ญี่ปุ่นจ่อทิ้งอยุธยา เล็งหาที่ตั้งโรงงานใหม่ !!!!!!!!
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 17, 2011 1:18 am
วันพุธที่ 12 ตุลาคม 2011 เวลา 08:25 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - Big Stories ทุนญี่ปุ่นทบทวนแผนตั้งโรงงานในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ค่ายรถตบเท้าหยุดชั่วคราวอีกเพียบ บริษัทประกันภัยกระอัก ผวาพิษน้ำท่วมดันยอดเคลมพุ่ง สุดอั้นจ่อหั่นทุนประกันคุ้มภัยจากน้ำ ยันแม้จ่ายเคลมสูงแต่ไม่กระทบฐานะทางการเงิน เหตุบริษัทซื้อประกันภัยต่อรองรับไว้แล้ว เจโทร-เจซีซียังเชื่อมั่น ส่วนงบฟื้นฟู 5 หมื่นล.ถูกแขวน คาดดึงพิจารณาในคณะกรรมการชุดฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สถานการณ์น้ำท่วมยังคงวิกฤติต่อเนื่องนิคมอุตสาหกรรม อีกหลายพื้นที่ยังสุ่มเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ในขณะที่ผลกระทบต่อเนื่องก็กำลังขยายวงมาถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ต้องสะเทือนตามกันไป เนื่องจากเส้นทางวัตถุดิบจากโรงงานหนึ่งไปยังอีกโรงงานหนึ่งเกิดการสะดุดขึ้น จนไม่สามารถเดินการผลิตต่อเนื่องได้เพราะไม่มีวัตถุดิบ โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นทุนสัญชาติญี่ปุ่นที่กระจายอยู่ตามนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมต่างๆทั่วประเทศ
-80%เป็นทุนญี่ปุ่น
ล่าสุดนายพากร วังศิราบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวยอมรับว่าผลกระทบจากภัยน้ำท่วมส่วนหนึ่งได้ทำให้ภาพลักษณ์การลงทุนไทยขาดความเชื่อมั่นไปแล้วในสายตาของทุนสัญชาติญี่ปุ่น เนื่องจากที่อยุธยาจะมีการลงทุนของกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่ตั้งโรงงานอยู่ในสวนอุตสาหกรรม และในนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมากถึง 80% ของการลงทุนทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ และในช่วงฟื้นฟูเชื่อว่าจะมีนักลงทุนบางส่วน ต้องการจะย้ายฐานการผลิตไปตั้งในพื้นที่อื่นในประเทศไทยที่ไม่ใช่จุดเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ส่วนบางรายก็ยังมั่นใจว่าจะยังคงปักหลักอยู่ที่เดิมเนื่องจากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และที่ผ่านมาได้ลงทุนไปมากแล้วและไม่เชื่อว่าจะเกิดอุทกภัยร้ายแรงแบบนี้ทุกปี เพราะที่ผ่านมาก็มีน้ำท่วมแต่หลายโรงงานก็ควบคุมได้ ขณะเดียวกันจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมีข้อได้เปรียบในแง่ระบบการขนส่ง เพราะอยู่ใกล้กรุงเทพฯ หากไปตั้งโรงงานไกลๆ ออกไปอีกอาจจะต้องแบกภาระค่าขนส่งสูงกว่าเดิม
"ปีนี้ถือว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับผลกระทบมากกว่าปี2538 ที่ระดับน้ำสูงถึง 50 เซนติเมตร ตอนนี้เฉพาะความเสียหายของโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับความเสียหาย จากที่ประเมินไว้ ณ วันที่ 11 ตุลาคม อยู่ที่ประมาณ 60,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นความเสียหายของโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะและนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ส่วนในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค)นั้น ณ วันที่ 11 ตุลาคม น้ำยังไม่ท่วมมาโรงงานอุตสาหกรรมแต่จะต้องดูสถานการณ์กันวันต่อวัน เพราะไม่มั่นใจว่าหลังจากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้นอีกหรือไม่"
นายวุฒิชัย อุดมกาญจนนันท์ กรรมการบริษัทเอ็นเอ็มบี มินีแบ ไทย จำกัด หรือ"มินีแบ"ทุนรายใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์สัญชาติญี่ปุ่นกล่าวว่าขณะนี้โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะแล้วและจะต้องรอประเมินความเสียหายอีกครั้งหลังน้ำลด
"หลังน้ำลดเชื่อว่าจะมีกลุ่มทุนญี่ปุ่นบางส่วนเข็ดกับการลงทุนที่อยุธยาเพราะกลัวน้ำท่วมอีก ส่วนมินีแบประเทศญี่ปุ่นก็อาจต้องมาทบทวนว่าถ้าจะลงทุนที่ใหม่จะไปตั้งโรงงานในจังหวัดไหนในประเทศไทย เพื่อกระจายความเสี่ยง และโดยภาพรวมแล้วก็ยังเชื่อมั่นประเทศไทยอยู่ เพราะลงทุนมานานและเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้"
ดร.สัมพันธ์ ศิลปะนาฎ ประธานคณะกรรมการบริหารสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์กล่าวว่า ในสมาคมมีสมาชิก 47 บริษัท ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการด้านอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ๆตั้งโรงงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เวลานี้รัฐบาลจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนมั่นใจว่าอีก 12 เดือนนับจากนี้ไปเมื่อมีฝนตกหนักอีกจะรับมืออย่างไร เพราะเวลานี้ทุกคนก็สร้างเขื่อนล้อมโรงงาน และถ้าน้ำมาอีกน้ำจะไหลไปไหน มีใครดูแลว่าสร้างเขื่อนดินที่ล้อมโรงงานแล้วใครเป็นคนควบคุมโดยรวม ดังนั้นถ้ายังตอบโจทย์นี้ไม่ได้ก็อาจจะทำให้ทุนข้ามชาติเกิดความลังเลที่จะลงทุนในไทยต่อไป
-ทัพซามูไรเล็งเขมร
สอดคล้องกับที่ ด้านนายสมศักดิ์ รินเรืองสิน นายกสมาคมธุรกิจไทยในกัมพูชา กล่าวว่า จากค่าจ้างแรงงานในญี่ปุ่นที่สูง และค่าจ้างในไทยที่จะปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับน้ำท่วมในไทยที่เกิดขึ้นในเวลานี้ทำให้โรงงานญี่ปุ่นได้รับความเสียหายหลายแห่ง จากหลายองค์ประกอบรวมกันอาจมีผลให้นักลงทุนพิจารณาย้ายฐาน หรือขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า และมีความเสี่ยงน้อยกว่ามากขึ้น ซึ่งประเทศกัมพูชาถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่ผ่านมากัมพูชากำลังได้รับอานิสงส์มาจากการลงทุนของญี่ปุ่น โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้าไปลงทุนก็จะพาบริษัทลูกหรืออุตสาหกรรมสนับสนุนมาตั้งอยู่ใกล้ๆ กันด้วย บริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่ได้เข้าไปลงทุนในกัมพูชาแล้วในขณะนี้ อาทิ มินีแบ อายิโนะโมะโต๊ะ ที่กำลังจะไป อาทิ ยามาฮ่า และกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร บะหมี่สำเร็จรูป เป็นต้น
นายดุสิต บุญกาวิน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจอาวุโส บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์(ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ส่วนใหญ่มีลูกค้าเป็นทุนสัญชาติญี่ปุ่นกล่าวว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ไปคือบางโรงงานจะหยุดผลิตมากกว่า 1 สัปดาห์หรือเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งจะเป็นกลุ่มโรงงานที่ถูกน้ำท่วม และจะมีบางโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมที่ลดการผลิตลงด้วยเนื่องจากมีวัตถุดิบรองรับไม่เต็มจำนวนหลังจากที่ซัพพลายเออร์กระทบจากน้ำท่วม ที่ขณะนี้ก็มีลูกค้าของเคอรี่โลจิสติคส์ที่ไม่ถูกน้ำท่วมบางรายประกาศหยุดการผลิตลงชั่วคราว 3-5 วัน
-แนะบีโอไอปรับกลยุทธ์ใหม่
อย่างไรก็ตามปี 2555 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)จะต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ในการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมตั้งแต่อยุธยา สระบุรี นนทบุรี ปทุมธานี เพื่อให้ความมั่นใจกับนักลงทุน โดยบีโอไอควรจะมีการพิจารณาปรับกลยุทธ์โดยขยายพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่เป็นเขต 2 ควรพิจารณาปรับเป็นพื้นที่การลงทุนเขต 3 ให้สิทธิประโยชน์สูงสุด หรือยกระดับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์มรดกโลกและวัฒนธรรม ไม่ให้เป็นเขตลงทุนในภาคการผลิตอีก หากทำไม่ได้ภาครัฐก็ต้องลงมาเยียวยาผู้ประกอบการพัฒนานิคมฯรวมถึงการเยียวยาด้วยงบเฉพาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่กระทบครั้งนี้
-ค่ายรถแห่หยุดชั่วคราว
ส่วนความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการยานยนต์ล่าสุดค่าย"โตโยต้า"ย่านสำโรง,บ้านโพธิ์ และเกตเวย์ต้องหยุดผลิตประมาณ 3 วัน เนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนเกิดปัญหาและไม่สามารถส่งมอบชิ้นส่วนให้ได้ ส่วนแนวทางป้องกันโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานบ้านโพธิ์ ฉะเชิงเทรา ที่อยู่ในพื้นที่กลุ่มเสี่ยงนั้น ต่างก็มีการเฝ้าระวังและเตรียมรับมือกันอย่างเต็มที่
ส่วนนายโชอิชิ ยูกิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในตอนนี้ ทำให้ซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนบางรายไม่สามารถจะส่งมอบและทำให้โรงงานประกอบไม่สามารถที่จะผลิตรถออกมาได้ โดยมาสด้าได้ประกาศหยุดการผลิตรถ 1 วัน และจะมีการศึกษาต่อไปว่าจะมีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้นอีก ซึ่งหากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยืดเยื้อก็จะส่งผลให้ต้องมีการปรับเป้าหมายยอดขายใหม่
เช่นเดียวกันกับค่ายฟอร์ด นายสาโรช เกียรติเฟื่องฟู รองประธานฝ่ายการตลาด-ขาย บริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส(ประเทศไทย)ฯกล่าวว่า ในส่วนของกำลังการผลิต ฟอร์ดได้มีการหยุดการผลิตเพื่อเช็กสต๊อกเป็นเวลา 2 วัน อย่างไรก็ตามหากเกิดผลกระทบด้านชิ้นส่วน โดยเฉพาะในรุ่น เฟียสต้า นั้น ยังสามารถที่จะหามาจากพื้นที่อื่นๆ มาทดแทนได้ เนื่องจากรถในรุ่นนี้ถูกดำเนินงานภายใต้โปรเจ็กต์โกลบัล
ด้านนายสมพงษ์ ผลจิตจรูญ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า ปัจจุบันทาทาได้ให้ธนบุรีประกอบรถยนต์เป็นผู้ผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย โดยโรงงานตั้งอยู่ที่สมุทรปราการ ซึ่งในเบื้องต้นแม้จะไม่ได้ประสบกับปัญหาน้ำท่วม แต่บริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมด้วยการนำรถที่ประกอบเสร็จแล้วไปจอดที่ลานจอดรถของสุวรรณภูมิ ขณะที่แผนการประกอบตอนนี้ลดเหลือ 50% เนื่องจากบริษัทชิ้นส่วนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และแรงงานไม่สามารถมาทำงานได้
นายอันโตนิโอ ซาร่า รองประธานฝ่ายขาย การตลาด บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า เหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนี้ ไม่กระทบต่อการดำเนินงานของเชฟโรเลต และไม่มีผลต่อการลงทุน เนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยคือ ศูนย์ฝึกอบรม ที่อยู่จังหวัดนนทบุรี และศูนย์คลังอะไหล่ที่อยู่อยุธยา ซึ่งได้มีการเตรียมความพร้อมอยู่แล้ว และมองว่าเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวไม่มีผลอันใดต่อการวางแผนงาน และบริษัท ยังมีความมั่นใจในการลงทุนในประเทศไทย
-ฮอนด้ายันไม่ย้อมแมวขาย
นางอรนุช พฤกษ์วัฒนานนท์ ผู้จัดการส่วนงานการตลาด บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล ( ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทฮอนด้าฯขอให้ลูกค้าสบายใจ เพราะบริษัทมีวิธีการที่จะทำลายรถและชิ้นส่วนต่างๆโดยลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ เพราะหมายเลขตัวถังของรถแต่ละคันจะไม่เหมือนกัน กล่าวคือรถที่ผลิตออกมาใหม่ก็จะรันนัมเบอร์ใหม่ ส่วนรถที่ถูกน้ำท่วมกว่า 200 คันนั้นก็จะมีนัมเบอร์ติดอยู่ ซึ่งการตรวจสอบอาจจะต้องใช้เวลานานสักหน่อย โดยอาจจะต้องรถให้สถานการณ์ต่างๆฟื้นคืนกลับมาถึงจะตรวจสอบได้
สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ ฮอนด้า ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หยุดผลิตตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม ขณะนี้ต้องขยายเวลาหยุดอีกตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม เป็นต้นไป
ขณะที่โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์อเนกประสงค์ฮอนด้าของบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังก็ได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนประสบปัญหาน้ำท่วมไม่สามารถจัดส่งชิ้นส่วนเพื่อการผลิตให้ได้ ซึ่งในส่วนของเครื่องยนต์อเนกประสงค์ได้หยุดผลิตตั้งแต่วันที่ 6 - 8 ตุลาคม และยังคงหยุดผลิตอย่างต่อเนื่อง
-เตรียมหั่นประกันคุ้มภัยรง.
นายวิชัย สันติมหกุลเลิศ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมต่อสถานการณ์น้ำท่วมหลายนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า เบื้องต้นเสียหายแล้วไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท (เฉพาะทรัพย์สิน) ซึ่งความเสียหายดังกล่าว ได้นำไปประชุมภายใน เพื่อกำหนดแผนรับทำประกันภัยในปีหน้า โดยจะนำข้อมูลปีนี้เข้าไปพิจารณารับทำประกันแต่ละราย โดยเฉพาะการปรับลดวงเงินสำหรับการทำประกันความเสียหายสำหรับโรงงานโดยเฉพาะ โดยจะไม่รับทำประกันในวงเงินสูงเหมือนทุกปีที่ผ่านมา
ส่วนความกังวลเรื่องการจ่ายสินไหมจะกระทบต่อฐานะของบริษัทประกันวินาศภัยหรือไม่นั้น ยืนยันจะไม่กระทบต่อฐานะบริษัทประกัน เนื่องจากทุกบริษัทมีการซื้อประกันภัยต่อจากต่างประเทศอยู่แล้ว และขอยืนยันว่าวิกฤติดังกล่าวจะไม่ทำให้บริษัทประกันล้มอย่างแน่นอน เพราะทุกบริษัทผ่านมาตรฐานด้านเงินทุน ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น
ในส่วนของบริษัท ส่วนใหญ่ที่บริษัท รับทำประกันภัยเป็นกลุ่มโรงงานที่เข้ามาลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นถึง 70% ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นถือว่าหนักมาก โดยจำนวนรายที่ทำประกันในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร มีถึง 15 โรงงานที่ซื้อประกันความเสียหายต่อทรัพย์สิน, นิคมฯโรจนะ ที่ทำประกันความเสียหายไว้แล้ว 20-30 โรงงาน แต่ละรายซื้อทุนประกัน ตั้งแต่ 100 ล้านบาท ไปถึงหลักหมื่นล้านบาท ตามขนาดของธุรกิจ ซึ่งโรงงานที่ซื้อทุนประกันหลักหมื่นล้านบาทส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน มิตซูบิชิ เป็นต้น
นอกจากนี้ นายวิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทประกันที่โฟกัสตลาดไปที่พอร์ตเบี้ย หรือเน้นกลุ่มลูกค้าที่ทำประกันเสี่ยงภัยในธุรกิจขนาดใหญ่จะได้รับความเสียหายอย่างมาก เรียกว่าไม่เคยเกิดความเสียหายขนาดนี้มาก่อน หรืออาจพูดได้ว่า ปีนี้บริษัทประกันภัยที่เน้นลูกค้าองค์กรถือว่าเสียหายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะ 20-30 ปีมานี้ไม่เคยมีเหตุการณ์น้ำท่วมเข้านิคมฯ ไหนเลย หากเทียบความเสียหายปี 2554 สูงกว่าปี 2553 ที่ผ่านมามากหรือมองว่าขนาดความเสียหายเทียบกันไม่ได้เลย
"ปีนี้บริษัทที่รับประกันโครงการขนาดใหญ่ มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนมาก ยิ่งบริษัทไหนซื้อประกันภัยต่อน้อย เท่ากับต้องรับภาระจ่ายสินไหมทดแทนสูง และยังกระทบกับเป้าหรือภาพรวมตัวเลขการขยายตัวของอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบ เรียกว่าสิ้นปีกระทบหนักมาก"
นายปราโมทย์ ปวโรฬารวิทยา กรรมการ บริษัท ฟากูส-ท็อป ฟอร์ม (ประเทศไทย)ฯ บริษัทผู้ผลิตรองเท้าส่งออก หนึ่งในบริษัทที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร กล่าวว่า ประเมินความเสียหายเบื้องต้นพบว่าเครื่องจักรน่าจะเสียหายไม่ต่ำกว่า 90% คำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์) บริษัทไม่สามารถส่งสินค้าในเฟสนี้ได้เลย เนื่องจากสินค้าอยู่ในขั้นตอนการผลิตทั้งสิ้น ด้านสต๊อกสินค้าคาดว่าน่าจะสามารถนำชิ้นส่วนพลาสติกมารีไซเคิลใหม่ได้ ขณะที่ตัวอาคารนั้นคาดว่าไม่น่าจะเสียหายมากนัก
ทั้งนี้ ความเสียหายจากทรัพย์สินและตัวอาคารดังกล่าว บริษัทได้ทำประกันภัยทรัพย์สินที่ครอบคลุมภัยน้ำท่วมในอัตราทุนประกันภัย 99 ล้านบาท คิดเบี้ยประกันภัย 200,000 บาทต่อปี กับบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด ซึ่งขณะนี้ได้รับการติดต่อจากบริษัทประกันภัยแล้ว คาดว่าภายหลังระดับน้ำลดลงน่าจะได้รับการติดต่อเพื่อจ่ายเคลมประกันอีกครั้ง
"ที่เสียหายหนักคือเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ เพราะต้องแช่น้ำนานเป็นสัปดาห์ ซึ่งความเสียหายน่าจะอยู่ที่ประมาณ 80 ล้านบาท และเชื่อว่าทุนประกัน 99 ล้านบาท จะครอบคลุมความเสียหายทั้งหมดได้ และหวังว่าบริษัทประกันภัยจะเห็นใจ เพราะจะต้องเริ่มใหม่แทบทั้งหมด"
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าในปีหน้าบริษัทยังมีความต้องการทำประกันภัยความเสียหายจากทรัพย์สินต่อ เพราะมองว่าเป็นการประกันภัยเบื้องต้นของบริษัทที่มีความตั้งใจจะเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป โดยตลอดระยะเวลา 15 ปี บริษัทก็มีการทำประกันภัยมาโดยตลอด และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เกิดความเสียหายหนักรุนแรงขนาดนี้ แม้ว่าจะมีกระแสข่าวจากบริษัทประกันภัยว่าอาจมีการปรับลดความคุ้มครองลง และปรับเพิ่มเบี้ยประกันภัยขึ้น
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่าการใช้งบฉุกเฉินในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุน้ำท่วมในอีก 2เดือนคาดว่าจะใช้ประมาณ 5-6 พันล้านบาทจากที่ผ่านมาใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,463 ล้านบาท( 1 ส.ค.ถึง 10 ต.ค.) โดยจังหวัดที่ได้รับงบฉุกเฉินมากที่สุดขณะนี้ คือ อยุธยา 500 ล้านบาท รองลงมา คือ นครสวรรค์ และ สุโขทัย ที่ 300 ล้านบาท
-เจโทร-เจซีซียังเชื่อมั่น
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมว่า จากการหารือร่วมกันกับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เฝ้าระวังนิคมฯอื่นที่น้ำยังมาไม่ถึง ให้หามาตรการป้องกัน โดยส่งทีมเข้าไปตรวจสอบความแข็งแรง ที่ส่วนใหญ่น้ำทะลักมาจากคันกั้นน้ำไม่แข็งแรง และต้องดูทุกที่ รวมถึงการฟื้นฟูหลังน้ำลด อาจใช้เวลานานหลายเดือน และปัญหาการว่าจ้างงานพนักงานที่จะตามมา ส่วนผลกระทบกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ส่งออกไปต่างประเทศ แผนชำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ที่หลายบริษัทอาจขาดกระแสเงินสดหมุนเวียน เงินส่งประกันสังคม
ส่วนเรื่องความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศนั้นได้หารือเบื้องต้น พบว่า องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (เจโทร) และหอการค้าญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (เจซีซี) ยังมีความเชื่อมั่นอยู่ เพราะลงทุนมากส่วนเรื่องอื่นๆ จะหารือหลังน้ำลด จะฟื้นฟูซ่อมแซมอย่างไร จะรวดเร็วแค่ไหน คาดว่าจะฟื้นฟูได้ไม่ด้อยไปกว่าญี่ปุ่น
-แขวนของบฟื้นฟู5หมื่นล.
ด้านนายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำหรับข้อเสนอของภาคเอกชนที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เสนอขอความช่วยเหลือจากกรณีที่ประสบปัญหาน้ำท่วม อาทิ การตั้งกองทุนฟื้นฟูธุรกิจสำหรับภาคอุตสาหกรรมวงเงิน 50,000 ล้านบาท การขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล การลดภาระค่าน้ำค่าไฟฟ้า การขอให้กองทุนประกันสังคมช่วยจ่ายเงินเดือนบางส่วนให้กับแรงงาน ล่าสุดยังไม่ได้มีการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 แต่คาดว่าจะมีการนำข้อเสนอดังกล่าวของภาคเอกชนไปพิจารณาในคณะกรรมการชุดฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธาน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,678 13 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554
สถานการณ์น้ำท่วมยังคงวิกฤติต่อเนื่องนิคมอุตสาหกรรม อีกหลายพื้นที่ยังสุ่มเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ในขณะที่ผลกระทบต่อเนื่องก็กำลังขยายวงมาถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ต้องสะเทือนตามกันไป เนื่องจากเส้นทางวัตถุดิบจากโรงงานหนึ่งไปยังอีกโรงงานหนึ่งเกิดการสะดุดขึ้น จนไม่สามารถเดินการผลิตต่อเนื่องได้เพราะไม่มีวัตถุดิบ โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นทุนสัญชาติญี่ปุ่นที่กระจายอยู่ตามนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมต่างๆทั่วประเทศ
-80%เป็นทุนญี่ปุ่น
ล่าสุดนายพากร วังศิราบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวยอมรับว่าผลกระทบจากภัยน้ำท่วมส่วนหนึ่งได้ทำให้ภาพลักษณ์การลงทุนไทยขาดความเชื่อมั่นไปแล้วในสายตาของทุนสัญชาติญี่ปุ่น เนื่องจากที่อยุธยาจะมีการลงทุนของกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่ตั้งโรงงานอยู่ในสวนอุตสาหกรรม และในนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมากถึง 80% ของการลงทุนทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ และในช่วงฟื้นฟูเชื่อว่าจะมีนักลงทุนบางส่วน ต้องการจะย้ายฐานการผลิตไปตั้งในพื้นที่อื่นในประเทศไทยที่ไม่ใช่จุดเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ส่วนบางรายก็ยังมั่นใจว่าจะยังคงปักหลักอยู่ที่เดิมเนื่องจากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และที่ผ่านมาได้ลงทุนไปมากแล้วและไม่เชื่อว่าจะเกิดอุทกภัยร้ายแรงแบบนี้ทุกปี เพราะที่ผ่านมาก็มีน้ำท่วมแต่หลายโรงงานก็ควบคุมได้ ขณะเดียวกันจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมีข้อได้เปรียบในแง่ระบบการขนส่ง เพราะอยู่ใกล้กรุงเทพฯ หากไปตั้งโรงงานไกลๆ ออกไปอีกอาจจะต้องแบกภาระค่าขนส่งสูงกว่าเดิม
"ปีนี้ถือว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับผลกระทบมากกว่าปี2538 ที่ระดับน้ำสูงถึง 50 เซนติเมตร ตอนนี้เฉพาะความเสียหายของโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับความเสียหาย จากที่ประเมินไว้ ณ วันที่ 11 ตุลาคม อยู่ที่ประมาณ 60,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นความเสียหายของโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะและนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ส่วนในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค)นั้น ณ วันที่ 11 ตุลาคม น้ำยังไม่ท่วมมาโรงงานอุตสาหกรรมแต่จะต้องดูสถานการณ์กันวันต่อวัน เพราะไม่มั่นใจว่าหลังจากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้นอีกหรือไม่"
นายวุฒิชัย อุดมกาญจนนันท์ กรรมการบริษัทเอ็นเอ็มบี มินีแบ ไทย จำกัด หรือ"มินีแบ"ทุนรายใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์สัญชาติญี่ปุ่นกล่าวว่าขณะนี้โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะแล้วและจะต้องรอประเมินความเสียหายอีกครั้งหลังน้ำลด
"หลังน้ำลดเชื่อว่าจะมีกลุ่มทุนญี่ปุ่นบางส่วนเข็ดกับการลงทุนที่อยุธยาเพราะกลัวน้ำท่วมอีก ส่วนมินีแบประเทศญี่ปุ่นก็อาจต้องมาทบทวนว่าถ้าจะลงทุนที่ใหม่จะไปตั้งโรงงานในจังหวัดไหนในประเทศไทย เพื่อกระจายความเสี่ยง และโดยภาพรวมแล้วก็ยังเชื่อมั่นประเทศไทยอยู่ เพราะลงทุนมานานและเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้"
ดร.สัมพันธ์ ศิลปะนาฎ ประธานคณะกรรมการบริหารสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์กล่าวว่า ในสมาคมมีสมาชิก 47 บริษัท ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการด้านอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ๆตั้งโรงงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เวลานี้รัฐบาลจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนมั่นใจว่าอีก 12 เดือนนับจากนี้ไปเมื่อมีฝนตกหนักอีกจะรับมืออย่างไร เพราะเวลานี้ทุกคนก็สร้างเขื่อนล้อมโรงงาน และถ้าน้ำมาอีกน้ำจะไหลไปไหน มีใครดูแลว่าสร้างเขื่อนดินที่ล้อมโรงงานแล้วใครเป็นคนควบคุมโดยรวม ดังนั้นถ้ายังตอบโจทย์นี้ไม่ได้ก็อาจจะทำให้ทุนข้ามชาติเกิดความลังเลที่จะลงทุนในไทยต่อไป
-ทัพซามูไรเล็งเขมร
สอดคล้องกับที่ ด้านนายสมศักดิ์ รินเรืองสิน นายกสมาคมธุรกิจไทยในกัมพูชา กล่าวว่า จากค่าจ้างแรงงานในญี่ปุ่นที่สูง และค่าจ้างในไทยที่จะปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับน้ำท่วมในไทยที่เกิดขึ้นในเวลานี้ทำให้โรงงานญี่ปุ่นได้รับความเสียหายหลายแห่ง จากหลายองค์ประกอบรวมกันอาจมีผลให้นักลงทุนพิจารณาย้ายฐาน หรือขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า และมีความเสี่ยงน้อยกว่ามากขึ้น ซึ่งประเทศกัมพูชาถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่ผ่านมากัมพูชากำลังได้รับอานิสงส์มาจากการลงทุนของญี่ปุ่น โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้าไปลงทุนก็จะพาบริษัทลูกหรืออุตสาหกรรมสนับสนุนมาตั้งอยู่ใกล้ๆ กันด้วย บริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่ได้เข้าไปลงทุนในกัมพูชาแล้วในขณะนี้ อาทิ มินีแบ อายิโนะโมะโต๊ะ ที่กำลังจะไป อาทิ ยามาฮ่า และกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร บะหมี่สำเร็จรูป เป็นต้น
นายดุสิต บุญกาวิน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจอาวุโส บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์(ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ส่วนใหญ่มีลูกค้าเป็นทุนสัญชาติญี่ปุ่นกล่าวว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้ไปคือบางโรงงานจะหยุดผลิตมากกว่า 1 สัปดาห์หรือเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งจะเป็นกลุ่มโรงงานที่ถูกน้ำท่วม และจะมีบางโรงงานที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมที่ลดการผลิตลงด้วยเนื่องจากมีวัตถุดิบรองรับไม่เต็มจำนวนหลังจากที่ซัพพลายเออร์กระทบจากน้ำท่วม ที่ขณะนี้ก็มีลูกค้าของเคอรี่โลจิสติคส์ที่ไม่ถูกน้ำท่วมบางรายประกาศหยุดการผลิตลงชั่วคราว 3-5 วัน
-แนะบีโอไอปรับกลยุทธ์ใหม่
อย่างไรก็ตามปี 2555 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)จะต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ในการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมตั้งแต่อยุธยา สระบุรี นนทบุรี ปทุมธานี เพื่อให้ความมั่นใจกับนักลงทุน โดยบีโอไอควรจะมีการพิจารณาปรับกลยุทธ์โดยขยายพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่เป็นเขต 2 ควรพิจารณาปรับเป็นพื้นที่การลงทุนเขต 3 ให้สิทธิประโยชน์สูงสุด หรือยกระดับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์มรดกโลกและวัฒนธรรม ไม่ให้เป็นเขตลงทุนในภาคการผลิตอีก หากทำไม่ได้ภาครัฐก็ต้องลงมาเยียวยาผู้ประกอบการพัฒนานิคมฯรวมถึงการเยียวยาด้วยงบเฉพาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่กระทบครั้งนี้
-ค่ายรถแห่หยุดชั่วคราว
ส่วนความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการยานยนต์ล่าสุดค่าย"โตโยต้า"ย่านสำโรง,บ้านโพธิ์ และเกตเวย์ต้องหยุดผลิตประมาณ 3 วัน เนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนเกิดปัญหาและไม่สามารถส่งมอบชิ้นส่วนให้ได้ ส่วนแนวทางป้องกันโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานบ้านโพธิ์ ฉะเชิงเทรา ที่อยู่ในพื้นที่กลุ่มเสี่ยงนั้น ต่างก็มีการเฝ้าระวังและเตรียมรับมือกันอย่างเต็มที่
ส่วนนายโชอิชิ ยูกิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในตอนนี้ ทำให้ซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนบางรายไม่สามารถจะส่งมอบและทำให้โรงงานประกอบไม่สามารถที่จะผลิตรถออกมาได้ โดยมาสด้าได้ประกาศหยุดการผลิตรถ 1 วัน และจะมีการศึกษาต่อไปว่าจะมีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้นอีก ซึ่งหากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยืดเยื้อก็จะส่งผลให้ต้องมีการปรับเป้าหมายยอดขายใหม่
เช่นเดียวกันกับค่ายฟอร์ด นายสาโรช เกียรติเฟื่องฟู รองประธานฝ่ายการตลาด-ขาย บริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส(ประเทศไทย)ฯกล่าวว่า ในส่วนของกำลังการผลิต ฟอร์ดได้มีการหยุดการผลิตเพื่อเช็กสต๊อกเป็นเวลา 2 วัน อย่างไรก็ตามหากเกิดผลกระทบด้านชิ้นส่วน โดยเฉพาะในรุ่น เฟียสต้า นั้น ยังสามารถที่จะหามาจากพื้นที่อื่นๆ มาทดแทนได้ เนื่องจากรถในรุ่นนี้ถูกดำเนินงานภายใต้โปรเจ็กต์โกลบัล
ด้านนายสมพงษ์ ผลจิตจรูญ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า ปัจจุบันทาทาได้ให้ธนบุรีประกอบรถยนต์เป็นผู้ผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย โดยโรงงานตั้งอยู่ที่สมุทรปราการ ซึ่งในเบื้องต้นแม้จะไม่ได้ประสบกับปัญหาน้ำท่วม แต่บริษัทได้มีการเตรียมความพร้อมด้วยการนำรถที่ประกอบเสร็จแล้วไปจอดที่ลานจอดรถของสุวรรณภูมิ ขณะที่แผนการประกอบตอนนี้ลดเหลือ 50% เนื่องจากบริษัทชิ้นส่วนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และแรงงานไม่สามารถมาทำงานได้
นายอันโตนิโอ ซาร่า รองประธานฝ่ายขาย การตลาด บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า เหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนี้ ไม่กระทบต่อการดำเนินงานของเชฟโรเลต และไม่มีผลต่อการลงทุน เนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยคือ ศูนย์ฝึกอบรม ที่อยู่จังหวัดนนทบุรี และศูนย์คลังอะไหล่ที่อยู่อยุธยา ซึ่งได้มีการเตรียมความพร้อมอยู่แล้ว และมองว่าเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวไม่มีผลอันใดต่อการวางแผนงาน และบริษัท ยังมีความมั่นใจในการลงทุนในประเทศไทย
-ฮอนด้ายันไม่ย้อมแมวขาย
นางอรนุช พฤกษ์วัฒนานนท์ ผู้จัดการส่วนงานการตลาด บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล ( ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทฮอนด้าฯขอให้ลูกค้าสบายใจ เพราะบริษัทมีวิธีการที่จะทำลายรถและชิ้นส่วนต่างๆโดยลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ เพราะหมายเลขตัวถังของรถแต่ละคันจะไม่เหมือนกัน กล่าวคือรถที่ผลิตออกมาใหม่ก็จะรันนัมเบอร์ใหม่ ส่วนรถที่ถูกน้ำท่วมกว่า 200 คันนั้นก็จะมีนัมเบอร์ติดอยู่ ซึ่งการตรวจสอบอาจจะต้องใช้เวลานานสักหน่อย โดยอาจจะต้องรถให้สถานการณ์ต่างๆฟื้นคืนกลับมาถึงจะตรวจสอบได้
สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ ฮอนด้า ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หยุดผลิตตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม ขณะนี้ต้องขยายเวลาหยุดอีกตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม เป็นต้นไป
ขณะที่โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์อเนกประสงค์ฮอนด้าของบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังก็ได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนประสบปัญหาน้ำท่วมไม่สามารถจัดส่งชิ้นส่วนเพื่อการผลิตให้ได้ ซึ่งในส่วนของเครื่องยนต์อเนกประสงค์ได้หยุดผลิตตั้งแต่วันที่ 6 - 8 ตุลาคม และยังคงหยุดผลิตอย่างต่อเนื่อง
-เตรียมหั่นประกันคุ้มภัยรง.
นายวิชัย สันติมหกุลเลิศ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมต่อสถานการณ์น้ำท่วมหลายนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า เบื้องต้นเสียหายแล้วไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท (เฉพาะทรัพย์สิน) ซึ่งความเสียหายดังกล่าว ได้นำไปประชุมภายใน เพื่อกำหนดแผนรับทำประกันภัยในปีหน้า โดยจะนำข้อมูลปีนี้เข้าไปพิจารณารับทำประกันแต่ละราย โดยเฉพาะการปรับลดวงเงินสำหรับการทำประกันความเสียหายสำหรับโรงงานโดยเฉพาะ โดยจะไม่รับทำประกันในวงเงินสูงเหมือนทุกปีที่ผ่านมา
ส่วนความกังวลเรื่องการจ่ายสินไหมจะกระทบต่อฐานะของบริษัทประกันวินาศภัยหรือไม่นั้น ยืนยันจะไม่กระทบต่อฐานะบริษัทประกัน เนื่องจากทุกบริษัทมีการซื้อประกันภัยต่อจากต่างประเทศอยู่แล้ว และขอยืนยันว่าวิกฤติดังกล่าวจะไม่ทำให้บริษัทประกันล้มอย่างแน่นอน เพราะทุกบริษัทผ่านมาตรฐานด้านเงินทุน ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น
ในส่วนของบริษัท ส่วนใหญ่ที่บริษัท รับทำประกันภัยเป็นกลุ่มโรงงานที่เข้ามาลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นถึง 70% ดังนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นถือว่าหนักมาก โดยจำนวนรายที่ทำประกันในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร มีถึง 15 โรงงานที่ซื้อประกันความเสียหายต่อทรัพย์สิน, นิคมฯโรจนะ ที่ทำประกันความเสียหายไว้แล้ว 20-30 โรงงาน แต่ละรายซื้อทุนประกัน ตั้งแต่ 100 ล้านบาท ไปถึงหลักหมื่นล้านบาท ตามขนาดของธุรกิจ ซึ่งโรงงานที่ซื้อทุนประกันหลักหมื่นล้านบาทส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน มิตซูบิชิ เป็นต้น
นอกจากนี้ นายวิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทประกันที่โฟกัสตลาดไปที่พอร์ตเบี้ย หรือเน้นกลุ่มลูกค้าที่ทำประกันเสี่ยงภัยในธุรกิจขนาดใหญ่จะได้รับความเสียหายอย่างมาก เรียกว่าไม่เคยเกิดความเสียหายขนาดนี้มาก่อน หรืออาจพูดได้ว่า ปีนี้บริษัทประกันภัยที่เน้นลูกค้าองค์กรถือว่าเสียหายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะ 20-30 ปีมานี้ไม่เคยมีเหตุการณ์น้ำท่วมเข้านิคมฯ ไหนเลย หากเทียบความเสียหายปี 2554 สูงกว่าปี 2553 ที่ผ่านมามากหรือมองว่าขนาดความเสียหายเทียบกันไม่ได้เลย
"ปีนี้บริษัทที่รับประกันโครงการขนาดใหญ่ มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนมาก ยิ่งบริษัทไหนซื้อประกันภัยต่อน้อย เท่ากับต้องรับภาระจ่ายสินไหมทดแทนสูง และยังกระทบกับเป้าหรือภาพรวมตัวเลขการขยายตัวของอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบ เรียกว่าสิ้นปีกระทบหนักมาก"
นายปราโมทย์ ปวโรฬารวิทยา กรรมการ บริษัท ฟากูส-ท็อป ฟอร์ม (ประเทศไทย)ฯ บริษัทผู้ผลิตรองเท้าส่งออก หนึ่งในบริษัทที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร กล่าวว่า ประเมินความเสียหายเบื้องต้นพบว่าเครื่องจักรน่าจะเสียหายไม่ต่ำกว่า 90% คำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์) บริษัทไม่สามารถส่งสินค้าในเฟสนี้ได้เลย เนื่องจากสินค้าอยู่ในขั้นตอนการผลิตทั้งสิ้น ด้านสต๊อกสินค้าคาดว่าน่าจะสามารถนำชิ้นส่วนพลาสติกมารีไซเคิลใหม่ได้ ขณะที่ตัวอาคารนั้นคาดว่าไม่น่าจะเสียหายมากนัก
ทั้งนี้ ความเสียหายจากทรัพย์สินและตัวอาคารดังกล่าว บริษัทได้ทำประกันภัยทรัพย์สินที่ครอบคลุมภัยน้ำท่วมในอัตราทุนประกันภัย 99 ล้านบาท คิดเบี้ยประกันภัย 200,000 บาทต่อปี กับบริษัทอาคเนย์ประกันภัย จำกัด ซึ่งขณะนี้ได้รับการติดต่อจากบริษัทประกันภัยแล้ว คาดว่าภายหลังระดับน้ำลดลงน่าจะได้รับการติดต่อเพื่อจ่ายเคลมประกันอีกครั้ง
"ที่เสียหายหนักคือเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ เพราะต้องแช่น้ำนานเป็นสัปดาห์ ซึ่งความเสียหายน่าจะอยู่ที่ประมาณ 80 ล้านบาท และเชื่อว่าทุนประกัน 99 ล้านบาท จะครอบคลุมความเสียหายทั้งหมดได้ และหวังว่าบริษัทประกันภัยจะเห็นใจ เพราะจะต้องเริ่มใหม่แทบทั้งหมด"
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าในปีหน้าบริษัทยังมีความต้องการทำประกันภัยความเสียหายจากทรัพย์สินต่อ เพราะมองว่าเป็นการประกันภัยเบื้องต้นของบริษัทที่มีความตั้งใจจะเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป โดยตลอดระยะเวลา 15 ปี บริษัทก็มีการทำประกันภัยมาโดยตลอด และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เกิดความเสียหายหนักรุนแรงขนาดนี้ แม้ว่าจะมีกระแสข่าวจากบริษัทประกันภัยว่าอาจมีการปรับลดความคุ้มครองลง และปรับเพิ่มเบี้ยประกันภัยขึ้น
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่าการใช้งบฉุกเฉินในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุน้ำท่วมในอีก 2เดือนคาดว่าจะใช้ประมาณ 5-6 พันล้านบาทจากที่ผ่านมาใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,463 ล้านบาท( 1 ส.ค.ถึง 10 ต.ค.) โดยจังหวัดที่ได้รับงบฉุกเฉินมากที่สุดขณะนี้ คือ อยุธยา 500 ล้านบาท รองลงมา คือ นครสวรรค์ และ สุโขทัย ที่ 300 ล้านบาท
-เจโทร-เจซีซียังเชื่อมั่น
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมว่า จากการหารือร่วมกันกับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เฝ้าระวังนิคมฯอื่นที่น้ำยังมาไม่ถึง ให้หามาตรการป้องกัน โดยส่งทีมเข้าไปตรวจสอบความแข็งแรง ที่ส่วนใหญ่น้ำทะลักมาจากคันกั้นน้ำไม่แข็งแรง และต้องดูทุกที่ รวมถึงการฟื้นฟูหลังน้ำลด อาจใช้เวลานานหลายเดือน และปัญหาการว่าจ้างงานพนักงานที่จะตามมา ส่วนผลกระทบกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ส่งออกไปต่างประเทศ แผนชำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ที่หลายบริษัทอาจขาดกระแสเงินสดหมุนเวียน เงินส่งประกันสังคม
ส่วนเรื่องความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศนั้นได้หารือเบื้องต้น พบว่า องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (เจโทร) และหอการค้าญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (เจซีซี) ยังมีความเชื่อมั่นอยู่ เพราะลงทุนมากส่วนเรื่องอื่นๆ จะหารือหลังน้ำลด จะฟื้นฟูซ่อมแซมอย่างไร จะรวดเร็วแค่ไหน คาดว่าจะฟื้นฟูได้ไม่ด้อยไปกว่าญี่ปุ่น
-แขวนของบฟื้นฟู5หมื่นล.
ด้านนายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำหรับข้อเสนอของภาคเอกชนที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เสนอขอความช่วยเหลือจากกรณีที่ประสบปัญหาน้ำท่วม อาทิ การตั้งกองทุนฟื้นฟูธุรกิจสำหรับภาคอุตสาหกรรมวงเงิน 50,000 ล้านบาท การขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล การลดภาระค่าน้ำค่าไฟฟ้า การขอให้กองทุนประกันสังคมช่วยจ่ายเงินเดือนบางส่วนให้กับแรงงาน ล่าสุดยังไม่ได้มีการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 แต่คาดว่าจะมีการนำข้อเสนอดังกล่าวของภาคเอกชนไปพิจารณาในคณะกรรมการชุดฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธาน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,678 13 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554