ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม
โพสต์ที่ 1
"ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม" ยันภาวะน้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ ไม่กระทบราคาอสังหาฯ ย้อนสถิติน้ำท่วมใหญ่ในอดีต ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อบ้าน
บริษัท AREA เปิดเผยรายงานเรื่อง "ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม" ของ ดร.โสภณ พรโชคชัย กรรมการผู้จัดการ และประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย โดยระบุว่า ในขณะนี้เกิดพิบัติภัยน้ำท่วมกันในหลายจังหวัดทั่วประเทศ แต่ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย AREA ประเมินว่ามูลค่าของอสังหาริมทรัพย์คงไม่ลดลง ยกเว้นอาคารที่เสียหายเพราะน้ำท่วม
รายงานยังระบุว่า หากย้อนกลับไปดูสถิติน้ำท่วมที่ผ่านมา จะพบว่า ในเขตกรุงเทพมหานคร เคยมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่มาในรอบเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา โดยใน พ.ศ. 2526 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่นานนับเดือน ถนนวิภาวดีกลายเป็นคลอง และหลังเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นต้นมา ผู้ซื้อบ้านจึงเริ่มให้ความสนใจถึงปัญหานี้ว่าในชุมชนที่บ้านที่จะซื้อมีปัญหาน้ำท่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งหากมีอาจจะไม่ซื้อ ซึ่งยังผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดต่ำลงได้บ้าง แต่ก็แทบจะลืมไปแล้วในช่วงหลังๆ
ต่อมาในพ.ศ. 2537 เกิดปรากฏการณ์ "ฝนพันปี" ทำให้ถนนวิภาวดีรถติดเกือบ 6 ชั่วโมง แต่โดยที่เป็นช่วงสั้น ๆ จึงไม่เกิดปัญหา ปัญหาเกิดในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งน้ำท่วมสูงมาก จนหมู่บ้านไวท์เฮาส์ ย่านรังสิต ปทุมธานี น้ำท่วมถึงชั้นสองนานนับเดือน หมู่บ้านหรูย่านรังสิตของบริษัทมหาชนก็ยังถูกน้ำท่วมทั้งหมู่บ้านเพราะตั้งอยู่ติดคลองรังสิต ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงถึง 2.27 เมตร เท่ากับช่วงน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2485 แต่ยังดีที่น้ำไม่ท่วมพื้นที่เศรษฐกิจใจกลางเมืองเพราะมีการป้องกันดี
โดยในปีหลังๆ มา มีการก่อสร้างเขื่อนในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้เขตเมืองชั้นและชั้นกลางบางส่วนไม่ปัญหาน้ำท่วมมาเป็นเวลานาน เชื่อว่าในห้วงเวลาใดก็ตาม พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญคงไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม แต่ถ้าเกิดขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก สร้างความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมอย่างประเมินค่าไม่ได้ อย่างไรก็ตามในกรณีอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงช้า คงไม่มีผลต่อราคานัก เพราะเศรษฐกิจคงได้รับการเยียวยาก่อนที่จะส่งผลกระทบต่ออสังหาริมทรัพย์
อย่างไรก็ตาม ในกรณีต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกานั้น มีการจัดทำแผนที่น้ำท่วมกันมานานแล้ว ราคาบ้านในพื้นที่น้ำท่วม (ซ้ำซาก) อาจมีราคาที่ต่ำกว่าราคาบ้านแบบเดียวกันในพื้นที่ดอน ซึ่งตามความแตกต่างนี้อาจไม่มีนัยสำคัญมากนัก นอกจากนี้ ยังมีการซื้อประกันน้ำท่วมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านมีเงินเพียงพอในการซ่อมแซมบ้านให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้
โดยผลการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงราคาบ้านในนครนิวออลีนส์ มลรัฐหลุยเซียนา ซึ่งถูกน้ำท่วมใหญ่ในช่วงปี 2548 ที่ผ่านมาพบว่า ราคาเฉลี่ยของบ้านก็ยังเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ยกเว้นบ้านที่เสียหายเพราะปัญหาน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ราคาที่อยู่อาศัยในนครนี้กลับตกต่ำลงในช่วงเกิดวิกฤติการณ์ "แฮมเบอร์" เมื่อปี 2550 การนี้แสดงให้เห็นว่าภัยธรรมชาติ อาจทำให้ราคาที่อยู่อาศัย "ช็อค" ไปสั้นๆ ระยะหนึ่ง แต่ไม่ถึงขนาดทำให้ราคาที่ดินตก ซึ่งในประเทศไทยก็มีวิกฤติธรรมชาติเป็นระยะ ๆ แต่ก็ยังไม่เคยพบว่าราคาที่ดินตก ได้แก่
- พ.ศ. 2531 ภัยพิบัติกะทูน ซึ่งน้ำป่าจากภูเขาเหนือหมู่บ้านได้ซัดเอาดินโคลน หินและท่อนซุงขนาดใหญ่เข้าถล่มบ้านเรือนโดยมีประชาชนถึง 700 ชีวิตตายไป น้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่ ปี2543 ปี2548
- พ.ศ. 2543 น้ำท่วมใหญ่ในอำเภอหาดใหญ่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 35 ราย และทรัพย์สินเสียหายนับหมื่นล้านบาท แต่ก็ไม่ทำให้อสังหาริมทรัพย์หาดใหญ่มีมูลค่าลดลงในระยะยาว ยกเว้นการ "ช็อค" ในระยะสั้น ๆ
- พ.ศ. 2544 น้ำป่าถล่ม อ.วังชิ้น แพร่ มีผู้เสียชีวิต 23 ราย สูญหาย 16 คน บาดเจ็บ 58 คน บ้านเรือนหายไป 45 หลังคาเรือน แต่ปัจจุบันก็คงกลับสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ในปีเดียวกันก็ยังมีกรณี น้ำท่วม-ดินถล่มบ้านน้ำก้อ เพชรบูรณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 147 คน
- พ.ศ. 2548 เกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่เชียงใหม่ ตลาดวโรรส ตลาดลำไย ตลาดไนท์บาซาร์ระดับน้ำสูงร่วม 70 ซม. พื้นที่บางแห่งระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร แต่ก็ไม่ส่งผลต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ ยกเว้นที่เกิดปัญหาในระยะหลังเนื่องเพราะปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองที่ทำให้นักท่องเที่ยวน้อยลง ส่งผลโดยตรงต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ริมน้ำ หรือที่ลุ่มในช่วงนี้ที่ถูกน้ำท่วมหนัก และเป็นที่เกษตรกรรม มีไม้ยืนต้น ราคาที่ดินอาจต่ำลงไปได้มาก เช่น หากเป็นสวนลิ้นจี่ สวนยางพารา หรือสวนผลไม้อื่น และน้ำท่วมนาน ไม้ผลอาจเสียหายได้ ส่วนที่เป็นข้าว ความเสียหายก็คงเป็นปัญหาเศรษฐกิจของเจ้าของที่ดิน ไม่ได้มีผลต่อราคาที่ดินโดยตรง ยกเว้นเจ้าของที่ดินจำเป็นต้องขายที่ดินในราคาถูกเพื่อการใช้หนี้
ฝนตกและน้ำท่วมเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ และเป็นฤดูกาล ปกติในหน้าน้ำ ฝนตกอาจทำให้การซื้อขายที่ดินสามารถต่อรองราคาได้บ้าง ส่วนในหน้าแล้งหรือไม่มีฝนตก ราคาที่ดินก็อาจสูงกว่าปกติได้บ้าง ดังนั้นในการซื้อที่ดินชานเมืองหรือที่ดินชนบท จึงควรพิจารณาซื้อในช่วงน้ำท่วม เพื่อจะได้ทราบสภาพปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่
โดยสรุปแล้ว ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์จึงควรมีความรอบรู้ในการซื้อขาย อย่าให้ตกอยู่กับปริวิตกในห้วงเวลาเฉพาะหน้า และควรมีการวางแผนป้องกันน้ำท่วมเองโดยเฉพาะในกรณีที่ดินเกษตกรรมนอกเมือง หรือชุมชนบ้านจัดสรรขนาดใหญ่นอกเมือง เป็นต้น
บริษัท AREA เปิดเผยรายงานเรื่อง "ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม" ของ ดร.โสภณ พรโชคชัย กรรมการผู้จัดการ และประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย โดยระบุว่า ในขณะนี้เกิดพิบัติภัยน้ำท่วมกันในหลายจังหวัดทั่วประเทศ แต่ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย AREA ประเมินว่ามูลค่าของอสังหาริมทรัพย์คงไม่ลดลง ยกเว้นอาคารที่เสียหายเพราะน้ำท่วม
รายงานยังระบุว่า หากย้อนกลับไปดูสถิติน้ำท่วมที่ผ่านมา จะพบว่า ในเขตกรุงเทพมหานคร เคยมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่มาในรอบเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา โดยใน พ.ศ. 2526 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่นานนับเดือน ถนนวิภาวดีกลายเป็นคลอง และหลังเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นต้นมา ผู้ซื้อบ้านจึงเริ่มให้ความสนใจถึงปัญหานี้ว่าในชุมชนที่บ้านที่จะซื้อมีปัญหาน้ำท่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งหากมีอาจจะไม่ซื้อ ซึ่งยังผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดต่ำลงได้บ้าง แต่ก็แทบจะลืมไปแล้วในช่วงหลังๆ
ต่อมาในพ.ศ. 2537 เกิดปรากฏการณ์ "ฝนพันปี" ทำให้ถนนวิภาวดีรถติดเกือบ 6 ชั่วโมง แต่โดยที่เป็นช่วงสั้น ๆ จึงไม่เกิดปัญหา ปัญหาเกิดในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งน้ำท่วมสูงมาก จนหมู่บ้านไวท์เฮาส์ ย่านรังสิต ปทุมธานี น้ำท่วมถึงชั้นสองนานนับเดือน หมู่บ้านหรูย่านรังสิตของบริษัทมหาชนก็ยังถูกน้ำท่วมทั้งหมู่บ้านเพราะตั้งอยู่ติดคลองรังสิต ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงถึง 2.27 เมตร เท่ากับช่วงน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2485 แต่ยังดีที่น้ำไม่ท่วมพื้นที่เศรษฐกิจใจกลางเมืองเพราะมีการป้องกันดี
โดยในปีหลังๆ มา มีการก่อสร้างเขื่อนในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้เขตเมืองชั้นและชั้นกลางบางส่วนไม่ปัญหาน้ำท่วมมาเป็นเวลานาน เชื่อว่าในห้วงเวลาใดก็ตาม พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญคงไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม แต่ถ้าเกิดขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก สร้างความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมอย่างประเมินค่าไม่ได้ อย่างไรก็ตามในกรณีอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงช้า คงไม่มีผลต่อราคานัก เพราะเศรษฐกิจคงได้รับการเยียวยาก่อนที่จะส่งผลกระทบต่ออสังหาริมทรัพย์
อย่างไรก็ตาม ในกรณีต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกานั้น มีการจัดทำแผนที่น้ำท่วมกันมานานแล้ว ราคาบ้านในพื้นที่น้ำท่วม (ซ้ำซาก) อาจมีราคาที่ต่ำกว่าราคาบ้านแบบเดียวกันในพื้นที่ดอน ซึ่งตามความแตกต่างนี้อาจไม่มีนัยสำคัญมากนัก นอกจากนี้ ยังมีการซื้อประกันน้ำท่วมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านมีเงินเพียงพอในการซ่อมแซมบ้านให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้
โดยผลการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงราคาบ้านในนครนิวออลีนส์ มลรัฐหลุยเซียนา ซึ่งถูกน้ำท่วมใหญ่ในช่วงปี 2548 ที่ผ่านมาพบว่า ราคาเฉลี่ยของบ้านก็ยังเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ยกเว้นบ้านที่เสียหายเพราะปัญหาน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ราคาที่อยู่อาศัยในนครนี้กลับตกต่ำลงในช่วงเกิดวิกฤติการณ์ "แฮมเบอร์" เมื่อปี 2550 การนี้แสดงให้เห็นว่าภัยธรรมชาติ อาจทำให้ราคาที่อยู่อาศัย "ช็อค" ไปสั้นๆ ระยะหนึ่ง แต่ไม่ถึงขนาดทำให้ราคาที่ดินตก ซึ่งในประเทศไทยก็มีวิกฤติธรรมชาติเป็นระยะ ๆ แต่ก็ยังไม่เคยพบว่าราคาที่ดินตก ได้แก่
- พ.ศ. 2531 ภัยพิบัติกะทูน ซึ่งน้ำป่าจากภูเขาเหนือหมู่บ้านได้ซัดเอาดินโคลน หินและท่อนซุงขนาดใหญ่เข้าถล่มบ้านเรือนโดยมีประชาชนถึง 700 ชีวิตตายไป น้ำท่วมอำเภอหาดใหญ่ ปี2543 ปี2548
- พ.ศ. 2543 น้ำท่วมใหญ่ในอำเภอหาดใหญ่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 35 ราย และทรัพย์สินเสียหายนับหมื่นล้านบาท แต่ก็ไม่ทำให้อสังหาริมทรัพย์หาดใหญ่มีมูลค่าลดลงในระยะยาว ยกเว้นการ "ช็อค" ในระยะสั้น ๆ
- พ.ศ. 2544 น้ำป่าถล่ม อ.วังชิ้น แพร่ มีผู้เสียชีวิต 23 ราย สูญหาย 16 คน บาดเจ็บ 58 คน บ้านเรือนหายไป 45 หลังคาเรือน แต่ปัจจุบันก็คงกลับสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ในปีเดียวกันก็ยังมีกรณี น้ำท่วม-ดินถล่มบ้านน้ำก้อ เพชรบูรณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 147 คน
- พ.ศ. 2548 เกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่เชียงใหม่ ตลาดวโรรส ตลาดลำไย ตลาดไนท์บาซาร์ระดับน้ำสูงร่วม 70 ซม. พื้นที่บางแห่งระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร แต่ก็ไม่ส่งผลต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ ยกเว้นที่เกิดปัญหาในระยะหลังเนื่องเพราะปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองที่ทำให้นักท่องเที่ยวน้อยลง ส่งผลโดยตรงต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ริมน้ำ หรือที่ลุ่มในช่วงนี้ที่ถูกน้ำท่วมหนัก และเป็นที่เกษตรกรรม มีไม้ยืนต้น ราคาที่ดินอาจต่ำลงไปได้มาก เช่น หากเป็นสวนลิ้นจี่ สวนยางพารา หรือสวนผลไม้อื่น และน้ำท่วมนาน ไม้ผลอาจเสียหายได้ ส่วนที่เป็นข้าว ความเสียหายก็คงเป็นปัญหาเศรษฐกิจของเจ้าของที่ดิน ไม่ได้มีผลต่อราคาที่ดินโดยตรง ยกเว้นเจ้าของที่ดินจำเป็นต้องขายที่ดินในราคาถูกเพื่อการใช้หนี้
ฝนตกและน้ำท่วมเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ และเป็นฤดูกาล ปกติในหน้าน้ำ ฝนตกอาจทำให้การซื้อขายที่ดินสามารถต่อรองราคาได้บ้าง ส่วนในหน้าแล้งหรือไม่มีฝนตก ราคาที่ดินก็อาจสูงกว่าปกติได้บ้าง ดังนั้นในการซื้อที่ดินชานเมืองหรือที่ดินชนบท จึงควรพิจารณาซื้อในช่วงน้ำท่วม เพื่อจะได้ทราบสภาพปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่
โดยสรุปแล้ว ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์จึงควรมีความรอบรู้ในการซื้อขาย อย่าให้ตกอยู่กับปริวิตกในห้วงเวลาเฉพาะหน้า และควรมีการวางแผนป้องกันน้ำท่วมเองโดยเฉพาะในกรณีที่ดินเกษตกรรมนอกเมือง หรือชุมชนบ้านจัดสรรขนาดใหญ่นอกเมือง เป็นต้น
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม
โพสต์ที่ 2
ราคาไม่ลด แต่ไม่มีคนซื้อ
ต้องลดราคาลงมาหรือแถมอะไรมากๆ คนถึงซื้อ
พร้อม มาตรการ กันน้ำท่วมในอนาคตด้วย
พื้นฐาน อสังหาแถว กทม และปริมณฑล เปลี่ยนไปหมดเลย
ต้องลดราคาลงมาหรือแถมอะไรมากๆ คนถึงซื้อ
พร้อม มาตรการ กันน้ำท่วมในอนาคตด้วย
พื้นฐาน อสังหาแถว กทม และปริมณฑล เปลี่ยนไปหมดเลย
- << New >>
- Verified User
- โพสต์: 1147
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม
โพสต์ที่ 3
อยากรู้ว่าลดไม่ลดก็ลองถามคนหาดใหญ่ดู ปีที่แล้วท่วมมิดเต็มชั้น
พอเวลาผ่านไป เค้าขายของกันตามปกติหรือว่าลดราคาขายที่ขายบ้านทิ้ง.....
ไม่นานมานี้แผ่นดินไหว ทุกคนกลัวตึกสูง กลัวคอนโด ราคาคอนโดตอนนั้นลดรึเปล่า
ตอนนี้น้ำท่วม คนกลับกลัวแนวราบอยากอยู่คอนโด.... ไม่ค่อยมีใครพูดถึงแผ่นดินไหวกัน
พอเวลาผ่านไป เค้าขายของกันตามปกติหรือว่าลดราคาขายที่ขายบ้านทิ้ง.....
ไม่นานมานี้แผ่นดินไหว ทุกคนกลัวตึกสูง กลัวคอนโด ราคาคอนโดตอนนั้นลดรึเปล่า
ตอนนี้น้ำท่วม คนกลับกลัวแนวราบอยากอยู่คอนโด.... ไม่ค่อยมีใครพูดถึงแผ่นดินไหวกัน
อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม
โพสต์ที่ 4
ผมว่านะ ถ้าคนอพยพออกไปนอกกรุงเทพที่อื่น
ราคามันยังไงมันก็มีตก แต่มันก็ต้องมีจังหวัดอื่นที่ราคาแพงขึ้น
ที่ไหนละครับ เขาว่าราคาไม่ตกก็จริง ใครจะว่าของตัวเองราคาตกละครับ
แต่ต้องไปดูละครับ บริษัทอสังหาเขาไปซื้อที่ที่ไหนไว้นอกจากกรุงเทพจากนี้ไปครับ
แถวอีสาน ราคาน่าเป้นตัววัดได้ดีครับ
ท่วมอีกสักปีสองปีติดกัน
เขาอาจจะพูดอีกอย่างก็ได้ครับ
หรือ ไม่ผมก็พุดอีกอย่างก็ได้ครับ
อะไรมันก็ไม่แน่นอนละครับตอนนี้
มั่วๆ ไปครับ
ราคามันยังไงมันก็มีตก แต่มันก็ต้องมีจังหวัดอื่นที่ราคาแพงขึ้น
ที่ไหนละครับ เขาว่าราคาไม่ตกก็จริง ใครจะว่าของตัวเองราคาตกละครับ
แต่ต้องไปดูละครับ บริษัทอสังหาเขาไปซื้อที่ที่ไหนไว้นอกจากกรุงเทพจากนี้ไปครับ
แถวอีสาน ราคาน่าเป้นตัววัดได้ดีครับ
ท่วมอีกสักปีสองปีติดกัน
เขาอาจจะพูดอีกอย่างก็ได้ครับ
หรือ ไม่ผมก็พุดอีกอย่างก็ได้ครับ
อะไรมันก็ไม่แน่นอนละครับตอนนี้
มั่วๆ ไปครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม
โพสต์ที่ 5
ผมอ่านแล้วขัดๆชอบกลนะครับ บอกว่าไม่กระทบราคาแต่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้าน ซึ่งถ้าส่งต่อการเลือกซื้อจริงๆมันก้อหนีไม่ผลกระทบต่อราคาบ้านและที่ดินที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมมากกว่าพื้นที่ที่เสี่ยงน้อยอยู่แล้ว อย่างโครงการเล็กๆที่ครอบครัวผมไปทำที่ศรีราชาที่ปลายปีที่แล้ว(หรือต้นปีนี้ ผมจำไม่ได้แน่นอน) หลายๆโครงการน้ำท่วมหนักจนบางคนยอมทิ้วเงินจอง เงินดาวน์มาซื้อโครงการที่บ้านผมก้อมีเพราะบังเอิญโชคดีที่ที่ดินโครงการบ้านผมอยู่บนเนินสูงกว่าชาวบ้านเค้า
ส่วนตัวผมเชื่อว่ากระทบแน่นอนครับโดยเฉพาะฝั่งธนที่อ่วมอยู่ตอนนี้
ส่วนตัวผมเชื่อว่ากระทบแน่นอนครับโดยเฉพาะฝั่งธนที่อ่วมอยู่ตอนนี้
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม
โพสต์ที่ 6
ตอนนี้อยู่ในช่วงตกใจ หรือ panic กัน เลยตื่นกันใหญ่ กลัวว่าราคาอสังหาติดดินจะขายไม่ออก
(สมใจ พ่อหนุ่มหล่อล่ำบึ๊ก )
ความรู้สึกตอนน้ำท่วมตอนทุกข์ใจ ภาพคนขนของหนีน้ำ คนจะตื่นเต้น
แต่เชื่อเถอะ ถัดไปไม่กี่ปี ก็จะลืม
เพราะน้ำไม่ได้ท่วมทุกปีหนักเหมือนกันแบบนี้
ตัวอย่างเช่น ที่เห็นในวีดีโอ น้ำท่วม 2485
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=14&t=50287
แล้ว 2486, 87, 88,...ถัดมามันก็ไม่ได้ท่วมทุกปี
กว่าจะมาอีกที ก็ 2526, 2537 อย่างที่ดร.โสภณ AREA บอกข้างบน
เหมือนตอนดินถล่มลับแลอุตรดิตถ์
คนตายโคลนถล่ม...ไม่ใช่สิ โคลนถล่มก่อนแล้วถึงมีคนตาย
แล้วจากนั้นไปติดตั้งเครื่องเตือนภัย
ตอนนี้ ลืมกันไปแล้ว
เครื่องไม่ทำงานอีกต่างหาก ลงข่้าวเมื่อเดือนที่แล้ว
เหมือนตอนสึนามิ
ซ้อมเตือนภัยกันยกใหญ่
ตอนนี้ลืมไปแล้ว
ตอนแผ่นดินไหว กระเทือนถึงกทม.
ยิ่งเห็นตัวอย่างเสฉวน
ปีนั้นมาเข้มงวดเรื่องความแข็งแรงอาคารกันยกใหญ่
ปีนี้ลืมไปแล้ว
ต้องรอให้มีกระเทือนอีกครั้งในกทม. มีตึกถล่มหรือมีคนตายถึงจะมาเข้มกันอีกรอบ
บางคนอาจไม่เชื่อ แต่ลองดูเหตุการณ์ที่ผมยกตัวอย่างมา
แต่เดี๋ยวปีหน้า ก็มีเรื่องอื่นให้ panic แล้วคนก็จะลืมเรื่องนี้ไป หันมาสนใจเรื่องใหม่แทน
ลอง save หรือ bookmark กระทู้นี้นะครับ แล้วปีหรือสองปีข้างหน้ากลับมาดูอีก ว่าจะเป็นอย่างที่ผมว่าหรือเปล่า
ไม่ได้พูดให้ทำเฉยๆ ต่อน้ำท่วมที่เกิดขึ้น แต่ชวนกันมีสติกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ผมยังนึกถึงการที่มีคนเคยเสนอย้ายเมืิองหลวงด้วยซ้ำ ผมว่ามีโครงการนี้ก็ดี
มันคงไม่ได้หมายถึงขุดอาคารที่ตั้งอยู่ ย้ายไปที่ใหม่เลย
แต่กระจายหน่วยงานของรัฐของประเทศ ออกไปเมืองที่ชัยภูมิมั่นคงกว่านี้ เพราะไม่มีความจำเป็นแบบโบราณแล้ว ที่ตั้งเมืองใกล้น้ำ เพราะการสัญจรทางน้ำและใช้คูเมืองน้ำล้อมรอบป้องกันข้าศึก แต่ปัจจุบันเชื่อมโยงด้วยถนนดีๆ หรือรถไฟความเร็วสูงได้
กรุงเทพ ก็ยังเป็นกรุงเทพอยู่ แต่ลดความสำคัญลงบ้าง ให้เป็นเหมือนเชียงใหม่ โคราช สงขลา
ปล. 1. ณ เวลานี้ ผมไม่มีและตั้งแต่ลงทุนในหุ้นมา ไม่เคยมีหุ้นบ้านหรือคอนโดในมือแม้แต่หุ้นเดียว ไม่มี bias
แต่ panic กันเยอะๆ...ไม่แน่
ปล. 2. อย่้าว่าผมแช่ง ....กทม. ยังไม่เคยเจอแผ่นดินไหวเหมือนเสฉวน... ไม่เกิดถือว่าเป็นความโชคดี
ถ้ามันเกิดไม่เช้มงวดเหมือนที่ตอนเหตุการณ์สดๆ มันจะหนักหนาสาหัส..
ที่กลัวคือ น้ำท่วมกทม. และจังหวัดใหญ่ๆ นี่เหมืิอนกัน เวลานี้เดืิอดร้อนกัน จึงจริงจังกัน
กลัวว่าหลังน้ำลด ที่ตอนนี้ วางแผนจะแก้โน่้นแก้นี่ แล้วจะลืมกัน ...ช่วยๆ กันเตือนความจำด้วย
(สมใจ พ่อหนุ่มหล่อล่ำบึ๊ก )
ความรู้สึกตอนน้ำท่วมตอนทุกข์ใจ ภาพคนขนของหนีน้ำ คนจะตื่นเต้น
แต่เชื่อเถอะ ถัดไปไม่กี่ปี ก็จะลืม
เพราะน้ำไม่ได้ท่วมทุกปีหนักเหมือนกันแบบนี้
ตัวอย่างเช่น ที่เห็นในวีดีโอ น้ำท่วม 2485
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=14&t=50287
แล้ว 2486, 87, 88,...ถัดมามันก็ไม่ได้ท่วมทุกปี
กว่าจะมาอีกที ก็ 2526, 2537 อย่างที่ดร.โสภณ AREA บอกข้างบน
เหมือนตอนดินถล่มลับแลอุตรดิตถ์
คนตายโคลนถล่ม...ไม่ใช่สิ โคลนถล่มก่อนแล้วถึงมีคนตาย
แล้วจากนั้นไปติดตั้งเครื่องเตือนภัย
ตอนนี้ ลืมกันไปแล้ว
เครื่องไม่ทำงานอีกต่างหาก ลงข่้าวเมื่อเดือนที่แล้ว
เหมือนตอนสึนามิ
ซ้อมเตือนภัยกันยกใหญ่
ตอนนี้ลืมไปแล้ว
ตอนแผ่นดินไหว กระเทือนถึงกทม.
ยิ่งเห็นตัวอย่างเสฉวน
ปีนั้นมาเข้มงวดเรื่องความแข็งแรงอาคารกันยกใหญ่
ปีนี้ลืมไปแล้ว
ต้องรอให้มีกระเทือนอีกครั้งในกทม. มีตึกถล่มหรือมีคนตายถึงจะมาเข้มกันอีกรอบ
บางคนอาจไม่เชื่อ แต่ลองดูเหตุการณ์ที่ผมยกตัวอย่างมา
แต่เดี๋ยวปีหน้า ก็มีเรื่องอื่นให้ panic แล้วคนก็จะลืมเรื่องนี้ไป หันมาสนใจเรื่องใหม่แทน
ลอง save หรือ bookmark กระทู้นี้นะครับ แล้วปีหรือสองปีข้างหน้ากลับมาดูอีก ว่าจะเป็นอย่างที่ผมว่าหรือเปล่า
ไม่ได้พูดให้ทำเฉยๆ ต่อน้ำท่วมที่เกิดขึ้น แต่ชวนกันมีสติกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ผมยังนึกถึงการที่มีคนเคยเสนอย้ายเมืิองหลวงด้วยซ้ำ ผมว่ามีโครงการนี้ก็ดี
มันคงไม่ได้หมายถึงขุดอาคารที่ตั้งอยู่ ย้ายไปที่ใหม่เลย
แต่กระจายหน่วยงานของรัฐของประเทศ ออกไปเมืองที่ชัยภูมิมั่นคงกว่านี้ เพราะไม่มีความจำเป็นแบบโบราณแล้ว ที่ตั้งเมืองใกล้น้ำ เพราะการสัญจรทางน้ำและใช้คูเมืองน้ำล้อมรอบป้องกันข้าศึก แต่ปัจจุบันเชื่อมโยงด้วยถนนดีๆ หรือรถไฟความเร็วสูงได้
กรุงเทพ ก็ยังเป็นกรุงเทพอยู่ แต่ลดความสำคัญลงบ้าง ให้เป็นเหมือนเชียงใหม่ โคราช สงขลา
ปล. 1. ณ เวลานี้ ผมไม่มีและตั้งแต่ลงทุนในหุ้นมา ไม่เคยมีหุ้นบ้านหรือคอนโดในมือแม้แต่หุ้นเดียว ไม่มี bias
แต่ panic กันเยอะๆ...ไม่แน่
ปล. 2. อย่้าว่าผมแช่ง ....กทม. ยังไม่เคยเจอแผ่นดินไหวเหมือนเสฉวน... ไม่เกิดถือว่าเป็นความโชคดี
ถ้ามันเกิดไม่เช้มงวดเหมือนที่ตอนเหตุการณ์สดๆ มันจะหนักหนาสาหัส..
ที่กลัวคือ น้ำท่วมกทม. และจังหวัดใหญ่ๆ นี่เหมืิอนกัน เวลานี้เดืิอดร้อนกัน จึงจริงจังกัน
กลัวว่าหลังน้ำลด ที่ตอนนี้ วางแผนจะแก้โน่้นแก้นี่ แล้วจะลืมกัน ...ช่วยๆ กันเตือนความจำด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม
โพสต์ที่ 7
ต่างกันนะครับ<< New >> เขียน:อยากรู้ว่าลดไม่ลดก็ลองถามคนหาดใหญ่ดู ปีที่แล้วท่วมมิดเต็มชั้น
พอเวลาผ่านไป เค้าขายของกันตามปกติหรือว่าลดราคาขายที่ขายบ้านทิ้ง.....
ไม่นานมานี้แผ่นดินไหว ทุกคนกลัวตึกสูง กลัวคอนโด ราคาคอนโดตอนนั้นลดรึเปล่า
ตอนนี้น้ำท่วม คนกลับกลัวแนวราบอยากอยู่คอนโด.... ไม่ค่อยมีใครพูดถึงแผ่นดินไหวกัน
ตรงหาดใหญ่พื้นที่ ที่ท่วมเป็นเขตธุรกิจ อย่างสาทร ถ้าท่วมกันเค้าจะย้ายรึเปล่าครับ
อีกอย่างเค้าทำประกันไว้ด้วยครับ
แต่อสังหาที่บอกว่ากระทบนี่ เป็นที่อยู่อาศัยครับ
ส่วน condo นี่
อาคารที่สร้างใหม่ มีการออกแบบไว้ต้านทานแผ่นดินไหวครับ ตามกฎกระทรวงปี 2550
ทำให้ตัวอาคารมีความเหนียว แต่บอกตรงๆ ว่ากันไม่ได้มากหรอกครับ ยิ่ง กทม ชั้นดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว
อีกอย่าง คนทั่วไป เมื่อบอกว่า ออกแบบไว้กันแล้ว จะไม่กังวล
แต่ในรายละเอียดไม่ได้บอกว่ากันได้เท่าไหร่ คนออกแบบเท่านั้นที่ทราบครับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดแม้น้ำท่วม
โพสต์ที่ 8
http://kelive2.kimeng.co.th/KimEng/serv ... g=2&more=1
pdf
http://kelive2.kimeng.co.th/KimEng/serv ... 669&lang=2
02 Nov 10:55 AM
KELIVE_ALERT -กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (ที่อยู่อาศัย) : ทิศทางการลงทุนใน 4Q54
Email PDF (209kb)
Research by: Termporn Tantivivat
KELIVE_ALERT -กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (ที่อยู่อาศัย) : ทิศทางการลงทุนใน 4Q54
Update ตัวเลขยอด Presale ของกลุ่มที่อยู่อาศัยในรอบ 9M11 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการเกิดอุทกภัย ซึ่งทั้ง 8 บริษัทที่เราทำการศึกษาอยู่มียอดรวมเท่ากับ 106,121 ล้านบาท
หากมองในกรณีที่แย่สุดคือทั้งกลุ่มไม่มียอดขายเลยใน 4Q54 จะทำให้ยอดทั้งปี ลดลงประมาณ 26% โดยตอนนี้เราประเมินว่าบริษัทที่มีความเป็นไปได้สูงที่ยอดขายได้จะไม่ถึงเป้า เช่น LH / PS / SIRI
ใน 4Q54 หลายผู้ประกอบการจะเลื่อนการเปิดโครงการใหม่ออกไป เช่น SPALI จะไม่มีการเปิดขายแนวราบเลยจะคงไว้แต่โครงการคอนโดมิเนียม ขณะที่ LPN มีการเลื่อนการเปิดโครงการที่พัทยาอย่างเป็นทางการออกไปจากที่ตอนต้นเดือนได้ให้ Pre-booking ไปแล้ว
4Q54 คาดผลประกอบการจะอ่อนแอทั้งกลุ่ม : เราคาดว่าใน 4Q54 กลุ่มที่อยู่อาศัยจะมีรายได้อ่อนตัว ทั้งจากยอดขายที่ลดลง การโอนกรรมสิทธิ์และความเสี่ยงที่ไม่อาจจะเกิดได้ถึงแม้จะมี Backlog รองรับ รวมทั้งความเสี่ยงของการถูกยกเลิกยอดขาย ขณะที่ค่าใช้จ่ายจะยังสูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายพิเศษของการป้องกันและซ่อมแซมโครงการจากอุทกภัยซึ่งจะทำให้กำไรสุทธิถูกกดดันอย่างมาก สำหรับ
กลยุทธ์การลงทุนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย เราแนะนำ ให้แค่เก็งกำไรระยะสั้นในช่วงที่จะมีการประกาศงบของ 3Q54 ซึ่งเป็นไตรมาสที่ผลประกอบการโดยส่วนใหญ่เติบโตเมื่อเปรียบเทียบกับ 2Q54 และให้ระมัดระวังการลงทุนหลังจากนั้น เนื่องจากใน 4Q54 ผลประกอบการจะถูกกดดันจากปัจจัยที่กล่าวมาเบื้องต้น
สำหรับปี 2555 เราประเมินว่ากว่าที่อุปสงค์จะเริ่มฟื้นตัวคือช่วงปลาย 1Q55 ถึงต้น 2Q55 แต่คาดผู้บริโภค จะเริ่มมีความระมัดระวังมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยและเลือกโซนหรือสถานที่ตั้งโครงการ หรือบางกลุ่มอาจจะเลือกที่จะซื้อห้องชุดคอนโดมิเนียมแทนการซื้อบ้านในพื้นที่ที่รอบนอกกรุงเทพฯ
ผู้ประกอบการในปี 2555 ยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยลบของต้นทุนทีเพิ่มขึ้นจากวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง และค่าส่งเสริมการขาย ขณะที่ปัจจัยบวกมีเพียงการลดหย่อนภาษีนิติบุคคลซึ่งหากการลดหย่อนถูกเลื่อนไปเป็นปี 2556 จะทำให้กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น
สำหรับนักลงทุนระยะยาว เรายังคงชอบ LPN / SPALI เนื่องจากเป็นหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลเฉลี่ยที่ระดับ 5 – 6 % ต่อปีปีละ 2 ครั้งและเราเชื่อว่าบริษัทจะสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะส่งผลกระทบต่อกำไรไม่มาก
Presale Sector
2009 2010 9M11 Target 2011F Growth YoY Recommendation Fair Price 2012
QH 13,492 13,296 10,200 11,000 -17% HOLD 1.63
LPN 12,410 15,393 9,305 14,000 -9% BUY 12.5
SPALI 12,410 13,885 12,128 17,000 22% BUY 16.6
SIRI 13,964 24,995 17,668 26,000 4% SELL 1.23
PS 22,775 38,500 25,318 34,000 -12% Fully-Valued 15
AP 16,530 17,540 12,019 20,000 14% BUY 6.5
LH 16,321 20,000 15,933 25,000 25% HOLD 6.8
RAIMON* 1,641 4,077 3,550 4,500 10% BUY 1.8
107,902 143,609 106,121 151,500 5%
Source : Company Report and Kelive
*ประมาณการ
Revenue Comparison for 6M11
Revenue from Low-Rise Revenue from Low-Rise
QH 8% 88%
LPN 0% 100%
SPALI* 35% 65%
SIRI 60% 40%
PS 86% 14%
AP 55% 45%
LH 12% 88%
RAIMON 0% 100%
Source : Company Report and Kelive *As of 9M11
http://kelive2.kimeng.co.th/KimEng/serv ... 669&lang=2
02 Nov 10:55 AM
KELIVE_ALERT -กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (ที่อยู่อาศัย) : ทิศทางการลงทุนใน 4Q54
Email PDF (209kb)
Research by: Termporn Tantivivat
KELIVE_ALERT -กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (ที่อยู่อาศัย) : ทิศทางการลงทุนใน 4Q54
Update ตัวเลขยอด Presale ของกลุ่มที่อยู่อาศัยในรอบ 9M11 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการเกิดอุทกภัย ซึ่งทั้ง 8 บริษัทที่เราทำการศึกษาอยู่มียอดรวมเท่ากับ 106,121 ล้านบาท
หากมองในกรณีที่แย่สุดคือทั้งกลุ่มไม่มียอดขายเลยใน 4Q54 จะทำให้ยอดทั้งปี ลดลงประมาณ 26% โดยตอนนี้เราประเมินว่าบริษัทที่มีความเป็นไปได้สูงที่ยอดขายได้จะไม่ถึงเป้า เช่น LH / PS / SIRI
ใน 4Q54 หลายผู้ประกอบการจะเลื่อนการเปิดโครงการใหม่ออกไป เช่น SPALI จะไม่มีการเปิดขายแนวราบเลยจะคงไว้แต่โครงการคอนโดมิเนียม ขณะที่ LPN มีการเลื่อนการเปิดโครงการที่พัทยาอย่างเป็นทางการออกไปจากที่ตอนต้นเดือนได้ให้ Pre-booking ไปแล้ว
4Q54 คาดผลประกอบการจะอ่อนแอทั้งกลุ่ม : เราคาดว่าใน 4Q54 กลุ่มที่อยู่อาศัยจะมีรายได้อ่อนตัว ทั้งจากยอดขายที่ลดลง การโอนกรรมสิทธิ์และความเสี่ยงที่ไม่อาจจะเกิดได้ถึงแม้จะมี Backlog รองรับ รวมทั้งความเสี่ยงของการถูกยกเลิกยอดขาย ขณะที่ค่าใช้จ่ายจะยังสูงขึ้นจากค่าใช้จ่ายพิเศษของการป้องกันและซ่อมแซมโครงการจากอุทกภัยซึ่งจะทำให้กำไรสุทธิถูกกดดันอย่างมาก สำหรับ
กลยุทธ์การลงทุนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย เราแนะนำ ให้แค่เก็งกำไรระยะสั้นในช่วงที่จะมีการประกาศงบของ 3Q54 ซึ่งเป็นไตรมาสที่ผลประกอบการโดยส่วนใหญ่เติบโตเมื่อเปรียบเทียบกับ 2Q54 และให้ระมัดระวังการลงทุนหลังจากนั้น เนื่องจากใน 4Q54 ผลประกอบการจะถูกกดดันจากปัจจัยที่กล่าวมาเบื้องต้น
สำหรับปี 2555 เราประเมินว่ากว่าที่อุปสงค์จะเริ่มฟื้นตัวคือช่วงปลาย 1Q55 ถึงต้น 2Q55 แต่คาดผู้บริโภค จะเริ่มมีความระมัดระวังมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยและเลือกโซนหรือสถานที่ตั้งโครงการ หรือบางกลุ่มอาจจะเลือกที่จะซื้อห้องชุดคอนโดมิเนียมแทนการซื้อบ้านในพื้นที่ที่รอบนอกกรุงเทพฯ
ผู้ประกอบการในปี 2555 ยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยลบของต้นทุนทีเพิ่มขึ้นจากวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง และค่าส่งเสริมการขาย ขณะที่ปัจจัยบวกมีเพียงการลดหย่อนภาษีนิติบุคคลซึ่งหากการลดหย่อนถูกเลื่อนไปเป็นปี 2556 จะทำให้กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น
สำหรับนักลงทุนระยะยาว เรายังคงชอบ LPN / SPALI เนื่องจากเป็นหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลเฉลี่ยที่ระดับ 5 – 6 % ต่อปีปีละ 2 ครั้งและเราเชื่อว่าบริษัทจะสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะส่งผลกระทบต่อกำไรไม่มาก
Presale Sector
2009 2010 9M11 Target 2011F Growth YoY Recommendation Fair Price 2012
QH 13,492 13,296 10,200 11,000 -17% HOLD 1.63
LPN 12,410 15,393 9,305 14,000 -9% BUY 12.5
SPALI 12,410 13,885 12,128 17,000 22% BUY 16.6
SIRI 13,964 24,995 17,668 26,000 4% SELL 1.23
PS 22,775 38,500 25,318 34,000 -12% Fully-Valued 15
AP 16,530 17,540 12,019 20,000 14% BUY 6.5
LH 16,321 20,000 15,933 25,000 25% HOLD 6.8
RAIMON* 1,641 4,077 3,550 4,500 10% BUY 1.8
107,902 143,609 106,121 151,500 5%
Source : Company Report and Kelive
*ประมาณการ
Revenue Comparison for 6M11
Revenue from Low-Rise Revenue from Low-Rise
QH 8% 88%
LPN 0% 100%
SPALI* 35% 65%
SIRI 60% 40%
PS 86% 14%
AP 55% 45%
LH 12% 88%
RAIMON 0% 100%
Source : Company Report and Kelive *As of 9M11