หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ขอตามเรื่องเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อของ เวียดนาม

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 22, 2011 5:42 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 26 กันยายน 2554 01:47:45 น.
เงินเฟ้อเวียดนามเริ่มลด
ฮานอย - สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ชะลอตัว ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 22.4 จากร้อยละ 23 ในเดือนสิงหาคม นับเป็นการชะลอตัวครั้งแรกจากที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันมา 12 เดือน ส่วนการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามได้ชะลอตัวลงเล็กน้อยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ โดยมีการเติบโตร้อยละ 5.76 จากที่เติบโตร้อยละ 6.54 ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว รัฐบาลเวียดนามได้ตั้งเป้าเศรษฐกิจเติบโตในปีนี้ว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6 และตั้งเป้าควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ประมาณร้อยละ 15 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7 ที่ประเมินไว้เบื้องต้นเมื่อปลายปีก่อน เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลเวียดนามได้เปลี่ยนจุดเน้นการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ จากมุ่งสร้างความเติบโตมาสู่การต่อสู้กับเงินเฟ้อซึ่งอยู่ในอัตราสูงที่สุดของเอเชีย รัฐบาลได้ออกมาตรการการเงินและการคลังหลายประการ เพื่อ พยายามฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่ถูก สั่นคลอน

Re: ขอตามเรื่องเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อของ เวียดนาม

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 23, 2011 8:51 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ใครมีข้อมูลเกี่ยวกับเศษฐกิจเวียดนาม ขอมาร่วมกันแชร์ข้อมูลหน่อยนะครับ เห็นว่าเงินเฟ้อของเขาสูงมากกว่า 20% ทำให้น่าติดตามมากนะครับ จะเหมือนกับเราตอนปี 40 ขอรบกวนทุกท่านด้วยนะครับ

Re: ขอตามเรื่องเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อของ เวียดนาม

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 23, 2011 8:55 am
โดย บูรพาไม่แพ้
เงินเฟ้อเวียดนามวิกฤต เดือน ก.ค.พุ่งทะลุถึง 22%


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กรกฎาคม 2554 12:08 น. Share7





ลูกค้าธนาคารเตรียมปึกธนบัตรเงินด่งเพื่อฝากเข้าบัญชีในธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ในกรุงฮานอย ทางการเวียดนามระบุว่าในเดือนก.ค. นี้ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงถึงร้อยละ 22 ปรับเพิ่มมาเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน ส่งผลให้ราคาอาหารในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน. --AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam.



เอเอฟพี - สำนักงานใหญ่สถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office) กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อของประเทศปรับเพิ่มสูงเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน คาด ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มถึงร้อยละ 22 ในเดือน ก.ค.นี้ เทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน หลังอัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย.เทียบปีต่อปี อยู่ที่ร้อยละ 20.82

เวียดนามพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ขณะที่ต้องเผชิญกับความท้าทาย เช่น อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูง ความผันผวนของค่าเงิน และขาดดุลการค้า โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเริ่มปรับตัวเพิ่มสูงในเดือน ก.ย.2553 และราคายังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อที่เคยแตะระดับสูงสุดที่ร้อยละ 28.3 เมื่อเดือน ส.ค.2551 ก็ตาม

รายงานของสำนักงานสถิติ ระบุว่า ราคาอาหารที่เพิ่มถึงร้อยละ 23.8 เทียบปีต่อปีในช่วง 7 เดือนแรกของปี ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ 32.6 ในเดือน ก.ค.นี้ เทียบกับเดือน ก.ค.2553

“ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อสูง ความไม่มั่นคงของเศรษฐกิจมหภาค และการจะรักษาความมั่นคงทางสังคม กลายเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับเศรษฐกิจของประเทศในปี 2554” รองนายกรัฐมนตรี เหวียน ซีง หุ่ง กล่าวในระหว่างการรัฐสภา และว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอย่างรอบคอบในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อให้อยู่ที่ร้อยละ 15-17

สหประชาชาติกล่าวในเดือน พ.ค.ปีนี้ ว่า เวียดนามเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลก และได้พยายามรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศด้วยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ให้คำมั่นที่จะตัดลดงบประมาณรัฐร้อยละ 10 และกำหนดให้การเติบโตของการปล่อยสินเชื่อหรือกู้ยืมต่ำกว่าร้อยละ 20 นอกจากนั้นรัฐบาลยังพยามควบคุมการค้าทองคำ และลดความปริมาณเงินดอลลาร์ที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจลง

การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามลดลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 5.6 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายสิ้นปีที่ตั้งไว้ประมาณร้อยละ 6 เพียงเล็กน้อย.

Re: ขอตามเรื่องเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อของ เวียดนาม

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 23, 2011 9:39 am
โดย บูรพาไม่แพ้
เวียดนามขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรับเงินเฟ้อ1ต.ค.นี้หวังบรรเทาเงินเฟ้อ

รัฐบาลเวียดนาม เตรียมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเกือบ 50% สำหรับแรงงานตามเมืองใหญ่ๆ รวมถึงในเมืองหลวง และในศูนย์กลางเศรษฐกิจตอนใต้ของประเทศอย่างโฮจิมินห์ ซิตี้ เป็นเดือนละ 2 ล้านด่อง (95 ดอลลาร์) เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามช่วยให้แรงงานในระบบสามารถรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่ทะยานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้เวียดนามเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดของโลก
ถือเป็นครั้งแรก ที่อัตราค่าแรงปรับใหม่นี้ บังคับใช้กับบริษัทที่เป็นของต่างชาติและบริษัทสัญชาติเวียดนาม โดยแยกเป็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำบริษัทต่างชาติประมาณ 29% และ 48% สำหรับบริษัทในประเทศ ส่วนค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานที่ทำงานนอกเขตเมืองใหญ่จะได้รับการปรับค่าแรงในอัตราต่ำกว่านี้
อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตุการณ์หลายคน ตั้งข้อสงสัยว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้จะเพียงพอที่จะช่วยให้แรงงานชาวเวียดนาม สามารถรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อที่ทะยานติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ได้หรือไม่ โดยตัวเลขของทางการเวียดนาม ระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเวียดนามในเดือนก.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.ปี2553
เวียดนามขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรับเงินเฟ้อ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Re: ขอตามเรื่องเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อของ เวียดนาม

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 23, 2011 9:45 am
โดย บูรพาไม่แพ้
เวียดนามเป็นประเทศที่มีประชากรขนาดใหญ่ระดับ 90 ล้านคน แต่มีพื้นที่เล็กกว่าประเทศไทยและพื้นที่เป็นป่าเขาราว 2 ใน 3 มีที่ราบเพาะปลูกได้น้อย

แต่เวียดนามทำเกษตรแบบประณีต ชลประทานค่อนข้างดี พยายามใช้ที่ดินให้คุ้มค่า จึงมีผลผลิตสูง และประชากรขยันขันแข็ง เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตในอัตราสูง



เศรษฐกิจเวียดนาม หลังจากการปฏิรูประบบเศรษฐกิจจากสังคมนิยม (พ.ศ. 2518) เป็นตลาดเสรีแนวสังคมเมื่อ 25 ปีที่แล้ว (ปี พ.ศ. 2529) เศรษฐกิจเวียดนามได้เติบโตในอัตราสูงราวปีละ 6-8% มาตลอด การออมในประเทศเพิ่มขึ้น 4 เท่า การลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้น 3 เท่า (ค่าจ้าง แรงงานยังต่ำ ผลิตข้าวได้มากและค่าครองชีพถูกกว่าไทย) มูลค่าการค้าระหว่างประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 160% ของ GDP และกลายเป็นเศรษฐกิจเปิดที่พึ่งพาการค้าระหว่างประเทศสูง


เกษตรกรเวียดนามขยัน ปลูกพืชปีละหลายครั้ง และให้ผลผลิตรวมสูง รวมทั้งมีพื้นที่ติดฝั่งทะเลมาก เป็นประโยชน์ต่อการประมงและการท่องเที่ยว สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ คือ อาหารแปรรูป สิ่งทอ บุหรี่ยาสูบ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้าวและสินค้าเกษตรต่างๆ ด้านอุตสาหกรรม เวียดนามผลิตน้ำมันได้มากพอสมควร ราคาน้ำมันต่ำกว่าไทย อุตสาหกรรมไฮเทคต่างๆ กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว


ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปี 2553 ตามบัญชีทางการอยู่ที่ 104,600 พันล้านดอลลาร์ แต่เนื่องจากเวียดนามมีประชากรมากถึง 90 ล้านคน ทำให้ GDPต่อหัวอยู่ที่ 1,168 ดอลลาร์ (ทั้ง GDPรวมและต่อหัวต่ำกว่าไทย) ปัญหาคนจนคิดเป็นสัดส่วนต่อประชากรทั้งหมด ราวสิบเปอร์เซ็นต์ต้นๆ ต่ำกว่า จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ การที่เศรษฐกิจเวียดนามโตในอัตราสูงปีละ 6-7% ทำให้อัตราเงินเฟ้อ (ค่าครองชีพ) สูงด้วย ปี 2553 เงินเฟ้อสูงถึง 11.75% บริษัทโกลด์แมน แซคส์ คาดว่า ในอีก 14 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจเวียดนามจะมี GDP ใหญ่เป็นอันดับที่ 17 ของโลก


การศึกษาของเวียดนาม


สังคมเวียดนามเป็นสังคมที่ส่งเสริมคนเก่งหรือผู้มีความสามารถพิเศษมาตั้งแต่สมัยก่อนที่มีการแข่งขันสอบเป็นขุนนางผู้มีความรู้ จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ประชาชนเวียดนามให้ค่านิยมเรื่องการศึกษาเล่าเรียนสูง สนับสนุนและชื่นชมกับคนเก่งหรือคนที่มีความสามารถพิเศษ และถือว่าคนเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ แม้รัฐบาลจะยังมีงบประมาณน้อยและการเติบโตของการลงทุนทางการศึกษาเชิงปริมาณยังต่ำกว่าไทย แต่ในเชิงคุณภาพทำได้ดีกว่าไทย (วัดจากผลการทดสอบระหว่างประเทศ ตามโครงการ PISA ของ OECD)


ระบบการศึกษาของเวียดนามมีการสรรหาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ โดยเฉพาะทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับประถมถึงมัธยม โดยมีการจัดชั้นเรียนพิเศษและโรงเรียนพิเศษให้นักเรียนเหล่านี้ได้เรียนกับครูที่ดีที่สุด ทุกตำบล ทุกอำเภอ ทุกจังหวัด จะมีโรงเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ แม้ในสมัยก่อนรัฐจะไม่ได้ส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากรให้มากนัก ชุมชน โรงเรียนและครูก็สมัครใจที่จะสรรหาและจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษขึ้นเอง


ครูตั้งใจและเต็มใจสอนเพราะมีความรักในวิชา อยากสอนและถ่ายทอดให้กับคนเก่ง พ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนสนับสนุน เพราะเป็นวัฒนธรรมของเวียดนามที่ชอบส่งเสริมและชื่นชมคนเก่ง มีการสอบแข่งขันทางวิชาการโดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์และวรรณคดีมานานแล้วในทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่ประถมจนถึงมัธยมปลาย และในทุกระดับพื้นที่ ได้แก่ ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศและนานาชาติ ในปัจจุบันเวียดนามได้เพิ่มการจัดสอบแข่งขันในวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา สารสนเทศ (คอมพิวเตอร์) และภาษาต่างประเทศด้วย


การที่เวียดนามกระจายอำนาจการบริหารและทรัพยากรให้จังหวัดต่างๆ ค่อนข้างมากช่วยส่งเสริมการแข่งขันทางคุณภาพการศึกษา ประชาชนเองซึ่งสนใจการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองมากอยู่แล้วก็สนใจลงทุนทางการศึกษาให้ลูกหลาน และการพัฒนาเศรษฐกิจแนวทางตลาดเสรี ทำให้ประชาชนบางส่วนเริ่มมีรายได้พอจะส่งลูกเรียนสถาบันการศึกษาเอกชนเพิ่มขึ้น


เวียดนามสามารถจัดการศึกษาในระดับหลังปริญญาตรีในสาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ได้มาก ในแต่ละปีจะมีนักศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในระดับปริญญาเอกประมาณ 1,000 คน ประเทศเวียดนามผลิตกำลังคนระดับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ได้มากกว่าประเทศไทยจำนวนมาก กำลังคนระดับสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเวียดนาม จึงมีจำนวนมากกว่าไทย ที่รัฐบาลเวียดนามวางแผนว่าอนาคตจะพัฒนาซอฟต์แวร์ส่งออกให้ได้มีความเป็นไปได้สูง เพราะเวียดนามมีกำลังคนด้านนี้อยู่มาก ดูจากแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาของเวียดนามแล้ว น่าจะไปได้ดีกว่าและคงจะแซงไทยได้ในไม่ช้า

Tags : วิทยากร เชียงกูล
การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
วันที่ 15 สิงหาคม 2554 01:00

Re: ขอตามเรื่องเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อของ เวียดนาม

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 26, 2011 3:58 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 26 ตุลาคม 2554 12:10:04 น.
สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนามเปิดเผยว่า เวียดนามคาดว่าจะมียอดขาดดุลการค้าลดจาก 9.5 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนแรกของปีที่แล้วลงมาอยู่ที่ 8.37 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในเดือนต.ค. เวียดนามมีรายได้จากการส่งออก 8.3 พันล้านดอลลาร์ สูงกว่าเดือนก.ย. 4.5% แต่การใช้จ่ายด้านการนำเข้าอยู่ที่ 9.1 พันล้านดอลลาร์ น้อยกว่าเดือนก่อนหน้านั้น 3.7%

ตลอด 10 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีรายได้จากการส่งออกกว่า 7.803 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 34.6% เพราะได้รับปัจจัยหนุนจากราคาผลิตภัณฑ์บางชนิดที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันนี้ของปีที่แล้ว อาทิ พริกไทย ยาง และมันสำปะหลัง

สำหรับสินค้าส่งออกหลักๆที่ทำเงินสูงสุดได้แก่สิ่งทอ ซึ่งอยู่ที่ 1.17 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าปีที่ผ่านมา 29.4% ขณะที่ยอดส่งออกพริกไทยอยู่ที่ 700 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นถึง 93.9% ยอดส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังอยู่ที่ 823 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 93.4%

ทั้งนี้ สหรัฐยังคงเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตามมาด้วยยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และญี่ปุ่น

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--

Re: ขอตามเรื่องเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อของ เวียดนาม

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 28, 2011 4:20 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการส่งออก -- จันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2554 15:54:53 น.
1.สถานการณ์การผลิต :
แหล่งเพาะปลูกข้าวบริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขง ได้เริ่มปลูกข้าวฤดูการผลิตที่ 3 Autum-Winter ไปแล้วประมาณ 403,000 เฮ็คตาร์ หรือเท่ากับร้อยละ 62 ของพื้นที่ที่จะทำการเพาะปลูกทั้งสิ้นในฤดูนี้ (653,000 เฮ็คตาร์)

มีรายงานข่าวว่าภาวะน้ำท่วมและกระแสน้ำในแม่น้ำที่เชี่ยวมากในช่วงนี้ทำลายผลผลิตทางการเกษตรทั้งข้าวและสวนผลไม้ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยที่ก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่าการทำการเกษตรในบริเวณดังกล่าว สำหรับฤดูการเพาะปลูกครั้งที่ 3 ซึ่งจะทำการเก็บเกี่ยวในช่วงปลายปี จะได้รับผลดีกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับข้าว ซึ่งในช่วงนี้มีราคาสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรในแหล่งปลูกข้าวบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพิ่มพื้นที่การผลิต แต่ในขณะนี้ ข้าวที่เริ่มปลูกทั้งหมดอยู่ใต้น้ำ เนื่องจากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเร็วกว่าทุกๆปี ประกอบกับฝายกั้นน้ำหลายแห่งถูกทำลายด้วยกระแสน้ำที่รุนแรงมาก ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้เคยออกมาเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระวังเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ก็ยังปล่อยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกพืชผลในฤดูที่3 หน่วยงานทางการเกษตรประเมินว่าความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมจะมีมูลค่าประมาณ 980 เหรียญสหรัฐต่อ 1 เฮกตาร์ สำหรับข้าว ในขณะที่สวนผลไม้มูลค่าความเสียหายอาจจะสูงมากกว่านี้ ถ้าเป็นพืชที่ต้องใช้เวลาในการปลูกใหม่อย่างน้อย 5 ปี

2. การบริโภคข้าว :
ปริมาณการบริโภคข้าวของเวียดนามในปี 2553 มีจำนวนประมาณ 19,300,000 ตัน เปรียบเทียบกับปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 150,000 ตัน

3. ราคาข้าวภายในประเทศ :
ราคาข้าวเปลือกท้องถิ่นในแหล่งผลิตบริเวณ Mekong River Delta (ข้าวเปลือกเมล็ดสั้น) จะอยู่ระหว่าง 7,200-7,300 เวียดนามด่ง/กิโลกรัม ในขณะที่ราคาข้าวเปลือกสำหรับสีเป็นข้าวเมล็ดยาว อยู่ระหว่าง 7,300-7,400 เวียดนามด่ง/กก. สำหรับราคาข้าวกล้องชนิดสีเป็นข้าวหัก 5 % จะอยู่ระหว่าง 9,700 - 9,800 เวียดนามด่ง/กก และข้าวกล้องชนิดสีเป็นข้าวหัก 25 % อยู่ระหว่าง 9,600-9,700 เวียดนามด่ง/กก.

สำหรับข้าวสาร มีราคาจำหน่ายส่งดังนี้
ข้าวหัก 5 % (ไม่บรรจุถุง) กิโลกรัมละ 11,600-11,700 เวียดนามด่ง

ข้าวหัก 15 % กิโลกรัมละ 11,000-11,100 เวียดนามด่ง

ข้าวหัก 25 % กิโลกรัมละ 10,500-10,600 เวียดนามด่ง

(อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท = 798 เวียดนามด่ง)
ทั้งนี้ ข้าวสารทุกชนิดมีราคาสูงขึ้นประมาณกิโลกรัมละ 100 เวียดนามด่ง ในสัปดาห์นี้

4. การส่งออก :
ปริมาณส่งออกในช่วงระหว่างวันที่ 1-17 พฤศจิกายน 2554 มีจำนวน 230,755 ตัน มูลค่า 127.975 ล้านเหรียญสหรัฐ แยกเป็น

- ข้าวหัก 5% - 10 % ปริมาณ 22,329 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.68 ของการส่งออกทั้งหมดในสัปดาห์นี้

- ข้าวหัก 15 % - 20 % ปริมาณ 172,870 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 74.91

- ข้าวหัก 25 % ปริมาณ 6,375 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.76

- ข้าวอื่นๆ ปริมาณ 16,205 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.02

- ข้าวเหนียว ปริมาณ 12,704 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.51

- ข้าวหักอื่นๆ ปริมาณ 272 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.12

สำหรับปริมาณส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 17 พฤศจิกายน 2554 มีจำนวน 6.550 ล้านตัน มูลค่า 3.186 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ตลาดส่งออกที่สำคัญ (1-17 พฤศจิกายน 2554)ได้แก่
ตลาดเอเชีย ปริมาณ 202,212 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 87.63

ตลาดอัฟริกา ปริมาณ 26,315 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.41

ตลาดยุโรป ปริมาณ 881 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.38

ตลาดอเมริกา ปริมาณ 668 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.29

ตลาดออสเตรเลีย ปริมาณ 679 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.39

5. สถานการณ์ข้าวในเวียดนาม/สถานการณ์ข้าวโลก :
5.1 หนังสือพิมพ์เวียดนามรายงานข่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปินส์ เปิดเผยว่า ในปี 2555 ฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นประเทศนำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลก อาจจะนำเข้าข้าวสารมากถึง 8 แสนตัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าจากเวียดนาม อย่างไรก็ตามฟิลิปปินส์จะเริ่มเสนอขอซื้อข้าวในเดือนธันวาคม 2554 หลังจากคณะกรรมการอาหารแห่งชาติเสร็จสิ้นการหารือที่คาดว่าจะมีขึ้นปลายเดือนพฤศจิกายน 2554 เกี่ยวกับจำนวนและขั้นตอนการนำเข้า ทั้งนี้ การนำเข้าจะมีขึ้นก่อนเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นช่วงที่ฟิลิปปินส์ขาดแคลนข้าวในประเทศ เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านและทำลายพื้นที่เพาะปลูกข้าว ทั้งนี้ ในปี2554 ฟิลิปปินส์ได้นำเข้าข้าวสารจำนวน 8.6 แสนตัน ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากเวียดนาม

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย
ที่มา: http://www.depthai.go.th

Re: ขอตามเรื่องเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อของ เวียดนาม

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 09, 2011 10:00 pm
โดย nuttium
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

Re: ขอตามเรื่องเศรษฐกิจ-เงินเฟ้อของ เวียดนาม

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 03, 2012 9:47 am
โดย pak
ฟูจิซีร็อกซ์ช้ำรัฐบุกซบเวียดนาม [ โพสต์ทูเดย์, 3 ธ.ค. 55 ]

รัฐบาลไทยเมินนักลงทุนต่างชาติ ฟูจิ ซีร๊อกซ์ หอบ 3,600 ล้านบาท หนีผุดโรงงานที่เวียดนาม

นายทาดาฮิโตะ ยามาโมโตะ ประธานบริษัท ฟูจิ ซีร๊อกซ์ ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เงื่อนไขของ
รัฐบาลไทยในการสนับสนุนและให้สิทธิพิเศษกับนักลงทุนต่างชาติไม่เป็นที่พอใจมากนัก หากเทียบกับประเทศ
เวียดนาม ส่งผลให้ทางบริษัทตัดสินใจเลือกประเทศเวียดนามในการตั้งโรงงานเพื่อรองรับการผลิตสินค้า
ของฟูจิ ซีร๊อกซ์ และกระจายไปยังภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด มูลค่าการลงทุน 9,000 ล้านเยน หรือประมาณ
3,600 ล้านบาท