นที่ไม่ผ่านเกณฑ์ โดยธนาคารทั้ง
8 แห่งนี้จำเป็นต้องเพิ่มทุนรวมกัน 2.5 พันล้านยูโร (3.3 พันล้านดอลลาร์)
อย่างไรก็ดี กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เชื่อว่าธนาคาร
ในอียูจำเป็นต้องเพิ่มทุน 2 แสนล้านยูโร
คณะกรรมการบริหาร EBA จัดการประชุมเป็นวันที่สองเพื่อพิจารณา
ทบทวนความจำเป็นด้านเงินทุนของภาคธนาคาร
ผลการคำนวณของรอยเตอร์ เบรกกิงวิวระบุว่า ถ้าหากธนาคาร
ในการทดสอบจำเป็นต้องปรับมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลในบัญชีตามราคาตลาดปัจจุบัน
ธนาคาร 18 แห่งก็จะไม่ผ่านเกณฑ์ และต้องเพิ่มทุนรวมกัน 4 หมื่นล้านยูโร
นายฮวาควิน อัลมูเนีย กรรมาธิการด้านการแข่งขันของอียู กล่าวว่า
มีความจำเป็นต้องประเมินมูลค่าสินทรัพย์ธนาคารใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะมูลค่า
พันธบัตรรัฐบาล เพื่อส่งเสริมการเพิ่มทุน แต่การใช้เงินช่วยเหลือของรัฐบาล
ควรจะเป็นทางเลือกสุดท้าย และการใช้เงินรัฐบาลควรสอดคล้องกับกฎเกณฑ์
ด้านความช่วยเหลือของอียู
EBA กำลังเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ โดย EBA จะกำหนดว่า
ธนาคารแห่งใดบ้างที่ควรอยู่ในโครงการประสานงานการเพิ่มทุนของอียู
ขณะที่อีซีไม่มีอำนาจในการสั่งให้ประเทศสมาชิกอียูดำเนินการเพิ่มทุนให้แก่
ธนาคาร
เจ้าหน้าที่กล่าวว่าปัญหาสำคัญในขณะนี้ก็คือ ยุโรปจะสามารถหาเงิน
ได้มากพอและหาเงินได้อย่างรวดเร็วเพียงพอหรือไม่ในการดำเนินแผนเพิ่มทุน
และในการยับยั้งวิกฤติหนี้ไม่ให้ลุกลามนอกเหนือกรีซและเด็กเซีย
EBA ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันหลังจากนายแอนเดรีย เอ็นเรีย ประธาน
กรรมการ EBA ยอมรับในวันอังคารว่า การทดสอบภาวะวิกฤติในปีนี้ไม่สามารถ
สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

> ENGLAND:"มูดี้ส์"ประกาศลดอันดับเครดิตสถาบันการเงินอังกฤษ 12 แห่ง
นิวยอร์ค--7 ต.ค.--รอยเตอร์

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง
ประเทศ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและเงินฝากของสถาบัน
การเงิน 12 แห่งของอังกฤษ และคงอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบัน 1 แห่ง
ทั้งนี้ การดำเนินการครั้งนี้เป็นการสรุปการทบทวนคาดการณ์การสนับสนุน
เชิงระบบจากรัฐบาลอังกฤษสำหรับสถาบันการเงินเหล่านี้ ซึ่งมูดี้ส์ได้เริ่มทบทวน
เมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา--จบ--



PORTUGAL:"มูดี้ส์"ประกาศลดอันดับเครดิตแบงก์โปรตุเกส พร้อมให้แนวโน้มเชิงลบ
นิวยอร์ค--7 ต.ค.--รอยเตอร์

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง
ประเทศ ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารโปรตุเกส โดยปรับลด
อันดับความน่าเชื่อถือหนี้ไม่ด้อยสิทธิ และเงินฝากของธนาคาร 9 แห่งลง 1 หรือ
2 ขั้น และลดอันดับความน่าเชื่อถือด้านสถานะเอกเทศของธนาคาร 6 แห่งลง
1 หรือ 2 ขั้น
อันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารเหล่านี้มีแนวโน้มเชิงลบ ยกเว้น
Banco de Negocios (BPN) ซึ่งมีแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือที่รอการ
เปลี่ยนแปลง
การดำเนินการด้านอันดับความน่าเชื่อถือครั้งนี้เป็นการสรุปการทบทวน
ที่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่มีการลดอันดับความน่าเชื่อถือของ
พันธบัตรรัฐบาลโปรตุเกสลงสู่ระดับ Ba2 จาก Baa1 โดยมีแนวโน้มเชิงลบ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการลดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้และเงินฝากของธนาคาร
ส่วนใหญ่ก็คือ
การที่มูดี้ส์ประเมินว่าความแข็งแกร่งทางการเงินที่ไม่ได้รับการสนับสนุนนั้น
มีภาวะเสื่อมถอยลงอันเป็นผลจากปัจจัยดังต่อไปนี้:-
(1) ความเสี่ยงสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลสืบเนื่องโดยตรงจากการที่ธนาคาร
เหล่านี้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลโปรตุเกส และอันดับความน่าเชื่อถือที่ถูกปรับลดลงของ
พันธบัตรรัฐบาลโปรตุเกส
(2) ภาวะเสื่อมถอยลงอีกตามคาดของคุณภาพสินทรัพย์ในประเทศของธนาคาร
เหล่านี้ อันเป็นผลจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล
(3) ภาวะสภาพคล่องตึงตัวของธนาคารเหล่านี้ ซึ่งกำลังขาดช่องทางเข้าถึง
การระดมทุนผ่านตลาดทุน
ธนาคาร 6 แห่งที่ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือด้านสถานะเอกเทศ
และอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้และเงินฝาก ได้แก่ Caixa Geral de Depositos
(CGD), Banco Comercial Portugues (BCP), Banco Espirito Santo
(BES), Banco BPI (BPI), Banco Santander Totta (BST),
Caixa Economica Montepio Geral (Montepio)
ทางด้าน Banco Internacional do Funchal (Banif SA) และ
Banco Portugues de Negocis (BPN) ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้
และเงินฝาก อันเป็นผลจากอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลโปรตุเกส
ที่ถูกปรับลดลง ซึ่งส่งผลให้อันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ของธนาคารเหล่านี้มีปัจจัย
หนุนลดลง ขณะที่อันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ของ Espirito Santo Financial
Group (ESFG) เป็นไปตามอันดับความน่าเชื่อถือที่ลดลงของบริษัท BES--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
tok
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 833
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

Data Says Recession Not Likely

Friday October 7, 2011, 5:48 pm EDT

A better-than-expected jobs report sent stocks to early gains, but after three big up days, the market was unable to sustain them. A downgrade of Italian and Spanish debt by Fitch helped serve as a catalyst for the reversal. While the markets will continue to be keenly focused on Europe, we think if the U.S. economy continues to show its resiliency that stocks will have a solid Q4 to end the year. So far, the U.S. economic data and retail sales numbers largely support the view that the country is not heading into a recession.

http://finance.yahoo.com/news/Data-Says ... 5.html?x=0
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

Mergel และ Sarkozy ที่ประชุมที่เบอร์ลินวานนี้ให้สัญญาว่าจะจัดทำแผน 'Comprehensive plan' ในการเพิ่มทุนให้กับแบงก์พาณิชน์ในยุโรปภายในสิ้นเดือน ต.ค. นี้ แต่ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของแผน
การสร้างความหวังดังกล่าวจะช่วยพยุงตลาดให้ไม่มี new low ในรอบนี้ (ลงก็ไม่ลึก ขึ้นก็ไม่สุด) เป็นลักษณะ sideways ในกรอบ 890-950 ในสัปดาห์นี้

สำหรับธนาคาร Dexia แบงก์แรกที่กำลังประสบปัญหาจากวิกฤตหนี้ยูโรโซน ฝรั่งเศส-เบลเยี่ยม-ลักซ์เซมเบิร์กเห็นพ้องกันที่จะช่วย
โดยรัฐบาลเบลเยี่ยมประกาศเช้านี้ว่าจะรัฐบาลจะใช้เงิน 4 พันล้านยูโร (US$5.4 พันล้าน) ซื้อกิจการ Dexia Bank Belgium (retail banking) ซึ่งมีพนักงาน 6 พันคน ลูกค้า 4 ล้านคน และมียอดเงินฝาก 8 หมื่นล้านยูโร

Dexia มีสินทรัพย์ 9 หมื่นล้านยูโร (บางส่วนเป็น toxic assets) จะได้รับการค้ำประกันทั้งหมดโดยรัฐบาลเบลเยี่ยม 60.5% โดยรัฐบาลฝรั่งเศส 36.5% และรัฐบาลลักซ์เซมเบิร์ก 3%

ข่าวนี้ทำให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับดอลลาร์และเยน
FSS Research
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

GREECE:จับตากรีซ-IMF/EU/ECB ประชุมวันนี้ก่อนตัดสินให้เงินช่วยเหลืองวดใหม่
เอเธนส์--10 ต.ค.--รอยเตอร์

หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ทรอยกา ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าทื่จากสหภาพยุโรป
(อียู), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรป
(อีซีบี) จะประชุมกับนายอีวานเจลอส เวนิเซลอส รมว.คลังกรีซ ในช่วงเช้าวันนี้
ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อสรุปการเจรจาเกี่ยวกับการให้เงินช่วยเหลืองวดต่อไป
"เรากำลังทำงานด้วยข้อสันนิษฐานที่ว่าการประชุมจะได้ข้อสรุปในวันนี้"
แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับการเจรจา เปิดเผยกับรอยเตอร์
หัวหน้าคณะผู้แทนทรอยกาอาจออกแถลงการณ์ในวันนี้หรือวันพรุ่งนี้ เพื่อสรุป
ผลการเยือนกรีซ
ทันทีที่เสร็จสิ้นการออกแถลงการณ์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก็จะเตรียมรายงาน
สำหรับรมว.คลังยูโรโซน และคณะกรรมการของไอเอ็มเอฟ ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจ
เกี่ยวกับการให้เงินช่วยเหลืองวดต่อไป
ทั้งนี้ กรีซอาจจะหมดสภาพคล่องอย่างเร็วที่สุดในกลางเดือนหน้าถ้าไม่ได้
รับเงินช่วยเหลืองวดใหม่ 8 พันล้านยูโร โดยจะเพิ่มความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้
ที่จะทำให้ยูโรโซนเผชิญกับวิกฤติหนี้ที่ได้สั่นคลอนตลาดการเงินไปทั่วโลกแล้ว
เจ้าหน้าที่อาวุโสจากคณะเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของอียู, ไอเอ็มเอฟ และอีซีบี
เปิดเผยในสัปดาห์ที่แล้วว่า พวกเขาคาดว่าจะสามารถสรุปผลการเยือนกรีซในไม่ช้านี้
แต่ก็ต้องการได้รับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการและผลกระทบของแผน
การปลดข้าราชการ และขึ้นภาษีเพื่อลดยอดขาดดุลการคลังที่สูงเกินคาดก่อน--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

BELGIUM:บอร์ด"เด็กเซีย"อนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ หลังประชุมมาราธอน 14 ชั่วโมง

บรัสเซลส์--10 ต.ค.--รอยเตอร์

คณะกรรมการบริหารของเด็กเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินสัญชาติ ฝรั่งเศส-
เบลเยียม เปิดเผยในวันนี้ว่า ทางคณะกรรมการได้ยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการที่ร่างโดยรัฐบาล
ฝรั่งเศส, เบลเยียมและลักเซมเบิร์กแล้ว ซึ่งแผนฟื้นฟูนี้อาจเป็นการกดดันรัฐบาลประเทศ
อื่นๆในยูโรโซนให้เสริมความแข็งแกร่งให้แก่ภาคธนาคารในประเทศ
ทั้งนี้ คณะกรรมการเด็กเซียได้ยอมรับข้อเสนอวงเงิน 4 พันล้านยูโร (5.4
พันล้านดอลลาร์) ของรัฐบาลเบลเยียมเพื่อซื้อกิจการเด็กเซีย แบงก์ เบลเยียม ซึ่งเป็น
ธนาคารที่ให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อยเป็นส่วนใหญ่ โดยธนาคารแห่งนี้มีพนักงาน 6,000
คน และมีเงินฝาก 8 หมื่นล้านยูโรจากลูกค้า 4 ล้านราย
เด็กเซียได้อนุมัติโครงการค้ำประกันของรัฐบาลวงเงิน 9.0 หมื่นล้านยูโร
ซึ่งจะรับประกันว่าเด็กเซียสามารถกู้เงินได้ในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยรัฐบาลเบลเยียม
จะค้ำประกัน 60.5 % ของวงเงินนี้, ฝรั่งเศสค้ำประกัน 36.5 % และลักเซมเบิร์ก
ค้ำประกัน 3 %
เด็กเซียสั่งการให้ซีอีโอเริ่มเจรจากับธนาคาร Caisse des Depots (CDC)
และ La Banque Postale ของรัฐบาลฝรั่งเศสเพื่อขอความช่วยเหลือจากธนาคาร
สองแห่งนี้ด้วย โดยกิจการใหม่ที่เกิดจากการลงทุนร่วมกันของธนาคารสองแห่งนี้จะดำเนิน
ธุรกิจปล่อยกู้แก่หน่วยงานรัฐบาลในฝรั่งเศสต่อไป
เด็กเซียประกาศเรื่องนี้ออกมาหลังจากคณะกรรมการบริหารประชุมกันนานถึง
14 ชั่วโมงตั้งแต่ช่วงบ่ายวานนี้
การประชุมในครั้งนี้มีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์แยกกิจการบริษัทฟอร์ติส
ในเดือนต.ค.2008 โดยในเหตุการณ์ดังกล่าวรัฐบาลเบลเยียม, เนเธอร์แลนด์ และ
ธนาคารบีเอ็นพี พาริบาส์ของฝรั่งเศสได้ตกลงที่จะแยกธุรกิจต่างๆในฟอร์ติสออกจากกัน
ซึ่งทางผู้ถือหุ้นของฟอร์ติสได้คัดค้านเงื่อนไขในเบื้องต้น แต่ได้ตกลงยอมรับเงื่อนไข
ที่ดีขึ้นในอีก 6 เดือนต่อมา
รัฐบาลฝรั่งเศส, เบลเยียม และลักเซมเบิร์กรีบเร่งให้ความช่วยเหลือ
แก่เด็กเซีย หลังจากเด็กเซียกลายเป็นธนาคารแห่งแรกที่ตกเป็นเหยื่อของวิกฤติหนี้
ยูโรโซน โดยภาวะสินเชื่อหดตัวส่งผลให้เด็กเซียไม่สามารถระดมทุนจากตลาดทุน
และส่งผลกระทบให้ราคาหุ้นเด็กเซียดิ่งลง 42 % ในสัปดาห์ที่แล้ว
นายกรัฐมนตรีอีฟส์ เลแตร์ม ของเบลเยียมกล่าวในช่วงเช้าวันนี้ว่า
"เราตกลงกันได้ในเรื่องการแบ่งกันออกค่าใช้จ่ายอย่างยุติธรรม"
ภาระในการฟื้นฟูเด็กเซียส่งผลให้มูดี้ส์ประกาศเตือนในวันศุกร์ว่า อันดับ
ความน่าเชื่อถือพันธบัตรรัฐบาลของเบลเยียมอาจลดลงจากระดับ Aa1 ในปัจจุบัน
เบลเยียมมีสัดส่วนหนี้ต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
อยู่ที่ 96.2 % ในปีที่แล้ว ซึ่งเท่ากับไอร์แลนด์ และอยู่ต่ำกว่ากรีซและอิตาลีเพียง
แค่สองประเทศเท่านั้นในยูโรโซน
นายดิดิเยร์ เรย์นเดอร์ส รมว.คลังเบลเยียมกล่าวว่า ข้อตกลงนี้ไม่น่า
จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีของเบลเยียมพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 100 %
เด็กเซียดำเนินธุรกิจผ่านทางการกู้เงินระยะสั้นเพื่อนำมาปล่อยกู้ระยะยาว
อย่างไรก็ดี ทางบริษัทเผชิญกับความยากลำบากในการกู้เงินเมื่อวิกฤติหนี้ยูโรโซน
ทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ เด็กเซียยังปล่อยกู้ให้แก่กรีซเป็นจำนวนมากด้วย
เด็กเซียเผชิญความเสี่ยงด้านสินเชื่อในตลาดโลกราว 7 แสนล้านดอลลาร์
ซึ่งสูงกว่าสองเท่าของจีดีพีกรีซ
ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าธุรกิจอื่นๆที่แข็งแกร่งในเครือเด็กเซียจะมีอนาคต
เป็นเช่นใด โดยธุรกิจดังกล่าวรวมถึงธนาคารเดนิซแบงก์ในตุรกี, ธุรกิจบริหารสินทรัพย์
และธุรกิจรักษาเงินกองทุนที่เกิดจากการลงทุนของเด็กเซียร่วมกับธนาคารรอยัล แบงก์
ออฟ แคนาดา ขณะที่เด็กเซียจะขายธุรกิจในลักเซมเบิร์กออกไป
เด็กเซียจะยังคงครอบครองพอร์ทลงทุนในตราสารหนี้ต่อไป โดยมีขนาด
9.53 หมื่นล้านยูโรในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. ซึ่งรวมถึงตราสารหนี้อันดับขยะ 7.7 พันล้าน
ยูโร และหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ราว 7.4 พันล้าน
ยูโร
นายฌอง-ลุค ดาแฮน ประธานกรรมการเด็กเซีย และนายปิแอร์ มาเรียนี
ซีอีโอของเด็กเซีย มีกำหนดจะจัดการแถลงข่าวในวันนี้เวลา 14.00 น.ตามเวลาไทย
--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

EUROPE:อียูระบุที่ประชุมจี-20 จะมุ่งเป้าไปที่วิกฤติหนี้ยูโรโซน
บรัสเซลส์--11 ต.ค.--รอยเตอร์

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพยุโรป (อียู) ระบุในจดหมายเมื่อวานนี้ว่า
ผู้นำของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป
(จี-20) มีความกังวลเป็นอย่างมากว่าวิกฤติหนี้ยุโรปจะลุกลามออกไปยังส่วนอื่นๆ
ของโลก ดังนั้นจึงมีแนวโน้มว่าประเด็นเรื่องวิกฤติหนี้ยุโรปจะเป็นประเด็นหลักใน
การประชุมสุดยอดของกลุ่มจี-20 ในวันที่ 3-4 พ.ย.
อย่างไรก็ดี นายโฆเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการ
ยุโรป และนายเฮอร์แมน แวน รอมปุย ประธานสภายุโรประบุในจดหมายที่ส่งถึง
ผู้นำคนอื่นๆของอียูว่า การประชุมสุดยอดของกลุ่มจี-20 ที่เมืองคานส์ในฝรั่งเศส
ควรจะหารือกันเรื่องความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกได้รับจากสหรัฐและประเทศตลาด
เกิดใหม่ด้วย
จดหมายจากนายบาร์โรโซและนายแวน รอมปุยระบุว่า "ยุโรปจะเป็น
จุดสนใจสำคัญในการประชุมสุดยอดที่เมืองคานส์"
"ประเทศอื่นๆในกลุ่มจี-20 มองว่า ถ้าหากยุโรปไม่แก้ไขวิกฤติหนี้รัฐบาล
ของตนเอง วิกฤติดังกล่าวก็จะลุกลามและเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้นเรา
จึงจำเป็นต้องแสดงให้ประเทศอื่นๆได้เห็นว่า สหภาพยุโรปมีความมุ่งมั่นที่จะทำใน
สิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อเอาชนะความยากลำบากในปัจจุบัน"
จดหมายฉบับนี้ระบุว่า ภาวะไม่สมดุลทางเศรษฐกิจหลายประการที่เคย
ดำรงอยู่ก่อนเกิดวิกฤติหนี้ยูโรโซนก็ยังคงดำรงอยู่ต่อไปในปัจจุบัน โดยอียูมักจะ
แสดงความไม่พอใจต่อการที่ค่าเงินหยวนของจีนอยู่ในระดับต่ำ และต่อภาวะขาดแคลน
เงินออมในสหรัฐ
จดหมายระบุว่า "ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องรับประกันว่า จะมีการ
หารือกันอย่างสมดุลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่เศรษฐกิจโลกเผชิญอยู่
ซึ่งรวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่มาจากสหรัฐและจากประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยรัฐบาล
ทุกประเทศจำเป็นต้องมีส่วนช่วยเหลือ"
จดหมายฉบับนี้ย้ำถึงข้อเรียกร้องของรัฐมนตรีคลังอียูที่ให้มีการวาง
แผนโร้ดแมพเพื่อขยายตะกร้าสกุลเงินที่ใช้รองรับสกุลเงิน Special Drawing
Right (SDR) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ผู้กำหนดนโยบายบางคนคาดหวังว่า SDR จะกลายเป็นสกุลเงิน
สำรองสกุลใหม่ของโลก ซึ่งจะส่งผลให้หลายประเทศลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ
ถ้าหากมีการนำสกุลเงินหยวนของจีนมารวมไว้ในตะกร้าสกุลเงิน SDR
ในอนาคต ผู้กำหนดนโยบายก็คาดหวังว่ารัฐบาลจีนจะมีความสนใจมากยิ่งขึ้นใน
การปล่อยให้หยวนแข็งค่าขึ้นมากกว่าเดิม และการกระทำดังกล่าวจะช่วยสร้าง
ความสมดุลให้แก่การค้าโลกและรูปแบบการออมเงิน
ในการประชุมสุดยอดของกลุ่มจี-20 ในครั้งนี้ อียูต้องการหารือเรื่อง
ความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องมือใหม่ๆและเครื่องมือที่ดีขึ้นให้แก่ไอเอ็มเอฟ
เพื่อให้ไอเอ็มเอฟใช้ช่วยเหลือประเทศที่ได้รับความลำบากอย่างต่อเนื่อง และ
หารือว่าไอเอ็มเอฟมีเงินมากพอแล้วหรือไม่ในการดำเนินมาตรการแทรกแซงดังกล่าว
--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 29

โพสต์

G20:คาดประชุมรมว.คลังจี-20 สัปดาห์นี้ไม่มีข้อตกลงสำคัญ จับตาซัมมิท 3-4 พ.ย.
ปารีส--13 ต.ค.--รอยเตอร์

รัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ
รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) จะกดดันยุโรปในสุดสัปดาห์นี้ให้หาทางออกอย่าง
รวดเร็วให้กับวิกฤติหนี้ยุโรป แต่ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลจีนและรัฐบาลสหรัฐ
ในเรื่องค่าเงินหยวนอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางความพยายามของกลุ่มจี-20 ใน
การแก้ไขภาวะไม่สมดุลทางเศรษฐกิจในระดับโลก
กลุ่มจี-20 เผชิญกับความเห็นที่ขัดแย้งกันในช่วงนี้ในขณะที่เศรษฐกิจ
ชะลอตัวลงและตลาดดิ่งลง ซึ่งสิ่งนี้แตกต่างเป็นอย่างมากจากปี 2009 ซึ่งเป็น
ปีที่กลุ่มจี-20 ร่วมมือกันดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มจี-20
ครองส่วนแบ่ง 85 % ในผลผลิตทั่วโลก
หลายประเทศแสดงความไม่พอใจต่อความล้มเหลวของยุโรปในการ
แก้ไขวิกฤติหนี้สาธารณะ ขณะที่ไม่มีแนวโน้มว่าการประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่มจี-20
ในวันศุกร์และวันเสาร์นี้ที่กรุงปารีสจะส่งผลให้เกิดความคืบหน้าครั้งใหญ่ในเรื่อง
การแก้ไขวิกฤติหนี้ยุโรป เนื่องจากประเทศสมาชิกยูโรโซนยังไม่สามารถตกลง
กันได้ในเรื่องแนวทางการเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ และการสร้างเสถียรภาพใน
กรีซ
ผู้กำหนดนโยบายตั้งเป้าว่าจะมีการหารือกันในประเด็นนี้ในการประชุม
สุดยอดของสหภาพยุโรป (อียู) ในวันอาทิตย์ที่ 23 ต.ค. ซึ่งฝรั่งเศสและเยอรมนี
จะเปิดเผยแผนการแก้วิกฤติหนี้สาธารณะ
วุฒิสภาสหรัฐอนุมัติร่างกฎหมายฉบับหนึ่งที่ต้องการกดดันรัฐบาลจีนให้ปรับ
ขึ้นค่าเงินหยวน อย่างไรก็ดี รัฐบาลจีนประกาศเตือนว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวอาจ
กระตุ้นให้เกิดสงครามการค้า และเป็นอุปสรรคขัดขวางความพยายามในการกระตุ้น
เศรษฐกิจโลก
รัฐบาลสหรัฐระบุว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง เช่น เยอรมนี
ควรจะลดการใช้มาตรการรัดเข็มขัด และควรจะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
รอบใหม่ แต่รัฐบาลเยอรมนีไม่ได้แสดงท่าทีเห็นด้วยกับเรื่องนี้ นอกจากนี้ สหรัฐ
เองก็ไม่พร้อมที่จะเรียกร้องให้ประเทศอื่นๆกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากร่างกฎหมาย
กระตุ้นการจ้างงานวงเงิน 4.47 แสนล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา
ก็ไม่ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาในวันอังคารที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดกันว่ารัฐมนตรีคลังกลุ่มจี-20 จะประสบความคืบหน้า
ในบางประเด็น เช่น การสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการรับมือกับวิกฤตการณ์ในประเทศพัฒนาแล้ว
ที่ประชุมกลุ่มจี-20 มีแนวโน้มที่จะอนุญาตให้ผู้ควบคุมกฎระเบียบออกกฎใหม่
ในการควบคุมธนาคาร "ที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้มละลาย" ซึ่งรวมถึงกฎ
การดำรงเงินกองทุนเพิ่มเติม โดยกฎเหล่านี้จะได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ
จากผู้นำกลุ่มจี-20 ในการประชุมสุดยอดที่เมืองคานส์ในวันที่ 3-4 พ.ย.
ผู้แทนคนหนึ่งของกลุ่มจี-20 กล่าวว่า "ผมไม่คาดว่าจะมีการประกาศ
สิ่งใดที่สำคัญในสัปดาห์นี้ เพราะรัฐมนตรีจะไม่ทำหน้าที่แทนผู้นำประเทศของตนเอง
โดยแถลงการณ์ขั้นสุดท้ายในการประชุมสัปดาห์นี้จะยืนยันว่า การประชุมสุดยอด
ที่เมืองคานส์จะประกาศขั้นตอนระยะสั้นและระยะกลางในการสร้างเสถียรภาพ
แก่เศรษฐกิจโลก"
ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซีของฝรั่งเศสและนายกรัฐมนตรีแองเจลา
เมอร์เคลของเยอรมนีเคยให้สัญญาว่าจะหาวิธีการแก้ปัญหาหนี้ยุโรปแบบถาวรก่อน
การประชุมสุดยอดที่เมืองคานส์ อย่างไรก็ดี ในขณะที่เยอรมนีมีแนวโน้มสนับสนุน
ให้ผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซยอมรับการปรับลดหนี้กรีซรอบสอง ฝรั่งเศสกลับ
ไม่เต็มใจในเรื่องนี้
นอกจากนี้ ยังไม่มีความแน่นอนในเรื่องแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ
กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ด้วย ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐ
สนับสนุนให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพ EFSF และยังไม่มีความแน่นอนในเรื่องที่ว่า
EFSF ควรดำเนินบทบาทเช่นใดในมาตรการเพิ่มทุนราว 1 แสนล้านยูโรให้แก่
ธนาคารพาณิชย์ในยูโรโซน
นายกีโด แมนเตกา รมว.คลังบราซิล กล่าวว่า เขาคาดว่ากลุ่มจี-20
จะหารือกันในเรื่องการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ไอเอ็มเอฟในการจัดการ
กับวิกฤติหนี้ยุโรป
แหล่งข่าวในกลุ่มจี-20 กล่าวว่า "การบรรลุข้อตกลงกันในเรื่องการ
ขยายทุนทรัพย์เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในการประชุมสุดยอดที่เมืองคานส์ และ
ฝรั่งเศสก็สนับสนุนเรื่องนี้"
ฝรั่งเศสจะสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มจี-20 หลังการ
ประชุมสุดยอดในเดือนพ.ย. โดยหลังจากนั้นตำแหน่งประธานจี-20 จะตกเป็น
ของเม็กซิโก
ในการประชุมที่กรุงปารีสในสัปดาห์นี้ รัฐมนตรีคลังกลุ่มจี-20 จะหารือ
ในเรื่องมาตรการแก้ไขภาวะไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงการที่สหรัฐขาดดุล
การค้าอย่างต่อเนื่องและการที่จีนมียอดเกินดุลการค้า
ในการประชุมกลุ่มจี-20 ในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมกำหนดให้
ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 7 ประเทศอยู่ภายใต้การตรวจสอบ ซึ่งได้แก่สหรัฐ,
จีน, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, เยอรมนี, ญี่ปุ่น และอินเดีย โดยเจ้าหน้าที่กล่าวว่า
เป้าหมายคือการทำให้รัฐบาลจีนหารือเรื่องค่าเงินหยวน และความร่วมมือจาก
จีนถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้กระบวนการนี้ประสบความสำเร็จ
จีนปล่อยให้หยวนแข็งค่าขึ้นมาแล้ว 30 % เมื่อเทียบกับดอลลาร์นับตั้งแต่
ปี 2005 และระบุว่าจีนมีภาระผูกพันในการปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่จีนได้
เรียกร้องให้ปธน.โอบามาวีโต้ร่างกฎหมายของวุฒิสภาสหรัฐที่ต้องการกดดันจีนให้
ปรับขึ้นค่าเงินหยวน
เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของกลุ่มจี-20 กล่าวว่า "จะมีการกดดันจีนเป็นอย่างมาก
เพื่อให้จีนปรับขึ้นค่าเงินหยวน แต่ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าประเด็นดังกล่าวจะ
ได้รับการนำเสนออย่างไรในแถลงการณ์ของกลุ่มจี-20 โดยจีนสามารถอ้างได้ว่า
ขณะนี้ไม่ใช่เวลาในการปรับขึ้นค่าเงินหยวน และระบุว่าปัญหาทางการคลังในยุโรป
และสหรัฐเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่า"
เจ้าหน้าที่คนหนึ่งกล่าวว่า แรงผลักดันให้กลุ่มจี-20 อนุญาตให้ประเทศ
สมาชิกดำเนินมาตรการควบคุมกระแสไหลเวียนของเงินทุนอ่อนแรงลงในช่วงนี้
เนื่องจากประเทศตลาดเกิดใหม่ต่อต้านแนวคิดดังกล่าว
เจ้าหน้าที่คนหนึ่งกล่าวว่า "การประชุมกลุ่มจี-20 ในครั้งนี้จะมีความ
น่าสนใจในแง่ที่ว่า การบรรลุข้อตกลงในหลายๆกรณีไม่ใช่เรื่องง่าย"
ในขณะที่รัฐบาลหลายประเทศมีเรื่องขัดแย้งกัน ก็มีหลักฐานบ่งชี้ว่า
ธนาคารกลางพยายามจะเข้ามาทำหน้าที่แทนรัฐบาลในส่วนนี้ โดยธนาคารกลาง
อังกฤษได้ดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบใหม่ในสัปดาห์ที่แล้ว ส่วน
ธนาคารกลางบราซิลและอินโดนีเซียได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง
นายมาริโอ ดรากี กำลังจะพ้นจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการ
รักษาเสถียรภาพทางการเงิน (FSB) ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมกฎระเบียบของ
กลุ่มจี-20 เนื่องจากเขาจะขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางยุโรป
(อีซีบี) ในเร็วๆนี้ ขณะที่รัฐมนตรีคลังกลุ่มจี-20 อาจหารือกันเรื่องการสรรหา
ตัวผู้มาดำรงตำแหน่งประธาน FSB คนใหม่ แต่จะยังไม่มีการตัดสินใจในเรื่องนี้
จนกว่าจะถึงการประชุมสุดยอดที่เมืองคานส์--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 30

โพสต์

> IMF:4 ยักษ์ใหญ่กลุ่ม BRIC จับมืออัดฉีดเงินเข้า IMF สกัดวิกฤติหนี้ยูโรโซน
ลอนดอน--14 ต.ค.--รอยเตอร์

หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ (FT) ของอังกฤษรายงานในวันนี้ว่า
แหล่งข่าวกล่าวว่า กลุ่มประเทศ BRIC ซึ่งประกอบด้วยบราซิล, รัสเซีย, อินเดีย
และจีน กำลังหารือกันในการสมทบเงินทุนแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ไอเอ็มเอฟ) เพื่อสกัดการลุกลามของวิกฤติหนี้ยูโรโซน
FT ระบุว่า กลุ่ม BRIC กำลังหารือกันเกี่ยวกับการเพิ่มบทบาทของ
ประเทศตลาดเกิดใหม่ในการแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน โดยขณะนี้รัฐบาลกำลัง
พิจารณาว่าทางกลุ่มควรที่จะให้เงินทุนสนับสนุนต่อหน่วยงานเฉพาะกิจของ
ไอเอ็มเอฟ หรือควรปล่อยกู้แก่ไอเอ็มเอฟผ่านทางการเข้าซื้อพันธบัตรพิเศษ
FT รายงานว่า ไอเอ็มเอฟสามารถนำเงินทุนดังกล่าวไปใช้ในการ
เปิดวงเงินสินเชื่อใหม่เพื่อสกัดกั้นการลุกลามของวิกฤติหนี้ยูโรโซน
FT ระบุว่า กลุ่ม BRIC ตั้งเป้าที่จะทำให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
และกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) สามารถออก
แถลงการณ์ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการประชุมสุดยอดของผู้นำประเทศ
กลุ่มจี-20 ในวันที่ 3-4 พ.ย. ขณะที่บรรดารัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการ
ธนาคารกลางของกลุ่มจี-20 จะประชุมกันที่กรุงปารีสในวันนี้เพื่อหาแนวทาง
แก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน--จบ--