ส่งออกปีหน้าออร์เดอร์หลุดซ้ำ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:15 am
Home ข่าวหน้า1 ข่าวหน้า1 ส่งออกปีหน้าออร์เดอร์หลุดซ้ำ
Air conditioners
ส่งออกปีหน้าออร์เดอร์หลุดซ้ำ
วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2011 เวลา 09:44 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - ข่าวหน้า1
User Rating: / 1
แย่ดีที่สุด
ส่งออกไทยทรุดส่งท้ายปี ม.หอการค้าไทยประเมิน น้ำท่วมใหญ่กระแทก ส่งออกไตรมาสสุดท้ายวูบแน่กว่าแสนล้านบาท เด้งสองห่วงปีหน้าออร์เดอร์หลุด ส้มหล่นเพื่อนบ้าน หากการฟื้นฟูการผลิตของโรงงานนับพันลากยาว รถยนต์ฟันธงยอดส่งออกปีนี้หายเกือบ 5 หมื่นคัน อิเล็กทรอนิกส์รอสำรวจความเสียหายหลังน้ำลด แต่เชื่อสูญไม่ต่ำกว่าแสนล้านเช่นกัน จับตารัฐสั่งปรับค่าจ้างซ้ำเติมน้ำท่วม ฟางเส้นสุดท้ายค่ายยักษ์ใหญ่จ่อย้ายฐาน
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม/เขตอุตสาหกรรม 5 แห่งในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี เกือบ 1,000 โรงได้รับความเสียหาย ไม่สามารถผลิตสินค้าส่งมอบให้กับลูกค้าได้ คาดจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ มูลค่าประมาณ 70,000-100,000 ล้านบาท
จากเดิมที่ยังไม่มีเหตุการณ์น้ำท่วม ทางศูนย์ได้ประเมินการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ จะลดลงประมาณ 60,000-63,000 ล้านบาท จากผลกระทบวิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรป ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่จะลดลงไปจากผลกระทบน้ำท่วม ส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารและเครื่องมือแพทย์ ที่มีโรงงานตั้งอยู่ในนิคม/เขตอุตสาหกรรม ที่ได้รับความเสียหายเป็นหลัก
-เพื่อนบ้านรอส้มหล่น
ขณะเดียวกันจากที่บางโรงงาน เช่น โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของบริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ใหญ่ระดับโลก โรงงานประกอบรถยนต์ค่ายฮอนด้าที่ถูกน้ำท่วม จะส่งผลกระทบถึงโรงงานผลิตชิ้นส่วนในจังหวัดอื่นของประเทศ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่การผลิต หรือซัพพลายเชนที่เกี่ยวเนื่อง จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย รวมถึงโรงงานผลิตเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนรถยนต์ในอีกหลายประเทศ ที่ต้องนำเข้าชิ้นส่วนดังกล่าวไปผลิตเพื่อส่งออกต่ออีกทอดหนึ่ง จะได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่เช่นกัน
"ที่น่าจับตามองคือ การฟื้นฟูธุรกิจของแต่ละบริษัทจะใช้เวลานานแค่ไหน หากต้องใช้เวลานาน ลูกค้าจะเริ่มเกิดความไม่มั่นใจ อาจหันไปสั่งซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ที่สามารถทดแทนกันได้แทน เช่น จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในไตรมาสแรกของปีหน้า"
-ส่งออกรถวูบ 5 หมื่นคัน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากน้ำท่วมโรงงานประกอบรถยนต์ของค่ายฮอนด้า รวมถึงโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ร่วม 50 โรง ที่ป้อนให้กับทุกค่ายรถยนต์ในประเทศ ได้รับความเสียหาย คาดจะส่งผลกระทบต่อยอดการผลิต และการส่งออกรถยนต์ของไทย ที่จะส่งมอบให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศของทุกโรงงาน ที่จะลดลงรวมกันประมาณ 50,000 คัน ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าเป็นรุ่นที่ผลิตเพื่อส่งออก
"หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น เมื่อต้นปี ทางกลุ่มประเมินว่า ปีนี้ไทยจะผลิตรถยนต์ได้ที่ 1.8 ล้านคัน แบ่งเป็นส่งออก 9 แสนคัน และขายในประเทศ 9 แสนคัน แต่จากน้ำท่วมทำให้การผลิตและการส่งมอบมีปัญหา ยอดการผลิตรถยนต์ปีนี้คงต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และยอดการส่งออกคงไม่ถึง 9 แสนคัน แต่จะต่ำกว่าที่ประเมินมากน้อยแค่ไหน ยังไม่สามารถประเมินได้ คงต้องรอให้น้ำลด และต้องรอเวลาให้แต่ละโรงงานเข้าไปฟื้นฟูธุรกิจ ซ่อมแซมเครื่องจักร เพื่อให้สามารถกลับมาประกอบการได้อีกครั้ง ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะใช้เวลานานแค่ไหน หากใช้เวลาฟื้นฟูนานอาจส่งผลให้ลูกค้าต่างประเทศ หันไปนำเข้าจากประเทศอื่นแทนได้"
-อิเล็กทรอนิกส์โดนแสนล.
นายศุภชัย สิทธิพงษ์ชัย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส.อ.ท. กล่าวว่า จากน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้มีผลให้โรงงานในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะพื้นที่น้ำท่วมถือเป็นฐานการผลิตระดับโลก ซึ่งทางกลุ่มยังไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายของสินค้าที่ผลิต รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับการส่งออกได้ เนื่องจากแต่ละโรงงานยังไม่ทราบความเสียหายที่ชัดเจน เพราะน้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย หลายโรงงานยังมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเพิ่มอีก ดังนั้น จึงยังไม่สามารถเข้าไปสำรวจความเสียหายได้ แต่เชื่อว่าจะมูลค่านับแสนล้านบาทเช่นกัน
อนึ่ง นักวิเคราะห์ชี้ว่า การที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ รายใหญ่หลายราย ที่มีฐานการผลิตในไทย ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น เวสเทิร์น ดิจิตอล ,ซีเกต เทคโนโลยี,ฮัทชิสัน เทคโนโลยี ,โตชิบา จะส่งผลให้ราคาฮาร์ดดิสก์ อาจปรับตัวสูงขึ้น และอาจเกิดปัญหาปริมาณซัพพลายโลกขาดแคลนได้ในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ซึ่งอาจเลวร้ายกว่าปัญหาซัพพลายชิ้นส่วนรถยนต์ จากเหตุแผ่นดินไหว และสึนามิในญี่ปุ่น
-โวยปรับค่าจ้างซ้ำจ่อย้ายฐาน
นายศุภชัย กล่าวอีกว่า สิ่งที่ที่น่าห่วง และน่าจับตามองจากนี้ไปคือ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ มีโอกาสที่บริษัทแม่จะพิจารณาย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทย เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นองค์ประกอบหลายประการ ที่สำคัญคือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่โรงงานเหล่านี้ต้องการใช้แรงงานในการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก บางโรงใช้เป็นหมื่นคน แต่ไม่สามารถหาแรงงานได้ อีกทั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ยังห้ามบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมใช้แรงงานต่างด้าว ถัดมาคือเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ทำให้โรงงานได้รับความเสียหายอย่างสิ้นเชิง และล่าสุด (17 ต.ค.2554) คณะกรรมการค่าจ้างกลาง ที่มีรัฐเป็นแกนนำ ยังได้มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศตามที่หาเสียงไว้อีก อาจเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่เขาต้องพิจารณาย้ายฐาน
"การย้ายฐานไม่ใช่พูดกันลอย ๆ เพราะที่ฟังมาจากนักลงทุนต่างชาติ เขาบ่นกันมาก เพราะรัฐไม่สนใจว่าเขาเดือดร้อนอย่างไร แถมยังมาปรับค่าจ้างขึ้นอีก โดยไม่ดูความเหมาะสมของสถานการณ์ ซึ่งหากเขาย้ายฐานจะส่งผลต่อตัวเลขการส่งออกที่จะหายไปอีกมหาศาล"
-อาหารยันไม่กระทบมาก
ด้านนายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า ในเขตภาคกลางมีหลายจังหวัดที่เลี้ยงไก่เนื้อ เช่น นครสวรรค์ เลี้ยงและมีผลผลิตเดือนละ 2-3 ล้านตัว อุทัยธานีเดือนละประมาณ 2 แสนตัว อยุธยา 1 ล้านตัว อ่างทอง 6-7 แสนตัว แต่แหล่งเลี้ยงใหญ่ เช่น ลพบุรี 10 ล้านตัวต่อเดือน ชลบุรี 12 ล้านตัวต่อเดือน ได้รับผลกระทบไม่มาก ความเสียหายทางสมาคมอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เบื้องต้นคาดว่าคงไม่กระทบมาก ดังนั้น จึงยังตั้งเป้าหมายการส่งออกไก่แปรรูปในปีนี้ ที่ 4.5 แสนตันเช่นเดิม
ส่วนนายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ส.อ.ท. กล่าวว่า จากน้ำท่วมครั้งนี้ มีโรงงานในกลุ่มอาหารได้รับความเสียหายไม่มาก ที่ทราบมีโรงงานของบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะฯ ที่ผลิตผงชูรสขายในประเทศและส่งออก รวมถึงโรงงานของบริษัทนิปปอนฯ ซึ่งผลิตอาหารแช่แข็งได้รับความเสียหาย ขณะที่โรงงานผลิตน้ำผลไม้ และผลไม้กระป๋อง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถบภาคเหนือ โรงงานปลาทูน่า อาหารทะเลกระป๋อง และโรงงานแปรรูปกุ้ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถบจังหวัดสมุทรสาคร และทางภาคใต้ ซึ่งยังไม่มีปัญหาน้ำท่วม ดังนั้น จึงยังมั่นใจว่า การส่งออกสินค้าอาหารของไทยในปีนี้จะยังทำได้ที่ 9 แสนล้านบาทตามเป้าหมาย
-พาณิชย์เร่งช่วยฟื้นฟู
ด้านนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการส่งออก ไปรวบรวมผลกระทบน้ำท่วมต่อของอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงสิ่งที่อุตสาหกรรมต้องการให้ช่วยเหลือ จากนั้นจะรวบรวมปัญหา เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ช่วยเหลือ ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบฟื้นตัวได้โดยเร็ว เพราะไม่เช่นนั้นภาคการส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบแน่
ขณะที่นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ยังมั่นใจการส่งออกของไทยในปี 2554 จะขยายตัวที่ 15 % มูลค่าประมาณ 224,608 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะช่วง 8 เดือนแรกขยายตัวแล้วถึง 26.4% ส่วนใหญ่เดือนที่เหลือของปีนี้ ได้มีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากันไปเกือบหมดแล้ว เหลือเพียงการส่งมอบที่บางสินค้าอาจมีปัญหาล่าช้าบ้าง จากภาวะน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายทูตพาณิชย์ทั่วโลก ทำความเข้าใจกับคู่ค้าแล้ว
"ที่น่าเป็นห่วงคือ การส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2555 อาจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมอย่างชัดเจน ทำให้การส่งออกขยายตัวลดลง เพราะเท่าที่ได้รับรายงานผลกระทบของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลตรงกันว่า ไม่สามารถเดินเครื่องผลิตสินค้าได้ มีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ไม่สามารถจัดส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานได้ แรงงานไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ และไม่สามารถจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อตรงเวลาได้ ซึ่งความเสียหายจากน้ำท่วมต่อภาคการผลิตและการส่งออกที่ชัดเจน อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล แต่ที่จะกระทบมากในเบื้องต้น อยู่ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์"
-บิ๊กบ.จดทะเบียนแจ้งตลาด
ขณะเดียวกันบริษัทที่ได้รับผลกระทบทยอยแจ้งตลาดแล้ว จากการรวบรวมของ "ฐานเศรษฐกิจ" ช่วง 3-18 ตุลาคมที่ผ่านมา มีบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และแจ้งตลาดแล้ว 25 บริษัท จากจำนวนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ 43 บริษัท ทั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯ บริษัทประกัน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรม กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม โรงผลิตเหล็ก ถ่านหิน สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องดื่ม โรงไฟฟ้า เป็นต้น
ทั้งนี้ นายยรรยงค์ สวัสดิ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงินและบริการ บมจ.สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯขอปิดทำการชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในบริเวณโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และจะเปิดทำการปกติในวันที่ 17 ตุลาคม 2554 แล้ว เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงเกินกว่าที่จะสามารถควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทำประกันภัยครอบคลุมทุกความเสี่ยง มูลค่ารวม 3,854 ล้านบาทไว้แล้ว
-18รายเฝ้าระวังเข้ม
ขณะที่นายเย็บ ซู ซาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อาปิโก ไฮเทค แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯเช่นกันว่า โรงงานของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จ.พระนครศรีอยุธยา ได้หยุดการผลิตและปิดโรงงานชั่วคราว ในส่วนของความเสียหายไม่สามารถประเมินได้ เป็นต้น
ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่ยังเฝ้าระวังผลกระทบเวลานี้มี 18 บริษัท ในธุรกิจถ่านหิน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตเหล็กและกองทุนรวมอสังหาฯ อาทิ บมจ.ลานนารีซอร์สเซส บมจ. อิโนเว รับเบอร์ บมจ.ร้อกเวิธ บมจ.กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง บมจ.สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) บมจ.พรพรหมเม็ททอล บมจ.ไทยคูน เวิลด์ไวด์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) บมจ.เอ็ม.ซี.เอส.สตีล บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี และ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีก 4 แห่ง เป็นต้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,680 20 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554
Air conditioners
ส่งออกปีหน้าออร์เดอร์หลุดซ้ำ
วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2011 เวลา 09:44 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - ข่าวหน้า1
User Rating: / 1
แย่ดีที่สุด
ส่งออกไทยทรุดส่งท้ายปี ม.หอการค้าไทยประเมิน น้ำท่วมใหญ่กระแทก ส่งออกไตรมาสสุดท้ายวูบแน่กว่าแสนล้านบาท เด้งสองห่วงปีหน้าออร์เดอร์หลุด ส้มหล่นเพื่อนบ้าน หากการฟื้นฟูการผลิตของโรงงานนับพันลากยาว รถยนต์ฟันธงยอดส่งออกปีนี้หายเกือบ 5 หมื่นคัน อิเล็กทรอนิกส์รอสำรวจความเสียหายหลังน้ำลด แต่เชื่อสูญไม่ต่ำกว่าแสนล้านเช่นกัน จับตารัฐสั่งปรับค่าจ้างซ้ำเติมน้ำท่วม ฟางเส้นสุดท้ายค่ายยักษ์ใหญ่จ่อย้ายฐาน
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม/เขตอุตสาหกรรม 5 แห่งในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี เกือบ 1,000 โรงได้รับความเสียหาย ไม่สามารถผลิตสินค้าส่งมอบให้กับลูกค้าได้ คาดจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ มูลค่าประมาณ 70,000-100,000 ล้านบาท
จากเดิมที่ยังไม่มีเหตุการณ์น้ำท่วม ทางศูนย์ได้ประเมินการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ จะลดลงประมาณ 60,000-63,000 ล้านบาท จากผลกระทบวิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรป ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่จะลดลงไปจากผลกระทบน้ำท่วม ส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารและเครื่องมือแพทย์ ที่มีโรงงานตั้งอยู่ในนิคม/เขตอุตสาหกรรม ที่ได้รับความเสียหายเป็นหลัก
-เพื่อนบ้านรอส้มหล่น
ขณะเดียวกันจากที่บางโรงงาน เช่น โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของบริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ใหญ่ระดับโลก โรงงานประกอบรถยนต์ค่ายฮอนด้าที่ถูกน้ำท่วม จะส่งผลกระทบถึงโรงงานผลิตชิ้นส่วนในจังหวัดอื่นของประเทศ ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่การผลิต หรือซัพพลายเชนที่เกี่ยวเนื่อง จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย รวมถึงโรงงานผลิตเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนรถยนต์ในอีกหลายประเทศ ที่ต้องนำเข้าชิ้นส่วนดังกล่าวไปผลิตเพื่อส่งออกต่ออีกทอดหนึ่ง จะได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่เช่นกัน
"ที่น่าจับตามองคือ การฟื้นฟูธุรกิจของแต่ละบริษัทจะใช้เวลานานแค่ไหน หากต้องใช้เวลานาน ลูกค้าจะเริ่มเกิดความไม่มั่นใจ อาจหันไปสั่งซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ที่สามารถทดแทนกันได้แทน เช่น จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในไตรมาสแรกของปีหน้า"
-ส่งออกรถวูบ 5 หมื่นคัน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากน้ำท่วมโรงงานประกอบรถยนต์ของค่ายฮอนด้า รวมถึงโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ร่วม 50 โรง ที่ป้อนให้กับทุกค่ายรถยนต์ในประเทศ ได้รับความเสียหาย คาดจะส่งผลกระทบต่อยอดการผลิต และการส่งออกรถยนต์ของไทย ที่จะส่งมอบให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศของทุกโรงงาน ที่จะลดลงรวมกันประมาณ 50,000 คัน ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าเป็นรุ่นที่ผลิตเพื่อส่งออก
"หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น เมื่อต้นปี ทางกลุ่มประเมินว่า ปีนี้ไทยจะผลิตรถยนต์ได้ที่ 1.8 ล้านคัน แบ่งเป็นส่งออก 9 แสนคัน และขายในประเทศ 9 แสนคัน แต่จากน้ำท่วมทำให้การผลิตและการส่งมอบมีปัญหา ยอดการผลิตรถยนต์ปีนี้คงต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และยอดการส่งออกคงไม่ถึง 9 แสนคัน แต่จะต่ำกว่าที่ประเมินมากน้อยแค่ไหน ยังไม่สามารถประเมินได้ คงต้องรอให้น้ำลด และต้องรอเวลาให้แต่ละโรงงานเข้าไปฟื้นฟูธุรกิจ ซ่อมแซมเครื่องจักร เพื่อให้สามารถกลับมาประกอบการได้อีกครั้ง ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะใช้เวลานานแค่ไหน หากใช้เวลาฟื้นฟูนานอาจส่งผลให้ลูกค้าต่างประเทศ หันไปนำเข้าจากประเทศอื่นแทนได้"
-อิเล็กทรอนิกส์โดนแสนล.
นายศุภชัย สิทธิพงษ์ชัย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส.อ.ท. กล่าวว่า จากน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้มีผลให้โรงงานในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะพื้นที่น้ำท่วมถือเป็นฐานการผลิตระดับโลก ซึ่งทางกลุ่มยังไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายของสินค้าที่ผลิต รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับการส่งออกได้ เนื่องจากแต่ละโรงงานยังไม่ทราบความเสียหายที่ชัดเจน เพราะน้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย หลายโรงงานยังมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเพิ่มอีก ดังนั้น จึงยังไม่สามารถเข้าไปสำรวจความเสียหายได้ แต่เชื่อว่าจะมูลค่านับแสนล้านบาทเช่นกัน
อนึ่ง นักวิเคราะห์ชี้ว่า การที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ รายใหญ่หลายราย ที่มีฐานการผลิตในไทย ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น เวสเทิร์น ดิจิตอล ,ซีเกต เทคโนโลยี,ฮัทชิสัน เทคโนโลยี ,โตชิบา จะส่งผลให้ราคาฮาร์ดดิสก์ อาจปรับตัวสูงขึ้น และอาจเกิดปัญหาปริมาณซัพพลายโลกขาดแคลนได้ในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ซึ่งอาจเลวร้ายกว่าปัญหาซัพพลายชิ้นส่วนรถยนต์ จากเหตุแผ่นดินไหว และสึนามิในญี่ปุ่น
-โวยปรับค่าจ้างซ้ำจ่อย้ายฐาน
นายศุภชัย กล่าวอีกว่า สิ่งที่ที่น่าห่วง และน่าจับตามองจากนี้ไปคือ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ มีโอกาสที่บริษัทแม่จะพิจารณาย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทย เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นองค์ประกอบหลายประการ ที่สำคัญคือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่โรงงานเหล่านี้ต้องการใช้แรงงานในการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก บางโรงใช้เป็นหมื่นคน แต่ไม่สามารถหาแรงงานได้ อีกทั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ยังห้ามบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมใช้แรงงานต่างด้าว ถัดมาคือเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ทำให้โรงงานได้รับความเสียหายอย่างสิ้นเชิง และล่าสุด (17 ต.ค.2554) คณะกรรมการค่าจ้างกลาง ที่มีรัฐเป็นแกนนำ ยังได้มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศตามที่หาเสียงไว้อีก อาจเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่เขาต้องพิจารณาย้ายฐาน
"การย้ายฐานไม่ใช่พูดกันลอย ๆ เพราะที่ฟังมาจากนักลงทุนต่างชาติ เขาบ่นกันมาก เพราะรัฐไม่สนใจว่าเขาเดือดร้อนอย่างไร แถมยังมาปรับค่าจ้างขึ้นอีก โดยไม่ดูความเหมาะสมของสถานการณ์ ซึ่งหากเขาย้ายฐานจะส่งผลต่อตัวเลขการส่งออกที่จะหายไปอีกมหาศาล"
-อาหารยันไม่กระทบมาก
ด้านนายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า ในเขตภาคกลางมีหลายจังหวัดที่เลี้ยงไก่เนื้อ เช่น นครสวรรค์ เลี้ยงและมีผลผลิตเดือนละ 2-3 ล้านตัว อุทัยธานีเดือนละประมาณ 2 แสนตัว อยุธยา 1 ล้านตัว อ่างทอง 6-7 แสนตัว แต่แหล่งเลี้ยงใหญ่ เช่น ลพบุรี 10 ล้านตัวต่อเดือน ชลบุรี 12 ล้านตัวต่อเดือน ได้รับผลกระทบไม่มาก ความเสียหายทางสมาคมอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เบื้องต้นคาดว่าคงไม่กระทบมาก ดังนั้น จึงยังตั้งเป้าหมายการส่งออกไก่แปรรูปในปีนี้ ที่ 4.5 แสนตันเช่นเดิม
ส่วนนายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ส.อ.ท. กล่าวว่า จากน้ำท่วมครั้งนี้ มีโรงงานในกลุ่มอาหารได้รับความเสียหายไม่มาก ที่ทราบมีโรงงานของบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะฯ ที่ผลิตผงชูรสขายในประเทศและส่งออก รวมถึงโรงงานของบริษัทนิปปอนฯ ซึ่งผลิตอาหารแช่แข็งได้รับความเสียหาย ขณะที่โรงงานผลิตน้ำผลไม้ และผลไม้กระป๋อง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถบภาคเหนือ โรงงานปลาทูน่า อาหารทะเลกระป๋อง และโรงงานแปรรูปกุ้ง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถบจังหวัดสมุทรสาคร และทางภาคใต้ ซึ่งยังไม่มีปัญหาน้ำท่วม ดังนั้น จึงยังมั่นใจว่า การส่งออกสินค้าอาหารของไทยในปีนี้จะยังทำได้ที่ 9 แสนล้านบาทตามเป้าหมาย
-พาณิชย์เร่งช่วยฟื้นฟู
ด้านนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการส่งออก ไปรวบรวมผลกระทบน้ำท่วมต่อของอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงสิ่งที่อุตสาหกรรมต้องการให้ช่วยเหลือ จากนั้นจะรวบรวมปัญหา เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ช่วยเหลือ ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบฟื้นตัวได้โดยเร็ว เพราะไม่เช่นนั้นภาคการส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบแน่
ขณะที่นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ยังมั่นใจการส่งออกของไทยในปี 2554 จะขยายตัวที่ 15 % มูลค่าประมาณ 224,608 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะช่วง 8 เดือนแรกขยายตัวแล้วถึง 26.4% ส่วนใหญ่เดือนที่เหลือของปีนี้ ได้มีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากันไปเกือบหมดแล้ว เหลือเพียงการส่งมอบที่บางสินค้าอาจมีปัญหาล่าช้าบ้าง จากภาวะน้ำท่วม ซึ่งได้มอบหมายทูตพาณิชย์ทั่วโลก ทำความเข้าใจกับคู่ค้าแล้ว
"ที่น่าเป็นห่วงคือ การส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2555 อาจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมอย่างชัดเจน ทำให้การส่งออกขยายตัวลดลง เพราะเท่าที่ได้รับรายงานผลกระทบของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลตรงกันว่า ไม่สามารถเดินเครื่องผลิตสินค้าได้ มีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ไม่สามารถจัดส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานได้ แรงงานไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ และไม่สามารถจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อตรงเวลาได้ ซึ่งความเสียหายจากน้ำท่วมต่อภาคการผลิตและการส่งออกที่ชัดเจน อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล แต่ที่จะกระทบมากในเบื้องต้น อยู่ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์"
-บิ๊กบ.จดทะเบียนแจ้งตลาด
ขณะเดียวกันบริษัทที่ได้รับผลกระทบทยอยแจ้งตลาดแล้ว จากการรวบรวมของ "ฐานเศรษฐกิจ" ช่วง 3-18 ตุลาคมที่ผ่านมา มีบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และแจ้งตลาดแล้ว 25 บริษัท จากจำนวนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ 43 บริษัท ทั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯ บริษัทประกัน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรม กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม โรงผลิตเหล็ก ถ่านหิน สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องดื่ม โรงไฟฟ้า เป็นต้น
ทั้งนี้ นายยรรยงค์ สวัสดิ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงินและบริการ บมจ.สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯขอปิดทำการชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในบริเวณโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และจะเปิดทำการปกติในวันที่ 17 ตุลาคม 2554 แล้ว เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงเกินกว่าที่จะสามารถควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทำประกันภัยครอบคลุมทุกความเสี่ยง มูลค่ารวม 3,854 ล้านบาทไว้แล้ว
-18รายเฝ้าระวังเข้ม
ขณะที่นายเย็บ ซู ซาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อาปิโก ไฮเทค แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯเช่นกันว่า โรงงานของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จ.พระนครศรีอยุธยา ได้หยุดการผลิตและปิดโรงงานชั่วคราว ในส่วนของความเสียหายไม่สามารถประเมินได้ เป็นต้น
ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่ยังเฝ้าระวังผลกระทบเวลานี้มี 18 บริษัท ในธุรกิจถ่านหิน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตเหล็กและกองทุนรวมอสังหาฯ อาทิ บมจ.ลานนารีซอร์สเซส บมจ. อิโนเว รับเบอร์ บมจ.ร้อกเวิธ บมจ.กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง บมจ.สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) บมจ.พรพรหมเม็ททอล บมจ.ไทยคูน เวิลด์ไวด์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) บมจ.เอ็ม.ซี.เอส.สตีล บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี และ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีก 4 แห่ง เป็นต้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,680 20 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554