หน้า 1 จากทั้งหมด 1
เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 02, 2012 11:38 pm
โดย Samathi
เนื้อหาที่ผมเขียนทั้งหมดผมไม่ได้คิดเองนะครับแต่เอามาจากหนังสือหลายๆเล่มรวมกันครับ ส่วนใหญ่เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ทางการเงินบวกกับความรู้เศรษฐศาสตร์มหภาคแบบงูๆปลาๆของผม
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ จะได้เข้าใจภาพของระบบ Macro Economics ว่าทำงานอย่างไรเพื่อประโยชน์ในการลงทุนด้วย ผมขออนุญาตตั้งในห้องนี้แทนห้องเศรษฐศาสตร์เพราะจุดประสงค์ๆไม่ได้ต้องการมาถกเรื่องเศรษฐศาสตร์แต่อยากให้มือใหม่เข้าใจเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐานครับ
PS ผมไม่ใช่กูรูหลายๆท่านเก่งกว่าผมมากนักสามารถแทรกได้หรือถ้าผมเขียนตรงไหนผิดแทรกได้เลยนะครับ
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 02, 2012 11:38 pm
โดย Samathi
เงินคืออะไร ก่อนที่ผมจะสามารถอธิบายว่าเงินกำเนิดมาจากอะไรก่อนนะครับ
1. สมัยก่อนที่สังคมไม่มีเงิน เศรษฐกิจเติบโตช้ามาก ทุกครอบครัวพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ทั้งปลูกข้าว ล่าสัตว์ ซักผ้า ทำอาหาร
2. พอสังคมเริ่มพัฒนาขึ้นแนวคิดเรื่องใครชำนาญอะไรควรทำสิ่งนั้นและแนวคิดเรื่องการแลกเปลี่ยนเริ่มเข้ามา (Barter System) ระบบแลกเปลี่ยนสิ่งของกันทำให้สังคมและเศรษฐกิจพัฒนาเร็วขึ้นเกิดอาชีพเช่น ช่างไม้ ชาวนา เป็นต้น การแลกเปลี่ยนยังเป็นไปโดยตรงเช่นเอาข้าวไปแลกเนื้อเป็นต้น
3. ถึงตอนนี้หลายๆคนคงมองเห็นปัญหานะครับ ผมอยากเอาข้าวไปแลกกับเก้าอี้ แต่คนขายเก้าอี้ไม่อยากได้ข้าว แล้วมันจะแลกกันได้อย่างไรล่ะ ตอนนี้มีคนหัวใสมองหาว่าสิ่งที่ทุกคนต้องการเหมือนๆกันคืออะไร ใช่ครับคำตอบคือทองนั่นเอง ซึ่งแปลกมากๆเพราะทองไม่ใช่สิ่งจำเป็นเลย กินก็กินไม่ได้ แต่ทุกคนเชื่อมั่นว่าทองคือสิ่งที่ทุกคนต้องการเหมือนกัน ดังนั้นเงินที่ใช้แลกเปลี่ยนแบบแลกก็กำเนิดขึ้นคือโลหะทองนั่นเอง
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 02, 2012 11:39 pm
โดย Samathi
4. สังคมและเศรษฐกิจพัฒนาขึ้นมาอีกขั้น เริ่มมีการค้าขายระหว่างเมือง ซึ่งแต่ละเมืองก็ยัง Value ทองเหมือนกัน แต่ปัญหาคือทองมันช่างขนไปขนมายากเหลือเกินแถมยังต้องระวังโจรปล้นอีกด้วย ทีนี้ก็เกิดคนหัวใสขึ้นอีกครั้ง ทำไมเราไม่ใช้กระดาษแทนทองซะล่ะ คุณเอาทองมาแลกกระดาษที่เมือง A แล้วเอากระดาษไปแลกทองคืนที่เมือง B โดยทองจริงๆไม่ต้องมีการขนย้าย โดยทั้งนี้ร้านรับแลกทองที่เมือง A และ B มี Assumption ว่า ปริมาณทองและกระดาษที่แลกไปมาระหว่างเมือง A และ B เท่าๆกัน เพื่อนๆเริ่มสังเกตุอะไรหรือเปล่าครับ ธนาคารแบบแรกเริ่มเกิดขึ้นแล้ว รูปแบบของเศรษฐกิจก็เริ่มซับซ้อนขึ้น ทำให้ต้องมีการลงบัญชี (Balance sheet ก็เริ่มพัฒนาจากการค้าขายระหว่างเมืองนี่เอง) ธนาคารในรูปแบบแรกๆต้องอาศัยความเชื่อมั่นมากจึงมักเป็นบุคคลในตระกูลเดียวกันดำเนินกิจการ เช่น พี่ชายประจำเมือง A น้องชายประจำเมือง B จุดประสงค์เพื่อป้องกันการโกงกันนั่นเอง
5. ผู้คนเริ่มสังเกตว่าการค้าขายกันโดยใช้กระดาษนั้นง่ายกว่ามาก จึงนิยมใช้เงินกระดาษมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันนายธนาคารเริ่มหัวใสโดยออกเงินกระดาษมากกว่าทองที่ตนเองมีอยู่จริง โดยมี Assumption ว่าทุกคนคงไม่แห่เอาเงินกระดาษมาถอนทองพร้อมกัน ระบบจะดำเนินอยู่ต่อไปเรื่อยๆได้ตราบที่มีความเชื่อมั่น แต่มันมักมีเหตุการณ์โดยบังเอิญให้คนแห่มาถอนเงินพร้อมๆกันเสมอ และมักพบว่าธนาคารออกเงินกระดาษมากเกินไป และเรียกนายธนาคารว่าเป็นคนฉ้อฉล นี่เป็นสาเหตุให้ศาสนาต่างๆในอดีตมักรังเกียจนายธนาคารและบอกว่าอาชีพนายธนาคารเป็นอาชีพของคนโลภและบาป ต่างกันปัจจุบันซึ่งถ้าใครทำงานธนาคารจะถูกมองว่ามีเกียรติและเป็นคนซื่อสัตย์
6. แต่การออกเงินกระดาษเกินกว่าทองที่ Back up ไว้ไม่ได้มีแต่ข้อเสียนะครับ เป็น Innovation ระดับโลก ข้อดีก็มีอยู่มากมันทำให้เศรษฐกิจโตอย่างก้าวกระโดด เพราะมันช่วยแก้ปัญญาของมนุษยชาติที่มีมานานนับพันๆปี ปัญหาแรกคือทองมีไม่เคยพอ ทองนั้นหายากเหลือเกินสมัยก่อนก็ไม่ได้มีรถตักเครื่องจักรอะไรเหมือนสมัยนี้ด้วย ลองคิดดูนะครับ ว่าถ้าหากเศรษฐกิจโต 10% ปริมาณทองควรต้องโต 10% ด้วยเพื่อให้มีทองมา Back up เงินกระดาษพอ แต่ในอดีตผลผลิตทองไม่พอทำให้เศรษฐกิจโตอย่างรวดเร็วไม่ได้เพราะถูก Capture ด้วยผลผลิตทอง ถ้าปีไหนผลิตทองไม่ได้ เศรษฐกิจปีนั้นก็จะไม่โต ถึงจะผลิตข้าวหรือสิ่งของอื่นได้มหาศาลก็ตามเพราะไม่มีสื่อในการแลกเปลี่ยน นี่เป็นสาเหตุที่พวกอินคาไม่เข้าใจว่าทำไมพวกสเปนถึงดีใจเหลือเกินที่เห็นทอง สำหรับชาวอินคาทองคือเครื่องประดับ (ลองย้อนกลับไปอ่านข้อ 3) แต่สำหรับชาวสเปนที่ระบบเศรษฐกิจเริ่มทันสมัยแล้วทองคือความเชื่อมั่นการที่มีทองเพิ่มทำให้เศรษฐกิจของยุโรปเติบโตขึ้น ปัญหาที่สองการมีเงินกระดาษเยอะๆก่อให้เกิดเงินเฟ้อ ลองคิดดูนะครับว่าทองนั้นหายากอยู่แล้วถ้าไปอยู่ในมือคนที่ไม่ค่อยใช้จ่ายล่ะเช่นเศรษฐี เจ้าของที่ดิน แต่ถ้าคนเหล่านั้นเก็บเงินกระดาษ ซึ่งผลิตออกมาเยอะๆ แล้วคนเหล่านั้นไม่ใช้เงินกระดาษ ความร่ำรวยของคนเหล่านั้นก็จะค่อยๆลดลง
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 02, 2012 11:40 pm
โดย Samathi
7. ยังๆไม่จบนะครับเดี๋ยวมาต่อ แต่มาถึงตรงนี้คงเริ่มเห็นกันแล้วว่า เงินกระดาษที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ หรือแม้กระทั่งทองก็ตาม มันมีค่าเพราะมันคือความเชื่อมั่น หากไม่มีความเชื่อมั่น เช่นในยุคอนาธิปไตย (สังคมไร้ระเบียบ ขาดรัฐบาล) คนก็ไม่ต้องการเงินกระดาษหรือทอง เลยจะเลือกเอาข้าวหรืออาหารมากกว่าเพราะทำให้ท้องอิ่มได้ ตัวอย่างก็เช่นหนังที่เกี่ยวกับโลกกำลังจะแตก คนติดเกาะ เป็นต้น
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 03, 2012 12:58 am
โดย sakkaphan
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ รอติดตามครับ
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 03, 2012 1:11 am
โดย untrataro25
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
รอตอนต่อไป
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 03, 2012 1:43 pm
โดย the_matrix
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
อาจารย์ชอบพูดประจำว่า เงินคือกระดาษ
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 03, 2012 10:31 pm
โดย นพพร
โอ้ว เยี่ยมได้ความรู้ครับ ชอบ
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 04, 2012 10:41 am
โดย kibo
เงินไม่ใช่พระเจ้า แต่ทำให้คนที่ถือยู่เป็นพระเจ้า
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 04, 2012 9:12 pm
โดย Tsar
เงินคือหลานพระเจ้า
พระเจ้าสร้างมนุษย์
มนุษย์สร้างเงิน
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 06, 2012 9:22 am
โดย lb
เงินคือพระเจ้าสำหรับคน มีความอยากได้ แต่เป็นขยะสำหรับคนป่า และคนที่ไม่ต้องซื้อของ
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 06, 2012 11:11 am
โดย navapon
รอฟังคุณสมาธิเล่าต่อมาหลายวันแล้ว ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 08, 2012 9:20 am
โดย Samathi
8. กลับมาต่อจากข้อ 5 นะครับ (ข้อ 6 และ 7 ผมลัดไปหน่อย) ในเมื่อธนาคารสามารถโกงได้โดยพิมพ์เงินกระดาษออกมามากกว่าทองที่มีแล้ว หากไม่มีใครควบคุมต้องแย่แน่ๆ รัฐบาลจึงเข้ามาควบคุม โดยไม่ให้พิมพ์เงินมากกว่าสินทรัพย์ที่มี Back up
9. รัฐบาลได้คิดเครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่งที่ทรงพลังมากขึ้นมานั่นคือ พันธบัตร ถ้าผมจำไม่ผิดประเทศที่คิดขึ้นมาครั้งแรกคืออังกฤษเพื่อระดมทุนสำหรับทำสงคราม หลักการง่ายๆคือประชาชนให้รัฐบาลยืมเงินแล้วรัฐบาลจะให้คูปองไป ประชาชนจะสามารถเอาคูปองมาแลกดอกเบี้ยจากรัฐบาลเมื่อถึงเวลาที่กำหนด (จนปัจจุบันศัพท์ว่า coupon ยังให้กันอยู่ หลายๆคนคงเคยได้ยินพันธบัตรที่เรียก Zero coupon bond คือพันธบัตรที่ไม่จ่ายดอกเบี้ยนั่นเอง) โดยประชาชนซื้อเพราะมีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะจ่ายดอกเบี้ย (ซึ่ง Back up โดยภาษี) ให้ในอนาคต ผลคืออังกฤษเกือบล้มละลายเพราะออกพันธบัตรมาทำสงครามมากเกินไป (แม้จะชนะสงครามกับฝรั่งเศสก็ตาม)
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 08, 2012 9:21 am
โดย Samathi
10. กลับมาฝั่งอเมริกาบ้าง กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งได้จัดตั้งธนาคารกลาง (FED) ขึ้นเพื่อควบคุมปริมาณเงิน ซึ่งธนาคารกลางนี้เป็นเอกเทศไม่ขึ้นกับรัฐบาลคือรัฐบาลก็ยังสั่งไม่ได้ หน้าที่ของ FED คือควบคุมปริมาณเงินในระบบ ผ่านการกำหนอัตราดอกเบี้ยและปริมาณธนบัตร ปัญหาของอเมริกาในก่อนสงครามโลกเลยคือเงินฝืดเพราะพิมพ์ธนบัตรเยอะไม่ได้ธนบัตรยังยึดติดกับทองคำคือมีทองเท่าไหร่พิมพ์ได้เท่านั้น เราๆหลายคนคงเคยได้ยินเรื่อง The Great Depression ซึ่งเป็นภาวะเงินฝืดนะครับ คนมีเงินแต่ไม่กล้าใช้จ่าย
11. หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โครงสร้างที่มีธนาคารกลางได้แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยทุกประเทศใช้เงิน Dollar backup แทนทองคำ อเมริการกลัวเรื่อง Great Depression มากและเริ่มเข้าใจเกมการเงินมากขึ้นและตะหนักว่า เราเอาเงินไปยึดติดกับทองทำไม ในเมื่อทองไม่มีค่าอะไรเลยทองมันคือความเชื่อมั่นเหมือนกัน อย่ากระนั้นเลยเนื่องจากอเมริกาเป็นประเทศที่มั่นคงที่สุดในโลก เราเปลี่ยนระบบความเชื่อมั่นจากทองเป็นความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลอเมริกาจะจัดเก็บภาษีได้ดีกว่า อเมริกา (โดย Fed) จึงพิมพ์เงินได้โดยไม่ต้องมีทองคำ Back Up ตั้งแต่บัดนั้น หลายๆคนเข้าใจว่าเงิน Dollar ไม่มีอะไร Back up แต่จริงๆแล้วยังมีอยู่แต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นความเชื่อมั่นว่าคนอเมริกายังเสียภาษีและรัฐบาลอเมริกายังอยู่ได้
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 08, 2012 9:22 am
โดย Samathi
12. พออเมริกาพิมพ์เงินได้มากมายปุ๊บก็เกิน Financial innovation ตามที่ผมเล่าในข้อหก เศรษฐกิจโตอย่างรวดเร็ว ประชาชนร่ำรวยมาขึ้น เงินเฟ้อมากขึ้นด้วย ก่อนหน้านั้นหลายร้อยปีเงินเฟ้อขึ้นอย่างช้าๆ พึ่งจะมาขึ้นอย่างรวดเร็วหลังปี 1971 นี่เอง (รวมถึงตลาดหุ้นก็พึ่งจะเริ่มขึ้นแรงๆหลัง Financial Innovation นี้นี่เอง) เงินเฟ้อมีข้อดีเยอะนะครับ รัฐบาลทุกรัฐบาลจะชอบเงินเฟ้ออย่างอ่อนๆ เวลาออกพันธบัตรมาแล้วคืนเงินให้ในอนาคตจะได้ใช้หนี้น้อยลง (ถ้าอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ) ขณะเดียวกันทำให้ประชาชนไม่อยากเก็บเงินในธนาคารเพราะทราบว่ามูลค่าจะลดลงและเร่งนำมาใช้จ่ายทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้นั่นเอง สำหรับผมมองว่าเงินเฟ้อเป็นการเก็บภาษีรูปแบบหนึ่ง ภาษีเงินได้เก็บจากรายได้หักค่าใช้จ่าย แต่เงินเฟ้อนี่เก็บจากสินทรัพย์ที่ทุกคนมีเก็บทีได้มหาศาลแถมทุกคนหลบเลี่ยงไม่ได้
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 08, 2012 9:25 am
โดย Samathi
13. ขอถามว่าเมื่อไหร่จะเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ปกติแบ๊งค์ชาติจะมีกฎอยู่ว่าพิมพ์ได้เท่านี้ๆ เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แต่จะมีเหตุการณ์ทำให้พิมพ์เกินลองคิดเล่นๆกันดูนะครับ ผมให้ทายกันดูว่าช้อยไหนบ้างทำให้เกิดเงินเฟ้อรุนแรง
a. รัฐบาลออกพันธบัตรให้ประชาชนซื้อ เพื่อนำไปลงทุนใน Mega Project
b. รัฐบาลออกพันธบัตรให้ชาวต่างชาติซื้อ เพื่อนำไปลงทุนใน Mega Project
c. รัฐบาลออกพันธบัตรให้แบ๊งค์ชาติซื้อ เพื่อนำไปลงทุนใน Mega Project
คำตอบคือ c ครับ
สำหรับ a. จะเห็นว่าปริมาณเงินในระบบจะยังคงเท่าเดิม สินทรัพย์ back up เท่าเดิม ไม่ได้พิมพ์เงินเพิ่ม ไม่เกิดเงินเฟ้อ
สำหรับ b. จะเห็นว่าปริมาณเงินในระบบเพิ่ม แต่สินทรัพย์ back up เพิ่มด้วย (เงินสกุลต่างชาติ ทำให้ความเชื่อมั่นเพิ่ม) เกิดเงินเฟ้อแต่ไม่รุนแรง
สำหรับ c. . จะเห็นว่าปริมาณเงินในระบบเพิ่ม สินทรัพย์ back up เท่าเดิม แบ๊งค์ชาติไม่มีเงินให้ยืมครับดังนั้นถ้ารัฐบาลขอยืมเงินแบ๊งค์ชาติจะทำการพิมพ์เงินเพิ่ม เกิดเงินเฟ้อรุนแรง
นี่เป็นสาเหตุให้เวลาขาย Bond หนังสือพิมพ์ต้องลงว่าใครเป็นผู้ซื้อบ้างเพราะว่ามีผลต่อระดับเงินเฟ้อครับ (เร็วๆนี้ก็มีข่าวรัฐบาลจะผลักหนี้ให้แบ๊งค์ชาติ ถ้ารับก็แน่นอนครับจะเกิดเงินเฟ้อตามมา) รวมถึงรัฐบาลสหรัฐออกมาตรการ QE (พิมพ์เงินเพิ่ม) หรือรัฐบาลอิตาลี่ขายพันธบัตรแต่มีคนซื้อไม่หมด จริงๆข่าวพวกนี้เป็นข่าวใหญ่มากที่กระทบกับความเป็นอยู่ของทุกคน แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่เข้าใจกันครับ
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 08, 2012 9:28 am
โดย Samathi
14. เงินคือความเชื่อมั่น หลายคนกลัวอเมริกาหรือยุโรปล่มแล้วแห่มาตุนทองคำ concept ตุนทองคำถูกครับสมัยสงครามเวียดนามเพราะโลกส่วนใหญ่ยังยอมรับทองคำอยู่ แต่ผมมองว่าวิกฤตหากเกิดที่อเมริกาหรือยุโรป การตุนทองคำอาจไม่ได้ช่วยอะไรเลยเพราะทองเป็นแค่ความเชื่อมั่นเหมือนกันไม่ต่างจากเงิน Dollar นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผมเชื่อว่าทำให้ทองเปลี่ยนจาก safe haven เป็น commodity ธรรมดาตัวหนึ่งและโลกเราไปไกลเกินกว่าที่จะกลับมาใช้ทองคำเป็นสินทรัพย์ back up เงินทั้งหมดแล้ว หวังว่าบทความจะทำให้ทุกท่านเข้าใจการทำงานของระบบเศรษฐกิจ และอ่านข่าวเศรษฐกิจเข้าใจมากขึ้นนะครับ ไว้วันหลังจะมาเล่าเรื่องอื่นๆอีก ขอบคุณครับ
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 08, 2012 11:15 am
โดย navapon
Re: เมื่อเงินไม่ใช่พระเจ้า แล้วมันคืออะไร
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ม.ค. 08, 2012 8:04 pm
โดย BIG87
ชอบครับ เพราะจนถึงทุกวันนี้ผมก็ยังสงสัยว่า ทองคำมันมีดีอะไร ?
ทั้งที่มันทำอะไรไม่ได้ ใช้ในอุตสาหกรรมนิดหน่อย ทางการแพทย์นิดหน่อย นอกนั้นก็เพื่อเก็บ แล้วก็ใส่อวด
อ่านปุ๊บก็กระจ่างเลยว่าทำไมโลกเราถึงยึดติดกับทองคำขนาดนั้น อธิบายตั้งแต่ต้นจนจบได้ง่ายและสั้นได้ใจความมากครับ
แต่ถ้าเกิดสงครามโลกกันขึ้นมาจริงๆ ทองน่าจะถูกกลับมาใช้ใหม่แน่ๆ
พออ่านปุ๊บก็ขอสรุปว่า
ยังไงๆ ทองก็คงจำเป็นสำหรับโลกใบนี้(และราคาน่าจะขึ้นไปตามเงินเฟ้อ)
เพราะมันคือตัวแทนของระบบเงินตราสากล ของโลก ไปซะแล้ว
ใช้ได้ดี ในกรณีที่ระบบการเงินในเทศล่มสลาย (เช่นกรีช)
หรือถ้าแง่ร้ายสุดก็คือ สงครามโลก
แต่ถ้าไม่เกิดอะไรขนาดนั้น
ผลตอบแทนมันก็คงสู้พวกหุ้นดีๆซักตัวที่มีกำไรต่อเนื่องและ Growth ซัก10-20% ไม่ได้หรอกครับ
มันเป็นได้แค่ ระบบเงินสากลของโลก ถ้ามันขึ้นไปสูงเกินไป เดี๋ยวมันก็ตกเพราะมันไม่ได้สร้างผลิตภัณฑ์อะไรออกมา
คงเป็นแค่กระแสของคนบ้าเห่อที่อยากได้ทอง เกิดขึ้นมากๆในเวลาเดียวกัน