Tragedy of the Commons โดย : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 30, 2011 9:38 am
Tragedy of the Commons
โดย : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
ชาร์ล ดาร์วิน เป็นผู้ที่สังเกตเห็นว่า สิ่งมีชีวิตอาศัยการคัดเลือกตามธรรมชาติในการดำรงเผ่าพันธุ์อันเป็นกลไกพื้นฐานของวิวัฒนาการ ทุกชีวิตต่างต้องดิ้นรนเอาตัวรอดเพื่อให้เกิดการคัดเลือกนี้ สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดได้จะขยายจำนวนขึ้น ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะลดจำนวนลงจนสูญพันธุ์ไปในที่สุด
ระบบเศรษฐกิจก็มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน การแข่งขันกันระหว่างผู้ประกอบการเป็นกลไกที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพ บริษัทที่ผลิตสินค้าได้ดีกว่าหรือถูกกว่าก็จะได้รับการต้อนรับจากลูกค้า ในขณะที่บริษัทที่ขาดประสิทธิภาพก็จะแข่งขันไม่ได้ และค่อยๆ ล้มหายตายจากไปเอง
เราอาจรู้สึกไม่ชอบการแข่งขัน เพราะฟังดิ้นรนและโหดร้าย แต่วิทยาศาสตร์รวมทั้งเศรษฐศาสตร์ต่างมองการแข่งขันในแง่ดีว่าเป็นกลไกพื้นฐานของธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม Garrett Hardin นักนิเวศวิทยาชาวอเมริกันคนหนึ่ง ได้เสนอแนวคิดว่า ในภาวะแวดล้อมที่แต่ละคนต่างแย่งชิงทรัพยากรกันแบบต่างคนต่างคิดนั้น การแข่งขันจะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรโดยขาดประสิทธิภาพโดยที่ทุกคนก็มองเห็นผลเสียในระยะยาวนี้ได้อย่างชัดเจนแต่ก็จะไม่มีใครทำอะไรได้ ถือเป็นแนวคิดหนึ่งที่มองด้านลบของการแข่งขัน ซึ่ง Hardin ตั้งชื่อมันว่า Tragedy of the Commons
ตัวอย่างของ Tragedy of the Commons ได้แก่ การที่ทะเลสาบเป็นสาธารณสมบัติของชุมชนที่ใครๆ ในชุมชนก็สามารถจับปลาได้โดยไม่จำกัด ทุกคนจะแย่งกันจับปลาในปริมาณที่มากเสียจนถึงจุดที่ปลาไม่สามารถวางไข่ได้ทันและทำให้ปลาในทะเลสาบลดลงอย่างถาวร แล้วชุมชนก็จะไม่มีปลาให้จับอีก ชาวบ้านทุกคนเข้าใจเรื่องนี้ดี แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ เพราะใครๆ ก็มีสิทธิจับปลาได้ไม่จำกัด
แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่าทำไมจึงควรให้ทรัพยากรทุกอย่างมีเจ้าของที่ชัดเจนแทนที่จะปล่อยให้เป็นของสาธารณะ เพื่อมิให้เกิดการแข่งขันแบบทำลาย ตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เรื่อง Property Rights และแนวคิดนี้ยังอธิบายได้ด้วยทฤษฎีเกมว่าเป็น เกมแห่งความลำบากใจของจำเลย (Prisoners' Dilemma) อย่างหนึ่งที่ผู้เล่นทุกคนรู้ว่าทางเลือกที่ให้ประโยชน์แก่ตนเองมากที่สุดคือทางเลือกที่ทำให้ทุกคนได้ผลตอบแทนน้อยลง แต่ทุกคนก็จำเป็นต้องเลือกทางเลือกอย่างนั้น เพราะไม่มีใครอยากเสียเปรียบ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งมีการมอบรางวัลโนเบลให้แก่ Elinor Ostrom นักเศรษฐศาสตร์ผู้ที่คัดค้านแนวคิดเรื่อง Tragedy of the Commons โดยแสดงให้เห็นว่ามีชุมชนทางการเกษตรหลายแห่ง ที่สามารถจัดการให้ทรัพยากรที่เป็นของส่วนรวมดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยที่ยังปล่อยให้เป็นสาธารณสมบัติของส่วนรวมอยู่ ชุมชนเหล่านี้อาศัยการกดดันกันเองทางสังคม
ทางออกอีกอย่างหนึ่งของ Tragedy of the Commons คือการออกกฎเกณฑ์บางอย่างเพื่อห้ามไม่ให้เกิดการแข่งขัน เมื่อเราเห็นว่าการแข่งขันนั้นอาจทำให้เกิดผลเสียสุทธิต่อทุกคนได้ ตัวอย่างเช่น การแข่งขันที่มากเกินไปของบรรดาซูเปอร์สโตร์ต่างๆ เช่นในยุคหนึ่งที่แข่งขันกันมากถึงขนาดแข่งกันเปิด 24 ชม. ซึ่งอาจเป็นการแข่งขันที่ใช้ทรัพยากรมากเกินไป เพราะยอดขายในช่วงหลังเที่ยงคืนอาจน้อยมาก เมื่อเทียบกับไฟฟ้าและแรงงานคนล่วงเวลาที่ต้องใช้ ถ้ามีเจ้าหนึ่งคิดทำเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด เจ้าอื่นก็จำเป็นต้องทำตามเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ให้มากที่สุด สุดท้ายแล้วทุกเจ้าก็ต้องเจ็บตัว เพราะค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นสูงกว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้น แต่ต้องทำเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ อีกทั้งยังทำให้คนงานต้องทำงานหนักกว่าที่ควรจะเป็นและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตมากจนเกินไป รัฐบาลก็อาจออกกฎห้ามมิให้เปิดร้านหลังเที่ยงคืน เพื่อช่วยให้ทุกเจ้าไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันในลักษณะที่ไม่ค่อยมีใครได้ประโยชน์มากนักเมื่อเทียบกับทรัพยากรที่ต้องใช้
วิธีแก้ปัญหาแบบนี้อันหนึ่งที่ผมพบในชีวิตจริงก็คือ การบังคับให้นักเรียนทุกคนต้องใส่เครื่องแบบนักเรียนมาเรียนหนังสือ ในแง่หนึ่งกฎเกณฑ์นี้อาจเพิ่มต้นทุนด้านการศึกษาให้กับนักเรียนทุกคนที่ต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียนทั้งที่การศึกษาหาความรู้น่าจะกระทำในชุดอะไรก็ได้ คนที่มีเงินน้อยอยู่แล้วแทนที่จะได้เรียนหนังสือก็อาจมีโอกาสน้อยลงเพราะต้นทุนส่วนนี้ที่เพิ่มขึ้น แต่ในมุมกลับ กฎเกณฑ์นี้อาจเป็นกุศโลบายที่ช่วยลดการแข่งขันแต่งตัวมาโรงเรียนเพื่ออวดรวยของนักเรียนอันเป็นธรรมชาติของสัตว์สังคมอย่างมนุษย์เราที่ใช้เสื้อผ้าเป็นวิธีส่งสัญญาณให้คนอื่นรู้ถึงฐานะทางบ้านของตัวเอง เมื่อมีกฎเกณฑ์นี้ก็ช่วยทำให้ทุกคนก็ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าราคาแพง ซึ่งทำให้ทุกคนต้องเสียเงินโดยใช่เหตุ
หลักฐานหนึ่งที่แสดงว่ากฎเกณฑ์นี้อาจมีกุศโลบายที่ว่าจริงๆ คือ การที่บางมหาวิทยาลัยบังคับให้นักศึกษาชายแต่งเครื่องแบบเฉพาะปีแรกเท่านั้น ในขณะที่นักศึกษาหญิงจะต้องแต่งเครื่องแบบหมดทุกชั้นปี เพราะปกติแล้วผู้หญิงมักแข่งขันกันแต่งตัวมากกว่าผู้ชายครับ
โดย : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
ชาร์ล ดาร์วิน เป็นผู้ที่สังเกตเห็นว่า สิ่งมีชีวิตอาศัยการคัดเลือกตามธรรมชาติในการดำรงเผ่าพันธุ์อันเป็นกลไกพื้นฐานของวิวัฒนาการ ทุกชีวิตต่างต้องดิ้นรนเอาตัวรอดเพื่อให้เกิดการคัดเลือกนี้ สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดได้จะขยายจำนวนขึ้น ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะลดจำนวนลงจนสูญพันธุ์ไปในที่สุด
ระบบเศรษฐกิจก็มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน การแข่งขันกันระหว่างผู้ประกอบการเป็นกลไกที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพ บริษัทที่ผลิตสินค้าได้ดีกว่าหรือถูกกว่าก็จะได้รับการต้อนรับจากลูกค้า ในขณะที่บริษัทที่ขาดประสิทธิภาพก็จะแข่งขันไม่ได้ และค่อยๆ ล้มหายตายจากไปเอง
เราอาจรู้สึกไม่ชอบการแข่งขัน เพราะฟังดิ้นรนและโหดร้าย แต่วิทยาศาสตร์รวมทั้งเศรษฐศาสตร์ต่างมองการแข่งขันในแง่ดีว่าเป็นกลไกพื้นฐานของธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม Garrett Hardin นักนิเวศวิทยาชาวอเมริกันคนหนึ่ง ได้เสนอแนวคิดว่า ในภาวะแวดล้อมที่แต่ละคนต่างแย่งชิงทรัพยากรกันแบบต่างคนต่างคิดนั้น การแข่งขันจะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรโดยขาดประสิทธิภาพโดยที่ทุกคนก็มองเห็นผลเสียในระยะยาวนี้ได้อย่างชัดเจนแต่ก็จะไม่มีใครทำอะไรได้ ถือเป็นแนวคิดหนึ่งที่มองด้านลบของการแข่งขัน ซึ่ง Hardin ตั้งชื่อมันว่า Tragedy of the Commons
ตัวอย่างของ Tragedy of the Commons ได้แก่ การที่ทะเลสาบเป็นสาธารณสมบัติของชุมชนที่ใครๆ ในชุมชนก็สามารถจับปลาได้โดยไม่จำกัด ทุกคนจะแย่งกันจับปลาในปริมาณที่มากเสียจนถึงจุดที่ปลาไม่สามารถวางไข่ได้ทันและทำให้ปลาในทะเลสาบลดลงอย่างถาวร แล้วชุมชนก็จะไม่มีปลาให้จับอีก ชาวบ้านทุกคนเข้าใจเรื่องนี้ดี แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ เพราะใครๆ ก็มีสิทธิจับปลาได้ไม่จำกัด
แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่าทำไมจึงควรให้ทรัพยากรทุกอย่างมีเจ้าของที่ชัดเจนแทนที่จะปล่อยให้เป็นของสาธารณะ เพื่อมิให้เกิดการแข่งขันแบบทำลาย ตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เรื่อง Property Rights และแนวคิดนี้ยังอธิบายได้ด้วยทฤษฎีเกมว่าเป็น เกมแห่งความลำบากใจของจำเลย (Prisoners' Dilemma) อย่างหนึ่งที่ผู้เล่นทุกคนรู้ว่าทางเลือกที่ให้ประโยชน์แก่ตนเองมากที่สุดคือทางเลือกที่ทำให้ทุกคนได้ผลตอบแทนน้อยลง แต่ทุกคนก็จำเป็นต้องเลือกทางเลือกอย่างนั้น เพราะไม่มีใครอยากเสียเปรียบ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งมีการมอบรางวัลโนเบลให้แก่ Elinor Ostrom นักเศรษฐศาสตร์ผู้ที่คัดค้านแนวคิดเรื่อง Tragedy of the Commons โดยแสดงให้เห็นว่ามีชุมชนทางการเกษตรหลายแห่ง ที่สามารถจัดการให้ทรัพยากรที่เป็นของส่วนรวมดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยที่ยังปล่อยให้เป็นสาธารณสมบัติของส่วนรวมอยู่ ชุมชนเหล่านี้อาศัยการกดดันกันเองทางสังคม
ทางออกอีกอย่างหนึ่งของ Tragedy of the Commons คือการออกกฎเกณฑ์บางอย่างเพื่อห้ามไม่ให้เกิดการแข่งขัน เมื่อเราเห็นว่าการแข่งขันนั้นอาจทำให้เกิดผลเสียสุทธิต่อทุกคนได้ ตัวอย่างเช่น การแข่งขันที่มากเกินไปของบรรดาซูเปอร์สโตร์ต่างๆ เช่นในยุคหนึ่งที่แข่งขันกันมากถึงขนาดแข่งกันเปิด 24 ชม. ซึ่งอาจเป็นการแข่งขันที่ใช้ทรัพยากรมากเกินไป เพราะยอดขายในช่วงหลังเที่ยงคืนอาจน้อยมาก เมื่อเทียบกับไฟฟ้าและแรงงานคนล่วงเวลาที่ต้องใช้ ถ้ามีเจ้าหนึ่งคิดทำเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด เจ้าอื่นก็จำเป็นต้องทำตามเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ให้มากที่สุด สุดท้ายแล้วทุกเจ้าก็ต้องเจ็บตัว เพราะค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นสูงกว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้น แต่ต้องทำเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ อีกทั้งยังทำให้คนงานต้องทำงานหนักกว่าที่ควรจะเป็นและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตมากจนเกินไป รัฐบาลก็อาจออกกฎห้ามมิให้เปิดร้านหลังเที่ยงคืน เพื่อช่วยให้ทุกเจ้าไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันในลักษณะที่ไม่ค่อยมีใครได้ประโยชน์มากนักเมื่อเทียบกับทรัพยากรที่ต้องใช้
วิธีแก้ปัญหาแบบนี้อันหนึ่งที่ผมพบในชีวิตจริงก็คือ การบังคับให้นักเรียนทุกคนต้องใส่เครื่องแบบนักเรียนมาเรียนหนังสือ ในแง่หนึ่งกฎเกณฑ์นี้อาจเพิ่มต้นทุนด้านการศึกษาให้กับนักเรียนทุกคนที่ต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียนทั้งที่การศึกษาหาความรู้น่าจะกระทำในชุดอะไรก็ได้ คนที่มีเงินน้อยอยู่แล้วแทนที่จะได้เรียนหนังสือก็อาจมีโอกาสน้อยลงเพราะต้นทุนส่วนนี้ที่เพิ่มขึ้น แต่ในมุมกลับ กฎเกณฑ์นี้อาจเป็นกุศโลบายที่ช่วยลดการแข่งขันแต่งตัวมาโรงเรียนเพื่ออวดรวยของนักเรียนอันเป็นธรรมชาติของสัตว์สังคมอย่างมนุษย์เราที่ใช้เสื้อผ้าเป็นวิธีส่งสัญญาณให้คนอื่นรู้ถึงฐานะทางบ้านของตัวเอง เมื่อมีกฎเกณฑ์นี้ก็ช่วยทำให้ทุกคนก็ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าราคาแพง ซึ่งทำให้ทุกคนต้องเสียเงินโดยใช่เหตุ
หลักฐานหนึ่งที่แสดงว่ากฎเกณฑ์นี้อาจมีกุศโลบายที่ว่าจริงๆ คือ การที่บางมหาวิทยาลัยบังคับให้นักศึกษาชายแต่งเครื่องแบบเฉพาะปีแรกเท่านั้น ในขณะที่นักศึกษาหญิงจะต้องแต่งเครื่องแบบหมดทุกชั้นปี เพราะปกติแล้วผู้หญิงมักแข่งขันกันแต่งตัวมากกว่าผู้ชายครับ