'อสังหาฯ'เสี่ยงวิกฤติลูกโซ่หวั่นน้ำท่วมฉุดเศรษฐกิจ!!!!!!!!!!
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 11, 2011 8:20 pm
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 11 ตุลาคม 2554 09:00'อสังหาฯ'เสี่ยงวิกฤติลูกโซ่หวั่นน้ำท่วมฉุดเศรษฐกิจ
โดย : โต๊ะข่าวธุรกิจการตลาด
เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดภาคกลางขณะนี้ สร้างความกังวลต่อเนื่องในหลายมิติ
ขณะที่ทุกฝ่ายต่างมุ่งช่วยเหลือทางมนุษยธรรม แก่ชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม ในอีกมุมหนึ่ง ก็มีเสียงเรียกร้องว่า รัฐควรมีการวางแผนป้องกันภาคธุรกิจเอกชน ที่เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติไม่เช่นนั้น ปัญหาเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงอาจเกิดตามมา
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียล เอสเตท แอฟแฟร์ส กล่าวว่า น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างรุนแรงใกล้เคียงกับ พ.ศ. 2540 เลยทีเดียว โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดกับ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ที่มีโรงงาน 44 แห่ง และ สวนอุตสาหกรรมโรจนะมีโรงงานอีก 150 แห่ง ได้รับผลกระทบ หากทำให้นักลงทุนต่างชาติที่ได้รับความเสียหาย ตัดสินใจย้ายฐานการผลิต หรือฐานสำนักงานสาขาไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย ฯลฯ จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจของไทยทรุดลง
เนื่องจากเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับการส่งออกเป็นหลัก ส่วนกรณีที่บางท่านให้ข้อสังเกตว่า หลังน้ำท่วมใหญ่ กิจการก่อสร้าง ซ่อมแซมสาธารณูปโภคจะเติบโตแต่กิจการเหล่านี้ก็มีการหน้าที่เพียงเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปเท่านั้น ไม่ได้มีบทบาทในการเพิ่มความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศได้
ที่น่ากลัวคือผลกระทบน้ำท่วมครั้งนี้ อาจส่งผลให้เศรษฐกิจทรุดทันที มีคนตกงานจำนวนมาก ความสามารถในการส่งออกลดลง ทำเลที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมอาจเปลี่ยนไป เป็นภาคตะวันออก หรือบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ที่ราบลุ่ม ทำให้ทำเลซื้อที่อยู่อาศัยอาจเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ที่ดินบริเวณที่ต่อไปอาจเป็นพื้นที่น้ำท่วม ‘ซ้ำซาก’ อาจมีราคาลดลง
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่เหล่านี้ จึงอาจได้รับผลกระทบเชิงลบโดยตรง ที่สำคัญ หากเศรษฐกิจตกต่ำลง การผิดนัดสัญญาโอนบ้าน การผิดนัดสัญญาผ่อนส่งบ้านจะเกิดขึ้น สถาบันการเงินที่ต่างแข่งขันกันอำนวยสินเชื่อกันอย่างประมาท ที่วงเงิน 100% ของมูลค่าตลาดในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ อาจได้รับความเสียหายไปด้วย หากบริษัทผู้ประกอบการประสบปัญหาในการขายบ้านและปิดกิจการลง สถาบันการเงิน ก็อาจสะดุดหยุดลงเช่นกัน
นายโสภณ กล่าวว่า จากประสบการณ์ใน พ.ศ. 2540 ช่วงที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ผู้ผ่อนบ้านหลายรายยินดีที่จะทิ้งการผ่อนส่งบ้าน แต่ไม่ทิ้งการผ่อนส่งรถเพื่อเก็บไว้เป็นเครื่องมือการผลิต ซึ่งสถานการณ์นี้ ผู้ซื้อบ้านที่ดีที่จองซื้อบ้านกับโครงการต่างๆ โดยไม่ได้รับมาตรการการคุ้มครองผู้ซื้อเพราะไม่มีการนำพระราชบัญญัติคุ้มครองคู่สัญญา (Escrow Account) มาใช้ ก็อาจจะได้รับความเดือดร้อนไปด้วย อาจซ้ำรอยเมื่อ พ.ศ. 2540 ที่เกิดกรณีซื้อบ้านแล้วได้แต่กระดาษ (สัญญาซื้อบ้าน) หรือได้แต่เสาบ้าน (สร้างบ้านไม่เสร็จตามสัญญา)
ธุรกิจที่อยู่อาศัยที่กำลังได้รับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นอย่างสูงจากผู้ประกอบการในขณะนี้ อาจพังทลายลงตามภาวะเศรษฐกิจที่สะดุดลงกะทันหันด้วยวิกฤติน้ำท่วมรุนแรงและต่อเนื่องยาวนานเกินคาด ดังนั้นวิกฤติตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ เอเจนซี่ ฟอร์ เรียล เอสเตทฯ เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2556 อาจเกิดขึ้นเร็วกว่ากำหนด 1 ปี
"สถานการณ์ขณะนี้ ผู้ประกอบการอสังหาฯ จึงควรทบทวนแผนกลยุทธ์ของตนเองใหม่ เพราะโอกาสที่จะเพิ่มการผลิตปีละ 20-30% อาจมีความเป็นไปได้น้อยลง เรียนรู้จากวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 เมื่อคาดเดาถึงวิกฤติได้ล่วงหน้า ควรหยุดผลิตเพิ่ม หันมาเร่งขายสินค้าในมือ ใช้หนี้ให้หมดโดยเร็ว จะเป็นทางออกที่ดีเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต"
http://bit.ly/pzWyLS
วันที่ 11 ตุลาคม 2554 09:00'อสังหาฯ'เสี่ยงวิกฤติลูกโซ่หวั่นน้ำท่วมฉุดเศรษฐกิจ
โดย : โต๊ะข่าวธุรกิจการตลาด
เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดภาคกลางขณะนี้ สร้างความกังวลต่อเนื่องในหลายมิติ
ขณะที่ทุกฝ่ายต่างมุ่งช่วยเหลือทางมนุษยธรรม แก่ชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม ในอีกมุมหนึ่ง ก็มีเสียงเรียกร้องว่า รัฐควรมีการวางแผนป้องกันภาคธุรกิจเอกชน ที่เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติไม่เช่นนั้น ปัญหาเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงอาจเกิดตามมา
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียล เอสเตท แอฟแฟร์ส กล่าวว่า น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างรุนแรงใกล้เคียงกับ พ.ศ. 2540 เลยทีเดียว โดยเฉพาะความเสียหายที่เกิดกับ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ที่มีโรงงาน 44 แห่ง และ สวนอุตสาหกรรมโรจนะมีโรงงานอีก 150 แห่ง ได้รับผลกระทบ หากทำให้นักลงทุนต่างชาติที่ได้รับความเสียหาย ตัดสินใจย้ายฐานการผลิต หรือฐานสำนักงานสาขาไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย ฯลฯ จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจของไทยทรุดลง
เนื่องจากเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับการส่งออกเป็นหลัก ส่วนกรณีที่บางท่านให้ข้อสังเกตว่า หลังน้ำท่วมใหญ่ กิจการก่อสร้าง ซ่อมแซมสาธารณูปโภคจะเติบโตแต่กิจการเหล่านี้ก็มีการหน้าที่เพียงเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปเท่านั้น ไม่ได้มีบทบาทในการเพิ่มความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศได้
ที่น่ากลัวคือผลกระทบน้ำท่วมครั้งนี้ อาจส่งผลให้เศรษฐกิจทรุดทันที มีคนตกงานจำนวนมาก ความสามารถในการส่งออกลดลง ทำเลที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมอาจเปลี่ยนไป เป็นภาคตะวันออก หรือบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ที่ราบลุ่ม ทำให้ทำเลซื้อที่อยู่อาศัยอาจเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ที่ดินบริเวณที่ต่อไปอาจเป็นพื้นที่น้ำท่วม ‘ซ้ำซาก’ อาจมีราคาลดลง
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่เหล่านี้ จึงอาจได้รับผลกระทบเชิงลบโดยตรง ที่สำคัญ หากเศรษฐกิจตกต่ำลง การผิดนัดสัญญาโอนบ้าน การผิดนัดสัญญาผ่อนส่งบ้านจะเกิดขึ้น สถาบันการเงินที่ต่างแข่งขันกันอำนวยสินเชื่อกันอย่างประมาท ที่วงเงิน 100% ของมูลค่าตลาดในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ อาจได้รับความเสียหายไปด้วย หากบริษัทผู้ประกอบการประสบปัญหาในการขายบ้านและปิดกิจการลง สถาบันการเงิน ก็อาจสะดุดหยุดลงเช่นกัน
นายโสภณ กล่าวว่า จากประสบการณ์ใน พ.ศ. 2540 ช่วงที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ผู้ผ่อนบ้านหลายรายยินดีที่จะทิ้งการผ่อนส่งบ้าน แต่ไม่ทิ้งการผ่อนส่งรถเพื่อเก็บไว้เป็นเครื่องมือการผลิต ซึ่งสถานการณ์นี้ ผู้ซื้อบ้านที่ดีที่จองซื้อบ้านกับโครงการต่างๆ โดยไม่ได้รับมาตรการการคุ้มครองผู้ซื้อเพราะไม่มีการนำพระราชบัญญัติคุ้มครองคู่สัญญา (Escrow Account) มาใช้ ก็อาจจะได้รับความเดือดร้อนไปด้วย อาจซ้ำรอยเมื่อ พ.ศ. 2540 ที่เกิดกรณีซื้อบ้านแล้วได้แต่กระดาษ (สัญญาซื้อบ้าน) หรือได้แต่เสาบ้าน (สร้างบ้านไม่เสร็จตามสัญญา)
ธุรกิจที่อยู่อาศัยที่กำลังได้รับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นอย่างสูงจากผู้ประกอบการในขณะนี้ อาจพังทลายลงตามภาวะเศรษฐกิจที่สะดุดลงกะทันหันด้วยวิกฤติน้ำท่วมรุนแรงและต่อเนื่องยาวนานเกินคาด ดังนั้นวิกฤติตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ เอเจนซี่ ฟอร์ เรียล เอสเตทฯ เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2556 อาจเกิดขึ้นเร็วกว่ากำหนด 1 ปี
"สถานการณ์ขณะนี้ ผู้ประกอบการอสังหาฯ จึงควรทบทวนแผนกลยุทธ์ของตนเองใหม่ เพราะโอกาสที่จะเพิ่มการผลิตปีละ 20-30% อาจมีความเป็นไปได้น้อยลง เรียนรู้จากวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 เมื่อคาดเดาถึงวิกฤติได้ล่วงหน้า ควรหยุดผลิตเพิ่ม หันมาเร่งขายสินค้าในมือ ใช้หนี้ให้หมดโดยเร็ว จะเป็นทางออกที่ดีเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต"
http://bit.ly/pzWyLS