เจาะเซฟ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ปรับพอร์ตหุ้น เน้น…
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 09, 2012 1:06 pm
ผมอ่านบทความเก่าแต่มีประโยชน์เลยนํามาฝากครับ บทความนี้ 6 ปีมาแล้ว ถึงวันนี้เป็นบทพิสูจน์ ของ วิสัยทัศน์
ของท่านอาจารย์ พวกเรา ครับ
เจาะเซฟ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ปรับพอร์ตหุ้น เน้น…”Soft Company”
บทความจาก นสพ. bizweek
—————————————————-
”ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” Value Investor
(นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า)
มือหนึ่งของเมืองไทย
ยังมั่นใจในเป้าหมายว่าก่อนตายพอร์ตหุ้นจะแตะ “พันล้าน”
แน่นอน ใครจะรู้บ้างว่า ในภาวะหุ้น “ขาลง” เช่นปีนี้
ดอกเตอร์มีมุมมองในการเลือกหุ้นอย่างไร
และสภาพพอร์ตหุ้นที่ถืออยู่ของครอบครัว “เหมวชิรวรากร”
ยังสุขสบายดีอยู่หรือไม่…
ปัจจุบัน “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร”
มีรายได้ส่วนใหญ่จากหุ้นที่ถืออยู่ในพอร์ต
ส่วนตัว…เขาบอกว่าเริ่มต้นลงทุนเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว
ด้วยเงินลงทุนราว 10 ล้านบาท
จนมาถึงวันนี้
ได้รับเงินปันผลจากหุ้นที่ลงทุนกลับมาเป็นรายได้เท่ากับเงินลงทุนเริ่มต้น
หรือปีละประมาณ “10 ล้านบาท” คิดคร่าวๆ
ตกเดือนละประมาณ “8 แสนกว่าบาท”
เรียกว่าไม่ต้องทำงานประจำก็อยู่ได้อย่างสบายๆ
ดร.นิเวศน์ เล่าว่าตอนนี้ “ผมกลายเป็นนักลงทุนอาชีพเต็มตัว”
เพราะมีรายได้หลักมาจากเงินปันผล
แต่วิธีการจัดสรรเงินจะแบ่งสัดส่วนเงินสดประมาณ 0.5-1% ของพอร์ต
ไว้สำหรับใช้จ่ายประจำวัน เงินส่วนที่เหลือจะอยู่ในหุ้นทั้งหมด
(แช่อยู่ในหุ้นแทบจะตลอดเวลา)
“เวลาได้รับเงินปันผลกลับมา
หากมีเงินสดมากเกินไปก็จะนำไปซื้อหุ้นต่อ
โดยจะไม่เก็บเงินสดเกิน 1% ของพอร์ต
และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงพอร์ตมากนัก
เฉลี่ยการถือหุ้นแต่ละตัวประมาณ 3-4 ปี
หุ้นบางตัวถือยาวถึง 7-8 ปีก็มี”
ดร.นิเวศน์ บอกว่า
เมื่อถึงสิ้นปีของทุกปีจะมาพิจารณาดูว่าผลตอบแทน
และการเติบโตของพอร์ตเป็นอย่างไร
จากนั้นจะเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ของต้นปีถัดมา
ซึ่งตั้งแต่ต้นปีมานี้ไม่ได้รับผลกระทบ
และพอร์ตหุ้นยังได้รับผลตอบแทนดีกว่าตลาด
”ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ก็สามารถบริหารได้ชนะตลาดหุ้นมาโดยตลอด
เฉลี่ยผลตอบแทนมากกว่า 10% ยกเว้นในปี 2547
เท่านั้นที่บริหารได้แพ้ตลาด
และมีผลขาดทุนราวๆ 10% กว่า เนื่องจากตลาดหุ้นผันผวนมาก”
ปัจจุบัน ดร.นิเวศน์ มีหุ้นที่ถืออยู่ในพอร์ตราว 20 กว่าบริษัท
แต่ก่อนที่จะลงทุนเขาจะพิจารณาเลือกหุ้นโดยมี “เรื่องราว” หรือ “theme”
เป็นสำคัญ โดยจะคิดก่อนว่า ในระยะ 5 ปีข้างหน้า
ธุรกิจอะไรจะไปได้ดีและเติบโต
ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้พอร์ตหุ้นที่ถืออยู่ส่วนใหญ่
จึงไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
วิธีค้นหา theme ของ ดร.นิเวศน์ จะมองในสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เช่น หนังสือ
ในอดีตไม่ค่อยมีร้านหนังสือ หนังสือไม่ค่อยมาก เช่น
พ็อคเก็ตบุ๊คแต่ก่อนจะมีน้อย
แต่เดี๋ยวนี้มีหลากหลายมาก ดาราทุกคนต้องออกหนังสือ
เป็นการมองเห็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ช้าๆ แต่ชัดเจน
หรือร้านอาหาร สมัยก่อนต้องซื้อของในตลาดสด
เดี๋ยวนี้ซื้อได้จากห้างแทนตลาดสด
หรือธุรกิจมือถือ เมื่อ 7-8
ปีก่อนถ้าคนขับรถมีมือถือจะตกใจจะคิดว่าฟุ่มเฟือย ฟู่ฟ่า
แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนต้องมีมือถือ อย่างรถยนต์ก็เช่นกัน
สมัยก่อนคนมีรถจะต้อง
มีระดับพอสมควร แต่หลังๆ มีรถกันเยอะขึ้น เพราะรถไม่แพง
รายได้มากขึ้น
ก็สามารถซื้อได้ เป็นทางเลือกแรกๆ ของชีวิต
เหล่านี้คือ “แก่น” ที่ใช้ในการลงทุน
ที่เขาบอกว่านักลงทุนจะต้องฝึกสังเกตสิ่งรอบตัวเรา
สำหรับแนวทางการลงทุนใหม่ในช่วง 1-2 ปีมานี้ จนกระทั่งในปีนี้
ซึ่งตลาดหุ้นค่อนข้างผันผวนและอยู่ในภาวะเศรษฐกิจ “ขาลง”
ดร.นิเวศน์ กล่าวว่า ได้ปรับพอร์ตลงทุนเล็กน้อย โดยซื้อหุ้นใหม่ๆ
เพิ่มเข้ามาบ้าง
และจะเน้นลงทุนในหุ้นประเภท “Soft Company”
ซึ่งจะเป็นธุรกิจที่ขายบริการ
ขายความรู้ มีระบบ และมีแบรนด์เนม
ซึ่งเป็นกิจการที่ใช้เงินลงทุนต่ำ
ไม่ต้องลงทุนสร้างโรงงาน หรือซื้อเครื่องจักรราคาสูงๆ…
ในฐานะนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า “Value” จะรับความเสี่ยงไม่ค่อยไหว
จึงเน้นบริษัทที่มีรายได้แน่นอน เติบโต และมั่นคง
ต้องให้มีความรู้ติดอยู่กับตัวกิจการ ไม่ได้ติดกับคน
ถ้าคนไม่อยู่แล้วกิจการต้องอยู่ได้ เช่น ในธุรกิจบันเทิง
ขายความรู้ และพรสวรรค์ เช่น เวิร์คพ้อยท์ จะติดอยู่กับ “คุณปัญญา นิรันดร์กุล” เยอะมาก
ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง แต่กรณี “แกรมมี่ฯ”
ก็ขายพรสวรรค์เหมือนกัน
แต่ในระยะหลังกลายเป็นสถาบันที่เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์สามารถสร้าง “ทางเลือก”
และสร้างคนใหม่ได้
”การลงทุนตอนนี้ผมสนใจ Soft Company
เพราะเป็นบริษัทที่ขายบริการหรือขายความรู้
และเป็นกิจการที่ใช้เงินลงทุนต่ำ
ใช้เงินเข้าไปลงทุนประกอบการน้อย
ไม่ต้องรักษายอดขายหรือการเจริญเติบโตของตัวเอง ธุรกิจขายความรู้
หรือบริการที่ตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ดีในตลาด
ส่วนใหญ่จะติดอันดับ 1 แย่ที่สุดอันดับ 2 แต่ถ้า 3
แสดงว่าอนาคตการแข่งขันลำบาก
หลังๆ มานี้ลงทุนธุรกิจประเภทนี้ เพราะ “อุตสาหกรรมหนัก”
กิจการต้องลงทุนมาก
แต่ Soft Company จะมีเงินสดมาก”
ธุรกิจที่จัดอยู่ในประเภท Soft Company ซึ่ง ดร.นิเวศน์
พิจารณาลงทุนในปัจจุบัน
เช่น ธุรกิจโมเดิร์นเทรด หรือค้าปลีก บันเทิง รถยนต์ สิ่งพิมพ์
เป็นต้น
เขาให้เหตุผลการเลือกลงทุนในหุ้นประเภท “โมเดิร์นเทรด”
ก็เพราะเป็นธุรกิจที่มั่นคง
แนวโน้มเติบโตเรื่อยๆ ในระยะยาวเฉลี่ย 10-15%
มีความเสี่ยงต่ำและมีกำไรสม่ำเสมอ
”แม้ธุรกิจค้าปลีกจะมีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นมาก
แต่ยังมีช่องว่างที่จะเติบโตอีกมาก
เพราะปัจจุบันธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ
ซึ่งยังมีหัวเมืองใหญ่ที่สามารถจะขยายเข้าไปได้อีก
ขณะที่ความเสี่ยงต่ำ เพราะไม่ค่อยมีผลกระทบ
หรือทนทานกับผลกระทบได้มาก”
ดร.นิเวศน์ กล่าวว่า หลายปีก่อนเขาจะเน้น “theme” ธุรกิจรถยนต์
แต่ปัจจุบันก็ยังมีหุ้นรถยนต์อยู่เพราะมองว่า
อนาคตรถยนต์ก็ยังเติบโตต่อไปได้อีก
เพราะส่งออกได้อีกมาก ปีหน้ายังจะส่งออกได้มาก
แม้ว่าภายในประเทศจะเริ่มชะลอลง 10%
แต่จะมีส่งออกมาแทน เรื่องราวจึงยังไม่หมด แต่ผมมองมาตั้งแต่ 7-8 ปีก่อน
ว่ายังเติบโต คนมีเงินมากขึ้นก็อยากมี Luxury
เป็นสิ่งที่ต้องการอยู่
”ปัจจุบันผมถือหุ้นรถยนต์มีสัดส่วนมากสุด รวมถึงหุ้นโมเดิร์นเทรด
แต่บางตัวอาจจะไม่ปรากฏในรายงานเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
แต่บางตัวเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เพราะบริษัทนั้นมีขนาดเล็ก”
สำหรับหุ้นในพอร์ตบางส่วนของ ดร.นิเวศน์ ซึ่งถือหุ้นโดย
”เพาพิลาส เหมวชิรวรากร” ภรรยา ที่พอจะรวบรวมได้จากรายงานการถือหุ้นใหญ่ของบริษัท
จากตลาดหลักทรัพย์ พบว่า มีหุ้นในธุรกิจรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์
ได้แก่ “IRC” หรือบริษัท อิโนเว รับเบอร์ จำนวนมากที่สุด
5,212,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 2.61%
และยังถือหุ้นในบริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า หรือ “STANLY” จำนวน
2.5 แสนหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 0.65%
”คิดว่ารถยนต์และชิ้นส่วนยังเติบโตค่อนข้างดี
แต่หุ้นหลายตัวราคาไม่ถูก
หลายตัวเติบโตและมีพื้นฐานดี เป็นผู้นำตลาด
จึงต้องเลือกเป็นรายตัว
อย่างหุ้น IRC มีค่าพี/อีไม่สูงไม่เกิน 10 เท่า
เติบโตมาตลอดหลายปี มีความแข็งแกร่ง
เป็นผู้นำอุตสาหกรรม ถือเป็นหุ้นตัวหนึ่งที่คุณภาพใช้ได้
ราคาไม่แพง
แต่จะมีสภาพคล่องต่ำ ถือยาวได้”
นอกจากนั้น ยังมีหุ้นสิ่งพิมพ์ อย่าง “APRINT” หรือ
บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง
จำนวน 2,105,263 หุ้น สัดส่วน 1.05% และ “SE-ED” หรือ บริษัท
ซีเอ็ดยูเคชั่น จำนวน 2 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.64%
”สิ่งพิมพ์ช่วงนี้อาจไม่ค่อยดี เพราะกระดาษขึ้นและแข่งขันสูง
แต่ถือยาวได้ เพราะมีข้อดีตรงที่ธุรกิจแข็งแกร่ง
ส่วนใหญ่มีลูกค้าประจำแน่นอน
ขณะเดียวกันใช้เงินลงทุนน้อย มีเงินสดสูง ที่ถือหุ้นประเภทนี้
เพราะโดยส่วนตัวชอบอ่านหนังสือ
จึงลงทุนในกิจการที่ชอบและอยากเป็นเจ้าของกิจการ
คิดว่าระยะยาวแข็งแกร่งและยืนอยู่ได้”
ไม่เพียงเท่านั้น เขายังถือ “SSC” หรือ
บริษัท เสริมสุข จำนวน 2 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.76% ซึ่งเขาบอกว่า
ถือหุ้นตัวนี้มาเป็นเวลานานมากแล้วราว 7-8ปี
จึงมีต้นทุนที่ต่ำมาก
แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีเรื่องราวอะไรให้เล่น ค่าพี/อีไม่ต่ำแล้ว
เพราะการแข่งขันในธุรกิจเครื่องดื่มสูงขึ้น
ทำให้ยอดขายเติบโตน้อยในช่วง 1-2 ปีมานี้
และกำไรลดลง แต่กิจการของบริษัทเข้มแข็ง มีกำไรสม่ำเสมอ
และได้รับปันผลมาโดยตลอด
จึงถือไปเรื่อยๆ และดูระยะยาว 5 ปีขึ้นไป
นอกจากนั้น พอร์ตหุ้นของ ดร.นิเวศน์ ยังปรากฏชื่อ “TMD”
หรือบริษัท อุตสาหกรรมถังโลหะไทย จำนวน 1 แสนหุ้น สัดส่วน 0.67%
และ “WG” หรือ บริษัท ไว้ท์กรุ๊ป จำนวน 1 แสนหุ้น สัดส่วนถือหุ้น 0.56%
รวมถึง “HMPRO” หรือ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์
แต่ยังไม่ปรากฏรายชื่อในรายงานผู้ถือหุ้นใหญ่
โดยเขามองว่า หุ้นตัวนี้อยู่ในธุรกิจโมเดิร์นเทรด ซึ่งจัดเป็น
Soft Company ที่มีโอกาสที่เติบโตได้อีกมาก
หากพิจารณามูลค่าหุ้นในพอร์ตของครอบครัวเหมวชิรวรากร ณ
วันที่ 11 เม.ย.2548 พบว่า
หุ้นทั้ง 7 บริษัทที่ถืออยู่ (บางส่วน) มีมูลค่าหุ้นรวมทั้งสิ้น 166 ล้านบาท โดย
”IRC” มีมูลค่าสูงสุด 50.82 ล้านบาท
รองลงมา “SSC” มีมูลค่า 41.60 ล้านบาท
”STANLY” มูลค่า 34.25 ล้านบาท
”APRINT” มูลค่า 21.26 ล้านบาท
”SE-ED” มูลค่า 9.84 ล้านบาท
”TMD” มูลค่า 5.40 ล้านบาท และ
”WG” มูลค่า 2.85 ล้านบาท
ปัจจุบันสุขภาพของหุ้นในพอร์ต ดร.นิเวศน์ จึงยังอยู่สบายๆ
และสร้างผลตอบแทนกลับมาให้แก่ครอบครัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง
ดร.นิเวศน์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า
การลงทุนของเขาเปรียบเหมือนกับการ “บ่มเหล้า”
ต้องรอเวลาหมักจนได้ที่ จะไปรีบร้อนไม่ได้
บอกไม่ได้ว่าดีขึ้นหรือไม่
แต่จะมีโอกาสได้ศึกษากิจการลึกขึ้น ส่วนที่ได้มากขึ้น คือ
ความไม่เครียด และไม่กังวล
**********************************************
”ดร.นิเวศน์” ทำนาย เทรนด์หุ้น 2550 เก็งหุ้น
”โมเดิร์นเทรด-ฟาสต์ฟู้ด-โรงแรม”
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เปิดเผยกลวิธีการเล่นหุ้นปี 2550
บนเวทีสัมมนา “เซียนโซน” ซึ่งจัดขึ้นโดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ BizWeek
ร่วมกับ บล.บีฟิท และมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยเตือนให้นักลงทุน
”ต้องระวัง”
การลงทุนในหุ้นกลุ่ม “ธนาคารพาณิชย์” เอาไว้บ้าง
เนื่องจากตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป
ธนาคารพาณิชย์จะเริ่มถูกเข้มงวดจากกฎเกณฑ์ใหม่ของแบงก์ชาติ
โดยเฉพาะการกำหนดให้หนี้ค้างชำระตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
ต้องถูกจัดไว้ในส่วนของเอ็นพีแอล
ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องตั้งเงินสำรองเพิ่มขึ้น
ขณะที่ หุ้นใน “กลุ่มพลังงาน” หากเป็นไปได้…ควรหลีกเลี่ยง
เพราะหุ้นในกลุ่มนี้จะเริ่มไม่ Growth
”เล่นหุ้นพลังงานตอนนี้ต้องหัวใจแข็งแรง โดยเฉพาะธุรกิจโรงกลั่น
จะเหมือนรถที่วิ่งอยู่บนแกรนด์แคนยอน…ขึ้นแรง แต่ลงน่ากลัว
หุ้นในกลุ่ม “ที่อยู่อาศัย” ต้องถามตัวเองก่อนว่า
ปีหน้ามันจะโตอีกหรือไม่…เพราะถึงโตก็โตช้า
ไม่มีทางผิดแปลกไปจากนี้ ถ้า (กำไร) โตขึ้นไปได้สัก 4-5%
ก็ดีมากแล้ว
และหากกำไรโตได้เท่านี้…ราคาหุ้นคงไม่ไปไกลจากเดิม
เนื่องจากสมัยนี้อัตราคนเกิดใหม่มันเริ่มที่จะลดลง
ครอบครัวนิยมมีลูกแค่คนเดียว
และต้องยอมรับว่าตอนนี้ “เทรนด์หุ้น”
กลุ่มที่อยู่อาศัยมันหมดความหวือหวา
ขณะที่การแข่นขันก็ยังสูงมาก ไม่มีภาพของ “ผู้ชนะ” ที่ชัดเจน
เพราะการทำธุรกิจบ้านจัดสรร สิ่งสำคัญที่สุดคือ “ทำเล”
ถ้าหากโครงการในทำเลนี้ขายหมดก็ต้องไปขึ้นอีกที่ทำเลใหม่
แต่ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าทั้งตลาดใครคือผู้ชนะ
ต้องดูแต่ละทำเลไป
ส่วนหุ้นที่เน้นทำคอนโดมิเนียม แม้ธุรกิจจะโตขึ้นมามาก
แต่ยังไม่มีผู้ชนะที่ชัดเจนเช่นกัน
บางรายอาจจะพยายามทำภาพตัวเองไว้เด่นมาก แต่เราก็ไม่รู้แน่ว่า รายที่ 4-5
จะเด่นขึ้นมาเทียบชั้นเมื่อไรก็ได้
”เพราะฉะนั้น ถ้าจะเลือกลงทุนในยามนี้ต้องพยายามเลือกลงทุน
ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบเพียงเล็กน้อย
คือไม่ว่าตลาดจะเป็นยังไงสินค้าของธุรกิจนั้นก็ยังต้องขายได้”
ดร.นิเวศน์ ยกตัวอย่างหุ้นที่น่าลงทุนว่า อย่าง “หุ้นบะหมี่”
(ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ หรือ TF)
ตอนนี้ผมมีอยู่ 20,000 หุ้น เคยซื้อไว้ตั้งแต่ราคา 30-40 บาท
แต่ตอนนี้ราคามันขึ้นมาตั้ง 436 บาท
เป็นหุ้นที่อดทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
แต่หากเปรียบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในยามนี้ “ผมยังยืนยันว่า
ยังคงสนใจหุ้นโมเดิร์นเทรด
มากที่สุด เพราะมันเป็นหุ้นค้าขาย…ที่มีเครือข่ายจำนวนมาก
เป็นธุรกิจที่มีระบบจากศูนย์กลาง มีความทันสมัย
ลูกค้าเข้าไปแล้วได้ของครบ
…ซึ่งลักษณะค้าขายแบบนี้
ผมว่ามันเป็นอะไรที่เป็นฟิวเจอร์ของโลก”
นอกจากนี้ หุ้นโมเดิร์นเทรดยังถือเป็นหุ้นที่มี “ความเสี่ยงต่ำ”
แถมกำไรยังมีความมั่นคงมาก เพราะเป็นธุรกิจประเภทซื้อมาขายไป
และการเติบโตของมันก็ค่อนข้างที่จะแน่นอน
อาจจะมีการเปิดสาขาใหม่ปีละ 10- 20 สาขา
ลองมองธุรกิจประเภทนี้ให้เป็น จะเห็นเลยว่า
ยากมากที่สาขาแต่ละแห่งจะต้องปิดตัวลง
เพราะเปิดไปแล้วมีแต่อยู่…ไม่ค่อยมีเลิก
โอกาสที่แต่ละสาขาจะประสบความสำเร็จมีสูงมาก
ยิ่งบ้านเรามันเมืองร้อน
ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ต้องไปเดินห้างสรรพสินค้ากัน
เพื่อต้องการอยู่ภายในห้องแอร์
ปัจจุบันหุ้นในกลุ่มโมเดิร์นเทรด ที่ ดร.นิเวศน์
ถือหุ้นรายใหญ่ก็คงมี
”โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์” (HMPRO)
”ส่วน “ซีพี เซเว่นฯ” (CP7-11) นี่ก็น่าสนใจ
ตอนนี้เขามีสาขาทั่วประเทศ และเพิ่มขึ้นตลอดเวลา”
รวมถึงหุ้น “ซีเอ็ด ยูเคชั่น” (SE-ED) …ตัวนี้ผมก็ลงทุน
และมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มของ “โมเดิร์นเทรด” เช่นเดียวกัน
เพราะเป็นหุ้นที่มีเครือข่ายสาขา
คนอ่านหนังสือก็มีแต่จะเพิ่มขึ้น และมันเป็นธุรกิจที่เก็บแคช(เงินสด)
มีเงินไหลเข้ามาตลอดเวลา ก็เหมือนกับ CP 7-11
…แม้ตอนนี้ตัวธุรกิจจะมีปัญหากับค่ายไทยรัฐ
แต่ผมก็ถือเป็นแนเชอรัลเป็นเรื่องปกติของธุรกิจซึ่งกำลังเติบโต
เพราะเมื่อใดที่ธุรกิจของคุณใหญ่หรือเก่งขึ้นเท่าไร
โอกาสพบกับปัญหามันก็ย่อมเข้ามาหามากขึ้นเป็นธรรมดา
โดยที่ ดร.นิเวศน์ ยังคงเชื่อว่าศึกระหว่าง “ซีเอ็ด” กับ
”ไทยรัฐ” น่าจะได้ทางออกหรือข้อยุติในที่สุด …
และถึงยังไงเทรนด์ของธุรกิจก็จะคงอยู่ ไม่ใช่ว่ากิจการจะเจ๊งไป
”หุ้นโมเดิร์นเทรดซื้อไปเราไม่ต้องกังวลเลย
เพราะเรารู้ว่ากิจการของเขามันดีตลอด
ยอดขายมีแต่เพิ่มไม่มีลง เราต้องคิดว่าเราลงทุนระยะยาว
คือไม่ต่ำกว่า 5 ปี
เราซื้อแล้วทิ้งไว้เลยโดยที่ไม่ต้องทำอะไร”
หุ้นในกลุ่ม “โรงแรม” ก็ถือว่าอยู่ในมุมมองที่น่าลงทุน
แต่ต้องเน้นลงทุนในหุ้นโรงแรมที่มี
”เชน” ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้จะมีปันผลสม่ำเสมอ
และการเติบโตของกำไรค่อนข้างต่อเนื่อง …
ไม่ค่อยสนใจกับดัชนีตลาดสักเท่าไร
นอกจากนี้ ดร.นิเวศน์ ยังแนะนำให้ลงทุนใน “หุ้นอาหาร” อีกเช่นกัน
หุ้นที่ผมชอบก็ต้องหุ้น “ฟาสต์ฟู้ด”
เพราะผมคิดว่าตรงนี้มันเป็นเทรนด์ใหม่ของโลก
แค่ถามว่าคุณจะเลือกกินอะไรระหว่างไก่ทอดเคเอฟซี
กับไก่ย่างจีรพันธ์ …
เพราะเดี๋ยวนี้ราคากินในห้างกับกินข้างทางมันแทบไม่ต่างกันเลย
เย็นกว่า สบายกว่า อร่อยกว่า
”ฟาสต์ฟู้ดมันเป็นเทรนด์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น และคนรุ่นใหม่ๆ
ก็จะต้องบริโภคมากขึ้นทุกๆ ปี
เพราะคนรุ่นใหม่มันมีแต่จะเพิ่มขึ้นๆ แล้วคนก็มีรายได้มากขึ้น”
นักลงทุนบางกลุ่มที่กำลังมองว่า “หุ้นโรงพยาบาล” กำลังดี
แต่ขอเตือนก่อนว่า
”บังเอิญคุณอาจจะรู้ช้าไปนิด”
โดยเฉพาะบางตัวที่ราคาค่อนข้างจะหวือหวา แต่ตอนนี้ราคา (แพง)
ไปมากแล้ว
และเป็นหุ้นที่ผม “ไม่แนะนำ”
เพราะธุรกิจโรงพยาบาลมันเป็นสิ่งที่การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก
เพราะเป็นเรื่องของสุขภาพประชาชน รัฐบาลสามารถเข้าไปแทรกแซงได้
โดยเฉพาะในเรื่องของค่ายา
สรุปคือ การเลือกหุ้นที่ดีนั้นเราต้องดูว่า “หนึ่ง”
ธุรกิจมันเติบโตหรือไม่
”สอง” เป็นผู้ชนะหรือไม่ และ “สาม” ราคาหุ้นเป็นอย่างไร …
ซึ่งถ้าราคาหุ้นยังถูกด้วย ตัวนี้สุดยอดเลย
หุ้นตัวที่ว่าเราจะดูผิดหรือดูถูก…สำหรับผมคือ
ตัวนี้เมื่อเราดูมานาน
สตอรี่ของมันคือเรื่องอะไร จนเมื่อเวลาผ่านไปสัก 1-2 ปี
เราต้องรู้สึกแล้วว่าที่เราคิดไว้…
มันผิดหรือถูก ถ้าผิดปุ๊บเราต้องขายทิ้ง
”พอร์ตหุ้นของผมต้องไม่มีหุ้นที่ขาดทุน
เพราะถ้าตัวไหนที่ขาดทุน…ผมจะขายทิ้งทันที
เพื่อไปหาตัวอื่นที่ดีกว่า”
หรือหากถ้าซื้อมาแล้ว ราคาหุ้นกลับขึ้นมา
ทำให้เรามีกำไรเป็นเท่าตัว เราก็ต้องไม่ขาย
แต่ยิ่งต้องซื้อเพิ่มอีก…เพราะว่าเราเลือกถูกตัวแล้ว
ยกตัวอย่างหุ้น
”ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า” (STANLY)
แม้ตอนนี้ผมจะขายไปจนเกือบหมดแล้ว
แต่ตอนที่ผมเข้ามาซื้อ ราคามัน 5-6 บาท พอขึ้นไปถึง 30-40 บาท
ผมก็ยังซื้อเพิ่มต่อไป
เพราะถ้าเรารู้ว่าเราซื้อหุ้นถูกตัว
แค่ตัวเดียวก็ทำให้เรารวยได้แล้ว
แต่ตัวเดียวก็น้อยเกินไป ควรกระจายออกไป เอาอีกสัก 2-3 ตัวก็ได้
ดร.นิเวศน์ ยังฝากข้อคิดทิ้งท้ายว่า
”การลงทุนในหุ้น…ถ้าเป็นไปในลักษณะว่ามันเหนื่อย
แล้วก็น่าเบื่อ จะได้ตังค์…แต่ถ้าเหนื่อยด้วย แล้วสนุกด้วย
เสียตังค์…ก็ต้องเลือกเอาว่า
เราจะลงทุนแบบไหน”
ของท่านอาจารย์ พวกเรา ครับ
เจาะเซฟ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ปรับพอร์ตหุ้น เน้น…”Soft Company”
บทความจาก นสพ. bizweek
—————————————————-
”ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” Value Investor
(นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า)
มือหนึ่งของเมืองไทย
ยังมั่นใจในเป้าหมายว่าก่อนตายพอร์ตหุ้นจะแตะ “พันล้าน”
แน่นอน ใครจะรู้บ้างว่า ในภาวะหุ้น “ขาลง” เช่นปีนี้
ดอกเตอร์มีมุมมองในการเลือกหุ้นอย่างไร
และสภาพพอร์ตหุ้นที่ถืออยู่ของครอบครัว “เหมวชิรวรากร”
ยังสุขสบายดีอยู่หรือไม่…
ปัจจุบัน “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร”
มีรายได้ส่วนใหญ่จากหุ้นที่ถืออยู่ในพอร์ต
ส่วนตัว…เขาบอกว่าเริ่มต้นลงทุนเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว
ด้วยเงินลงทุนราว 10 ล้านบาท
จนมาถึงวันนี้
ได้รับเงินปันผลจากหุ้นที่ลงทุนกลับมาเป็นรายได้เท่ากับเงินลงทุนเริ่มต้น
หรือปีละประมาณ “10 ล้านบาท” คิดคร่าวๆ
ตกเดือนละประมาณ “8 แสนกว่าบาท”
เรียกว่าไม่ต้องทำงานประจำก็อยู่ได้อย่างสบายๆ
ดร.นิเวศน์ เล่าว่าตอนนี้ “ผมกลายเป็นนักลงทุนอาชีพเต็มตัว”
เพราะมีรายได้หลักมาจากเงินปันผล
แต่วิธีการจัดสรรเงินจะแบ่งสัดส่วนเงินสดประมาณ 0.5-1% ของพอร์ต
ไว้สำหรับใช้จ่ายประจำวัน เงินส่วนที่เหลือจะอยู่ในหุ้นทั้งหมด
(แช่อยู่ในหุ้นแทบจะตลอดเวลา)
“เวลาได้รับเงินปันผลกลับมา
หากมีเงินสดมากเกินไปก็จะนำไปซื้อหุ้นต่อ
โดยจะไม่เก็บเงินสดเกิน 1% ของพอร์ต
และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงพอร์ตมากนัก
เฉลี่ยการถือหุ้นแต่ละตัวประมาณ 3-4 ปี
หุ้นบางตัวถือยาวถึง 7-8 ปีก็มี”
ดร.นิเวศน์ บอกว่า
เมื่อถึงสิ้นปีของทุกปีจะมาพิจารณาดูว่าผลตอบแทน
และการเติบโตของพอร์ตเป็นอย่างไร
จากนั้นจะเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ของต้นปีถัดมา
ซึ่งตั้งแต่ต้นปีมานี้ไม่ได้รับผลกระทบ
และพอร์ตหุ้นยังได้รับผลตอบแทนดีกว่าตลาด
”ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ก็สามารถบริหารได้ชนะตลาดหุ้นมาโดยตลอด
เฉลี่ยผลตอบแทนมากกว่า 10% ยกเว้นในปี 2547
เท่านั้นที่บริหารได้แพ้ตลาด
และมีผลขาดทุนราวๆ 10% กว่า เนื่องจากตลาดหุ้นผันผวนมาก”
ปัจจุบัน ดร.นิเวศน์ มีหุ้นที่ถืออยู่ในพอร์ตราว 20 กว่าบริษัท
แต่ก่อนที่จะลงทุนเขาจะพิจารณาเลือกหุ้นโดยมี “เรื่องราว” หรือ “theme”
เป็นสำคัญ โดยจะคิดก่อนว่า ในระยะ 5 ปีข้างหน้า
ธุรกิจอะไรจะไปได้ดีและเติบโต
ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้พอร์ตหุ้นที่ถืออยู่ส่วนใหญ่
จึงไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
วิธีค้นหา theme ของ ดร.นิเวศน์ จะมองในสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เช่น หนังสือ
ในอดีตไม่ค่อยมีร้านหนังสือ หนังสือไม่ค่อยมาก เช่น
พ็อคเก็ตบุ๊คแต่ก่อนจะมีน้อย
แต่เดี๋ยวนี้มีหลากหลายมาก ดาราทุกคนต้องออกหนังสือ
เป็นการมองเห็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ช้าๆ แต่ชัดเจน
หรือร้านอาหาร สมัยก่อนต้องซื้อของในตลาดสด
เดี๋ยวนี้ซื้อได้จากห้างแทนตลาดสด
หรือธุรกิจมือถือ เมื่อ 7-8
ปีก่อนถ้าคนขับรถมีมือถือจะตกใจจะคิดว่าฟุ่มเฟือย ฟู่ฟ่า
แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนต้องมีมือถือ อย่างรถยนต์ก็เช่นกัน
สมัยก่อนคนมีรถจะต้อง
มีระดับพอสมควร แต่หลังๆ มีรถกันเยอะขึ้น เพราะรถไม่แพง
รายได้มากขึ้น
ก็สามารถซื้อได้ เป็นทางเลือกแรกๆ ของชีวิต
เหล่านี้คือ “แก่น” ที่ใช้ในการลงทุน
ที่เขาบอกว่านักลงทุนจะต้องฝึกสังเกตสิ่งรอบตัวเรา
สำหรับแนวทางการลงทุนใหม่ในช่วง 1-2 ปีมานี้ จนกระทั่งในปีนี้
ซึ่งตลาดหุ้นค่อนข้างผันผวนและอยู่ในภาวะเศรษฐกิจ “ขาลง”
ดร.นิเวศน์ กล่าวว่า ได้ปรับพอร์ตลงทุนเล็กน้อย โดยซื้อหุ้นใหม่ๆ
เพิ่มเข้ามาบ้าง
และจะเน้นลงทุนในหุ้นประเภท “Soft Company”
ซึ่งจะเป็นธุรกิจที่ขายบริการ
ขายความรู้ มีระบบ และมีแบรนด์เนม
ซึ่งเป็นกิจการที่ใช้เงินลงทุนต่ำ
ไม่ต้องลงทุนสร้างโรงงาน หรือซื้อเครื่องจักรราคาสูงๆ…
ในฐานะนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า “Value” จะรับความเสี่ยงไม่ค่อยไหว
จึงเน้นบริษัทที่มีรายได้แน่นอน เติบโต และมั่นคง
ต้องให้มีความรู้ติดอยู่กับตัวกิจการ ไม่ได้ติดกับคน
ถ้าคนไม่อยู่แล้วกิจการต้องอยู่ได้ เช่น ในธุรกิจบันเทิง
ขายความรู้ และพรสวรรค์ เช่น เวิร์คพ้อยท์ จะติดอยู่กับ “คุณปัญญา นิรันดร์กุล” เยอะมาก
ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง แต่กรณี “แกรมมี่ฯ”
ก็ขายพรสวรรค์เหมือนกัน
แต่ในระยะหลังกลายเป็นสถาบันที่เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์สามารถสร้าง “ทางเลือก”
และสร้างคนใหม่ได้
”การลงทุนตอนนี้ผมสนใจ Soft Company
เพราะเป็นบริษัทที่ขายบริการหรือขายความรู้
และเป็นกิจการที่ใช้เงินลงทุนต่ำ
ใช้เงินเข้าไปลงทุนประกอบการน้อย
ไม่ต้องรักษายอดขายหรือการเจริญเติบโตของตัวเอง ธุรกิจขายความรู้
หรือบริการที่ตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ดีในตลาด
ส่วนใหญ่จะติดอันดับ 1 แย่ที่สุดอันดับ 2 แต่ถ้า 3
แสดงว่าอนาคตการแข่งขันลำบาก
หลังๆ มานี้ลงทุนธุรกิจประเภทนี้ เพราะ “อุตสาหกรรมหนัก”
กิจการต้องลงทุนมาก
แต่ Soft Company จะมีเงินสดมาก”
ธุรกิจที่จัดอยู่ในประเภท Soft Company ซึ่ง ดร.นิเวศน์
พิจารณาลงทุนในปัจจุบัน
เช่น ธุรกิจโมเดิร์นเทรด หรือค้าปลีก บันเทิง รถยนต์ สิ่งพิมพ์
เป็นต้น
เขาให้เหตุผลการเลือกลงทุนในหุ้นประเภท “โมเดิร์นเทรด”
ก็เพราะเป็นธุรกิจที่มั่นคง
แนวโน้มเติบโตเรื่อยๆ ในระยะยาวเฉลี่ย 10-15%
มีความเสี่ยงต่ำและมีกำไรสม่ำเสมอ
”แม้ธุรกิจค้าปลีกจะมีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นมาก
แต่ยังมีช่องว่างที่จะเติบโตอีกมาก
เพราะปัจจุบันธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ
ซึ่งยังมีหัวเมืองใหญ่ที่สามารถจะขยายเข้าไปได้อีก
ขณะที่ความเสี่ยงต่ำ เพราะไม่ค่อยมีผลกระทบ
หรือทนทานกับผลกระทบได้มาก”
ดร.นิเวศน์ กล่าวว่า หลายปีก่อนเขาจะเน้น “theme” ธุรกิจรถยนต์
แต่ปัจจุบันก็ยังมีหุ้นรถยนต์อยู่เพราะมองว่า
อนาคตรถยนต์ก็ยังเติบโตต่อไปได้อีก
เพราะส่งออกได้อีกมาก ปีหน้ายังจะส่งออกได้มาก
แม้ว่าภายในประเทศจะเริ่มชะลอลง 10%
แต่จะมีส่งออกมาแทน เรื่องราวจึงยังไม่หมด แต่ผมมองมาตั้งแต่ 7-8 ปีก่อน
ว่ายังเติบโต คนมีเงินมากขึ้นก็อยากมี Luxury
เป็นสิ่งที่ต้องการอยู่
”ปัจจุบันผมถือหุ้นรถยนต์มีสัดส่วนมากสุด รวมถึงหุ้นโมเดิร์นเทรด
แต่บางตัวอาจจะไม่ปรากฏในรายงานเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
แต่บางตัวเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เพราะบริษัทนั้นมีขนาดเล็ก”
สำหรับหุ้นในพอร์ตบางส่วนของ ดร.นิเวศน์ ซึ่งถือหุ้นโดย
”เพาพิลาส เหมวชิรวรากร” ภรรยา ที่พอจะรวบรวมได้จากรายงานการถือหุ้นใหญ่ของบริษัท
จากตลาดหลักทรัพย์ พบว่า มีหุ้นในธุรกิจรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์
ได้แก่ “IRC” หรือบริษัท อิโนเว รับเบอร์ จำนวนมากที่สุด
5,212,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 2.61%
และยังถือหุ้นในบริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า หรือ “STANLY” จำนวน
2.5 แสนหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 0.65%
”คิดว่ารถยนต์และชิ้นส่วนยังเติบโตค่อนข้างดี
แต่หุ้นหลายตัวราคาไม่ถูก
หลายตัวเติบโตและมีพื้นฐานดี เป็นผู้นำตลาด
จึงต้องเลือกเป็นรายตัว
อย่างหุ้น IRC มีค่าพี/อีไม่สูงไม่เกิน 10 เท่า
เติบโตมาตลอดหลายปี มีความแข็งแกร่ง
เป็นผู้นำอุตสาหกรรม ถือเป็นหุ้นตัวหนึ่งที่คุณภาพใช้ได้
ราคาไม่แพง
แต่จะมีสภาพคล่องต่ำ ถือยาวได้”
นอกจากนั้น ยังมีหุ้นสิ่งพิมพ์ อย่าง “APRINT” หรือ
บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง
จำนวน 2,105,263 หุ้น สัดส่วน 1.05% และ “SE-ED” หรือ บริษัท
ซีเอ็ดยูเคชั่น จำนวน 2 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.64%
”สิ่งพิมพ์ช่วงนี้อาจไม่ค่อยดี เพราะกระดาษขึ้นและแข่งขันสูง
แต่ถือยาวได้ เพราะมีข้อดีตรงที่ธุรกิจแข็งแกร่ง
ส่วนใหญ่มีลูกค้าประจำแน่นอน
ขณะเดียวกันใช้เงินลงทุนน้อย มีเงินสดสูง ที่ถือหุ้นประเภทนี้
เพราะโดยส่วนตัวชอบอ่านหนังสือ
จึงลงทุนในกิจการที่ชอบและอยากเป็นเจ้าของกิจการ
คิดว่าระยะยาวแข็งแกร่งและยืนอยู่ได้”
ไม่เพียงเท่านั้น เขายังถือ “SSC” หรือ
บริษัท เสริมสุข จำนวน 2 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.76% ซึ่งเขาบอกว่า
ถือหุ้นตัวนี้มาเป็นเวลานานมากแล้วราว 7-8ปี
จึงมีต้นทุนที่ต่ำมาก
แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีเรื่องราวอะไรให้เล่น ค่าพี/อีไม่ต่ำแล้ว
เพราะการแข่งขันในธุรกิจเครื่องดื่มสูงขึ้น
ทำให้ยอดขายเติบโตน้อยในช่วง 1-2 ปีมานี้
และกำไรลดลง แต่กิจการของบริษัทเข้มแข็ง มีกำไรสม่ำเสมอ
และได้รับปันผลมาโดยตลอด
จึงถือไปเรื่อยๆ และดูระยะยาว 5 ปีขึ้นไป
นอกจากนั้น พอร์ตหุ้นของ ดร.นิเวศน์ ยังปรากฏชื่อ “TMD”
หรือบริษัท อุตสาหกรรมถังโลหะไทย จำนวน 1 แสนหุ้น สัดส่วน 0.67%
และ “WG” หรือ บริษัท ไว้ท์กรุ๊ป จำนวน 1 แสนหุ้น สัดส่วนถือหุ้น 0.56%
รวมถึง “HMPRO” หรือ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์
แต่ยังไม่ปรากฏรายชื่อในรายงานผู้ถือหุ้นใหญ่
โดยเขามองว่า หุ้นตัวนี้อยู่ในธุรกิจโมเดิร์นเทรด ซึ่งจัดเป็น
Soft Company ที่มีโอกาสที่เติบโตได้อีกมาก
หากพิจารณามูลค่าหุ้นในพอร์ตของครอบครัวเหมวชิรวรากร ณ
วันที่ 11 เม.ย.2548 พบว่า
หุ้นทั้ง 7 บริษัทที่ถืออยู่ (บางส่วน) มีมูลค่าหุ้นรวมทั้งสิ้น 166 ล้านบาท โดย
”IRC” มีมูลค่าสูงสุด 50.82 ล้านบาท
รองลงมา “SSC” มีมูลค่า 41.60 ล้านบาท
”STANLY” มูลค่า 34.25 ล้านบาท
”APRINT” มูลค่า 21.26 ล้านบาท
”SE-ED” มูลค่า 9.84 ล้านบาท
”TMD” มูลค่า 5.40 ล้านบาท และ
”WG” มูลค่า 2.85 ล้านบาท
ปัจจุบันสุขภาพของหุ้นในพอร์ต ดร.นิเวศน์ จึงยังอยู่สบายๆ
และสร้างผลตอบแทนกลับมาให้แก่ครอบครัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง
ดร.นิเวศน์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า
การลงทุนของเขาเปรียบเหมือนกับการ “บ่มเหล้า”
ต้องรอเวลาหมักจนได้ที่ จะไปรีบร้อนไม่ได้
บอกไม่ได้ว่าดีขึ้นหรือไม่
แต่จะมีโอกาสได้ศึกษากิจการลึกขึ้น ส่วนที่ได้มากขึ้น คือ
ความไม่เครียด และไม่กังวล
**********************************************
”ดร.นิเวศน์” ทำนาย เทรนด์หุ้น 2550 เก็งหุ้น
”โมเดิร์นเทรด-ฟาสต์ฟู้ด-โรงแรม”
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เปิดเผยกลวิธีการเล่นหุ้นปี 2550
บนเวทีสัมมนา “เซียนโซน” ซึ่งจัดขึ้นโดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ BizWeek
ร่วมกับ บล.บีฟิท และมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยเตือนให้นักลงทุน
”ต้องระวัง”
การลงทุนในหุ้นกลุ่ม “ธนาคารพาณิชย์” เอาไว้บ้าง
เนื่องจากตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป
ธนาคารพาณิชย์จะเริ่มถูกเข้มงวดจากกฎเกณฑ์ใหม่ของแบงก์ชาติ
โดยเฉพาะการกำหนดให้หนี้ค้างชำระตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
ต้องถูกจัดไว้ในส่วนของเอ็นพีแอล
ซึ่งจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องตั้งเงินสำรองเพิ่มขึ้น
ขณะที่ หุ้นใน “กลุ่มพลังงาน” หากเป็นไปได้…ควรหลีกเลี่ยง
เพราะหุ้นในกลุ่มนี้จะเริ่มไม่ Growth
”เล่นหุ้นพลังงานตอนนี้ต้องหัวใจแข็งแรง โดยเฉพาะธุรกิจโรงกลั่น
จะเหมือนรถที่วิ่งอยู่บนแกรนด์แคนยอน…ขึ้นแรง แต่ลงน่ากลัว
หุ้นในกลุ่ม “ที่อยู่อาศัย” ต้องถามตัวเองก่อนว่า
ปีหน้ามันจะโตอีกหรือไม่…เพราะถึงโตก็โตช้า
ไม่มีทางผิดแปลกไปจากนี้ ถ้า (กำไร) โตขึ้นไปได้สัก 4-5%
ก็ดีมากแล้ว
และหากกำไรโตได้เท่านี้…ราคาหุ้นคงไม่ไปไกลจากเดิม
เนื่องจากสมัยนี้อัตราคนเกิดใหม่มันเริ่มที่จะลดลง
ครอบครัวนิยมมีลูกแค่คนเดียว
และต้องยอมรับว่าตอนนี้ “เทรนด์หุ้น”
กลุ่มที่อยู่อาศัยมันหมดความหวือหวา
ขณะที่การแข่นขันก็ยังสูงมาก ไม่มีภาพของ “ผู้ชนะ” ที่ชัดเจน
เพราะการทำธุรกิจบ้านจัดสรร สิ่งสำคัญที่สุดคือ “ทำเล”
ถ้าหากโครงการในทำเลนี้ขายหมดก็ต้องไปขึ้นอีกที่ทำเลใหม่
แต่ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าทั้งตลาดใครคือผู้ชนะ
ต้องดูแต่ละทำเลไป
ส่วนหุ้นที่เน้นทำคอนโดมิเนียม แม้ธุรกิจจะโตขึ้นมามาก
แต่ยังไม่มีผู้ชนะที่ชัดเจนเช่นกัน
บางรายอาจจะพยายามทำภาพตัวเองไว้เด่นมาก แต่เราก็ไม่รู้แน่ว่า รายที่ 4-5
จะเด่นขึ้นมาเทียบชั้นเมื่อไรก็ได้
”เพราะฉะนั้น ถ้าจะเลือกลงทุนในยามนี้ต้องพยายามเลือกลงทุน
ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบเพียงเล็กน้อย
คือไม่ว่าตลาดจะเป็นยังไงสินค้าของธุรกิจนั้นก็ยังต้องขายได้”
ดร.นิเวศน์ ยกตัวอย่างหุ้นที่น่าลงทุนว่า อย่าง “หุ้นบะหมี่”
(ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ หรือ TF)
ตอนนี้ผมมีอยู่ 20,000 หุ้น เคยซื้อไว้ตั้งแต่ราคา 30-40 บาท
แต่ตอนนี้ราคามันขึ้นมาตั้ง 436 บาท
เป็นหุ้นที่อดทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
แต่หากเปรียบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในยามนี้ “ผมยังยืนยันว่า
ยังคงสนใจหุ้นโมเดิร์นเทรด
มากที่สุด เพราะมันเป็นหุ้นค้าขาย…ที่มีเครือข่ายจำนวนมาก
เป็นธุรกิจที่มีระบบจากศูนย์กลาง มีความทันสมัย
ลูกค้าเข้าไปแล้วได้ของครบ
…ซึ่งลักษณะค้าขายแบบนี้
ผมว่ามันเป็นอะไรที่เป็นฟิวเจอร์ของโลก”
นอกจากนี้ หุ้นโมเดิร์นเทรดยังถือเป็นหุ้นที่มี “ความเสี่ยงต่ำ”
แถมกำไรยังมีความมั่นคงมาก เพราะเป็นธุรกิจประเภทซื้อมาขายไป
และการเติบโตของมันก็ค่อนข้างที่จะแน่นอน
อาจจะมีการเปิดสาขาใหม่ปีละ 10- 20 สาขา
ลองมองธุรกิจประเภทนี้ให้เป็น จะเห็นเลยว่า
ยากมากที่สาขาแต่ละแห่งจะต้องปิดตัวลง
เพราะเปิดไปแล้วมีแต่อยู่…ไม่ค่อยมีเลิก
โอกาสที่แต่ละสาขาจะประสบความสำเร็จมีสูงมาก
ยิ่งบ้านเรามันเมืองร้อน
ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ต้องไปเดินห้างสรรพสินค้ากัน
เพื่อต้องการอยู่ภายในห้องแอร์
ปัจจุบันหุ้นในกลุ่มโมเดิร์นเทรด ที่ ดร.นิเวศน์
ถือหุ้นรายใหญ่ก็คงมี
”โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์” (HMPRO)
”ส่วน “ซีพี เซเว่นฯ” (CP7-11) นี่ก็น่าสนใจ
ตอนนี้เขามีสาขาทั่วประเทศ และเพิ่มขึ้นตลอดเวลา”
รวมถึงหุ้น “ซีเอ็ด ยูเคชั่น” (SE-ED) …ตัวนี้ผมก็ลงทุน
และมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มของ “โมเดิร์นเทรด” เช่นเดียวกัน
เพราะเป็นหุ้นที่มีเครือข่ายสาขา
คนอ่านหนังสือก็มีแต่จะเพิ่มขึ้น และมันเป็นธุรกิจที่เก็บแคช(เงินสด)
มีเงินไหลเข้ามาตลอดเวลา ก็เหมือนกับ CP 7-11
…แม้ตอนนี้ตัวธุรกิจจะมีปัญหากับค่ายไทยรัฐ
แต่ผมก็ถือเป็นแนเชอรัลเป็นเรื่องปกติของธุรกิจซึ่งกำลังเติบโต
เพราะเมื่อใดที่ธุรกิจของคุณใหญ่หรือเก่งขึ้นเท่าไร
โอกาสพบกับปัญหามันก็ย่อมเข้ามาหามากขึ้นเป็นธรรมดา
โดยที่ ดร.นิเวศน์ ยังคงเชื่อว่าศึกระหว่าง “ซีเอ็ด” กับ
”ไทยรัฐ” น่าจะได้ทางออกหรือข้อยุติในที่สุด …
และถึงยังไงเทรนด์ของธุรกิจก็จะคงอยู่ ไม่ใช่ว่ากิจการจะเจ๊งไป
”หุ้นโมเดิร์นเทรดซื้อไปเราไม่ต้องกังวลเลย
เพราะเรารู้ว่ากิจการของเขามันดีตลอด
ยอดขายมีแต่เพิ่มไม่มีลง เราต้องคิดว่าเราลงทุนระยะยาว
คือไม่ต่ำกว่า 5 ปี
เราซื้อแล้วทิ้งไว้เลยโดยที่ไม่ต้องทำอะไร”
หุ้นในกลุ่ม “โรงแรม” ก็ถือว่าอยู่ในมุมมองที่น่าลงทุน
แต่ต้องเน้นลงทุนในหุ้นโรงแรมที่มี
”เชน” ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้จะมีปันผลสม่ำเสมอ
และการเติบโตของกำไรค่อนข้างต่อเนื่อง …
ไม่ค่อยสนใจกับดัชนีตลาดสักเท่าไร
นอกจากนี้ ดร.นิเวศน์ ยังแนะนำให้ลงทุนใน “หุ้นอาหาร” อีกเช่นกัน
หุ้นที่ผมชอบก็ต้องหุ้น “ฟาสต์ฟู้ด”
เพราะผมคิดว่าตรงนี้มันเป็นเทรนด์ใหม่ของโลก
แค่ถามว่าคุณจะเลือกกินอะไรระหว่างไก่ทอดเคเอฟซี
กับไก่ย่างจีรพันธ์ …
เพราะเดี๋ยวนี้ราคากินในห้างกับกินข้างทางมันแทบไม่ต่างกันเลย
เย็นกว่า สบายกว่า อร่อยกว่า
”ฟาสต์ฟู้ดมันเป็นเทรนด์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น และคนรุ่นใหม่ๆ
ก็จะต้องบริโภคมากขึ้นทุกๆ ปี
เพราะคนรุ่นใหม่มันมีแต่จะเพิ่มขึ้นๆ แล้วคนก็มีรายได้มากขึ้น”
นักลงทุนบางกลุ่มที่กำลังมองว่า “หุ้นโรงพยาบาล” กำลังดี
แต่ขอเตือนก่อนว่า
”บังเอิญคุณอาจจะรู้ช้าไปนิด”
โดยเฉพาะบางตัวที่ราคาค่อนข้างจะหวือหวา แต่ตอนนี้ราคา (แพง)
ไปมากแล้ว
และเป็นหุ้นที่ผม “ไม่แนะนำ”
เพราะธุรกิจโรงพยาบาลมันเป็นสิ่งที่การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก
เพราะเป็นเรื่องของสุขภาพประชาชน รัฐบาลสามารถเข้าไปแทรกแซงได้
โดยเฉพาะในเรื่องของค่ายา
สรุปคือ การเลือกหุ้นที่ดีนั้นเราต้องดูว่า “หนึ่ง”
ธุรกิจมันเติบโตหรือไม่
”สอง” เป็นผู้ชนะหรือไม่ และ “สาม” ราคาหุ้นเป็นอย่างไร …
ซึ่งถ้าราคาหุ้นยังถูกด้วย ตัวนี้สุดยอดเลย
หุ้นตัวที่ว่าเราจะดูผิดหรือดูถูก…สำหรับผมคือ
ตัวนี้เมื่อเราดูมานาน
สตอรี่ของมันคือเรื่องอะไร จนเมื่อเวลาผ่านไปสัก 1-2 ปี
เราต้องรู้สึกแล้วว่าที่เราคิดไว้…
มันผิดหรือถูก ถ้าผิดปุ๊บเราต้องขายทิ้ง
”พอร์ตหุ้นของผมต้องไม่มีหุ้นที่ขาดทุน
เพราะถ้าตัวไหนที่ขาดทุน…ผมจะขายทิ้งทันที
เพื่อไปหาตัวอื่นที่ดีกว่า”
หรือหากถ้าซื้อมาแล้ว ราคาหุ้นกลับขึ้นมา
ทำให้เรามีกำไรเป็นเท่าตัว เราก็ต้องไม่ขาย
แต่ยิ่งต้องซื้อเพิ่มอีก…เพราะว่าเราเลือกถูกตัวแล้ว
ยกตัวอย่างหุ้น
”ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า” (STANLY)
แม้ตอนนี้ผมจะขายไปจนเกือบหมดแล้ว
แต่ตอนที่ผมเข้ามาซื้อ ราคามัน 5-6 บาท พอขึ้นไปถึง 30-40 บาท
ผมก็ยังซื้อเพิ่มต่อไป
เพราะถ้าเรารู้ว่าเราซื้อหุ้นถูกตัว
แค่ตัวเดียวก็ทำให้เรารวยได้แล้ว
แต่ตัวเดียวก็น้อยเกินไป ควรกระจายออกไป เอาอีกสัก 2-3 ตัวก็ได้
ดร.นิเวศน์ ยังฝากข้อคิดทิ้งท้ายว่า
”การลงทุนในหุ้น…ถ้าเป็นไปในลักษณะว่ามันเหนื่อย
แล้วก็น่าเบื่อ จะได้ตังค์…แต่ถ้าเหนื่อยด้วย แล้วสนุกด้วย
เสียตังค์…ก็ต้องเลือกเอาว่า
เราจะลงทุนแบบไหน”